ขั้นตอนจากนี้ บทบาทคณะกรรมาธิการวิสามัญจะมีส่วนสำคัญต่อการ เพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขรายมาตรา เพื่อทำให้ พ.ร.บ.อากาศสะอาด เป็นฉบับที่พึงประสงค์ที่สุด สามารถแก้ปัญหาแบบองค์รวม ครอบคลุม มีแนวปฏิบัติที่เหมาะสม มีการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ และมีบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ก่อนที่ ส.ส.จะลงมติ และส่งต่อยังขั้นตอนของ ส.ว. ตามลำดับ
และด้วยเป็นกฎหมายที่สำคัญต่อลมหายใจของประชาชน และมี ร่างจำนวนมากถึง 7 ร่าง จึงได้รับความสนใจในชั้นของกรรมาธิการนี้ ว่าจะมีท่าทีต่อการแปรญัตติ หรือลงรายละเอียดของเนื้อหาในแนวทางไหน ดังนั้น เมื่อ 29 มกราคม 2567 สภาลมหายใจภาคเหนือ ร่วมกับเครือข่ายหลายองค์กร จัดวงประชุมออนไลน์ ระดมข้อเสนอต่อกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณา พรบ. อากาศสะอาด จึงได้รับความสนใจเข้ามาเสนอแนวคิดและแลกเปลี่ยนจำนวนมาก ดำเนินวงคุย โดย คุณสุรพงษ์ พรรณวงษ์ จาก The Northองศาเหนือ ThaiPBS
ข้อเสนอ ข้อสังเกต ข้อคิดเห็นจากประชาชนที่ทำการบ้านมาอย่างหนัก กับท่าทีและคำตอบจากกรรมาธิการในวงนี้ ต่างมีความหมายและนัยยะสำคัญต่อก้าวต่อไปของ พ.ร.บ.อากาศสะอาด และลมหายใจของพวกเราอย่างยิ่งที่ต้องบันทึกและติดตาม
วอนพรรคการเมืองอย่าชิงเกมส์การเมือง ชี้ประสานจุดแข็งสร้างกฎหมายเพื่อแก้ปัญหา
การจัดทำร่างกฎหมายเป็นงานที่ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งประเด็นที่พูดคุยกันวันนี้อาจมีส่วนเติมเต็มเข้าไป และอีกหนึ่งส่วนที่อยากจะชวนคิดคือ ในกระบวนการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ เป็นกระบวนการในรัฐสภาที่แต่ละพรรคมีจุดยืนของการผลักดันร่างกฎหมาย จะทำอย่างไรที่จะช่วยกันประสานเพื่อสร้างกฎหมายที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา โดยไม่ควรใช้จังหวะเวลานี้ในการช่วงชิงเกมส์ทางการเมืองมากเกินไป เนื่องจากว่าจะมีข้อจำกัดด้านกลไกในรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ สมาชิกวุฒิสภาจะหมดวาระ เพราะฉะนั้นหากกระบวนการในการพัฒนากฏหมายในชั้นของผู้แทนราษฎรอยู่ในวาระแรกผ่านไปได้ด้วยดีและรวดเร็ว สามารถทำให้ทันอยู่ในช่วงวุฒิสมาชิกได้ ก็จะทำให้กฎหมายไม่ต้องรอนาน
อาจารย์ไพสิฐอธิบายว่า ร่างกฎหมายทั้ง 7 ร่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
- กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มที่วางระบบของการบริหารการจัดการ ซึ่งมี 3-4 ฉบับ มีเนื้อหาหลักคล้าย ๆ กัน แต่แตกต่างในรายละเอียด
- กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการสถาปนากฎหมายหลัก กฎหมายรอง สิทธิในอากาศสะอาด สิทธิประชาชน สิทธิมนุษยชน อยู่ในร่างของกลุ่มเครือข่ายอากาศสะอาด หรือ CAN ที่ใช้การลงชื่อของประชาชน
- กลุ่มที่ 3 เป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับแหล่งควบคุมมลพิษโดยตรง และเน้นการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนด้วย
บททั่วไป หมวดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐว่าด้วยการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ควรเพิ่มเติมหลักการ/กระบวนการให้ชัดเจนคือ
2. ควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดทำระบบฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศที่ทันสมัย และมีหน้าที่ต้องเผยแพร่ เปิดเผย ข้อมูลแหล่งมลพิษ และคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง และเป็นการล่วงหน้า
3. มีนโยบายที่ชัดเจนที่จะต้องส่งเสริมการศึกษาวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้มีอากาศที่มีคุณภาพที่ดี
4. กำหนดมาตรการในการสนับสนุนการฟ้องร้องดำเนินคดีให้กับประชาชนเพื่อป้องกัน แก้ไข เยียวยาผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ
6. การคุ้มครองชดเชยเยียวยารวมถึงการจัดสวัสดิการให้กับบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือได้รับความเสียหายจากการเข้าร่วมในการดำเนินการแก้ไขมลพิษทางอากาศ
7. การติดตามตรวจสอบ การประเมินผล และการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติ กฎหมายลำดับรองต่าง ๆ รวมถึงระเบียบแนวปฏิบัติที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการให้เกิดอากาศสะอาด
หมวด 2 คณะกรรมการเพื่อการจัดการอากาศสะอาด
2. ต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศของประเทศ โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้กระทรวงดิจิทัลฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การส่งเสริมให้นำข้อมูลไปใช้ในการลดมลพิษทางอากาศ
หมวด 3 ระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ
2. ต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศของประเทศ โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้กระทรวงดิจิทัลฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การส่งเสริมให้นำข้อมูลไปใช้ในการลดมลพิษทางอากาศ
หมวด 4 การลดและควบคุมมลพิษในอากาศจากแหล่งกำเนิด
หมวด 5 เขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษในอากาศ
หมวด 6 เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออากาศสะอาด
หมวด 7 เจ้าพนักงานอากาศสะอาด
หมวด 8 ความรับผิดทางแพ่ง
หมวด 9 บทกำหนดโทษ
ในส่วนของบทเฉพาะกาล
2. ระยะเวลาในการเตรียมการของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ควรจะมีระยะเวลาที่รวดเร็ว
คลี่จุดอ่อนกฎหมายเดิม แนะมุ่งสู่หลักคิดใหม่ ยกระดับมาตรฐานสังคมไทย ไม่ใช่เผชิญเหตุภัยพิบัติ
นายบัณรส ชี้ให้เห็นจุดอ่อนของกฎหมายเดิม และเสนอหลักคิดใหม่ว่า กฏหมายอากาศสะอาดต้องนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานสังคมไทย ไม่ใช่เผชิญเหตุภัยพิบัติ
อาจเพราะว่า กฎหมายที่มีอยู่เดิมของประเทศไทย เน้นไปที่เรื่องเฉพาะบางห้วงเวลา บางสถานการณ์ หรือ จำกัดเฉพาะวงเรื่องของตัวเอง ขณะที่ขนาดวงรอบปริมณฑลของวิกฤตปัญหา มันเกิดจากเหตุหลากหลาย และ เชื่อมโยงถึงกันหมด ไม่ได้แยกส่วน ดังนั้นกฎหมายที่มีอยู่มากมายจึงยังไม่สัมฤทธิ์ผล เช่น เรามีกฎหมายให้อำนาจพิเศษผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผชิญเหตุช่วงวิกฤตที่มีไฟในป่ามาก แต่อำนาจที่ว่ามีผลเฉพาะ 2-3 เดือน แต่ว่าการแก้ปัญหาจะต้องอยู่ที่การบริหารจัดการทั้งปี และยุทธการที่ต้องของบประมาณจากหน่วยงานเดิม ทั้งยังอาจต้องบูรณาการกับหน่วยอื่น ๆ แต่อำนาจบูรณาการที่ว่ามีให้มากระทันหันเฉพาะช่วงเผชิญเหตุ หน่วยอื่นก็ไม่ได้เตรียมคนเตรียมงบประมาณไว้
ขณะที่ มลพิษฝุ่นควันส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ แม้กระทั่งไฟในป่าส่วนใหญ่ก็เกิดจากมนุษย์ กิจกรรมที่ว่ายังให้ประโยชน์ด้วย หรือการจราจรทำให้มนุษย์เดินทางติดต่อสะดวกขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาซึ่งมลพิษที่ปลดปล่อย การเกษตรก็เช่นกัน การก่อสร้างก็เช่นกัน ฯลฯ ดังนั้น การจะแก้ปัญหาถึงรากเหง้าอย่างยั่งยืน คือ การอำนวยให้การผลิตและกิจกรรมที่ว่ามีมาตรฐานสูงขึ้น ปล่อยมลพิษน้อยที่สุดในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัย รวมถึงระบบการบริหารจัดการใหม่เพื่อไม่ให้ปลดปล่อยมลพิษออกมา แต่กฎหมายที่ประเทศไทยมีอยู่ ยังไม่มีฉบับใดที่มุ่งการยกระดับการผลิตและกิจกรรมสังคมโดยมีเป้าหมายยกมาตรฐานคุณภาพชีวิต ลดการปลดปล่อยมลพิษในอากาศในภาพรวม
ไม่เพียงเท่านั้น ขนาดและลักษณะปัญหามลพิษฝุ่นควันที่มีผลกระทบต่อประชาชนในประเทศ ยังเกิดจากแหล่งนอกประเทศ เป็นฝุ่นควันข้ามพรมแดน หลายประเทศประสบปัญหาและพยายามหาวิธีการแก้ในหลายลักษณะ แต่สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายโดยตรงเพื่อแก้ปัญหาข้ามแดนที่ว่านี้ แต่สถานการณ์และแนวโน้มโลกจึงจำเป็นต้องทำให้มี เช่นเดียวกับหลายประเทศที่มีกลไกปกป้องคุ้มครองประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
การจะแก้ปัญหาวิกฤตมลพิษฝุ่นควันยังจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการ อำนวยการเพื่อขับเคลื่อนกลไกระบบราชการ ที่มีลักษณะเป็นแท่งรวมศูนย์แต่ไม่ประสานบูรณาการกัน นี่เป็นปัญหาเฉพาะของสังคมไทยและเป็นอุปสรรคสำคัญของการแก้วิกฤต ดังนั้น ผู้ว่าฯ Single Command จึงยังไม่สามารถแก้ปัญหา การเผาอ้อย เผาในนาข้าว และเผาในป่า ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนมีกฎหมายเฉพาะของตนเอง อำนาจในการจัดการจริง ๆ อยู่ที่หน่วยงานต้นเรื่อง จุดอ่อนข้อนี้ยิ่งฉายให้เห็นชัดเจน ในพื้นที่แหล่งกำเนิดใหญ่ในป่ารอยต่อระหว่างจังหวัด เช่น ป่ารอยต่อเหนือเขื่อนภูมิพล 3 ป่า ที่มีอำนาจหลายฝ่ายคาบเกี่ยวกัน ทั้งอำนาจของป่าอนุรักษ์ อำนาจของป่าสงวน อำนาจของจังหวัดแต่ละจังหวัด ตาก ลำพูน เชียงใหม่ แถมมีพื้นที่ช่องโหว่ด้านอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปางอีก สถิติไฟป่าในพื้นที่รอยต่ออำนาจที่ว่าจึงมากที่สุดในประเทศ มีพื้นที่ไหม้ใหญ่เกิน 8 แสนกว่าไร่ เกือบเท่าพื้นที่กรุงเทพมหานคร จุดอ่อนเรื่องระบบบริหารจัดการข้ามอำนาจเป็นประเด็นสำคัญของการยกระดับการผลิตและกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่ต่างก็มีกฎหมายเฉพาะของตนเอง ไม่เพียงเท่านั้นยังต้องบูรณาการจากชุมชน ท้องถิ่น ที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับเนื้อปัญหาโดยตรง และกลไกราชการของไทยยังมีจุดอ่อนในส่วนนี้
สุดท้าย กฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมถึง ก็คือ เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์สำหรับใช้ในการแก้และเปลี่ยนวิถีการผลิต/กิจกรรมเดิม ไปสู่กิจกรรมใหม่ เพราะแทบทุกการผลิตและกิจกรรมเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจ มีผลตอบแทนเชิงมูลค่า เช่น การจะเปลี่ยนการผลิตการเกษตรชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งที่ยั่งยืนกว่าต้องมีกระบวนการเปลี่ยนผ่าน มีการอุดหนุนจูงใจ ขณะเดียวกันผู้ก่อมลพิษควรจะเป็นผู้รับผิดชอบแบกรับภาระตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluters Pay Principle : PPP) แต่พบว่ากฎหมายเดิมมีเครื่องมือประเภทนี้จำกัด
10 องค์ประกอบสำคัญที่กฎหมายใหม่ไม่มีไม่ได้
1. มีเป้าหมายและกลไกปฏิบัติการยกระดับการผลิตและกิจกรรมก่อมลพิษต่าง ๆ เข้าสู่มาตรฐานใหม่ คือ ต้องมีเจตจำนงของการเปลี่ยนประเทศสู่มาตรฐานใหม่ให้ได้ โดยผ่านข้อบังคับตามกฎหมาย แผนปฏิบัติการ และ ข้อบัญญัติที่เอื้ออำนวยให้การเปลี่ยนนั้นสำเร็จผล
2. มีโครงสร้างเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อความสมดุลในการต่อรองทางสังคม อันว่าการมีส่วนร่วมคงไม่สามารถยกมือโหวตเอาชนะ แต่หมายถึง พื้นที่แสดงความต้องการและเจตจำนงต่อการแก้ปัญหา ประเด็นปัญหาวิกฤตมลพิษฝุ่นควันอากาศพิษ เป็นความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ Conflict of interest ที่มีเดิมพันสูงและกว้างขวางครอบคลุมหลายวงการ อาจจะชักจูงล็อบบี้ฝ่ายการเมืองได้ หรือทำให้ฝ่ายข้าราชการประจำไม่กล้าตัดสินใจ ต้องให้มีกลไกการเปิดมีส่วนร่วมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล การเคลื่อนไหวและการตัดสินใจระดับต่าง ๆ และข้อมูลความเคลื่อนไหวที่สำคัญต้องเปิดให้สาธารณะรับรู้ (ไม่ถูกปิดโดยระเบียบ) ยกเว้นข้อมูลส่วนบุคคลที่กฎหมายห้าม
*หมายเหตุ ร่างกฎหมายส่วนใหญ่ ให้มีตัวแทนประชาชนเข้าในระดับคณะกรรมการชุดใหญ่ และชุดปฏิบัติการอยู่แล้ว ที่ควรกำหนดเพิ่มคือเงื่อนไขการเลือกเฟ้นประชาชนตัวแทนของผู้ประสบปัญหาหรือแก้ปัญหาไม่ใช่ตัวแทนของกลุ่มผู้ก่อมลพิษวงการใดวงการหนึ่ง เช่น ตัวแทนชาวไร่อ้อย ตัวแทนรถบรรทุก ที่จำเป็นต้องปล่อยมลพิษ กลุ่มที่ว่า ควรให้มีขึ้นเป็นอนุกรรมการต่าง ๆ เพื่อศึกษาลงลึกในการแก้ปัญหาของวงการนั้น ๆ
3. มีความเป็นไปได้จริงของการบริหารจัดการกลไกราชการให้ขยับยกระดับการแก้ ทั้งแก้เหตุระยะยาว และการจัดการระยะเผชิญเหตุ กลไกที่ว่าออกแบบเพื่อขจัดอุปสรรคภายในระบบราชการที่ติดขัดอยู่เดิม คือ ต้องไม่ใช่แค่อำนาจพิเศษเฉพาะชั่วคราว แบบพรก.ฉุกเฉิน / พรบ.ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งไม่เพียงพอ และไม่ใช่แค่เขียนในแผนมาตรการตามวาระแห่งชาติ พ.ศ.2562 แต่เมื่อปฏิบัติการจริงทำไม่ได้ กลไกการประสานบูรณาการกับอำนาจเฉพาะเรื่องนั้น ๆ ซึ่งก็มีกฎหมายเฉพาะของตัวเองรองรับอยู่ เช่น พรบ.อ้อยและน้ำตาล พรบ.ข้าว พรบ.โรงงาน พรบ.อุทยานฯ พรบ.ป่าไม้ การแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อยกระดับการผลิตในบางพื้นที่ต้องอาศัยกฎหมายหลายด้านและมีที่ติดขัดเป็นอุปสรรคกันเอง เช่น พื้นที่อำเภอแม่แจ่ม มีการปลูกข้าวโพดมากและมีสถิติจุดความร้อนสูงต่อเนื่องทุกปี การจะแก้ปัญหาไม่ใช่แค่ห้ามเผา แต่ต้องลงลึกไปถึงเรื่องสิทธิที่ทำกิน สาธารณูปโภค เครื่องมือจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
*หมายเหตุ ร่าง พรบ.อากาศสะอาดฉบับรัฐบาล ให้คณะกรรมการอากาศสะอาดจังหวัด และพื้นที่เฉพาะ(ม.24) เป็นการพิเศษขึ้นมา แตกต่างจากร่างอื่น เพื่อให้มีกลไกการแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่พิเศษที่อาจทับซ้อนเชิงอำนาจ เช่น รอยต่อระหว่างจังหวัด เป็นต้น ในทางปฏิบัติจริงหน่วยราชการอาจจะไม่เคยชินกับพื้นที่พิเศษที่ทับซ้อนเชิงอำนาจลักษณะนี้ หรืออาจมีข้อปัญหาติดขัดจากกฎระเบียบเดิม หรือไม่ ? (เอกสารที่รัฐสภาสรุปวาระแรกไม่มีมาตรานี้ ทราบว่าถูกตัดออก ซึ่งน่าเสียดายที่จะลดอานุภาพจัดการไฟแปลงใหญ่พื้นที่ทับซ้อน รัฐวิสาหกิจ ชายแดน เขตทหาร เขตป่าไม้ทับกับเขตปกครอง ที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคปฏิบัติระดับพื้นที่)
4. มีเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และกลไกใช้งานได้จริง ประกอบเป็นมาตรการ ทั้งบวกและลบ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงในทางปฏิบัติ โดยมีกฎหมายรองรับ ทั้งนี้เพราะการผลิตหรือกิจกรรมที่ปล่อยมลพิษบางอย่าง ไม่ควรใช้อำนาจบังคับห้ามวิธี/เทคนิคการผลิตภาคเกษตร ต้องใช้เครื่องมือจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ อุดหนุนต้นทุนการผลิตแทน เช่นเดียวกับการปรับพินัยต่อผู้ปล่อยมลพิษ ตามหลัก PPP- กดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
5. มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงภาคการเผาที่โล่ง ที่เป็นแหล่งกำเนิดใหญ่สุดของประเทศตามสถิติ และต้องแก้ปัญหานั้นได้จริง กฎหมายที่มีอยู่กำหนดโทษการเผาที่โล่งหลายฉบับ ทั้งการเผาภาคเกษตร เผาในมือง และเผาในป่า แต่ไม่สามารถบังคับใช้จริงได้ เพราะแต่ละแหล่งมีเงื่อนไขบริบทเฉพาะ แค่มีบทบัญญัติการสั่งห้ามเฉย ๆ ไม่ได้ต้องประกอบสร้างขึ้นด้วยแผนปฏิบัติการที่อาจต้องบูรณาการหลายฝ่ายหลายข้อกฎหมาย และมีงบประมาณเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ
ทั้งนี้ การกล่าวถึงแหล่งกำเนิดอื่น ๆ ก็จำเป็นต้องเอ่ยถึงให้ครอบคลุมทุกแหล่ง แต่ที่เอ่ยถึงการเผาที่โล่งเป็นการเฉพาะ เนื่องจากต้องมีข้อบัญญัติที่ลงรายละเอียดวิธีการ กล่าวถึงการห้ามลอย ๆ หรือแค่บทกำหนดโทษจะไม่ได้ผล บทบัญญัติเรื่องการแก้ปัญหาแหล่งกำเนิดที่ดี อ่านแล้วต้องสามารถจินตนาการออกว่า จะแก้เผาอ้อยได้อย่างไร แก้เผาข้าวได้อย่างไร แก้มลพิษจราจรได้อย่างไร แก้เผาป่าอนุรักษ์ได้อย่างไร แก้เผาป่าสงวนได้อย่างไร ฯลฯ
6. ต้องให้เกิดมีบทบาทของงานวิชาการเป็นกลไกสนับสนุนการเปลี่ยนสังคม ร่างกฎหมายหลายฉบับไม่ได้เอ่ยถึงบทบาทงานวิชาการ และบางฉบับเอ่ยถึงแต่ไม่ครบองค์ประกอบสำคัญ คืองานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศศาสตร์ Atmospheric Science เช่น ฟิสิกส์บรรยากาศ เคมีบรรยากาศ อุตุนิยมวิทยา ภูมิศาสตร์ นอกเหนือจากศาสตร์อื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงทางอุตุนิยมวิทยาบรรยากาศมีผลอย่างยิ่งต่อมลพิษอากาศและวิกฤตฝุ่น ทั้งด้านความรู้ การป้องกันแก้ไข และการเผชิญเหตุ และยังต้องมีบทบัญญัติให้มีกลไกของกลุ่มงานวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่อง มีเป้าหมาย และนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง โดยกฎหมายต้องบังคับให้หน่วยงานรัฐสนับสนุนจริงจัง เช่น เปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เกิดเป็น Big Data เป็นต้น
7. จำเป็นต้องบรรจุเพิ่มแนวคิดใหม่เรื่องการแก้มลพิษข้ามแดน โดยใช้ข้อตกลงทางการค้าเป็นเครื่องมือ และให้มีกลไกปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อตกลงการค้า ซึ่งแทบไม่ปรากฏในร่างกฎหมายที่เสนอมา คือ แนวคิดการห้ามนำเข้าสินค้าเกี่ยวกับการเผาที่โล่งที่กระทบต่อสุขภาพคนในประเทศ โดยอาศัยข้อตกลงทางการค้าโลก สามารถออกมาตรการกีดกันทางการค้าโดยข้ออ้างสุขภาพ/สิ่งแวดล้อมได้ เช่น กรณีที่สหภาพยุโรป ห้ามนำเข้าสินค้าปล่อยคาร์บอนที่มีผลต่อเรือนกระจก หรือ CBAM มีผลต่อการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรืออาหารสัตว์ของไทยโดยตรง
กลไกที่กฎหมายต้องพิจารณาปรับปรุง คือ อำนาจของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่สามารถเสนอให้คณะรัฐมนตรีออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม และมีผลผูกพันต่อการนำเข้า โดยไม่ผิดข้อตกลงทางการค้า จากมาตรการทางการค้า เป็นมาตรการทางเศรษฐศาสตร์
ส่วนข้อเสนอการเอาผิดผู้ปล่อยมลพิษข้ามแดน โดยอ้างอิงแนวทางประเทศสิงคโปร์ มีร่างกฎหมายหลายฉบับเสนอมา นอกเหนือจากร่างรัฐบาล แนวทางนี้ต้องมีข้อมูลหลักฐานทางวิชาการที่หนักแน่นมารองรับ ถือเป็นชุดมาตรการทางอาญาและทางแพ่ง
8. สิทธิของประชาชน ร่างแทบทุกฉบับกล่าวถึงสิทธิในอากาศ ที่ควรเน้นย้ำคือ สิทธิในการปกป้องดูแล รับการรักษาพยาบาลของกลุ่มเสี่ยง หรือผู้มีอาการผิดปกติ โดยการออกตัวบ่งชี้ถึงสิทธิเข้าถึงการตรวจรักษาระดับสูง มีการเพิ่มความชัดเจนในสิทธิฟ้องร้องเอาผิดทางอาญาทางแพ่งและต่อรัฐ มีการกล่าวถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสำคัญ สิ่งที่ควรเพิ่มคือ หน้าที่ของรัฐรับรองสิทธิที่ว่าโดยไม่ต้องร้องขอ คือ กำหนดให้หน่วยงานเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งมลพิษ หรือ สถิติของแหล่งมลพิษต่าง ๆ โดยไม่ต้องร้องขอ
9. มีกองทุน เพื่อความคล่องตัวจากเงื่อนไขทางงบประมาณ และที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ เงื่อนไขที่ชัดเจนในการใช้กองทุนเพื่อประโยชน์จำเป็นจริง และลดการแทรกแซงการใช้เงินจากอำนาจการเมือง / ร่างกฎหมายมีกล่าวถึงการให้มีกองทุน แต่ไม่ชัดเจนในหลักการสำคัญ ไม่ให้ถูกแทรกแซง และใช้เงินเพื่อประโยชน์ที่จำเป็นจริง
10. อำนาจบังคับและบทลงโทษ ตามพรบ.นี้ ต้องพิจารณาแบ่งเป็นลำดับขั้น ทั้งให้ความเป็นธรรมกับผู้ปล่อยมลพิษจากกิจกรรมปกติในชีวิต กับทั้งผู้รับมลพิษที่เป็นเหยื่อ
เนื่องจากกฎหมายเดิมแต่ละฉบับ มีบทกำหนดโทษสำหรับการปล่อยมลพิษเกินมาตรฐานอยู่เดิม คือ รถยนต์/ปล่อยควันดำ โรงงานอุตสาหกรรม/ปล่อยมลพิษเกินมาตรฐาน ปิ้งย่าง/พรบ.สาธารณสุข การเผาเกษตร/พรบ.สาธารณสุข เผาป่า/พรบ.ป่าไม้ อุทยานฯ หรือหากลามเป็นโทษกับผู้อื่นมีกฎหมายอาญา ตามมาตรา 220 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท สามารถเปิดช่องให้เจ้าพนักงานตามกฎหมายนี้ เอาผิดด้วยกฎหมายเดิมได้หรือไม่? เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน
การเอาผิดทางแพ่ง ควรเปิดช่องให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบฟ้องร้องเอาผิดทางแพ่งต่อผู้ปล่อยมลพิษ โดยวางระบบข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ขนาดของมลพิษอย่างเป็นทางการ ณ ขณะนั้น ประกอบเป็นหลักฐานให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก / หากเป็นการปล่อยมลพิษต่อสาธารณะ เจ้าพนักงานของรัฐ หรือ อัยการเป็นโจทย์
มีบทเว้นโทษ ให้กับผู้ก่อมลพิษที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ปัญหา (คือปล่อยเกินได้หากมีลำดับการพยายามแก้ไข เช่น ลดพื้นที่ปลูกโดยลำดับ เป็นต้น) เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนยกระดับมาตรฐานสังคมในบั้นปลาย
ส่วนข้อที่ข้อเสนอเพื่อตัดทิ้ง คุณบัณรสระบุว่าคือ
นอกจากนั้น ในเอกสาร ประกอบการหารือจากเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ ยังมีข้อเสอรายมาตราใน 8 ประเด็นที่เสนอปรับเพิ่ม/ลด ในวาระแปรญัตติ เพื่อขอมติเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ เสนอกรรมาธิการฯ คือ 1. เพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการนโยบายอากาศสะอาด เสนอคณะรัฐมนตรี ประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่ก่อมลพิษอากาศข้ามพรมแดนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (ข้อตกลงการค้าโลก สามารถใช้เหตุผลด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมกีดกันทางการค้าได้) ทั้งนี้ ร่างเดิมเขียนให้ รมว.พาณิชย์ พิจารณาและประกาศห้ามนำเข้าเอง (ม.52) ซึ่งไม่เพียงพอ ไม่มีทรัพยากรศึกษาผลกระทบต่าง ๆ (ม.52 เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ)
2. เพิ่มตัวแทน องค์กร อปท. สมาคมอบจ. สมาคมเทศบาล สมาคมอบต. เข้าเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด
3. เพิ่มเขตพื้นที่พิเศษ และคณะกรรมการอากาศสะอาดพื้นที่พิเศษ (ตามมาตรา 24 เดิม) ที่ถูกตัดไป เพราะโลกของความเป็นจริง เขตพื้นที่จังหวัดไม่ครอบคลุมการบริหารปัญหา และเขตกลุ่มจังหวัดตามร่าง ภท. ก็ไม่ครอบคลุมพื้นที่ปัญหาในโลกจริง เช่น สามป่าเหนือเขื่อน (พื้นที่จัดการร่วม 4 จังหวัดไฟใหญ่สุดของประเทศ) ส่วนเขตประสบมลพิษทางอากาศ หากประกาศครอบคลุมเขตปกครองซ้อนกัน การบริหารก็จะเกิดปัญหาอีก เพราะไม่มีคณะกรรมการที่มีกฎหมายรองรับ
4. เพิ่มการผนวกและบูรณาการแผนปฏิบัติการของส่วนงานต่าง ๆ และให้เพิ่มการมีส่วนร่วมจาก เครือข่ายป่าชุมชนเข้าในการบูรณาการแผนจังหวัด ตามมาตรา 26
5. นิยามการเผาที่โล่งให้ครอบคลุมการเผาในป่าให้ชัดเจน และการบริหารจัดการเชื้อเพลิง (ม.42-45) เพราะกำหนดห้ามดำเนินการหากไม่ได้รับอนุญาตจากผวจ. ซึ่งอำนาจไม่คลุมไปถึงเขตป่า หากไม่นิยาม ก็แสดงว่า กฎหมายอากาศสะอาดนี้ ยังไม่ก้าวข้ามไปจัดการการเผาในป่า ที่เป็นแหล่งใหญ่ของประเทศไทย
6. ให้เพิ่มเติมถ้อยคำ ในหมวดเขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางการอากาศ (ม.61-66) ให้รองรับพื้นที่คาบเกี่ยวทับซ้อนหลายจังหวัดหรือทับซ้อนอำนาจปกครอง/ป่าไม้ แม้ ม.61-66 จะเป็นเครื่องมือใหม่ สำหรับการเผชิญเหตุ และการจัดการคลี่คลายวิกฤต แต่จุดอ่อนคือ หากประกาศเขตประสบมลพิษข้ามจังหวัด หรือหลายจังหวัด จะประสบปัญหาการบริหารจัดการ เพราะกฎหมายให้อำนาจ คณะกรรมการจังหวัดนั้น ๆ ทำแผน ก็ต้องมีกลไกบูรณาการ ใครใหญ่ใครรอง ข้ามเขตได้หรือไม่ อันเป็นปัญหาแท่งราชการแบบเดิม ๆ
7. เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ (ม.67) ให้เพิ่ม PPP แบบก้าวหน้า คำนึงถึงหลักความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม และข้อตกลงทางการค้าโลก/อาฟต้า/ทวิภาคี เพื่อจัดการสินค้ามีผลกระทบสุขภาพ
8. ตัดมาตรา 81 ที่เป็นอุปสรรคต่อการตรวจสอบของประชาชน และอาจเป็นเครื่องมือปิดปากให้กับกลุ่มทุน ทั้งไม่สอดคล้องกับกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่มีอยู่ก่อน
ขอกฎหมายที่เป็นจริง ระงับฝุ่นข้ามแดน
สิ่งที่เราต้องติดตามคือการบังคับใช้ทางกฎหมาย ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายแต่ใช้ได้จริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีกลไกการตรวจสอบและควบคุมการดูแลแหล่งกำเนิด
โดยจากการประมวลยุทธศาสตร์การแก้ไขฝุ่นควันข้ามพรมแดนพบว่า
1. การเพิ่มของจุดความร้อนในลุ่มแม่น้ำโขง เกิดต่อเนื่องมาตั้งแต่ ทศวรรษ 2010
2. ไฟใน สปป.ลาว มากขึ้นชัดเจนในปี 2566 จากราคาพืชเกษตร ข้าวโพด มันสำปะหลัง มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก
3. กระแสไม่เห็นด้วยกับการเผามีมากขึ้นชัดเจนในประเทศเพื่อนบ้าน เครื่องวัดยังน้อย ไม่ครอบคลุม
4. ไฟในเมียนมาร์ (รัฐฉาน/กะยา) มีไฟเกษตรเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีการเผาป่ามากในบริเวณลุ่มหุบเขาสาละวิน และด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน อันเป็นเขตของชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ (ปัญหาเศรษฐกิจ)
5. ไฟในเมียนมาร์มิได้มาจากข้าวโพดและเกษตรเพียงประการเดียว ต้องรวมถึงการเผาในป่าชายแดน/และเขตอิทธิพลชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะเขตน้ำสาละวินด้วย
6. ข้าวโพดมีมากในรัฐฉานและนำเข้ามาก แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นข้าวโพดแปลงใหญ่ ควรตรวจสอบเพิ่ม
7. เสนอให้ควรหาทางติดตั้งเครื่องวัดอากาศในเมียนมาร์/สปป.ลาว เพื่อสร้างกระแสความรับรู้ ความตระหนักภัยให้สาธารณชน
8. ลมในเขตลุ่มน้ำโขงเปลี่ยนไปมา ในช่วงมกราคม-พฤษภาคม ไม่สามารถพยากรณ์ได้แน่นอน
9. การสร้างความตระหนัก ขยายข่าวสารของภาคประชาชนร่วมกัน ควรจะมีควบคู่กับการเจรจา
ขณะที่ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับฝุ่นควันข้ามแดนในปีที่ผ่านมา เราพบว่ามีความเคลื่อนไหวจากทางภาครัฐมากขึ้น เช่น การประชุมตามกรอบความร่วมมือของ ASEAN/GMS, Workshop on Open Burning and Transboundary Pollution Management for Northern of SEA ที่นับเป็นกลไกการขับเคลื่อนของภาครัฐ 3 ประเทศ เชิง Action ครั้งแรก เพื่อเตรียมวางแผนตลอดทั้งปี ระหว่างไทย-สปป.ลาว-เมียนมาร์
มีโครงการลมหายใจไทย-ลาว อบรมเรื่องห้องปลอดฝุ่น ให้ตัวแทนชุมชนทั้งเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย และเมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ประชุมถอดบทเรียนเตรียมขับเคลื่อนแผนรับมือหมอกควันข้ามแดน ณ จังหวัดเชียงราย จัดโดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และล่าสุดได้มีการริเริ่มแก้ฝุ่นควันข้ามแดนแบบบูรณาการกับแขวงไชยบุรี สปป.ลาว ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับจังหวัดน่าน
นอกจากนี้ สภาลมหายใจภาคเหนือได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ และจัดเวทีเพื่อสร้างกลไกผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนอย่างต่อเนื่อง เช่นจัด งานเสวนา “เวทีประชาคมลมหายใจลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามพรมแดน 2023 (GMS Breath Congress 2023 : Transboundary Air Pollution – P.M 2.5)” เมื่อวันที่ 22-23 มิถุนายน 2566โดยมีประเด็นขับเคลื่อน 4 ประเด็น
1.การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน โดยส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายการตรวจวัดคุณภาพอากาศของประเทศ
2.การสร้างเวทีประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการปกป้องและร่วมกันหารือสร้างกลไกป้องกันปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นควัน ในระดับเพื่อนบ้านลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน
3.การร่วมประสานงานหน่วยงานของตนเองที่จะสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการ ในการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมติดตามตรวจวัดจุดความร้อน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารจัดการเกษตรในพื้นที่สูง การบริหารจัดการไฟ รู้จักพฤติกรรมไฟ ลม อากาศ เป็นต้น
4.การจัดตั้งสำนักเลขาธิการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนในระดับอาเซียนที่เชียงใหม่ เพื่อดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคอาเซียนตอนบน
1.การออกกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน
2.ให้ใช้ระบบตรวจสอบ Good Agriculture Practices (GAP) ทันทีในการนำเข้าพืชผลการเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน
3.ให้ผู้รับซื้อในประเทศประสานผู้ปลูกให้เข้าระบบ Fire Check (ระบบการบริหารการเผาที่สอดคล้องกับสภาพความพร้อมในการระบายอากาศ อ้างอิง คพ.และมช.)
4.ให้จัดตั้งศูนย์กลางปฏิบัติการร่วมแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ระดับอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม ที่ภาคเหนือตอนบน
5.การขับเคลื่อนผ่านสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่รัฐจะต้องคุ้มครองสุขภาพประชาชน การใช้กลไกการมีส่วนร่วม และกำหนดตัวชี้วัดในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ก้าวต่อไปที่เครือข่ายจะดำเนินงานคือ
1. การสร้างกลไกการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่น เอกชนกับเอกชน ใน 5 พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน และชายแดนไทย ลาว เมียนมาร์ และจีนตอนใต้ เน้นเรื่องการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และกลไกการป้องกัน
2. การสร้างเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการมีส่วนร่วมขององค์กรระหว่างประเทศ สถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน
3. การสร้าง Platform การแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน โดยถอดบทเรียนในต่างประเทศ เช่น ภายใต้กรอบ ASEAN-GMS และในพื้นที่กรณี สหรัฐอเมริกา และแคนาดา โดยนำนวัตกรรมมาใช้ รวมถึงขยายการสนับสนุน App Fire-D GMS
4. การจัด Focus Group และ GMS Breath Congress 2024 อันจะก่อตั้งสภาลมหายใจลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้กลไกภาคประชาสังคมและสื่อ
5. การจัดทำสื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในลุ่มแม่น้ำโขง GMS Dust Station นำร่องไทย ลาว และจะขยายในพื้นที่เมียนมาร์ในอนาคต
5. การติดตาม พรบ.อากาศสะอาดของไทย สะท้อนปัญหา Voice นำเสนอเชิงนโยบายต่อภาครัฐในแต่ละประเทศให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
จากนั้นวงคุยได้เปิดประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทั้งการแลกเปลี่ยนในวง กล่องแชตข้อความทาง zoom และเพจ
ภาพ lannernews
และเรื่องที่สอง คือ กรณีที่นักวิจัยเข้ามาทำวิจัย แต่ทำในต่างพื้นที่ ต่างกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการเผาและไม่ต้องการเผา มันจะไม่สามารถเกิดงานวิจัยที่ได้ข้อมูลที่ตรงกันได้ จึงอยากให้นักวิจัยเข้ามาทดลองจริงจังในพื้นที่ เพื่อดูว่าสิ่งที่ชาวบ้านหรือกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยกลุ่มไหนคือข้อเท็จจริง และต้องการให้หน่วยงานต่าง ๆ พูดคุยกันให้มีข้อตกลงกลาง เผื่อลดความเข้าใจผิด หรือสื่อสารไม่ตรงกันออกมา เพื่อที่จะสามารถทำให้ประชาชน ชาวบ้านปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ในเมื่อมีกรรมาธิการที่จากภาคประชาชนเข้าไป จึงอยากให้มีการแปรญัตติโดยนำจุดยืนสำคัญของภาคประชาชนเข้าประกอบร่างของรัฐบาล เพราะกังวลใจถ้าให้มีการเขียนว่าเป็นงบประมาณแบบบูรณาการ ก็ไม่รู้ว่าใครจะตั้ง และถ้าตั้งด้วยกรมควบคุมมลพิษที่มีงบ 200 ล้านและดูแลทุกมลพิษ แต่หากเราตั้งใจเอาจริงเอาจังด้านมลพิษทางอากาศ เราจำเป็นต้องมีงบที่มากพอแก้ไขปัญหาได้จริง และขอให้ทางกรรมาธิการในส่วนของพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลได้พิจารณา โดยร่างของรัฐบาลเป็นตัวตั้ง แต่จะเพิ่มและให้จุดยืนที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง และไม่ใช่กรรมาธิการคุยต่อรองโดยไม่ได้ปรึกษาหารือคนที่มีส่วนเสนอกฎหมาย น่าจะมีการสอบถามกรณีที่มีข้อถกเถียง หรือปรึกษากับองค์กรภาคประชาชน หน่วยงานที่ทำงานด้านนี้ด้วย”
ประเด็นที่ 2 ในส่วนของประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทุกปี ปกติจะประกาศช่วงธันวาคมและนำเข้า 1 ก.พ. กำลังติดตามว่าจะประกาศมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ เพิ่มการเก็บภาษีหรือกีดกันการค้าหรือไม่
ประเด็นที่ 2 เรื่องการทำธุรกิจกับความปลอดภัย ขอให้เจรจา 3 ฝ่ายทั้งรัฐบาล ผู้ประกอบการ และภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อหาแนวทางยั่งยืน ไม่ได้อยากไม่ให้โทษลงผู้ประกอบการ ไม่ได้อยากเอาภาระทั้งหมดมาที่ผู้ได้รับผลกระทบ เพราะตอนนี้ประกอบธุรกิจเป็นจำเลยสังคม ซึ่งเราไม่ได้ไม่อยากให้ดำเนินธุรกิจ แต่การดำเนินธุรกิจผู้คนต้องปลอดภัย และทางตำบลแม่สายยินดีให้ตั้งศูนย์เรียนรู้ฝุ่นข้ามแดนอาเซียนในพื้นที่ และไม่เชื่อในเรื่องกลไกของการเจรจาระหว่างประเทศ เพราะมักอ้างเรื่องการรบ หรือต่างๆนาๆ แต่หากมีองค์กร หรือสถาบันมาเป็นตัวกลางอยู่ในพื้นที่น่าจะดี
ภาพ : greenpeace
ภาพ : igreen
กรรมาธิการจากเครือข่ายอากาศสะอาดเน้น “สิทธิประชาชนเป็นหลัก”
ประเด็นที่ 1 สิทธิของประชาชนเป็นฐาน มากกว่ารัฐเป็นฐาน ซึ่งเป็นเรือธงที่เรายึดถือในการร่างพ.ร.บ.
เนื่องจากปีที่ผ่านมาองค์การสหประชาชาติได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งรวมถึงสิทธิอากาศสะอาดเป็นองค์ประกอบในนั้น เป็นสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีหรือมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเคารพปกป้องและทำให้สิทธิในสิ่งแวดล้อมของประชาชนคนไทยเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง หนึ่งในมาตรการสำคัญคือการนำเข้าสิทธิสิ่งแวดล้อมเข้ามาในระบบกฎหมายของประเทศไทย ซึ่งที่จริงควรจะเขียนอยู่ในรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ แต่รัฐธรรมนูญของเรายังอยู่ในระหว่างการตั้งไข่จะแก้ได้หรือไม่ ซึ่งไม่รู้อีกนานเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นเครือข่ายอากาศสะอาดจึงเห็นตรงกันในเรื่องการสถาปนาสิทธิอากาศสะอาด อันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ที่รัฐจะต้องเคารพปกป้องและเติมเต็มโดยไม่มีเงื่อนไข
และไม่ใช่แค่สิทธิในอากาศสะอาดเท่านั้น ยังรวมไปถึง สิทธิเชิงกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สิทธิในข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการวางแผนร่วมตัดสินใจกับภาครัฐ สิทธิในกระบวนการยุติธรรมหรือสิทธิในการฟ้องคดีการได้รับการเยียวยาความเสียหาย เป็นต้น สิทธิเหล่านี้ควรได้รับการสถาปนาอย่างเป็นระบบในร่างกฏหมายอากาศสะอาด
ดังนั้นร่างกฎหมายอากาศสะอาดฉบับพึงประสงค์จะต้องปรับกระบวนทัศน์ และให้ความสำคัญการเขียนบัญญัติอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยให้สิทธิประชาชนขึ้นมาก่อน แล้วหน้าที่ของรัฐจึงตามมา ไม่ใช่เขียนในเชิงให้รัฐมามอบสิทธิ์ให้ประชาชน โดยทุกคนต้องสามารถอ่านแล้วเข้าใจ รู้ได้ทันทีว่าคุณมีสิทธิอะไรบ้าง หน้าที่ของรัฐมีอะไรบ้าง ที่ต้องร่วมปกป้องสิทธิ์ให้ประชาชน ไม่ต้องให้นักกฎหมายมาตีความ หรือเขียนรวมๆ ทำให้ประชาชนงง ไม่รู้ว่าจะอ้างสิทธิ์ตนเองอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในกรณีถูกละเมิด ไม่เป็นภาระในการพิสูจน์สิทธิ์ และสามารถตรวจสอบติดตามการทำงานของรัฐด้วย ในเรื่องของสิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิในข้อมูลข่าวสาร เห็นด้วยการสร้างฐานข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลดิบ แต่ผ่านการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ เป็นข้อมูลกลางที่เป็นระบบให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย และยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศที่ไม่ใช่แค่ตัวเลข ต้องรวมดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขาภาพ เชื่อมโยงถึงสิทธิของกลุ่มเปราะบาง นำไปสู่เรื่องที่สภาลมหายใจภาคเหนือเสนอแนะเรื่องสิทธิของกลุ่มเปราะบาง เห็นตรงกันว่าต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากสถานพยาบาลและโรงพยายามของรัฐ ซึ่งสามารถพูดคุยเพิ่มเติมในรายละเอียดอื่นเพิ่มได้
ในร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาดฉบับประชาชน มองการมีส่วนร่วมของประชาชนเข้มข้นในระดับการจัดการร่วมระหว่างประชาชนและภาครัฐ ในลักษณะเป็นหุ้นส่วนทางอำนาจที่มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งเห็นตรงกันในเรื่องคณะกรรมการ ทั้งในระดับนโยบายและกำกับดูแล ในระดับนโยบายตั้งชื่อเป็นคณะกรรมการร่วมรัฐและประชาชน สัดส่วนใกล้เคียงกัน ส่วนสัดส่วนภาคประชาชนที่จะเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการก็มีเขียนไว้มา ต้องไม่ควรมีสัดส่วนจากภาคผู้ก่อมลพิษมาก แต่ต้องมาจากภาคผู้ได้รับผลกระทบ/กลุ่มเปราะบางเป็นพิเศษ แต่ก็ยังไม่ได้เขียนหลักเกณฑ์ว่าเราจะเลือกกันอย่างไร ยินดีรับความเห็นเพื่อที่จะมาเติมในส่วนนี้
ประเด็นที่ 3 เรื่องฝุ่นควันข้ามแดน
เห็นด้วย โดยในประเด็นควรมีมาตรการเชิงบังคับลงโทษและมาตรการเศรษศาสตร์ควบคู่กัน ของเครือข่ายอากาศสะอาดจะเน้นไปทางเชิงบังคับลงโทษ ที่ได้รับโมเดลมาจากสิงคโปร์ มีลงโทษและการรับผิดทางแพ่งด้วยแต่ในขณะเดียวถ้ามีส่วนเสริมเพิ่มเติมเรื่องมาตรการเศรษฐศาสตร์ที่จะใช้ควบคู่หรือส่งเสริมไปด้วยกันที่ทางสภาลมหายใจภาคเหนือเสนอมา ก็สามารถจะนำไปพูดคุยกันต่อไปในชั้นกรรมาธิการ
ประเด็นที่ 4 การจัดการบูรณาการการบริหารงานของภาครัฐ
ยืนยันว่าภาคประชาชนยังยืนหยัดว่าการบูรณาการภาครัฐจะต้องมีการทำลายโครงสร้างเดิมให้ได้ เพราะของเดิมไม่ตอบโจทย์ เป็นไซโล การทำงานข้ามไปมายากลำบาก เราขาดหน่วยงานที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการจัดการปัญหาเรื่องอากาศสะอาด อย่างไรก็ตาม ยังมีรายละเอียดที่ยังคิดเห็นไม่ตรงกันในเรื่องโครงสร้างองค์กร ว่าควรมีลักษณะอย่างไรที่จะตอบโจทย์ ซึ่งทางเครือข่ายอากาศสะอาดก็มีมุมมองของเราเห็นว่าควรมีโครงสร้างองค์กรใหม่ ซึ่งอาจไม่ใช่ตั้งใหม่ถอดด้าม แต่อาจจะเป็นเชิงการยกระดับองค์กรเดิม หรือตัดบางส่วนก็ได้ เป็นการนำผู้เชี่ยวชาญมารวมกัน เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างบูรณาการแท้จริง
ประเด็นที่ 5 มาตรการเศรษฐศาสตร์และกองทุน
เห็นด้วยว่าจำเป็นต้องมี และเห็นว่าเราจะมีกองทุนเฉพาะคือ กองทุนอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพ ที่ไม่เป็นภาระงบประมาณแผ่นดิน เป็นกองทุนที่ไม่พึ่งงบประมาณแผ่นดินเกินไป สามารถหาเงินด้วยตนเองได้ พึ่งพาตนเองได้น่าจะตอบโจทย์กว่า
ประเด็นที่ 6 บทกำหนดโทษ
เห็นด้วยว่าไม่มีความจำเป็นมากขนาดนั้น ต้องคำนึงถึง ม. 77 ของรัฐธรรมนูญด้วย การกำหนดมาตรฐานกฏหมายอาญาต้องทำโดยจำเป็น และร้ายแรงเท่านั้น การเขียนใหม่อาจซ้ำซ้อน อาจขัดกับม.77 และไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร โดยเฉพาะข้อที่จำกัดเสรีภาพของบุคคล จะเป็นกฎหมายปิดปาก เห็นว่า มีกฎหมายอยู่แล้ว ทั้งกฏหมายอาญาและคอมพิวเตอร์ไม่มีความจำเป็นที่ต้องมาเขียนเพิ่มในกฏหมายอากาศสะอาด
สุดท้าย ยืนยันว่าจะนำเอาข้อห่วงกังวล ข้อเสนอแนะของทุกท่านเข้าไปพูดคุยต่อไปในชั้นกรรมาธิการ เพื่อที่จะทำให้พ.ร.บ.อากาศสะอาดฉบับนี้จะเป็นฉบับประวัติศาสตร์ที่จะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
ในอดีตประชาชนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจเฉพาะวาระแรก เมื่อผ่านแล้วไม่ได้ติดตามกันไปต่อ เพราะฉะนั้นในร่างฉบับนี้ อยากให้เป็นฉบับแรกที่จะให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการประชุมทุก ๆ ครั้งของชั้นกรรมาธิการ
ก้าวไกลจะปรับรวมร่างหารือประชาชนต่อ
ในอดีตประชาชนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจเฉพาะวาระแรก เมื่อผ่านแล้วไม่ได้ติดตามกันไปต่อ เพราะฉะนั้นในร่างฉบับนี้ อยากให้เป็นฉบับแรกที่จะให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการประชุมทุก ๆ ครั้งของชั้นกรรมาธิการ โดยพรรคก้าวไกลจะมีการประสานกับภาคประชาชนตลอดว่ามีผลการประชุมและการดำเนินงานคืบหน้าเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนของเราเองโดยต่อจากนี้ พรรคก้าวไกลจะมีแผนงานการเอาร่างของครม.ที่ปัจจุบันเราใช้เป็นร่างหลักในการพิจารณา จะนำมาตัดทอนบางส่วนและเพิ่มเนื้อหาของพรรคก้าวไกลเข้าไปใส่ จนเป็นร่างที่เห็นว่าเกิดประโยชน์สูงสุด แล้วจะนำไปหารือกับภาคประชาชนต่อไป และจากข้อเสนอแนะ มีความเห็นแยกตามประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 กฎหมายฉบับนี้ต้องเร็ว
จะทำให้เร็วที่สุด แต่ต้องเกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย มีข้อกังวลว่าไม่ควรที่จะทำให้กฎหมายพิจารณาด้วยความเร็วเกินไป เพราะอาจจะทำให้เราไม่สามารถนำเนื้อหาจากร่างอื่น ๆ เข้ามาประกอบกับร่างครม.ปัจจุบันได้ พรรคก้าวไกลอาจจะยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะทำให้เสร็จโดยเร็วในเดือน สองเดือน แต่เราจะทำให้มีประโยชน์/ประสิทธิภาพสูงสุดแน่นอน
ประเด็นที่ 2 สิทธิการรักษา
ร่างของพรรคก้าวไกลอาจจะมองต่างจากฉบับอื่นเล็กน้อย ไม่ได้มองแค่สิทธิการรักษาอย่างเดียว เรามองเรื่องการคัดกรองและการตรวจสุขภาพด้วย ตามข้อเสนอของอาจารย์ไพสิฐ จะทำให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
ประเด็นที่ 3 ระบบฐานข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนต้องเข้าถึงได้
ร่างของพรรคก้าวไกลมีระบุชัดเจนในมาตราที่ 59 เรื่องของการเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายทั้งไม่ว่าจะเป็น Burn scar Hot spot ทิศทางลม ต้องถูกเปิดเผยเข้าถึงโดยง่ายทางออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงเปิดเผยในเรื่องการดำเนินงานของรัฐทุกอย่างในแต่ละปี อย่างน้อยต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในทุกปี เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ ซึ่งต่างจากร่างของครม.ที่ให้เสนอแต่เพียงครม
ประเด็นที่ 4 การสนับสนุนการวิจัย
ที่ให้เพิ่มไปในการกำหนดนโยบาย จะนำเข้าไปประชุมในชั้นกรรมธิการแน่นอน พรรคก้าวไกลจะมีการนำเรื่องนี้เข้าไปบรรจุอยู่แล้ว แต่จะอยู่ในเรื่องของกองทุนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยค่าปรับทั้งหมดจะเข้ามาอยู่ในกองทุนนี้ และมีระบุวัตถุประสงค์ชัดเจนว่าจะนำไปใช้ในเรื่องของการเยียวยา และการทำงานวิจัย
ประเด็นที่ 5 การคุ้มครองประชาชนที่ฟ้องร้องต่อหน่วยงานรัฐ
มีบรรจุชัดเจนอยู่แล้วในร่างฯ เรื่องการปกป้องสิทธิประชาชน
ประเด็นที่ 6 การประกาศเขตภัยพิบัติ
มีค่าที่อ้างอิงจากการประชุมครม ที่ระบุว่า จะมีการประกาศเขตภัยพิบัติ เมื่อมีค่าเฉลี่ย PM 2.5 ใน 24 ชั่วโมงมากกว่า 250ไมโครกรัม/ลบม. และมีอีกค่าของกรมควบคุมมลพิษก็มีการพูดถึงว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเป็น 150ไมโครกรัม/ลบม ต่อเนื่องเกิน 3 วัน แต่พอเราเอาค่าเหล่านี้มาเทียบกับข้อมูลในอดีต จังหวัดเชียงใหม่ โดยค่าของที่ประชุมครม. จังหวัดเชียงใหม่ก็จะมีการประกาศเพียงครั้งเดียวคือปี 2015 และค่าของกรมควบคุมมลพิษก็จะมีการประกาศ 2 ครั้งคือปี 2015 และ 2023 ซึ่งตนมองว่ายังสูงเกินไป ต้องปรับลงมาเล็กน้อย มิเช่นนั้นจังหวัดเชียงก็แทบจะไม่มีการประกาศเขตภัยพิบัติเลย ส่วนที่แม่สายจะสามารถประกาศแทบทุกปีเพราะเกณฑ์นี้ครอบคลุม
ประเด็นที่ 7 การปรับตัดทอนเนื้อหาฉบับครม.
มองว่ากฎหมายฉบับนี้ของครม.มีการนำเนื้อหาของพ.ร.บ.ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเข้ามาใส่มากเกินไป ซึ่งเป็นกฎหมายที่เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2535 อาจจะต้องมีการตัดทอน ไม่ควรเอาเนื้อหาในฉบับเดิมๆ มาใส่มากเกินไป
ประเด็นที่ 8 มาตรา 81
จำเป็นต้องแก้ ว่าด้วยเรื่องของการฟ้องปิดปากประชาชนและสื่อมวลชน ต้องตัดออก และร่างของพรรคก้าวไกล เรา มองว่าโทษทางสังคมมากว่า ควรเปลี่ยนเป็นการเปิดเผยรายชื่อผู้ก่อมลพิษต่อสาธารณชนดีกว่า เปลี่ยนจากฟ้องปิดปากเป็นเปิดเผยรายชื่อดีกว่า
ประเด็นที่ 9 ให้ตัวแทนจากท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม
ร่างของพรรคก้าวไกลไม่เหมือนกับฉบับอื่น มอบให้นายกอบจ.เป็นหัวเรือแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ไม่ใช่ผู้ว่าไม่เก่า แต่เพราะอายุการทำงานเฉลี่ยของผู้ว่าฯประมาณ 1 ปี 8 เดือน ที่อาจจะยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องพื้นที่เท่าที่ควร ควรจะปรับให้เป็นนายกอบจ.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนขึ้นมานำแทน อยู่ได้ 4 ปี มีงบประมาณ ยึดโยงกับประชาชน นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจากอปท. ในพื้นที่ต่างๆ ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในคณะกรรมการระหว่างจังหวัด
ประเด็นที่ 10 การเขียนกฎหมายให้อ่านง่าย เข้าใจได้ทันที
เห็นด้วยอย่างยิ่ง จะทำให้การตีความในชั้นกรรมาธิการให้ประชาชนเข้าง่ายมากที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาการตีความที่ต่างออกไป
ประเด็นที่ 11 อัพเดทเพิ่มเติมเรื่องการประกาศการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์จากกระทรวงพาณิชย์
ตนได้ตั้งกระทู้ไปยังกระทรวงพาณิชย์เรื่องการต่ออายุประกาศนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีการประกาศไปแล้ว ของปี 2567 โดยปีนี้จะประกาศแค่ปีเดียวคือ 67 ซึ่งปกติจะประกาศ 3 ปี เนื้อหาที่เสนอแนะกระทรวงพาณิชย์คือการจัดทำพิกัดที่ชัดเจน มีการเผาหรือไม่ แต่ประกาศ 67 ก็ไม่ได้บรรจุเข้าไป และเรามีการถามอีกว่าในรายละเอียดของประกาศจะมีการประกาศข้อยกเว้น เช่นว่า สินค้าที่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ พืช จะยกเลิกการนำเข้าได้ แต่ว่าในประกาศมีระบุว่าผู้นำเข้าได้ต้องมีหนังสือรับรอง ซึ่งตนได้ขอกระทรวงพาณิชย์ไปแล้วว่าในอดีต เขาส่งหนังสืออะไรมารับรองบ้าง แต่สิ่งที่ได้รับตอบกลับคือแบบฟอร์มธรรมดาที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง ในส่วนนี้จะขอต่อไป เพราะปี 67 มีการต่ออายุเพียงปีเดียว อาจเป็นการเปิดช่องให้ผู้ประกอบการหรือไม่ และต้องเอารายละเอียดหนังสือรับรองที่ผู้นำเข้าจะต้องส่งให้กระทรวงพาณิชย์ เพื่อรับรองว่าสิ่งที่นำเข้าไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบต่อไปว่า รับรองอย่างไรที่ว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และในส่วนของร่างพรบ.ของก้าวไกล ยังมีการหลักการให้ผู้ประกอบการได้พิสูจน์ ไม่ให้ตกเป็นจำเลยของสังคม โดยต้องมีการรายงานข้อมูลอย่างเปิดเผย ครอบคลุมทั้งระบบ
คุณภัทรพงษ์ ยืนยันว่า ร่างที่ออกมาเนื้อหาแต่ละร่างประกอบกันมากที่สุดไม่ให้ช้อดีของแต่ละร่างตกหล่น รัดกุม และจะทำงานคู่กับประชาชนจะสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงท้ายของการพูดคุย คุณบัณรสได้สอบถามกรรมาธิการว่า ฟังดูเหมือนแต่ละท่านก็จะมีจุดยืนที่จะไปแลกเปลี่ยนพูดคุย ต่อรองกันในการประชุม แต่แนวโน้มของการแปรญัตติครั้งนี้ว่าจะเป็นอย่างไร จะถกเถียง หรือประณีประนอม
คุณภัทรพงษ์กล่าวว่า การถกเถียงคงเป็นเรื่องปกติ แต่หลักการไม่ต่างกัน คงจะไม่เป็นลักษณะทะเลาะเบาะแว้ง แต่หาจุดร่วมที่ตรงกัน และภาคประชาชนพยายามเสนอว่า ถ้าเป็นไปได้ การตั้งคณะอุกรรมธิการเพื่อศึกษาบางเรื่องที่จำเป็น เช่นฝุ่นข้ามแดน หรือประเด็นที่มีการคุยเชิงลึก มีคนภายนอกร่วมศึกษา อาจมีความจำเป็น เพื่อลดการถกเถียงมากมายในชั้นกรรมาธิการ เพราะควรได้มีข้อสรุปบางเรื่องมาบ้าง เป็นต้น คิดว่า คราวหน้าจะได้พูดคุยในประเด็นนี้
ด้านคุณดนัยภัทรกล่าวว่า ไม่ได้คิดว่าจะต้องต่อสู้กันขนาดนั้น เอาผลประโยชน์ประชาชน ถ้าประเด็นไหนโต้เถียงกันมากก็ควรมีคณะอนุกรรมาธิการเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งการประชุมครั้งหน้าเราก็จะเสนอเรื่องนี้แน่นอน
กฏหมายอากาศสะอาด:รับร่างแล้วไปไหนต่อ ?
ข้อมูล 7 ร่าง พระราชบัญญัติอากาศสะอาด
คลิกอ่าน รายนาม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ….