โลกเดือด ทะเลรวน เราจะจัดการทรัพยากรอย่างไร ?

โลกเดือด ไม่ใช่ทำให้  อุณหภูมิโลกใบนี้เพิ่มสูงขึ้น  อุณหภูมิน้ำ “ทะเล”  ก็สูงขึ้นด้วย กระทบอะไรกับท้องทะเลชายฝั่งและมหาสมุทรบ้าง ?

ตอนนี้เราเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ท้องทะเลไทยแล้ว หลายคนอาจจะบอกว่าว่าอาจจะหลายสาเหตุ แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่า ปรากฎการณ์โลกรวน จากการกระทำของมนุษย์เราก็เป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดเร็วขึ้น  และเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้ำทะเล  การเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ,การเคลื่อนย้ายของสัตว์ทะเล และผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ฯลฯ

ชวนทำความเข้าใจสถานการณ์ – ความเปลี่ยนแปลง

ทุกคนน่าจะทราบกันแล้วว่า ตอนนี้เราได้ผ่านยุค “โลกร้อน” เดินหน้าเข้าสู่ยุค  “โลกเดือด”  แล้ว  และ ถ้าพูดถึง “โลกเดือด” คนส่วนใหญ่นึกอะไรเป็นอย่างแรก ? แต่ ทุกคนรับรู้ได้จากอากาศที่ร้อนจัด  ผลผลิตออกไม่ตรงตามฤดูกาล  ส่งผลผักแพง ผลไม้  อาหารแพง และค่าไฟที่แพงขึ้นตามค่าอากาศ

โลกเดือด ไม่ใช่ทำให้  อุณหภูมิโลกใบนี้เพิ่มสูงขึ้น  อุณหภูมิน้ำ “ทะเล”  ก็สูงขึ้นด้วย แล้วโลกเดือด กระทบอะไรกับท้องทะเลชายฝั่งและมหาสมุทรบ้าง ?

  • ภาคการประมง

 ทั้งประมงชายฝั่งและประมงพาณิชย์ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบต่างๆ เช่น ปริมาณสัตว์น้ำลดลง แหล่งสัตว์น้ำเคลื่อนย้าย ห่วงโซ่อาหารถูกรบกวน โดยมีการคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น 0.7-1.5°C รวมถึงรูปแบบปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  • ภาคการท่องเที่ยว 

โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลซึ่งมีความเสี่ยงจากการกัดเซาะชายฝั่ง น้ำทะเลสูงขึ้น และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศชายหาด ส่งผลให้สูญเสียสถานที่ท่องเที่ยวในบางแห่ง  อุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นจะให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะปะการังฟอกขาว  ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีจุดดำน้ำสำคัญระดับโลก 

ทะเลที่เรา ที่เราพูดถึงหมายรวม  ทั้งชายฝั่ง หาดทราย สัตว์น้ำ สัตว์ทะเล ป่าชายเลน ปะการัง  และอื่นๆ อีกมากมาย  รวมๆ เป็นระบบนิเวศทางทะเล  ครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ส่วนของโลกมีความสำคัญมากต่อสมดุลโดยรวมของนิเวศบนบก และในน้ำ

  • สำหรับระบบนิเวศทะเลและชายฝั่งในประเทศไทย สามารถจำแนกเป็นระบบนิเวศย่อยที่สำคัญ 6 ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศหาด

ระบบนิเวศป่าชายเลน

ระบบนิเวศแนวปะการัง

ระบบนิเวศแหล่งหญ้าทะเล

ระบบนิเวศทะเลสาบสงขลา

ระบบนิเวศทะเลเปิด

ซึ่งเราใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศของทะเลหลายอย่าง  เช่น เป็นแหล่งอาหาร ควบคุมสภาพอากาศ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง  ตลอดจนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

จากข้อมูลศูนย์วิจัยทรัพยากรณ์โลก ระบุว่า แค่ชายฝั่งทะเลเพียงอย่างเดียว มีปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพสูงและแนวปะการัง ก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตอีกมากมาย เป็นห่วงโซ่อาหารขนาดใหญ่  และยังดูดซับพลังงานความร้อนและคาร์บอนของโลกไว้ 90% เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น

ตอนนี้เราเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ท้องทะเลไทยแล้ว หลายคนอาจจะบอกว่าว่าอาจจะหลายสาเหตุ แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่า ปรากฎการณ์โลกที่เดือดจากการกระทำของเราก็เป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดเร็วขึ้น

  • วิกฤตปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นทั่วโลก   อย่างที่ไทยเองก็เริ่มเห็นแนวปะการังฟอกขาวเกิน ในบางพื้นที่ทั้งอ่าวไทย – อันดามัน   เช่น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร เจอกับกับภาวะปะการังฟอกขาวแล้ว เนื่องจากมีอุณหภูมิน้ำทะเลเฉลี่ยมากกว่า 29°C ติดต่อกันเป็นระยะเวลามากกว่า 3 สัปดาห์  กรมอุทยานฯ มี นโยบายจัดการ  “#ประกาศปิดแหล่งท่องเที่ยว” ปะการังฟอกขาวคือสัญญาณเตือนหนึ่งของวิกฤติโลกร้อน ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม

  • เต่าวางไข่แต่พบว่าเป็นไข่ลม  หลุมไข่เต่ามะเฟืองที่ชายหาดเกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา รังที่ปล่อยให้ฟักเองตามธรรมชาติ  พบไข่ที่ไม่ได้รับการผสมเป็นไข่ลม ส่วนหนึ่งจากอุณหภูมิที่สูงเพศผู้ลดน้อยลงไม่มีการผสมพันธุ์

และกรณีล่าสุด การตายของพะยูน และวิกฤตหญ้าทะเล จ.ตรัง   ซึ่งปัจจุบันพื้นที่หญ้าทะเลเสื่อมโทรมส่วนหนึ่งจากการทับถมของตะกอนทรายประมาณ 7,000 ไร่  ส่วนหนึ่งที่มาจากการขุดลอกแม่น้ำตรัง และนำไปทิ้งในทะเล ความรุนแรงของคลื่นลม ลักษณะพื้นทะเล การผึ่งแห้งและ ฤดูกาล มีผลสำคัญต่อการแพร่กระจายของชนิดและปริมาณของหญ้าทะเลในแต่ละพื้นที่

และอีกสาเหตุหนึ่งในนั้น พบว่า ดินมีความร้อนสูงกว่าปกติ อุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้  หญ้าทะเลมีลักษณะรากที่เน่าตายลักษณะแบบนี้  ซึ่งที่ช่วงที่ผ่านมานักวิชาการ ภาคประชาชน รวมถึงกลุ่มประมงพื้นบ้านพูดคุยเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง  รวมถึงล่าสุดรัฐ กางแผนรับมือ “พะยูนอพยพ” ป้องสูญพันธุ์ หลังพบตายต่อเนื่อง

นี่แค่ส่วนหนึ่ง  ยังไม่นับรวมปัญหาท้องทะเลที่ทั้งชาวประมง  และเรา ซึ่งเป็นผู้ประโยชน์กำลังเจออยู่โดยตรง  สรุปมาเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เจอแล้ว  เจออยู่  และคาดว่าต้องเจอต่อ   สภาพทรัพยากรเสื่อมโทรมส่งผลต่อปริมาณสัตว์น้ำที่ลดน้อยลง  ต้นทุนการทำประมงที่เพิ่มสูงขึ้นผลกระทบต่อรายได้สุทธิที่ลดลงปัญหาขยะในทะเลที่ยังติดท็อปเท็นอันดับโลก    

การเปลี่ยนแปลงกฎหมายด้านการประมง ที่ยังคงเป็นโจทย์สำคัญกับการจัดการทะเลและทรัพยากรชายฝั่ง แล้วตอนนี้ มีความท้าทายและเราทำอะไรไปแล้วบ้าง  สำหรับการเตรียมความพร้อมในการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความเปราะบางสูง 

รายการ ฟังเสียงประเทศไทย เดินทางมายังจ.ตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่พบวิกฤตหญ้าทะเลตรัง เสื่อมโทรมตายลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารของพะยูนฝูงสุดท้ายของประเทศไทย รวมทั้งสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ เเละพบพะยูน มีสภาพผอมชัดเจนว่าป่วยและขาดอาหารสืบเนื่องจากปัญหาหญ้าทะเลตาย เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้อาหารพะยูนขาดแคลน อาหารที่มาจากความไม่สมดุลทางระบบนิเวศ

เราจึงชวนชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ภาครัฐเเละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพูดคุยสะท้อนถึงปัญหา เราจะปรับตัวยังไง ถ้าทรัพยากรและระบบนิเวศจะไม่สามารถการใช้ #เกินขีดจำกัด ได้อีกแล้ว ชวนมองภาพอนาคตในอีก 5 ปีข้างหน้า กับอนาคตการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง

ชมคลิปวงเสวนาอนาคตการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งในพื้นที่จ.ตรัง

จากเวทีที่ตรัง เราชวนมองภาพที่ใหญ่ขึ้น และเติมมุมมองในระดับนโยบายกับแขกรับเชิญ อีก 6 ท่าน 

รมิดา สารสิทธิ์ กลุ่มสตรีประมงพื้นบ้านเกาะลิบง จ.ตรัง
ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ผู้ประสานงาน มูลนิธิอันดามัน จังหวัดตรัง
ธีรพจน์ กษิรวัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา จ.กระบี่
ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ที่ปรึกษาองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ ผ่านการทำงานในองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลกทั้ง IUCN, WWF , WCS และเป็นนักสื่อสารประเด็นสาธารณะที่ว่าด้วยการปกป้องธรรมชาติ
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์  ผู้เชี่ยวชาญคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เป็นผู้เชี่ยวชาญสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ และเป็นอดีตผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต
คุณอุกกฤต สตภูมินทร์ ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) หน่วยงานรัฐที่มีภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล

แล้ว โลกเดือด ทะเลรวน เราจะจัดการทรัพยากรกันอย่างไร ? ฟัง 3 มุมมองจากพื้นที่

ก๊ะเซาะค่ะ รมิดา สารสิทธิ์ มาจากชุมชนเกาะลิบง ก๊ะเซาะเป็นองค์กรกลุ่มผู้หญิงที่ทำงานในเรื่องของการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง เราเป็นโรงเรียนประมงพื้นบ้านที่ทำในเรื่องของงานฟื้นฟู งานอนุรักษ์และงานอาชีพให้กับคนในชุมชน จากการทำงานที่ผ่านมา เราได้เห็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ทุกคนพูดถึงกันวันนี้ก็คือ 1. การกัดเซาะชายฝั่ง ที่เห็นชัด ๆ ก็คือทั้งแนวที่อยู่ชายฝั่งในจังหวัดตรัง และที่หนัก ๆ  ณ วันนี้มันลามไปจนถึง 6 จังหวัดอันดามันแล้ว

 2. การตายของหอย ปลา ที่อยู่ในแนวป่าชายเลนค่ะ วันนี้ที่เห็นคือ มันขึ้นมาตายข้างบนทรายบนพื้นดิน  และก็เรื่องหลักที่ใหญ่ที่สุดวันนี้ก็คือ การตายของหญ้าทะเลรอบเกาะลิบง ที่เห็นชัดคือเป็นหมื่น ๆ ไร่  ที่พูดมาทั้งหมด วันนี้ทำอย่างไรให้คนชุมชน อยู่ให้ได้กับสิ่งที่มันกระทบวันนี้ค่ะ 

สิ่งแรกก็คือ ที่เราต้องอยู่กับมันให้ได้ก็คือ การเกิดเรื่องทั้งหมดค่ะ ส่วนหนึ่งก็เกิดมาจากฝีมือมนุษย์  ทำอย่างไรให้เราลดให้ได้จากการที่เราทำอยู่ ให้เราสามารถรักษาทรัพยากรได้ ดูแลทรัพยากรได้ ฟื้นฟูได้ เพื่อให้มันมีอยู่  มีความมั่นคงชั่วลูกชั่วหลาน 

ภาคภูมิ  วิธานติรวัฒน์ ผู้ประสานงาน มูลนิธิอันดามัน จังหวัดตรัง

เราผ่านวิกฤติต้มยํากุ้ง เราผ่านวิกฤติโควิคในวิกฤติเหล่านั้น เราพบความยากลําบาก ทางเศรษฐกิจแต่เราจะพบว่าชายฝั่งทะเล ที่สมบูรณ์ เนี่ยเป็นฐานเสร็จ เป็นฐานทรัพยากรที่รองรับเรา คนชายฝั่งทะเลอันดามัน

มีความยากลําบากในวิกฤติเหล่านั้น แต่เป็นความยากลําบากที่เรายังมีรอยยิ้ม เพราะเรายังมีฐานทรัพยากร และเรายังมีชีวิตที่ดีได้  เรื่องนี้สําคัญมากนะครับ เรากําลังพบกับภาวะอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เราไม่รู้ว่ามีวิกฤติอะไรที่กําลังจะมา เพราะฉะนั้นเราจะต้องเตรียมความพร้อมที่จะพบกับวิกฤติเหล่านั้น ฐานทรัพยากรที่สําคัญมากครับ มันยิ่งจําเป็นมากขึ้น ที่เราจะต้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งให้อยู่ได้รับให้อยู่ในระบบนิเวศที่สมดุล แล้วมันจะพาเราเผชิญหน้า กับวิกฤตเหล่านั้น ที่กําลังจะมาถึงเรื่อง

สําคัญที่สุดก็คือว่า เรากําลังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทําให้อุณหภูมิ โลกเพิ่มสูงขึ้น จากการที่เราใช้พลังไฟฟ้าจากฟอสซิล  เรื่องนี้ง่ายมากเราอยู่ในประเทศที่มีแสงแดด มีลม มีไบโอแก๊ส ซึ่งผลิตมาจากพืชผลทางการเกษตร และ อุตสาหกรรมการเกษตร  สามตัวนี้มากเพียงพอที่เราจะผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้ ทั้งประเทศไทยโดยเฉพาะภาคใต้นะครับ  รัฐบาลแค่มีมติ ครม. บอกว่า นับแต่นี้เราจะก้าวสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด   ศาลากลาง ทุกศาลากลางอําเภอทั้งหมดติดโซล่าเซลล์สําหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในเวลากลางวันแล้ว เราก็จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้อย่างจํานวนมหาศาลและเราก็จะช่วยให้โลกอุณหภูมิของโลกไม่เ พิ่มสูงขึ้นไปถึงจุดที่หายนะจะกลับมาสู่มนุษย์ชาติก็เหลือแต่ทํา เรื่องพวกนี้ทั้งหมดผมคิดว่ารอไม่ได้และจําเป็นที่จะต้องลงมือทํามันวันนี้ทันทีครับ

 

ธีรพจน์  กษิรวัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา จ.กระบี่

ภาคการท่องเที่ยวเป็นภาคหนึ่ง ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจํานวนมาก และก็พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยส่วนใหญ่ก็ ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล  เราเลยใช้โมเดลของภาคการท่องเที่ยว สนับสนุนโรงแรม และก็ภาคธุรกิจในพื้นที่ของเกาะลันตาให้ติดโซล่าเซลล์ เพื่อลดของการใช้ไฟโดยเราคาดหวังว่ามันจะเป็นโมเดลที่ภาคของโรงแรมทั่วประเทศจะสามารถนําไปใช้ได้ต่อไปนะครับ

วันนี้จึงมีการรวมตัวของกลุ่มเกาะเพื่อทําการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนะครับ เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องของหาแนวทางในการจัดการร่วมกันสู่การใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน ซึ่งเราก็พบว่ามีหลายเกาะที่มีแนวคิดในเรื่องของการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและยั่งยืน 

ซึ่ง วันนี้เราอาจจะพูดได้ว่าแม้นวิกฤตของปัญหาโลกร้อนเนี่ยจะเป็นวิกฤติที่ใหญ่และก็เป็นวิกฤตที่เรารอไม่ได้แต่ วันนี้เราเริ่มละ แล้วเราก็คาดหวังว่าคงไม่ได้เป็นเฉพาะพวกเราแต่เราเชื่อว่าทางพี่น้องคนไทย และก็ภาคส่วนโดยเฉพาะของภาค ส่วนราชการและรัฐบาลน่าจะให้ความสําคัญในการสนใจในเรื่องของการจัดการทั้งทรัพยากรและปัญหาโลกร้อนอย่าง เข้มข้นและจริงจังมากกว่า

ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ กล่าวว่า ประเด็นนึงที่เรามักจะได้ยินบ่อยนะก็คือเรื่องของวิกฤตที่ควรจะนําไปสู่โอกาส เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในเรื่องของวิกฤตโลกรวน ทะเลเดือด คาดว่าในช่วง2-3 ปีที่ ผ่านมาเราเห็นแล้วว่าวิกฤตมันอยู่ตรงหน้า คิดว่าเราต้องยกระดับในเรื่องของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ แล้วก็ส่งเสริมการอนุรักษ์อย่างจริงจัง

“เรื่องนี้มันไปไกลกว่า แค่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมแล้วนะครับ ทํายังไงที่จะต้อง ยกระดับ ในที่นี้ทุกภาคส่วนเกี่ยวข้องกันหมดนะครับ การจัดการทรัพยากรทางทะเล และ ชายฝั่งให้มันดีกว่านี้”

ยกตัวอย่าง กรณีหญ้าทะเล เรื่องของการจัดตะกอนนะครับ เรื่องของการจัดภาคการเกษตรที่มันจะนํา ในเรื่องของน้ำเสียนะครับ ปุ๋ยเคมีที่ลงมาสู่ชายฝั่งเนี่ย  เหล่านี้เนี่ยทำให้ทรัพยากรอ่อนแอลงหมด  การจัดการในปัจจุบัน เนี่ยเรามักจะ เรียกว่า Resilience Based Management การจัดการที่มุ่งเน้นสร้างความยืดหยุ่นของระบบนิเวศ ชุมชน และระบบสังคม

ข้อเสนอหลักเลยผมคิดว่าเราต้องเอาเรื่องของ วาระการอนุรักษ์ มาเป็นวาระอย่างจริงจัง แล้วก็ทํายังไงที่จะส่งเสริม เรียกว่า เอ็มพาวเวอร์ แล้วให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ชุมชนที่รับผิดชอบได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่

คุณอุกกฤต สตภูมินทร์ ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล กล่าวว่าในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ตอนนี้เรื่องของปะการังฟอกขาว เราต้องมีแผนการรับมือตั้งแต่เราเริ่มการติดตาม อุณหภูมิ ว่ามันจะเพิ่มขึ้น อย่างไร ช่วงที่จะเกิดวิกฤติเนี่ย ก็คือ ช่วงที่อุณหภูมิสูงมากๆก็มักจะเป็นช่วงประมาณ ปลายพฤษภาคมเราจะรู้จัก รูปแบบปกติ   ทีนี้ช่วงระหว่างนั้นเองเนี่ยเรามีการติดตาม มีการใช้เครือข่ายนักดําน้ําอาสาสมัคร เจ้าหน้าที่เราเอง ทั้งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วก็รายงานเข้ามาเราก็จะ พบว่าการเฝ้าขาวที่รุนแรงก็จะกระจายอยู่เฉพาะบางพื้นที่นะ ก็ถือว่าไม่ได้เป็นอย่างที่เรากังวลมาก

แต่ก็มีพื้นที่ที่รับผลกระทบอย่างเช่น ฝั่งตะวันออก แถวชลบุรี แถวระยอง บางส่วนหรือในฝั่งอ่าวไทย ฝั่งตะวันตกนะครับ ฉะนั้นตอนที่เกิดรุนแรงทางในความร่วมมือ หรือในการที่เรามีการสื่อสารกันในระดับของกรม ที่เกี่ยวข้องกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ผมว่าความรับผิดชอบเป็นเรื่องสําคัญ ทั้งในตัวห้องปัจเจกตัวของบริษัท หรือ แม้แต่เชิงนโยบาย เพราะฉะนั้นถ้าเรามีความรับผิดชอบขึ้นมา ผมว่าปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โลกร้อน หรือว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนี่ยมันจะลดมันจะบรรเทาลง พูดถึง ลองเทอมซัพพอร์ต ไม่ใช่ บอกว่าจ่าย เม็ดเงินมาหนึ่งก้อนให้ชุมชนไปทําอะไรสักอย่างนึงแล้วก็จบ ต้องดูว่าสิ่งที่เขาลงทุนไปทําให้เกิดความยั่งยืนของชุมชน ผมว่ามันมีตัวอย่าง ที่เกิดขึ้นทําทําไมเราไม่ผลักดันตรงนี้ให้มันเกิดขยาย ในวงกว้าง แล้วแล้วทางการ ก็จะมีความสุขด้วยว่ามันไม่ใช่ว่าชุมชนถูกทิ้งโดดเดี่ยว

แม้แต่เรื่องของการท่องเที่ยวลันตา ผมว่าเป็นโมเดลที่ทันสมัยมากนะครับ ปัญหาเรื่องของ climate change พูดถึงการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ พูดถึงต่อไปมันจะเป็น คาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งจริงๆเป็นเทรนด์ใหม่ของการท่องเที่ยวจริง ในเชิงนโยบายเรากําลังพูดถึงเรื่องนี้กันนะครับ

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า คือความจริงมันไม่ใช่วาระ ของประเทศไทยหรือ วาระของกระทรวง มันเป็นวาระของโลกเลยนะ”

“เราแม้จะใช้พลังงานหมุนเวียนจะทําอะไรก็ตาม ดีที่สุดเป็นเด็กดีที่สุดในโลกก็หลีกหนีภัยคุกคาม ไปไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของโลก  ใช่ไหมที่เขาปลดปล่อยมากกับเรา เราปล่อยไม่ถึง หนึ่ง เปอร์เซ็นต์ แล้วเราจะไปทําอะไรได้ไหม เพราะฉะนั้นผมกลับมา สอง เรื่องหลัก

เรื่องแรก ก็คือ เรื่องผมคิดว่าเมื่อเห็นภัยคุกคามแล้วเนี่ยมันเป็นเรื่องของมนุษย์ล่ะ หนึ่งต้องบริโภคอาหารทะเลน้อยลงได้ไหม” 

“ทีนี้อีกเรื่องนึงที่ผมคิดว่าเรายังไม่ค่อย ไปมากนัก ก็คือเรื่อง นวัตกรรม เรื่องอินโนเวชั่น เราต้องทําอย่างจริงจังซักทีนึงนะครับ”

แล้วอะไร คือ จุดสมดุล ของ ทรัพยากรและการเดินหน้าทางเศรษฐกิจ? ในมุมมองของแต่ละท่าน

“ผมก็คิดว่าเราต้อง การบูรณาการที่ไม่ได้เป็นแค่บูรณาการ แค่คําพูด แต่ทําให้เกิดบูรณาการที่เกิดความร่วมมือ อย่าง จริงจัง เพราะว่ามันไม่สามารถทําแบบแยกส่วนได้อีกแล้ว” ธีรพจน์

“ถ้ายิ่งเพิ่มการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก มันจะยิ่งทําลายฐานทรัพยากร มันจะยิ่งทําลายคนเล็กคนน้อย ที่เขาอยู่ในพื้นที่เขาดูแลทะเลของเขา ผมคิดว่าเราต้องไปให้พ้นมายาคติไปสู่ความเป็นมนุษย์และตั้งหลักอยู่กับการมีสติเสมอ” ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์

“ผมคิดว่าเราโชคดี ประเทศไทยเรามีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้วนะครับ เพราะฉะนั้นอยากให้เรื่องของการแก้ปัญหาอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน สิ่งที่ตอนนี้ ก็คือเรื่องของ ผมว่าเรากลับมาตั้งหลัก nature -based solutions แนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ว่าเรามีอะไรอยู่แล้ว แล้วจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ยังไง มันก็น่าจะเป็นตัวที่จะทําให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์” ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์

“สิ่งสําคัญเลย เราต้องเข้าใจว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาตินะครับ เราต้องตระหนักว่าเราเป็นคนที่เปลี่ยนธรรมชาตินะครับ ตอนนี้เราอยู่ในยุคที่มีคําเทียบเคียง ว่า Anthropocene  ยุคที่มนุษย์สร้างอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมีนัยสำคัญ หรือ บางคนจะใช้คําว่า มนุษย์ครองโลก เพราะว่าเราคิดว่าเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ แต่เราอยู่เหนือธรรมชาติ เราสามารถควบคุมทุกอย่างได้  งั้นกลับไปสู่ธรรมชาติดีที่สุด” คุณอุกกฤต สตภูมินทร์ ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

“ถ้าในมุมมองก๊ะเซาะ คิดว่าวันนี้คนที่ใช้ทรัพยากรเยอะ คนที่ใช้มากต้อง 1. ต้องมีจิตสำนึกในตรงนี้ และก็ 2.คือคุณใช้มาก คุณก็ต้องกลับมาฟื้นฟูแล้วก็ประเด็นหลักๆ ก็คือ ลดการใช้ให้น้อยลงโดยหาอย่างอื่นมาทดแทนค่ะ” รมิดา สารสิทธิ์  กลุ่มสตรีประมงพื้นบ้านเกาะลิบง จ.ตรัง  

และถ้าเป็นคุณ ฉากทัศน์ การจัดการทรัพยากรอย่างไรในยุคโลกเดือด ทะเลรวน จะเป็นอย่างไร

ฉากทัศน์ที่ 1   

-ถ้าการบริโภคและการใช้ทรัพยากรของเรายังเป็นไปอย่างที่เคยเป็น  ซึ่งตอนนี้เกินขีดจำกัดและแหล่งทรัพยากรและระบบนิเวศจะไม่สามารถรองรับตอบสนองความต้องการนี้ต่อไปได้ ระบบนิเวศจะเสียสมดุล  ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น สูญเสียที่ดินชายฝั่ง  และอุณหภูมิทะเลสูงขึ้นทำให้เกิดปะการังฟอกขาวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้องปิดแหล่งท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายซึ่งต้องใช้เวลา   ด้านประมงชายฝั่งและประมงพาณิชย์ อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบต่างๆ เช่น ระบบนิเวศไม่สมดุล  ปริมาณสัตว์น้ำลดลง  ห่วงโซ่อาหารถูกรบกวน สัตว์น้ำเคลื่อนย้าย พบการตายของสัตว์น้ำหายากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ต้นทุนอาหารทะเลแพงและคุณภาพชีวิต  

-นโยบายรัฐยังเน้นการรับมือแบบตั้งรับ แนวคิดการอนุรักษ์ฟื้นฟู ยังเป็นแผนเฉพาะหน้าเพื่อแก้ปัญหาและฟื้นฟู ซึ่งสามารถทำนำร่องและแก้ปัญหาได้ในบางพื้นที่  สร้างปะการังเทียม  ปลูกหญ้าทะเล จำนวนสัตว์ทะเลเพิ่มขึ้น  ออกมาตรการที่เข้มข้น กระทบกับวิถีชีวิตคน ซึ่งต้องประเมินว่าตอบโจทย์การแก้ปัญหาหรือไม่ 

– สร้างเครือข่ายฯ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังด้วยข้อมูลแต่จำเป็นต้องเร่งใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหา รวมประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางของชุมชนชายฝั่งทุกปีๆ เพื่อออกแบบมาตรการและกิจกรรมการปรับตัวที่เหมาะสม  แต่ก็เจอกับข้อจำกัดจากสภาพอากาศที่คาดการณ์ได้ยาก 

-แม้จะมีมีพื้นที่และแผนเขตอนุรักษ์คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลนำร่อง  ต้องยกระดับมาตรการพื้นที่คุ้มครองมทรัพยากรร่วมกับภาคราชการ วิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน  ซึ่งต้องทำไปพร้อมๆกับการพัฒนากฎหมายและหาระเบียบมารองรับ  แต่ก็ยังติดที่นโยบายที่มีความซับซ้อนมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและใช้เวลาในการดำเนินการ  

ฉากทัศน์ที่ 2 

คนมีความตื่นตัวและสนใจเรื่องความเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น และช่วยกันดูแลให้โลกแย่ไปกว่านี้ แต่ละส่วนทั้ง ภาคท่องเที่ยวทำการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ข้อตกลงในการทำประมงที่เหมาะสมและไม่ทำลายล้าง ลดบริโภคและการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมการใช้พลังหมุนเวียน

ฉากทัศน์นี้ สร้างความเข้าใจกับทุกคนเพื่อนำไปสู่การปฎิบัติจริงและทำทันที นโยบายรัฐเน้นด้านการปรับตัวเชิงรุก ร่วมวางแผนและการปรับตัว ไม่ว่าจะการพัฒนาระบบพยากรณ์และเตือนภัยล่วงหน้า ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง การปรับมาตรการดูแลพื้นที่ทั้งระยะสั้น-ระยะยาว  และมีกลไกกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหายเพื่อเยียวยาเกษตรกรและประชาชนที่มีทรัพยากรจำกัดในการปรับตัว

เปิดกว้างและให้ความสำคัญกับการส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนโดย เฉพาะท้องถิ่น  แต่ก็เจอความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงานของรัฐ ทำให้นโยบายและการทำงานไม่ต่อเนื่อง ซึ่งภาคประชาชนต้องเสียโอกาสทั้งต้นทุนทรัพยากร อาชีพและรายได้ 

ขณะเดียวกัน ภาคประชาชนต้องรวมกันเป็นโครงข่ายฯ เข้มแข็ง  มีข้อบัญญัติตกลงร่วมกัน  อาทิ ปฎิญญาอันดามัน  อันดามัน –  อ่าวไทย  ร่วมผลักดันและออกแบบแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งให้สอดคล้องกับเจตจำนงค์ของคนในท้องถิ่น สร้างส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการฯ ต่างๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทะเลและผู้คน อาทิ การขุดลอกร่องน้ำ การเปลี่ยนพื้นที่ชายฝั่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม นโยบายคาร์บอนเครดิต 

ฉาก 3

ทั่วโลกและไทยให้ความสำคัญสิ่งแวดล้อมโลกมีความเข้มข้นจริงจังมาก  และรวมตัวกันเป็นเครือข่ายในฐานะของพลเมืองโลก เรียกร้องและกดดันให้สมาชิกทั่วโลกแก้ไขปัญหาและทำตามข้อตกลงอย่างจริงจัง  ทั้งหาสาเหตุและลดต้นตอการทำให้เกิดปัญหา  

ส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นคือผู้ที่มีบทบาทในการปกป้องรักษาระบบนิเวศและชีวภาพ และควรได้รับการสนับสนุนในฐานะ active citizen พลเมืองของชุมชนที่รักษาทรัพยากรของชาติและของโลก รัฐและภาคเอกชนควรต้องให้การสนับสนุน และกฎหมายควรต้องเขียนออกแบบใหม่เพื่อสนับสนุนพวกเรา แนวหน้าของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลก

ตั้งเจตจำนงค์และเป้าหมายร่วมกันในเวทีระดับโลก  ในการเพิ่มพื้นที่พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งที่เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ มีลักษณะสำคัญทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ร้อยละ 30 เพื่อเร่งหยุดยั้งและลดความสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติ และคำนึงถึงผลประโยชน์มนุษยชาติ อย่างรู้คุณค่า ยั่งยืน และเป็นธรรม 

กลับไปสู่ฐานคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน  การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและพอดี  เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมที่เกื้อกูลกับธรรมชาติและเป็นธรรมต่อประชาชน

ชวนโหวตภาพฉากทัศน์

ชมคลิปย้อนหลัง รายการ “ฟังเสียงประเทศไทย”

แชร์บทความนี้