เอกรัตน์ เสมสัน : คนรุ่นใหม่ใกล้ชิดการเมืองท้องถิ่นกว่าที่คิด

“การเมืองท้องถิ่น ไม่ใช่เรื่องของการที่จะแบ่งว่าเป็นผู้ใหญ่ เป็นวัยรุ่น แต่มันคือเรื่องของทุกคน รวมถึงเรื่องการกระจายอำนาจส่วนกลางมาสู่ส่วนภูมิภาค”

เอกรัตน์ เสมสัน หรือบอล เด็กหนุ่มจากจังหวัดสตูลที่เดินทางสู่ดินแดนส้นเก้าต้น หรือรูสะมิแล ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เขาเลือกศึกษาคณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง โดยช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งท้องถิ่น บอลและเพื่อน ๆ ได้จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้สมัครนายก อบจ.ปัตตานี เปลี่ยนหรือไปต่อ? “อนาคตปัตตานีที่ใฝ่ฝัน” ขึ้นที่ห้องประชุมชูเกียรติปิติเจริญกิจ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568

สิ่งที่น่าสนใจของงานนี้นอกจาผู้สมัครที่เข้าร่วมประชันวิสัยทัศน์แล้ว งานนี้ถูกตั้งต้นมาจากนักศึกษา โดยทีมสภานักศึกษา ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นี่จึงถือเป็นอีกการตื่นตัวของคนรุ่นใหม่กับการเมืองท้องถิ่น

“เราอยากเป็นพื้นที่กลางให้ผู้คนต่างความคิด ต่างอุดมการณ์ ต่างพรรค มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เราเชื่อว่ามัน สามารถพัฒนาไปได้ไกลกว่า เพราะเวลามีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน จะถูกกลั่นกรองไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ซึ่งในปัจจุบัน ผมและเพื่อน ๆ รวมถึงคนอื่น ๆ มีความตระหนักว่าการเมืองท้องถิ่นนั้นสำคัญมาก เราเลยต้องการจัดงานสักงานหนึ่งที่สะท้อนถึงคนท้องถิ่น และตอบโจทย์คนในท้องถิ่นจริง ๆ ไม่ใช่ตามกระแสของส่วนกลางจนเกินไป”

บอล เล่าถึงความสนใจของตัวเขาและเพื่อน ๆ ที่มีต่อการเมืองท้องถิ่น จนทำให้เกิดเวทีนี้ขึ้น

“ก่อนที่จะมาจัดงานนี้ผมก็คิดว่าการเมืองท้องถิ่นไม่ค่อยสำคัญ เพราะว่าผมสนใจการเมืองระดับประเทศมากกว่า แต่พอเราได้ลองมาศึกษาก็เห็นว่าเวลาที่เราใช้ชีวิตอยู่ในท้องถิ่น หรืออยู่ในจังหวัดบ้านเกิดก็ดี เราก็จะตั้งคำถามว่าทำไมแต่ละท้องถิ่นถึงมีนโยบายไม่เหมือนกัน เราก็เลยพบว่าเป็นเพราะการเขียนแผนพัฒนาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นถ้าเราเขียนแผนดี ๆ คนในท้องถิ่นอาจจะเจริญขึ้นได้ ขณะเดียวกันถ้าหากว่านักการเมืองท้องถิ่นไม่สามารถที่จะเขียนแผนหรือเข้ามาเพื่อประโยชน์ส่วนตน คนในท้องถิ่นท้องถิ่นก็ไม่สามารถเจริญขึ้นได้ นี่จึงมีความสำคัญสำหรับผม”

เมื่อพูดถึงการเมืองท้องถิ่น คำถามสำคัญนอกจากการดูแลสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่เป็นหน้าที่โดยตรงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งครั้งล่าสุดที่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับจังหวัดอย่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ถือเป็นปรากฏการณ์การเลือกตั้งท้องถิ่นพร้อมกันเยอะที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพราะเป็นการเลือกตั้ง ’อบจ.’ ทั่วทั้งประเทศเป็นครั้งแรก และเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นในรอบ 7 ปี หลังจากการรัฐประหารในปี 2557นอกจากนี้ยังมีสถิติที่น่าสนใจอย่างสัดส่วนจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจังหวัดเล็ก ๆ ของภาคใต้อย่างจังหวัดพัทลุง เป็นสัดส่วนจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากสุดในประเทศอยู่ที่ 78.0% รวมถึงจังหวัดอย่างสตูล ปัตตานี และนราธิวาส ที่ติดอยู่ใน 10 จังหวัดสัดส่วนจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. สูงสุด

โดยรูปแบบของการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้ จะมีทั้งในส่วนของการให้ความรู้เกี่ยวอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้แนะนำตัวเอง แต่ที่เป็นไฮไลต์ของงานคือการเปิดให้เพื่อนนักศึกษาได้ตั้งคำถามถึงผู้สมัครโดยตรง

“เขาเป็นคนในท้องถิ่น เขาย่อมที่จะรู้ถึงปัญหาที่ส่วนกลางไม่มีวันเข้าใจ”

เอกรัตน์ เสมสัน

“ผมว่าเขาไม่ได้เข้ามาเป็นนายหรอก แต่เขาเป็นตัวแทนคนท้องถิ่นที่อาสานำข้อเรียกร้อง หรือปัญหาคนในท้องถิ่นมาแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นระดับ อบต. หรือ อบจ. ก็ตาม”

“การเมืองท้องถิ่น ไม่ใช่เรื่องของการที่จะแบ่งว่าเป็นผู้ใหญ่ เป็นวัยรุ่น แต่มันคือเรื่องของทุกคน รวมถึงเรื่องการกระจายอำนาจส่วนกลางมาสู่ส่วนภูมิภาค ผมว่ามันสำคัญมาก เพราะว่าบางทีเนี่ยรัฐบาลกลาง อาจกำหนดกรอบ หรือแผนพัฒนาแบบเป๊ะ ๆ แต่เขาไม่รู้ถึงบริบทของคนในพื้นที่ เช่นพอมีงานศพแล้วให้แจกโลงศพ แต่หากพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ของมุสลิม กลับกันอาจจะเป็นการสร้างปัญหามากกว่า อย่างเช่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความแตกต่างกันอย่างมากจึงจำเป็นต้องเอาคนในพื้นที่จริง ๆ ที่เขารู้ เขาประสบปัญหาทุกวัน เข้ามามีส่วนร่วมในการออกนโยบายและกรอบแนวคิดต่าง ๆ ครับ”

นอกจากพาร์ทเวทีเสวนางานนี้ยังมีการระดมจัดลำดับเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่อยากให้ผู้นำท้องถิ่นออกแบบและจัดการร่วมกับคนที่นั่น และนี่คือเสียงเราที่อยากบอกว่า ต้องการอะไรและอยากเห็นปัตตานีเป็นแบบไหน โดยทีมปัญญารวมหมู่ของไทยพีบีเอส เมื่อประมวลข้อมูลจากบอร์ดกิจกรรม ที่ได้จากเวที แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้สมัครนายก อบจ.ปัตตานี ในหัวข้อ “อนาคตปัตตานีที่ใฝ่ฝัน” เวทีสภานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี & คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี  เสวนาแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ หัวข้อ อนาคตปัตตานีที่ใฝ่ฝัน  ร่วมฟังแนวคิดและแผนพัฒนาที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับจังหวัดปัตตานีของเรา ณ หอประชุม ม.อ.ปัตตานี ชูเกียรติ ปิติเจริญกิจ(สนอ.เก่า) เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา วิเคราะห์ประมวลผลร่วมกับข้อความที่มีการตอบเข้ามาในกิจกรรม My CEO สามารถประมวลผลและพบข้อค้นพบสำคัญ ดังต่อไปนี้

จากบอร์ดกิจกรรมที่คนปัตตานีจำนวนมากได้ร่วมระบุเรื่องสำคัญ ได้ผลออกมาดังกราฟต่อไปนี้

เมื่อทีมงานประมวลข้อมูลจากบอร์ดกิจกรรม ที่ได้จากเวที แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้สมัครนายก อบจ.ปัตตานี ในหัวข้อ “อนาคตปัตตานีที่ใฝ่ฝัน” เวทีสภานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี & คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี  เสวนาแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ หัวข้อ อนาคตปัตตานีที่ใฝ่ฝัน  ร่วมฟังแนวคิดและแผนพัฒนาที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับจังหวัดปัตตานีของเรา ณ หอประชุม ม.อ.ปัตตานี ชูเกียรติ ปิติเจริญกิจ(สนอ.เก่า) เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา วิเคราะห์ประมวลผลร่วมกับข้อความที่มีการตอบเข้ามาในกิจกรรม My CEO สามารถประมวลผลและพบข้อค้นพบสำคัญ ดังต่อไปนี้

“สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากคืออยากให้ลองเปลี่ยนความคิดว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว มันเกิดขึ้นในทุกวัน เราประสบมันทุกวัน”

“เช่นเราไปตลาดแล้วพบว่าทำไมวันนี้ของแพงจัง ส่วนหนึ่งเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะอีกเรื่องคือ ผมคิดว่าคนรุ่นใหม่มีโอกาสมากกว่าคนรุ่นก่อนคืนเรื่องของการกล้าแสดงออกมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของช่องทางการสื่อสารในปัจจุบันที่เรามีมากขึ้น ยิ่งเรากล้าแสดงออกมากเท่าไหร่ ปัญหาต่าง ๆ จะถูกสร้างการรับรู้ได้มากขึ้น อย่างคำคมในหนังสไปเดอร์แมนที่ว่า พลังที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง คือในยุคนี้ผมว่าคนรุ่นใหม่จะเป็นตัวปราสานระหว่างคนรุ่นเก่า และคนรุ่นที่กำลังจะเกิดมารวมถึงเยาวชน อย่างเวทีที่เราจัดขึ้นมาในวันนี้ เราดีใจที่ทำให้คนเหล่านี้มีพื้นที่ ที่สามารถพูดคุยร่วมกันได้ครับ”

บอล ทิ้งท้ายถึงความประทับใจต่อกิจกรรมที่พวกเขาจัดขึ้นในครั้งนี้

ภาพประกอบ : อรรณพ เจ๊ะสุโหลง

แชร์บทความนี้