หลายคนคงมีโอกาสเดินทางไปในต่างจังหวัด แต่เอ๊ะ ! ถ้าเราไม่มีรถส่วนตัวจะเดินทางไปโน่น มานี่กันอย่างไร ? แน่นอนเราหวังพึ่งพา “ระบบขนส่งสาธารณะ” แต่กับหัวเมืองใหญ่ของประเทศนี้ ไม่ว่าจะคนอยู่หรือผู้มาเยือน มีทางเลือกในการเดินทางสัญจรกันแค่ไหน ?
สนข. หรือสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งสาธารณะรวมข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะที่ให้บริการในพื้นที่เมืองหลักของภาคเหนือ 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก โดย เชียงใหม่ เชียงราย ว่ามีทั้งรถเมล์ รถมินิบัส รถสองแถว ส่วนจังหวัดพิษณุโลกมีรถสองแถว และรถคอกหมู ส่วนรถเมล์ เลิกให้บริการไปแล้ว
มี แต่ตอบโจทย์หรือไม่ ?!!
หัวเมืองใหญ่ในพื้นที่ต่างจังหวัดเช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา เมืองเหล่านี้เป็นเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดซึ่งการขยายตัวของเมืองกระจายตัวออกรอบรอบใจกลางเมืองและเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นที่จะต้องคุยว่าในพื้นที่ต่างจังหวัดควรมีระบบขนส่งมวลชนที่ต้องคิดและออกแบบแต่ต้นเพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้คน
ความไม่รอดของรถแดงเชียงใหม่ เป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่ง แต่กับการรอคอยของผู้ใช้บริการต่อขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพของคนต่างจังหวัด เป็นสิ่งที่ต้องลงรายละเอียดให้เห็นถึงเงื่อนไข และทางไป
แน่นอนว่าระบบขนส่งมวลชนที่เลิกไปเพราะเอกชนที่ได้รับสัมปทานอาจจะหมดอายุสัมปทานบ้างหรือประกอบการแล้วไม่คุ้มทุนบ้าง อย่างเช่นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา กระทบต่อผู้ประกอบการจนทำให้ต้องยกเลิกกิจการ
แต่คำถามใหญ่ ว่าทำไมมีแล้วไม่ตอบโจทย์ คนถึงใช้บริการกันน้อยในพื้นที่ต่างจังหวัด
แน่นอนว่าในพื้นที่ต่างจังหวัดมีระบบขนส่งมวลชนยังไม่ครอบคลุม คนส่วนใหญ่เลือกที่จะมีรถส่วนตัวทั้งรถ มอเตอร์ไซต์ รถยนต์ส่วนบุคคล ที่ทำให้การเดินทาง คล่องตัวและตอบสนองการใช้ชีวิตประจำวัน และประเด็นหลักคือการมีรถมอเตอร์ไซต์หนึ่งคันก็อาจจะทำให้การเดินทางถูกกว่าการใช้ขนส่งสาธารณะเสียด้วยซ้ำ
ดูเหมือนว่าโจทย์การที่มีระบบขนส่งสาธารณะในต่างจังหวัดไม่เพียงแค่คุณภาพบริการความหลากหลายในการใช้บริการการตอบโจทย์การใช้ชีวิต อีกประเด็นที่สำคัญคือเรื่องราคา
“ เมืองโต กิจกรรมเยอะ คนเดินทางเยอะ แต่ไม่มีระบบขนส่งมวลชน”
ทีมLocals ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงยศ กิจธรรมเกษร ผู้อำนวยการ ศูนย์วิชาการจัดระบบการจราจรและขนส่งภาคเหนือตอนบน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งระบุว่า หัวเมืองใหญ่ในพื้นที่ต่างจังหวัด เช่นจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสงขลา เมืองเหล่านี้เป็นเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ซึ่งการขยายตัวของเมืองกระจายตัวออกรอบรอบใจกลางเมืองและเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นที่จะต้องคุยว่าในพื้นที่ต่างจังหวัดควรมีระบบขนส่งมวลชนที่ต้องคิดและออกแบบแต่ต้นเพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้คน
เนื่องจากปัจจุบันเกิดความหนาแน่นของการเดินทางเกิดขึ้นในพื้นที่ของตัวเมืองและเกิดการเดินทางเพิ่มขึ้นจากอำเภอรอบตัวเมืองเข้ามามายังตัวเมือง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ที่ส่วนใหญ่โครงการบ้านจัดสรรจะอยู่ตามแนวรอบเขตอำเภอเมือง ทำให้แต่ละวันมีความหนาแน่นสำหรับการเดินทางเป็นพิเศษ แม้ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่จะมีระบบขนส่งขนส่งมวลชน เช่น รถโดยสารขนาดเล็กและรถยนต์สี่ล้อแดงแต่ยังไม่ตอบโจทย์กับผู้คนที่มีความต้องการในการเดินทางที่หลากหลาย
ขณะนี้จังหวัดเชียงใหม่อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาระบบขนส่งมวลชนแบบราง แน่นอนว่าการศึกษาและการลงทุนจำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้น แม้ไม่ครอบคลุมในช่วงต้น แต่นี่คือระบบขนส่งมวลชนหลักที่จะต้องรีบออกแบบและดำเนินการ
อย่างไรก็ตามเพื่อให้ตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้คนจึงจำเป็นต้องมีระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กที่เชื่อมต่อจากระบบขนส่งมวลชนหลัก ในฐานะที่เป็นนักวิชาการและเป็นคนในเชียงใหม่ ก็อยากหนุนให้เกิดระบบขนส่งมวลชนให้เกิดขึ้นก่อนที่เมืองเชียงใหม่หรือเมืองในต่างจังหวัดที่เป็นเมืองใหญ่จะเกิดวิกฤตการเดินทาง จากการไม่มีระบบขนส่งมวลชนไปมากกว่านี้…
ย้อนเชียงใหม่กับการมีขนส่งมวลชน
เชียงใหม่มีขนส่งสาธารณะที่ยังฟังชั่นอยู่ เชื่อมเมือง กับอำเภอรอบนอก
เชียงใหม่ไม่ได้มีแค่รถแดง แต่มีรถหลากสี ถึง 7 สี แต่ละสีจะวิ่งตามเส้นทางของใครของมัน ยกเว้นรถสีแดงที่วิ่งอยู่ทั่วไปในตัวเมือง
1.รถสี่ล้อแดง
เป็นรถที่ใครๆ มาเที่ยวเมืองเชียงใหม่ จะต้องพบเจออย่างแน่นอน 100% เพราะรถแดงมีวิ่งรับส่งผู้โดยสารทั่วเมืองเชียงใหม่ ไม่ประจำทาง
– ค่าบริการเริ่มที่ 30 บาท และหากออกนอกเมืองก็จะคิดราคาตามระยะทางใกล้ไกล มีการต่อรองราคากัน
– รถแดงจะจอดรับผู้โดยสารตลอดเวลา เพราะใครๆ ก็โบกได้ แต่ตัวเมืองเชียงใหม่ไม่ใหญ่มาก ถึงจะจอดบ่อย ก็ไม่เสียเวลามาก หากเหมาทั้งคันก็จะถึงไวหน่อยและเสียค่ารถเพิ่มขึ้น
รถแดง อยู่ในความดูแลของสหกรณ์นครลานนาเดินรถ มีสมาชิกและจำนวนรถ 2,500 คัน ปัจจุบันให้บริการแบบไม่ประจำทางหมวด30 และมีเเท็กซี่มิเตอร์ 365 คัน รถตู้ 50คัน
2.รถเหลือง
2.1 รถเหลือง เชียงใหม่-จอมทอง ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก และที่ประตูเชียงใหม่
2.2 รถเหลือง เชียงใหม่-เวียงกาหลง – เวียงป่าเป้า-แม่ขะจาน ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก
2.3 รถเหลือง เชียงใหม่-บ้านบ่อแก้ว สะเมิง ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก
2.4 รถเหลือง เชียงใหม่-บ้านวัดจันทร์ ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก
2.5 รถเหลือง เชียงใหม่-บ้านอรุโณทัย ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก
2.6 รถเหลือง เชียงใหม่-แม่ริม ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือกและข้างกาดหลวง (ตลาดวโรรส)
2.7 รถเหลือง เชียงใหม่-ป่าป้อง-น้ำพุร้อน-ดอยสะเก็ด ขึ้นรถที่ข้างกาดหลวง (ตลาดวโรรส)
2.8 รถเหลือง เชียงใหม่-โรงวัว -หนองเกิด, เชียงใหม่ มะขามหลวง ขึ้นรถตรงข้ามตลาดประตูเชียงใหม่
2.9 รถเหลือง เชียงใหม่-บ้านกาด อำเภอแม่วาง รถจอดรออยู่ที่ตรงข้ามตลาดประตูเชียงใหม่ หรือไปขึ้นที่สถานีขนส่งช้างเผือก
2.10 รถเหลือง เชียงใหม่-ทุ่งเสี้ยว-อำเภอสันป่าตอง รถจอดรออยู่ที่ตรงข้ามตลาดประตูเชียงใหม่
3. รถส้ม เชียงใหม่-เชียงดาว-ไชยปราการ-ฝาง ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก
4. รถฟ้า รถสองแถวสีฟ้า เชียงใหม่-ลำพูน ขึ้นรถที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) กาดนวรัฐ กาดนครพิงค์.
5. รถสีขาว
5.1 รถขาว เชียงใหม่-แม่แตง ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก
5.2 รถขาว เชียงใหม่-บ่อสร้าง-แม่ก๊ะ-ดอยสะเก็ด ขึ้นรถได้ที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส)
5.3 รถขาว เชียงใหม่-สันกำแพง ขึ้นรถได้ที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส).
6. รถเขียว เชียงใหม่ – แม่โจ้ แมาแฝก ป่าเหมือด ขึ้นรถได้ที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส).
7. รถสีล้อแดงเข้ม เชียงใหม่-พร้าว ขึ้นรถได้ที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส)
ทั้งหมดวิ่งเชื่อมจาก อำเภอรอบนอกมา ถึงเมืองเชียงใหม่ …
รถหลากสี มีการวิ่งให้บริการตามเส้นทางที่ได้รับสัมปทานประจำทาง ยกเว้นรถแดง ที่เป็นการวิ่งรถแบบไม่ประจำทาง โดยย้อนหลังไปเมื่อปี 2559 มีการจัดระเบียบรถสี่ล้อแดง กว่า 2,000 คัน โดยปรับเป็นรถไม่ประจำทาง พร้อมยกเลิก 14 เส้นทาง ที่เคยขีดวงวิ่งได้ไม่เกินวงแหวนรอบ 2 คิดเรทค่าโดยสารไม่เกิน 30 บาทต่อคน
ขณะที่ยุคปัจจุบัน การเกิดขึ้นของการให้บริการขนส่งมีเพิ่มขึ้นตามยุคสมัย และวิ่งไม่ประจำทาง กระจายไปในอำเภอและต่างอำเภอเพิ่มขึ้น เช่นตุ๊กตุ๊ก แท็กซี่มิเตอร์ Grab Maxim
ดูมีทางเลือกหลายหลายใช่ไหม แต่ผู้บริโภคเลือกได้จริงหรือ เมื่อระบบขนส่งในเขตเมืองที่ไม่ได้เป็นขนส่งสาธารณะอย่างแท้จริง – มีต้นทุนของการประกอบการหลากหลาย เช่นค่าป้าย ค่าทะเบียน ค่าภาษี ค่าคิวสัมปทาน มีผลให้ค่าบริการแต่ละเที่ยวยังคงสูงเกินกว่าจะใช้งานในชีวิตประจำวันแทนรถยนต์หรือมอเตอร์ไซด์ส่วนบุคคล
พยายามปรับรถเเดงเเข่งขันในดิจิตอล
ปี 2560 เป็นช่วงที่ระบบ Uber และ GrabCar Grab taxi เกิดขึ้น และเข้ามาให้บริการประมาณ 400 คัน ความขัดแย้งเกิดขึ้ด มีการไล่ล่าจับ รถป้ายดำให้บริการ เพราะผิดกฎหมาย ขณะนั้นมีกลุ่มนักพัฒนาแอพ ทำแอพ ชื่อ อูบ้า รถเเดง“UBAR ROD DANG” เป็น App ที่จะช่วยผู้โดยสารรถแดง และ คนขับรถแดง ในจังหวัดเชียงใหม่ในการทำให้พบกันง่ายขึ้น App ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายโดยไม่ต้องสมัครและไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งผู้โดยสาร และ คนขับรถแดง แต่ไม่รอด
อ่านเรื่อง อูเบอร์หลบไป แอพ อูบ้ารถแดงเชียงใหม่มาแล้ว
กลางปี2560 มีแอพเรียกรถเเดง “CM Taxi Passenger” เกิดขึ้นอรก
เปิดให้ทดลองใช้เลือกได้ 3 แบบ
1. โทรเรียกรถที่จอดใกล้สุด
2. เรียกรถแบบออนไลน์สู้ได้กับแอพอื่นๆ
3.โบกรถที่กำลังจะเดินทางไปยังปลายทางที่ท่านอยากจะไป
และทดลองหลายแบบ แต่สุดท้าย มาสู่การปรับตัวรายบุคคล เช่น มีเจ้าของรถแดงจำนวนหนึ่ง ปรับตัวเองให้ รับเหมาพาเที่ยว ปรับรถให้สมาร์ท ติดแอร์
จากปี2560 มีแค่ 2 แอพ ยังแย่งลูกค้า จนเกิดเรื่องมาเเล้ว ผ่านมา 7 ปีมี หลายแอพ มาก ราคาถูกลงด้วย Grab./ Bolt./ INDRIVE.cabb./ Airasia Super App./Maxim
เรื่องเมื่อ 7 ปีที่ แล้ว เคยมีเเคมเปญผลักดันให้แอพเรียกรถถูกกฎหมาย
ซึ่งพัฒนาการกฎหมายและการเมืองมีส่วน อย่างน้อย เมื่อปี 2565 กรมการขนส่งทางบกก็ได้รับรองใบอนุญาตให้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถโดยสารแล้ว บางแอพเริ่มถูกกฎหมายเเล้ว
ตอนถัดไปทีม Locals ชวนติดตามข้อมูลสัมปทานในพื้นที่ให้บริการที่ผู้ให้บริการรถแท็กซี่สนามบินสนามบิน ผู้ประกอบการรถแดง ผู้ประกอบการแท็กซี่รวมถึง Grab แท็กซี่ ที่ต้องแบกรับสัมปทาน แต่ผู้ที่ต้องจ่ายคือผู้ใช้บริการอย่างเราและคุณ
วิกฤตรถแดงเชียงใหม่ ใกล้ถึงทางตัน
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือโลกร้อนกับภาคคมนาคมขนส่ง : ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง