โครงสร้างบ้านเพื่ออากาศสะอาด : กุญแจแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของไทย

7 เดือนผ่านไปในปี 2567 นับถอยหลังเข้าสู่ “ฤดูฝุ่น” ปัญหาที่ยาวนานกว่าทศวรรษของภาคเหนือ การพิจารณาร่างกฎหมายอากาศสะอาด กำลังเข้าสู่ช่วงสำคัญในชั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ มีการหลอมรวมเนื้อหาจากทั้ง 7 ร่าง เป็นบ้านหลังใหม่ เพื่อให้กฏหมายฉบับนี้สามารถออกแบบกลไกการทำงานเพื่อติดตามป้องกันมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากที่สุด

ลำดับเหตุการณ์ พ.ร.บ.อากาศสะอาด

ข้อมูลจากเว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎร เผยแพร่ บันทึกการประชุมคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. … ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 ในระเบียบวาระที่ 3 มีรายงานผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณากรอบแนวคิด หลักการสำคัญ และโครงสร้างการบริหารจัดการ ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด เป็นที่มาของการพูดคุยในเวทีเสวนา ความหวังประเทศไทย ทางออกแก้ฝุ่น : พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ…. และการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน” ชวนอัพเดตกับทางคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. ถึงสถานะปัจจุบัน เวทีนี้จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่อสะอาด ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNDP สมาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สภาลมหายใจภาคเหนือ องค์กรพันธมิตร ไทยพีบีเอส และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ


“เปรียบ พ.ร.บ.อากาศสะอาดนี้เป็นแปลนบ้าน ที่ปัจจุบันมีแปลนบ้านทั้งหมด 7 แปลน ที่ต้องนำแปลนต่าง ๆ มายํารวมกัน กลายเป็นแปลนที่ 8 ซึ่งบ้านหลังนี้คาดว่าจะสร้างเสร็จปลายปีนี้ และจะเข้าอยู่ได้ต้นปีหน้า คำถามคือ โครงสร้างบ้านหลังนี้จะคลุมแดด คลุมฝนอย่างไร บ้านแปลนนี้มี 3 ชั้น หรือ 5 ชั้น มีประตูเข้ากี่ทาง ?”

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน/กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …  นำเสนอความคืบหน้าคณะอนุกรรมาธิการฯ จากการประชุมร่วมกันทั้งหมด 27 ครั้ง : กรอบแนวคิด หลักการสำคัญและโครงสร้างของกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการพิจารณาปรับปรุงเนื้อหา จาก 7 ฉบับ สู่บ้านหลังใหม่ 

ถอดทบเรียนเดิม สู่การออกแบบโครงสร้างบริหาร  

คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบคิดหลักการสําคัญและโครงสร้างการบริหาร ในการสร้างบ้านหลังใหม่ จากทั้ง 7 ฉบับ ซึ่งออกมาเป็นโครงสร้างหลอมหลวงฉบับที่ 8 เพราะแต่ร่างนั้นมาโดยชุดข้อมูลประสบการณ์แนวคิดที่ต่างกัน บทเรียนและแนวคิดการจัดการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 เนื้อของของ ร่าง พ.ร.บ. ครอบคลุมมลพิษทางอากาศทุกประเภท ไม่ใช่เฉพาะ PM2.5 แต่ PM2.5 เป็นเพียง Key Drivers ของการทำให้เกิด พ.ร.บ.ฉบับนี้ 

– บทเรียนที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาโดยการไล่จับ HOT SPOT ไล่ดับไฟในช่วงฤดูฝุ่น 3 เดือน ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน 5-6 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่า ไม่ใช่คําตอบ ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

สูตรไม่ลับ 8+3+1

8 เดือนที่ต้องทํางานอย่างต่อเนื่องเน้น ความต่อเนื่อง 8 เดือนก่อนเกิดสถานการณ์ฝุ่นนั่นคือทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน แก้ปัญหาลดสาเหตุที่ต้นทาง บางพื้นที่เป็น 7 4 1  คือ ฤดูฝุ่นอาจจะมีทั้ง 4 เดือน เพื่อลดความรุนแรงลดปัญหาในช่วง 3 เดือนฤดูฝุ่น และลดความเสียหายในช่วงหนึ่งเดือนที่เราต้องรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากทางเดินหายใจ เยียวยาผลกระทบด้านการท่องเที่ยว หรือด้านอื่น ๆ  หากสามารถจัดการได้ดีในช่วง 8 เดือนได้ดี จะช่วยแก้ปัญหา ลดความรุนแรง ลดความเสียหาย รวมทั้งลดต้นทุนที่ต้องเสียทุกปี และ 1 เดือนในการฟื้นฟูป่า ฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมีข้อมูลในบางปีที่พบว่าใช้งบประมาณในส่วนนี้สูง 5-9 % ของ GDP ความเสียหายในช่วง 1 เดือน

บ้านหลังใหม่ต้องมีภาคส่วนที่มากกว่าภาครัฐ และเน้นแก้ระบบโครงสร้าง

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน/กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. … กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เริ่มมีสถานการณ์ที่ไปข้ามไปนอกประเทศ  จากนอกประเทศข้ามมาหาเรา เพราะฉะนั้นความซับซ้อนของปัญหา  เราจะใช้เครื่องมือ เผาแล้วจับเด็ดขาด ใช้เครื่องมือในเรื่องกฎหมายอย่างเดียวไม่พอ วันนี้เราออกแบบที่จะต้องมีเครื่องมือที่ต้องการใช้ในการแก้ปัญหา อย่างน้อย 10 เครื่องมือ

เครื่องมือด้านกฎหมาย ยังมีความสําคัญอยู่แต่ไม่พอ เครื่องมือทางกฎหมายที่มีอยู่ ออกแบบปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ปัญหาอย่าง มีอนุกรรมการที่ปรับเครื่องมือทางกฎหมายให้เหมาะกับสถานการณ์  ซึ่งจากสถานการณ์ปัญหาฝุ่นที่มีขนาดและขอบเขต  ที่กว้างขวางมีความรุนแรงมากขึ้นเราสรุปชัดเจนว่า ลําพังกรมควบคุมมลพิษที่มีอยู่ ไม่สามารถแบกรับปัญหาเอาหน่วยงานในกระทรวงทรัพยากร บวกกับหน่วยงานอีก 19 กระทรวงที่มีอยู่ในวันนี้ ไม่พอ เพราะขนาดของปัญหามันกว้างไปมาก ใหญ่เกินกําลังภาครัฐฝ่ายไม่สามารถจัดการปัญหาได้เอง เพราะฉะนั้นต้องมีภาคส่วนจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคเอกชนเข้ามาร่วมทํางานร่วมกับภาครัฐ และในกฎหมายฉบับนี้ ต้องออกแบบรองรับการทํางานที่เกิดจาก หลายภาคส่วนร่วมมือกัน บ้านหลังใหม่ต้องมีภาคส่วนที่มากกว่าภาครัฐเข้ามา

การกระจายอํานาจและสร้างศักยภาพความเข้มแข็งในระดับพื้นที่เป็นหัวใจสำคัญ

การมาในพื้นที่บ่อยครั้ง เชียงใหม่ ลําปาง สิงห์บุรี และมีโอกาสไปเชียงราย จากสถานการณ์เหล่านี้   ท่านผู้ว่าฯ ท่านรองผู้ว่าฯ ช่วยไปให้ความเห็นที่ในสภาด้วย เราเห็นชัดว่าการกระจายอํานาจและสร้างศักยภาพความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ ทั้งในระดับของหน่วยงานราชการ จังหวัด ทั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในชุมชน ใจสําคัญที่จะแก้ปัญหานี้ได้นี่คือฐานคิดที่กฎหมายฉบับนี้กําลังออกแบบเพื่อรองรับกับบทเรียนข้อสรุปนี้ ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน/กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. … กล่าว

ปัญหาของ PM 2.5 เหมือนกับภูเขาน้ำแข็ง พ.ร.บ. อากาศสะอาดจะมาช่วย เพื่อให้แก้ได้ตรงจุด คือ ระบบการทำงาน การบริหารงานของภาครัฐ ต้องมีระบบกลไกการข้ามงานข้ามกระทรวง  

ปรียบเป็นเหมือนกับปรากฏการณ์ของยอดภูเขาน้ำแข็ง ใต้ภูเขาน้ําแข็งคือสิ่งที่เราต้องไปแก้ปัญหา ถ้าเราแก้ปัญหาเฉพาะตัวปรากฏการณ์ มันคือการวิ่งไล่ดับไฟ ข้อเสนอแบบคือเราจะต้องสร้างหอดูดฝุ่น สร้างหอฟอกอากาศคือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การแก้ปัญหาที่มองเฉพาะปรากฏการณ์ สิ่งที่เราต้องแก้คือฐานราก ฐานสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือระบบการทํางานภาครัฐ ระบบการทํางานภาครัฐตั้งแต่ระบบแผน ระบบงบประมาณ กลไกการทำงานข้ามกรม ข้ามกระทรวง ปัญหาข้อจำกัดด้านระเบียบกฎหมายของรัฐ โครงสร้างรัฐที่มีการรวมศูนย์ เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ สะท้อนผ่านการประชุมของ กมธ. หลายครั้ง ที่มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุม และสะท้อนปัญหา เช่น มีแผนระดับชาติ แผนบูรณาการ แต่ระบบงบประมาณไม่มีการบูรณาการ เป็นงบ Function (งบประมาณรายจ่ายกระทรวง/หน่วยงาน)

ไปถึงอากาศสะอาดไม่ใช่แก้แค่มลพิษทางอากาศ

ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ถ้าคนที่แม่แจ่มยังขาดสิทธิในการใช้ประโยชน์อย่างที่ดินอย่างมั่นคง โอกาสที่จะเปลี่ยนจากการปลูกพืชอื่น ๆ เป็นเรื่องยากการมองปัญหาว่ารากปัญหา เศรษฐกิจ ความยกจน ความเหลื่อมล้ำ ความมั่นคงในสิทธิที่ดิน ที่จะมาสู่การเปลี่ยนระบบการเกษตร ที่จะลดการใช้ไฟ และปัจจุบัน เราขาดกลไกกำกับระบบตลาดเสรี ไม่มีกลไกที่ดีพอในการจัดการ

หลังคาบ้าน คือ เป้าหมายสําคัญ คือต้องไปถึงอากาศสะอาดไม่ใช่แก้แค่มลพิษทางอากาศถ้าแก้ทางมลพิษมัน มีวิธีแก้แบบหนึ่ง กฎหมายฉบับนี้จะไปไกลมากกว่า แก้มลพิษทางอากาศนั่นคือเป้าหมายอากาศสะอาด เพราะฉะนั้นต้องมีเรื่องที่ต้องทํามากกว่าการจัดการแค่ปลายทาง การจัดการมากกว่าไปแก้มลพิษนั่นคือเป้าหมายเป็นหลังคาของบ้านหลังนี้

รวม 7 ร่างหลอมรวม “บ้านหลังใหม่ ร่างที่ 8

การแก้ปัญหาระบบเชิงโครงสร้าง ไม่ได้แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ออกแบบกฎหมายที่การใช้กฎหมายและการบังคับใช้กฏหมายที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้าน เกษตร ป่าไม้ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ภาคเมือง 6 sector แต่ละ sector มีกฏหมายอยู่แล้ว กฏหมายอากาศสะอาดจะแก้ไขปัญหาด้านจุดอ่อนของกลไกภาครัฐ จุดอ่อนและข้อจำกัดที่เป็น pain point โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณของรัฐ ซึ่งเราไม่หวังพึ่งภาครัฐ เพียงอย่างเดียว

หลังคาบ้าน

มีเป้าหมายคือ Clean Air Based ไม่ใช่ Pollution Based เพราะหากอยู่บนฐานดังกล่าว การจัดการมลพิษ จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่หาก Clean Air Based จะมีขั้นตอนที่ดำเนินงานมากกว่าการจัดการ เฉพาะปลายเหตุ (PM2.5 และมลพิษอื่น ๆ)

4 เสาหลักของบ้าน การกระจายอำนาจ – สิทธิหน้าที่ Carrot or Stick – การจัดการแบบ co-management

1.การกระจายอำนาจ ไปถึง อบจ.หน่วยงานระดับจังหวัด

2.การรองรับสิทธิ ของบุคคลปลัดชุมชนและประชาชน รวมถึงการเขียนให้ชัดว่าหน้าที่ของรัฐเพื่อทําให้สิทธิของประชาชนให้เกิดขึ้นจริง รัฐต้องทําอะไรบ้าง

3. มาตรการที่เป็นแรงจูงใจ Carrot or Stick มาตรการที่เป็นบทลงโทษ คู่กัน ไม่เน้นการลงโทษ แต่ต้องมีแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับระบบการปลูกพืชที่สุ่มเสี่ยงต่อการเผา จะมีทั้งมาตรการจูงใจในระยะเปลี่ยนผ่านและท้ายที่สุด ต้องลงโทษ สําหรับผู้ที่ยังไม่ยอมให้ความร่วมมือ ยังไม่ยอมปรับเปลี่ยนและสร้างปัญหาให้กับสังคมโดยรวมต้องลงโทษ

4.การจัดการร่วมกัน รัฐ เอกชน ชุมชน จัดการร่วมกันเพราะปัญหามันใหญ่ เกินกว่ากําลังภาครัฐฝ่ายเดียว

5 ห้องสำคัญของบ้านหลังนี้ โดยมีห้องแกนกลาง คือ คณะกรรมการและองค์กรขับเคลื่อนการใช้กฎหมาย โดยระบบคณะกรรมการต้องไม้ล้มเหลวเหมือนคณะกรรมการชุดอื่นที่ผ่านมา ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ (กรมควบคุมมลพิษ) เพื่อรองรับการทำงานในร่าง พ.ร.บ. มีกรรมการในระดับจังหวัดและต่ำกว่าระดับจังหวัด มีเครื่องมือ กลไกแผนจัดการ ห้องที่เกี่ยวกับการจัดการทั้ง 6 SECTER ที่ ห้องที่เป็นเครื่องมือทางกฎหมาย และห้องที่เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้มีกลไกการเงินงบประมาณที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับงบจากภาครัฐเท่านั้น   

6 sector ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ อุตสาหรรม คมนาคม ฝุ่นควันข้ามแดน และภาคเมือง แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ-เครื่องมือจัดการที่ต้องอยู่ใน พ.ร.บ.

6 sector มีรายละเอียดของการจัดการแต่ละ sector มีวิธีการแตกต่างกันไป ซึ่งมีเครื่องมือทั้งเครื่องมือทางกฎหมาย และเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์แตกต่างกันไป ภาคเกษตร แบบหนึ่ง ภาคอุตสาตรรม แบบหนึ่ง ภาคเมือง แบบหนึ่ง มีคุณลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละ sector

ตัวเลขสําคัญที่ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ฝุ่นปีล่าสุด 2567 จุด Hot Spot ซึ่งเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาสรุป พบว่า จุด Hot Spot สําคัญยังเกิดขึ้นในภาคป่าไม้ ในช่วงฤดูฝุ่นปีนี้จากมกราคม จนถึง 27 พฤษภาคม 2567 Hot Spot ส่วนใหญ่ 64% อยู่ในภาคป่าไม้ (ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์) ซึ่งไม่ต่างจากปี 2566 จากรายงาน 10 ปีย้อนหลัง ภาคเหนือมีการเผาในป่าไม้ 79% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เผาในป่าไม้ 36% และเผาในภาคเกษตร (นาข้าว) 40% แต่ในภาพรวมของภาคเกษตรกรรมมีการเผาในที่โล่ง (Hot Spot) 26.8% แบ่งเป็นข้าว 13% ข้าวโพด 13% และภาคเกษตรอื่น ๆ 8.8% (อ้อย 2%)  นี่คือการบ้านที่เราต้องทําการบ้านแก้ไขปัญหาโจทย์ต่อไป

โดยรวมทั้งประเทศ มีแตกต่างในบางภาค โดยเฉพาะภาคอีสาน ภาคอีสานเกิดทั้งในภาคป่าไม้กับภาคเกษตรพอ ๆ กัน Hot Spot อยู่ที่ 40% ภาพป่าไม้อยู่ที่ 37% ภาคเกษตรในภาคอีสานส่วนใหญ่ เป็นนาข้าว มีความต่างบ้างในบางภูมิภาค

ฝุ่นข้ามแดน 4 อันดับสูงสุด คือเมียนมา  3.3 แสนจุด Hot Spot รองลงมาคือลาว 1.7 แสนจุด Hot Spot กัมพูชาประมาณ 1.5 แสน Hot Spot ประเทศไทยเอง 1.3 แสน Hot Spot  ฝุ่นข้ามแดนบางช่วงเราพัดไปหาเขา บางสัปดาห์ บางเดือนเขาพัดมาหาเรา วันนี้การแก้ปัญหาต้องร่วมมือกัน กล่าวโทษกัน ไม่สารถแก้ปัญหา บ้านมีด้วย 4 ห้อง ทุก sector 6 sector จะถูกแก้ปัญหาทั้ง 4 ห้องภายใต้เป้าหมายการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด   

โดยการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดทั้ง 6 Sector จะถูกบัญญัติไว้ในร่าง พ.ร.บ. ซึ่งเนื้อหากฎหมายจะกำหนดให้ลักษณะการลดและป้องกันโดยมีเครื่องมือ 4 เครื่องมือ (ห้องของบ้าน 4 ห้อง) โดยแต่ละ Sector อาจใช้เครื่องมือแตกต่างกัน หรือ บางเครื่องมือสามารถใช้ได้ในทุก Sector โดยมีรายละเอียดของแต่ละเครื่องมือ ดังนี้

  • เครื่องมือบริหาร โดยคณะกรรมการส่วนกลาง พื้นที่ และองค์กรด้านอากาศสะอาด
  •  เครื่องมือและกลไกบริหารจัดการอากาศสะอาด เช่น มาตรฐานอากาศสะอาด ดัชนีอากาศสะอาด เขตเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศ เขตประสบมลพิษทางอากาศ และแผนปฏิบัติการทั้งระดับพื้นที่และแผนปฏิบัติการหลักในแต่ละ Sector ที่คณะกรรมการในแต่ละ Sector เป็นผู้กำหนด เป็นต้น
  • เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ภาษี ค่าทำเนียม เงินอุดหนุนกองทุน เป็นต้น
  • เครื่องมือทางกฎหมาย ซึ่งเป็นบทลงโทษทางแพ่ง อาญา และการปรับเป็นพินัย

10 เครื่องมือ-กลไก บริหารจัดการอากาศสะอาด

1.เครื่องมือตั้งแต่มาตรฐานอากาศสะอาด ซึ่งจะมีทั้งแต่ระดับที่ดูเรื่องของสุขภาพ ดูเรื่องสวัสดิภาพสาธารณะ เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัย (Primary Standards)

2.มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ เพื่อปกป้องสวัสดิภาพของสาธารณะ (Secondary Standard)

3.เครื่องมือที่เป็นดัชนีทั้งแบบเดิมที่เราเรียกว่าดัชนีคุณภาพอากาศ ดัชนีคุณภาพอากาศและสุขภาพอนามัย คือมีทั้ง AQI AQHI   4.ระบบเฝ้าระวังทั้งสถานีตรวจวัดแบบเดิมของ คพ. เชื่อมโยงกับเซ็นเซอร์ที่วันนี้ประชาชนมีอยู่มากมาย นักวิจัยคิดค้นขึ้นมาเราจะเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้น เป็นระบบที่เรียกว่าการเฝ้าระวังโดยภาคประชาชน  citizen monitor  citizen watch dog เชื่อมโยงเข้ามา มีการสอบเทียบให้ได้เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ  5.ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ big data  เป็นหัวใจสําคัญที่จะทําให้ทางจังหวัด ทางอบต.สามารถเอาเครื่องมือนี้แก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด เรากําลังทดลองใช้อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีเครื่องมือที่เติมเข้ามาในกฎหมายฉบับนี้เป็นตัวอย่าง

6.เขตเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศ (หมวด 5 ในร่าง พ.ร.บ.) เพื่อช่วยแก้ปัญหาจุดอ่อน ของเครื่องมือเดิมภายใต้กฎหมายของ กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ที่ต้องรอการประกาศเขตประสบภัยพิบัติ กว่าจะไปประสบเขตภัยพิบัติอาการมันหนักแล้ว    

7. เขตประสบมลพิษทางอากาศ ที่กำหนดอยู่ในหมวด 5 จะนำมากำหนดอยู่ในหมวด 3 เครื่องมือและกลไกบริหารจัดการอากาศสะอาด

8.การประกาศมีผลกระทบกับการประกันการคุ้มครอง เขตเฝ้าระวังคือการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ไม่ต้องรอให้สถานการณ์ไปถึงจุดที่หนักหน่วง ถ้ามีสัญญาณมีข้อมูลที่ อีกสองสัปดาห์เราจะเข้าสู่สถานการณ์ที่หนักหน่วงตัดไฟเสียแต่ต้นลม ให้อํานาจทางจังหวัดที่จะไประงับเหตุตั้งแต่ต้นทาง นี่

9.แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศในพื้นที่ โดยให้ในแต่ละจังหวัดจัดทำแผนครอบคลุมการแก้ปัญหาทั้ง 6 Sectors หรือ เฉพาะ Sector ที่จังหวัดนั้น ๆ มีปัญหา ซึ่งแผนปฏิบัติการของแต่ละจังหวัดจะมีความแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่

10.แผนบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดในแต่ละ Sector มีกฎหมาย องค์กร และคณะกรรมการตามกฎหมายที่มีอยู่เดิม จึงกำหนดแผนบริหารจัดการในแต่ละ Sector ยึดโยงและบูรณาการแผนปฏิบัติการระดับจังหวัด

โดยเครื่องมือบริหารจัดการสำหรับ 6 Sector 10 เครื่องมือ อนุกรรมาธิการฯ จะออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้ในแต่ละ Sector ซึ่งจะปรากฏเนื้อหาในหมวด 4

10 หมวดสําคัญในโครงร่างกฎหมายอากาศสะอาด

1.บทนิยาม

2.หมวด 2 กรรมการและกลไกขับเคลื่อน เพื่อการจัดการอากาศสะอาด กำหนดโครงสร้างบริหาร โดยคณะกรรมกรส่วนกลาง คณะกรรมการระดับพื้นที่ และองค์กรด้านอากาศสะอาด โดยมีองค์กรใหม่ เพื่อรองรับภารกิจที่จะเกิดขึ้นตามร่าง พ.ร.บ. นี้ เพราะโครงสร้างเดิมของกรมควบคุมมลพิษ รวมถึงจำนวนบุคลากร ไม่สามารถรองรับภารกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้นได้

3.หมวด 3 เครื่องมือและกลไกการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด มีทั้งหมด 10 เครื่องมือ รวมทั้งนำหมวด 7 และหมวด 5 เดิม มากำหนดไว้ในหมวด 3

4.หมวด 4 การลด ป้องกัน และบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด 6 ภาค/สาขา ซึ่งต้องพิจารณาหมวดอีกครั้ง โดยแต่ละภาค จะกำหนดรายละเอียด รูปแบบ คล้ายกันในเรื่องเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหา เครื่องมือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ รวมถึงกำหนดรายละเอียด รูปแบบเฉพาะที่แตกต่างกันในแต่ละภาค ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. ที่คณะอนุกรรมาธิการฯ กำลังพิจารณา อยู่ระหว่างการพิจารณายังคงเนื้อหาของเค้าโครงเดิมบางส่วนของร่าง พ.ร.บ. ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ เพิ่มเติมจากเนื้อหาร่างเดิม เพื่อครอบคลุมระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด

5.หมวด 6 เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออากาศสะอาด

6.หมวด 7 เจ้าพนักงานอากาศสะอาด หมวด 8 ความรับผิดทางแพ่ง หมวด 9 โทษทางอาญา และหมวด 10 มาตรการปรับเป็นพินัย ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาอีก 1 คณะ เพื่อพิจารณาเนื้อหาส่วนนี้ให้สอดคล้องกับกลไกและมาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายในหมวดอื่น ๆ ตามที่คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบคิดหลักการสำคัญฯ ปรับปรุงแก้ไข


เข้าใจ 4 โครงสร้างใหญ่ที่ทําให้เกิดปัญหา

อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผู้อํานวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไข ปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) กล่าวว่า หากอยากเข้าใจเรื่องของปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศในทางภาคเหนือ ที่พูดถึงเรื่องของมลพิษที่เกิดขึ้นจาก PM 2.5 มาจาก 4 โครงสร้างใหญ่ที่ทําให้เกิดปัญหา คือ

1.โครงสร้างระบบฐานข้อมูลกับความรู้ที่ว่าด้วยเรื่องของการเกิดขึ้นของ PM 2.5 

2. โครงสร้างของตัวกลไกของระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

3.โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ 

4.โครงสร้างทางวัฒนธรรม

4 โครงสร้างที่เป็น 4 โครงสร้างของระบบที่มีอยู่ในสังคมอยู่ ณ เวลานี้ในการทําให้เกิดมลพิษทางอากาศ กฎหมายว่าด้วยเรื่องของพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดเป็นกฎหมายปฏิรูปที่จะนํามาสู่การเปลี่ยนโครงสร้าง 4 ตัวนี้ 

1.ระบบโครงสร้างระบบฐานข้อมูลและความรู้ แต่เดิมเวลาจะแก้ปัญหาเรื่องพีเอ็ม 2.5 เรามองว่า เป็นวิธีการจัดการแบบบรรเทาสาธารณภัย ต้องรอให้เกิดเหตุแล้วถึงจะไปแก้ 

2. วิธีการแก้ คือการดับไฟเท่านั้นเองซึ่งมันไม่พอ เพราะเป็นการแก้แบบวังวน คือ อยู่ในลูปของการแก้ปัญหาแบบนี้ทุกปี 20 กว่าปีที่ผ่านมาอยู่ในลูปนี้ เพราะฉะนั้นเพื่อต้องการจะแก้ปัญหาให้ทะลุจากวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมเนี่ยก็ต้องมีฐานข้อมูลในการนําไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างของการเกิด PM 2.5 คือโครงสร้างการผลิต โครงสร้าง point sorce ต่าง ๆ ที่ทําให้เกิดฝุ่นขึ้นมา ซึ่งไม่ได้มองแต่เฉพาะภาคเหนือและมองไปที่อื่นด้วย เพราะฉะนั้นที่ผ่านมา เวลาเราพูดถึงเรื่องของ PM 2.5 ไม่ได้พูดว่าฝุ่นมาจาก SECTER ไหน อย่าไร ยังไง แต่ละ SECTER  จัดการอย่างไร ในกฎหมายฉบับใหม่เนี่ยจะระบุ SECTER แต่ละ SECTER  ซึ่งการระบุ SECTER แต่ละ SECTER มาจากทุกฐานข้อมูล ็คือระบบ BIG DATA เพราะในกฎหมายฉบับใหม่ให้ความสําคัญอย่างมากกับการทําระบบ BIG DATA ที่ สามารถพิสูจน์ได้  point sorce เกิดอย่างไร เกิดปริมาณเท่าไหร่ และฝุ่นมันจะไปตรงไหน ได้บ้างจากข้อมูลชุดนี้ นําไปสู่การออกแบบวิธีการในการแก้ปัญหาแบบใหม่โดยลงลึกในแต่ละ point sorce ภาคเกษตรจะแก้อย่างไร ภาคอุตสากรรมจะแก้อย่างไร ภาคเมืองแก้อย่างไร ภาคขนส่งคมนาคมแก้อย่างไร ซึ่งแต่ละ SECTER ล้วนแล้วแต่ต้องการการปลดล็อกข้อติดขัดของกฎหมายเดิม ๆ ทั้งหมดเพราะแต่ละฉบับแต่ละ point sorce มีกฎหมายดูแลอยู่  เช่น อุตสากรรมก็มีโรงงานดูแลอยู่ กรมควบคุมมลพิษทําอะไรไม่ได้มาก เพราะอํานาจไปอยู่ที่กรมโรงงาน มีโรงงานบางประเภทที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมโรงงาน เกิดขึ้นโดยไม่มีกลไกในการควบคุมบทบาทของท้องถิ่นจะเข้าไปทําอะไรก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นนี่คือปัญหาเรื่องของตัวกลไกของระบบราชการที่ต้องเอาข้อมูลจากเก็บข้อมูล เรื่องการเกิด point sorce ต่างๆ มาสู่การออกแบบวิธีการในการทํางานแบบใหม่ 

3 ที่เป็นปัญหาใหญ่คือ เรื่องของกลไกของระบบเศรษฐกิจซึ่งก่อให้เกิดเรื่องของความเหลื่อมล้ํา ก่อให้เกิดการผูกขาด ก่อให้เกิดการผลักภาระของการผลิต ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและผลักภาระประชาชน แต่เราไม่มีมาตรการในการทําให้รัฐเข้าไปแทรกแซง ทําให้กลไกต่างๆ เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม ยังไม่พูดถึงเรื่องของระบบสวัสดิการที่รัฐต้องมาดูแลผู้คนที่เจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากผลกระทบต่างๆ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นในกฏหมายฉบับใหม่ภายใต้การออกแบบคณะกรรมการระดับชาติซึ่งกเป็นกรรมการในการที่บริหารจัดการเรื่องนี้ กรรมการระดับจังหวัด กรรมการระดับพื้นที่ จะเป็นตัวทําให้หน้าที่ในการร้อยให้เกิดการบูรณาการภายใต้แผนของของการดําเนินการแต่แผนนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นแบบ top down แผนนี้ต้องเกิดขึ้นบนระบบฐานข้อมูลที่สําคัญจากพื้นที่ต่างต่าง และพื้นที่ต่าง ๆ ต้องทํากระบวนการแบบมีส่วนร่วมจากข้างล่างขึ้นมาทําให้เกิดการวางแผนที่จะ implement ได้จริง 

ที่สําคัญมากกว่านั้นคือในกฎหมายฉบับใหม่ ภายใต้โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ บทบาทของภาครัฐ จําเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการงบประมาณในการที่จะทําให้เกิดการบริหารจัดการที่สามารถมุ่งเป้าไม่ใช่แบบวิธีการปกติของงบประมาณที่มีอยู่ ณ เวลานี้แบบแบบมาไม่ตรงเวลา มาไม่ได้นําไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ นี่คือภาพใหญ่ของการที่จะไปสู่การแก้ปัญหา และทําให้เกิดการบูรณาการขึ้นมา

ที่สําคัญมากกว่านั้นก็คือความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟ ซึ่งอยู่ในมิติของด้านวัฒนธรรมของความคิดความเชื่อต่าง ๆ นี้ด้วย เพราะฉะนั้นความคิดของชาวบ้านที่มองว่าไฟที่เกิดขึ้นจากการต้องไปเผาพื้นที่ป่า แล้วจึงจะเกิดเห็ด เกิดไออะไรต่างๆ ซึ่งมีงานศึกษาที่สะท้อนว่าไม่จําเป็นต้องเผาก็ได้ แต่การเผาไม่ได้เกิดเห็ดขึ้นอย่างเดียว ตามความเชื่อชาวบ้าน แต่มันเกิดขึ้นเพื่อความสะดวกในการเข้าไปเก็บเข้าไปแล้วแต่ เพราะฉะนั้นจะเปลี่ยนวัฒนธรรมในการในความคิดแบบนี้อย่างไร  เป็นเรื่องความคิด เพราะฉะนั้นการมีข้อมูลเข้ามา หรือการออกแบบเศรษฐกิจป่าที่จะทําให้เกิดการจัดการพื้นที่ป่าแบบใหม่ที่เปลี่ยนวิธีการจัดการแบบภาครัฐที่คนกับอยู่กับป่าไม่ได้ 0เฉพาะพื้นที่โซนที่มันมีความเสี่ยงแบบนี้ จะทําให้เกิดการจัดการที่เป็น comanagement โดยร่วมกันระหว่างคนกับป่า  ภาครัฐภาคประชาสังคมจะเข้ามาช่วยจัดการตรงนี้อย่าไงร นี้คือการเปลี่ยนโครงสร้าง 4 ข้อนี้ ซึ่งกฎหมายใหม่พยายามจะเปลี่ยนโครงสร้างพวกนี้ ผ่านทางแผนผ่านทางกลไกใหม่ ๆ ที่อยู่ในกฎหมาย 

7 กันยายน นี้วันสิ่งแวดล้อมโลก กมธ.อากาศสะอาดฯ ชี้ กม.ทันใช้ภายในปี 67

จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ ประธาน กมธ.ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. … กล่าวว่า การประชุมในวันนี้เป็นการวอร์มก่อนการประชุมใหญ่ในวันที่ 7 กันยายน 2567 ที่รัฐสภา ซึ่งตรงกับวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยมีเป้าหมายในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาด (พ.ร.บ.อากาศสะอาด) ฉบับแรกของประเทศไทยที่มุ่งดูแลประชาชนในเรื่อง PM 2.5 อย่างครบถ้วนและตรงประเด็น

ช่วง 10 ปีหลัง ที่ผ่านมาเรา็เผชิญปัญหานี้มายังรอบด้าน ปี 2562 ตนได้เป็น ส.ส.ของจังหวัดเชียงใหม่ และได้ยื่นร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดเข้าสู่สภา ซึ่งตกค้างไว้ในสภา ก่อนที่จะมีการยุบสภา และมีสารตั้งต้นอีกฉบับหนึ่งคือฉบับของภาคประชาชนที่ยื่นไว้

ปี 2563  ในสภาชุดที่ 26 ที่ในคณะรัฐมนตรีได้มีมติในการให้มีการนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในร่างพ.ร.บ.ที่ยื่นโดย 5 พรรคการเมือง มีฉบับของภาคพรรคการเมือง 5 พรรค โดย 5 พรรคการเมืองจะมีในส่วนของพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทยแล้ว พรรคพลังประชารัฐ และมีส่วนของภาคประชาชน ที่ลงนามโดยประชาชน 22,500 กว่ารายชื่อ และมีร่างฉบับของรัฐบาล เป็นร่างของคณะรัฐมนตรี ที่ร่างโดย คุณบัณฑูร โดยใช้ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และกพร. จึงประกอบเป็น 7 ร่าง ที่ผ่านมติโดยเอกฉันท์ ในสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นที่มาของการตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษา พิจารณาร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด พศ…ฉบับนี้ขึ้นมา ซึ่งมีการประชุมอย่างที่ทราบกันว่า 7 ร่างนั้น จะทําอย่างไรให้มีความครบถ้วน ไม่ได้ทิ้งมาตราไหน หรือประเด็นใดที่ตกหล่น การหลอมรวมในทุกมาตรานั้น ให้มีความสมบูรณ์ และตรงประเด็นที่สุด  

ในฐานะที่เป็นประธานในการประชุมช่วงแรก ต้องยอมรับว่ามีความหลากหลายจากที่มาแหล่งความรู้ แต่จุดที่ดีและเป็นจุดแข็ง คือ เรามีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทวงคืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับคนทุกคน เพราะฉะนั้นในการศึกษาระหว่างทางนั้น เราทำงานอย่างเข้มข้น ซึ่งสัดส่วน 39 ท่าน ถือว่าใหญ่พอ ๆ กับการพิจารณางบประมาณแผ่นดิน ห้องที่ประชุมมาครบถ้วนจากทุกภาคส่วน ตัวแทนจากพรรคการเมืองทั้งหมด ภาคประชาชนที่มีสัดส่วนมากกว่า เกือบจะครึ่งนึงของกรรมการชุดนี้ นั่นแปลว่าความเห็นและสิ่งที่พ่อแม่พี่น้องทุก ๆ ท่าน ได้บรรจุเข้าไปใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในภาคของประชาชนจะไม่ตกหล่น และเรียกได้ว่ากว่าครึ่งนึงในการประชุม เราให้ความสำคัญกับการให้การพูดคุย และให้ความสำคัญของภาคฝ่ายประชาชนก่อนเสมอ

การทํางานของสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาร่างกฎหมายที่มีความสําคัญและส่งผลกระทบต่อประชาชนจํานวนมาก จําเป็นต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนอย่างรอบด้าน  

การรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน

  • การเชิญหน่วยงานของรัฐ กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ภาคเอกชน สมาคมการค้า องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคประชาชนมาร่วมแสดงความคิดเห็น
  • การตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณากรอบคิด หลักการสําคัญ และโครงสร้างการบริหารร่างกฎหมาย
  • ใช้กระบวนการประชุมในห้องอนุกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม ไม่ทิ้งประเด็นใดไว้ข้างหลัง

การตรวจสอบความรับผิดชอบทางกฎหมาย

ตั้งคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาความรับผิดชอบทางกฎหมายและการใช้กฎหมาย เนื่องจากร่างกฎหมายฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงและสร้างกฎหมายใหม่เพื่อคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ ส่วนกฎหมายฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็นหมวดที่ 8 หมวดที่ 9 หมวดที่ 10  เรื่องของการปรับทางแพ่ง ทางอาญาและการปรับทางวินัย จะมีโทษทางกฎหมายมากขึ้น เพราะฉะนั้น เลยต้องมีภาคส่วนของตุลาการ ในภาคส่วนของกฤษฎีกา และนักกฎหมายต่าง ๆ ขึ้นมาอีกสาเหตุ เพราะเคยเห็นในหลายหลายร่าง หลายหลายกรรมาธิการ เดินทางไปถึงข้างหน้าจนถึงวาระ 2 วาระ 3 ในสภาผู้แทนราษฎร ไปถกกันอยู่ในนั้นสุดท้าย ถูกตีตกแล้ว กลับมาซ่อมใหม่ กลับมาแก้ใหม่ ใช้เวลาอีก 3-4 เดือน เพราะฉะนั้นเราอยากจะเดินทางให้รัดกุมมากที่สุดไม่อยากให้เสียเวลาประเทศไทยอีกแล้ว  

เพราะฉะนั้นพิจารณาไปตามโครงสร้าง ภาษาที่พวกเราต้องการหากไม่มาครอบคลุมและรอบคอบในภาษากฎหมาย จะเสียเวลาแล้ว ต้องถูกตีกลับกลับมาในสภาผู้แทนราษฎร จะเป็นการทํางานก้าว 3 ถอย 4 ไม่ตรงประเด็น และปัญหาไม่ถูกแก้ไขโดยบูรณาการอย่างครบถ้วน 

การพิจารณาในห้องใหญ่ครบถ้วนแล้ว ทั้ง 10 หมวด 120 มาตรา และเริ่มบรรจุของรายของอนุเข้ามายังครบถ้วน ประเด็นที่ตกค้างระหว่างที่เราเดินทางในห้องใหญ่จะมีในส่วนของ ณ ตอนนี้เราอยู่ที่หมวด 2 มาตราที่ 9 อนุกรรมการ เรากําลังลงมติในวันศุกร์หน้า  ประชุมต่อ และเดินทางไปให้เห็นไทม์ไลน์ คือในวันที่ 7 กันยายน 2657 เพื่อที่จะเป็นการรวบรวมและประกาศก้าวต่อไป ว่าประเทศไทย จะต่อสู้และเดินทางสู NET ZERO อย่างแท้จริง ซึ่งความคาดหวังที่กฎหมายฉบับนี้จะคลอดออกมาอยากให้อยู่ในสมัยประชุม นัดนี้ ที่จะปิดสมัยประชุมในช่วงวันที่ 11 ตุลาคม 2567 และในสภาผู้แทนราษฎรจะขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นสว. สภาสูง รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภา ในการที่จะขอเป็นบรรจุ เป็นวาระเร่งด่วน เพราะ อย่างที่พูดคุยกันในทุกภาคส่วนนั้นไม่มีใครเห็น ต่างหรือเห็นค้าน ในประเด็นตรงนี้ ทุกคนมีความหวังใจร่วมกัน ที่จะมีกฎหมายฉบับนี้ออกมาควบคุมในการทํางาน อย่างน้อยเป็นข้อบังคับนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสําคัญ ที่จะไม่ว่าภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม หมอกควันข้ามแดน การที่จะพูดคุยในกรอบประเทศอาเซียน ที่จะใช้กฎหมายฉบับนี้  เป็นเสื้อเกราะ  เป็นเครื่องยนต์ตัวใหม่ที่จะทําให้เรายกระดับ ในการพูดคุยบังคับใช้การแก้ไขปัญหา PM 2.5 ทั้งในและต่างประเทศ  หวังใจว่า ไตรมาส 4 ปีนี้จะสามารถบังคับใช้ได้กฎหมาย ซึ่งแล้วเสร็จในต้นปีหน้า   จะมีบทลงโทษต่าง ๆ ทั้งผู้ที่จะก่อมลพิษในและต่างประเทศ เรื่องการบังคับใช้บังคับโทษ เรื่องของคอนแทคฟาร์มมิ่ง การที่จะเริ่มเปลี่ยนแนวทาง ของการเผา เป็นไม่เผาด้วยนวัตกรรมใด ๆ กฎหมายฉบับนี้ จะเป็นตัวชี้นําตัวชี้แนะในเรื่องของ intensive  ในเรื่องของโทษการปรับแพ่งอาญา

หากไม่ติดขัดใด ๆ แล้วเสร็จคลอดกฏหมายมาบังคับใช้ในปีนี้ปลายปีนี้ มีผลปลายปีหน้า และใช้ผลของการแก้ไขไปเรื่อย ๆ สั้น กลาง ยาว 5 ปี ค่าฝุ่นต้องลดลง จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ ประธาน กมธ.ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. … กล่าว

ฟังเนื้อหาเพิ่มเติม

แชร์บทความนี้