บก.VOL 4 ฟังเสียงคนท้องถิ่นเลือกตั้งสว.คนไทยได้อะไร ?

ช่วงนี้เราๆ ท่านๆ ต่างอยู่ในบรรยากาศคึกคักปนมึนงงกันอยู่ใช่ไหมคะ กับการที่เรากำลังจะได้เห็น สว.ชุดใหม่ที่มาตามรัฐธรรมนูญ  ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครให้บุคคลจาก 20 อาชีพ ได้รับการสรรหา 200 คน ไปทำหน้าที่ 3 เรื่องสำคัญ คือ การพิจารณาและกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล  และให้ความเห็นชอบการดำรงตำแหน่งของบุคคลในหลายองค์กรอิสระ   

ด้วยกติกา เราคงไม่อาจเรียกการได้มาของ สว.ครั้งนี้ว่า “เลือกตั้ง” ได้เต็มปาก   ออกจะเป็นแนว “สรรหาจากผู้ที่สมัครเข้าไป” เสียมากกว่า   แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่มีปากมีเสียงใดใด  โดยเฉพาะเสียงจากคนท้องถิ่นที่มองเห็นสถานการณ์ปัญหาจากพื้นที่รัฐบาลบริหารราชการ และเกี่ยวเนื่องเกี่ยวโยงกับข้อกฎหมายต่างๆนานา ที่ ส.ว.ต้องกลั่นกรอง

พวกเราคาดหวัง บทบาทและการทำหน้าที่ของ สว.กันอย่างไร  เสียงเหล่านี้จะต้องถูกได้ยิน  !!   

ทีมฟังเสียงประเทศไทย ทีม Local The Active ThaiPBS จึงร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยในภูมิภาคและเครือข่ายสื่อสาธารณะท้องถิ่น   จัดงาน  ถอดรหัส เลือกตั้งสว. คนไทยได้อะไร ?  เวทีภูมิภาค : เวทีฟังเสียงประเทศไทย “เลือกตั้งสว.” สะท้อนความคาดหวังต่อสว.ของประชาชนทุกภูมิภาค

เพื่อการรับฟังอย่างรอบด้าน และถกแถลงกันอย่างเปิดใจ  ด้วยกระบวนการ “Citizen dialogue” พวกเราเตรียมข้อมูล ข้อเท็จจริงต่อเกี่ยวกับ การคัดเลือกสว.ตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ไปเป็น “ข้อมูลนำเข้า” และเตรียม “ภาพอนาคต” หรือ “ฉากทัศน์” พร้อมกับเครื่องมือระดมความเห็นออนไลน์เพื่อเกิด “ปัญญารวมหมู่” ไปเป็นเครื่องมือในการสนทนาพูดคุยกัน  4 ภูมิภาค 4 เวที คู่และเวทีระดับประเทศ  คือ

เวทีภาคอีสาน 

พฤหัสบดี 23  พฤษภาคม 2567      วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น


เวทีภาคใต้ 

วันพฤหัสบดี 30 พฤษภาคม 2567     ห้องประชุม ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงเวที


เวทีภาคกลาง

วันอังคาร  4 มิถุนายน  2567  ณ หาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี   จังหวัดลพบุรี


เวทีภาคเหนือ 

วันพฤหัสบดี  7  มิถุนายน 2567  ณ จ.เชียงราย (สถานที่อยู่ระหว่างประสานงาน)


 และเวทีใหญ่ Policy forum

วันอังคาร 18 มิ.ย.2567 ณ ThaiPBS

ทุกเสียงจากเวที  และกระบวนการรับฟังทางออนไลน์  เพื่อหวังจะได้ให้ ความคิดเห็นแลกเปลี่ยนของประชาชนทั้งกระบวนการ แง่มุมบทบาทในสถานการณ์สำคัญของพื้นที่  และโดยเฉพาะ “คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของสว.” ในใจประชาชนจะเป็นเช่นไร   

 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รวมกันไปจัดเวทีใหญ่และจัดทำเป็นข้อเสนอและภาพสะท้อนของสังคมไทยต่อไปค่ะ

ติดตามรายละเอียดการเข้าร่วมเวที และรับชมการถ่ายทอดเวทีฟังเสียงประเทศไทย ฟังเสียงคนท้องถิ่น ได้ที่ เพจนักข่าวพลเมือง เพจThe North องศาเหนือ เพจอยู่ดีมีแฮง เพจแลต๊ะแลใต้ เพจLocalist และติดตามชม รายการฟังเสียงประเทศไทย เรื่องของ สว. ต่อเนื่องทุกวันเสาร์ เวลา 17.30-18.00 น.ตลอดเดือนมิถุนายน

เกาะติดเลือกตั้งสว. คลิก

                                                 ////

อีกเรื่องที่ บก. อยากจะบอกกล่าวกับทุกท่าน  คือเมื่อ 9 พฤษภาคม 2567  ThaiPBS เราเปิดบ้านกันค่ะ ไฮไลท์สำคัญคือเราจับมือกับภาคีเครือข่ายหลายส่วน เพื่อร่วมกันสร้าง “ระบบนิเวศทางการสื่อสาร”  โดยทีมพวกเรา สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ  ก็ได้เปิดตัว  4 ยูนิต ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการสื่อสารที่จะเป็นเครื่องมือหนุนเสริมการเกิดระบบนิเวศสื่อสาธารณะและขยายการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นก็คือ  วารสาร “Locals” Public Journal ที่ทุกท่านกำลังอ่านนี้ โดยวารสารทำงานเชื่อมโยงไปกับ Web Locals ที่ทำหน้าที่เป็น   Portal Website  เชื่อมไปยังเนื้อหาและ platform ของเครือข่ายนักสื่อสาร เครือข่ายสื่อสาธารณะท้องถิ่น และศูนย์สร้างสรรค์สื่อสาธารณะ ที่ก่อเกิดขึ้นและคาดหวังจะขยายตัวมีเพิ่มเติมและมีความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น  เป้าหมายเพื่อให้เรื่องราวของท้องถิ่นไทยที่สื่อสารโดยคนจากพื้นที่ Locals แต่มีมิติเชื่อมโยงและแง่มุมของ Glocal กระจายสู่การรับรู้และคนท้องถิ่นสามารถร่วมกำหนดเนื้อหา กำหนดทิศทางท้องถิ่นของตนเองผ่านเนื้อหาที่สื่อสารระหว่างกันได้ด้วย   รายละเอียดบทบาทนี้ และอีกหลายเรื่องราวอยู่ในฉบับที่คัดสรรมาในฉบับนี้แล้วค่ะ

โดยเฉพาะเรื่องจากปกฉบับนี้ “อีเลิ้งเผชิญโลก” ชุมชนท้องถิ่นใจกลางกรุงเทพมหานครพาตัวเองเชื่อมสู่โลกสากลได้อย่างน่าสนใจ กว่าจะมาถึงวันที่คนในชุมชนนางเลิ้งออกแบบชุมชนของตนเองด้วยการเหลียวมองต้นทุน และเชื่อมโยง “ผู้คน” รายรอบ ให้มีส่วนสำคัญที่จะร่วมประกอบสร้างชุมชนที่มุ่งหวัง ลองติดตามบทสัมภาษณ์พิเศษ “น้ำมนต์” และติดตามการแกะรอยแผนที่วัฒนธรรม 120 ปีอีเลิ้ง  

และสำหรับอีกหลายๆ เมือง ที่ผู้คนมีส่วนสำคัญในการออกแบบ …. ฉบับนี้ อยากชวนทุกท่าน มอง ออกไอเดีย ร่วมกันคิดว่า คน ข้อมูล เทคโนโลยีแบบรวมหมู่ จะสร้างเมืองน่าอยู่ได้อย่างไร ? คลิกอ่านในฉบับได้โดยพลันค่ะ

อัจฉราวดี บัวคลี่   

 [email protected] 

แชร์บทความนี้