ฟังเสียงประเทศไทย : ‘ถอดบทเรียน EEC’ อนาคตทิศทางเขตเศรษฐกิจพิเศษไทย

โครงการพัฒนาระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  หนึ่งในโครงการที่ภาครัฐวาดภาพฝันเอาไว้ว่าจะเป็นโครงการที่ดึงดูดนักลงทุนต่างเข้ามา ขยายเม็ดเงิน ขยายโอกาสการทำงาน  และทำให้ GDP ไทยเติบโตขึ้นแบบติดจรวด 

แต่กลับกัน ภาคตะวันออกในวันนี้ กำลังเผชิญหน้ากับปัญหา เมื่อการพัฒนาที่เป็นภาพฝันแลกมาด้วยผลกระทบที่คนในพื้นที่ต้องแบกรับทั้งทางตรง และทางอ้อม ทั้งวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวประมงที่กำลังเลือนหาย และช่องโหว่ของการก่อตั้งโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมและการลักลอบทิ้งที่ยังไม่มีบทสรุปของการแก้ไขปัญหา สิ่งเหล่านี้ที่สะท้อนให้เห็นว่า ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนแทบไม่มีข้อมูล องค์ความรู้ รวมทั้งอุปกรณ์และงบประมาณในการรับมือกับอุบัติภัย

นี่คือโจทย์ที่รายการฟังเสียงประเทศไทย ชวนประชาชนคนภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ พื้นที่ที่กำลังจะเกิดโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับ EEC และนักกฎหมาย นักวิชาการ ภาคประชาสังคมที่ศึกษาเรื่องของผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ มาร่วมกันถอดบทเรียน และช่วยกันมองอนาคตจากนี้ไปร่วมกัน

ขอ 3 คำ การพัฒนาในพื้นที่ EEC ที่อยากเห็น

ก่อนที่จะพูดคุยกับแบบลงลึกถึงปัญหาของการเรื่องของ EEC นี่คือความคิดเห็นบางส่วนจากคนที่พื้นที่ที่สะท้อนถึงปัญหาที่พวกเขาต้องเผชิญ พร้อมกับวาดฝันภาพอนาคตที่เขาอยากเห็นถัดจากนี้ไป

อมรศักดิ์ ปัญญาเจริญศรี นายกสมาคมประมงพื้นบ้าน จังหวัดชลบุรี มองว่าทุกมิติมันเกี่ยวข้องกันหมด ไม่ว่าเรื่องของมนุษย์สิ่งแวดล้อมหรือการมีส่วนร่วมมันเกี่ยวหมด เราทิ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ เพราะทุกอย่างมันต้องเป็นองค์ประกอบที่จะมัดรวมกัน มันถึงจะขับเคลื่อนประเทศได้ 

ประเทศพัฒนาได้มันต้องเอาทุกมิติมารวมกันเพื่อขับเคลื่อน ถ้าเราทิ้งสิ่งแวดล้อม วันหนึ่งสิ่งแวดล้อมเขาก็คืนเรา สุดท้ายเราก็ต้องมาออกแบบแก้ไขปัญหาที่เราทําเอาไว้ วันนี้มันสําคัญทุกมิติเลย  เราทิ้งมิติใดมิติหนึ่งไม่ได้ แต่ว่ารัฐจะไม่ได้มองเห็น สิ่งแวดล้อมมันอาจจะไม่สําคัญ รัฐมองแต่เรื่องของ GDP เป็นหลัก

สิ่งแวดล้อมก็สําคัญ ไม่อยากให้ใครคนไปคนหนึ่งละเลยเรื่องพวกนี้ เพราะว่าสิ่งแวดล้อมเวลาเอาคืนเขาเอาคืนหนัก มันเริ่มก่อตัวตั้งแต่ก่อนปี 2558 ความรุนแรงมันจะเพิ่มทวีคูณไปเรื่อย ๆ ทุกปีผมก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่า รัฐบาลจะมองเห็นได้เมื่อไหร่

รศ. ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล นักวิชาการอิสระ เวลาเราพูด EEC เราก็กําลังจะขยายไปภาคใต้ ภาคเหนือ ควรดูงานที่ระยองก่อนให้เห็นว่า การพัฒนาของภาครัฐ เป็นการพัฒนาที่มองเห็นแต่ตัวเลขรายได้ ไม่ได้มองเห็นประชาชน แล้วภาครัฐในพื้นที่ก็อ่อนแอแทนที่จะปกป้องประชาชน กลับยืนเคียงข้างโรงงาน จากการสัมผัสการศึกษามาเป็นอย่างงั้น ดูตัวอย่างก็ได้ว่าตอนที่ไฟไหม้หนองพะวา ส่วนที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัด เค้าออกข่าวมาไม่มีอะไรเกินมาตรฐานเลย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษต้องออกข่าวมาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง 

เราทั้งหมดพูดมาจากรายงานของกรมควบคุมมลพิษ คุณภาพน้ําทะเลชายฝั่ง เสื่อมโทรมมีโลหะหนักต่าง ๆ อยู่มาก คุณภาพน้ําผิวดิน น้ําบ่อตื้นก็ปนเปื้อนจนไม่ให้ประชาชนใช้น้ําบ่อตื้น แต่ทุกวันนี้เนี่ยเรามองว่าอุตสาหกรรมที่ระยองพัฒนาไปมาก แต่ว่าสวนทางกับคุณภาพชีวิตมากเลยคือชาวระยอง คุณภาพน้ําประปาแย่มากเลย โดยเฉพาะในหน้าแล้งเรื่องของอากาศก็มีสารที่ทําลายระบบทางเดินหายใจอยู่เยอะมาก รวมทั้งสารก่อมะเร็ง 

เรื่องนี้มีมติคณะรัฐมนตรีให้แก้ไขมาตั้งแต่ปี  2552 จนปัจจุบันสารก่อมะเร็งก็ยังเกินมาตรฐาน สถานีตรวจวัดอากาศที่สรุปหลอกตาประชาชนว่าคุณภาพอากาศดี ไปดูรายงานละเอียดในกรมควบคุมมีแต่ค่าเอ็นเอตรวจวัดไม่ได้ แล้วตรวจวัดได้บางประเด็น ก็สรุปแล้วว่าคุณภาพอากาศดีมันสะท้อนอะไร มันสะท้อนภาพลักษณ์ ภาครัฐร่วมปกปิดข้อเท็จจริง นัดข้อมูลสถิติมะเร็งของที่โรงพยาบาลที่ระยองรายงานไปก็ไม่ให้เข้าสู่ข้อมูลระดับชาติ 

ทุกอย่างเนี่ยมันพยายามที่จะปกปิดแม้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ระยอง ขยะน้ําเสีย ก็เกิดขึ้นมากมาย มีการสร้างโรงบําบัดใช้เงินไปมากมาย แต่ก็ใช้งานไม่ได้ ขณะเดียวกันประชากรแฝงก็เข้ามามากมาย ทําให้เกิดผลกระทบไม่ว่าจะเป็นปัญหาจราจร สังคมยาเสพติด อุบัติภัยที่เกิดขึ้น อุตสาหกรรมที่ระยอง มันกว่า 30 ปีแล้ว แต่ว่าระบบต่าง ๆ มันไม่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อรองรับอุบัติภัยอะไรเลย 

คิดว่าต้องแก้ไขอย่างจริงจัง แล้วเรามีกฎหมาย พระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มันมีเขียนมาตรา 60 เนื่องจากว่าระยองมีพื้นที่หนึ่งถูกประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ เมื่อถูกประกาศเป็นเขตควบคุมพิษแล้วมันจะต้องแก้ เขาบอกไว้เสร็จเลยอันที่หนึ่งต้องสํารวจข้อมูลในในกฎหมายเขียนไว้ชัดเจน อันที่สองเอามาวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาว่าอันไหนเร่งด่วน ต้องทําก่อนแล้วก็ลงมือทํา เมื่อต้องเปิดเผยข้อมูลแต่ว่าเวลาเขาทําแผนปฏิบัติการ เพื่อลดและขจัดมลพิษที่ผ่านมาไม่ได้เป็นไปตามนี้ เพราะไม่กล้าบอกว่าแหล่งกําเนิดมลพิษอยู่ที่ไหน ไม่กล้าบอกว่ารายงานนี้ปล่อยอะไร โรงงานนี้ปล่อยอะไรบ้าง ไม่กล้าบอกเพราะว่ามันเป็นเรื่องกฎหมาย การแก้ก็ต้องแก้ที่กฎหมายด้วย  

พรภินันท์ โชติวิริยนนท์ ชาวบ้านในเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดที่โดนครั้งแรกในยุค คสช. ยุคเผด็จการการพัฒนาที่รัฐป่าวประกาศทุกครั้ง ทุกพื้นที่ รัฐจะบอกว่าพัฒนาคือคนพื้นที่ได้ คนพื้นที่ต้องมาก่อน และคนพื้นที่ต้องได้ทุกอย่าง 

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นไม่จริงค่ะ ที่แม่สอดในการพัฒนาเกิดขึ้น แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับชาวบ้านคนพื้นที่ แต่เกิดขึ้นกับนายทุน กลุ่มนักการเมืองที่ได้รับผลประโยชน์ตรงนี้ ชาวบ้านไม่ได้อะไรเลยทุกวันเนี้ยที่เขาบอกว่าถ้ามีเกิดตั้งนิคมอุตสาหกรรม หรือตั้งหน่วยงานอะไรลูกหลานจะได้เข้าไปทําเป็นคนแรกในพื้นที่ แต่ไม่จริงคนในพื้นที่ไม่ได้เข้าไปเลย 

มีลูกหลานก็จริงจะเข้าไปเค้าก็ตั้งกฎสารพัดแล้วพอคนในพื้นที่มีการพัฒนาจริง ๆ คนในพื้นที่จะเข้าไปทําก็ไม่ได้ทํานายทุนที่อื่นเข้ามาประมูลทํางานทุกอย่างในนั้น คนในพื้นที่ที่โดนยึดที่ และโดนแย่งพื้นที่ไปนั้นได้รับความเดือดร้อน ขอเข้าไปร่วมเค้าไม่ให้ทํา ไม่ให้ร่วมบอกว่าไม่ใช่หน่วยงานที่เค้าประมูลมาได้ นี่แหละคือความเจ็บปวดของเราที่โดนนโยบายรัฐที่บอกว่าพัฒนาประเทศ ซึ่งเราก็โดนตีตามาตลอดว่า เราคือคนที่ขัดขวางการพัฒนาของประเทศ

ซึ่งไม่ใช่เลยกลุ่มของพวกเราคือกลุ่มที่พัฒนาประเทศ เขาคือกลุ่มที่ขัดขวางความเจริญให้กับประเทศเรา และคอยที่จะเอาความเดือดร้อนมาให้กับประเทศของเราและคนเรา ตัวเราคือเจ้าของประเทศไม่ได้รับความเป็นธรรม จะเอานายทุนข้างนอกเข้ามา 

ที่แม่สอดนี่ ถ้าเราไม่สู้เราคงเสียแผ่นดินที่แม่สอดไป เพราะพื้นที่ที่แม่สอดนี่เขาให้มีกรมธนารักษ์ที่ไหนไปเอาไปออกโฉนด มีที่แม่สอดที่เดียวเอาไปออกโฉนด ในหลังโฉนดมันเปลี่ยนชื่อได้ใช่ไหม แต่คนในพื้นที่ก็เข้าใจแล้วว่าหลังโฉนดต้องเปลี่ยนเป็นเจ้าของ เพราะยุคนั้นเค้าคือคนที่จะขายชาติ 99 ปี เราก็รู้แล้วว่าหลังโฉนดต้องเปลี่ยนเป็นทุนต่างชาติ ซึ่งไม่ได้รักษาไว้ให้กับคนในพื้นที่เลย นี่คือความเจ็บปวดของทุกพื้นที่แล้ว 

เราก็ขอให้กําลังใจกับทุกพื้นที่ที่จะต้องสู้ และขัดขวางการพัฒนาที่บอกว่าพัฒนาประเทศ แต่ไม่ใช่เลย ขอให้พัฒนาอย่างพวกเราที่เป็นประชาชนจริง ๆ

ทำความรู้จักโครงการระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ถอดบทเรียน EEC 5 ปี โอกาส หรือทางตัน

ปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่ถูกแก้ไข สิ่งที่ประชาชนต้องแบกรับ จะถูกคลี่คลายลงได้อย่างไร ถอดบทเรียนจากพื้นที่กันแบบเข้มข้นกับแขกรับเชิญทั้ง 3 ท่าน 

  • พรพนา ก๊วยเจริญ ผู้อำนวยการ Land Watch Thai กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน
  • ดร.สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch  
  • สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) 

ปัญหาสะสม เริ่มต้นที่ผังเมือง EEC 


เริ่มต้นที่ เรื่องผังเมือง EEC สุภาภรณ์ มาลัยลอย กล่าวว่า ประเด็นผังเมืองเป็นประเด็นสําคัญ ที่ภาคใต้ และภาคเหนือเองที่กําลังจะเกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษก็จะเจอ มิติกฎหมายเรื่องการพัฒนาบนฐานเรื่องการผังเมือง เพราะว่าส่วนสําคัญของการพัฒนาเริ่มต้นก็คือต้องมีพื้นที่ใช่มั้ย รัฐเองมองเรื่องการจัดพื้นที่สําหรับการพัฒนาในรูปแบบที่รัฐคิด 

ถามว่าตรงนี้ผ่านกระบวนการทางกฎหมายถ้าเราไปดู พ.ร.บ. EEC เขียนไว้ชัดว่าในมาตรา 29 ให้รัฐจัดทําแผนผัง แผนภาพการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สามจังหวัด ถ้าเป็น EEC คือกําหนดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ก็คือวาดภาพสามจังหวัดว่าอยากให้มีพื้นที่ในการพัฒนาแบบไหน

เมื่อมาตรา 29 ให้กําหนดถึงเรื่องการวาดภาพแล้วก็ให้มากําหนดเป็นแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในมาตรา 30 ซึ่งอันนี้ก็คือสําคัญ พอมีแผนภาพแล้วมาตรา 30 เนี่ยบอกว่า ให้นําแผนภาพนั้นเข้า ครม. ในการอนุมัติ 

จริง ๆ ทั้งศาลจังหวัดภาคตะวันออกมีผังเมืองที่ใช้อยู่ทั้งผังเมืองจังหวัด และผังเมืองชุมชน ซึ่งก็เป็นผังเมืองที่มาจากชุมชนประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมกําหนดว่าโซนพื้นที่ไหนจะดําเนินการพัฒนาในทิศทางไหน เมื่อมติ ครม. บอกว่ากําหนดผังการใช้ประโยชน์แล้วจะประกาศในราชกิจจาฯ ปรากฏว่าเมื่อประกาศราชกิจจาฯ ในแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินสามจังหวัดนี้แล้ว ผังเมืองเดิมจะถูกยกเลิก หมายความว่าผังเมืองที่ชุมชนเคยมีส่วนร่วมทั้ง 3 จังหวัด ทั้งผังเมืองจังหวัด และผังเมืองชุมชนก็ถูกยกเลิกไปเลย และมาใช้ผังเมืองนี้ 

ซึ่งผังเมืองฉบับแรกประกาศเมื่อปี 2562 ซึ่งอันนี้เนี่ยกระบวนการมีส่วนร่วมมีปัญหา ประชาชนดําเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง แต่ ณ จนถึงปัจจุบัน 5 ปีผ่านมา ในการพัฒนา EEC คดีก็ยังอยู่ในการพิจารณา แล้วตามกฎหมาย EEC บอกว่าหลังจากประกาศผังเมืองแรกเมื่อปี 2562 แล้ว จะต้องมีการจัดทําผังเมืองระดับอําเภอ แต่ว่าถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผังไหนที่แล้วเสร็จแต่ผัง EEC แก้มาสองรอบแล้ว 

เมื่อปี 2562 ประกาศฉบับแรกใช่ไหม แล้วปี 2563 ได้มีการประกาศอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งประกาศฉบับนี้ก็คือด้วยมติ ครม. ที่มีไฟเขียว ขยายผังเมือง EEC เพิ่ม 152 ราย ให้เพิ่มพื้นที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพิ่มแล้วก็ต้องไปแก้อันนี้ก็คือเพิ่มครั้งแรกในพื้นที่ เข้าใจว่าที่วังจันทร์เพิ่มพื้นที่ที่เป็นสีน้ําตาลเป็นเขตส่งเสริมที่จะพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่ม ก็คือเพิ่มพื้นที่ในเชิงการส่งเสริมอุตสาหกรรม 152 ไร่ ในการเพิ่มครั้งแรก เพราะฉะนั้นทาง EEC ไม่ใช่ประกาศแล้วจบ

เมื่อปี 2563 ได้แก้ไปแล้วรอบนึง ปรากฏว่าเมื่อปี 2565 ก็ยังมีการอยากเพิ่ม ส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่ม แต่ว่าผังเมืองกําหนดการใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงมีกระบวนการบอกว่ามีการรับฟังความคิดเห็น เพื่อต้องการทําอุตสาหกรรมได้ แต่ไม่เข้มข้นเท่าม่วงทึบ มันก็จะมีการแก้ม่วงจุดสีขาว เป็นม่วงทึบ ผลกระทบเยอะกว่าม่วงจุด แต่ว่ามีอุตสาหกรรมที่การลงทุนแบบนี้ ดังนั้นม่วงจุดใช้ไม่ได้ขอเปลี่ยน จึงมีกระบวนการการรับฟังความคิดเห็นสามจังหวัด เขาลงไว้ในเพจว่ารับฟังไป 7 รอบ ในสามจังหวัด 1,000 คน 

ดังนั้น 2562 จนถึง 2565  EEC เปลี่ยนมาแล้วสองครั้ง ก็ถามว่าคนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมไหม จริง ๆ แล้วการเปลี่ยนผังเมืองสามจังหวัด การรับฟังเพียง 7 ครั้ง ผลกระทบมันไม่ได้อยู่แค่ตรงพื้นที่แน่ ๆ เพราะว่าอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การเปลี่ยนผังเมืองเป็นส่วนสําคัญในการกําหนดพื้นที่และกําหนดทิศทางการพัฒนาส่วนหนึ่ง

ดังนั้นภาพผังเมืองสุดท้ายที่ประกาศในราชกิจจาฯ ก็คือผังเมืองปี 2565 อันนี้คือผังล่าสุดที่ใช้แต่ว่าที่ตกใจมากกว่า ทําไมระบายม่วงลงไป เมื่อเช้ามีคนพูดถึงนิคมอุตสาหกรรมที่อยากขยายสาย เราดูสีเหลืองดูมันดูปลอดภัยใช่ไหม ดูไม่ใช่อุตสาหกรรม ดูแบบเป็นพื้นที่ที่ดูน่าจะปลอดภัยและมีเยอะ

แต่ว่าหลังสุดมีนิคมอุตสาหกรรมที่อยากขยายพื้นที่ในพื้นที่สีเหลืองอ่อน ทํานิคมอุตสาหกรรมได้ไหม เขาเขียนมาในสรุปการรับฟังความคิดเห็นว่า เขาได้หนังสือตอบจากกรมโยธาธิการ และผังเมืองว่าเข้าข่ายที่ทําได้ แต่ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมก็คือต้องปฏิบัติตามการนิคมอุตสาหกรรม แต่คําถามใหญ่คือแปลว่าในพื้นที่สีเหลือง กรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดประตูให้นิคมอุตสาหกรรมทําได้แล้วใช่ไหม 

เรารู้สึกว่าการรับฟังครั้งแรกก็เลวร้ายแล้วจนนํามาสู่การฟ้องคดี แต่ว่าก็พยายามบอกว่ามันมีสีเหลืองอ่อน มีสีม่วงจัดโซนพื้นที่ที่พยายามที่จะจัดพื้นที่อื่นด้วย แต่ว่านอกจากที่พูดว่าสีเหลืองอ่อนเนี่ย มันมีขยะลงไปได้ในหลาย ๆ ประเภททั้ง 101 105 106 ที่อนุญาตให้ทําได้แล้วตอนนี้ มันมีนิคมอุตสาหกรรมลงได้ด้วย 

นิคมเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษที่ประกาศไปแล้ว 27 พื้นที่แล้ว ก็กําลังอยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 2-3 พื้นที่ ที่จะปรับปรุงเพิ่มเติม ก็คือกระจายอยู่ทั้งสามพื้นที่จังหวัดนี้ แต่ว่าอยากให้ดูเขตส่งเสริม เพราะว่าส่วนสําคัญก็คือว่า เมื่อเกิดปัญหา อย่างเรื่องขยะ พื้นที่ของภาคตะวันออกไม่ใช่แค่ในสามจังหวัด เพราะว่าส่วนตัวรู้สึกว่าปัญหาเรื่องขยะไม่ได้อยู่ในสามจังหวัดเท่านั้น มีกระจายไปทั่ว ในภาคตะวันออกปัจจุบันมีโรงงาน 105 106 และ 101 ที่ได้รับอนุญาตถูกต้องปรากฏรายละเอียดอยู่ในข้อมูลของกรมโรงงาน 1,034 โรงงานในสามจังหวัด 

ศักยภาพการรองรับโรงงานขนาดนี้ หรือการจัดการขนาดนี้ที่อยู่ในพื้นที่สีเหลืองได้ และกําลังจะถูกตีความว่า นิคมอุตสาหกรรมก็เข้ามาพื้นที่สีเหลืองได้ เรานึกถึงว่าในโซนพื้นที่ภาคตะวันออกรองรับอะไรอยู่บ้างในขณะนี้

อุบัติภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกถูกตีความว่ามันคือส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับ EEC เพราะมาตอบที่ กมธ. ว่า EEC ดูแลเฉพาะในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้เกิดมาก่อนไม่ได้อยู่ในพื้นที่การรับรองของ EEC ตอนคุณประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกคุณประกาศกี่พื้นที่ คุณประกาศ 3 จังหวัด และเสียงประชาชนบอกก่อนแล้วว่าให้ศึกษาประเมินศักยภาพและยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมก่อน คือ HIA เพราะอะไร เพราะพื้นที่นี้ไม่ได้เป็นพื้นที่ว่างเปล่า 

เพราะพื้นที่นี้มีนิคมอุตสาหกรรมอยู่ก่อนแล้ว เพราะพื้นที่นี้มีเขตควบคุมมลพิษอยู่ก่อนแล้ว แล้วมีปัญหาด้านมลพิษอยู่หนักหน่วง ภาคประชาชนบอกว่าให้คุณประเมินก่อนก่อนที่จะเดินหน้าในการพัฒนา แต่คุณไม่สนใจ แต่เมื่อเกิดปัญหาภัยพิบัติทางสารเคมีมาจากอุตสาหกรรม เมื่อเกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ําในใต้ดิน และสุขภาพของคน คุณบอกว่าคุณไม่ได้ดูแล คุณดูแลเพียงในเขตส่งเสริมที่มันอาจจะยังไม่ได้เกิดผลกระทบ แต่ใช่ว่าจะไม่เกิด เราไม่เห็นพื้นที่ไหนที่มีการปนเปื้อนในประเทศไทยถูกนําสารพิษออกจากสิ่งแวดล้อมได้เลย ในขณะนี้พื้นที่ต้นแบบ พื้นที่ภาคตะวันออกที่ไม่ใช่แค่ EEC ที่ต่อเนื่อ งมันคือสิ่งที่เป็นความท้าทายของประเทศนี้ ว่าถ้าคุณพัฒนาแบบนี้ต่อไปมันคือภาพแรกของฉากแรกที่การพัฒนามาจากรัฐ โดยไม่ฟังเสียงประชาชนและไม่คํานึงถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

ทางภาคใต้ และภาคเหนือด้วย มันอาจจะไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่สิ่งหนึ่งที่มันเห็นก็คือว่า เมื่อเกิดผลกระทบรัฐบาลประเทศนี้ยังไม่มีศักยภาพในการที่จะจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ แม้ว่าจะมีกฎหมายพิเศษ แต่คือกฎหมายพิเศษเพื่อเอื้อต่อการลงทุน เพื่อให้เขตส่งเสริมได้เกิดง่ายขึ้น เพื่อให้อุตสาหกรรมที่ต้องการพัฒนาในพื้นที่ชนบท และเกษตรกรรม สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ในการทําได้ แต่เมื่อเกิดปัญหารัฐบาลประเทศยังไม่มีศักยภาพในการจัดการ 

ขอพูดมากกว่ากรม และขอพูดมากกว่าหน่วยงานรัฐท้องถิ่น เพราะคิดว่าอันนี้คือภาพรวมที่ประเทศต้องมองไปข้างหน้า การมีกฎหมายที่มุ่งหมายแต่เรื่องการพัฒนา แต่คุณไม่ไปแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้จัดการเรื่องการป้องกันหรือว่าผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบหรือการฟื้นฟูได้ คุณยังไม่มีกฎหมายเรื่องการฟื้นฟู คุณยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะเรื่องการจัดการปัญหามลพิษ เราหยุดเดินหน้าอุตสาหกรรมกันก่อนไหมแล้วกลับมาทบทวนกฎหมาย

หน่วยงานรัฐจะต้องมีหลักประกันให้ประชาชนว่าเค้าจะคุ้มครองปกป้องและกํากับควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ก่อน แล้วค่อยเดินหน้า อันนี้เป็นภาพที่มองจาก พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษที่เกิดขึ้น ที่เขียนเพื่อเอื้อต่อการลงทุน แต่ไม่มีมาตรการในการกํากับดูแล หรือว่าแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่ใช่แค่ EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 พื้นที่ควรจะต้องถูกประเมินด้วยว่าแต่ละพื้นที่ได้พัฒนาตามทิศทางที่วางไว้ไหม ถ้าไม่ได้รับการพัฒนา ขอกลับคืนได้ไหม ขอสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ที่ดินขอสิทธิในการที่จะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมปกติของชุมชนที่เค้าเคยมี ก่อนที่จะถูกอํานาจและช่วงชิงไปกลับคืนได้ไหมเพราะฉะนั้นอันนี้ก็คือสิ่งที่อยากเห็น ไม่ใช่แค่ทบทวนกฎหมายแต่เพราะ ทบทวนสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วด้วยว่าประสิทธิผลนั้นดี ถ้าไม่ดีก็ทบทวนและแก้ไข 

EEC เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และอาจไม่คุ้มทุนกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม


พรพนา ก๊วยเจริญ ผู้อำนวยการ Land Watch Thai กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน มองในมิติเรื่องของสิ่งแวดล้อม กับผลกระทบที่เกิดจากการมี EEC ว่า อย่างแรกต้องเรียนรู้จากเขตพิเศษชายแดน เรื่องของการเข้าถึงที่ดิน ซึ่งที่ดินเขตพิเศษชายแดน ติดพื้นที่ 5 เขตก่อน เฟสเฟสหนึ่ง แล้วก็อีก 5 จังหวัด เฟสสอง มีปัญหาเรื่องของการเข้าไปซื้อที่ดินก่อน แม้ว่าจะไม่กินที่ดินโฉนด ในแม่สอดก็เป็นป่าสงวน แต่ว่ามีการไปซื้อที่ดินรอไว้ 

บางพื้นที่ก็มีการค้านของชาวบ้าน ไม่ให้คัดค้านเรื่องของเขต 10 พิเศษเชียงรายอย่างนี้เป็นต้น EEC ได้เรียนรู้เรื่องนี้จากเขตพิเศษชายแดน เขาจึงเขียน พ.ร.บ. ที่ทําให้การได้มาซึ่งที่ดินง่ายอันดับหนึ่งที่คุณสุภาภรณ์พูดถึงผังเมืองสีม่วง ก็คือเขตที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมเดิม เมื่อก่อนเข้มเลยเขตส่งเสริมพิเศษ แล้วก็เปิดช่องให้ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ก็ที่เป็นเรื่องจุด ยังไม่เป็นเรื่องเข้มงวดสามารถที่จะไปให้เป็นเรื่องเข้มได้ 

นาขาวหวังที่มีการพูด ผู้ที่มีอันจะกินอันดับท็อปเทนของประเทศไทยที่ไปซื้อไว้ อยู่ในกระบวนการขอเป็นสีม่วงเข้มอยู่ อันที่สองที่มันซ่อนไปกว่านั้นอีกซึ่งเรา ก็เพิ่งมาพบทีหลัง เราก็ไม่ได้สังเกตถึงแต่แรกเลยคือทําไมต้องมีสีเหลืองไข่ไก่ เริ่มมันไม่เคยมี เดิมมันก็คือถ้าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมก็เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เขียวก็เขียวไปเลย สปก. แยกออกไปพื้นที่ป่าไม้ก็แยกไปแล้วก็จะมีพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 

ซึ่งการแยกทําให้เราค้นพบทีหลังว่ามันมีการซ่อนคือถ้าเค้าทําเป็นงวงหมด มันไม่ผ่านแน่ผังเมือง แต่เค้าซ่อนไว้ ถ้าเราเทียบปี 2560 ไปถึงปี 2580 ผังเมือง 20 ปี แล้วก็ยังหลอกตัวเลขเราว่ามันเพิ่มขึ้นแค่เท่าไหร่ ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่จริง ๆ แล้วถ้าคิดเทียบจาก ปี 2560 มันคือเพิ่ม 64% แต่ว่าเขาคิดโดยเอาพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดมาหาร ผลกระทบนิดเดียวไหมอ่ะ 

ที่เราพูดมาและผลกระทบมันไม่นิดเดียว แหลมฉบังเฟส 2 ก็เหมือนกับเฟส 3 ก็เหมือนกันไม่ใช่บังเอิญ มาบตาพุดบอกว่าถ้าเอาหาร ในพื้นที่ทั้งหมดนิดเดียวเอง 2% หน้าท่าเรือแค่ 2% ถามคนเดือดร้อนแค่ 2% ไหม มันไม่ใช่เพราะฉะนั้นเนี่ยเราคิดว่าประเด็นเรื่องของการทําให้เกิดการเข้าถึงที่ดินแล้วก็มันง่าย คือมันไม่ใช่แค่มี พ.ร.บ. EEC มันมีการเปลี่ยน ไม่แก้กฎหมายเวนคืนที่ดินด้วยปี 2562 ก็คือเพิ่มนิยามเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นกิจการสาธารณะ 

ซึ่งเดิมในการเวนคืนที่ดินเป็นที่เอกชนอย่างเป็นการละเมิดสิทธิ์ มันก็ต้องเป็นไปเพื่อกิจการสาธารณะ เช่น ถนน แต่ว่าเอาเพิ่มเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้าไป ก็ให้เป็นกิจการสาธารณะก็คือว่าสามารถที่จะเว้นเวนคืนได้ โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้ มันมีแพ็คเกจโครงการแก้ไข แพ็คเกจพื้นที่ EEC ถึงทําให้มันสามารถไปได้เร็ว เรียนรู้จากเขต 4 ชายแดน 

มีในรายงานเห็นว่า เรื่อง SEC กรรมาธิการวิสามัญบอกให้ SEC ไปเรียนรู้บทเรียนจาก EEC อีกว่าอันไหนที่ EEC ทําแล้วติดขัด ให้ไปเขียนไว้ใน SEC ไม่ติดขัด มันก็ยิ่งไปใหญ่ โดยประเด็นก็คือว่าเรื่องผังเมืองมันคือเรื่องของการทําให้การเกิดขึ้นของทั้งนิคมหรือโรงงานต่าง ๆมันง่าย แล้วก็ไม่ทําให้เกิดการเปลี่ยนไปซื้อที่ดินรอ แล้วก็ที่ดินราคาสูงทําให้มันจะเกิดไม่ได้ 

กรณีของอีอีซีมันชัดเจนว่า รัฐกับทุนอาจจะคุยกันมาแล้ว คือทุนไปกว้านซื้อก่อนหน้านี้ เคยไม่เข้าใจเรื่องนาขาวัง อันนี้ขอแชร์ในแง่คนดูและคนนอก เคยไม่เข้าใจเรื่องนาขาวังเลย ว่าทําไมชาวบ้านก็ทําดี ๆ แต่นาคาวังเป็นนายเช่า ก็คือเขามีภูมิปัญญาดั้งเดิม แต่มันถูกกดทับทางความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คนทำไม่รวยสักทีอะฟิลประมาณนั้น ก็ต้องขายที่ให้นายทุนพอนายทุนเข้าไปอ้าว EEC มาพอดี ก็ต้องไล่คนทํานาขาวัง 94%ของเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่ได้เป็นที่ดินเป็นของตัวเอง เพราะเสียที่ดินมาตั้งแต่ในยุค 2500 ยุคต้นของการพัฒนาแล้ว 

เค้าเรียกว่าอะไรนะชั้นสองของชั้นสองไปอีกทีนึง ชายขอบของชายขอบไปอีกทีนึง ก็คนพวกนี้ยิ่งจะถูกไม่มองเห็น มันเป็นเคสที่อธิบายว่าการพัฒนามันเบียดขับคนพื้นที่ ภูมิปัญญาในพื้นที่ทรัพยากรในพื้นที่ออกไป

สุภาภรณ์ มาลัยลอย เสริมต่อว่า อีกมุมหนึ่ง เพื่อภาคใต้และภาคเหนือที่รู้สึกว่าจะอินกับอยากเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีการท่องเที่ยวด้วย แต่เท่าที่ดู อย่างเช่นไปดูของภาคใต้มันก็คือท่องเที่ยวในวงเดียว หรือว่าเมืองใหม่ของสามจังหวัดเนี่ยก็เป็นเมืองใหม่ที่เขาวาดว่าจะมีสนามบิน มีเมืองปอดศุลกากร มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มันก็เป็นเมืองใหม่ในมุมการคิดของคนที่จะพัฒนา ไม่ได้เป็นเมืองใหม่หรือการท่องเที่ยวในมุมที่คนในพื้นที่คิดว่าอยากจะต่อยอดศักยภาพในพื้นที่อย่างไร 

เพราะฉะนั้น แม้ว่าในภาพฉากของ EEC ที่ผ่านมาหรือว่าการโฆษณา พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษอื่นควรจะมองมุมอื่นด้วย อย่างเช่นเมืองใหม่ชุมชนที่อยากมีส่วนร่วม หรือไว้พัฒนาเกษตร แต่ว่าส่วนตัวที่มองเนี่ยมันมันเป็นการพัฒนาที่มองจากรัฐ หรือว่ากลุ่มทุนที่อยากจะไปลงทุน

มันไม่ได้ฟังเสียงจากคนในพื้นที่ พอมันไม่ได้ฟังเสียงจากคนในพื้นที่มันก็จะเหมือนหลายคนพูดจากการต่อยอดศักยภาพในเชิงองค์ความรู้ ภูมิปัญญา หรืออีกส่วนสําคัญที่คิดว่าเราต้องเคารพก็คือวิถีวัฒธรรม อัตลักษณ์ของคนแต่ละพื้นที่ ที่เค้าควรที่จะไม่ได้ถูกลดทอนหรือว่าถูกลบออกไปจากการพัฒนาเนี่ยมันไม่ได้ถูก 

ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นมิติการพัฒนาในมุมอื่น ตัวเองก็ยังรู้สึกกังวลว่ามันก็จะไปกระทบกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่อยู่ดีเพราะว่ามันเป็นการพัฒนาในมุมเรื่องการท่องเที่ยว หรือว่าการเกษตรในมิติแปลงใหญ่ การเกษตรในมิติใหม่ที่อาจจะไม่ได้ต่อยอด หรือว่าคนในพื้นที่เองสามารถที่จะต่อยอดศักยภาพกับพื้นที่ที่ตัวเองประกอบอาชีพก็มีวิถีวัฒธรรมเดิมอยู่ได้

ปลดล็อกปัญหา วางแผนการดูแลเรื่องของผลกระทบ 

ดร.สมนึก จงมีวศิน กล่าวว่า สำหรับการดูแลเรื่องของผลกระทบ มันมีตั้งแต่ในหลักการและเหตุผลของพระราชบัญญัติ มีในเรื่องของนโยบายและก็แผนของ EEC เขียนไว้หมด แต่ทุกอย่างเป็นกระดาษ เช่น มีองค์กรนึงมานั่ง ผมก็จะพูดเรื่อง CSR ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ก็คือจะต้องทํา มันจะต้องโปรเจกต์ แล้วก็คือเรียกว่าป้องกันดูแลชุมชนก่อน ไม่ว่าชุมชนนั้นจะมีบัตรประชาชน ไม่มีบัตรประชาชน อันนี้ชัดเจนคุณต้องรับผิดชอบดูแลเค้าก่อน

อันที่สองคือเคารพเขา ไม่ใช่ว่าคุณมองเขาไม่ใช่คนไทย แล้วก็ไปลงตรงนั้นได้ เหมือนที่เมื่อกี้พี่กุ้งว่า จริง ๆ พวกเขามีแผนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น EEC หรือ SEC เค้าจะเอาพื้นที่พัฒนาไปลงตรงจุดที่อ่อนแอ จุดที่อ่อนแอหมายถึงว่า เช่น ในเรื่องของโฉนดที่ดิน มันไม่ชัดเจน ไม่มีโฉนดที่ดิน หรือเป็นที่ดินที่เป็นที่ดินเช่า หรือเป็นที่ดินที่ผู้คนมักไม่ค่อยรู้อะไรมีความรู้น้อย หรืออย่างเช่นไม่มีบัตรประชาชน 

ถัดไปธุรกิจกับสินค้า มันพูดถึงการดูแลป้องกันเนอะ ดูเรื่องของการเคารพ สุดท้ายเลยบางทีคือการชดเชยเยียวยา อย่าง EEC ก็มีกองทุน แต่กองทุน EEC ไม่เคยนํามาชดเชยเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อนจากผลกระทบจาก EEC เลยนับตั้งแต่มี EEC มาถึงปัจจุบันนี้ 

อย่างแรกคือมีให้ต้องเก็บกองทุนแล้วมีเงินในนั้นมั้ยคะ เขาบอกว่ามันไม่สามารถเก็บเงินตรงนั้นได้ เนื่องจากผู้มาลงทุนยังไม่มีมากพอ ยังไม่ได้กําไรหรือโครงการบางโครงการยังไม่ได้เกิดเนื่องจากเลื่อนมา 

อิสเทิร์นซีบอร์ด ถ้าเป็นตัวแรกที่ผลักดันให้เกิดจีดีพีในประเทศไทย โตถึงเลขสองหลัก คือ 10.9 %แผนของอีเทิร์นซีบอร์ดก็คือพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ เราใช้คําว่าอะไรตั้งอีเเทนซีบอร์ด พัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก อันนี้อยู่ในแผน 5 ในปี 2525 ถึง 2529 หลังจากนั้นถึงแผน 6 ตัวเลขถึง 10.9% อันนี้มาจากภาคตะวันออกชัดเจน แต่หลังจากนั้นพอแผน 6 ไปแผน 7 เหลือ 8.1% และแผน 8 ติดลบ 0.1% แผน 9 ได้ 5.7%

แล้วเราก็ไม่เคยเติบโตพ้น 3% เลย จนถึงหลังโควิด ตอนนี้อยู่กี่เปอร์เซ็นต์และไม่แน่ใจ นักเศรษฐศาสตร์นั่งห้องนี้หลายคน แต่ไม่กล้าพูด ผมไม่มั่นใจตัวเลขแต่มันไม่โตทั้งที่เรามี EEC ไม่ได้บอกว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่มันไม่สําเร็จ 

โอเคไม่ควรทางเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งก็คือมีกระดาษเขียนไว้ว่า ควรมีกองทุนมีแผนรองรับแต่ก็ใช้ไม่ได้จริง บังคับใช้ไม่ได้จริง อันที่สองเขียนชัดเจนว่าจะต้องเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเน้นย้ำว่าไ ปสอดคล้องกับ 17 เป้า SDG ของยูเอ็นก็คือของสหประชาชาติ ถามว่า 17 เป้า มันมีโครงการไหนบ้างที่มันเข้า 17 เป้าที่พัฒนา EEC 

ถมทะเลก็ไม่เข้าแล้ว เอาพื้นที่ของนาขาวังไปพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเค้าก็ไม่เข้าไปเอาพื้นที่สีเหลืองอ่อนทั้งหมดประมาณ 2,700,000 ไร่ สามารถทําอุตสาหกรรมได้ เขาบอกว่าทํานิคมอุตสา หกรรมไม่ได้ แต่เขาบอกนิคมอุตสาหกรรมที่ทําไม่ได้ เขาเรียกว่าเป็นกรรมกฎหมายและเขาเรียกว่าประกาศอุตสาหกรรม 14 กันยายน 2552 เพราะนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งไม่ได้ คือนิคมอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมผลิตเหล็กขั้นต้น หรืออุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นหรือขั้นกลางที่ขนาดเกินกว่าที่กําหนดไว้ในโครงการกิจกรรมลําดับที่ 3 หรือระดับที่ 4 แปลว่าอะไรที่อยู่นอกจากนี้ที่ไม่เข้าข่ายนี้ ตั้งนิคมอุตสาหกรรมหมดเลย 

ไม่นับคําสั่ง คสช. คําสั่งคสชปี 2559 ผัง EEC ประกาศเมื่อ ธันวาคม 2562 แต่ปรากฏว่า 2563 คําสั่ง คสช. ยังยกเว้นกิจกรรมประเภท 105 106 จัดการของเสียร่วมคัดแยกกากแล้วก็รีไซเคิลกากไม่อยู่ในพื้นที่อีซีได้ทั้งที่ผังเมืองประกาศใช้แล้ว 

ดังนั้น EEC ไม่ได้โดนแค่ พ.ร.บ. EEC อย่างเดียว ยังโดนคําสั่ง คสช.ด้วยไอ้คําสั่งเนี่ยมันต้องยกเลิกก่อน พ.ร.บ. EEC อีก 

ต้องทำให้ความพิเศษมันเป็นความปกติ ในยุคของเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย มันมีมาตั้งแต่ 2518 ก็คือเรื่องของ พ.ร.บ.นิคมอุตสาหกรรม เพื่อเกิดนิคมอุตสาหกรรมใน 2518 แล้วก็มีปรับปรุง พ.ร.บ.มาเรื่อย ๆ หลังจากนั้นก็มีโครงการพัฒนาพื้นที่ อีสเทิร์นซีบอร์ด ที่ผมว่าในภาคตะวันออก เกิดประมาณแผน 5 ปี 2525 แล้วก็มาเรื่อย ๆ ถ้ามี EEC เราก็ยังอยู่ภายใต้อีสเทิร์นซีบอร์ด

ต่อมาก็มีร่าง พ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจพิเศษ 2548 ที่อดีตนายกทักษิณ ผลักดันขึ้นมา แต่ก็ถูกพวกเรา ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมขอให้อย่าเอามาใช้ เขาก็ยกเลิกไป ไม่รู้เขายกเลิกเองยังไงจําไม่ได้แล้วนะเหตุการณ์นานมาก 

ถัดไปก็มีระเบียบสํานักนายกยุคคุณยิ่งลักษณ์ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2556 แต่หลังจากนั้น 2557 มันก็เกิดปฏิวัติ รัฐประหารโดย คสช. จากนั้นไป คสช. ก็ปัดฝุ่นเอาเรื่องนี้มาทํา แต่พัฒนาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง หลังจากนั้นมาก็มี พ.ร.บ. EEC ปี 2561 แล้วก็ตามมาด้วยระเบียบสองนายกว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2564 คือเราพิเศษมาตลอด หรือพิเศษมากขึ้นมากเรื่อย ๆ งั้นผมคิดว่าไอ้ความพิเศษแบบเนี้ยย้อนกลับไปแค่อีสเทิร์นซีบอร์ดพอมั้ย ไม่ต้องมีกฎหมายพิเศษแบบนี้แล้ว

สุภาภรณ์ มาลัยลอย เสริมต่อว่า นอกจากแก้อันนี้ ต้องแก้ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะว่ามาตรการเชิงป้องกันใน พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็ยังไม่มีประสิทธิภาพ เข้าใจว่าพื้นที่ภาคตะวันออกอุบัติภัย พวกเหล่านี้ไม่ได้ทํา EIA หรือ HIA คือแต่ว่าที่ทํา EIA หรือ HIA มาก็ใช่ว่าไม่ได้เกิดผลกระทบใช่ไหม เมื่อเกิดผลกระทบ ผู้ที่ก่อให้เกิดผลกระทบแทบไม่มีบริษัทไหนที่ต้องรับผิดชอบ 

โดยหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ส่วนสําคัญที่บอกก็คือเรื่องหลักการเรื่องการฟื้นฟูการปนเปื้อนมันยังไม่ได้มีประสิทธิภาพเบื้องต้นอาจจะต้องไปแก้ตรงตัวกลางก่อนในเรื่องการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพของประชาชน มันจะมีกลไกหลักการไหนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ครอบคลุมทั้งสามด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกส่วนหนึ่งที่เรากําลังผลักดันอยู่ก็คือ พ.ร.บ. การเปิดเผยข้อมูลการครอบครอง หรือเคลื่อนย้ายมลพิษ ซึ่งจริง ๆ มันควรจะมีนานมากแล้ว เพราะเราพัฒนาอุตสาหกรรมฐานข้อมูลกลางที่มันจะรวบรวม เพื่อที่จะเอาทั้งมาตรการเชิงป้องกัน มาตรการแก้ไข เราไม่มีข้อมูลในการเข้าถึงหรือว่าการที่เราจะต้องแก้รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ตัดเรื่องสิทธิ์ในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีออกไปเราต้องเขียนเรื่องสิทธิ์ในสิ่งแวดล้อมที่ดีให้มีในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ได้แล้วก็ผลักดันเรื่องการมีกฎหมายเฉพาะ หรือว่ามีหน่วยงานเฉพาะ เรื่องการฟื้นฟูการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อม

สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้น เพิ่มมาตรการมากขึ้นเพราะอะไร เรามีการพัฒนามาอย่างยาวนานกับระบบที่สําคัญในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหา กลายเป็นว่าเราไม่ได้พัฒนาหลักการหรือว่ากลไกด้านนี้เลยมันจึงเกิดปัญหาแล้วก็แก้ไขไม่ได้ 

ปิดท้ายที่พรพนา ก๊วยเจริญ มองเรื่องของการแก้ไขปัญหา EEC ว่า  ถ้ายังไม่ยกเลิก พ.ร.บ. EEC ก็เอาที่เกี่ยวกับผังเมือง ก็คือว่าไปแก้ไขมาตรา 30 ไปใช้ตาม พ.ร.บ, ผังเมือง เพราะว่าปัจจุบันนี้ 30 ผัง ก็คือผังชุมชนยังไม่เสร็จ ทั้ง 3 จังหวัดประกาศใช้ ธันวาคม 2562 แต่ว่าต้องไปทําผังชุมชน ซึ่งมีอยู่ 3 จังหวัด 

ปัจจุบันก็ผ่านมา 4 ปีละ หากไม่ถือว่าประกาศใช้ได้แค่ผังเดียว ไม่มี 7 ขั้นตอน ก็คือผังอีอีซี ที่วังจันทร์ระยองเท่านั้น ส่วนใหญ่อยู่ในขั้นที่หนึ่ง ติด 8 ผังอยู่ในขั้นที่หนึ่ง นอกนั้นก็กระจายพอไปทําผังระดับชุมชนแล้วมันมีกระบวนการรับฟังความเห็น ปรากฏว่าผังมันไม่ตรงกับผังใหญ่ มันก็เลยเป็นปัญหาว่ามันไม่ตรงกัน แล้วจะทํายังไง ทําให้ผังมันล่าช้าเกิดสุญญากาศในเรื่องของการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วย ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ตรงเนี้ยมันเกิดสูญญากาศมันก็เลยเป็นปัญหา ซึ่งจะทําก็คือว่าทําตรงนี้ก่อนเลย กลับไปใช้ พ.ร.บ.ผังเมือง

โหวตฉากทัศน์

หลังจากได้ฟังมุมมองจากวิทยากรที่มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลแล้ว คุณคิดว่า ทิศทางการพัฒนาของเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ควรจะเดินต่อไปอย่างไร เพื่อไม่ให้ผลกระทบลุกลามบานปลาย และคืนชีวิต คือเศรษฐกิจให้กับคนภาคตะวัน ทางรายการเรามี 3 ฉากทัศน์ ที่เป็นสารตั้งต้นของการพูดคุย มาให้ได้ลองโหวตเลือกกัน

EEC เป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ ที่มีรัฐเป็นผู้หนุนเสริม เชื่อมโยงโครงข่ายทั้ง 4 ภูมิภาค เพื่อสร้างให้ไทยเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของอาเซียน มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย เชื่อมต่อการเดินทางทั้งรถ ราง เรือ และทางอากาศ แต่ภายใต้โอกาสของการลงทุน คนในพื้นที่ต้องรับมือกับความล้ำทางเศรษฐกิจแบบสุดขั้ว ธุรกิจการลงทุนจำนวนมากอยู่ในมือทุนใหญ่จากต่างชาติ ขณะที่ความเป็นเมืองที่เติบโตทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้าหาตลาดงานและโอกาสทางการเงิน นำมาซึ่งปัญหาสังคมหลากหลายด้าน

รัฐรวมศูนย์ในการวางแผนการพัฒนา และเป็นหลักในการวางมาตราการกำกับ ดูแล และแก้ปัญหาผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจและการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้กฎหมายควบคุม ป้องกัน และเยียวยาฟื้นฟู รวมไปถึงวางระเบียบในการเอาผิดกับผู้ก่อผลกระทบ แต่การจัดการแบบรวมศูนย์อาจมีความล่าช้า และไม่เท่าทันสถานการณ์ในพื้นที่ รัฐอาจยังคงต้องเหนื่อยหนักในการแก้ปัญหาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

กลุ่มประชากรเปราะบางที่หวังพึ่งพารัฐ อาจไม่สามารถรับมือกับผลกระทบจากการพัฒนาได้ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและอาชีพเพื่อความอยู่รอด

หัวใจสำคัญของการพัฒนาคือการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยประชาชนเพื่อประชาชน ต้องปรับปรุงกฎหมายเพื่ออุดรั่วที่มีอยู่เดิม ไม่ใช่มุ่งเพียงส่งเสริมการลงทุน แต่ต้องสร้างความเป็นธรรม และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในพื้นที่ ทำให้เกิดเศรษฐกิจที่เคารพสิทธิในการพัฒนา คำนึงถึงผลกระทบของอุตสาหกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อฐานทรัพยากรของท้องถิ่น และพยายามสร้างความสมดุล ส่งเสริมให้วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นคงความหลากหลาย พัฒนาร่วมกับอุตสาหกรรมทันสมัย

รัฐลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ ๆ ให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งส่งเสริมด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะอาชีพ ขณะที่ท้องถิ่นและประชาชนหนุนช่วยกัน เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แบ่งปัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

มีแผนการทำงานในระดับท้องถิ่น เติมความรู้ เครื่องมือ และงบประมาณ ให้ประชาชนร่วมเฝ้าระวังดูแลทรัพยากร ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือมาตรการป้องกันก่อนเกิดผลกระทบ

ชุมชมคือผู้กำหนดการพัฒนา โดยทุกภาคส่วนหันมาร่วมกันปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ ทบทวนทิศทางจากในอดีตที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่หลากหลายอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จนส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และวิถีชีวิต อีกทั้งยังไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ นำมาซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำ และส่งผลให้ไทยไม่สามารถก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

ไม่ใช้กฎหมายและกลไกลนโยบายพิเศษที่กำหนดเขตพื้นที่ทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมหรือการลงทุนขนาดใหญ่ แต่มุ่งเน้นการพัฒนาตามศักยภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดตลอดห่วงโซ่การผลิตจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ด้วยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้นวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสานกับชุดข้อมูล วิทยาการ และเทคโนโลยีที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นโอกาสของชุมชนในโลกยุคใหม่ แต่ต้องมีกำลังของภาครัฐ และสถาบันวิชาการร่วมส่งเสริม ด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาองความรู้ กำลังคน และระบบนิเวศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนาที่มีศูนย์กลางจากชุมชนที่กระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ


สำหรับใครที่อยากฟังเสียงจากคนหลังบ้าน EEC 5 ปี กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนภาคตะวันออก สามารถรับชมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

แชร์บทความนี้