มองอนาคตคนในวังวนฝุ่น กับความหวังกฎหมายอากาศสะอาด

“ฤดูฝุ่น” แม้ว่าจะเหมือนเป็นช่วงสั้น ๆ แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าวนลูปทุกปี ความรู้สึกของคนในพื้นที่คือการอยู่กับปัญหาที่ยาวนานมาเกินกว่า 17 ปี ถึงต้องเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจร่วมกันถึงปัญหาและสาเหตุที่สลับซับซ้อน

นับถอยหลังเค้าท์ปีใหม่ 2568 ผ่านไปแล้ว ขณะเดียวคนไทยก็นับถอยหลังที่เรากำลังจะมี #กฎหมายอากาศสะอาด หรือชื่อเต็มคือ พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. … ที่มีการผลักดันทางสังคมว่าหากจะแก้ไขเรื่องนี้ คือ ต้องมีกฏหมายเฉพาะ

ปัจจุบันไทม์ไลน์ พ.ร.บ.อากาศสะอาด หลังการมีส่วนร่วมของประชาชน จากนั้นจะมีการเสนอร่างกฎหมายให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในเดือนเดียวกัน ปลาย ธ.ค.ปีนี้ เพื่อพิจารณาในวาระ 2 ซึ่งหากวุฒิสภามีข้อแก้ไขและสภาฯ ไม่เห็นด้วย ต้องตั้งกรรมาธิการร่วม ในท้ายที่สุด หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบโดยไม่มีการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ฉบับนี้จะนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้จริงในปี 2568 แน่นอนว่ามีตัวอย่างจากหลายประเทศที่ใช้กฏหมายนี้และประสบความสำเร็จ

แต่ก็มีตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดียที่แม้จะมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด แต่ก็ยังมีปัญหามลพิษอยู่มาก หากประเทศไทยต้องการมีการพัฒนาในด้านนี้จริงๆ กฎหมายจะต้องไม่เป็นเพียงแค่การสร้างภาพลักษณ์แต่ต้องมีเนื้อหาที่เข้มข้นและฟังก์ชันที่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฟังเสียงประเทศไทย ชวนคนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งพื้นที่ที่อยู่กับปัญหานี้มายาวนาน ชวนผู้ที่เกี่ยวข้องมองอนาคตคนในวังวนฝุ่น กับความหวังกฎหมายอากาศสะอาด พูดคุยหารือเพื่อขยายประเด็นต่อยอดจากงานวิจัยและชุดข้อมูลของพื้นที่ ผ่านมุมมองคนทำงานและประชาชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมการเสวนาจำนวนมาก อาทิ อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผอ.ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศ ผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

เปิดวงสนทนาด้วยคำถามที่ว่า : ฤดูฝุ่นที่กำลังมาถึงอยากให้แก้อะไรมากที่สุด ?

ดร.สุพัฒนวรี ทิพย์เจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการข้อมูล และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
จากทีมวิจัยการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการสำหรับวางแผนตัดสินใจแบบเบ็ดเสร็จเพื่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 กล่าวว่า
ของทีมที่ทํางานเกี่ยวกับเรื่องของข้อมูล เราได้พยายามที่จะทําแพลตฟอร์มต่างๆ ฝากเรื่องของการตระหนักรู้และการนําเสนอและก็ใช้ข้อมูลร่วมกัน

สร้อยแก้ว คำมาลา เครือข่ายสื่อแม่ฮ่องสอนบ้านเรา กล่าวว่า แนวทางที่อยากเห็นคือเรื่องของความรับผิดชอบของบริษัทที่รับซื้อข้าวโพด อยากเห็นว่าเขาจะมีนโยบายในการที่จะรับผิดชอบเรื่องนี้อย่างไร  

หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าในสังกัดของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ด้านการควบคุมไฟป่า ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาฝุ่นควัน เช่น เดียวกันก็อยากให้การแก้ไขปัญหาในส่วนของการควบคุมไฟป่ามี ส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนในพื้นที่

จิรกร สุวงศ์ สภาอุตสากรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สิ่งที่อยากเห็น ในปีนี้และปีต่อๆ ไป คือ ตัวเลขของ hotspot ที่ลดลง

นายภัทรกุล ธรรมสานุกุล หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าภูพิงค์ ตัวแทนสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในภาคสนาม ปฏิบัติงานด้านการควบคุมและป้องกันไฟป่า ซึ่งในภาคปฏิบัติมองว่าที่ผ่านมา โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มอบหมายให้กับทุกหน่วยงาน ได้มีการร่วมกันมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา  ตนคิดว่าอยากจะให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ คือการเพิ่มประสิทธิภาพ ภาระหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครอง  ภาคประชาชน อยากจะให้ทุกภาคส่วน   ร่วมกันให้เต็มที่  จริงจังจริงใจเข้มแข็ง  ปฏิบัติหน้าที่ตามตามกรอบตามหน้าที่ของเราให้จริงจัง  

มนัสวัฑฒก์ ชุติมา ตัวแทนภาคเอกชนศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ กล่าวว่า แม้ในระยะอันใกล้เราน่าจะยังไม่สามารถที่จะแก้ไขเรื่องปัญหาฝุ่นควันได้ในทันที แต่ในปี 2568 อยากขอให้มีการให้ความรู้กับประชาชน ในการดูแลรักษาตัวเองในการอยู่รอดอยู่ร่วมกับฝุ่นควันและมีการสนับสนุนในการจัดกิจกรรม in door ให้มากขึ้น มีการสร้างเครือข่ายแพลตฟอร์มเพื่อเป็นพื้นที่กระจายข้อมูลข่าวสารให้รับทราบว่ามีกิจกรรมที่ใดบ้าง รวมถึงให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวเพื่อให้เขาทําความเข้าใจ กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้กับนักท่องเที่ยวว่าเรากําลังมีการแก้ไขปัญหาอยู่ แล้วเรามีการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อรองรับไว้

ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโป่งเหนือ หมู่ที่ 2 กล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่า อยากเห็นการแก้ไขปัญญา การเตรียมการเตรียมความพร้อมของแต่ละปี ที่ผ่านมาเตรียมการล่าช้าเพราะรอความชัดเจนของคําสั่งจากตําบล ปีนี้คาดว่าน่าจะร่วมแรงร่วมใจได้มากขึ้น

รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กล่าวว่า ในนามคณะทํางานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมรับฟังและร่วมหาแนวทางการแก้ไข เราเป็นหน่วยงานสนับสนุนที่หวังว่าจะสามารถช่วย ในการแก้ไขปัญหาได้ส่วนหนึ่ง สิ่งทาคาดหวังเรื่องของการลดการเกิดมลพิษที่แหล่งกําเนิด คือ ลดการเผาให้ได้มากที่สุด

อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอีกบทบาทหนึ่ง คือ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) กล่าวว่า ตนมีส่วนช่วยผลักดันในเรื่องการหาวิธีการในการแก้ปัญหา ทั้งในรูปของกฎหมาย รูปของระบบต่าง ๆ ขณะเดียวกันสิ่งที่กําลังทําอยู่เวลานี้ คือ การศึกษาวิจัยเรื่องของการทํางานในพื้นที่ในชุมชน ว่าจะช่วยแก้ปัญหาอย่างไร สิ่งที่อยากเห็นหัวใจสําคัญประการหนึ่งที่ จําเป็นต้องนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมาก คือวิธีการบริหารจัดการภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐที่อยู่ที่ส่วนกลาง ไม่ใช่ภาครัฐที่อยู่ในพื้นที่ ภาครัฐส่วนกลางไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการงบประมาณ  เรื่องของวิธีการในการจะออกแบบระบบในการแก้ปัญหา ที่ไม่ใช่เป็น onsite fit all ที่สําคัญคือการสนับสนุนกลไกต่างๆ ในการจัดการกับพื้นที่ ทั้งเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ ตรงนี้คือสิ่งที่อยากเห็นให้มีการปรับปรับปรุง   

ทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่มีแผนยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวกับเรื่องของการป้องกันและการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้แบบ long term และเป็นแผนที่สอดคล้องกับบริบทภูมิสังคมของในเชิง area base ในเชิงพื้นที่ และเป็นแผนที่เกิดจากการหลอมรวมกันของทุกความคิด อยู่ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม เนื่องจากทรัพยากรเรามีจํากัด แต่เราเชื่อมั่นว่าเราก้าวข้ามปัญหานี้ได้ ซึ่งจําเป็นที่จะต้องอาศัยสมาธิในการรวบรวมพลังหลอมรวมความคิด และแปรเปลี่ยนเป็นแผนงานโครงการที่ระยะยาว ไม่ใช่การมองกันแบบปีต่อปี อาจจะมอง 5 ปี  และคัดเลือกแผนงานโครงการที่เชื่อมั่นว่ามันจะมีอิมแพคต่อเป้าหมายที่เราฝันว่าเราจะก้าวข้ามในนี้ได้ไปด้วยกัน คัดเลือกออกมาแล้วก็เอามาวางไว้ ไม่ว่าใครย้ายไปย้ายมาไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องมาถกเถียงกัน ขอให้ดูแผน โดยเฉพาะภาควิชาการจะเป็นคําตอบที่ดี เพราะท่านมีการศึกษาวิจัยอย่างมีระบบ ระเบียบทางวิชาการควรจะเอาเรื่องนั้นมาเป็นคําตอบ การคัดเลือกแผนงานโครงการที่จะขับเคลื่อนซึ่งมันต้องอาศัยเงินและงบประมาณที่จะต้องลงทุน ไม่ต้องมาถกเถียงกันว่าทําไมสิ้นเปลือง มันจะต้องมีการประเมินผลมีการวัดผล และมีการวางอย่างเป็นระบบ เป็นสิ่งที่ตนอยากเห็นมาก เนื่องจากหากรอกฎหมายก็ไม่ใช่เรื่องง่ายและเมื่อกฏหมายออกมาแล้ว ประเทศเราจะเป็นเหมือนอังกฤษ อเมริกา จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ไม่มีทางเหมือน แม้แต่ฝุ่นเชียงใหม่กับฝุ่นกรุงเทพฯ ยังมีความต่างกันในบริบท เชียงใหม่ฝุ่นเกิดจากคนไม่ใช่เกิดจากต้นไม้เสียดสีกัน

เดโช ชัยทัพ นายกสมาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ กล่าวว่า ตนอยู่กับเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2535 ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกในการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการจัดการป่าและทำแนวกันไฟ สิ่งที่อยากเห็นในเรื่องบทบาทของภาคประชาชน ในการเข้ามามีส่วนร่วมเป็นพระเอกเป็นนางเอก ในการจัดการไปจัดการไฟป่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยังสนับสนุนยังไม่เต็มที่ ในขณะเดียวกันเราพูดถึงเรื่องข้อจํากัดของภาครัฐว่ามีข้อจํากัดนั่นนี่ สิ่งที่เป็นพื้นที่แห่งความหวังเรายังวางแผนสนับสนุนให้เขาเติบโตแบบมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งนี้อาจจะเป็น สิ่งที่เราอยากจะเห็นว่าต่อจากนี้ ทุกหมู่บ้าน ทุกตําบล เป็นคนที่เติบโตและเข้มแข็งมีขีดความสามารถขึ้น   

ภาคประชาชน กล่าวว่า ตนเกิดที่เชียงใหม่ เรียนที่เชียงใหม่ ทํางานที่เชียงใหม่ และน่าจะเกษียณที่เชียงใหม่ ตนเองอยากส่งมอบจังหวัดเชียงใหม่ให้กับลูกหลานในแบบอากาศดี   

ตัวแทนมูลนิธิพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ กล่าวว่า ทํางานในพื้นที่ภาคสนามอําเภอแม่แจ่ม เป็นหน่วยสนับสนุนทํางานกับชุมชน และท้องถิ่นในเรื่องของการทําแผน การจัดการป่าชุมชนแผนการจัดการเรื่องของไฟป่า สิ่งที่อยากเห็น คือ อยากเห็นทุกภาคส่วนมีความร่วมมือ และไม่ปักป้ายว่าชาวบ้านเป็นผู้ผิดทั้งหมด เพราะว่าเราทํางานกับพื้นที่ ทํางานกับชุมชน เห็นเลยว่าเราอยากเห็นความร่วมมือมากกว่าอยากเห็นการกดดันชุมชน ซึ่งจะทําให้ในชุมชนแทนที่เขาจะร่วมมือก็จะเกิดกระแสการตีกลับต่อต้าน แต่ถ้าสร้างความร่วมมือกับพื้นที่แล้วมองเห็นต้นเหตุของปัญหา หลาย ๆ สาเหตุของไฟป่า และทุกภาคส่วนช่วยกันไม่ใช่แค่ภาคเกษตรหรือภาคป่าไม้แต่ภาคอุตสาหรรมและภาคเมือง

ตัวแทนจากกรมอนามัย กล่าวว่า กลุ่มของตนพยายามจะเข้ามาตั้งนานแล้ว แต่ต้องอาศัยจากสภาลมหายใจ การเข้าถึงทุกภาคส่วน ตนคิดว่าน่าจะมาร่วมนอกจากกรมอนามัย ดิฉันอยากให้สถานการณ์คําว่าวิกฤติเป็นวิกฤติจริง ๆ ทุกคนไม่ค่อยรู้สึกว่าตัวเองต้องมีส่วนร่วมต่อคําว่าวิกฤตฝุ่นควัน ดิฉันอยากให้เหมือนน้ำท่วมเป็นที่รวมขององค์ความรู้หลาย ๆ อย่าง การร่วมมือหลายหลายแบบ  

สมเกียรติ มีธรรม กล่าวว่า การทำงานหมอกควันไฟป่าและเรื่องที่ดินมาอยู่พักหนึ่ง และเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ว่าก็ยังทํางานพัฒนาในพื้นที่ สิ่งที่อยากเห็นซึ่งปัญหาใหญ่โจทย์ใหญ่ที่ทํามาเรื่อย ๆ และเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง และเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งมีหลากหลายมิติมาก อย่างวันนี้กฎหมายที่เราชงกันเข้าไปทั้งหมด 7 ฉบับ บวก 8 ที่ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 8 นี่เป็นปัญหาหนึ่งที่เป็นการแก้ไขในเชิงโครงสร้างซึ่งอาจจะไม่ใช่คําตอบทั้งหมด    

ภาณุพงศ์ ไชยวรรณ์ สภาลมหายใจจังหวัดลําพูน กล่าวว่า สิ่งที่คาดหวังมากที่สุด คืออยากจะเห็นขบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา เราให้บทบาทในส่วนราชการ และบทบาทในท้องถิ่น ตนว่ามันไม่สมดุลกันอยากจะให้ปรับกระบวนการ แก้ปัญหาตรงนี้ใหม่ 17 ปี เราให้ส่วนราชการเป็นผู้นําในการบริหารจัดการแต่เราก็ยังเจอวิกฤติกันทุกปี สิ่งที่อยากจะเห็น  หากเราโอนให้อํานาจประชาชน ในพื้นที่จัดการ ทั้งเรื่องของกระบวนการ เรื่องของงบประมาน การบริหาร การปฏิบัติการจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ พิสูจน์ได้ ว่าในพื้นที่เล็ก ๆ  

วิทยา ครองทรัพย์ ตัวแทนภาคเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า อีกบทบาทหนึ่งคือการเป็นผู้ประสานงานสภาลมหายใจภาคเหนือ อยากเห็นภาพของการเข้าไปมีส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่ของสังคม ขออนุญาตเรียกว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากฝุ่น  ว่าบทบาทของเราที่จะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดในการตัดสินใจว่าจะมีการใช้ไฟที่ไหน อย่างไร  เราอยากจะเข้าไปมีบทบาทในนั้นด้วย สองสิ่งที่อยากเห็น คือ การที่ประชาชนได้รับการดูแลปกป้องสุขภาพ  นอกจากที่ทํามาในแต่ละปี ส่วนที่สามอยากให้เพิ่มในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงของฝุ่น เช่น ค่าไฟที่ต้องใช้ในช่วงของการอยู่หลบฝุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการต้องเปิดแอร์หรือการใช้เครื่องฟอกอากาศ รวมถึงอุปกรณ์ในการปกป้องสุขภาพของประชาชน  ยกตัวอย่าง เช่น หน้ากากอนามัย หน้ากากกันฝุ่น ตนไม่แน่ใจในเรื่องของมาตรฐานว่ามันจะปกป้องฝุ่นควันได้จริงหรือไม่

บัณรส บัวคลี่ ตัวแทนสภาลมหายใจ กล่าวว่า สิ่งที่ตนอยากเห็นในภาวะที่กําลังจะเคลื่อนจากแบบเก่าไปแบบใหม่ หลัก ๆ คือ ระบบราชการมีหลายท่านพูดถึงประสิทธิภาพ ซึ่งเห็นด้วย กลไกหลักที่จะมาทําให้สังคมเคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมกันได้ ต้องมีแกนคือกลไกหลักของระบบราชการประสิทธิภาพ นอกจากประสิทธิภาพแล้ว ปัญหาดั้งเดิมจริง ๆ ของระบบราชการคือ การบูรณาการ ปีนี้สภาลมหายใจเสนอให้ท่านไปทางรัฐบาล  ให้ออกเป็นคลัสเตอร์ ทดลองเพื่อจะบูรณาการกัน เฉพาะหน่วยหลายๆ หน่วยในพื้นที่ในแนวขวาง เพราะพบว่าปีที่แล้วเอาแค่ไฟข้ามมาจากเขตป่าสงวนข้ามมาป่าอุทยาน ก็ยังไม่ประสานกัน ปีนี้คงต้องแก้ปัญหาในเชิงระดับขวาง นี่คือสิ่งที่อยากเห็นคือประสิทธิภาพ และบูรณาการ สิ่งที่อยากเห็นมากกว่านั้นคือในภาวะที่เราจะเปลี่ยนจากแบบเดิมไปแบบใหม่ ต้องมีการการเก็บตัว การมองไปถึงเป้าข้างหน้า การมองเห็นเป้าหมายร่วมกัน สิ่งที่จะมาแก้ไขปัญหาได้คือธรรมาภิบาล และข้อมูลข้อเท็จจริงเอามากาง ในเชิงวิชาการ สิ่งที่เป็นธรรมาภิบาลเอามาวางแบกันก็จะแก้ไขปัญหานี้ได้ลุล่วง

สมคิด ปัญญาดี  ผู้อํานวยการสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหนึ่งในพื้นที่ไฟแปลงใหญ่ เป็นจังหวัดที่มีการเกิดไฟไหม้มากที่สุดในภูมิภาคทางเหนือ การที่เกิดไฟขึ้นเยอะในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสาเหตุหลากหลายปัจจัย ซึ่งสิ่งที่อยากจะเห็นคือ การบูรณาการของ ภาคประชาชนและหน่วยงานอย่างจริงจัง โดยการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน  ไม่อย่างนั้นก็จะโทษกันไปโทษกันมา  ว่าเป็นหน้าที่ของใคร ใครเป็นผู้รับผิดชอบตรงไหนอย่างไร ใครเป็นคนจุด ใครเป็นคนเผา เถียงกันอยู่เป็น 10 ปี  บางท่านเนี่ยยังหาคําตอบไม่ได้ว่ามันเกิดสาเหตุใด หลายท่านก็สารภาพมาในที่นี้แล้วว่ายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง นั่นแสดงว่า 10 กว่าปีที่ผ่านมา ไม่ไม่มีคําตอบที่ชัดเจน การแก้ไขที่อยากเห็นคือให้ทุกภาคส่วนได้ เปิดเผยทุกอย่าง เปิดหน้าตักที่จะแก้ไขร่วมกัน  และมีแนวทางอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็จะสอดคล้องกับหลายหลายท่านในที่นี้ แม่ฮ่องสอนเองปีหน้าคาดว่า  จะไม่ใช่หนึ่งในจตุรเทพไฟ อีกต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ปีดิเทพ อยู่ยืนยง อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จะสังเกตเห็นได้ว่าวันนี้ประเด็นสําคัญที่เราพูดถึงคือเรื่องของกฎหมาย  ซึ่งเป็นประเด็นสําคัญ ที่เราจะขับเคลื่อนในเรื่องของการพัฒนากฎหมาย การปฏิรูปกฎหมายที่มีอยู่แล้ว

ตัวแทนนักวิชาการสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สําหรับสิ่งที่อยากเห็นคือการรับรู้ร่วม ในภาคประชาชนเองเป็นกําลังสําคัญที่จะช่วยกัน ประเด็นที่สองคือในเรื่องของทําอย่างไรที่ภาคท้องถิ่นจะเข้มแข็ง และแข็งแรงให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกลไกที่จะสนับสนุนคืองบประมาณ หรือแม้แต่นวัฒกรรมที่สําคัญที่เค้าจะต้องไปดูแลภาคประชาชนในพื้นที่ และความเข้มแข็งในเรื่องของ ความเป็นอยู่ ปากท้องของประชาชน

ปัจจุบัน พ.ร.บ.อากาศสะอาดอยู่ระหว่างกระบวนการของชั้นกรรมาธิการ ก่อนที่จะเข้าสภาในรอบ สอง มีการอภิปรายรายมาตรากันสุดท้าย ความหวังว่าเราน่าจะเห็นตัวกฎหมาย เกิดขึ้นในช่วงประมาณต้นปี 2568 ซึ่งจะเป็นอย่างไร เรายังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างทาง แต่สุดท้ายแล้วการมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด ก็เป็นเครื่องเพียงแค่หนึ่ง เครื่องมือเท่านั้น ที่จะมาช่วยทําให้การแก้ไขปัญหาของเรามันสามารถที่จะดําเนินไปได้ แต่สุดท้ายต้องย้อนกลับไปที่กระบวนการทํางานของเราในพื้นที่

ในเวทีเสนอทางเลือกภาพความน่าจะเป็นให้กับผู้ร่วมเวทีเสวนาว่า 3 แบบซึ่งอิงจาก มาตรการ “ฝ่าฝุ่น” ของประเทศอื่น เผยแพร่ในเว็บไซต์ มูลนิธิบูรณะนิเวศ ที่อธิบายถึงนโยบาย มาตรการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของต่างประเทศ ชวนกันมองและร่วมกันคิดว่าจะเป็นไปในแนวทางใด ใน 3 แนวทาง ซึ่งภาพความน่าจะเป็นนี้ อาจจะไม่ได้ตรงซะทีเดียวและก็ไม่ได้สมบูรณ์ในตัวซะทีเดียว ทางทีมงานอ้างอิงจาก  3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน 

ความเป็นไปได้ หากไทยต้องมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด

มุ่งเน้นการควบคุม แหล่งกำเนิดมลพิษโดยตรงส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของภาคประชาชนบูรณาการกับนโยบายอื่น ๆ
กำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษที่เข้มงวด กำหนดค่ามาตรฐานการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะ และแหล่งกำเนิดมลพิษอื่น ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล   บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย และมีการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง   ส่งเสริมเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้ภาคเอกชนนำเทคโนโลยีที่สะอาดมาใช้ในการผลิต และให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ   ข้อจำกัด อาจเกิดความขัดแย้งกับภาคอุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนสูงในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ความท้าทาย การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดอาจมีความยากลำบากในการตรวจสอบและควบคุมผู้กระทำผิด ทั้งภาคส่วน ภาคอุตสาหกรรม, ภาคขนส่ง, ภาคเกษตรกรรม ต้องปรับตัว ประชาชนทั่วไป, ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ได้ประโยชน์   ส่วนภาครัฐ ต้องมีงบประมาณในการบังคับใช้กฎหมาย และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ประชาชน ได้รับอากาศที่สะอาดขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น   เอกชน ต้องลงทุนในการปรับปรุงกระบวนการผลิต แต่ในระยะยาวจะได้ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น และอาจได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสร้างความตระหนัก สร้างความเข้าใจให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของปัญหา และผลกระทบของมลพิษต่อสุขภาพ   เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และการติดตามผลการดำเนินงาน   สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของชุมชนในการแก้ไขปัญหา แต่มีข้อจำกัด อาจใช้เวลานานในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน และความท้าทายใน การสื่อสารข้อมูล Big Data ที่ถูกต้องและเข้าใจง่าย   ภาครัฐ ต้องมีกลไกในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ส่วนประชาชน มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   ภาคเอกชน อาจได้รับแรงกดดันจากสังคมให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน    เชื่อมโยงกับนโยบายด้านพลังงานส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และลดการใช้พลังงานฟอสซิล เชื่อมโยงกับนโยบายด้านการขนส่ง ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะและยานยนต์ไฟฟ้า   เชื่อมโยงกับนโยบายด้านการเกษตร ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ และลดการเผาป่าเผาไร่ ตามแนวคิด BCG ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ซึ่งข้อจำกัดต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยความท้าทาย การประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ  ทุกภาคส่วนในสังคม จะต้องปรับตัว ประชาชนทั่วไป, ภาคเศรษฐกิจได้รับได้ประโยชน์จากกการกระทำนี้   ภาครัฐ ต้องมีการวางแผนและประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ให้อำนาจบริหารจัดการแก่ท้องถิ่น มีการบูรณาการคน งบประมาณในการจัดการ   ประชาชน ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่ยั่งยืน   เอกชน มีโอกาสในการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด และเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่มีปัจจัยหลายประการกำกับ เช่น สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศ รวมถึงความพร้อมของภาครัฐและภาคเอกชน การดำเนินการที่ประสบความสำเร็จจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง

ก่อนที่เราจะ ได้แลกเปลี่ยนกัน เรามีตัวแทนข้อมูลในแต่ฉากทัศน์ หรือ ภาพความน่าจะเป็นภายใต้เงื่อนไขในปัจจุบัน พูดคุยให้ข้อมูลอีก 3 ท่าน ท่านละ 4 นาที มีทั้งตัวแทนของภาคประชาชนตัวแทนของภาคเอกชน และตัวแทนของภาครัฐ เมื่อกฎหมายออกมาแล้วเราจะเห็นว่าตัวแทนทั้ง 3 ท่านจะมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นส่วนของภาคราชการระดับสูงในพื้นที่ ที่จะคอยบูรณาการการทํางานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหลายหน่วยงานในพื้นที่

นาย ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผอ.ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกัน และแก้ไขมลพิษอากาศ (ศวอ.) และอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า กระบวนการตอนจัดทํากฎหมายนั้น เริ่มจากการที่วิเคราะห์ระบบการจัดการที่เป็นอยู่ว่าเป็นอย่างไร พบว่าตัวกฎหมายมีกฎหมายบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้เป็นการมุ่งกันแก้ปัญหาปลายเหตุ คือ เกิดเหตุขึ้นมาก่อนแล้ว ค่อยไปดับไฟ ในเรื่องของ PM 2.5 เป็นเรื่องใหม่ เพราะในกฎหมายฉบับนี้ไม่รับรู้เรื่องกฎหมายเรื่อง PM 2.5 เพราะฉะนั้นเป้าหมายแรกของการจัดทํากฎหมาย คือ การไปเปลี่ยนระบบในการจัดการ ซึ่งการเปลี่ยนระบบ จัดการ มันไปเกี่ยวพันเกี่ยวกับกฎหมายหลายฉบับ ประการที่หนึ่ง

ประการที่สอง คือ จากวิธีการในการแก้ปัญหา บางท่านแชร์ในวงว่าอยู่กับปัญหามากว่า 17 ปี หลายท่านอยู่มานานกว่านั้น ภายใต้ปัญหาของ PM 2.5 เราไม่มีข้อมูลในการพูดถึงเรื่องนี้ ตรงกันเพราะต่างฝ่าย ต่างมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง PM 2.5 ด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน หน่วยงานอาจมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ PM 2.5 หรือสาเหตุ เพื่อนําไปสู่การตั้งงบประมาณ เพราะฉะนั้นข้อมูลที่เรามีอยู่นั้น จึงเป็นข้อมูลที่แตกต่างหลากหลายมาก และมันไม่สามารถที่จะเอาข้อมูลนั้น มาใช้เป็นความรู้ในการแก้ปัญหาได้

ประการที่ 3 คือ วิธีการในการแก้ปัญหา PM 2.5 นั้น ยังมีรถฉีดน้ำอยู่ ซึ่งอาจจะเหมาะสําหรับในการแก้ปัญหา อีกแบบหนึ่ง แต่กรณีของแหล่งกําเนิดมลพิษของบ้านเรา ที่มันมาจากภาคการเผาในภาคการเกษตร การเผาในพื้นที่ป่าที่โล่ง เป็นส่วนใหญ่ สําหรับในกรณีของภาคเหนือ หรือหากเกิดในเมือง มี point source อีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่มี point source ที่แตกต่างกัน ต้องหาวิธีการในการแก้ปัญหาที่ที่ไม่เหมือนกัน  

ผมถอดวิธีการในการแก้ปัญหา จากศูนย์ของอาจารย์สมพร ในเรื่องของการไปมอนิเตอร์ดูว่า point source  มีโครงสร้างในการเกิดฝุ่นอย่างไร ช่วงใด เกิดฤดูกาลเป็นอย่างไน เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับนี้ จะไปสู่การออกแบบระบบในการแก้ปัญหา point source ที่แตกต่างกันแล้วไม่ได้ใช้มาตรการแบบเดียวกัน

สุดท้ายคือทั้งหมดทั้งมวลที่เราพูดมาจากเชิงระบบที่เป็นอยู่แล้ วเรื่องขององค์ความรู้ที่จะเอามาใช้ในการแก้ปัญหา สิ่งสําคัญ คือ เราต้องสถาปนาสิทธิในการที่จะเข้าถึงอากาศสะอาด ให้เกิดขึ้นเพราะถ้าเกิดทําให้เกิดเรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิ มัน จะทําให้กลไกในทางกฎหมายสามารถที่จะไปจี้กับคนที่ทำเกิดมลพิษได้ ไปจับการกับหน่วยงานของภาครัฐที่ไม่ได้ทําหน้าที่ได้ รวมถึงกรณีของเราในฐานะ ประชาชน มีสิทธิ์ทําให้สิทธิของเรา มันมันสมบูรณ์ขึ้น เพราะฉะนั้นเจตนารมณ์ของกฎหมาย ต้องการไปทํา 4 อย่างนี้เพื่อให้เกิดขึ้นคือโดยเจตนารมณ์ ณ เวลานี้  

ขบวนการของการพรรคกฎหมายฝ่ายการเมืองเอง ซึ่งมีกระบวนการรวมถึงบทบาทในรัฐสภา แต่ต้องการที่จะผลักดันกฎหมาย แต่ด้วยเหตุของรายละเอียดของการเขียนกฎหมาย ที่จะต้องทําให้เกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากว่าแม้เราจะได้กฎหมาย แต่กฎหมายมันขาดเครื่องมือสําคัญ ขาดองค์ประกอบที่สําคัญในการในการนําไปสู่การแก้ปัญหา มัน ไม่เป็นกฎหมายที่จะนํามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้  เพราะฉะนั้นส่วนของขบวนการที่กําลังเกิดขึ้น ณ เวลานี้ คือลงรายละเอียดของวิธีการมาตรการในการแก้ปัญหาในบางเรื่องอยู่ยกตัวอย่าง เช่น เรื่องกองทุน ก็ดี เรื่องของเครื่องมือเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็น เครื่องมือสําคัญในการที่จะมาช่วยเติมเสริมกับเรื่องของมาตรการในทางกฎหมาย ที่ไม่ใช่เป็นเรื่องของการมุ่งในการลงโทษอย่างเดียว เพราะในการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวมาอยู่ในรูปของบทบัญญัติในทางกฎหมาย มันจึงมีขบวนการที่ต้องใช้เวลาอยู่ ตรงนี้อยู่ในช่วงของชั้นกรรมาธิการ คาดว่าตามแผนของรัฐสภานั้น  ประมาณต้นปี  คือประมาณกุมภาพันธ์ที่คิดว่ากฎหมายนี้จะประกาศใช้ได้    

ด้วยความที่อยู่ในส่วนของคนที่เคยผลักดันกฎหมายอยู่หลายฉบับ บทเรียนอันหนึ่งที่เราไม่สามารถเข้าไปในขบวนการที่มีการโหวตได้เพราะ การโหวตการโหวตมันล็อบบี้กัน  หลายร่างเป็นเสือ ไปแต่ออกมาเป็นหมา ผมคิดว่ากฎหมายนี้ต้องจับตามองให้ดีเพราะว่าถ้าหากว่ากลไกสําคัญมันไม่ออกมาจะเสียของ เพราะฉะนั้นต้องให้ความสําคัญกับกลไกสําคัญที่ใส่เข้าไปในกฎหมายเพื่อมาจัดการ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่เป็นแบบของอเมริกา แบบของจีน ของญี่ปุ่น ดีจริง ๆ ในร่างกฎหมายมีครบทั้ง 3 แบบ เพราะฉะนั้นกลไก จึงเป็นองค์ประกอบสําคัญที่ ทําให้กฎหมายจะออกมามันบังคับใช้ได้หรือเปล่า  

นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในมิติของคนทํางานที่จะต้องเป็นคนบังคับใช้กฎหมายเราพร้อมอยู่แล้ว แต่ว่าถ้ากฎหมายคลอดออกมากช่วงเดือนกุมภาพันธ์มันไม่ทันอยู่แล้ว เพราะไทม์ไลน์ของฝุ่น มันเริ่มเดินแล้ว กระบวนการก่อนจะมีผลบังคับใช้อะไรปีนี้ไม่มีทางทัน ถ้าในมุมมองผมในฐานะคนที่ทําหน้าที่นี้โดยตรง มันเป็นพัฒนาการที่ดีของสังคมบ้านเรา ที่เป็นนโยบาย ของฝ่ายบริหารของรัฐบาลมันถูกยกระดับไปเป็นนโยบายแห่งรัฐ ถึงขั้นเป็นพระราชบัญญัติที่ถูกเขียนขึ้นมา ดังนั้นมัน ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และผมเชื่อมั่นว่ามันเป็นเรื่องที่ดีขึ้นแน่นอน ในการที่จะทําให้ แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่เราเรามองว่ายังเชียงใหม่ ไม่เป็น pain point ใหญ่อยู่แล้ว แต่ว่าในรายละเอียดของตัวกฎหมายผม มีส่วนเข้าไปดูบ้าง ในกลไกของการบริหาร ผมไม่ค่อยตื่นเต้นเพราะผมมองว่าจริง ๆ แล้ว คนร่างเป็นคณะนิติศาสตร์ มช. มีส่วนสําคัญ กลไกเชียงใหม่ ใช้กลไกนี้อยู่แล้ว ในหลักการที่พูดกัน อเมริกา จีน ญี่ปุ่น เรา พยายามใช้ คือเจตนารมณ์ของการขับเคลื่อนเชียงใหม่ คือทีมเชียงใหม่คือเราใช้เรื่องของ open government  มองมาที่รัฐบาลหรือมองมาที่ฝ่ายบริหารหรือคนทํางานว่ารัฐไม่ได้เรื่องแล้วคือปัญหามันใหญ่เกินกว่าที่ใครคนใดคนหนึ่ง

สอง มันต้องร่วมมือกันต้องรวมพลังกัน เชียงใหม่ทํางานแบบทีมเชียงใหม่ ทุกวันนี้เรา ก้าวไปก่อนตัวกฎหมาย หรือแม้แต่ในเรื่องของการใช้นวัตกรรมใช้ตัว ฏฤธฤ มาเป็นตัวขับเคลื่อนในการแก้ปัญหา หรือแม้แต่ต้องทํางานในเชิงป้องกันและยั่งยืนให้มากกว่าวิ่งไล่ฟันไล่ดับไฟ  ตัวพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยส่วนใหญ่ จะเน้นในเรื่องมิตินั้น เชียงใหม่เรา เดินมาในรูปแบบของการทํางานแบบนี้แหละ แต่ว่ามันจะอาจจะไม่ได้มีรูปแบบของในตัวกฏหมายชัดเจน ความหวังของตัวพระราชบัญญัติที่ผมมองเห็น ถ้าเป็นได้มันจะสุดยอดมาก มันจะมีอยู่ 2-3 ตัว ตัวแรกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์หากทําได้จริง คือเรื่องหลักของ PPP producer pay business ถ้าคุณจับหลักนี้ได้   แล้วคุณทําได้ เพราะเรื่องของตลาดเสรีทุนนิยมบ้านเรามันเป็นตัวปัญหาสําคัญ อย่างเช่นเรื่องการปรับโครงสร้างการผลิตซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหา เป็นเรื่องใหญ่ที่ถ้าทําได้จริงอันนี้ดี หรือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยผมเป็นนายอําเภอที่แม่แจ่มเชียงใหม่  คือ  PES / payment for ecosystem มันไม่เคยเป็นจริงเลยในบ้านเรา เชียงใหม่ 14 ล้านไร่ เกือบ 12 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่า  ผมถามว่าถ้าตลาด carbon credit ที่ดีที่สุดในเรื่องของป่าไม้มันอยู่ที่เชียงใหม่นี่แหละ ทําไมเราไม่ทำเช่นเชียงใหม่ประกาศเรื่องคาร์บอนนิวทรัลอีเว้นท์ คือคุณจัดอีเว้นท์ คุณจะต้องเป็นกลางทางคาร์บอน เราบังคับทุกคนที่จัดต้องซื้อคาร์บอน เรื่องเหล่านี้ ยังขาดการพัฒนาการหรือขาดการทําเป็นวิธีทางเศรษฐศาสตร์ที่ทําให้คนที่อยู่ในป่า มีแต้มต่อบ้าง ไม่ใช่ว่าทุกวันนี้แม้แต่เรื่องของการปรับโครงสร้างการผลิตเอาง่ายๆ เรื่องของสิทธิอยู่อาศัยทํากิน ไม่ค่อยคืบหน้าทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายแล้ว กฎหมายมันบัญญัติแล้ว แต่ว่าเรา ยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องของการให้สิทธิ์อยู่อาศัย ทํากินอย่างฉับไวและรวดเร็ว เทคโนโลยีตัวนี้มันไปไกลมากแล้ว ทําไมเรายังไปติดยึดกับเรื่องต้องให้คนเห็นชอบ ต้องให้คน ลดเจตนารมณ์ มันคือให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ให้เขาอยู่แบบมีความสุขและให้เขาไม่คือไม่ทําอะไรที่มันเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเงื่อนไขหนึ่งของปัญหามันคือเรื่องของความยากจนที่เราปฏิเสธไม่ได้เรื่องปากท้อง

ท้ายที่สุดหวังว่าตัวกฎหมายที่จะบัญญัติออกมา จะมีเครื่องมือหรือมีกลไกอะไรที่จะทําให้มิติทางเศรษฐศาสตร์ของคนที่อยู่ในป่า ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งไฟสําคัญหรือเป็นแหล่งกําเนิดสําคัญเกิดขึ้น

อีกตัวนึงที่ผมสนใจและเป็นความหวังมากๆ คือเรื่องของหมอกควันข้ามแดนเรามี testability อย่างไนในการตรวจสอบย้อนกลับไปเพราะว่า งานวิจัยของอาจารย์สมพร ผมชอบงานวิจัยนี้ ยืนยันว่าเราลดแหล่งกําเนิดมลพิษของเชียงใหม่ลงแบบ 0% เลยเชียงใหม่ต้องดมฝุ่น แล้ว ต้องวนอยู่กับฝุ่นเพราะอะไรงานวิจัยยืนยันชัดเจนว่า 30 ถึง 40% ของมลภาวะในเชียงใหม่ มันมาจากข้ามแดน เราจะตรวจสอบย้อนกลับไปได้อย่างไร หรือกลไกของกฎหมาย จะเบรคเรื่องของสิ่งเหล่านี้ได้จริงหรือไม่ นี่คือความหวังว่า ถ้าทําได้จริง มันจะเป็นเครื่องมือที่สําคัญ แต่ทว่ามันไปผูกกับเรื่องกลไกการตลาด เรื่องตลาดเสรี ห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ตนดูแล้ว มันกระทบเราจะทําอย่างไร ให้มันอยู่อย่างสมดุลได้  ท้ายสุดเราต้องให้มันสมดุลในทุกมิติให้ได้ นี่มันคือความยากของเรื่องที่เรากําลังทํากันอยู่

นาย วิทยา ครองทรัพย์ ตัวแทนภาคเอกชนจังหวัดเชียงใหม่และที่ปรึกษาสภาลมหายใจ กล่าวว่า แม้เราจะรู้ว่าหากกฎหมายตัวนี้เกิดขึ้นมา ต้นทุนของเอกชนน่าจะมีเพิ่มขึ้นใช่ไหม อย่างเช่นในเนื้อหา  คือจะต้องมีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อไปเพิ่มอยู่ในกองทุนของของกฎหมาย แล้วทราบว่าในส่วนของคณะทํางานเอง กําลังหาทางออกใช่หรือไม่ว่าจะทําอย่างไร แต่ว่าภาคเอกชนเอง คิดว่าเค้าต้องยอมรับ เค้ายอม รับในเรื่องของถ้าหากว่าตัวธุรกิจของเขา มีส่วนทําให้เกิดผลเรื่องนี้เค้าต้องยอมรับ ผมคิดว่าเค้าต้องปรับตัวและนั่น หมายถึงว่าการปรับตัวของภาคธุรกิจ จะต้องถูกส่งต่อไปยังผู้บริโภคอยู่ดี อาจจะต้องหามาตรการในการลดต้นทุนตรงนี้ไปด้วย

ในฐานะประชาชน เป็นเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างทาง ของการพัฒนาอยู่เสมอ  หมายถึงว่าผมว่ามันไม่ใช่ปัญหาเรื่องฝุ่นอย่างเดียว เพียงแต่ว่าปัญหาเรื่องฝุ่นมันลึกซึ้งมากกว่าหลายหลายปัญหา ในอดีตที่ผ่านมา  มีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ปัญหายาเสพติด  ปัญหาการทุจริต สุดท้ายมีกฎหมายเกิดขึ้น แต่เมื่อมีการบังคับใช้  สารถทําให้ก็ต้องใช้ให้สุด บทเรียนของการบังคับใช้กฎหมายสําคัญ ๆ ในอดีต น่าจะถูกนํามาทําให้การบังคับใช้กฎหมายของอากาศสะอาด ให้มีผลมากขึ้นเพราะว่าเดิมพันมันสูงกว่าในหลายหลายเรื่อง

ผมว่าสังคมได้เรียนรู้ สิ่งหนึ่งที่เราพยายามแล้วแต่ว่ามันยังสร้างขึ้นมาได้น้อย คือเราต้องการให้สังคม แอนตี้สินค้าที่เกิดจากการทําลายสิ่งแวดล้อม  ในฝั่งธุรกิจหลาย ๆ บริษัทที่สําคัญ ๆ  เขาให้ ให้ความสําคัญกับการการสร้างภาพลักษณ์เรื่องนี้มาก  ผมคิดว่าในระยะ 10 ปี ประชาชนน่าจะยอมรับในการที่ เลือกซื้อหรือแอนตี้สินค้าที่มีส่วนทําลายสิ่งแวดล้อม เพราะว่าเรื่องนี้มันรุนแรงเกินไป รุนแรงเกินไปเกินกว่าที่จะเพิกเฉย

นี่คือส่วนหนึ่งข้อมูลที่น่าจะรอบด้าน เท่าที่ทีมงาน และผู้เกี่ยวข้อง ได้ช่วยกันเติมข้อมูล เราจะเห็นทั้งโอกาส ความน่าจะเป็นบางอย่าง ที่จากทุกท่านได้คิดตาม ได้จินตนาการ

–ร่วมโหวตภาพฉากทัศน์ – 

หลังจากได้ฟังมุมมองจากวิทยากรที่มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลแล้ว คุณอยากเห็นความเป็นไปได้ หากไทยต้องมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด เป็นแบบไหน ฟังเสียงประเทศไทยเรามี 3 ฉากทัศน์ ที่เป็นสารตั้งต้น มาให้ได้ลองโหวตเลือกกัน

นี่คือกระบวนการ ฟังเสียงประเทศไทย ที่ชวนทุกท่านมาฟังเสียงแลกเปลี่ยนกันด้วยข้อมูลอย่างรอบด้าน และในขั้นตอนยังไม่จบเพียงเท่านี้ ทุกท่านที่นั่งอยู่ในที่นี่และ ผู้ชมที่รับชมอยู่สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ทั้งการเติมข้อมูลและโหวตได้ในช่วงทางออนไลน์ เว็บไซต์ Locals ThaiPBS  

แชร์บทความนี้