เมื่อเรามองถึงพื้นที่เขตเศรฐกิจพิเศษในประเทศไทย ภาพที่ทุกคนมองเห็นและจับต้องได้ง่ายที่สุดอาจเป็นพื้นที่ของ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ครอบคลุมทั้งสามจังหวัดได้แก่จังหวัด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง โครงการนี้ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นพัฒนาเพียงด้านเศรษฐกิจเท่านั้น โดยมีการแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ด้าน คือ โครงสร้างพื้นฐาน ที่เน้น ระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ครอบคลุมช่วยเพิ่มพูนมูลค่าการลงทุน รวมถึงกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 อุตสาหกรรม ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ และ อุตสาหกรรมการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา ที่จะเป็นเป้าหมายในอนาคตในประเทศไทย และ การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
นอกจากพื้นที่ EEC แล้วนั้น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังได้ทำการศึกษาในภูมิภาคอื่นๆในประเทศไทย ทั้งภาคใต้ในชื่อของโปรเจก Southern Economic Corridor (SEC) หรือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ครอบคลุมจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ พรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวอันหลากหลาย ศูนย์รวมภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ และเป็นประตูการค้าฝั่งตะวันตก (Western Gateway)เชื่อมโยงสู่ตลาดเอเชียใต้ และ
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor : NEC
ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง เป็นต้น เพื่อพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน หรือ Creative LANNA โดยภาคเหนือมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการลงทุนด้านการพัฒนาเป็นฐานเศรฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศอย่างยั่งยืนโดยเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่ต่อยอดจากฐานวัฒนธรรมล้านนาที่ทรงคุณค่า ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ร่วมกับการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เป็นที่นิยมและได้รับการยกย่องในระดับสากล
เป้าหมายหลักของ NEC
– พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : เน้นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ผสมผสานวัฒนธรรมล้านนาเข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
– ยกระดับคุณภาพชีวิต : สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับคนในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาคุณภาพชีวิต
– ส่งเสริมการท่องเที่ยว : พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ เพื่อดึงดูนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
– อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : พัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ NEC
* เชียงใหม่
* เชียงราย
* ลำพูน
* ลำปาง
จังหวัดลำปางเป็นหนึ่งในจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor : NEC โดยมีชุดโครงการวิจัยการพัฒนาแผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรฐกิจพิเศษภาคเหนือด้วยแนวคิด BCG Economy ดร.ขวัญนภา สุขคร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งจังหวัดลำปาง โดยการขับเครื่องงานวิจัยที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนเมืองลำปางสู่เมืองเศรฐกิจสร้างสรรค์ จากงานวิจัยได้นำเสนอโครงการแบบย่อ (Project Brief) ของจังหวัดลำปางเพื่อเชื่อมโยง 4 จังหวัดการพัฒนาเศรฐกิจภาคเหนือ ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมดิจิตอล
ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) กำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่น่าจับตา ด้วยศักยภาพและทรัพยากรที่หลากหลาย ทำให้มีโอกาสเติบโตอย่างมาก แต่ก็ยังคงเผชิญหน้ากับความท้าทายบางประการ ชวนมองอนาคตในอีก 10 ปี ข้างหน้า
ทางทีมงานฟังเสียงประเทศไทยได้รวบรวมข้อมูลไว้ตั้งต้นเพื่อคุยและมองภาพอนาคต NEC ลำปาง
และเราชวนคนลำปาง ร่วมฟัง” ข้อมูล ได้ไตร่ตรอง และมองภาพอนาคตร่วมกัน 4 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ThaiPBS สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ได้ร่วมกับเครือข่ายสาธารณะท้องถิ่นลำลอง จัดเวที Local forum อนาคต NEC ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ “NEC ลำปางยังไงต่อ”
ตั้งโจทย์ชวนคนลำปางช่วยกันคิดต่อ
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ คืออะไร ?
โดยได้เชิญผู้ที่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดลำปางเข้าร่วมเวทีในครั้งนี้ พร้อมทั้งมีตัวแทนข้อมูลในแต่ฉากทัศน์ หรือ ภาพความน่าจะเป็นภายใต้เงื่อนไขในปัจจุบัน พูดคุยให้ข้อมูล 3 ท่าน 1.ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษา ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้ร่วมทำวิจัย 2.คุณตวงรัตน์ โล่สุนทร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง 3.คุณ พีระรักษ์ พิชญกุล เลขาธิการหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้มาเล่าถึงข้อมูลโอกาสและความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดลำปาง
โดยข้อเสนอต่างๆ ของจังหวัดลำปางได้ชวนผู้เข้าร่วมได้กำหนดความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
Scenario 1 : Pioneering a Sustainable Food and Bio-Agriculture Industry Corridor เป็นผู้บุกเบิกสู่อุตสาหกรรมอาหารที่ยั่งยืนและการเกษตรชีวภาพ
Scenario 2 : Green Harvest Corridor: Empowering Sustainable Food Product Exports ระเบียงอาหารโลก -ผลิตภัณฑ์อาหารที่ยั่งยืนสําหรับการส่งออก
Scenario 3 : TechFarm NEC: Smart Agriculture and Precision Farming การเกษตรอัจฉริยะและการเกษตรที่แม่นยํา Support : Research and Innovation Hubs ศูนย์กลางด้านการวิจัยและนวัตกรรมสําหรับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ในด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
ลำปางนำเสนอโครงการแบบย่อไปดังนี้ โครงการ Green Tech Agri-Food Hub : ศูนย์กลางอาหารและเกษตรครบวงจรที่เน้นพลังงานสะอาดและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ Food Valley Boutique coffee & tea Organic Herbs Function Food Cosmetic AgroInnopolis & Agriculture based on BCG ข้าว ไผ่ ครั่ง เกษตรอินทรีย์ โครงการ Clean Energy & Eco-Smart Park : นิคมอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดและเมืองใหม่อัจฉริยะ โครงการ Logistics and wholesale Hub : ศูนย์กลางโลจิสติกส์และศูนย์กลางค้าส่งของภูมิภาค (Lampang Smart Link : Multiple Logistics Ecosystem)
ซึ่ง Scenario ที่เกิดขึ้นในจังหวัดลำปางผู้ที่เข้าร่วมในเวที พีระรักษ์ พิชญกุล ได้กล่าวว่า ลำปางเป็นเมืองที่มัศักภาพสูงมีของดีเต็มไปหมด แต่เราอยากได้กระบวนการหรือวิธีการในการกำหนดการพัฒนาของจังหวัดเป้าหมายเดียวที่จังหวัดกำลังจะไปถ้าเราพบเป้าหมายนี้ทุกภาคส่วนก็จะได้กำหนดเป้าหมายเหล่านี้ร่วมกันได้
ดร.ขวัญนภา สุขคร ได้กล่าวว่า แท้จริงแล้วจังหวัดลำปางนั้นมีของดีอะไรซ่อนอยู่มากมายอย่างเช่นครั่ง เป็นภาคเกษตรที่มีศักภาพในการเติบโตได้สูงและสร้างมูลค่าทางเศรฐกิจลำปางได้เป็นอย่างมากจะเป็นสิ่งที่จะทำให้ลำปางแข่งขันกับจังหวัดอื่นๆได้เป็นอย่างดี
คุณ ตวงรัตน์ โล่สุนทร ได้มองถึงศักยภาพการเป็น Hub ครัวอาหารปลอดภัยของภาคเหนือโดยใช้แหล่งปลูกแหล่งแปรรูปในจังหวัดลำปาง สิงเหล่านี้จะช่วยยกระดับเกษตรกรที่เป็นภาคแรงงานหลักของจังหวัดได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆของการสร้างเขตเศรษฐกิจเหล่านี้ได้และจะทำให้ GDP ของจังหวัดนี้เติบโตขึ้นและมีความยั่งยืน
ข้อสรุปจากวง Local forum คนลำปางอยากมองเห็นภาพอนาคตร่วมกันต่อการพัฒนาจังหวัดแห่งนี้ สิ่งที่ขาดและมีความต้องการอย่างมาก คือ หน่วยการทำงานที่เป็นหน่วยงานทำงานหลักและมีอำนาจในการประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ได้ถ้าเกิดข้อเสนอหรือตั้งคณะกรรมการ NEC ขึ้นมาจริง ๆ หน่วยงานนี้จะเป็นหน่วยในการรับผิดชอบการพัฒนาเมืองและการกำหนดเป้าหมายให้คนในเมืองว่าอยากให้จังหวัดนี้มีเป้าหมายและทิศทางการทำงานร่วมกันอย่างไรในอนาคต
ท้ายที่สุดนี้จากชุดโครงการวิจัยการพัฒนาแผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรฐกิจพิเศษภาคเหนือด้วยแนวคิด BCG Economy ได้ให้ข้อเสนอ Flagship Project ของจังหวัดลำปางไว้ให้ลำปางเป็น BCG Industrial Park & Logistics Hub โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่
1.Green energy
2.BCG Industry
3.Digtal Park
4.Logistics and Wholesale hub ระยะเวลาการทำงาน 4 ปี วงเงินงบประมาณ 20,000 ล้านบาท มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ ภาคพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง ภาคเกษตรและอาหาร ภาคการท่องเที่ยว โดยจะได้ผลลัพท์ เป็นศูนย์การการผลิตอุตสาหกรรม BCG ของระดับภูมิภาค GPP เพิ่มขึ้นเป็น 150,000 ล้านบาท ภายในปี 2570 สิ่งนี้จะเป็นไปได้จริงหรือไม่อยู่ที่คนลำปางหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจะเข้าใจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ตัวเองมี และข้อได้เปรียบทางกฎหมายที่เป็นเขตเศรฐกิจพิเศษที่ภาครัฐช่วยในการสนับสนุนได้
สามารถฟังเสียงเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ https://www.facebook.com/thaithenorth/videos/365904853244751/
ชวนคุณผู้อ่านและคนบำปางมาร่วมมองอนาคต ภาพความน่าจะเป็นของเศรษฐกิจภาคเหนือในปี พ.ศ. 2580 ซึ่งทางทีมงานได้ลองประมวล เรียบเรียงออกมาในเบื้องต้น เป็นฉากทัศน์ 3 ฉากทัศน์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการออกแบบ ในอีก 10 ปีข้างหน้า (2577) ในมุมมองของคุณ จะเป็นไปอย่างไร ?
แบบ วัว นโยบายการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัดด้านต่างๆ | ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) กำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่น่าจับตา ด้วยศักยภาพและทรัพยากรที่หลากหลาย ทำให้มีโอกาสเติบโตอย่างมาก แต่ก็ยังคงเผชิญหน้ากับความท้าทายบางประการ โดยสะท้อนการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ การศึกษาที่ดำเนินไปตามอัตราการเติบโตที่ผ่านมา ในช่วง 5 ปีก่อนหน้า โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจมากนักขาดหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการเชื่อมประสาน ทำให้ขาดโอกาสในการต่อยอด สถานการณ์ภาพใหญ่การเติบโตของเศรษฐกิจโลกและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทิศทางการพัฒนาของเศรษฐกิจจีนในเวทีโลกโลกยังเป็นเงื่อนไข ขณะที่เรากำลังเผชิญปัญหาการเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ และปัญหาสังคมสูงวัยขณะที่การเติมโตของเศรษฐกิจ ยังเติบโตแบบกระจุกตัวเฉพาะกรุงเทพและภาคตะวันออก |
แบบ ผึ้ง ความท้าทายต่อ ขีดความสามารถในการแข่งขัน | ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) กำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่น่าจับตา ด้วยศักยภาพและทรัพยากรที่หลากหลาย ทำให้มีโอกาสเติบโตอย่างมาก อนาคตของระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือมีความสดใส แต่ก็ยังคงมีความท้าทายอยู่บ้าง โครงการพัฒนาที่สำคัญในพื้นที่ หรือแนวโน้มการลงทุนในอนาคต สะท้อนการสนับสนุนจากภาครัฐผ่านการกำหนดความสำคัญของพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ด้านต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัดอยู่บนพื้นฐานการพัฒนาที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566 – 2570 และเป้าหมาย 20 ปีของจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น หากแผนงานหรือโครงการปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดและของกลุ่มจังหวัด รวมทั้งมีรายละเอียดและงบประมาณ ที่ชัดเจน ซึ่งมีนัยว่าภาครัฐ ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สถานการณ์ภาพใหญ่การเติบโตของเศรษฐกิจโลกและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทิศทางการพัฒนาของเศรษฐกิจจีนในเวทีโลกยังเป็นเงื่อนไขขณะที่เรากำลังเผชิญปัญหาการเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ และปัญหาสังคมสูงวัย |
แบบ ช้าง การพัฒนาที่แข็งขันนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข็งขัน | ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) กำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่น่าจับตา ด้วยศักยภาพและทรัพยากรที่หลากหลาย ทำให้มีโอกาสเติบโตอย่างมาก อนาคตของระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือมีความสดใส แต่ก็ยังคงมีความท้าทายอยู่บ้าง การพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ จากความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมหรือผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ โดย สะท้อนความต้องการของพื้นที่สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ อยู่บนพื้นฐานการพัฒนาที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566 – 2570 และเป้าหมาย 20 ปีของจังหวัด การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืน พร้อมทั้งรักษาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ มีการขยายการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อแสวงหาโอกาสในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ เช่น อุตสาหกรรมสุขภาพมีกลไก การส่งเสริม SMEs และ Startupsสามารถกระจายผลประโยชน์ไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ได้กว้างมากขึ้น โดยมีกรอบการส่งเสริมการลงทุน และสิทธิประโชน์ที่ชัดเจนมีกลไกกลางในพื้นที่ค่อยเชื่อมประสานแบบเบ็ดเสร็จ มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและมีกลไกการเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค สถานการณ์ภาพใหญ่ การเติบโตของเศรษฐกิจโลกและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทิศทางการพัฒนาของเศรษฐกิจจีนในเวทีโลกยังเป็นเงื่อนไข ขณะที่เรากำลังเผชิญปัญหาการเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ และปัญหาสังคมสูงวัย |