“ยกพลคนน้ำพริก” ชวนเลาะ “โคก ทุ่ง ทาม”  โสเหล่ตำนานความแซ่บ-นัว

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม  2567 ณ พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการจัดกิจกรรม “โคก ทุ่ง ทาม ตำนาน แซ่บ นัว” เพื่อรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกของท้องถิ่นต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมสัญจรในพื้นที่ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเริ่มกิจกรรมครั้งแรกที่ภาคอีสาน ที่ จ.มหาสารคาม ภายในงานมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุดิบ ปราชญ์ชาวบ้าน แม่ครัว ที่มีองค์ความรู้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอาหาร และเยาวชนคนรุ่นใหม่จากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรค์ วิทยาลัยอาชีวะศึกษามหาสารคาม นิสิตและคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมชมนิทรรศการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมชิมน้ำพริกจากแม่ครัวระดับตำนาน

กิจกรรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศิลป์สโมสรสัญจร ซึ่งไทยพีบีเอสเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกท้องถิ่น ภายใต้ความร่วมมือศูนย์สื่อศิลปวัฒนธรรม ไทยพีบีเอส สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน เครือข่ายตลาดสีเขียว จ.มหาสารคาม และสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ

ภายในงานมีการสาธิตทำน้ำพริก หรือ “ตำแจ่ว” หลากหลายเมนูจากแม่ครัวในชุมชน ทั้ง แจ่วหวาย ป่นเห็ด ซุบหน่อไม้ ปลาแดกบอง แจ่วเพี้ย และจัดแสดงนิทรรศการวัตถุดิบ พริก เกลือ ปลาแดก ข้าว และ “คีงไฟ” ครัวบ้านอีสานแบบดั้งเดิม ตลอดจนเส้นทาง “พริก” ที่เข้ามาในประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีวงเสวนาวิชาการแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและทรัพยากรในท้องถิ่น กับวิถี นิเวศ “โคก ทุ่ง ทาม” ต่อน้ำพริกอีสานบ้านกับเจ้าของวัฒนธรรม ผ่านการเล่าเรื่องวัตถุดิบและเส้นทางเกลืออีสาน

โดยช่วงเช้า 10.30 น. เสวนาในหัวข้อ “สืบรอยจำตำนานแซ่บนัว” ร่วมเสวนา โดย เพ็ญจิต โยสีดา  ผู้เชี่ยวชาญอาหารอีสาน, ดร.อภิราดี  จันทร์แสง  นักวิจัยเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการหมักจากวัฒนธรรมปลาร้า สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ผศ.ดร.ปริญ รสจันทร์  นักวิจัยท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ,อนุสรณ์ ติปยานนท์  Food activist  นักเขียนผู้สนใจในศิลป์และศาสตร์ของอาหาร และดำเนินวงเสวนา โดย สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการด้านอุษาคเนย์

การเสวนาเริ่มต้นด้วยการพูดถึงความสำคัญและคุณค่าของอาหารอีสานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยในภาคอีสาน ที่มีความเป็นมาของอาหารอีสาน การหมัก และการปรุงอาหารที่มีลักษณะเฉพาะตัว รวมถึงการพัฒนาของอาหารอีสานที่สามารถเติบโตและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

เพ็ญจิต โยสีดา ผู้เชี่ยวชาญอาหารอีสาน ได้เริ่มต้นด้วยการเล่าถึงประสบการณ์ในการเขียนหนังสือเกี่ยวกับอาหารอีสาน และกล่าวถึงความหลากหลายของเมนูอาหารอีสานที่ได้รับความนิยม ทั้งการใช้เห็ดป่าในการปรุงอาหาร ที่มีวิธีการทำและรสชาติที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในแต่ละฤดูกาล

ดร.อภิราดี จันทร์แสง นักวิจัยเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการหมักจากวัฒนธรรมปลาร้า สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำเสนอเกี่ยวกับการวิจัยในด้านศาสตร์แห่งการหมัก โดยเฉพาะการหมักปลาร้าที่เป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมการกินของชาวอีสาน การหมักปลาร้านั้นไม่เพียงแต่เป็นการถนอมอาหาร แต่ยังเป็นการสร้างรสชาติและคุณค่าทางอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของดินแดนที่ราบสูง

ผศ.ดร.ปริญ รสจันทร์ นักวิจัยท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้เกลือในกระบวนการหมัก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ปลาร้ามีรสชาติที่เฉพาะเจาะจง การใช้เกลือไม่เพียงแต่เพื่อการถนอมอาหาร แต่ยังเป็นการสร้างรสชาติที่หลากหลายและเข้มข้นในอาหารอีสาน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์

อนุสรณ์ ติปยานนท์ Food activist  นักเขียนผู้สนใจในศิลป์และศาสตร์ของอาหาร ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และมุมมองในฐานะนักกิจกรรมด้านอาหารและนักเขียนที่หลงใหลในศาสตร์และศิลป์ของอาหารอีสาน โดยเน้นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และการเผยแพร่วัฒนธรรมการกินของชาวอีสานให้กับคนรุ่นใหม่และในระดับสากล

ซึ่งในช่วงเช้า นอกจากเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัย แต่ยังเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจและการรับรู้ถึงคุณค่าและความหลากหลายของอาหารอีสานที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารการกินของอีสานที่ผูกพันกับวิถีชีวิตผู้คน ชุมชน และนิเวศวัฒนธรรม

และช่วงบ่าย 13.30 น. เสวนาหัวข้อ “โคก ทุ่ง ทาม ตำนาน แซ่บ นัว” ร่วมเสวนาโดย สุเมธ ปานจำลอง เครือข่ายเกษตรกรทางเลือกภาคอีสาน, พัชรี ต้นเสดี  กลุ่มเกษตรอินทรีย์ บ้านหนองโจด จ.มหาสารคาม, รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเขมร ,อนุสรณ์ ติปยานนท์  Food activist  นักเขียนผู้สนใจในศิลป์และศาสตร์ของอาหาร, และดำเนินวงเสวนา โดย สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการด้านอุษาคเนย์

“โคก ทุ่ง ทาม ตํานาน แซ่บ นัว” โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาที่มีความรู้และประสบการณ์ในหลากหลายด้าน ได้แก่

งานเสวนาเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับจากผู้ดำเนินการเสวนา สมฤทธิ์ ลือชัย ที่เน้นย้ำถึงความอร่อยของอาหารที่มีในงาน และนำเข้าสู่หัวข้อของการเสวนาที่จะเน้นเรื่องของวัตถุดิบและเส้นทางของความแซ่บนัวในภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของแจ่วน้ำพริก ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมและเส้นทางการติดต่อของคนในภูมิภาคนี้ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

แชร์บทความนี้