10 กว่าปีการระบาดปลาหมอคางดำ เราจะจัดการแบบครบวงจรได้อย่างไร​?

ปัญหาการแพร่ระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” เอเลี่ยนสปีชีส์ชนิดรุกรานที่มีมากว่า 10 ปีกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง มีการรายงานพบเจอในพื้นที่ 13 จังหวัดทั่วประเทศไทยบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยและแหล่งน้ำคูคลอง ด้วยสถานการณ์ที่รุนแรงและน่ากังวลของเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ และสัตว์ท้องถิ่นในแหล่งน้ำ จึงมีหลายหน่วยงานและประชาชนออกปฏิบัติการกำจัดและควบคุมปลาหมอคางดำตามแนวทางของกรมประมง และผลักดันให้เป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องจัดการแก้ไขอย่างครบวงจร ห้องทดลองปัญญารวมหมู่ได้สำรวจข้อมูลและแนวทางการจัดการ พบว่าแนวทางการจัดการมี 3 ลักษณะด้วยกันได้แก่การป้องกัน การควบคุม และการกำจัด ซึ่งแต่ละแนวทางสามารถปฏิบัติได้ตามความเหมาะสมตามวงจรชีวิตปลาหมอคางดำและลักษณะแหล่งน้ำที่พบเจอ ตอนนี้เราทราบแนวทางการจัดการแต่ยังไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะยังตอบไม่ได้ว่าควรจะต้องทำไรอะไรต่อ หรือสถานะของปัญหาในตอนนี้อยู่ขั้นตอนไหนและควรจะทำอย่างไร จัดการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง จากที่กล่าวไป ทางทีมจึงขอนำเสนอแนวทางการจัดการอย่างเป็นระบบจากในวงเสวนาสาธารณะ “นิเวศลุ่มน้ำแม่กลอง กับปลาหมอคางดำ” ข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังและการรับมือแบบรวมหมู่ (25 ก.ย. … Continue reading 10 กว่าปีการระบาดปลาหมอคางดำ เราจะจัดการแบบครบวงจรได้อย่างไร​?