“อย่าหมดหวังที่จะโอบกอดความขัดแย้ง”  : มรณสติจากครูผู้สอนให้เห็นความเป็นมนุษย์

ร่วมไว้อาลัยการจากไปของ อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการมุสลิม ผู้เชี่ยวชาญด้านความขัดแย้ง สันติภาพ และความรุนแรง ในฐานะผู้ที่เฝ้ามองปรากฎการณ์และความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองไทย กว่า 30 ปีที่ผ่านมา อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อผู้คนในสังคม เพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งนำพาเราไปสู่ความเกลียดชังและความรุนแรง

“พาราความขัดแย้ง” คือบทความที่เขียนถึงทางออกสำหรับสาธารณชน จากกรณีความขัดแย้งของคน 2 กลุ่มที่เอาและไม่เอาการเลือกตั้ง ด้วยการเสนอให้บัตรเลือกตั้งมีช่องสำหรับแสดงสิทธิทางการเมืองว่า “ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557” ซึ่งสะท้อนเจตนารมที่ชัดเจนยิ่งกว่าการโหวต NO หรือ NO โหวต โดยอาจารย์ชัยวัฒน์ให้สัมภาษณ์ขยายความเทียบเคียงกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราเอาไว้ว่า

“… สมมุติในความสัมพันธ์ของสามีภรรยา สามีภรรยาทะเลาะกันด้วยเรื่องธรรมดา ขัดแย้งกันเป็นเรื่องธรรมดา ทะเลาะกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่วันใดที่การทะเลาะเปลี่ยนเป็นการใช้ความรุนแรง มันเปลี่ยนความสัมพันธ์นั้น เพราะฉะนั้นมันเป็นเหตุการณ์เดียว ถามว่ามีเงื่อนไขทางโครงสร้างไหม มีเยอะแยะไปในความสัมพันธ์ที่เรามีต่อกันอะไรแบบนี้ แต่พอทำอันนั้นแล้วมันส่งผลเยอะแยะ เพราะฉะนั้นต้องอย่าให้มันเกิด ถึงแม้เรารู้ว่ามันเป็นเหตุการณ์หนึ่ง 

ถามว่าทำไมถึงอย่าให้มันเกิด ก็เพราะว่าเหตุการณ์นี้จะนำไปสู่ความรุนแรงที่มากขึ้น และในการศึกษามากมายก็พบว่า พอฝ่ายหนึ่งใช้ความรุนแรงแล้ว คล้าย ๆ มันก้าวข้ามเส้นแบ่งบางอย่างไป และมันก็จะมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น ลักษณะแบบเดียวกันกับความขัดแย้งทางการเมืองนะครับ พอคิดแบบนี้ มันก็จะอนุญาตให้เกิดและมันก็จะนำไปสู่เรื่องอื่น และจะทำให้การแก้ไขปัญหาต่อไปก็จะยากขึ้น 

ตัวอย่างที่สำคัญก็คือ ปี 2553 เมื่อรัฐบาลในครั้งนั้นตัดสินใจว่าจะใช้กำลังทหารเข้าแก้ปัญหาทางการเมือง ผลของมันก็คือมันลามมาถึงปัจจุบัน มันก็มีความพยายามกี่ครั้งกี่หนจากกลุ่มคนมากมายที่จะสมานฉันท์ ประสานรอยร้าว ไม่ใช่ง่ายเลย ฉะนั้นความรุนแรงทางกายภาพมันสำคัญ รู้ว่ามันไม่ใช่เหตุปัจจัยทั้งหมดนะครับ แต่มันเป็นเหตุที่มีผลต่อสิ่งอย่างอื่น โดยเหตุนี้ครับ จึงเรียกบทความว่า พาราความขัดแย้ง คือผมรู้ว่ามันเป็นยาแก้ปวด…”

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม 

ทุกบทสนทนาของ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ชวนให้ฉุกคิดถึงสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย ต้องเรียนรู้เพื่อจะอยู่ร่วมกัน จึงจะสามารถขับเคลื่อนสังคมให้เดินไปข้างหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่กับความเงียบสงบ สยบยอม และไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง 

กองบรรณาธิการ Locals ชวนรำลึกถึง ‘ชัยวัฒน์ สถาอานันท์’ ผ่านบทสนทนาตามกาลเวลาที่เราได้รวบรวมไว้

สิงหาคม 2565

รายการคุณเล่า เราขยาย: เสนอทางออก กรณีก่อสร้างรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม 

เมษายน 2560 

กุมภาพันธ์ 2560 

เบื้องหลังความคิด | จดหมายถึงสุเทพ เทือกสุบรรณ จากชัยวัฒน์ สถาอานันท์

กรกฎาคม  2559

เบื้องหลังความคิด | จดหมายถึงสุเทพ เทือกสุบรรณ จากชัยวัฒน์ สถาอานันท์

กันยายน 2558

มกราคม 2557 

พฤศจิกายน 2556

แชร์บทความนี้