JustPow เปิด 13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024 พร้อมจัดเวทีระดมความคิดเห็นทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

เขียนโดย JustPow

จากการที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผน PDP ฉบับใหม่ หลังจากใช้แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งนับเป็นแผนที่ใช้มายาวนานที่สุด ตั้งแต่ประเทศไทยมีแผน PDP มา ซึ่ง PDP เป็นแผนแม่บทที่กำหนดการลงทุนขยายระบบไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมีการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศ เพื่อนำไปสู่การวางแผนล่วงหน้าในระยะเวลา 15-20 ปีว่า ประเทศไทยจะต้องมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร ประเภทใด จะถูกสร้างเมื่อไหร่ โดยใคร และทั้งหมดนี้นี่เองที่จะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางด้านพลังงาน และค่าใช้จ่ายเหล่านั้นก็จะถูกส่งต่อมายังบิลค่าไฟของประชาชน
ในขณะที่แผน PDP นั้น ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และกระเป๋าสตางค์ของประชาชนโดยตรงในนามบิลค่าไฟ แต่กลับกลายเป็นว่าร่างแผน PDP2024 กำลังจะเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ www.eppo.go.th และ Facebook page: EPPO Thailand ในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 สำหรับภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวันที่ 19 มิถุนายน 2567 สำหรับภาคใต้และภาคเหนือ รวมแล้วเพียง 2 วันและเปิดในระบบออนไลน์เท่านั้น


JustPow องค์กรที่ทำงานด้านข้อมูล องค์ความรู้ การสื่อสารในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำข้อมูล “13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024” เพื่อให้สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป ได้มีข้อมูลในการใช้นำเสนอประเด็นด้านพลังงานและมีข้อมูลในการเสนอความคิดเห็นต่อร่างแผน PDP2024 ที่กำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นอยู่นี้ โดยประกอบไปด้วยข้อสังเกต 13 ข้อ ได้แก่

  1. กำลังการผลิตไฟฟ้าในระบบรวม 112,391 เมกะวัตต์ ในร่างแผน PDP2024 ในปี 2580 มีการสำรองไฟไว้ล้นเกินกว่า 106% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด
  2. การใช้ประมาณการตัวเลข GDP ที่สูงเกินจริงมาจัดทำค่าพยากรณ์ไฟฟ้า ทำให้ต้องสำรองไฟมากขึ้น
  3. การใช้ดัชนีการเกิดไฟฟ้าดับ (LOLE) เหลือ 0.7 วันต่อปีและใช้ทั้งในภาพรวมของประเทศและรายภูมิภาค ทำให้ต้องสำรองไฟมากขึ้น
  4. การระบุว่าประเทศไทยจะมีพลังงานสะอาด 51% แต่มาจากการเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าไฟฟ้าจากเขื่อนใน สปป.ลาว ซึ่งการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
  5. การวางแผนซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวซึ่งต้องสร้างใหม่อีก 3 เขื่อน กำลังการผลิตรวม 3,500 เมกะวัตต์ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็น และราคารับซื้อไฟฟฟ้าสูงกว่าราคารับซื้อจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศ
  6. ในร่างแผน PDP2024 ไม่มีเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากหลังคาโซลาร์ ทั้งๆ ที่ไทยมีศักยภาพในการติดตั้งรวม 34,741 เมกะวัตต์
  7. ร่างแผน PDP2024 ยังคงมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 7% ในปี 2580 ในขณะที่ประเทศทั่วโลกจะต้องบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ได้ภายในปี 2050
  8. ร่างแผน PDP2024 ยังคงพึ่งพาและนำเข้า LNG มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางพลังงาน เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้า ราคาแพงและผันผวน และก่อให้เกิดการก่อสร้างท่าเทียบเรือ LNG แห่งที่ 3 ซึ่งต้นทุนในการก่อสร้างก็จะถูกส่งผ่านมาไว้ในบิลค่าไฟ
  9. เพิ่มสัดส่วนไฮโดรเจน 5% ผสมกับก๊าซรรมชาติในโรงไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่กระบวนการผลิตก๊าซไฮโดรเจนกว่า 90% ในโลกมาจากก๊าซฟอสซิลและถ่านหิน
  10. มีแผนสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซขนาดใหญ่เพิ่มอย่างน้อย 8 โรง จำนวน 6,300 เมกะวัตต์ ทั้งที่ปัจจุบันก็มีกำลังการผลิตล้นเกินอยู่แล้ว 37.87% และในอนาคตภายในปี 2580 จะทำให้มีกำลังการผลิตในระบบล้นเกินกว่า 106%
  11. วางแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 โรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ในปี 2580 ทั้งๆ ที่การใช้ไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกก็ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีราคาสูง และประะเทศไทยไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ
  12. จะใช้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน ซึ่งอาจทำให้ต้องลงทุนถึง 6.6 หมื่นล้านบาทในปี 2045 และ 1.2 แสนล้านบาทในปี 2050 แต่กลับยังคงการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลผลิตไฟฟ้า 48%
  13. ไทยมีเป้าหมาย Net Zero ในปี 2065 แต่แผนพลังงานยังคงใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลผลิตไฟฟ้า 48%

ปัญหาในและพื้นที่และสิ่งที่อยากจะให้เป็นในอนาคตทั้งในเชิงโครงสร้างและในเชิงพื้นที่ รวมไปถึงกิจกรรมลงความคิดเห็น “แผนพีดีพี 2024 ที่อยากจะเห็น” และการทำข้อเสนอในแต่ละพื้นที่ รวบรวมความคิดเห็นจากทุกภูมิภาคของประเทศไทยเพื่อนำเสนอต่อภาครัฐ

ซึ่งจะเริ่มต้นที่ภาคตะวันออก ในวันที่ 18 มิ.ย. นี้ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามมาด้วยภาคเหนือ ในวันที่ 28 มิ.ย. ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้ ในวันที่ 2 ก.ค. ที่จังหวัดสงขลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 13 ก.ค. ที่จังหวัดอุบลราชธานี ภาคตะวันตก ในวันที่ 25 ก.ค. ที่จังหวัดสมุทรสงคราม และเวทีสุดท้ายที่ กทม. ในวันที่ 31 ก.ค. ที่หอศิลปกรุงเทพฯ 

ดาวน์โหลด “13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024” ได้ที่ https://justpow.co/project-ebook-pdp/ 

ดาวน์โหลด “คู่มือฉบับย่อ โครงสร้างพลังงานไทย ทำไม #ค่าไฟแพง” ได้ที่ https://justpow.co/project-ebook    

แชร์บทความนี้