ปัดฝุ่นร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร ได้เวลาคุยกันอีกครั้ง

น่าจะถึงเวลาอันสมควร และเวลาที่สมควรที่เรื่องนี้ เฮาน่าจะหยิบยกเอามาอู้จากั๋น

  • ภาพจากนักข่าวพลเมือง ปี 2557

ความพยายามเสนอร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร เป็นหนึ่งในความพยายามในการกระจายการปกครองสู่ท้องถิ่น ในรูปแบบของจังหวัดจัดการตนเอง

ล่าสุด ในเชียงใหม่ได้มีความเคลื่อนไหวพูดคุยร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครอีกครั้ง หลังหยุดชะงัก มา10ปีที่แล้วหลังมีการทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 กลับมาคุยกันใหม่ 23 มีนาคม 2567 ขยับอีกครั้ง กลุ่มนักวิชาการ ภาคประชาคม ประชาชน ตัวแทน ส.ส. ที่สนใจเรื่องนี้ มีการจัดประชุมพูดคุยกันเพื่อจะร่วมกันเสนอปัดฝุ่นร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครอีกครั้งต่อรัฐสภา ในนามประชาชนเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือยกระดับประเด็นนี้ในช่วงเดือนเมษายน เพื่อสร้างการรับรู้ต่อประชาชนเชียงใหม่

จังหวัดจัดการตนเอง ประชาชนกำหนดอนาคตตัวเอง

แนวคิดที่สำคัญคือ “จังหวัดจัดการตนเอง” ซึ่งจะเปิดทางให้ประชาชนสามารถเข้ามากำหนดชะตาชีวิตตัวเอง กำหนดอนาคตตัวเอง กำหนดนโยบายด้วยตนเอง ชำนาญ ตั้งคำถามว่า เป็นไปได้อย่างไร เชียงใหม่ เมืองใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ  แต่ขนส่งสาธารณะยังไม่มี รถเมล์ยังไม่มี เป็นเรื่องประหลาดมาก ทั้งที่ศักยภาพสามารถสามารถทำได้แต่ต้องรอส่วนกลาง รอสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

ร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร พ.ศ….ขึ้นมาเมื่อเดือนมกราคม 2554 และได้มีการปรับปรุงพัฒนามาโดยตลอดจนได้เนื้อหาสาระที่คิดว่าครอบคลุมและสามารถตอบโจทย์แก่ผู้สงสัยได้ในระดับหนึ่ง หลังจากที่ได้มีการลงพื้นที่ใน 25 อำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่ มากกว่า 40 เวที ที่มีทั้งการสนับสนุนและแรงต้านด้วยเหตุเนื่องจากการที่ไปกระทบฐานอำนาจ

แรงสนับสนุนคือการมีข้อเสนอเมื่อ 18 เมษายน 2554  “ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ”ของคณะกรรมการปฏิรูป(คปร.)ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เสนอให้มีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคซึ่งสอดรับกับร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครฯพอดี จนร่าง พรบ.ฯนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศทั้งจากสิ่งพิมพ์และสื่อในรูปแบบต่างๆ ทั้ง

จังหวัดจัดการตนเอง”ที่เน้นไปในความเป็นอิสระในการจัดการชีวิตของตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง หลักการพื้นฐานของร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครฯมี 3 หลักการใหญ่ๆ คือ

1)ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคเหลือเพียงราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ โดยส่วนราชการส่วนท้องถิ่นจะแบ่งเป็น 2 ระดับ(tier) ระดับบนเรียกว่าเชียงใหม่มหานคร ระดับล่างเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมแต่อาจเปลี่ยนชื่อเรียกเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับเทศบาลหรือ อบต.ของมหาดไทยโดยอาจเรียกว่า “นครบาล”ตามร่างแก้ไข พรบ.กรุงเทพมหานครฯที่เห็นพ้องกับร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครฯซึ่งจัดการปกครองท้องถิ่นเป็น 2 ระดับแทนที่มีเพียงระดับเดียวแบบกรุงเทพมหานครในปัจจุบันที่ใหญ่โตและเทอะทะเกินไป โดย 2 ระดับนี้อยู่ในลักษณะของการแบ่งหน้าที่กันทำไม่ใช่ลักษณะของการบังคับบัญชา

2)มีโครงสร้าง 3 ส่วน ประกอบไปด้วยผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง,สภาเชียงใหม่มหานครและสภาพลเมือง(Civil Juries) โดยเชียงใหม่มหานครนี้จะทำทุกเรื่องยกเว้นเรื่องที่เกี่ยวกับ การทหาร, การต่างประเทศ, การเงินการคลังระดับชาติและการศาล

3)จัดแบ่งรายได้กับส่วนกลางในอัตราส่วน 70/30 คือ เก็บไว้ใช้ในท้องถิ่น 70 เปอร์เซ็นต์และส่งส่วนกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ในระยะแรก ๆ ที่ผู้คนได้รับทราบข่าวสารก็มักจะมีความเห็นว่าคงเป็นไปไม่ได้เพราะคิดว่าประชาชนคงยังไม่พร้อม แรงต้านจากหน่วยราชการต่างๆคงมีมาก แต่การณ์กลับกลายเป็นตรงกันข้าม แรงต้านก็ยังคงมีอยู่บ้างแต่น้อยกว่าที่คิดไว้มากนัก เพราะไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือตัวข้าราชการเองก็ต่างก็ประจักษ์ว่าโลกเราพัฒนาไปไกลแล้ว จะช้าหรือเร็ว จะมากหรือน้อย การจัดการกับชีวิตของตนเองที่เป็นสิทธิพื้นฐาน(self determination rights)นั้นจะต้องได้รับการยอมรับ และหนึ่งในสิทธิพื้นฐานที่ว่านี้ก็คือสิทธิในการจัดการตนเองหรือปกครองตนเอง(self governing)นั่นเอง

การขับเคลื่อนมีความคืบหน้ามาเป็นลำดับ มีการรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ มีการรับสมัครและอบรมอาสาสมัครจิตอาสาที่ไม่มีค่าตอบแทนจำนวนนับพันเพื่อขับเคลื่อนโครงการฯกระจายไปเต็มพื้นที่ หน่วยงานต่างๆให้ความสนใจเข้ามาสอบถาม เช่น คณะกรรมาธิการปกครองของวุฒิสภาถึงกับลงทุนไปหาข้อมูลในพื้นที่เลยทีเดียว นอกจากนั้นยังมีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ได้เชิญตัวแทนไปชี้แจงและให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ

นอกจากนั้นในวงการการศึกษาก็มีความตื่นตัวยิ่งหย่อนไปกว่ากันตั้งแต่ระดับในโรงเรียนไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัยแม้กระทั่งในการฝึกอบรมของนักศึกษาวิชาทหารก็มีการพูดถึง มีการทำรายงานของนักเรียนนักศึกษา การทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ ฯลฯ ตลอดจนมีการจัดเวทีวิชาการกันอย่างกว้างขวาง

ที่น่าสนใจก็คือได้มีการจัดเวทีไปภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อร่วมกันยกร่างให้เป็นกฎหมายกลางโดยใช้หลักการพื้นฐานจากร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครฯก็คือ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายซึ่งได้มีการจัดประชุมและสัมมนาอยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อที่ว่าต่อไปเมื่อมีกฎหมายกลางเกิดขึ้นแล้วจังหวัดอื่น ๆ ก็ไม่ต้องไปล่ารายชื่อทีละจังหวัด ๆ อีก และล่าสุดก็มีการระดมนักวิชาการในด้านนี้โดยเฉพาะมาให้ความเห็นเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งน่าเสียดายที่ผมติดประชุมอยู่ต่างประเทศเลยไม่ได้ไปเข้าร่วมประชุมด้วย แต่คิดว่าแนวทางก็คงเป็นไปตามหลักการของการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นของนานาอารยประเทศทั้งหลายนั่นเอง

ในช่วงระยะนี้นับได้ว่าเป็นช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเสนอชื่อเพื่อเสนอร่าง พรบ.ดังกล่าวโดยมีการรณรงค์เพื่อลงชื่อกันอย่างขะมักเขม้น โดยกำหนดหมุดหมายสุดท้ายในวันที่ 29 ตุลาคม 2556 ว่าจะเป็นการระดมพลครั้งใหญ่เพื่อยื่นเสนอร่าง พรบ.ต่อรัฐสภา โดยจะรวมตัวกันในทุกภาคส่วน ณ บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกันกับที่มีการประกาศเจตนารมณ์เริ่มขับเคลื่อนอย่างเป็นทางการเมื่อ 24 มิถุนายน 2555 จนร่าง พ.ร.บ. ถูกบรรจุระเบียบวาระการประชุมในสภา และสะดุดลงหลังมีการรัฐประหารประในปี 2557

‘จังหวัดจัดการตนเอง’ คือเปิดทางให้ประชาชนสามารถเข้ามากำหนดชะตาชีวิตตัวเอง กำหนดอนาคตตัวเอง กำหนดนโยบายด้วยตนเอง ทำให้การแก้ปัญหาตรงจุด ตรงความต้องการ เมื่อท้องถิ่นเจริญ ประเทศก็เจริญ

ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านการกระจายอำนาจ

อย่างที่เรารู้กันว่าเราเคยรณรงค์กันเรื่องพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครและรณรงค์ในปี 2552 และมีการยื่นต่อรัฐสภาปี 2556 แต่เกิดการยุบสภาเสียก่อน และเกิดการรัฐประหารแต่คนในพื้นที่ก็ยังคงรณรงค์อยู่

ช่วงเวลานี้ คือ จังหวะดีที่ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองทั้งหลาย ด้านพรรคร่วมรัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้านก็มีนโยบาย พรรคเพื่อไทย การกระจายอำนาจสู้ท้องถิ่น เป็นหนึ่งในนโยบายไส้ในของการประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย โดยตั้งเป้าเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยต้องเป็นจังหวัดที่มีความพร้อม ซึ่งที่ผ่านนักวิชาการที่เกาะติดเรื่องนี้มองว่ารัฐบาลเพื่อไทยยังให้ความสำคัญกับเรื่องการกระจายอำนาจน้อย และพรรคฝ่ายค้านอย่างก้าวไกลรณรงค์เลือกตั้งทุกจังหวัด นี่เป็นหลักเกณฑ์หนึ่งในร่างพ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร ก็เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้รื้อฟื้นหรือนำมาพิจารณาใหม่แต่ภายในเนื้อหาของตัวร่าง ต้องมีการปรับปรุงให้ทันยุคสมัยเน้นในเรื่องภาคเศรษฐกิจ เพราะภาคธุรกิจก็มองว่าตนเองจะได้อะไร ภาคประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร

การนำเสนอและรณรงค์ในวันนี้โดยภาคประชาชน ซึ่งแน่นอนว่าเราก็ไม่จำกัดว่าพรรคการเมืองจะนำเสนอร่วมด้วย รณรงค์ร่วมด้วย ถ้าพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเสนอแต่เพียงพรรคเดียว ซึ่งในสภานั้นมีการชิงไหวพริบกัน ถ้าเป็นภาคประชาชนนำเสนอเชื่อว่าจะมีคนเห็นด้วยเยอะ ตอนสมัยทำครั้งก่อนและเรายื่นเข้าไปยังสภาการยื่นร่างพระราชบัญญัติและการเสนอพระราชบัญญัติทำได้ยากมาก ต้องมีการใช้สำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งในช่วงเวลานั้นก็ได้เป็นหลาย 10,000 รายชื่อกว่าจะล่ารายชื่อได้ต้องมีเอกสารประกอบสำเนาทะเบียนบ้าน แต่ในปัจจุบันมีระบบเรื่องของเทคโนโลยีการลงชื่อทางออนไลน์และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสามารถช่วยได้ คิดว่าครั้งนี้จะมีการลงรายชื่อร่วมเยอะมากกว่าเมื่อก่อน

หลักการใหญ่ ใจความสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร

ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านการกระจายอำนาจ กล่าวว่า หลักการสำคัญเชียงใหม่จัดการตนเองมี 3 หลักการใหญ่

หลักการที่ 1 คือการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคเหลือแต่เพียงราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ ราชการส่วนกลางหมายถึงกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ส่วนกลางมาอยู่ในพื้นที่ได้ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนสาขาของราชการมาอยู่ในพื้นที่ 90% ส่วนราชการส่วนภูมิภาค เช่น ป่าไม้จังหวัด พัฒนาความมั่นคงจังหวัด ศาลปกครองเชียงใหม่ ในจังหวัดต่าง ๆ มีเยอะ เช่น เชียงใหม่มี 33 ส่วน ซึ่งเยอะมากที่สุด ส่วนที่รับมอบอำนาจ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีผู้ว่าราชการที่ส่งมาและส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่มีราชการส่วนภูมิภาคซ้ำซ้อนท้องถิ่น แย้งกันหรือทำซ้ำซ้อน เลิกราชการส่วนภูมิภาคเป็นท้องถิ่นหรือเป็นจังหวัด 2 ชั้น ชั้นบนที่เรียกว่าเชียงใหม่มหานครหรือเชียงใหม่จัดการตนเอง ถ้าจังหวัดอื่น ๆ ก็เป็นภูเก็ตมหานครก็ว่ากันไป ซึ่งให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการโดยตรงวาระสี่ปี ในส่วนด้านล่างเป็นท้องถิ่นระดับล่างยังมีเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล โดยท้องถิ่นทั้งสองระดับแบ่งหน้าที่กันทำ ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น เรื่องการศึกษาก็เป็นเรื่องของจังหวัดทำ

หลักการที่ 2 คือ สภาพลเมือง โครงสร้างประยุกต์จากแถบแนว England หรือที่หลาย ๆ ประเทศทำกัน เช่น ประเทศญี่ปุ่น เช่น ทางอิสลามก็คล้ายกันเช่นสภาซูลอ ซึ่งทางแถบ England รากศัพท์เดิมใช้คำว่า civil jelly หรือ citizens jelly ถ้าแปลตรงตัวภาษาไทยเรียกว่าลูกขุนพลเมือง เราเลยใช้คำว่าสภาพลเมือง ซึ่งตอนร่างรัฐธรรมนูญที่มีกรรมาธิการ อาจารย์บวรศักดิ์เป็นผู้ร่างซึ่งเสียดายถูกปัดตกไป ก็เปลี่ยนไปใช้คำว่าสมัชชาพลเมือง ซึ่งไม่ผ่านในร่างนั้นเราจึงนำกลับมาใหม่ ที่เรามีสภาพลเมืองเป็นคล้ายๆ ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบ ถ่วงดุล เพราะถึงแม้ว่าผู้บริหารท้องถิ่นจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง สมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงแยกกันก็ตาม แต่พอเข้าไปแล้วเค้าก็จะไปมีการตรวจสอบค่อนข้างจะมีปัญหาเลยให้มีสภาพลเมืองเป็นผู้ตรวจสอบ

หลักการที่ 3 คือ เรื่องส่วนแบ่งรายได้ของท้องถิ่น บรรดารายได้หรือภาษีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นอย่างจังหวัดเชียงใหม่ ตอนร่างเดิมที่คิดไว้ 70% เก็บไว้ในพื้นที่ 30% ส่งส่วนกลางแต่ปัจจุบันมองว่าค่อย ๆ ไปทีละขั้นตอน เอา 50-50% ในประเทศจีนแม้เป็นสังคมนิยมมณฑลเก็บไว้ 60% ส่งส่วนกลาง 40% รัฐบาลจีนบอกว่ามณฑลเป็นผู้หารายได้หลักการใหญ่มีอยู่สามประเด็นแต่รายละเอียดในนั้นก็แล้วแต่ส่วนองค์ประกอบสภาพลเมืองซึ่งแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน จะให้เหมือนกันหมดไม่ได้อยู่ที่แต่ละพื้นที่จะออกแบบ

กรุงเทพมหานครก็มีการพูดถึงในประเด็นนี้ เพราะกรุงเทพมหานครเป็นท้องถิ่นแบบชั้นเดียวในปัจจุบัน แม้กรุงเทพจะไม่มีภูมิภาคก็จริงเป็นท้องถิ่นเต็ม แต่เป็นแบบชั้นเดียว คือการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่เสาชิงช้า มีความต้องการเป็นแบบสองชั้น เช่น ให้มีนายกเขต หรือผู้อำนวยการเขตที่มาจากการเลือกตั้งบางคนคิดถึงการเป็นนครบาลด้วยซ้ำไปแต่ภาษาอาจจะเก่าไปหน่อย ซึ่งนายกเขตนั้นมาจากการเลือกตั้ง

วันนี้ทางเชียงใหม่เริ่มการประชุมเราได้รายชื่อ 20 คนแรก เพราะการจะริเริ่มรณรงค์รายชื่อต้องยื่นขออนุมัติจากประธานรัฐสภาพร้อมหลักการและเหตุผล ถ้าเห็นว่าเค้าขายหมวด 3 หมวด  5 ในรัฐธรรมนูญแล้ว พิจารณาให้ล่ารายชื่อได้ซึ่งในขั้นตอนนี้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เมื่อประธานรัฐสภาอนุมัติสามารถทำได้ ปัญหาอย่างนึงคือพระราชบัญญัตินี้ถูกพิจารณาว่าเป็นกฎหมายการเงิน อยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา แต่นายกรัฐมนตรีก็มาจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งพรรคเพื่อไทยก็มีนโยบายหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการในจังหวัดที่พร้อม ตอนนี้ก็บอกได้เลยว่าพร้อมแล้ว

แน่นอนว่าในการรณรงค์การพูดคุยเป็นไปไม่ได้ในครั้งนี้ที่คณะผู้ริเริ่ม 20 กว่าคนวันนี้จะไปลงพื้นที่ได้หมด ซึ่งครั้งนี้มีการวางแผนเรื่องของการสื่อสารถ่ายทอดออกไป ที่สำคัญคือกฎหมายถูกพิจารณาเข้าไปยังสภาได้ประชาชนผู้ริเริ่มเสนอจะมีสิทธิ์และมีส่วนในการเป็นกรรมาธิการ ซึ่งปัจจุบันในยุคสมัยนี้ไปไกลกว่าการมีส่วนร่วมคือการเป็นเจ้าของประชาสังคมเป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตย ซึ่งแสดงว่าอำนาจประชาธิปไตยเป็นของประชาชนโดยแท้จริงคือการเสนอร่างกฎหมายขึ้นมา เพื่อจัดการอนาคตตัวเองได้

ท่าทีของรัฐบาลเพื่อไทย เมื่อหาเสียงไว้ต้องดำเนินการจะผิดไปที่จากการหาเสียงไม่ได้ และหากประชาชนลงชื่อเป็น 100,000 ในครั้งนี้ คงไม่น่าจะบิดพลิ้ว และอีกประการเป็นเรื่องผลประโยชน์ในอนาคตซึ่งหาเสียงแล้วได้ทำ

เราทำทุกเรื่องยกเว้น 4 เรื่อง

1.เรื่องทหาร และไม่ได้เป็นเขตปกครองพิเศษ

2.ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราธนาบัตร

3.การต่างประเทศ เน้นไปที่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่นกับท้องถิ่นได้ เมืองชายแดนพูดกันได้

4.และศาล ยังไม่อยากเปิดศึกหลายด้าน

ข้อคิดเห็นก้าวต่อไป พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร รับฟังความเห็นเติมเต็มร่าง

ดร.บุญสม กล่าวว่า การกระจายอำนาจครั้งก่อน การที่เสนอกฎหมายเข้าไปจะไม่ผ่าน ครั้งก่อนเห็นด้วย เห็นด้วยกับการจัดเวทีและกระจายให้เห็นแต่ละอำเภอ เอาประชาชนเข้ามาผลักดัน หากนำด้วย ส.ส. พรรคต่าง ๆ ไม่เข้าสภาแน่นอน สร้างการมีส่วนร่วมขยายเวที มี พ.ร.บ.มหานครเชียงใหม่ คุณภาพชีวิตจะดีขึ้นอย่างไร ?

ชัชวาล ทองดีเลิศ กล่าวว่า เสนอ 2-3 แบบ ทำงานควบคู่กันพื้นที่กายภาพและออนไลน์ หนึ่งให้มีวงอำเภอ ตำบล สองเวทีกลุ่มสาขาอาชีพ กลุ่มวิชาการ อปท. หรือ นักศึกษาสถาบัน คณะครูสมาพันธ์ครูจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเกษตรกร ชุมชนเมือง 99 กลุ่ม สามเสนอเป็นประเด็นที่เราเคลื่อนแรก ๆ ภาคเศรษฐกิจไม่เอาด้วยเพราะเกี่ยวกับการเมือง เพราะเราพูดการกระจายอำนาจทางการเมืองเยอะ ไม่เคยพูดการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจ การกระจายอำนาจทางวัฒนธรรม และประเด็นเรื่องสาธารณะสุขหรือกรมป่าไม้ โอนภารกิจดับไฟป่ามาให้ อปท.ไม่มีงบแต่มีภารกิจ เมื่อมีการเลือกตั้งผู้ว่ามาแล้วเรื่องการจายอำนาจแบบสมบูรณ์จะอย่างไร

ชุมชนเมือง ริมคลองแม่ข่า คนแป๋งเมือง กล่าวว่า เชียงใหม่เป็นเมืองวรรณะนคร การทำงานของคนเชียงใหม่แบ่งเป็นพรรคพวก ทำอย่างไรให้คนเชียงใหม่มีส่วนร่วมเชื่อมกัน ประเด็นที่อยู่อาศัย คนจนเมืองเกี่ยวเนื่องกับประเด็นป่าไม้ คุณภาพชีวิต ของคนเชียงใหม่มีส่วยร่วมในการร่าง พ.ร.บ.

ตัวแทนเกษตร กล่าวว่า อยากให้ ส.ส.ลงไปในพื้นที่ 3 อำเภอเมืองเก่า ปัญหาของคนท้องถิ่นทุกยากอย่างไร 2535 ประธานสหกรณ์ ตนเคยนักคุยกับนายกทักษิณ แล้วจะเป็นเซลล์แมนขายพืชผลทางการเกษตร สุดท้ายคำหาเสียงไม่มีความจริงใจ พืชผลทางการเกษตรทำไมตกต่ำ เก็บภาษีแพง ประกาศสินค้า การค้าเสรี เรื่องปัญหาไฟป่า จะแก้อย่างไรมีวิธีของชาวบ้าน ต้องพัฒนาชาวบ้านและคนในพื้นที่ก่อน เอางบประมาณช่วยเป็นอย่าง ๆ เอาเจ้าหน้าที่ไปจับ คนในพื้นทีาไม่มีอาชีพ มีวิธีเดียวคืนการหางบลงไปช่วยชาวบ้านพัฒนาคน ชาวบ้านเยอะ การเคลื่อนต้องมีวาระร่ว

ป้าเมย เครือข่ายคนแป๋งเมือง กล่าวว่า ควรจะมีการปลดล็อกกฎหมาย กฏระเบียบให้ชาวบ้าน มีกฎระเบียบมากเกินไป สิทธิของความเป็นมนุษย์ ทุกรุ่นมีปากเสียง

ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง กล่าวว่า ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในสภาพลเมือง การขับเคลื่อนครั้งนี้เพื่อไทยต้องออกมาขับเคลื่อนด้วย นโยบายเพื่อไทยเห็นด้วยที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ในจังหวัดที่พร้อม เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ ที่พร้อมพรรคเพื่อไทยกับก้าวไกลต้องร่างใหม่ในการขับเคลื่อนครั้งนี้ เนื้อหาร่างเดิมเอามาปรับปรุงได้อีกหน่อย ยกเลิกราชการภูมิภาคเห็นด้วย สังกัดหน่วยราชการทำเรื่องบริการสาธารณะเยอะมาก ต้องโอนบริการสาธารณะให้เชียงใหม่มหานคร อยู่กับผู้ว่าที่มาจากการเลือกตั้ง  

การทำงานกับคนรุ่นใหม่ให้มาช่วยกันคิด ว่าที่ สจ.อ.เมือง นำเนื้อหาสาระเหล่านี้ ให้เนื้อหาสาระให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น : แกนนำหัว ๆ เชียงใหม่จัดการตนเอง มานำเสนอให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วม ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ที่ผ่านมาไม่มีความจริงใจ ส.ส.ชุด 25 กฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น 4 ปีกฎหมายผ่าน 1 ฉบับ และยิ่งกฎหมายมี่เพิ่มอำนาจท้องถิ่น บทบาท ส.ส.จะลดลง เพราะเขาจะมาหาท้องถิ่น เพราะมีอำนาจ มีเงิน ส.ส.จะไปทำงานหน้าที่ดูกฎหมาย และ ฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบ : เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาในอดีต ส.ส.แทบจะไม่ยกมือ หน้าที่ท้องถิ่นให้เป็นเรื่องท้องถิ่น และให้ท้องถิ่นเดินให้เต็มที่ให้ประชาชนเดินหน้า

ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวว่า

การมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความหลากหลายทั้งในแง่รูปแบบ ทั้งในแง่ความการเข้าร่วมซึ่งถ้าเป็นการเข้าร่วมแบบธรรมดา เราไปร่วมเลือกตั้ง เราไปร่วมเป็นสภาชิกพรรคการเมือง ไปร่วมฟังการปราศรัยมีการมีส่วนร่วมที่มากกว่านั้น เป็นเฉพาะกลุ่มในกลุ่มที่สนใจ ในเชิงประเด็น เช่น สนใจปัญหาเรื่องฝุ่น ไปเข้าร่วมกับสภาลมหายใจและขับเคลื่อนอาจจะมากกว่านั้นมีเวทีระดมความคิดเห็นออกแถลงการณ์ การร่วมบริจาคเป็น take action แสดงออกในรูปแบบของงานศิลปแต่งเพลงซึ่งมีลักษณะที่หลากหลายเพียงแต่ว่าเป้าหมายคือรณรงค์เรื่องอากาศสะอาด นี่คือตัวอย่างหนึ่งคือการมีส่วนร่วมแบบในเชิงประเด็น

ซึ่งมีการมีส่วนร่วมที่มากกว่านั้น คือผ่านกระบวนการการเมือง เช่น การมีส่วนร่วมที่จะเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การมีส่วนร่วมที่จะเข้าไปเป็นอาสาตัวแทนลงเลือกตั้งไปเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือ นักการเมืองท้องถิ่น นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นี่คือมากกว่าการเข้าไปร่วมในเชิงประเด็น แต่พยามเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการซึ่งขึ้นอยู่กับว่า แต่ละคนมีศักยภาพหรือจะมีแรงจูงใจที่จะพาตัวเองไปถึงตรงไหนของเส้นของการมีส่วนร่วมในเส้นทางการมีส่วนร่วม

มาสู่เรื่องของการเป็นจังหวัดจัดการตนเองมองว่า เชียงใหม่ ต่างจากจังหวัดอื่นเนื่องจากมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งมีภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนเชิงประเด็นแน่นอนว่ามีการขับเคลื่อนในประเด็นอื่น ๆ ที่หลากหลายทั้งเรื่องของชาติติพันธ์ เรื่องผู้หญิง  ซึ่งสะท้อนความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมของเชียงใหม่ซึ่งประเด็นจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์

การขับเคลื่อนวันนี้ของขบวนการผลักดันเรื่องกฎหมายจัดการตนเอง จะมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของการจัดการตนเองในรูปของพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร ถ้าเรียกว่าจังหวัดจัดการตนเองจะทำหลายจังหวัดแต่กลัวว่าจะไม่ผ่านเพราะนโยบายรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้คิดจะทำทุกจังหวัดแต่จะทำในจังหวัดที่พร้อมดังนั้นหนูจะลองเสนอก่อนว่าถ้าเฉพาะเชียงใหม่ซึ่งเป็นจังหวัด ที่รัฐบาลให้ความสนใจเป็นพิเศษรัฐบาลจะตอบสนองกับของเรียกร้องนี้อย่างไร ซึ่งหากพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองเสนอรัฐบาลอาจจะมองในอีกรูปแบบ มองข้าม แต่หากเป็นภาคประชาสังคมการลงเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันซึ่งหมายความว่าคนที่จะเข้าร่วมเสนอ จะต้องเข้าใจกฎหมายสามารถเข้าไปเสนอแนะได้จนเจอรากเจอข้อสรุปที่ตกผลึกร่วมกัน กระบวนการเข้าชื่อถึงต้องใช้เวลา และเป็นการดึงกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนมาในส่วนนี้ซึ่งถ้าพรรคการเมืองยื่นเสนอก็มีเพียงแค่สมาชิกวุฒิสภาไม่กี่คนประชาชนก็ไม่รู้ว่าเขาทำอะไรกัน ซึ่งมีกระบวนการตรงนี้แน่นอนว่าอาจจะต้องใช้เวลาในช่วงของการรณรงค์กว่าจะได้ 10,000 รายชื่อ ไม่ใช่เพียงแค่ว่าทำเพียงพื้นที่อำเภอเมืองแต่ควรทำเป็นแบบดาวกระจายเพื่อให้เห็นรากที่สะท้อนความต้องการของคนที่อยู่ในเชียงใหม่ซึ่งหลากหลาย

มองท่าทีของรัฐบาลต้องเข้าใจว่ารัฐบาลเพื่อไทยเวลาเราพูดถึงนโยบายต้องย้อนไปดูนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาซึ่ง เพื่อไทยตัดเรื่องเลือก ตั้งผู้ว่าราชการออก ซึ่งตอนในช่วงหาเสียงเพื่อไทยชูนโยบายเลือกตั้งผู้ว่าราชการในจังหวัดที่พร้อม แต่พอเป็นรัฐบาลเพื่อไทยยกกระทรวงมหาดไทยให้ทางพรรคภูมิใจไทยดังนั้นนโยบายนี้ต้องไปถามทางภูมิใจไทยด้วย ถึงเห็นนโยบายที่ในรูปแบบกลางกลางไม่ได้เห็นนโยบายที่เจาะจงเลือกตั้งผู้ว่าราชการในจังหวัดที่พร้อม ซึ่งแตกต่างจากข้อเสนอคือนโยบายหาเสียงอยู่พอสมควรดังนั้นสิ่งนี้ต้องดูต่อไปว่า ถ้าสมมุติว่าอีกฝั่งคือพรรคฝ่ายค้านผลักดัน กฎหมายนี้ตามนโยบายของพรรคแต่ไม่ทำทั้งประเทศลงรายละเอียดในพื้นที่เชียงใหม่ซึ่งตรงกับรัฐบาลเพื่อไทย ว่าจะกระจายอำนาจในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการในจังหวัดที่พร้อมทีนี้ตอนนั้นค่อยมาว่ากันอีกทีว่าท่าทีหรือพรรคเพื่อไทยพยายามเสนอร่างของตัวเองมาประกบก็ได้ แต่ตอนนี้เพื่อไทยยังเงียบอยู่จะเห็นการขยับแต่ฝั่งฝ่ายค้าน

ดูเหมือนว่า การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น เป็นกระแสที่ได้รับความสนใจและพูดถึงกันในวงกว้าง เพราะแนวคิดนี้จะสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องของการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ  ซึ่งยังมีภาพที่ไม่ตอบสนองความต้องการหรือการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่มากนัก หลังจากนี้ ในพื้นที่เชียงใหม่จะมีเวที kick off และกระจายเป็นดาวกระจายไปยังชุมชนต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้เป็นวงกว้าง

แนบร่าง เนื้อหาร่าง พ.ร.บ. จากร่างที่เป็นหลักสำคัญ   

แชร์บทความนี้