จะดีแค่ไหน ถ้าเราออกแบบอนาคตเมืองที่เราอยู่ได้ ?
กระแสท้องถิ่น คนกลับบ้าน กำลังให้ความสำคัญกับการออกแบบเมืองที่กลับไป และเลือกไปใ้ช้ชีวิตอยู่มากขึ้น ในวันที่เมืองต่าง ๆ เต็มไปด้วยปัญหาทั้งปัญหา ฝุ่นควัน ภัยพิบัติ โลกร้อน จำนวนประชากรที่เปลี่ยน การพัฒนา พฤติกรรมใหม่ รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้การพัฒนาที่ขาดทางเลือกและยึดโยงกับโครงสร้างของรัฐแบบ top down นั้นได้พิสูจน์แล้วว่านำมาซึ่งการพัฒนาที่ทำลายทั้งทางสังคม เศรษฐกิจไปจนถึงสิ่งแวดล้อม กลายเป็นเมืองที่ไม่ยั่งยืนที่วนลูปเดิม
เมืองทุกวันนี้และอนาคตไม่ได้มีเพียงรัฐที่เป็นตัวขับเคลื่อน แต่ขับเคลื่อนด้วยผู้คนที่หลากหลาย ภาคประชาสังคม เยาวชน แกนนำชุมชน คนในชุมชน คุณป้า คุยน้า คุยยาย-ตา เอกชน เทคโนโลยี กลุ่มความหลากหลายทางสังคม กลุ่มคนชาติพันธุ์ ฯลฯ ซึ่งการมีพื้นที่กลางจะช่วยหาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของคนแต่ละกลุ่ม เพื่อเป็นแนวทางที่ทุกคนมีส่วนในการกำหนดทิศทาง อนาคตเมืองได้
เช่นเดียวกับ คนเมืองแพร่ หรือเมืองแป้ ในตอนนี้ ที่กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ทั้งเรื่องผังเมืองใหม่ มีคนออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าจะเป็นการพัฒนาที่กระจุกอยู่ในตัวเมืองมากเกินไป โครงการรถไฟรางคู่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ งบประมาณ 72,921 ล้านบาท ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2571 จะเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ยกระดับรายได้รวมของจังหวัด หรือส่งผลกระทบกับวิถีความเป็นอยู่ของเมืองเล็กๆ ที่เคยเงียบสงบ รวมถึงสถานการณ์สังคมสูงวัย ที่ประชากรเป็นผู้สูงอายุ 28 % ติดอันดับ 1 ใน 5 ที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดของประเทศ และประชากรลดลงทุก ๆ ปี ช่องว่างระหว่างวัย คนรุ่นเก่า – คนรุ่นใหม่ จะส่งผลต่อการมองภาพเมืองในวันข้างหน้าอย่างไร และปัญหาอื่น ๆ ที่เป็นข้อท้าทาย
ซึ่งหากมองตัวเลขทางเศรษฐกิจ จะพบว่า ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของคนแพร่ อยู่ที่ประมาณ 80,000 ต่อคน ต่อปีเท่านั้น จัดอยู่ในอันดับที่ 56 ของประเทศ ขณะที่ตัวเลขรายได้จากสินค้าท้องถิ่น เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ทำรายได้มากว่า 220 ล้านบาท ยอดจำหน่ายผ้าหมอห้อม ก็มีมากถึง 200 ล้านต่อปี และยังมีอีกตัวเลขที่น่าสนใจ คือ แพร่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตรจากสุราชุมชน ได้มากถึง 463 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนตัวเลขจากการท่องเที่ยว แพร่อยู่ในลำดับที่ 7 จาก 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งปี 2566 มีคนแวะมาเที่ยวแพร่ 1,200,000 คน สร้างรายได้ 2909 ล้านบาท
ทางทีมงานฟังเสียงประเทศไทยได้รวบรวมข้อมูลไว้ตั้งต้นเพื่อคุยและมองภาพอนาคตเมืองแพร่
เมืองแพร่ หรือ แป้ ไหนใครว่าแพร่ เป็นแค่ทางผ่าน ?
จังหวัดแพร่ เปรียบเสมือนเป็น “ประตูเมืองล้านนา” นี่ทำให้หลายคนเข้าใจว่า เป็นทางผ่านเพื่อไปยังจังหวัดอื่น ทั้งลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ หรือน่าน พะเยา เชียงราย แต่จริงๆ แล้วแพร่เองเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และกำลังเจอกับการเปลี่ยนแปลงไม่ต่างจากจังหวัดอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็น ผังเมืองใหม่ ที่มีคนออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าจะกระจุกการพัฒนาของเมือง
รถไฟทางคู่ที่เข้ามา จะสร้างโอกาส และขาดโอกาส ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น คนรุ่นใหม่ กับคนรุ่นเก๋า จะจูนกันอย่างไร
แพร่เป็นเมืองเล็ก ๆที่ประชากรราว 4 แสน 3 หมื่นคน และคนส่วนใหญ่ทำการเกษตร
ด้วยความที่แพร่เป็นจังหวัดทางผ่านที่จะเดินทางไปยังจังหวัดอื่น ทำให้ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีแผนการโปรโมทด้านการท่องเที่ยวมากนัก ทำให้เมืองแพร่ไม่ได้เป็นที่รู้จักในด้านการท่องเที่ยวมากนัก
แต่ว่าแพร่ คือ 1 ใน 3 ของจังหวัดทางภาคเหนือที่คนนิยมไปทัศนาจร หรือดูงานค่ะ แม้การท่องเที่ยวไม่โดดเด่น สำหรับคนนอกอาจจะรู้จักเมืองแพร่ ผ่านของเด็ดของดีของแพร่ ทั้งสุราชุมชน ผ้าหม้อห้อม เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก และศิลปินผ้า อย่างอาจารย์ช้าง-ศักดิ์จิระ เวียงเก่า ปรมาจารย์ด้านผืนผ้าแห่งเมืองแพร่ ร่วมไปถึง ของกิน อย่างลาบแพร่ที่มีเครื่องเทศอย่างมะแขว่น ที่ทำให้ลาบหอมและจัดจ้านขึ้น
แพร่ ถือว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ที่มากด้วยเรื่องราว รวมถึงมีของดี อย่างไม้สักทอง ที่ถูกส่งมาเป็น เสาชิงช้า ตั้งตระหง่านคู่กรุงเทพ และไม้สักทองของแพร่ยังเป็นเฟอร์นิเจอร์ยอดนิยมของคนรักงานไม้อีกด้วย นอกจากนั้น ยังเป็นดินแดนของสุรากลั่น ต้นตำหรับภูมิปัญญาที่ถูกส่งต่อมากว่า 200 ปี
แต่ข้อจำกัดของแพร่ ก็มีไม่น้อย
ทั้งเรื่องประชากรที่ลด และยังมีสถานการณ์สังคมสูงอายุอีกด้วย แพร่เป็นจังหวัดที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หนำซ้ำแพร่ยังมีแนวโน้มจำนวนประชากรลดลง จากเดิม ปี 2558 มีประชากร 452,346 คน ปี 2562 มีประชากร 441,726 ล่าสุดปี 2567 ข้อมูลจากกรมการปกครอง ระบุบ มีจำนวนประชากร 426,331 คน
ภาพ : ตั้งได้ดี ยะหยังกัน (Community media journey)
นอกจากนั้นแพร่ยังเผชิญกับปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 เหมือนกับจังหวัดอื่นในภาคเหนือ และมีแนวโน้มจำนวนวันที่ค่าคุณภาพอากาศเกินมาตรฐานมากขึ้น
แต่พอดูตัวเลขจากรายได้ จากสินค้าท้องถิ่น เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก รายได้มากว่า 220 ล้านบาท หรือรายได้จากยอดขายผ้าหมอห้อม ก็มาก 200 ล้านต่อปี และอีกตัวเลขที่น่าสนใจคือ แพร่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตรจากสุราชุมชน ได้ ถึง 463 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวเลขจากการท่องเที่ยว แพร่จัดอยู่ในลำดับที่ 7 จาก9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งปี 2566 มีคนแวะมาเที่ยวแพร่ ล้านสองแสนคน สร้างรายได้ 2909 ล้านบาท
แบบนี้เองที่ทำให้คนแพร่ อยากมีส่วนร่วมกับการพัฒนาและออกแบบจังหวัดของตัวเอง
ล่าสุดที่ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญของคนเมืองแพร่ที่ทำให้คนแพร่เคลือนไหว ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนผังเมืองที่คนแพร่มองว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและการลงทุนที่ถูกควบคุมให้เป็นเมืองเพียงจังหวัดหัตถอุตสาหกรรม ไม่สามารถพัฒนารองรับทั้งการพัฒนารถไฟทางคู่ ที่จะแล้วเสร็จ ในปี2571 ซึ่งจะสามารถเชื่อมคนแพร่สู่นานาประเทศอย่างง่ายดาย
โจทย์ของคนแพร่ในวันนี้ คือ คนแพร่ไม่ได้ต้องการสร้างเมืองให้หวือหวา แต่อยากรักษาอัตลักษณ์ของตัวเองเอาไว้ได้
ฟังเสียงประเทศไทยXองศาเหนือ จึง ชวนคนแพร่ ช่วยกันคิดต่อ
หาก นึกถึงแพร่ นึกถึงอะไร ?
ฟังเสียงประเทศไทยจัดวงเสวนา “ฟังเสียงอนาคตคนแพร่” เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่สถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้ จังหวัดแพร่ : ชวนคนแพร่มาพูดคุยและแลกเปลี่ยนกัน และชวนมองไปถึงภาพอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า ว่าพวกเขาเห็นแพร่เป็นแบบไหน |
ดร.ปณิธี บุญสา อาจารย์สาขาวิชาการจัดการชุมชน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า แพร่โตท่ามกลางข้อจำกัด : มองไปอีก 3-5 ข้างหน้าจะเอาอย่างไร จากวงวานนี้คนแพรคุยกันเยอะจุดสำคัญคือปัญหาใหญ่ที่เป็นสิ่งที่ต้องทำคือเรื่องการแก้ไขปัญหาโครงสร้าง เพราะท้ายที่สุดเองอำนาจต้องเป็นของประชาชนแต่เพราะพูดถึงฉากทัศน์ในวันนี้สิ่งที่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ คนแพร่กำลังเผชิญอยู่สามเรื่องใหญ่
เรื่องแรกคือเรื่องของภาวะความเหลื่อมล้ำ ช่องว่างที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ปรากฏการณ์ที่เห็นชัดคือรอยต่อระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ แล้วเรื่องของระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่
เรื่องที่สองคนแพร่กำลังเผชิญภาวะภูมิอากาศ ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ภาวะโลกร้อน ซึ่งเรายังไม่แน่ใจว่าจริงๆแล้วเราจะตั้งรับกับมันอย่างไร
เรื่องที่สามคือเรื่องของเทคโนโลยีที่เข้ามาแต่ภายใต้การประเชิญนี้ ในปัจจุบันเข้าใจว่ามีการตั้งรับของคนแพร่อยู่แต่เป็นการตั้งรับฝั่งของกลุ่มภาคประชาสังคมกลุ่มคนที่รวมตัวกันแก้ไขปัญหา
สิ่งที่ต้องเดินต่อได้คิดว่าต้องทำต่อให้ชัดมากคือเราจำเป็นจะต้องมีพื้นที่กลางพื้นที่ร่วม กลไกการจัดการร่วมนั่นหมายความว่ากลไกการจัดการร่วมเพศต้องเกิดขึ้นได้มีอยู่ 2-3 ประเด็นใหญ่ โดยเฉพาะเราพูดถึงข้อจำกัดที่เป็นปัญหา ประเด็นผู้ว่าราชการจังหวัดมาอยู่ได้เพียงสองปี ซึ่งไม่ได้ทำอะไรและไม่เข้าใจปัญหา ปัญหาไม่ถูกแก้ไข เพราะฉะนั้นถ้าคุณแพ้จะต้องมีพื้นที่ร่วมกลไกการจัดการดวงที่จะต้องเกิดขึ้นตั้งพูดถึงประเด็นเรื่องของการกระจายอำนาจที่ต้องลงมาว่าในมิติในเชิงโครงสร้างการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นกับการกระจายอำนาจให้กับภาคประชาชน และการกระจายอำนาจในมิติเศรษฐกิจควรเป็นอย่างไร ภาพตรงนี้มีชุดความรู้และชุดประสบการณ์ที่ทุกคนได้พูดมาหมดแล้ว ว่ากำลังทำอยู่แต่จะมีพื้นที่ร่วมและเกิดการจัดการร่วมกันอย่างไร
สิ่งที่คิดว่าสำคัญมากที่สุดภายใต้ข้อจำกัดที่เราเจอในฉากทัศน์แรก พอเห็นภาพเรื่องของพื้นที่กลางเห็นภาพเรื่องของการทำงานร่วมพื้นที่การจัดการร่วมโดยเฉพาะประเด็นเรื่องของต้นทุนว่าด้วยเรื่องศักยภาพของพื้นที่โดยเฉพาะป่าทั้งหมด 380 ป่า ภายใต้การดูแลรักษาเพื่อจะลดปัญหาและแก้ปัญหาเรื่องของการป้องกันฝุ่นควันไฟป่า สำคัญที่สุดเราคุยเรื่องนี้ ติดข้อจำกัดเชิงโครงสร้างเช่นเดียวกัน พอติดข้อจำกัด สิ่งที่จะต้องรวมตัวกันของพื้นที่กลางคืออะไร เครือข่ายป่า 380 บาทจะทำงานอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ แต่หมายถึงว่าเป็นเรื่องของการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีหุ้นส่วนการพัฒนา มองรัฐภาคีหุ้นส่วนของการพัฒนาไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตแต่ท้ายสุดถ้ากลไกต่าง ๆ สามารถจับมือกันได้รัฐจะเป็นแค่ภาคีหุ้นส่วนหนึ่งเท่านั้น เราสามารถสร้างอำนาจต่อรองได้ส่วนหนึ่ง
ท้ายสุดแพต้องมีการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดท่าแพร่อีก 10 ปีหรือ 2577 เราตั้งเป้าร่วมกันในพื้นที่ร่วมว่าจะเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วให้อิสระในการจัดการในความเป็นเมืองต้องชัดเจน
คุณประยุทธ ชาป่ง รองประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดแพร่ กล่าวว่า
ในตัวแทนของภาคเอกชนแพร่กำลังจะมีรถไฟความเร็วสูงผ่าน อีกสามถึงสี่ปีข้างหน้า ที่จะมาถึงและมีสนามบินที่ขยาย ภาพของแรงงาน ปัจจุบัน เด็กบ้านเราเวลาเรียนจบจากการศึกษาไม่มีงานทำที่จังหวัดแพร่ ต้องออกไปทำงานต่างจังหวัดซึ่งแรงงานที่เป็นแรงงานสำคัญที่เป็นหัวใจในการพัฒนาไม่ได้อยู่ในจังหวัดแพร่ ไม่มีธุรกิจที่ไหนมาลงทุนเพื่อรองรับอาชีพให้กับคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ ไม่มีการลงทุนในเรื่องของอุตสาหกรรมทำให้จังหวัดแพร่มีผู้สูงอายุมากขึ้นประชากรลดลงบีบให้คนรุ่นใหม่ออกจากจังหวัดแพร่ไปเยอะ
ประเด็นที่สองที่มีการกล่าวว่าบ้านเรามีพ่อเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย 2 ปี ในภาครัฐและเอกชนได้มีการร่วมมือกับ กกร. ภาครัฐและเอกชนในการนำเสนอต่อคณะการประชุมของจังหวัดร่วมกับคณะหัวหน้าส่วนจังหวัดในส่วนนึงเราต้องเข้าใจบริบทผู้ว่าฯแต่ละท่านที่มาในกระทรวงมหาดไทยผู้ว่าบางท่านมาจากสายปกครอง บางท่านมาจากสายโยธาธิการ บางท่านมาจากสายพัฒนาชุมชน นโยบายแต่ละคนที่มากำกับในการพัฒนาในจังหวัดแพร่นโยบายไม่เหมือนกันในแต่ละปี ถ้าเปลี่ยนแล้วก็เปลี่ยนเลยในแต่ละปีแล้วแต่ท่านไหนจะเอาด้านไหนวันนี้ต้องการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวก็จะเน้นด้านการท่องเที่ยว นี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้การพัฒนาเมืองแพร่พัฒนาไปอย่างไม่ยั่งยืนไม่ต่อเนื่อง
เราจะทำอย่างไร ให้เมืองแพร่พัฒนาต่อเนื่อง พวกเรา จะทำอย่างไรให้ผู้ว่าเดินกับเราได้ถ้าพวกเราทำได้ก็สามารถไทยเมืองแพร่เดินไปได้ซึ่งต้องมีกลุ่มที่แข็งแรงนำเอาแผนพัฒนาของกลุ่มภาคประชาชนที่จะทำขึ้นกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่ผู้ว่าราชการคนไหนมาก็เอาแผนที่องค์กรภาคเอกชนร่วมกันกับภาคประชาชนไปขอยื่นแพร่เราจะเดินแบบนี้ ซึ่งต่อไปภาคเอกชนต้องเข้มแข็งกับส่วนต่างๆ และจะมีแผนพัฒนาจังหวัดซึ่งพวกเรายังไม่ได้เข้าร่วมในส่วนนั้นการเปลี่ยนแปลงการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดเมื่อมีการตกลงแล้วมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมีการประชุมเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆภาคเอกชนไม่ค่อยได้รับรู้ คนที่จะพัฒนาจังหวัดได้อย่างภาคเอกชนต้องเข้มแข็ง ต้องเข้าถึงภาคส่วนราชการให้ได้ว่าเราจะเดิน จุดไหนเราจะขอทำอย่างไรกับจังหวัดแพร่ซึ่งจังหวัดแพร่โอกาสพัฒนาในด้านความเจริญค่อนข้างพัฒนาไปแบบช้าๆเพราะเรายังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเสนอแผน
แล้วเราจะเสนออย่างไรองค์กรภาคเอกชนที่นั่งรวมกันอยู่ตรงนี้เขียนแผนร่วมกันทิศทางเดียวกัน ต้องใหม่อีกคนนำเสนออีกฝ่ายค้านจึงต้องเน้นว่าไปในทิศทางเดียวกัน ปัจจุบันอยู่กับเยาวชนรุ่นหลังภาคเอกชนที่ตอนนี้ได้มีส่วนร่วมกับจังหวัดคือสภาอุตสาหกรรม หอการค้าและสภาวัฒนธรรม ชมรมธนาคารที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการรับฟังความคิดเห็นและออกแบบแผน ปัจจุบันแผนของจังหวัดถึงปี 2569 แล้วซึ่งพวกเราตรงนี้ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม การเสนอแผนต้องเสนอแผนตั้งแต่ต้นคือในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เมื่อเสนอเสร็จผู้ว่ารับก็ยังไม่จบขั้นตอนอยู่ดีต้องไปอยู่ในกระบวนการของระดับประเทศระดับประเทศก็มีอีกที่จะต้องถูกตัดหรือไม่ถูกตัดซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ องค์กรที่นั่งอยู่ตรงนี้ทุกท่านควรจะรับรู้ว่าสิ่งที่เราเสนอไปไม่ได้สิ้นสุดแค่จังหวัดของเราเท่านั้น
สำหรับผู้ว่าถ้าเราสามารถเปลี่ยนทิศทางมาก่อน 6 เดือนต้องมาศึกษาจังหวัดแพร่ก่อนว่าบริบทเป็นอย่างไรและทำการเสนอแผนความต้องการของคนแพร่ ขอให้เรามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางจังหวัดแพร่ให้ยั่งยืน นี่คือจุดเริ่มต้นและแพรจะได้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง
คุณ ธีรวุธ กล่อมแล้ว สมาคมรักษ์เมืองเก่าแพร่ : APT กล่าวว่า ความที่โลกมันไร้ขอบเขตทุกคนรู้ข้อมูลเท่าถึงกันหมดในโลกใบนี้ รวมถึงคนแพร่ด้วย คนแพร่มีหลากหลายสาขาอาชีพและแต่ละคนรู้ปัญหาปัญหาเยอะ ทุกคนเริ่มรู้วิธีการแก้ปัญหาแต่สมมุติว่าเป้าหมายของเมืองแพร่ของทุกคนคืออยากให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ สังคม สภาพ สิ่งแวดล้อม และอยู่กับเมืองได้นี่คือเป้าหมาย ความอยู่ดีกินดีมีความสุข มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
สมมุติว่า ณ ตอนนี้ทุกจังหวัดเราต้องดำเนินการตามนโยบายของรัฐเหมือนกับว่าเป็นเรือลำใหญ่ลำหนึ่งในมหาสมุทรที่ใหญ่มากคนแพร่อยู่ในเรือลำเดียว ตามนโยบายรัฐแผน 20 ปีประชาชนชาวแพร่อยู่ในเรือลำเดียวกันทั้งหมดเรือลำใหญ่มากและมีกัปตันทีมที่มาจากส่วนกลางส่งมาคือผู้ว่าราชการจังหวัด พอส่งมาอาจจะเป็นเพราะว่าแกะกล่องหรือผู้ว่าเราเกษียณไปไม่ถึงไหนต้องเข้าฝั่งเปลี่ยนผู้บริหารอีก คนแพร่รู้ปัญหาแต่นโยบายเปลี่ยนตาม พรรคการเมือง เปลี่ยนตามรูปแบบยุคสมัย คุณแพรรู้ปัญหาและต้องปรับตัวเช่นมีรูปแบบซอฟพาวเวอร์รูปแบบไหนโครงการจากส่วนกลางเค้าต้องปรับตัวในสภาพสิ่งแวดล้อมปรับไป ถ้าอยู่ในเรือลำใหญ่นี้เปรียบเหมือนว่าน้ำกำลังจะรั่วคนแพ้ต้องเอาไม้ไปปะรูรั่วตลอดเวลา แต่พอถึงเวลาหนึ่งมันต้องเปลี่ยนมันไม่ไหวแล้วที่คนแพร่จะต้องมาป่ะรูรั่วอยู่ตลอดเวลา
เมื่อวานเป็นเวทีคู่ขนานเมื่อวานเราคุยกันเรื่องของคนแพร่ เราต้องการพื้นที่กลาง แต่ทางจังหวัดมีการปรับแผนเชื่อหรือไม่ว่าสัดส่วนในการที่ภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมมีแค่ 10 คนจาก 300 คนซึ่งแค่ 5% แต่ปัญหาคือคน 5% ที่ไปเป็นส่วนใหญ่มันมากกว่า 70 ถึง 80% แล้วจะทำให้คนเหล่านี้เข้าใจปัญหาได้อย่างไร แล้วโดยเฉพาะแผนต่างๆ คือเรือลำนี้ มันอยู่ในมหาสมุทรที่ใหญ่มากพอมันปรับเปลี่ยนเข้าฝั่งอยู่ตลอดเวลา เรามักจะมีความคิดว่าในเมื่อทุกคนอยู่ในเรือลำเดียวกันมีอะไรต้องคุยกันแต่คนแพร่ ด้วยความที่เป็นเลือดนักสู้อยู่ตลอดเวลากลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่มีพื้นที่เค้าต้องออกต้องลงจากเรือแล้วลำเล็กลำน้อยออกมาจากเรือลำใหญ่ ซึ่งมองว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่กลุ่มคนที่ชุมชนต่าง ๆ จะต้องลงเรือลำนี้ออกมาแล้วเพราะไปไม่ไหว เพราะมันจะตายเอานั่นหมายความว่าอะไรเมืองร้างไม่มีคนอยู่ทำมาหากินไม่ได้ คนจึงต้องออกมา คุณเชี่ยวชาญทางไหนเกษตรหรืออะไรตรงไหนมีแนวความคิดอะไรต้องออกมาขึ้นฝั่งก่อนเพื่อมาคุยกันว่าจะไปอย่างไรและมีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมกันคือเมืองแพร่น่าอยู่
เรือลำนี้ถึงจะเป็นลำเล็กลำน้อยแต่เรามีพื้นที่กลางในการคุยกันและมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่สอดคล้องทำให้เราต้องออกมาจากเรือลำใหญ่ และอีกอย่างถ้าเรือลำนี้ยังใช้นโยบายเหมือนเดิมอยู่ไม่เข้าใจปัญหาคนแพร่จะต้องมาซ่อมเรือหลังนี้อยู่ตลอดเวลา ต้องเข้าฝั่งตลอดเวลาและการใช้เครื่องมือที่ผิดก็เหมือนกันใช้เครื่องยนต์ที่ผิดประเภท มุมมองของเราคือคนแพ้ด้วยความไม่อยู่นิ่งสังเกตได้เลยจากธุรกิจบางตัวเกี่ยวกับเรื่องไม้สักหรือเหล้าชุมชนสุราชุมชนเป็นธุรกิจที่เหมือนกับปริ่มน้ำโดนกดแต่คนแพรไม่ยอมจะลอยขึ้นมาตลอดเวลาไม่งั้นเราจะอยู่ได้ถึงขนาดนี้ 200 โรงงานภาษี 400 กว่าล้าน
ดังนั้นคนแพร่มีการปรับตัวต้องมีพื้นที่และแยกย้ายกันแต่เรามีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายเดียวกัน ไม่เห็นด้วยว่าประชาชนจะต้องปรับตัวกับนโยบายส่วนกลางตลอดเวลาเพราะเขาไม่รู้ปัญหาที่แท้จริง และในเรื่องของประชากรที่ลดลงไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่ากลัวเมืองมีขึ้นมีลงนโยบายของประเทศไทยถ้าเราดูตั้งแต่อดีตเชียงใหม่เคยเป็นเมืองร้างประชากรคนภาคเหนือไม่ใช่ไทยแท้โดนกวาดต้อน วันนึงถ้าเมืองน่าอยู่จริงๆคนแพ้ช่วยกันอีก 10 ปีไม่ใช่เมืองผู้สูงอายุแน่นอนคนที่อื่นอาจจะอยากมาอยู่แพร่ มาทำมาหากินอัตราการเฉลี่ยเปลี่ยนแปลงและอยู่ได้ แต่หากยังใช้เครื่องมือแบบเดิม เชื่อว่าแพทย์เปลี่ยนไปเพราะหลังจากที่เราทำงานร่วมกันกิจกรรมชุมชนเครือข่ายเรามีเยอะมากขึ้นและเข้มแข็ง
สามารถฟังเสียงเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ https://www.facebook.com/thaithenorth/videos/417346674260517
ชวนคุณผู้อ่านมาร่วมมองอนาคตเมืองแพร่ ซึ่งทางทีมงานได้ลองประมวล เรียบเรียงออกมาในเบื้องต้น เป็นฉากทัศน์ 3 ฉากทัศน์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการออกแบบ และนำไปสู่การคุย อนาคตเมืองแพร่ ในอีก 10 ปีข้างหน้า (2577) ในมุมมองของคุณ จะเป็นไปอย่างไร ?
อนาคตเมืองแพร่ ในอีก 10 ปีข้างหน้า (2577) ในมุมมองของคุณ จะเป็นไปอย่างไร ?
ภาพอนาคตที่ 1 แพร่โตท่ามกลางข้อจำกัด | ภาพอนาคตที่ 2 แพร่เจริญก้าวหน้า | ภาพอนาคตที่ 3 แพร่ก้าวไปอีกทาง |
แพร่ยังคงมีปัญหาดังเดิม เหมือนภาคเหนือทั่วไป เช่น สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีอย่างน้อย 3 เดือน และอาจจะเพิ่มขึ้น ระบบขนส่งสาธารณะไม่ได้รับการพัฒนา ไม่หลากหลาย ไม่ครอบคลุม ปริมาณนักท่องเที่ยวจึงทรงตัวหรือคงที่ ทำให้แพร่ขาดจุดหมายทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ นักท่องเที่ยวเดิมไม่มาซ้ำ ระยะเวลาเที่ยวคงที่ หรือสั้นลง ปริมาณอุปทานผู้ประกอบการและสินค้าล้นเกิน ราคาขายไม่ได้เพิ่มขึ้น กำไรของกิจการลดลง ทัศนคติของเจ้าของธุรกิจที่ไม่ปรับตัว จึงยากต่อการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ บางธุรกิจขาดเงินทุนเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ และเผชิญกับปัญหาต้นทุนพลังงานสูง กฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับมีความยุ่งยาก เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของธุรกิจ การร่วมกลุ่มของผู้ประกอบการและธุรกิจ ภาคประชาสังคม อ่อนแรง รอพึ่งและรอนโยบายรัฐ ผู้บริหารจังหวัดเปลี่ยนทุก 1-2 ปี แบบเดิมทำให้ขาดคนกำกับภาพรวม ประชากรลดลง คนรุ่นใหม่ส่วนน้อยที่กลับมาต่อยอดอาชีพจากครอบครัว แต่ส่วนใหญ่ไปทำงานในจังหวัดอื่น ทำให้คนที่ในแพร่เป็นผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ อัตลักษณ์หลายอย่างหายไป | แพร่ โตแบบก้าวกระโดดภายใต้ความร่วมมือของประชาชนสังคม ประชาชน รัฐและเอกชน ทำให้ เศรษฐกิจเมืองแพร่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตามวิสัยทัศน์เมืองที่ทุกภาคส่วนออกแบบร่วมกัน รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาสำคัญ เช่นฝุ่น PM 2.5 อย่างจริงจัง ทำให้สภาพอากาศดีขึ้น พร้อมกับเกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ ในแพร่ ภายใต้อัตลักษณ์ของเมืองเพร่ทั้งวัฒนธรรม วิถี ประเพณีดังเดิม มีจำนวนเที่ยวบินเพิ่มขึ้น สินค้าและผู้ประกอบใหม่ ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและนักท่องเที่ยวที่มาก็มีคุณภาพและอยู่ในประเทศในจังหวัดแพร่นานขึ้นกว่าเดิม 1 เท่า นอกจากนี้ องค์กรภาคเอกชน ธุรกิจ ประชาสังคม มีความเข้มแข็งสามารถผลักดันมาตรการต่าง ๆ ได้ จนกลายเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ และตอบโจทย์สังคมสูงวัยแบบยั่งยืน มีการปรับระบบเกษตรที่สร้างอาหารปลอดภัย และดูแลสุขภาพคนทุกวัย มีพื้นที่กลางให้เกิดการแลกเปลี่ยน และผลักดันการพัฒนาผ่าน สภาประชาชนเมืองแพร่ คนแพร่ที่ได้รับผลประโยชน์ สนใจเรื่องการเติบโตของเมืองอย่างยั่งยืนมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยที่ยังควบคุมไม่ได้ เช่น ผู้บริหารเมืองเช่นผู้ว่า ยังเปลี่ยนบ่อย ขาดความต่อเนื่องในการกำกับทิศทางเมือง ฉายใต้ฉากทัศน์นี้ ทำให้ผลตอบแทนของค่าแรงในพื้นที่เพิ่มขึ้น แรงงานทุกกลุ่มเริ่มย้ายกลับเข้ามา และเกิดเป็นอาชีพใหม่ ๆ ในจังหวัดมากขึ้น | แพร่ โตตามยุทธศาสตร์จังหวัด เป็นเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวทุกช่วงวัย เป็นเมื่องสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ มีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับคนที่หลากหลายในสังคม เพราะมีจุดหมายการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการ ของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม มีนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนสร้างธุรกิจใหม่ ๆในพื้นที่ เช่น ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น Wellness, Gastronomy แพร่มีระบบขนส่งมวลชนที่ถูกพัฒนา ทั้งทางราง ทางบก ทางอากาศ และระบบขนส่งมวลชนภายในจังหวัด เป็นทางเลือกการเดินทางของผู้ที่จะมาแพร่ กลุ่มผู้ประกอบการ ธุรกจิขนาดเล็ก ขนาดกลาง เกิดขึ้นมากมาย ขยายตัวเร็ว สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ภายใต้ระเบียบกฎหมายที่เอื้อมากขึ้น ทั้งธุรกิจสุราพื้นบ้าน การเกษตร และแปรรูปไม้ นโยบายรัฐ สนับสนุนเปิดให้สามารถบริหารจัดการตัวเองได้ เช่น การเปิดโมเดลพิเศษให้สามารถเลือกตั้งผู้บริหารจังหวัดได้ เป็นต้น ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่เป็นปัญหาใหญ่มากทั้งสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว ยังอยู่แต่ ดีขึ้นเรื่อยๆ จากโมเดลการจัดการผ่านป่าชุมชนที่ดูแลพื้นที่และใช้ประโยชน์ร่วมกัน |
แล้วสำหรับคุณ ภาพอนาคตเมืองแพร่ ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเป็นแบบไหน คลิกโหวตด้านล่างนี้ได้เลย