เมืองสร้างสรรค์ดนตรี

เราจะมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในการยกระดับเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีที่จังหวัดศรีสะเกษ เราจะชวนกันคิด ชวนกันคุย ชวนกันมอง เพื่อที่จะทำให้เห็นแนวทางภายใต้มันอาจจะมีปัญหามันอาจจะมีโจทย์ความ             ท้าทายหลายๆอย่าง แต่ว่าเราจะร่วมกันคิดเพื่อที่เรามองว่าวันหนึ่งศรีสะเกษจะเป็นเมืองสร้างสรรค์แห่งดนตรีที่เราทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดชวนคุยร่วมกัน 

นึกถึงดนตรีสร้างสรรค์นึกถึง “ตัวโน๊ตดนตรี”  ตัวโน๊ตตัวนี้มันก็จะนำไปสู่การขับเคลื่อนเมืองศรีสะเกษไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรม เรื่องของอาหาร ชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงอัตลักษณ์พื้นถิ่นของพื้นที่ศรีสะเกษผ่านตัวโน๊ตของดนตรี

เสนอคำว่าอัตลักษณ์ ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ ชื่อนางสาวสุจิน ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กของเทศบาลเมือง สำหรับคำที่ได้เสนอไปคือคำว่าอัตลักษณ์ค่ะ ในมุมหนูน่านึกถึงคำว่าดนตรีสร้างสรรค์ หนูนึกถึงคีย์เวิร์ดสั้นๆในหัวคำว่าอัตลักษณ์ อัตลักษณ์เป็นตัวที่จะสื่อถึงสภาพสังคมในยุคนั้น แล้วสภาพสังคมก็จะสื่อถึงวัฒนธรรมหรือ culture ในชนบทหรือในเมืองนั้นๆด้วย เลยคิดว่าถ้าจะตอบโจทย์เรื่องของความเป็นดนตรีสร้างสรรค์ ก็น่าจะเป็นคำว่าอัตลักษณ์ค่ะ

ผมเสนอคำว่าดนตรีเป็นมาตรฐานของวัฒนธรรมซึ่งดนตรีแห่งเมืองสร้างสรรค์ศรีสะเกษเราจะเป็นดนตรีพื้นบ้านพื้นเมือง ซึ่งสื่อไปถึงวัฒนธรรมต่างๆของจังหวัดศรีสะเกษ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นดนตรีต่างๆ ละเล่นต่างๆก็จะเป็นสิ่งที่สื่อไปถึงวัฒนธรรมของบ้านเรา ผมจึงคิดว่าคำนี้เป็นคำสำคัญครับ

อยากจะเสนอคำว่าเทศกาลดนตรี ก็หมายความว่าการที่จะให้จังหวัดศรีสะเกษมีเทศกาลดนตรีผู้ใหญ่ต้องสนับสนุน ยกตัวอย่าง เช่น ทางเทศบาลอาจจะจัดเป็นช่วง คงจัดทุกวันไม่ได้เพื่อให้ลูกหลานเรามีเวทีในการแสดงออก ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แล้วก็เป็นการส่งเสริมที่เป็นสากล ตรงนี้ก็จะนำสู่ impact แล้วก็เป็นเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของเสียงของ Sound of Sisaked ได้ครับ

นึกถึงความสุข เพราะว่าดนตรีสมัยโบราณหรือสมัยปัจจุบันหรือมีหลากหลาย ดังนั้นการที่เราเล่นดนตรีคนเล่นก็มีความสุข คนรับฟังก็มีความสุข มีความรู้สึกว่าการใช้ดนตรีบำบัดก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ศาสตร์เป็นศิลป์อีกแบบหนึ่ง ดนตรีนี้คือความสุขของทุกคนที่สามารถที่จะจับต้องได้

พอนึกถึงดนตรีศรีสะเกษ เรานึกถึง Sound of Sisaket ค่ะ sound ในที่นี้คือผู้คน DNAของคนศรีสะเกษมี DNA ของการเป็นดนตรีมีอยู่ในจิตวิญญาณ เราเข้ามาอยู่ที่ศรีสะเกษ 3 ปีต่อเนื่องครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่มาจัดงาน Sound of Sisaket เราได้สัมผัสถึงผู้คน ทุกคนที่เราเจอเราเห็นถึงพลังของดนตรีค่ะ ไม่ว่าจะเป็นรากทางด้านวัฒนธรรมจากดนตรี 4 เผ่าที่มันสืบสานกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว ไปจนถึงคนรุ่นใหม่ที่เราได้ไปเจอผู้คนทุกคนเป็นศิลปินหมดเลย แม้กระทั่งน้องนิวประธาน YEC ก็เล่นดนตรีตั้งแต่เด็ก หรือแม้กระทั่ง             ป๊าที่เป็นเจ้าของโรงแรมสันติสุขที่ให้พื้นที่ตรงนี้ในการจัดงานก็ทำเครื่องเสียงค่ะ ซ่อมเครื่องเสียงโบราณ ดนตรีอยู่ในจิตใจอยู่ในผู้คนวิถีชีวิตของคนศรีสะเกษ มันเลยออกมาเป็นพลัง จะเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นนักแต่งเพลงที่ได้รับยอดวิวเยอะๆเป็นคนศรีสะเกษแต่งให้ คืออาจารย์ยุ้ยมานะศักดิ์ หรือแม้กระทั่งดนตรีตอนนี้มันอีสานฟีเวอร์ อีสานป๊อป อีสานมิวสิค อีสานอินดี้ ศิลปินที่มียอดวิวสูงสุด โดยส่วนใหญ่มาจากศรีสะเกษ           นั่นคือดนตรีอยู่ใน DNA ของคนศรีสะเกษค่ะ 

ขอเสนอคำว่า ศรีสะเกษสีสันแห่งอีสาน คือมันเป็นมุมมองของความสุข ความเป็นสีสันทั้งดนตรีทั้งวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย อันนี้ก็น่าจะครอบคลุมถึงเรื่องของอัตลักษณ์ แล้วก็เอกลักษณ์ของจังหวัด               ศรีสะเกษครับ

นึกถึงสะไนค่ะ มันเป็นเรื่องของทั้งวิถีชีวิตรากเหง้าแล้วก็ที่สำคัญแต่ก่อนสะไนมันคือจะบ่งบอกถึงการแบบเป่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ แต่ตอนนี้การนำเอาสะไนมาเป็นดนตรีทำให้เห็นถึงในเรื่องของการใช้ภูมิปัญญารากเหง้าต่างๆ แล้วก็ที่สำคัญสิ่งที่เราเห็นการเติบโตของสะไน วงสะไน (5.33 นาทีฟังไม่ชัดเจนค่ะ) นำไปสู่ในเรื่องของการพัฒนาเด็กขึ้นมาเป็นนักดนตรี แล้วก็ตอนนี้อย่างน้องไบเบิลก็ไปซุปเปอร์เท็นกลายเป็นนักดนตรีของโรงเรียนสตรีสิริเกศ เราก็เห็นว่าดนตรีไม่ใช่แค่ในเรื่องของการวิถีวัฒนธรรมรากเหง้าอย่างเดียว แต่ว่ามันสร้างเด็กให้เด็กคนนึงได้ลุกขึ้นมา เป็นทั้งในเรื่องของการส่งเสริมทั้งเรื่องของอาชีพ มีรายได้จากดนตรีค่ะ

เป็นกลุ่มศิลปินที่นำผลงานศิลปะมาแสดงที่นี่ ผมให้นิยามสั้นๆคำว่างามใน คือความงามที่มันอยู่ข้างในของคน มันเหมือนเป็นนามธรรม เสียงดนตรีมันเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็นด้วยตา งานศิลปะที่พวกผมทำมาเป็นทัศนศิลป์เหมือนสิ่งที่อยู่ภายนอก วิถีชีวิตของคนทั้งเมืองแต่งตัวทำอะไร สร้างบ้านมันเป็นเรื่องภายนอก แต่สิ่งที่มันอยู่ข้างในมันมีเสียงมันมีจังหวะในหัวของดนตรี ผมใช้คำว่ามันเป็นสากลตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์มนุษย์เกิดขึ้นมาต่างจากสัตว์ เพราะว่ามีเสียงดนตรีในหัว มีศิลปะอยู่ในตัวเอง ถ้าเผื่อเราจะพัฒนาตรงนี้ต่อไปให้เจริญขึ้นให้มากขึ้นดนตรีก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองงดงามโดยที่ไม่รู้ตัว จนถึงวันนึงพัฒนาถึงที่สุด จนกระทั่งกลายเป็นดนตรีของ 4 เผ่า จนกระทั่งกลายเป็นดนตรีของอินดี้ของเด็กในยุคปัจจุบัน มันมาจากความงามที่อยู่ข้างในของคนที่นี่ 

ผมคิดว่าดนตรีคือชีวิต เพราะว่าทุกชีวิตตั้งแต่โบราณมาแล้ว เราก็จะเห็นว่าแต่ละชนเผ่าจะมีดนตรีเป็นของตัวเอง อย่าง 4 เผ่าไทยของเราดนตรีของแต่ละเผ่านี้ก็จะแตกต่างกัน อันนั้นมันเป็นการแสดงอัตลักษณ์ของตัวเขา เพราะฉะนั้นชีวิตของเรามันอยู่กับดนตรีมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำผมดีใจมากที่ศรีสะเกษของเรามี Sound of Sisaket ครั้งที่ 3 ซึ่งเห็นคนมาเที่ยวเยอะมาก แล้วก็เป็นการสร้างอาชีพ เพราะฉะนั้นดนตรีของศรีสะเกษไม่ใช่ว่าเพื่อความสุขอย่างเดียว เพื่อปากท้องของพี่น้องประชาชนด้วย 

แล้วทำอย่างไร ถึงจะทำให้สิ่งที่มันเป็นความคิดเป็นพลังของพวกเรานี้ค่ะ ออกมาขับเคลื่อนแล้วก็ทำให้เกิด Sound of Sisaket จริงๆ ทำให้เกิดเมืองแห่งดนตรีที่เป็นเมืองสร้างสรรค์จริงๆ ตรงนี้ก็เป็นความน่าสนใจที่เราจะต้องชวนคุยกันต่อไป โจทย์ใหญ่ที่จะถือเป็นความท้าทายในการมองและร่วมกันขับเคลื่อนต่อไปของเรา คือว่าแล้วจะทำอย่างไร อันนี้คือหัวใจของวันนี้ค่ะว่า ทุกคนมีต้นทุน มีความคิด มีพลัง แล้วก็เรายังคงต้องมองกันต่อไป แล้วทำยังไงนะ มันถึงจะเคลื่อนไปข้างหน้าเคลื่อนไปในมุมที่หลายคนมองว่ามันสามารถไปได้ แล้วก็วันนี้เรามี  1 ความคิดที่จะเข้ามาร่วมในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ซึ่งวันนี้ท่านมาออนไลน์ สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่าภายใต้โอกาสและข้อท้าทายต่างๆในเรื่องของการยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ระดับสากล เราจะทำแบบไหน อย่างไร วันนี้ ดร.พัชรวี ตันประวัติ จาก British Council ประเทศไทยจะพูดคุยกับเราในหัวข้อรู้เขารู้เรายกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในระดับสากล

อาจารย์คะ ตอนนี้ในวงของพวกเรานั่งกันอยู่ที่ศรีสะเกษแล้วก็ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในการที่จะทำให้เกิดการการยกระดับเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีของจังหวัดศรีสะเกษอย่างแท้จริง ก็เลยอยากจะขอความคิดเห็นจากอาจารย์ ขอมุมมองว่าถ้าอยากจะมองว่าถ้าเราอยากจะยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยไปสู่เรื่องของการสร้างสรรค์ระดับสากลแล้ว เราจะต้องทำแบบไหนอย่างไร  

วันนี้ก็มีหลายๆเรื่องที่อยากจะมาแชร์ค่ะ แต่ว่าหลักๆก็จะเป็นประสบการณ์จากของทางสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะในเรื่องของเมืองสร้างสรรค์ทางดนตรี ก็คือเมืองลิเวอร์พูล คิดว่าก็อาจจะมีประเด็นต่างๆ แล้วก็ประสบการณ์ของทางสหราชอาณาจักรที่ได้ทำงานในด้านของการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แล้วก็เมืองสร้างสรรค์ทางดนตรีมาร่วมพูดคุยกันในวันนี้ค่ะ 

วันนี้ทาง CA บอกว่า อยากจะให้พูดในหัวข้อรู้เขารู้เราเพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยไปสู่ความเป็นเมืองสร้างสรรค์ระดับสากล ตอนนี้ก็เลยคิดว่าเมื่อครู่นี้ก็อาจจะมีการได้พูดคุยกันไปบ้างแล้วที่เวทีตรงที่ศรีสะเกษนี้นะคะว่าเมืองสร้างสรรค์คืออะไร จริงๆเมืองสร้างสรรค์เป็นหัวข้อที่หลายๆคนก็อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจ ทำไมเราต้องเป็นเมืองสร้างสรรค์คืออะไรเกี่ยวข้องอะไรกับเรา ตรงนี้ก็อยากจะนำเสนอเล็กน้อยว่าเมืองสร้างสรรค์งานโดยทั่วไปมีลักษณะอย่างไร แล้วทำไมเมืองหลายๆเมืองถึงอยากจะเป็นเมืองสร้างสรรค์ คือมีประโยชน์อะไร แล้วก็เกี่ยวข้องอย่างไรกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ค่ะ คือเมืองสร้างสรรค์ถ้าพูดง่ายๆก็คือเป็นเมืองที่เติบโตบนฐานของความคิดสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ฟังดูคนไทยใช้คำว่าอุตสาหกรรม อาจจะไปคิดถึงอุตสาหกรรมหนักใช่ไหมคะ             ที่เป็นพวกงานเกี่ยวกับโรงงานเกี่ยวกับการผลิตอะไรที่เป็นเรื่องหนักๆ แต่ว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มาจากภาษาอังกฤษที่เรียกว่า creative Industry ซึ่งจริงๆก็คือเป็นภาคส่วนงานที่ประกอบด้วยผู้คนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เมืองที่เติบโตอยู่บนฐานของความคิดสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ก็จะมีความเติบโตมากกว่าเมืองอื่นๆ 

โดยจากการวิจัย เมืองสร้างสรรค์ก็จะอาศัยผู้คนที่ประกอบอาชีพในด้านอุตสาหกรรม ด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนและขยายผลต่อมาเป็นย่านและเป็นเมืองค่ะ ซึ่งตรงนี้จะเห็นว่าทุกคนที่อยู่ในเมืองสร้างสรรค์ก็มีความสำคัญเพราะว่าตัวความเจริญหรือว่าการเติบโตเกิดขึ้นจากกลุ่มคน เกิดจากคนคนเดียว เกิดจากที่มารวมกันเป็นกลุ่ม แล้วก็ต่อมาขยายการเติบโตต่อมา ซึ่งก็จะมีผลต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาวะด้วย คือโดยทั่วไปเวลาเราพูดบางทีเราจะนึกถึงแต่ว่ามีผลต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ เวลาคุยกันเรื่องเมืองสร้างสรรค์ก็จะคิดว่า จะพานักท่องเที่ยวเข้ามาได้มากแค่ไหน            จะสร้างเงิน สร้างรายได้ให้กับเมืองหรือว่าคนที่อยู่ในเมืองได้มากแค่ไหน แต่จริงๆเมืองสร้างสรรค์ก็มีความเจริญ มีผลต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ แล้วก็ทางสังคมซึ่งสำคัญมาก นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมคือสามารถทำให้เกิดความยั่งยืนในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและก็มีผลต่อสุขภาวะของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นๆด้วยค่ะ นอกจากนี้ก็ยังมีระบบนิเวศที่เอื้อให้คนและเมืองเติบโตได้ 

ทีนี้ถามว่าทำไมต้องเป็นเมืองสร้างสรรค์นะคะ จากการศึกษาพบว่าตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา อาจจะมีการศึกษามาประมาณ 20-30 ปี เป็นการเก็บสถิติโดยเฉพาะอย่างในสหราชอาณาจักรก็มีการศึกษาทั้งในสหราชอาณาจักรเอง แล้วก็ศึกษาจากประเทศต่างๆทั่วโลกด้วย ก็คือพบว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกค่ะ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก ทีนี้ก็ทำให้เกิดการว่าจ้างงาน แล้วก็ดูอุตสาหกรรมที่มีความกีดกันคนน้อยที่สุดคก็คือเติบโตเร็วเป็น 2-3 เท่าเทียบกับคนรุ่นอื่นๆ แล้วก็ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มผู้หญิงและกลุ่มผู้มีความเปราะบางสามารถเข้ามาทำงานได้ แล้วก็เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองและอัตลักษณ์ของพื้นที่ซึ่งจัดส่งต่อไปในอนาคต ที่ทำให้เกิดเป็นงานศิลปะหรือว่าความคิดสร้างสรรค์หรือประเพณีที่ต่อเนื่องต่อไป แล้วก็ยังมีผลในการดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่ทำให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมต่อไปด้วย

ในส่วนที่อยากจะเล่าต่อ ก็คงจะเป็นเรื่องของประสบการณ์ของสหราชอาณาจักร เมื่อกี้เราพูดถึงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กันเยอะ คืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทยก็จะมีการแบ่งกลุ่มที่ไม่เหมือนกับสหราชอาณาจักรซะทีเดียว คือใช้หลักการเดียวกัน แต่ว่าตัวอุตสาหกรรมที่อยู่ในนั้นจะเป็นอะไรก็ขึ้นอยู่กับว่าประเทศนั้นๆให้ความสำคัญกับอะไร แล้วก็มีกลุ่มงานสร้างสรรค์อะไรที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ หรือว่าต่อเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญในเชิงของวัฒนธรรมและสังคม

ทีนี้การใช้คำว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 1998 ก็คือประมาณ                20 กว่าปีที่แล้ว ซึ่งสมัยนั้นรัฐบาลอังกฤษเปลี่ยนชื่อกระทรวงจากกระทรวงวัฒนธรรม มรดกวัฒนธรรม เป็นกระทรวงที่เรียกว่า DCMS หรือว่าเป็นกระทรวงสื่อวัฒนธรรมและกีฬา 

นิยามแรกของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ก็คือบอกว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและความสามารถของบุคคล ซึ่งสร้างมูลค่าผ่านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอันนี้ก็เป็นการมองถึงคุณค่าที่เป็นคุณค่าทางเงินเป็นหลัก แล้วก็ทำยังไงจะสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา ก็ทำให้เกิดการสำรวจการจ้างงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นครั้งแรกว่า มีคนที่ทำงานด้านคิดสร้างสรรค์มากน้อยแค่ไหน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศเป็นอย่างไรและก็มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศยังไง ซึ่งการสำรวจอันนี้หรือว่าเรียกว่า Mapping ก็ทำให้รัฐบาลของสหราชอาณาจักรเกิดความเข้าใจมากขึ้นว่าจริงๆแล้วอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีผลอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ แล้วก็เป็นภาคส่วนที่เติบโตเร็วมากด้วย            เลยเกิดการสนับสนุนต่อเนื่องมา จนถึงประมาณปีช่วงปี 2500 ถึง 2009 มีการทำงานวิจัยเพิ่มเติมจากการสำรวจที่ผ่านมา เช่น พูดถึงเรื่องของผลกระทบของนวัตกรรมที่มีต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือว่าจะเอานวัตกรรมมาใช้อย่างไร แล้วก็ดูเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและเศรษฐกิจว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร แล้วก็อุตสาหกรรมสร้างสรรค์สามารถสร้างประโยชน์อะไรได้บ้างค่ะ

ต่อมาในปี 2012 เลยเกิดการก่อตั้งสภาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนระหว่างรัฐบาลแล้วก็คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งก็จะมีสมาชิก 40 คนจากทุกแขนงเลย แล้วก็จะมีคณะทำงานที่พูดถึงหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อย่างเช่นการเข้าถึงการเงิน การศึกษา และทักษะทรัพย์สินทางปัญญาลักษณะนี้

ทีนี้พอมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับธรรมชาติของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แล้วก็สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ในปี 2013 ก็เลยเกิดนิยามใหม่ของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขึ้นมาว่า เป็นภาคส่วนที่มีทักษะมีความเชี่ยวชาญในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดผลทางการค้า แต่ว่าอันนี้ก็ยังผูกโยงอยู่กับการสร้างรายได้ 

แล้วก็ในปี 2015 ในรัฐบาลสหรัฐสร้างสรรค์ก็เริ่มมีนโยบายในการลดภาษีสำหรับภาพยนตร์ สำหรับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก แล้วก็สำหรับการแสดงสดบางประเภท 

ต่อมาในปี 2016 มีการตั้งสหพันธ์เพื่อดำเนินการวิจัยและก็สนับสนุนในการออกนโยบาย

ปี 2017 รัฐบาลก็มียุทธศาสตร์เป็นยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรม แล้วก็กำหนดให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็น 1 ใน 10 ภาคส่วนที่รัฐบาลลงทุนเพื่อพัฒนา ซึ่งการลงทุนตรงนี้ก็มีมาตรการอย่างเช่น การสร้างความร่วมมือกับเอกชนและมหาวิทยาลัยเพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมที่เอามาใช้ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แล้วก็มีโครงการเพื่อการเติบโตทางธุรกิจและการเข้าถึงการเงินค่ะ

ทีนี้ปี 2018 ก็เป็นปีช่วงปีก่อนโควิด ก็มีการลงทุนจากรัฐบาลในมูลค่ามหาศาลมาก คิดเป็นเงินไทยก็คือ 6,500 ล้านบาท แล้วก็มีการลงทุนจากภาคอุตสาหกรรมเพิ่มเข้ามาอีก แล้วก็มีการสนับสนุน cluster ต่างๆในรูปแบบของการพัฒนา cluster อีก 2,400 ล้านบาท ซึ่งก็ทำให้เกิดการเติบโตของภาคส่วนนี้อย่างมาก

คราวนี้หลังจากที่มีโควิด 2019 พอปี 2020 รัฐบาลตั้งกองทุนฟื้นฟูทางวัฒนธรรมขึ้นมาก็คือประมาณ 70,000 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูภาคส่วนงานสร้างสรรค์ทั่วสหราชอาณาจักร ก็จะเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจาก            โควิดมากพอสมควร

ทีนี้ล่าสุดก็คือมีการกำหนดนโยบาย ซึ่งเรียกว่านโยบายวิสัยทัศน์ของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แล้วก็กำหนดให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็น 1 ใน 5 ภาคส่วนหลักที่รัฐบาลสหรัฐให้ความสำคัญแล้วก็จะลงทุน แล้วก็พัฒนาค่ะ ก็คือเป็น 1 ในๆ 5 เลย

ซึ่งเป้าหมายหลักของการพัฒนาในก็คือว่าตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2020 ก็จะมีการขยาย cluster สร้างสรรค์ทั่วประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในหลัก  2,100 พันล้านบาทซึ่งก็สูงมาก แล้วก็ส่วนของเป้าหมายที่ 2 ก็จะสร้างแรงงานที่มีทักษะสูง แล้วก็สามารถทำงานในอนาคตได้ ก็คือจะสร้างเพิ่มอีก 1 ล้านตำแหน่ง ส่วนที่ 3   ก็คือจะสร้างผลกระทบเชิงบวกจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่อบุคคลและชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอันนี้สำคัญมากเพราะว่าในประเทศไทยในบางประเทศอาจจะยังไม่ได้นึกถึงผลกระทบในเชิงสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เท่าไหร่ แต่ว่าทางประเทศอย่างสหราชอาณาจักรเองก็มีการคิดถึงตรงนี้ค่อนข้างมากแล้ว 

ทีนี้ตัวอย่างของการเติบโตเป็น cluster ค่ะ อย่างเช่นเรียกสั้นๆว่าอังกฤษ ก็จะเห็นว่ามีการเติบโตของ cluster ของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เยอะมาก เทียบระหว่างปี 2016 ซึ่งทางฝั่งซ้ายมี 47 cluster แล้วก็ทางฝั่งขวาที่มีถึง 709 cluster ทั่วประเทศเลยค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าจะสรุปในส่วนของประเด็นหลักสำหรับการพัฒนาและนโยบายด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตั้งแต่อดีตจนถึงเมื่อเร็วๆนี้เราจะบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือข้อมูล เพราะว่าถ้ามีข้อมูลที่ดีที่ถูกต้องก็จะช่วยช่วยในการออกนโยบายที่ทำเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพ แล้วก็สามารถระดมเงินทุนได้ อีกส่วนหนึ่งก็คือทักษะของบุคลากรของบุคคลที่อยู่ในภาคส่วนสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง แล้วก็การสร้างความร่วมมือในระดับต่างๆตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติ การเข้าถึงการเงิน แหล่งทุน แล้วก็ดูเน้นการเติบโตแบบ cluster รวมถึงความเกี่ยวข้องของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กับเศรษฐกิจและสังคม และประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา อันนี้จะเป็นการคุ้มครองความคิด อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิด เกี่ยวข้องกับไอเดียเป็นหลักค่ะ แล้วก็ส่วนสุดท้ายก็จะเป็นเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ แต่ว่าส่วนที่เพิ่มเข้ามาเมื่อเร็วๆนี้เองหลังจากที่เกิดทั้งโควิดทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็มี 3 หัวข้อที่เพิ่มเข้ามา ก็คือว่าต้องตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แล้วก็ทักษะที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการในอนาคต ซึ่งจริงๆมีงานวิจัยบอกว่า 80% เป็นงานที่ยังไม่มีในตอนนี้ จะเป็นงานที่เกิดใหม่เพื่อตอบสนองต่อธุรกิจด้านนี้ในอนาคตค่ะ

ทีนี้อยากจะเข้ามาสู่ในส่วนของลิเวอร์พูล ลิเวอร์พูลคนไทยรู้จักกันดีเลย อย่างแรกเลยคงสร้างในฐานะที่เป็นเมืองของทีมฟุตบอลลิเวอร์พูลแล้วก็อีกส่วนหนึ่งก็คือเป็นเมืองของ The Beatles ทีมลิเวอร์พูลก็เป็นเมืองสร้างสรรค์ทางดนตรีแห่งแรกของสหราชอาณาจักรค่ะ เขาก็เริ่มจากการได้เป็นเมืองดนตรีในปี 2015 

ทีนี้พอปี 2016 เขาก็ศึกษาเรื่องของผลทางเศรษฐกิจของ The beatle ว่า The Beatle มีผลต่อลิเวอร์พูลอย่างไร คือทำให้คนมาเที่ยวหรือมีความชื่นชอบในลิเวอร์พูลมากขนาดไหน แล้วก็ไม่ได้มีแค่นั้น แต่ว่าก็เอางานวิจัยและก็ผลการศึกษาอะไรทั้งหมดมารวมกันพัฒนาเป็นนโยบายที่จะพัฒนาดนตรีโดยเฉพาะของลิเวอร์พูล             ซึ่ง music strategy หรือยุทธศาสตร์ทางดนตรีก็พัฒนาขึ้นในช่วงของปี 2017-2018 แล้วก็มีการสร้างสำนักงานดนตรีของลิเวอร์พูลขึ้นมาในปี 2018 เช่นกัน จากนั้นก็ตั้งคณะกรรมการด้านดนตรีของเมืองลิเวอร์พูลในปี 2019 แล้วก็ถ้าใครติดตาม (24.33 นาทีฟังไม่ออกค่ะ) ซึ่งเป็นงานประกวดร้องเพลงของประเทศในกลุ่มยุโรป เมื่อปี 2023 ที่ผ่านมาลิเวอร์พูลทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพแทนยูเครน แล้วก็เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ลิเวอร์พูลอย่างมหาศาลเลย เพราะว่าก็เป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวคนที่สนใจในเรื่องของดนตรีและก็สร้างความเติบโตให้ทุกภาคส่วน 

ทีนี้ในส่วนการสร้างนโยบายของลิเวอร์พูล ตัวการสำคัญหน่วยงานสำคัญก็จะเป็นหน่วยงานท้องถิ่น อย่างเช่นที่เรียกว่าเป็นเป็น (25.10 นาที) เป็นสภาเมืองของลิเวอร์พูล แต่ว่าภายในนั้นเขาจะมีหน่วยงานที่แยกออกมาเรียกว่า culture Liverpool ก็คือเป็นเหมือนกับเป็นส่วนที่ดูแลด้านวัฒนธรรมโดยตรง ซึ่งตรงนี้เขาก็จะพัฒนาตัวนโยบายวัฒนธรรมของลิเวอร์พูลโดยเฉพาะ แล้วนโยบายก็จะพัฒนาไปแบบมองในระยะยาว 20 ปี 30 ปี ซึ่งล่าสุดก็มีการตั้งเป้าหมายไว้แล้วสำหรับลิเวอร์พูลในปี 2030 ซึ่งจะรวมถึงชีวิตของผู้คนที่อยู่ในลิเวอร์พูลทั้งหมด โดยมองว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรในเชิงวัฒนธรรมหรือว่าจะส่งเสริมอะไรในเชิงวัฒนธรรมไปจนถึงปี 2030 

ทีนี้ส่วนที่อยากจะพูดถึง ก็คือโดยทั่วไปถ้าเราพูดถึงว่าเราจะตั้งเราจะทำนโยบายในลักษณะไหน เบื้องต้นดูเรื่องของเศรษฐกิจ ดูเรื่องของความเป็นอยู่อะไรอย่างนี้ใช่ไหมคะ แต่ว่าลิเวอร์พูลเขาก็ยังพูดถึงเรื่องของความเสมอภาคอย่างเช่นบทบาทของคนในสังคมอะไรค่ะว่ามีความเสมอภาคกันไหม พูดถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะว่าลิเวอร์พูลเป็นเมืองที่มีความหลากหลายมาก มีกลุ่มชนต่างๆจากหลายๆ background มาอยู่ด้วยกัน อันนี้ก็จะพยายามส่งเสริมวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มให้ได้รับความเท่าเทียมกันด้วย เพราะฉะนั้นเทศกาลดนตรีที่ลิเวอร์พูลก็จะไม่ใช่เทศกาลที่ส่งเสริมแต่ดนตรีแบบที่เรารู้จักว่าดนตรีของอังกฤษ หรือหมายถึงว่าอย่างเช่นแบบเป็นเฉพาะของกลุ่มคนที่เป็นเชื้อสายอังกฤษแท้ๆ แต่ว่าก็จะมีทั้งกลุ่มคนเอเชียอย่างเช่นคนจีน คนอินเดีย หรือว่าในกลุ่มของทางแอฟริกาด้วยค่ะ นอกจากนี้ก็ยังพูดถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางวัฒนธรรมค่ะ อย่างเช่นเทศกาลต่างๆนี้ส่งผลอย่างไรต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เขาก็ตั้งเป้าหมายว่าเขาจะลดการปล่อยก๊าซให้สูงที่สุด แล้วก็อีกส่วนนึงจะดูในเรื่องของการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับสังคมลิเวอร์พูลเองในด้านวัฒนธรรม เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภัยต่างๆ เช่น ถ้าเกิดโควิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งจะทำยังไง กลุ่มของนักดนตรีจะสามารถอยู่รอดได้ไหม มีความสามารถเพียงพอที่จะอยู่ต่อได้ไหม 

ทีนี้มีส่วนของวิสัยทัศน์ในด้านดนตรีที่ยาวไปถึงปี 2030 เหมือนกัน ซึ่งก็จะเป็นการสนับสนุนคนที่มีพรสวรรค์แต่ว่าขาดโอกาส ทีนี้ตัวโครงการเขาเรียกง่ายๆว่าเป็นการ remix เมืองดนตรีค่ะ ก็จะให้ดนตรีเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้เป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างงานที่มีรายได้สูง ก็คือจะไปยึดเป็นอุตสาหกรรมหลักเลย แล้วก็มีการฟื้นฟูการท่องเที่ยวทางดนตรี รวมถึงเป็นแนวหน้าสำหรับการสร้างความเปลี่ยนแปลงสำหรับสิ่งแวดล้อมด้วย 

กิจกรรมหลักๆมี 4 อย่าง อย่างแรกคือจะสร้างเรียกสิ่งที่เรียกว่า music future lab ก็เพื่อเป็น lab ให้นักดนตรี แล้วก็ธุรกิจทางดนตรีทำงานด้วยกันเพื่อพัฒนาการรับชมและรับฟังดนตรีในอนาคตโดยใช้เทคโนโลยี AR VR  แล้วก็เทคโนโลยีดิจิทัลด้วย ส่วนที่ 2 การพัฒนาการ cluster ทางดนตรีที่ภาคเอกชนและคณะวิชาการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างและฝึกฝนนักดนตรีรุ่นใหม่ทำงานวิจัยและพัฒนาในด้านดนตรีเป็นหลักกิจกรรมที่ 3 เรียกว่า Immersive Liverpool ซึ่งจะมีการสร้างสถานที่แห่งใหม่เลย เพื่อให้ประสบการณ์แบบ immersive แบบรอบด้านในการรับชมรับฟังดนตรี ซึ่งตรงนี้ก็จะมีการสร้างขึ้นมาใหม่เป็นสถานที่ 

แล้วก็ส่วนสุดท้ายก็จะเป็นการสร้างพื้นที่สำหรับซ้อมแล้วก็สำหรับการอัดเสียง ก็จะเป็นสตูดิโอชั้นนำของประเทศเลยเป็นที่ดีที่สุดนอกจากกรุงลอนดอน ก็เรียกกันเล่นๆว่าจะเป็น Abby Road studio ซึ่งเหมือนกับที่ (29.52 นาที) ที่ดังที่สุดของลอนดอน แล้วก็จะมีอยู่ที่ลิเวอร์พูล ก็จะให้บริการสำหรับนักดนตรีและก็เยาวชนทั้งหมดในส่วนของภูมิภาคนี้ด้วย

ขอบคุณมากค่ะ ข้อมูลที่อาจารย์พูดมาสำคัญและน่าสนใจมาก ประเด็นที่น่าสนใจคืออาจารย์พูดถึงว่าใช้ดนตรีในการขับเคลื่อน แล้วมันนำไปสู่เรื่องของการสร้างให้เกิดการขับเคลื่อนในเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและก็ผู้คน แล้วก็ผู้คนความน่าสนใจอาจารย์พูดถึงการนับรวมผู้คนทุกคนเป็น inclusive city มากๆ ถ้าเราสร้างให้เมืองศรีสะเกษมีระบบนิเวศน์ทีีเอื้อและใช้ดนตรีในการขับเคลื่อน ตรงนี้คือสิ่งที่น่าสนใจ และคิดว่ามีความเป็นไปได้เพราะอะไร เพราะว่าหัวใจที่อาจารย์พูดถึงเมื่อตะกี้คือเรื่องของนโยบาย อาจารย์บอกว่าสิ่งที่จะทำได้ต้องมีในเรื่องของนโยบายเป็นหัวใจสำคัญ เรื่องของการ grant ทุนต่างๆ แล้วก็วันนี้เรามีหลากหลายภาคส่วนที่มานั่งร่วมกัน แล้วก็ล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งทั้งในเชิงนโยบาย ทั้งในเชิงเรื่องของแหล่งทุน 

ถ้าเราลองมองอยากจะสร้างให้เมืองศรีสะเกษเป็นเมืองสร้างดนตรีสร้างสรรค์และเราใช้เครื่องมือในการมอง จะมีฉากทัศน์ด้วยกัน 3 ฉากทัศน์ให้ทุกท่านได้พิจารณาเลือก 1 ฉากทัศน์

ถ้าสมมุติว่าศรีสะเกษจะไปสู่กลไกการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี ปิ๊งแว๊บตอนนี้ของพวกเราเราคิดว่าจะเป็นแบบไหนคะ มันจะทำแบบไหนได้ก่อน เราจะใช้อนาคตกลไกเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีศรีสะเกษของเราจะไปแบบไหนดี 100 เมตรพอไหม หรือจะต้องวิ่งผลัด หรือว่าจะต้องวิ่งมาราธอนกัน อยากจะรับฟังแล้วเดี๋ยวเราจะให้แต่ละท่านได้แชร์แลกเปลี่ยนกัน หลังจากที่ฟังในมุมมองของเรื่องของ 3 ฉากทัศน์ไปแล้ว        ท่านวงในของเรามองว่าโอกาส ข้อท้าทายแล้วก็ใครต้องทำอะไรกันบ้างคะ 

สิ่งหนึ่งที่ผมได้ยินเมื่อกี้ชอบคำนึงคือระบบนิเวศทางดนตรีให้ได้ มันหมายถึงทำยังไง จะเกิดเครือข่ายจะเกิดการรับรู้ จะเกิดการเสพงานสุนทรียะทางดนตรีได้หลากหลาย ถ้าให้ผมเลือกตอนนี้ผมเลือกวิ่งมาราธอน           ผมมององคาพยพของสังคม ผมมองภาพรวมถ้าจะยั่งยืนได้ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน อย่างเช่นในส่วนของมหาวิทยาลัยเราก็จะมีส่วนหนึ่งที่ท่านอธิการท่านมอบนโยบายคือเรื่องการสืบค้นข้อมูลทางวัฒนธรรมดนตรี ซึ่งมันจะส่งผลต่อคำว่าเมืองดนตรีที่ยั่งยืนในเรื่องของคำว่ารากทางวัฒนธรรม ศรีสะเกษมีจุดเด่นในเรื่องของสังคมเพลงอินดี้ อันนี้ต้องยอมรับ แต่ไม่ว่ายังไงผมก็ยังมองเห็นว่าจะยั่งยืนได้รากต้องเข้มแข็ง หลายๆที่เขาใช้คำว่านครหลวงทางหมอลำ, นครหลวงทาง (33.18 นาทีฟังไม่ชัดเจนค่ะ) แต่ผมใช้คำว่าศรีสะเกษนครหลวงทางดนตรี 4 ชาติพันธุ์ได้เลย จากข้อมูลที่ผมเก็บแล้วก็สัมผัสมา ผมมองว่าศรีสะเกษเข้มแข็งเรื่องนี้มาก แต่เรายังต้องได้ลงรวบรวมองค์ความรู้ ฐานความรู้มันจะส่งผลในเรื่องของการนำมาสร้างสรรค์ในมิติทางดนตรีเชิญ creative ได้ เมื่อกี้เราได้ยินเสียงดนตรี symphony orchestra หลายๆคนเมื่อกี้เสนอ wording สำคัญๆใช่ไหมครับ ผมมองว่าเสียงคือจิตวิญญาณของกลุ่มชน เหมือนท่านคงไม่เคยสัมผัสรสอาหารบางครั้งแล้วนึกถึงฝีมือแม่ใช่ไหมครับ symphony เหมือนกันครับ เสียงนี้นึกถึงศรีสะเกษ เราสามารถที่จะเอาข้อมูลเหล่านี้มาสร้างสรรค์เชิงเศรษฐกิจได้เยอะแยะมากมาย เรื่องการท่องเที่ยว คนต้องอยากมาฟังดนตรี แม้กระทั่งการที่จะนำดนตรีศรีสะเกษมาสร้างสรรค์ในบทละครแสงสีเสียงที่ผมทำในงานเทศกาล ผมก็พยายามเอาจิตวิญญาณตรงนี้เข้ามา นั่นคือดนตรีในมิติของผมมันเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ รากเหง้า และศรีสะเกษมีวัฒนธรรมดนตรีที่ไม่ใช่แค่ความสุขทางอารมณ์ แต่มันคือชีวิต ดนตรีหลายชนิดของศรีสะเกษรักษาคนป่วย ดนตรีหลายๆชนิดทำให้คนในสังคมตุ้มโฮมกันเป็นเผ่าเป็นพันธ์ได้เพราะว่าดนตรี ผมมองว่าถ้าเราเอาคำว่า creative ทางดนตรีมา แล้วก็มาจับกับเรื่องของวัฒนธรรมดนตรี แล้วก็สร้างสรรค์ พัฒนาและก็สร้างนิเวศทางดนตรี เมื่อกี้ผมนั่งฟังราชภัฏศรีสะเกษ ตรงๆที่ผมอยู่มันเป็นพื้นที่ว่างเราก็ใช้เป็นห้องซ้อมห้องอะไร มันเป็นความหลากหลายที่เด็กๆทุกสาขา ซึ่งอยากจะเปิดให้ทุกๆที่เข้าไปใช้ตรงนี้ ถ้าพัฒนาได้อันนี้ผมมอง แล้วก็อีกอันคือผมมองความเข้มแข็งของคำว่ายั่งยืน ผมคิดว่าเราเราจะใช้ประโยชน์จากคำว่าเมืองดนตรีได้มันต้องไปด้วยกันทั้งองคาพยพ ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา             ภาควิชาการ ภาคศิลปิน ภาคอะไรต่างๆ แล้วก็ต้องมีการขุดรากให้ลึกซึ้ง ผมว่าตรงนี้มันมันสำคัญ เพราะว่าหลายๆเมืองทางดนตรีผมว่าเขาจะมีจุดเด่นของเขา ซึ่งเราก็ต้องหาจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็น            ศรีสะเกษเพื่อที่จะพูดได้อย่างภาคภูมิว่าอัตลักษณ์ของคุณที่พูดมามันคืออะไร กลิ่นอายความเป็นดนตรีของคุณมันคืออะไร แล้วมันสร้างอะไรที่มันตอบโจทย์คำว่าศรีสะเกษบ้าง ผมมองว่าถ้าในอนาคตเราสามารถพัฒนาตรงนี้ได้ ซึ่งตอนนี้มันอาจจะใช้เวลาที่ว่าใช่ไหมครับ แต่เวลาที่ว่ามันคือความยั่งยืน มันคือมิติของคน ไม่ใช่แค่ศรีสะเกษจะมาเสพสุนทรียะทางดนตรีของเรา มันต้องเป็นการให้คนอื่นได้เข้ามาร่วมทั้งภาคบัญชาการ ภาคธุรกิจ ภาคหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆเข้ามารับรู้รับทราบ แล้วก็ผลักดันไปช่วยกัน แล้วมันจะทำให้สังคมศรีสะเกษสังคมเมืองดนตรีมันสมเกียรติสมความภาคภูมิ หมายความว่าเมืองดนตรีศรีสะเกษจริงๆ อันนี้มันก็จะทำให้ศิลปินสร้างสรรค์เขาก็มีพลัง แล้วก็ผมว่าวันหนึ่งคำว่าดนตรีหรือเมืองดนตรีศรีสะเกษของพวกเราจะเป็นการสร้างความภาคภูมิร่วมกัน ผมถึงเลือกวิ่งมาราธอน ผมว่าสุดยอดแล้วครับ

ดนตรีก็คือความสุข ดนตรีสร้างความสุข แล้วก็สิ่งที่ตามมาก็คือสร้างรายได้ สร้างความสุขสร้างรายได้ ผมก็ไม่คิดว่าแคนอันนึงจะทำให้คนมีรายได้วันนึงหลายพัน แล้วก็ขลุ่ยอันนึงทำให้คนมีรายได้ สร้างรายได้ให้กับตนเองวันละเป็นหมื่น ไวโอลินอันเดียวก็ทำให้คนมีรายได้ วันหนึ่งหลักพันหลักหมื่น อิเล็กโทนอันเดียวสร้างรายได้ สร้างความสุข ที่ผมพูดมาสร้างทั้งรายได้สร้างทั้งความสุขให้กับคนได้ แต่การที่เราจะทำให้มันเกิดขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นเล่นคนเดียวหรือเล่นหลายคน สิ่งที่สำคัญมันก็ต้องอยู่ที่ความสามัคคี การมีส่วนร่วม ซึ่งสิ่งนี้ผมว่าการมีส่วนร่วมของศรีสะเกษเป็นจุดแข็ง ซึ่งการทำอะไรของศรีสะเกษไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ เราจะมีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมหมด ของเรามีทัังคนยุคใหม่ยุคเก่าซึ่งผสมผสานมาเป็นยุคเดียวได้ ผสมผสานมารวมกันได้ ส่วนราชการ สถานศึกษา ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่นอย่างนี้ เราพูดไปในทางเดียวกันหมด ซึ่งนับว่าเป็นจุดแข็งของชาวศรีสะเกษ ซึ่งผมก็คิดว่าดนตรีนั้นเราจัดกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ เราก็จะมีดนตรีตลอด ทุกกิจกรรมที่เราจัด แม้กระทั่งการประกวดดนตรีทั้งเทศบาลก็ได้ให้ความสำคัญก็มีการจัดประกวดดนตรี ไม่ว่าจะมีอะไรก็แล้วแต่ เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้เยาวชนของเราได้มีเวทีที่แสดงออก ในส่วนนี้ผมก็มั่นใจครับว่าดนตรีเป็นตัวที่ตอบโจทย์ที่สุด คนศรีสะเกษอย่างอาจารย์เสถียร อาจารย์กุ๋ยอีเกิ้งนี่ก็น่าจะอยู่แถวๆนี้ ซึ่งท่านก็อาจจะมาแอบฟังเราอยู่ก็ได้ ซึ่งวันนี้ผมก็อยากจะให้ความมั่นใจครับว่าการจัดทำให้ดนตรีนั้นเป็นของชาวศรีสะเกษอย่างแท้จริงนั้น สิ่งที่สำคัญเราต้องสามัคคี เราต้องกอดคอกันไปด้วยกัน แล้วก็เพื่อที่จะนำดนตรีจากศรีสะเกษไปสู่สากลให้ได้ในอนาคตครับ 

สำหรับผมคิดว่าเมื่อวิ่งแล้วมันนกหวีดมันดังแล้วมันต้องเอาทุกกระบวนท่า บางจังหวะที่มันต้องเร่งมันก็ต้องเร่ง บางจังหวะที่หลายหน่วยมีหน่วยนี้ อีกหน่วยก็ต้องมารับไม้ต่อ แล้วที่สำคัญก็คือปลายทางพวกเราก็ต้องวิ่งมาราธอนไปด้วยกัน เพราะในระยะยาวแล้ว เป้าหมายปลายทางที่ใหญ่ที่สุดของเราก็คือการสร้างเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ แล้วก็เป็นเมืองที่สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กับทุกคน จุดสำคัญอยู่อีก 1 จุดก็คือว่าตอนที่เราวิ่งไปด้วยกันแล้ว ต้องจัดระเบียบดีๆ ไม่งั้นเกี่ยวขาก็ล้มระเนระนาดไปหมด แถวที่ 1 นักวิ่งแถวแรกเราต้องเสริมกำลังเขา จะเป็นเมืองดนตรีนักดนตรีนี่แหละครับ หรือกลุ่มคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมดนตรี ภาคเช้าเรามีกิจกรรมเรื่องของการฝึกอบรมในเรื่องของจะทำดนตรีให้ดังยังไง ใช้แพลตฟอร์มต Tiktok อย่างไร                   มีวิทยากรมาจากแกรมมี่ มาจากมืออาชีพหลายๆคน พวกนี้ก็จะมีป๊าเต๊ะก็ทำงานก็จะเป็นส่วนที่เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มนี้ก่อน ถือเป็นนักวิ่งแถวหน้าของเรา พวกนี้ห้ามเจ็บห้ามตายเอาเป็นแถวหน้าของเมือง แล้วก็จะต้องเอาอุตสาหกรรมดนตรีหรือเอาสติปัญญาเอาความคิดสร้างสรรค์ออกนำเป็นหัวหอกในการจะเป็นเมืองดนตรี แผงที่ 2 ก็ต้องเป็นผู้สนับสนุนทั้งหลายที่อยู่ในเมือง วันนี้ผมกล้าพูดได้เลยว่าหลายๆเมืองสู้ที่นี่ไม่ได้ในการที่มีแผงหลังที่เป็นแถว 2 ที่ดันหลังนักดนตรีอย่างเข้มแข็งทั้งท่านนายกเทศมนตรี               ทางหอการค้า ทั้งประธานหอค่อนข้างเข้มแข็งมาก ทั้งภาคการศึกษาทุกระดับ ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัย ผมเห็นความเข้มแข็งของที่นี่ ท่านผู้ว่าท่านผู้บริหารเมืองกลุ่มนี้ก็ต้องช่วยกันเมื่อกี้ทาง British council บอกว่าสิ่งสำคัญก็คือการจะวางนโยบายอย่างไร วางกลไกอย่างไร ทำให้เมืองเอื้อให้เกิดอุตสาหกรรม เอื้อให้เกิดธุรกิจสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น วันข้างหน้าเราอาจจะต้องมาพูดถึงเรื่องของการจะมีกองทุนดูแลเมือง การที่จะมีเพลงหรือทรัพย์สินทางปัญญาอะไรที่จะเอาไปหาเงินมาหล่อเลี้ยงในภาพเมืองได้บ้าง หรือแม้แต่จะมีกลไกอะไรที่จะเอื้อให้เกิดธุรกิจเหล่านี้ ใครอยากลงทุนในเรื่องดนตรีหรือธุรกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เหล่านี้ไปเกิดที่อื่นยาก ลองมาเปิดที่นี่เปิดอสังหาง่าย สรรพากรอาจจะลดภาษีให้มากกว่าที่อื่น เป็นต้น อันนี้ก็เป็นหน้าที่ของผู้บริหารเมืองที่เป็นแผงที่ 2 ต้องช่วยกัน และสุดท้ายแผงที่ 3 ก็เป็นหน่วยงานประเภทพวกผมนี่แหละ ของผมสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำนักนายกรัฐมนตรี บ้านช่องไม่ได้อยู่ที่นี่ แต่มีหน้าที่ประสานส่งเสริมสนับสนุน สิ่งไหนที่ท่านขาด สิ่งไหนที่ท่านยังต้องการเพิ่ม สิ่งไหนที่เมืองยังคิดว่าหันซ้ายหันขวาไม่เจอใครก็ต้องไปเรียกพวกแถว 3 พวกนี้มา วันนี้เราก็เห็นทิศทางที่ดีไม่ได้มีแต่ CRA ข้างๆมี ททท.ด้วยปีนี้ เราอยากเห็นแผงที่ 3 มากขึ้นอีกมากขึ้นอีกในปีต่อๆไป มันยังมีองค์การมหาชนอีกมากมาย TCEP วันนี้ก็มาช่วยเราเรื่องของการประชุมวิชาการวงโยธวาทิตนานาชาติด้วย ททท. ก็มาร่วม 1 กิจกรรม แล้วก็ที่สำคัญก็คือว่าทั้ง 3 แผนต้องวิ่งไปพร้อมกัน แล้วก็มาราธอนถึงเส้นชัยไปพร้อมกันครับ 

 เมื่อกี้เราเลือกโหวตไปแล้ว คราวนี้อยากจะชวนมองว่าหลังจากฟังข้อมูลแล้ว มีใครจะเปลี่ยนใจหรือเปล่า หรือยังคงยืนยันอันเดิม หรืออาจจะบอกว่าคิดอันนี้ไว้ สมมุติคิดฟฉากทัศน์แรกไว้ คิดวิ่ง 100 เมตรไว้แล้วอยากจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นหลังจากที่ฟังข้อมูลแล้วหรือไม่ หรือว่ายืนยันว่าฉันเลือกฉากทัศน์นี้ แล้วฉันก็ยังคงที่จะเป็นฉากทัศน์นี้อยู่ 

เดี๋ยวจะขออนุญาตเปิดโอกาสให้วงนอกได้เลือกทบทวนอีกครั้ง เป็นการโหวตรอบที่ 2 คุยกันต่อไปสำหรับทุกท่านก็คือท่านเลือกอะไรกัน และท่านมีความคิดเห็นอย่างไร มีอะไรที่คิดว่าเป็นมุมมองที่อยากจะเสนอ

ตอนแรกดิฉันก็ 100 เม็ดเพราะว่าคิดว่ามาทางนี้มันก็ต้องยิ่งร้อยเม็ดก่อน แต่พอฟังเข้าไปแล้วตอนนี้ขอเปลี่ยนเป็นตามท่านนายกเทศมนตรีค่ะ เพราะว่าปกติเวลาจะทำงานอะไรก็ตาม ถ้าท่านตั้งนโยบายไว้ ถึงแม้พวกเอกชนเสนอ ถ้าท่านตั้งไว้ให้ถ้าผู้ใหญ่ทำตามนโยบายให้ เราจะมีทางไปโดยเฉพาะฟังแล้วเรื่องถูกใจมาก บอกว่าวิ่งมันต้องมีคนช่วยกัน ผลัดกันวิ่ง เพราะว่าอย่างเช่นอาจารย์เชิดพูดถึงมาราธอนอันนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าถ้าศรีสะเกษจะมามาราธอนไม่ได้ค่ะ มันจะทิ้งไปห่างไป เราต้องวิ่ง 100 เมตรให้มันถึงเลย 

เดิมทีผมเลือกมาราธอน สุดท้ายผมก็ยังเลือกมาราธอนอยู่ในฐานะที่เราทำงานมา 3 ปี จริงๆเริ่มต้นคือจริงๆถ้ามันวิ่ง 100 เมตร มันถึงก็ถึงเลย ไม่ถึงก็คือไม่ถึงเลย มันไม่ทรมานนาน แต่มาราธอนมันทรมานหน่อย แต่ถ้ามันถึงมันภูมิใจ ผมยกตัวอย่างให้ฟังว่าจากที่เราเริ่มทำงาน ปีแรกๆเราก็คิดว่าเรารีบ แต่เรารู้สึกว่างานใหญ่ขนาดนี้มันต้องใช้สรรพกำลังเยอะ มันรีบมากไม่ได้ มันต้องสร้างเครือข่ายเพิ่มเรื่อยๆ ปีแรกเราทำงานมีแค่เทศบาลกับ CEA 3 หน่วยงานมาช่วย CEA เป็นหน่วยงบประมาณหลัก เทศบาลเพิ่งรู้จักกัน เพิ่งคบกันยังไม่ได้ตั้งเงิน แต่พอปีแรกทำออกมาสำเร็จ เทศบาลตั้งงบประมาณให้ เทศบาลเริ่มเห็นว่าสิ่งที่กลุ่มนักสร้างสรรค์ทำ กลุ่มที่เอกชนต้องการส่งเสริมเพื่อที่จะสร้างทิศทางใหม่ของเมือง เทศบาลเห็นด้วย แต่พอมาปีที่ 3 มันพิเศษกว่าทุกปี เรามีโค้ชมาช่วยเพิ่ม เรามี ททท. เรามี TCEP ผมรู้สึกว่ามันอบอุ่น มันเหมือนเราเป็นนักวิ่ง แต่เรามีโค้ชมาอยู่ล้อมเราเต็มไปหมดแล้วก็มาช่วยเรา ถ้าวิ่งแบบนี้วิ่งนานแค่ไหนก็ไม่เหนื่อย แล้วผมรู้สึกว่างานนี้ถ้าเราอยากทำให้มันสำเร็จมันจำเป็นต้องใช้เวลา เพราะการที่เราจะสร้างเมืองเมืองหนึ่งมันรีบไม่ได้ มันจำเป็นต้องให้ทุกคนเขาเห็นร่วมไปกับเรา ให้ทุกคนเขารู้สึกว่าเมืองๆนี้มันมีอนาคตเหมือนที่เราเห็น และเราต้องช่วยๆกันสร้าง ในขณะที่คือผมคิดว่าสิ่งที่เราทำ ผมคุยกับท่านนายกในวันที่เราจะทำงานๆนี้ สิ่งหนึ่งที่เราเห็นตรงกันคือเราสร้างเมืองนี้เพื่อนักวิ่งรุ่นต่อไป วันนึงท่านนายกก็ต้องแก่ผมก็ต้องแก่ แต่ถามว่าทำอย่างไรเมืองๆนี้นักวิ่งรุ่นต่อๆไปเขาจะไปต่อได้ด้วยตัวเขาเอง เพราะฉะนั้นวันนี้เราต้องวิ่งให้เขาดู สร้างวิธีการวิ่งที่แข็งแรงเพื่อที่ว่าต่อไปเราจะส่งต่อวิธีให้เขาไปต่อ แล้วเมืองๆนี้มันจะไปได้อย่างยั่งยืน  

ผมเลือกเหมือนเดิมครับ ผมเลือกมาราธอนไว้ เพราะว่ามาราธอนมันเป็นที่สุด มันเป็นกีฬาชนิดแรกที่โอลิมปิกเกิดขึ้น มันเป็นความยั่งยืนที่เป็นประวัติศาสตร์ยาวนาน ผมขออนุญาตเสริมที่ท่านนายกพูดถึงแคน 1 อัน สร้างรายได้ให้คนได้เป็นร้อยเป็นพัน แต่ศรีสะเกษมีรากเหง้าที่ดีงาม แล้วแคนตัวนี้อาจจะเป็นแคนที่ดีที่สุดในโลก ทำให้มีมูลค่าของดนตรีในศรีสะเกษเป็นล้านเป็นแสนเป็นหมื่นอะไรมากมายกว่าแค่ไม่กี่พัน ตรงนี้คือสิ่งที่ผมสนับสนุน แล้วก็ที่ทุกคนพูดถึงเมื่อเปรียบเทียบเข้าสู่การกีฬา มีเรื่องนึงก็คือถ้าเรามีรากเหง้าเดิมที่ยั่งยืนที่มั่นคง เราไม่ต้องใช้วิธีการผิดๆเช่น ไปโดฟยาเพื่อให้วิ่งเก่งขึ้น เรามีของดีอยู่ในตัวเรามีความมั่นคง เรามีความแข็งแรงในตัวเรา รากเหง้าที่ดีงาม เราจะเดินต่อไปช่วยกันทำงาน แล้วก็สร้างความสำเร็จของกิจกรรมที่เรากำลังทำกันอยู่ครับ 

สิ่งที่ผมเลือกก็เหมือนกับท่านประธานหอการค้าตรงกัน เพราะว่าขณะนี้ศรีสะเกษของเราทำอะไรมาเยอะมากแล้ว คิดว่าหลายๆอย่างประสบผลสำเร็จ แต่ให้เกิดความยั่งยืนมันก็คงจะต้องให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการที่จะต้องช่วยกัน ผมขอมองในเรื่องของอดีตปัจจุบันและอนาคต ขณะนี้เราอยู่ปัจจุบัน ในอดีตของเราผมว่าความสำเร็จที่ศรีสะเกษมีมากมายไม่ว่าดนตรีไม่ว่ากีฬา นั่นก็คือส่วนหนึ่งที่เราประสบความสำเร็จ มองว่า 1 รากเหง้าของเรามันดีแล้วในเรื่องของประเพณีวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ วิถีชีวิตและต้นทุนทางสังคมเรามีมากแล้ว มาในส่วนที่ 2 ในการขับเคลื่อนโดยใช้ดนตรี ผมมอง 1. แรงบันดาลใจให้กับลูกหลานชุมชนที่จะต่อยอดจากรุ่นต่อรุ่น 2.ความภาคภูมิใจในชาวศรีสะเกษ  3.ความยั่งยืน สิ่งต่างๆเหล่านี้มันจะก่อให้เกิดความดีงามทางวัฒนธรรมทางศรีสะเกษของเรา อันนี้ในส่วนที่ 2ในองค์ประกอบที่ 3 น่าจะเป็นในเรื่องของอนาคตเราจะไปอย่างไร ลำพังจังหวัดเรา หรือผู้คนในศรีสะเกษคงไม่เพียงพอ แต่ว่าถ้ามีในส่วนของหน่วยงานอื่น อาจจะเป็นทางรัฐบาล อาจจะเป็นทางเลือกของภาคีต่างๆที่จะมามีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อที่จะสืบสาน ต่อยอดในส่วนของดนตรีเพื่อที่จะขับเคลื่อนในสิ่งเหล่านี้ 

ทุกท่านครับผมมามองอีกจุดหนึ่งที่สำคัญ ศรีสะเกษทำไมเราจัดถึงมาราธอน ด้วยต้นทุนทางสังคมเรามีเยอะ ผมมองว่าส่วนที่ 1 ก็คือหน่วยงานราชการ เช่น ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้นำของพวกเราพร้อมอยู่แล้ว แล้วก็ต้นทุนเรามีมากอยู่แล้ว ส่วนที่ 2 ผมได้ไปมองในเรื่องของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะทางสถานศึกษาเรามีโรงเรียน มีมหาวิทยาลัย มีส่วนราชการที่เกี่ยวกับการศึกษามาก ที่จะต้องขับเคลื่อนไปสู่ลูกหลานจากรุ่นต่อรุ่นที่ผมได้บอกไป และในส่วนที่ 3 คือในเรื่องของชาวศรีสะเกษ ซึ่งชาวศรีสะเกษเรามีสิ่งดีงามมากมายใน 4 เผ่าของเราหลายๆอย่าง ถ้าหากเรามองในเรื่องขององคาพยพ ขณะนี้ผมว่าเราน่าจะมายืนอยู่ในจุดของมาราธอนเพื่อที่จะให้เกิดความยั่งยืนครับ 

สวัสดีค่ะ นางสาวพิรัญญา บุญมาก จากสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ แล้วก็ตอนนี้เป็นสภานักเรียนโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยค่ะ หนูก็เป็นอีกคนนึงที่เลือกในฉากทัศน์แรกก็คือวิ่ง 100 เมตรค่ะ เพราะว่าหนูเป็นอีกหนึ่งคนที่เหมือนเป็น New generation of music cluster ค่ะ เราคือคนรุ่นใหม่ที่สนใจทางด้านดนตรี ซึ่งอย่างที่ได้ฟังวิทยากรพูดไปว่า เมืองของเราเรามี creative Industry เยอะมาก หรือพูดง่ายๆก็คือเป็นวงการบันเทิง แล้วก็อุตสาหกรรมดนตรีเท่าที่เรารู้จักกัน ซึ่งหนูคิดว่าเด็กรุ่นใหม่อย่างเราเอง และทุกคนเด็กรุ่นใหม่ส่วนมากเรามีความสนใจทางด้านดนตรีอยู่แล้ว แล้วก็มีความคิดสร้างสรรค์ มีตัวตนของตัวเองที่พร้อมที่จะถ่ายทอดทั้งในรูปแบบของศิลปินหรือว่างานอดิเรก เหลือแค่ทางที่เราอยากให้มีหน่วยงานภาครัฐหรือว่าภาคส่วนต่างๆเข้ามาสนับสนุนทางด้านตรงนี้ด้วย เพราะว่าหนูคิดว่า Creative Industry หรือว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มันมี central ของมันก็คือ central of creative Industry หนูคิดว่ามันอยู่ที่กรุงเทพฯค่ะหรือว่าเท่าที่ทุกคนรู้ว่ามันคือเมืองหลวง หนูคิดว่าค่ายอุตสาหกรรมเพลงต่างๆมันอยู่ที่นั่นเยอะมาก ซึ่งเด็กหรือว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจทางด้านดนตรี มันไม่ได้มีกระจุกอยู่แค่ตรงนั้นค่ะ มันมีหลาย cluster เลยในประเทศเรา ซึ่งหนูคิดว่าถ้าสมมุติว่าหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือว่าภาคส่วนต่างๆของจังหวัดๆนั้นเห็นความสำคัญ แล้วก็ทางด้านนี้ของเด็กๆเหมือนโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยเราก็มีวงดนตรีที่ไปแข่งทั้งระดับจังหวัด ระดับภาค แล้วก็ระดับประเทศ ซึ่งหนูคิดว่าถ้าเขาให้ความสนใจกับตรงนี้ ยังไงก็พัฒนาไปได้แน่นอนค่ะ เหมือนเท่าที่เราทำอยู่ตอนนี้ก็คือการมีพื้นที่เสวนานะคะ อย่างนี้มันก็คือสิ่งที่ทำให้เห็นแล้วว่า ตอนนี้เรากำลังอยากที่จะพัฒนามันอยู่ ซึ่งในอนาคตอาจจะไม่ใช่แค่วิ่งในลู่ 100 เมตรค่ะ แต่มันอาจจะเป็นมากกว่านั้น อาจจะเป็น 1,000 เมตรหรือมากกว่านั้นเท่าที่เราจะมีคนมา support ค่ะ 

54.10 นาที

ในส่วนตัวผมเลือกรูปแบบที่ 3 เป็นแบบมาราธอน เพราะว่าผมมองว่าทุกภาคส่วนเป็นองคาพยพเดียวกันที่จะต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน แต่ในใจลึกๆเองก็อยากจะแยกใน cluster ที่ 1  1, 2 ด้วยจะต้องมีหน่วยงานที่ขับเคลื่อนก่อน วิ่ง 100 เมตรอย่างเช่นเทศบาลหอการค้า วิ่ง 100 เมตรได้เลย  อย่างวันนี้ท่านถือว่าท่านวิ่ง 100 เมตรแล้วนะครับ ส่วนพวกผมก็มาเป็น backup ในการที่จะสนับสนุนขับเคลื่อนต่อไป ผมมองลักษณะแบบนี้ อย่างที่ผมบอกว่าความสำคัญของดนตรีก็คือรากเหง้าของวัฒนธรรม ศรีสะเกษเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมที่เข้มแข็งอยู่แล้ว เราพร้อมที่จะขับเคลื่อนได้เต็มที่ ในมุมของสถานศึกษาของผมเป็นวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ผมมีความพร้อมในเรื่องของเครื่องมือและทักษะนะครับ ผมมองว่าเรื่องนี้ขับเคลื่อนได้ 3 มิติในมุมของสถานศึกษา มิติแรกก็คือเรื่องของการสร้างเครื่องดนตรี ผลิตเครื่องดนตรี เรามีนักเรียน เรามีทักษะ เรามีเครื่องจักร เราสามารถจะผลิตขลุ่ยได้ ผลิตพินได้ แต่เราขาดเรื่องของ know how เรื่องของความรู้เกี่ยวกับการผลิตเหล่านั้น เราก็จะต้องมีปราชญ์ มีผู้ที่มีความรู้เข้ามาสอนช่วยเราแต่เราผลิตได้ อันนี้คือมิติที่ 1 ของการสร้าง มิติที่ 2 ก็คือเรื่องของการสอน เราสามารถเปิดหลักสูตรระยะสั้นให้กับผู้ที่มีความสนใจ หรือนักเรียน หรือชาวบ้านที่มีความสนใจด้านดนตรีแล้วก็เปิดสอน แล้วมิติที่ 3 คือเรื่องของการตั้งวงดนตรี สร้างวงเหมือนกับโรงเรียนหลายๆโรงเรียนที่มีวงดนตรีอยู่ หลังจากนั้นเราก็เปิดเวที เปิดโอกาสให้กับวงต่างๆได้ใช้ในเทศกาลในกิจกรรมต่างๆของจังหวัดเรา ผมว่า 3 มิตินี้จะสามารถขับเคลื่อนได้ในมุมของสถานศึกษาครับ 

ผมบันดี แซ่จึง เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ มุมมองมันแตกต่างกันหลายๆท่านที่เรียกว่าวิ่งมาราธอน ผมเป็นนักวิ่งอยู่แล้ว เรียนว่าก่อนที่เราจะไปวิ่งมาราธอนได้ มันต้องเริ่มจาก 100 เมตรก่อน แล้วไป 4 คูณ 100 จะนำไปสู่ขบวนการที่จะไปวิ่งฮาล์ฟมาราธอนแล้วไปสู่มาราธอนได้ ไม่ใช่ว่าเราจะไปวิ่งแป๊บเดียวแล้วเราไปสร้างมาราธอนเลยคงเป็นไปไม่ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องเห็นดีกับเห็นงามกับการเริ่มต้นจากที่นี่มารวมกันอย่างนี้ แล้วก็มีนักศึกษานักเรียน จริงๆผมเรียนว่าผมรู้จักกับนักแต่งเพลงหลายคน บางทีการแต่งเพลงของนักแต่งเพลงศรีสะเกษมันไม่ได้รับความคุ้มครอง ในฐานะผมเป็นนักกฎหมายเขาเอาเพลงของเขาไปขาย แทนที่ว่าจะมีมูลค่ามหาศาล บริษัทใหญ่ๆที่อยู่กรุงเทพฯเขาซื้อไปปุ๊บไป 5,000 แต่เขาขายล้านสิบล้าน (57.36 นาทีฟังไม่ชัดเจนค่ะ) อันนี้อย่างท่านผอ. ศักดิ์ศรีพูดมันต้องมาร่วมมือกันสร้างนักวิ่ง 100 เมตรให้เป็น 4 คูณ 100 แล้วก็เป็นไปสู่มาราธอนให้ได้นะครับ ตรงนี้เป็นความร่วมมือของทุกฝ่ายไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาวิ่ง 100 เมตรทีเดียวคงเป็นไปไม่ได้ แล้วมันไม่ต่อเนื่อง ขอให้ทุกท่านในที่นี้ส่งเสริมให้เป็นมาราธอนให้ได้ ให้วิ่งได้ทุกคนครับ  

ผมไบเบิลหรือว่าเปิ้ลลี่ ตอนนี้เป็นศิลปินอิสระ ตอนนี้ทำเพลงอยู่นะครับ ในมุมมองของผมโหวตเลือกวิ่งมาราธอนไปครับ เพราะว่าความคิดว่ารายงาน Sound of Sisaket จัดมาแล้ว 3 ปี ปีนี้ปีที่ 3 ปีแรกๆเราอาจจะวิ่ง 100 เมตรกัน แต่ผมว่าปีที่ 3 นี้มันใหญ่ขึ้นมาก มันจัดถึง 4 วัน อาจจะเป็นปีที่เราอาจจะต้องเริ่มวิ่งมาราธอนกันแล้วก็ได้ แล้วก็ที่ผมโหวตเลือก ผมมีความคิดว่าวิ่งมาราธอนคือการวิ่งด้วยกันใช่ไหมครับ แล้วทีนี้อย่างเวลาผมทำเพลงอย่างนี้ มันจะต้องมีแบบเป่าสะไน ผมเป็นพินบรรเลงเพลงผม แล้วมันจะมีเพลงที่ต้องแบบเป่าสะไน ผมจะเป่าสะไนไม่เป็นเลย ถ้าไม่มีครูสอน ถ้าผมไม่ไปศึกษาว่าในอำเภอราษีไศล บ้านเกิดผมอยู่ราษีไศล ผมไม่รู้ว่าสะไนมันคืออะไร มันเป็นเครื่องดนตรีเหรอหรือมันมายังไง ถ้าผมไม่ได้ไปเรียน ผมไม่ได้ไปถามกับภูมิปัญญาชุมชนหรือไปศึกษาอะไรมาผมก็ไม่รู้ ผมก็ไม่รู้ว่าสะไนมันก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของศรีสะเกษ ได้ยินเสียงสะไนก็นึกถึงจังหวะศรีสะเกษครับ ทีนี้มีเพลงออกมาผมเลยโหวตเลือกวิ่งมาราธอน เพราะมีความคิดว่าคงต้องถึงเวลาที่เราอาจจะต้องไปด้วยกันทั้งหมด เพราะว่ากว่าเราจะไปถึงคำว่าเมืองสร้างสรรค์ทางดนตรีได้ มันไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปด้วยกัน ศิลปินจะไม่มีงานเลยถ้าไม่มีเวทีจัดตามงานอย่างนี้ เราจะไม่สามารถไปเล่นเองได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อที่ศิลปินมีของจะได้โชว์ ในบ้านเราศิลปินจะไม่ได้กว้างขนาดนั้น มันอาจจะไปกระจุกอยู่ที่ที่ใดที่หนึ่ง เลยคิดว่าในบ้านเราที่อาจจะไม่ได้เป็นเมืองใหญ่ขนาดนั้น แต่ว่าเราเท่ห์เพราะว่าเรามีความสร้างสรรค์ทางด้านดนตรี เรามีวงดนตรีหลายแบบ เรามีทั้งเพลงร้อง เพลงอีสานอินดี้ หรือว่าเพลงบรรเลงหรือว่าทั่วๆไป คนฟังเพลงก็ไม่ได้ฟังเพลงเหมือนกัน คนทำเพลงก็ไม่ได้ทำเหมือนกันใช่ไหมครับ เราก็จะคิดว่าการที่เรามีดนตรีหลากหลายอยู่ในบ้านเรามันก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ศรีสะเกษเราไปถึงตรงนั้นได้จริงๆ 

 สรุปสั้นๆผมมอง พอพูดทุกคนก็มีหลากหลาย สำคัญคือการสร้างโอกาสกับการให้โอกาสสำคัญ ทุกวันนี้ผมจะได้โอกาส ตอนนี้กำลังสร้างโอกาสแล้วให้โอกาส แล้วก็ต้องขอบคุณทุกๆคน ขอบคุณทุกภาคส่วน ผมเชื่อว่าศรีสะเกษจะเป็นเมืองวัฒนธรรมดนตรีที่ยั่งยืนได้ เราต้องไปกันทั้งองคาพยพรับรู้ร่วมกัน สร้างร่วมกัน  อิ่มด้วยกัน สุขด้วยกัน และผมว่ามันจะยั่งยืน แล้วก็ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันครับ 

ต้องขอบคุณพี่น้องทุกท่านที่ได้ช่วยมาเป็นกำลังใจให้ในวันนี้ ซึ่งผมก็มั่นใจครับว่ายังไงงาน Sound of Sisaket ของเราก็จะยั่งก็จะยั่งยืนอย่างแน่นอน เพราะวันนี้มีทั้งวิ่ง 100 เมตร มีทั้งวิ่ง 400 เมตร มีทั้งวิ่งมาราธอน ซึ่งวิ่งแต่ละช่วงนั้นมันมีความหมายเป็นอย่างยิ่ง และผมเองก็มีความมั่นใจครับว่า แต่ก่อนนั้นศรีสะเกษของเรายากจนอันดับที่ 76 ทั้งๆที่มีจังหวัดอยู่ 77 จังหวัดในประเทศไทย เดี๋ยวนี้ศรีสะเกษเราอยู่อันดับที่เท่า 50 กว่า เห็นไหมครับมันลดฮวบเลย อันนี้ก็ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจ แต่ก่อนศรีสะเกษเขารู้จักเราเพราะคนกินดิน ไปอยู่ศรีสะเกษทีไรก็บอกว่าศรีสะเกษกินดินยากจน เดี๋ยวนี้ศรีสะเกษทุเรียนภูเขาไฟครับ ขอบคุณครับ 

ให้กำลังใจศิลปินนักสร้างสรรค์ที่อยู่ในพื้นที่ ขอให้มีพลังสร้างสรรค์ แล้วก็มีแรงที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดนตรี เพื่อที่จะให้ดนตรีไปขนเงินขนทองกลับมาให้พี่น้องศรีสะเกษ แล้วก็เศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็จะเกิดขึ้นจริง แล้วก็เมืองนี้ก็จะเป็นเมืองที่ทุกคนอยู่อย่างมีความสุขครับผม

เสริมๆท่านนายกพูด ศรีสะเกษคนกินดิน อย่าไปน้อยใจนะครับ ให้ภูมิใจว่าดินที่คนศรีสะเกษกินมันดินชั้นสูงดินคุณภาพ วิจัยให้ดี ทำให้ดี ดีไม่ดีดินที่ศรีสะเกษกินอาจจะเป็นดินที่มีคุณภาพและเป็นดินที่เป็นเงินเป็นทองได้ อันนี้ต้องเข้าใจให้ลึกครับผม 

วันนี้เราอยู่กันที่จังหวัดศรีสะเกษ หวังว่ารายการของเราในวันนี้จะเป็นพื้นที่ที่จะจุดประกายให้ศรีสะเกษได้ขับเคลื่อนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี จังหวัดศรีสะเกษ 

**************

แชร์บทความนี้