แพร่ Handmade ? คนแพร่ขอออกแบบอนาคตเมือง

ฟังเสียงประเทศไทย ช่วยกันส่งเสียง ช่วยกันรับฟัง ช่วยกันสร้างสรรค์ความเป็นไปได้ ปลดล็อก ประเทศไทยเดินหน้าต่อ

ฟังเสียงประเทศไทย” Creative Listening

ฟังเสียงประเทศไทยจัดวงเสวนาในพื้นที่ “ฟังเสียงอนาคตคนแพร่” เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ณ สถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้ จังหวัดแพร่ : ชวนคนแพร่มาพูดคุยและแลกเปลี่ยนกัน และชวนมองไปถึงภาพอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า ว่าพวกเขาเห็นแพร่เป็นแบบไหน

ซึ่งจังหวัดแพร่นั้นมีของดีหลายอย่างที่สามารถสร้างมูลค่าและก็สร้างเศรษฐกิจให้แพร่ได้ แต่วันนี้จะออกแบบอนาคตแพร่อย่างไร เมืองแพร่โตแบบไหน การมีพื้นที่กลางในการให้คนแพร่ได้พูดคุยหารือรวมถึงหาทิศทางในการออกแบบเมืองแพร่จะเป็นอย่างไร ชวนขยายมุมมองต่อกับฟังเสียงประเทศไทย ตอน แพร่ Handmade ? คนแพร่ขอออกแบบอนาคตเมือง

ก่อนอื่น รายการฟังเสียงประเทศไทยชวนตัวแทนคนแพร่ 3 ท่าน ฉายภาพเมืองแพร่ให้ผู้อ่านเข้าใจ สถานการณ์ปัจจุบัน

Ted Talk

คุณ ธีรวุธ กล่อมแล้ว สมาคมรักษ์เมืองเก่าแพร่ กล่าวว่า ตนเป็นคนแพร่โดยกำเนิด ปัจจุบันเป็นสถาปนิก ประกอบธุรกิจส่วนตัวและทำงานภาคประชาสังคมในจังหวัดแพร่ จังหวัดแพร่จังหวัดเล็ก ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านป่าไม้ และมรดกภูมิปัญญาของเมืองแพร่

ปัจจุบันความท้าทายทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมทำให้แพรต้องเผชิญปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องของประชากร ปัจจุบันแพร่มีประชากร 430,000 คน 26% เป็นประชากรผู้สูงอายุและอีก 6 ปีข้างหน้า 45% จะเป็นผู้ประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เผชิญ คือ ประชากรลดลงเกือบ 1% ของทุกปี คนรุ่นใหม่ไม่ประกอบอาชีพใน จ.แพร่ และมักมีคำถามว่า เมืองไม่น่าอยู่และไม่สามารถประกอบอาชีพได้

ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายที่เกิดขึ้น สำหรับนโยบายและการมีส่วนร่วมภาคประชาชนจึงเกิดขึ้นในจังหวัดแพร่ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และโอกาสที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดแพร่ คนแพร่จะต้องร่วมมือกันทำงาน นโยบายทางภาครัฐและภาคประชาสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในแพร่ได้

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เผชิญคือ เกษตรกร 19% สามารถสร้างมูลค่าเกษตรกร สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้แค่ 20% จากประชากรทั้งหมด 70% ปัญหาที่เกิดขึ้นและการพัฒนาส่วนใหญ่ยังไม่ตรงเป้าหมาย ภาคประชาสังคมจึงมีส่วนเกี่ยวข้องที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา การไม่สร้างสรรค์เมืองหรือว่าปัญหาเรื่องของผังเมืองประชากรและการไม่รู้จักภูมิปัญญาทรัพยากรที่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นในแพร่จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายเกิดขึ้น

โอกาสที่จะเข้ามาในจังหวัดแพร่ โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟทางคู่ การท่องเที่ยวทำให้แพร่เป็นหมุดหมาย ซึ่งนักลงทุนอาจจะไม่รู้ว่าจะต้องทำและเข้ามาลงทุนด้วยวิธีการอย่างไร คนรุ่นใหม่ต้องลุกขึ้นมาในการสร้างสรรค์ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ของจังหวัดแพร่ ในอนาคตการมีส่วนร่วมภาคประชาชนจึงมีส่วนสำคัญช่องว่างจะได้หายไป

ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายที่คนแพร่จะต้องมีความร่วมมือ และก็ต้องสร้างสรรค์ ภาคประชาสังคม นักวิชาการและนโยบายซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ข้าราชการที่เข้ามาอยู่ในจังหวัดแพร่โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่บ่อยครั้ง ภาคประชาสังคมซึ่งเป็นผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ยังเป็นผู้ด้อยโอกาส และก็ยังไม่เข้าถึงทรัพยากรที่จะพัฒนาตัวเองได้ ดังนั้นสิ่งที่พัฒนา ที่เกิดขึ้นในจังหวัดแพร่ วิสัยทัศน์หรือกระบวนการ ภาคประชาสังคมมีความสำคัญที่จะเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นเมืองน่าอยู่และอยู่ได้ต่อไป

คุณ นันทนิจ บอยด์ ผู้ก่อตั้งแพร่คราฟท์ และ แบรนด์ Natcharal กล่าวว่า กลุ่มแพร่คราฟท์ช การรวมตัวของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่อยากจะเข้ามาปล่อยของ สร้างพื้นที่อวดผลิตภัณฑ์ของตนเอง ในรูปแบบที่อยากจะทำ ไม่ติดกับแพทเทิร์นเดิม ๆ

แพร่คราฟท์หลังจากทำมาได้สัก 2-3 ปี เรารู้สึกว่าเราอยากใช้พื้นที่นั้นให้เป็นมากกว่าพื้นที่สำหรับขายของให้เป็นพื้นที่ที่ใช้เชื่อมโยงกับชุมชน เยาวชน และกลุ่มอื่น ๆ ที่มากกว่า ซึ่งโอบรับความหลากหลายในจังหวัดแพร่เอาไว้ในงานของเรา

ปัจจุบันแพร่คราฟท์ ก็อยากยกตัวเองว่าเป็น Event creator ที่นำเอาคนที่สร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ เข้ามาไว้ในงานเพื่อทุกคนจะใช้พื้นที่ตรงนี้แสดงออกถึงศักยภาพตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของงานหัตถศิลป์ต่าง ๆ ที่ทำในจังหวัดแพร่ เรื่องผ้า เรื่องไม้ เรื่องเกี่ยวกับเหล้า สุราพื้นที่บ้าน หรืองานจักรสานต่าง ๆ รวมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีมากในจังหวัดแพร่ เราอยากจะให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงคุณค่าในตัวเองมากกว่าที่จะเป็นแค่คุณตา คุณยาย แล้วก็นั่งจักรสานอยู่ใต้ถุนบ้าน ให้เขาออกมาอยู่ในงานแล้วก็ได้รับการชื่นชม และเขามีโอกาสที่จะถ่ายทอดความรู้ที่เขามีให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มเยาวชน ความสามารถของเขาที่เขามีสามารถที่จะแสดงในงานของเราได้ รวมไปถึงการที่จะสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องของการทำธุรกิจ และการรับไม้ต่อแบบที่เราไม่ต้องไปยัดเยียด

เพราะฉะนั้น เราอยากจะสร้างพื้นที่ตรงนี้ของแพร่คราฟท์ เป็นพื้นที่ของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งรวมเอากิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ของคนในจังหวัดแพร่ เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ใช้พื้นที่ตรงนี้ ในการพัฒนาเมืองไปด้วยกันในแบบฉบับที่เราต้องการ ในแบบฉบับที่เป็นของประชาชน และสร้างให้เป็นเมืองที่มีความน่าอยู่แล้วก็มีศักยภาพสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไปได้ด้วย

คุณ นวพร สุวรรณรัตน์ ผู้ผลิตสุราท้องถิ่นแพร่ และนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า จังหวัดแพร่วันนี้มีความท้าทายที่ถาโถมเข้ามามหาศาล ในฐานะผู้ประกอบการสุราชุมชน คำถาม สำหรับคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้าน ไปค้น รื้อฟื้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น เหล้าขาวสุราชุมชน ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดแพร่ ซึ่งปีหนึ่งเราเสียภาษีเข้ารับส่วนกลางไม่ต่ำกว่าปีละ 400 ล้านบาทนั้น กลับคืนสู่ท้องถิ่น แค่ 10%

คนรุ่นใหม่อย่างเราตั้งคำถาม เราเลือกกลับบ้านออกจากเมืองหลวง กลับไปพร้อมความหวัง ความฝัน กลับไปรื้อฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่น กลับเข้าไปนำเสนอ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่บนพื้นฐานของต้นทุนทางวัฒนธรรมเดิม แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย โครงสร้างอำนาจของสังคม ที่ยังคงบิดเบี้ยวมันทำให้คนรุ่นใหม่ตั้งคำถามว่าเราจะกลับบ้านไปทำไม 

วันนี้เราเลือกที่จะกลับบ้านเกิดของเรา บ้านที่เรารัก บ้านที่ยังมีครอบครัวของเราอยู่ บ้านที่ยังมีผู้สูงอายุบ้านที่มีภูมิปัญญา แล้วเราสร้างสรรค์ product ผลิตภัณฑ์ความภาคภูมิใจของคนแพร่ ในรูปแบบของสุราชุมชน ภายใต้ข้อจำกัดที่หลากหลายที่เล่ามาทั้งหมดเราก็ยังมีความหวังกับบ้านนี้เมืองนี้ของเรา

สุดท้ายแล้ว คนรุ่นใหม่หลาย ๆ คนในเมืองแพร่ ที่เรากลับไปเจอคนตัวเล็กตัวน้อยที่พยายามสร้างสรรค์ และขับเคลื่อนเมืองนี้ไปพร้อมกันเจอปัญหาไม่ต่างกัน บางคนเจอข้อจำกัดได้พื้นที่การแสดงออกผลงานสร้างสรรค์ ศิลปินมากมายที่กลับไปอยู่เมืองแพร่ ขาดพื้นที่ส่งต่อบอกเล่าเรื่องราวผลงานที่คนรุ่นใหม่เหล่านี้พยายามจะสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเมือง สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเห็นว่า ข้อต่อของการเชื่อมโยงคงรุ่นใหม่ กับการพัฒนาเมืองแพร่ ไปในทิศทางของอนาคต มันคืออะไร คำตอบนี้ ต้องเป็นคำตอบ ที่คนแพร่ตอบเอง ส่วนหนึ่งก็คือคนแพร่ต้องพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในทุกบทบาท ในทุกการเปลี่ยนแปลง รัฐจำเป็นต้องรวบรวมผู้คน เปิดพื้นที่กลางให้คนเมืองแพร่ทุกรุ่นทุกวัย มีโอกาสแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนเมืองนี้ไปพร้อม ๆ กัน

ในขณะเดียวกันเราปฏิเสธไม่ได้ว่า การเมืองในระดับภาพใหญ่ การกระจายอำนาจ งบประมาณการตัดสินใจให้ท้องถิ่น จะเป็นส่วนหลักในการหนุนเสริม แล้วเปิดเมืองแพร่ให้เป็นเมืองแห่งความหวังเป็นเมืองโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ อย่างที่เราเลือกกลับมาอีกครั้ง

นอกจากตัวแทนคนในพื้นที่แพร่ ฟังเสียงประเทศไทยชวนขยายและเติมในมุมต่อ ชวนล้อมวงเติมมุมมอง

ด้านการกระจายอำนาจ การสร้างพื้นที่กลางให้คนแพร่มีส่วนร่วมออกแบบเมืองของตัวเองให้มากที่สุด ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล หัวหน้าศูนย์ศึกษากฏหมายการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต

มุมมองในมิติเศรษฐกิจ ให้แพร่ก้าวไปข้างหน้า โดยที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำไปด้วย คุณวิเชียร เชิดชูตระกูลทองประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรองประธานสภาอุตสาหกรรมเชียงใหม่

และการพัฒนาจุดแข็งด้านภูมิปัญญาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่แข็งแรง อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คุณอภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล

Listen – ข้อเสนอ

คนแพร่มองแพร่อย่างไร ? 

คุณ นันทนิจ บอยด์ ผู้ก่อตั้งแพร่คราฟท์ และ แบรนด์ Natcharal กล่าวว่า แพร่ จริง ๆ ต้องบอกว่า ต้องแวะ ไม่ใช่ทางผ่าน เพราะอะไร เพราะแวะเพื่อที่จะเข้าไปสัมผัสดูว่าสิ่งที่เขาเล่าลือมันเป็นยังไงบ้าง อาจเข้าไปดูในชุมชน เข้าไปสัมผัสในเรื่องของอาหาร วิถีชีวิตของคนแพร่ เพราะว่าเราไม่อยากจะไป ไปพยายามโปรโมทแพร่แบบตะโกนตะโกน ว่ามาเที่ยวเพราะว่าแพร่มีที่ท่องเที่ยวอะไรเยอะ สถานที่ท่องเที่ยวของเรา มันก็อาจจะคล้าย ๆ กับจังหวัดใกล้เคียง แต่โดยลักษณะของผู้คน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เแพร่ เป็นเมืองที่เข้ามาแล้ว มารีชาร์ทตัวเองมากกว่า เพราะว่าเราจะได้ยินวลี ที่บอกว่า

“แพร่เป็น ๆ เมืองสโลว์ไลฟ์”

เพราะฉะนั้นเราไป เราไม่ต้องเร่งรีบ ไม่ต้องไปพยายามทำให้ตัวเองรู้สึกว่า ต้องกดดันอะไรตัวเอง ตื่นมาไปชมวิถีชีวิตของคนไปชิมอาหารพื้นถิ่น ไปดูสินค้า ทั้งผ้า ทั้งไม้ ทั้งเหล้า ทุกอย่างแค่อยู่แค่ 3 เรื่องนี้ อยู่ได้มากกว่า 1 วันถึง 2 วันแน่นอน สำหรับคนเมืองที่ชีวิต เร่งรีบมาก ๆ แพร่จะเป็น 1 ในทางเลือกที่ต้องไป

คุณ ธีรวุธ กล่อมแล้ว สมาคมรักษ์เมืองเก่าแพร่ กล่าวว่า แพร่ เป็นเมืองที่น่าอยู่ แบะเป็นเมืองที่มีทรัพยากรอยู่มากมาย เราสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่กับมันได้ แต่ศักยภาพที่มันมีอยู่ มันยังถูกใช้ไม่เต็มที่ วิถีชีวิตคนแพร่มันมีเสน่ห์มาก คนแพร่ เกือบทั้งจังหวัดจะรู้จักกันเกือบหมดเลย เพราะมันเป็นเมืองที่มันไม่ได้ใหญ่มาก เจอกันบ่อย เวลาทำงาน หรือทำกิจกรรมอะไรต่าง ๆ ก็จะเจอกัน

เพราะฉะนั้นแพร่ เลยเป็นเมืองที่ค่อนข้างอบอุ่น สามารถที่จะอยู่ได้อย่างมีความสุข ไม่ได้ทำให้เราอึดอัด แต่วมันจะต้องมามีวิธีทางอะไรสักอย่างกนึ่งที่เราจะต้องมาค้นหา แล้วเอาศักยภาพของมันมาใช้ให้มันดี เชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนร่วมจังหวัดหรือว่าไปสู่สากลให้มันอยู่ได้

โจทย์ของแพร่วันนี้ เมืองเล็กๆ ที่มีความคราฟท์ เมืองสโลว์ไลฟ์ที่ผู้คนใช้ชีวิต ปัจจุบันติดอะไรที่ทำให้แพร่ไปไกลกว่านี้ไม่ได้ ?

คุณ นวพร สุวรรณรัตน์ ผู้ผลิตสุราท้องถิ่นแพร่ และนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า เราเคยอาจจะเคยได้ยินว่า เมืองแพร่เป็นเมืองที่ถูกฟรีซการพัฒนา จนกระทั่งเป็นเมืองโตช้า ถามว่าจุดที่มันไปยังไม่ได้ มันก็ต้องถามว่า ชมันขาดอะไร ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่ แม้เรายังอยากรับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เราทำสุราชุมชน ก็ติดกับดักทางกฎหมาย ข้อจำกัดการเผยแพร่ แล้วก็การสนับสนุนการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่รัฐพยายามจะผลักดัน หรือแม้กระทั่งนโยบายซอฟพาวเวอร์ เราอยากให้มันขับเคลื่อนรวมไปถึงชุมชน

และที่สำคัญ คือ การรับฟังความต้องการของคนเมืองแพร่ ในฐานะคนรุ่นใหม่ หลายคนอยากจะมีพื้นที่ในการแสดงออกถึงผลงานสร้างสรรค์ คนทำงานคราฟท์ คนรุ่นใหม่ในเมืองแพร่มีทั้ง คนปั้นหม้อ ปั้นดิน คนทำผ้า คนออกแบบดีไซน์ มีเยอะมากใน จ.แพร่ แต่เราขาดการจับไม้จับมือร่วมมือกัน แล้วก็การสนับสนุนจากภาครัฐ

มองภาพอนาคตเมืองแพร่ มองว่าจะเป็นแบบไหน ?

คุณวิเชียร เชิดชูตระกูลทองประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรองประธานสภาอุตสาหกรรมเชียงใหม่ กล่าวว่า แพร่เป็นเมืองน่าอยู่อย่างที่หลายท่านพูด โดยเฉพาะคน สำเนียงการพูด ความน่าสนใจในสำเนียงของภาคเหนือ คนแพร่ เป็นคนพูดที่มีเสน่ห์

อุตสาหกรรมหรือววิสาหกิจในเมืองแพร่ มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าจังหวัดเชียงใหม่ มองว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเรื่องไม้ดังที่สุดในภาคเหนือ ตอนนี้ก็คือจะดังที่สุดในประเทศได้ถ้าเราได้รับการส่งเสริมที่ดี

ส่วนเรื่องของทางด้านเกษตรและอาหาร เกษตรและอาหารของแพร่ มีสิ่งที่โดดเด่นโดยเฉพาะทางด้านป่าไม้ สามารถไปถึงอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งยุคสมัยถัดไปมองว่าน่าจะมีการพัฒนาศักยภาพป่าไม้ ให้เป็นสินค้ามูลค่าสูง และผมเองทราบข่าวว่าจะมีการทำศูนย์นวัตกรรมออกแบบเรื่องเฟอร์นิเจอร์ไม้สักไทย ที่ครม.อนุมัติก็มีความคิดนี้อยู่ในระดับประเทศ เช่นเดียวกันคือเรื่องของสุราแพร่ เป็นที่โด่งดัง ต้นแบบระดับประเทศที่ชุมชนสามารถทำสุราเมืองแพร่ได้ เป็นระดับที่เป็นมูลค่าเพิ่มเป็นพันล้านต่อปี

เมืองแพร่เป็นเมืองวัฒนธรรมแบบล้านนนา งานวิจัยต่าง ๆ ถ้าสามารถยกระดับไฮทัชเป็นไฮเทค แล้วมองระดับประเทศและต่างประเทศ อยากให้มองระดับประเทศต่างประเทศด้วย เพราะเรื่องดิจิตอลในยุคนี้เริ่มไปไกล อาจจะมีเชียงใหม่เป็นเพื่อนที่จะไปในเรื่องของล้านนาเชื่อมร้อยไปด้วยกัน เพราะฉะนั้นแพร่อย่าไปจังหวัดเดียวต้องไปทั้งระเบียงเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้เรามีกลุ่มจังหวัดเหนือล่าง ตอนนี้มีระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ไปด้วยกัน เเสริมซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้นการตลาดกลับไปทำให้เมืองของแพร่มีความก้าวหน้า ส่วนเรื่อง PM 2.5 ที่เป็นปัญหาร่วมเราต้องช่วยกัน มุมในระดับให้เขาเห็นปัญหา pain point แต่เราจะเอาวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ยังไง ก็น่าจะคิดสร้างสรรค์ต่อ

อุปสรรคที่ทำให้ไปไม่ถึง จากภาคธุรกิจที่แพร่ อยากเห็นแพร่ โตแบบไหน ?

คุณ นันทนิจ บอยด์ ผู้ก่อตั้งแพร่คราฟท์ และ แบรนด์ Natcharal กล่าวว่า อยากเห็นแพร่โตแบบค่อย ๆ โต แต่โตอย่างมั่นคง เพราะการโตแบบก้าวกระโดด เราไม่แน่ใจว่ามันจะส่งผลกระทบกับชุมชนและคนในเมืองแพร่หรือไม่ ถ้าค่อย ๆ โตแล้วก็ค่อย ๆ สร้างความเข้าใจให้กับคนในเมืองไปด้วย คิดว่ามันจะทำให้โครงสร้างที่ค่อนข้างแข็งแรง แล้วก็ไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ แล้วก็คนในชุมชนเข้าใจ แล้วก็พัฒนาไปพร้อม ๆ กัน

ถ้าโตเร็ว คำว่า สโลว์ไลฟ์ อาจจะหายไป แต่ถ้าโตช้า ๆ โตแบบเข้าใจสโลว์ไลฟ์มันก็ยังอยู่

คุณ นันทนิจ บอยด์ ผู้ก่อตั้งแพร่คราฟท์ และ แบรนด์ Natcharal กล่าวอีกว่า จริง ๆ แล้ว ที่บอกว่าสโลว์ไลฟ์ เพราะวิถีชีวิตของคน แต่ว่าในเชิงเศรษฐกิจ พอถ้ามันเร็วเกินไป นั่นหมายความว่าชุมชนและประชาชนชน จะต้องปรับตัวกันเยอะ เพราะถ้าเศรษฐกิจโตค่าครองชีพอะไรต่าง ๆ มันก็ต้องสูงตามไปด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วถ้ามันไปได้ทุกคนจะไม่มีปัญหา แต่พอก้าวกระโดดอาจจะเป็นแค่คนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ถึงใช้คำว่าค่อย ๆ โตไป เพราะว่าต้องสร้างไปด้วยกัน

ภาพอนาคตการมีส่วนร่วมของคนเมืองแพร่ที่ว่าเป็นไปได้ และก็ทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น

ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล หัวหน้าศูนย์ศึกษากฏหมายการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวว่า การมีส่วนร่วมเท่าที่ผ่านมา พี่ ๆ น้อง ๆ ก็จะรู้สึกว่า เอ๊ะมันยากจัง พยายามที่ส่งเสียงเข้าไปกับภาครัฐที่อยู่ในจังหวัดหลายหน่วยงาน ปัญหามันก็อยู่ที่ว่าจริง ๆ แล้ว การอยู่ภายใต้โครงสร้างภายใต้ระบบปกติที่เป็นอยู่ จากอำนาจมารวมศูนย์ตรงกลางในจังหวัด ถึงภูมิภาคจะไม่อยู่ตรงกลาง แต่ก็อยู่ในในจังหวัด แล้วใช้เป็นกลไกทำงานในแบบส่วนกลาง ทีนี้ ในโครงสร้างแบบนี้ สิ่งที่จะต้องทำก็ คือ เราก็ต้องพยายามสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมของเราขึ้นมาเอง ไม่ต้องทลายโครงสร้าง แต่ต้องกระจายอำนาจ

ไม่ต้องทลายโครงสร้าง ต้องค่อย ๆ ดัน ไป ถ้าพื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง มีความ แนบแน่น มีความคุณภาพพอ ที่สุดแล้วก็สามารถเขยิบโครงสร้างที่มันตัดอยู่

หมายความว่า การการรวมศูนย์อำนาจที่มันมันตีกรอบบทบาทต่อประชาชน พยายามเป็นค่อย ๆ ขยับไป เพราะฉะนั้น พูดง่าย ๆ คือ การกระจายอำนาจรวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนมันเริ่มจากฐานประชาชนจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้ตัวเองเป็นพื้นฐาน

การกระจายอำนาจ ถ้าจะรอให้ข้างบนเขาปล่อยลงมาให้ฝ่ายการเมืองไปทำกฎหมาย รัฐบาลมีนโยบายที่จะขยายกระจายอำนาจ แล้วเราต้องรอไปถึงเมื่อไหร่ ซึ่งเรารอนานมากแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเป็นอย่างนี้สิ่งที่เราทำได้อีกหนึ่งวิธีการ คือ สร้างฐานข้างล่างให้ ถ้าอยู่ในโครงสร้างแบบนี้ มันปิด มันเฉื่อย มันไปไม่ได้ ต้องเริ่มสร้างพื้นที่เอง

เราพยายามคุยกันมานานพอสมควร เราก็เริ่มสร้างพื้นที่กลางก่อรูปขึ้นมาพื้นที่คุยกัน และล่าสุดจนกระทั่งเราเชื่อมั่นมากขึ้น บรรดาพี่น้องในภาคประชาสังคมรู้สึกว่าเราต้องการพื้นที่กลางตรงกัน แล้วเราพร้อมที่จะอุทิศตัวเอง กำลังกายกำลังใจเวลามาให้กับเรื่องของการจับมือกันสร้างพื้นที่ตรงนี้ นี่คือจุดเริ่มต้น ในการที่จะแก้ปัญหา ที่มันติดล็อค

คุณ ธีรวุธ กล่อมแล้ว สมาคมรักษ์เมืองเก่าแพร่ กล่าวว่า สิ่งที่เราทำสมาคมรักษ์เมืองเก่าแพร่หรือเครือข่าย มีจุดเริ่มต้นจากบ้านเขียวบอมเบเบอร์ม่า จากเมื่อก่อนที่เราเรียกกันติดปาก แต่ความจริงมันคืออาคารสำนักงานป่าไม้ภาคแพร่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการรื้อถอน ภาคประชาสังคม ก็ตั้งคำถามว่าทำไมถึงรื้อ  เพราะอะไรทั้งที่มันมีทรงคุณค่า ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก คนแพร่เขาลุกขึ้นมาถาม ถามถึงว่าทำไมคุณถึงทำอย่างนี้ โดยที่ไม่สามารถตอบเหตุผลได้ และท้ายที่สุด ณ ปัจจุบัน ผ่านมา 3 ปี อาคารเหล่านี้ก็ฟื้นกลับคืนมาได้แล้ว คนแพร่ ก็อยากจะให้ตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้มันจะมีประโยชน์มากในการที่จะทำให้คนดูแลและเข้าใจในคุณค่าแล้วก็สร้างสรรค์ผลประโยชน์

อีกประเด็นสังคมแพร่หากมองในภาพกว้าง คือ เราลดทอนในสิ่งที่มันมีคุณค่าทางด้านภูมิปัญญาของเราไปมาก คนรุ่นใหม่ จะไม่เข้าใจในเรื่องของทรัพยากรท้องถิ่น ทรัพยากรทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ จับต้องได้คือพวกไม้สัก หม้อห้อม หรือว่าอะไรต่าง ๆ สิ่งที่จับต้องไม่ได้คือภูมิปัญญาโดยเฉพาะฝีมือช่างต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ ถ้าเยาวชนคนรุ่นใหม่จะไม่ค่อยรู้จักเท่าไหร่ จะรู้จักเฉพาะในพื้นที่ของตัวเอง ดังนั้น เวลาเค้าเติบโตแล้วไปรับการศึกษาข้างนอก เขาเลยไม่กลับบ้านเพราะเขาไม่รู้ว่าสิ่งที่ดีมันเกิดขึ้นอยู่ในเมืองแพร่แล้ว โดยเฉพาะภูมิปัญญาที่ยังอยู่ สามารถที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่าได้

ผมคิดว่ามันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เราใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ใช้เหมือนกันทั้งประเทศ ในการพัฒนาประเทศ มันทำให้มันไม่สอดคล้องและเหมาะสม อย่างเช่น โครงการนววิถี พัฒนาส่งเสริมชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นเมืองท่องเที่ยว เอาเข้าจริงๆ พื้นที่บางพื้นที่ไม่เหมาะสม สำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยว เขาอาจจะต้องทำเป็นพื้นที่ในส่วนของบริการ หรือผลิตโปรดักอะไรเป็นบางส่วน ซึ่งสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยว ไปดูชุมชนบางชุมชน เราทำโฮมสเตย์ หมอน มุ้ง นี่ยังอยู่ในตู้อยู่เลย แล้วก็เป็นภาระหนี้สินให้กับคนแพร่ด้วย

ปัจจุบันคนแพร่อัตราหนี้สินสูงในภาคเหนือประมาณ 180,000 บาทต่อครอบครัว รายได้ก็ค่อนข้างต่ำแต่หนี้สินสูง ตรงนี้มันทำให้เกิดสถานการณ์ พ่อแม่ผู้ปกครองไม่อยากให้ลูกกลับมาแพร่ เพราะ มันไม่มีอะไรทำ มันไม่มีเวลาทำ เพราะเขาไม่เข้าใจทรัพยากรที่เขาจะมาพัฒนาต่อยอดได้ เขาถึงไม่กลับ สิ่งเหล่านี้ ทำให้ช่างหรือช่างฝีมือต่าง ๆ ที่มีภูมิปัญญา เกิดการลดทอนคุณค่าลง

ซึ่งปัจจุบันสามารถที่จะพัฒนา product ได้ แต่ปัจจุบันคนที่เขาเข้าใจนักธุรกิจหรือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เหล้าขาวขวดหนึ่งเขาสามารถสร้างมูลค่า ขวดละเป็นพัน สามารถที่สร้างมูลค่าได้ สิ่งเหล่านี้เราถึงมีการรวมตัวภาคประชาสังคมที่ส่งเสียงไปว่า ทรัพยากรท้องถิ่น การจัดการหรือแผนนโยบาย การวางรูปแบบในการพัฒนาสิ่งหนึ่ง มันควรจะต้องสอดคล้องจากท้องถิ่น ไม่ใช่ใช้รูปแบบจากส่วนกลางเข้ามาครอบ มันทำให้เกิดการไม่ไปถึงไหน ถ้าเราเปรียบเหมือนกับแพร่เป็นเรือ 1 ลำ ก็เดี๋ยวแวะเข้าฝั่ง ฟังตามนโยบายคนนั้นคนนี้อยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง เราจะได้เป็นคนแกะกล่องผู้บริหารจากที่เขาส่งมาจากส่วนกลางเดี๋ยวเปลี่ยนเดี๋ยวโยกย้าย บางคนสนใจเรื่องป่าไม้ บางคนสนใจเข้าวัด บางคนสนใจเรื่องปลูกกล้วยอย่างนี้ มันเปลี่ยนไปตลอดเวลา ชาวบ้านเขาปรับตัวไม่ทัน ซึ่งจำเป็นต้องฟังเสียงจากชุมชนว่าเขาต้องการอะไรแล้วก็ให้พัฒนาขึ้นมาเป็นนโยบาย

จุดแข็งพัฒนาเมืองโดยใช้ภูมิปัญญา

คุณอภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า มองเรื่องนี้ ไว้  3 layer

layer ที่ 1 เรื่องอัตลักษณ์ที่ทุกคนพูด ผู้ประกอบการ ทั้ง 3 ท่านก็พูดถึงรื่องความสามารถในแง่ของงานหัตถกรรม ความสามารถในแง่ภูมิปัญญา ไม่ว่าทำสุรา ทำผ้า เรามีเรื่องวัด เรื่องเก่าที่เรามีอยู่ เช่นสมัยก่อนสถานีเด่นชัย เป็นชุมทางใหญ่มากของวงการรถไฟไทย เพราะเนื่องจาก อุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีรถไฟเลยใหญ่มาก ปัจจุบันถาพแบบนี้มันหายไปหายไปจากคนในวันนี้

layer ที่ 2 ที่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก คือ คนแพร่เองก็ต้องตอบตัวเองว่า ทำไม ไม่อยู่แพร่ ทำไมไม่อยากทำงานที่แพร่ คำตอบคงตรงไปตรงมา คืองานไม่มี รายได้มันไม่พอสำหรับโลกในวันนี้ สังคมมันมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น คำถามตามมาหลังจากนั้นคือ แสดงว่าโครงสร้างพื้นฐานบางอย่างมันไม่ตอบโจทย์เราใช่ไหม เราอาจจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีถนนมีประปา มีไฟฟ้า มีอะไรเหมือนปกติแต่โครงสร้างพื้นฐานในโลกปัจจุบันมันอาจจะต้องเปลี่ยนไป

อันแรกก็คือ โครงสร้างพื้นฐาน สมัยใหม่ที่มันตอบโจทย์ อันที่ 2 เราเรียกว่าอะไร สิ่งที่จะห่อเรื่องนี้ไป เรียกว่าหน้ากากที่จะห่อเรื่องนี้ ที่จะทำให้น่าดู น่าชม น่ามาน่าเที่ยวน่าไป  คนที่จะตัดสินใจไปนั้นไม่ใช่คนเมืองแพร่ เหมือนผมเป็นคนกรุงเทพ คนอยุธยา คนภูเก็ต คนอะไร

คนเมืองแพร่อาจพูดว่าแพร่ดีแบบนั้น แบบนี้ มีอะไรที่ดีๆ ในแพร่ แต่ผมเป็นคนภูเก็ตผมไม่อิน เพราะฉะนั้นอาจจะต้องมีหน้ากากอีกหน้ากากหนึ่งที่จะอธิบายว่าเมืองแพร่น่าไป น่าไปนอนค้าง น่าไปอยู่ เพราะอะไร ?

กลไกสำคัญที่รัฐต้องทำให้โครงสร้างพื้นฐาน ให้มีการใช้ชีวิตที่ดีเกิดขึ้นก่อน เพราะฉะนั้น  2 เลเยอร์นี้ เป็นสิ่งสำคัญ

เพื่อหาความเป็นไปได้ให้กับแพร่ อะไร Freeze แพร่เอาไว้ ?

คุณ นวพร สุวรรณรัตน์ ผู้ผลิตสุราท้องถิ่นแพร่ และนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า อะไรที่ฟรีซแพร่ไว้ ถ้าพูดให้ชัดก็คือโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคม ของทั้งระดับประเทศและจังหวัดยังคงฟรีสการพัฒนาของแพร่ไว้อยู่ คนเมืองแพร่ต้องออกจากแพร่ไปทำมากินที่อื่นเพราะอะไร เพราะรายได้ไม่พอ แล้วคนที่เลือกกลับไป ไปทำอะไร ภูมิปัญญามีข้อต่ออะไรที่จะสร้างสรรค์ เผยภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ความรู้ใหม่ ๆ นำเสนอเป็นรูปแบบ product ให้กับคนภายนอกจังหวัดอื่น แม้กระทั่งในคนต่างชาติได้อย่างนี้ ที่ฟรีซไว้นั้นคือ เราคิดว่ามันเป็นระบบโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจที่มันฟรีซเราไว้ ถ้าพูดอย่างตรงไปตรงมาก็คือโครงสร้างอำนาจทางการเมือง ที่ยังไม่ถูกกระจายออกจากรัฐ ที่รวมศูนย์อยู่มันปฏิเสธไม่ได้ว่า เราต้องพูดเรื่องนี้ เราอยากจะให้เมืองนี้ สมมติเลือกตั้งผู้ว่า ทำไม่ได้ เพราะกติกาไม่เอื้อยให้เราทำ

เราต้องแก้อย่างไร ? การรวมกลุ่มกัน คนตัวเล็กตัวน้อย พูดอีกแล้วแต่ต้องพูดเพราะว่าคนตัวเล็กตัวน้อยไม่ค่อยได้ส่งเสียงดังเท่าคนตัวใหญ่ การรวมตัวกันเพื่อให้เสียง เสียงจะดัง ในขณะเดียวกันเราต้องสื่อสารไปด้วยว่าเราต้องเป็นผู้กำหนดกติกา กำหนดอำนาจการตัดสินใจคืออำนาจให้สู่คนเมืองแพร่ กำหนดทิศทางการพัฒนาของเมืองด้วยตัวเอง

Possibility – ความเป็นไปได้

ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล หัวหน้าศูนย์ศึกษากฏหมายการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวว่า แพร่มีมรดกมีทุนในตัวเองสูงมาก ทุนทางประวัติศาสตร์ทุนทางวัฒนธรรม ทุนสังคมทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ แต่ทุนเหล่านี้ทุนเหล่านี้จริง ๆ แล้วถ้าจัดการดี ๆ มันจะตอบสนองประโยชน์คนแพร่มาก เพื่อให้ความเหลื่อมลดลง มันจะตอบสิ่งที่คนแพร่อยากเป็น อยากกลับ อยากไปอยู่ อยากมีงาน ความเหลื่อมล้ำจะลดลง แต่ที่มันเป็นไปไม่ได้ เพราว่าโหมด ๆ การจัดการพื้นที่จัดการเมืองมันยังอยู่แบบเดิม มันอยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจรัฐที่รวมศูนย์ บทบาทของประชาชนที่จำกัด และด้วยกลไกทางการเมือง การปกครอง ทางเศรษฐกิจ ต่าง ๆ ทำให้แพร่กลายเป็นรอง

สภาพแบบนี้พลิกไม่ได้ 10-20 ปีก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าอยูในโหมดนี้ เพราะฉะนั้น เราต้องเปลี่ยนโหมดในการพัฒนา ต้องยกบทบาทของภาคประชาชนขึ้นมา ทีนี้เมื่อโครงสร้างข้างบนไม่ปล่อย อำนาจไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่ภาคประชาชนทำได้ก็คือว่า เราต้องใช้นี่ พท. ของภาคประชาชนรวมกลุ่มกัน ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่มีอะไรห้าม ไม่มีกฏหมายห้าม ทำได้และมีวิธีการที่จะรวมกลุ่มกันสร้างกลไกลขึ้น

กลไกแรกที่สร้าง คือ กลไก พื้นที่กลาง “สภาพลเมือง” หรือจะเรียกชื่ออะไรก็แล้วแต่ เป็นที่ปรึกษาหารือประชาชนแบบปรึกษาหารือ อยากพัฒนาเมืองตรงไหนอย่างไร จะพัฒนามืองอย่างไร พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ เป็นการจัดการพื้นที่อยากออกแบบเมืองยังไงมาคุยกันที่นี่ แล้วส่งเสียงออกไป รวมกลุ่มให้แน่นเข้า มันจะส่งออกไป กลไกลของพื้นที่กลางมันจะส่งไปหลายเรื่อง ทำกิจกรรมที่จะแก้ปัญหาก็ว่าไป กลไกต่อมา กลไก พื้นที่กลางมันต้องยั่งยืน มั่นคง หลายเมืองก็สร้างอย่างนั้น กลไกลที่สอง ไม่ใช่กลไกแต่เป็นเครื่องมือก็แล้วกัน

ตนผลักดันอยู่ที่เชียงราย คือเรื่องธรรมนูญ จังหวัด ที่ว่านี้ไม่ใช่ธรรมนูญที่ใครสักคนไปเขียนขึ้นมาก็ได้ แล้วมาบอกว่าเป็นธรรมนูญ จังหวัดคนกลุ่มใดกลุ่มนึง ก็ไม่ใช่แต่มันต้องเป็นธรรมนูญที่เกิดการมีส่วนร่วมของคนในระดับพื้นที่ คนที่ทำงานเชิงประเด็น คนที่ทำงานหลากหลาย อาชีพแตกต่าง ส่วนได้เสีย แต่ฟังเขาให้ถึง มีกระบวนการรับฟัง มีคนแต่ละช่วงวัยมาฟัง หน่วยงานรัฐ เอกชน หอการค้า 360 องศา การมีส่วนร่วม เข้ามาสู่กระบวนการการทำธรรมนูญ และสู่การเป็น อย่างเป็นวิชาการ

เพราะฉะนั้นพอสร้างออกมาแล้ว คนแพร่บอกว่านี่แหละคือสิ่งที่ชั้นต้องการ เป็นธรรมนูญเป็นพิมพ์เขียวของแพร่ เมื่อมีของการมีส่วนร่วม คุณภาพของธรรมนูญที่มันเกิดขึ้นมีความชอบธรรม หน่วยงานรัฐเขาก็ต้องยอมรับโดยสภาพ ไม่ยอมรับก็คงลำบากในเชิงทางสังคม การเมือง จากตัวนี้มันจะไหลไปสู่แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาท้องถิ่น มันจะค่อย ๆ ไป ๆ เพราะฉะนั้น การจัดการทรัพยากร การจัดการงบประมาณ  มันจะส่งผ่านแผนพัฒนาไปยังโครงการต่างๆ ผ่านหน่วยงานต่างๆ ใช่ไหมครับ ประชาชนก็จะมีบทบาทในการทำนโยบายสาธารณะ และจัดการเมืองแพร่จากข้างล่าง

เพราะฉะนั้น โหมดเครื่องมือตัวนึงที่สำคัญก็คือเรื่องของธรรมนูญจังหวัดแพร่ คิดว่าแพร่ทำได้ และมั่นใจว่าแพร่ทำได้ แพร่มีครบ มีวิทยาลัย มีกลุ่มแกนนำของภาคประชาสังคม ที่เข้มแข็ง หลายเวทีหลายเสียงที่ไปฟัคิดไม่ต่างกัน ต้องการเหมือนกัน แต่ละคน หรืออาจไม่ใช่ทุกคน รวมมาเห็นว่ามีความชัดเจน มีความตื่นตัวสูงมาก อยากเข้ามาร่วม อยากเข้ามาผลักดัน อยากเข้ามาเปลี่ยนแปลง อยากสร้างโหมดแบบนี้

คนในพื้นที่เห็นอย่างไรกับข้อเสนอของอาจารย์ ?

คุณ ธีรวุธ กล่อมแล้ว สมาคมรักษ์เมืองเก่าแพร่ กล่าวว่า คนข้างนอก มักจะมองแพร่ว่าเป็นเมืองสีเทา ธุรกิจประเภทที่เกี่ยวกับป่าไม้  ไม้เถื่อนเหล้าเถื่อน แต่สาเหตุจริง ๆ มาจากข้อกำหนด หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางด้านกฏหมาย ที่ไม่ได้เอื้อให้คนในท้องถิ่นได้ประกอบทำมาหากินได้อย่างสะดวก และทำให้มันยั่งยืนได้มันเกี่ยวข้องกับกฎหมายหมด ป่าไม้ เหล้า สำคัญมาก ทั้ง ๆ ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมาก

เราได้ภาคประชาสังคมพยายามส่งเสียงมาหลายปีแล้ว แต่ไม่ถึง แก้ไม่ได้  มันเป็นปัญหาโครงสร้างใหญ่เราใช้รูปแบบการแก้ปัญหาดั้งเดิม ในการแก้ปัญหาของเรา แต่ละพื้นที่มันแตกต่างกัน ตนยังมองแพร่ว่าไม่สามารถอยู่ได้ด้วยจังหวัดเดียว ต้องการเชื่อมโยงกับจังหวัดอื่นๆ ด้วย สู้ในศักยภาพ ทั้ง โครงการ gms ระเบียงเศรษฐกิจเหนือใต้ อะไรต่างๆ ต้องเชื่อมโยงกัน

คนแพร่ต้องเริ่มจากภายในและเชื่อมโยง สร้างสิ่งที่เมืองน่าอยู่ และอยู่ได้และทำมาหากินได้ด้วย

ถ้ามองว่าประชากรแพร่ จะเป็นประชากรที่สูงอายุตลอดไป แต่ต้องเป็นเมืองที่น่าอยู่ให้คนอื่นได้เข้ามาทำมาหากินได้ คนที่อื่นก็จะมาทำมาหากินได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ทุกคนเป็นธรรมและใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า แพร่เป็นเมืองที่มีทรัพยากรป่าไม้ มากกว่า 70% พื้นที่เกษตรกรรมน้อยมาก แต่พื้นที่ที่จะทำเป็นพื้นที่ป่าเชิงเศรษฐกิจมีจำนวนมากแต่กฎระเบียบไม่เอื้ออำนวย ณ ปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการที่เราส่งเสียงในฐานะภาคประชาสังคม มีส่วนสำคัญ จะใช้เครื่องมือหรือรูปแบบเดิม ๆ นั้นไม่ได้อีกแล้ว  มันจะแก้ปัญหาไม่ได้

ธรรมนญจังหวัด แต่ภาคประชาสังคมต้องเข้มแข็งก่อน ?

คุณ นันทนิจ บอยด์ ผู้ก่อตั้งแพร่คราฟท์ และ แบรนด์ Natcharal กล่าวว่า อันนี้สำคัญ เพราะว่าถ้าประชาชนภายในเองไม่เข้มแข็ง แล้วเราจะไปทำอะไรได้ เอาย่อมาจากที่ขนาดของตัวเองของแต่ละบุคคล ถ้าเราเป็นคนที่สุขภาพไม่ดี อันนี้เปรียบเทียบว่าเป็นบอดี้ของ 1 คน เราจะไปทำกิจกรรมอะไรได้ จะไปสร้างอะไรได้ เพราะฉะนั้นการสร้างเมืองและพัฒนาเมืองก็เหมือนกันประชาชนต้องเข้มแข็ง ต้องมีพื้นที่ให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะพื้นที่กลางพื้นที่อะไรก็แล้วแต่  ที่คนเหล่านั้นสามารถที่จะมาแชร์และร่วมพัฒนาด้วยกันได้ คือเมืองมันต้องฟังกันไงคะ เพราะว่าแต่ละชุมชนแต่ละอำเภอนั้นเขาก็จะมีปัญหาหรือข้อที่เขาต้องการ ในแต่ละเรื่องที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้น พื้นที่กลางหรือพื้นที่ที่ทุกคนจะมาแชร์ด้วยกันและก็แก้ปัญหาไปในไปด้วยกันในแต่ละจุดก็จะทำให้เกิดการพัฒนาจากภายในสู่ภายนอก 

แพร่อาจจะโตแต่ช้า จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับกลุ่มจังหวัดระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ

คุณวิเชียร เชิดชูตระกูลทองประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรองประธานสภาอุตสาหกรรมเชียงใหม่ กล่าวว่า ผู้ประกอบการต้องการเป็นตัวของตัวเองและการมีส่วนร่วมโครงสร้างทางสังคม แต่โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ก็มีซึ่งเรียกว่า cluster ซึ่งเหมือนที่ อ. ศักดิ์ณรงค์ พูด มีประชาชนมี ผู้ประกอบการ คือ ต้องได้ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ คือชาวบ้านประชาชนต้องได้ด้วยผู้ประกอบการ ภาคมหาวิทยาลัยที่เป็นงาน Research cluster ต่าง ๆ เป็นการบูรณาการของ 4 ภาคส่วน ที่จะทำให้เติบโตและเป็นไปได้ สามารถที่จะทำเป็น Unit เล็ก ๆ ได้ เช่น ท่านจะทำครัชเตอร์ของสุราก็ทำได้

มองว่า cluster ที่จะทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมได้อยู่น่าจะเอามาใช้ในกลไกขับเคลื่อนแพร่ และเป็น inclusive ครัชเตอร์แพร่ คือทุกคนได้ ไม่มีความเหลื่อมล้ำ

ตอนนี้เป็น globalized เป็นการเชื่อมโยง แพร่สามารถที่จะอยู่ด้วยตัวเองก็ได้แต่จะให้มีการแข่งขันหรือพึ่งพิงเราจะเชื่อมภาคเหนือได้อย่างไร จะเชื่อมประเทศอย่างไร ประเด็นเศรษฐกิจใน ประเทศได้อย่างไรเชื่อมโลกได้อย่างไร เพราะสินค้าแพร่ไปถึงโลก ก็จะได้มูลค่าเพิ่มสเกลอัพกลับมาที่พื้นที่​ เพราะฉะนั้น การตลาดที่มอง demand size ต้องชัดเจน น้องเก่งเรื่องต่างประเทศใช่ไหม คนนี้เก่งเรื่องต่างประเทศคนนี้เก่งในระเบียง เพราะฉะนั้นก็มาบูรณาการกัน  บูรณาการเชียงใหม่ บูรณาการภาคเหนือ เป็น NEC ได้ นี่คือภาพของการบูรณาการ

ภาคการเมือง เป็นกลไกสำคัญ จะเป็นจุดช่วยหรือจุดดึงรั้ง อย่างไร? 

คุณอภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ข้อเรียกร้องของเรา เมื่อก่อนมีความรู้สึกว่ามันไม่ชัดเจน วันนี้มันเริ่มชัดขึ้นเรื่อย ๆ เช่น พรบ. สุราก้าวหน้า วาระที่แล้วไม่ผ่าน ซึ่งวาระนี้เราคาดว่าน่าจะผ่านเพราะทุกคนก็เริ่มเห็นความสำคัญของเรื่องนี้เรื่องการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะพรรคผมก็หนุนเต็มที่

แต่เราก็เชื่อว่า อนาคตข้างหน้าเราหนีไม่พ้นหรอก เพราะว่าสังคมค่อย ๆ บีบรัดเข้าไปเรื่อย ๆ เพราะว่าความสามารถ แต่ละพื้นที่มันต่างกัน เพราะฉะนั้น ในสภาเองก็พูดเรื่องนี้ค่อนข้างเข้มงวดมากขึ้นมากขึ้น แต่สิ่งที่ผมเชื่อ แบบส่วนตัวเลย คือไม่ว่าเราจะปรับโครงสร้างขนาดไหน เราจะทำโครงสร้างให้มันดี แต่ถ้าเราไม่เริ่มต้นทำประเด็น รายประเด็นย่อย ๆ แล้วทำเลย ผมว่ามันไม่มีจิ๊กซอว์อะไรที่จะไปเติมโครงที่เราเขียนเป็นตารางตารางไว้ เราต้องเติมสิ่งพวกนี้ผม specific ลงไปที่แพร่ ผมมีคำถามเวลาผมไปแพร่ นี่เมืองป่าไม้หรือเปล่า มีทั้งอุตสาหกรรมป่าไม้

แล้วทำไมในเมืองที่ไปแล้วมันแบบเขียวมาก ไปเมืองอื่นไม่รู้สึกว่าเขียวแบบนี้ในเมืองแพร่มันเขียวไปหมดเลยผมอยากเห็นอย่างนั้น ผมรู้สึกว่าอยากเห็นอย่างนั้น  ซึ่งมันไม่มีเมืองไหนเขียวในประเทศไทย เมืองป่าไม้เมืองอะไรโฆษณานั้น แต่เมืองแพร่ผมอยากเห็นเลยต้นไม้เขียว ทำแค่นี้แหละประเด็นง่าย ๆ

อยากเห็นโรงพยาบาลคนที่สูงอายุถ้า คุณภาพโรงพยาบาลต้องเทียบเท่าโรงพยาบาลใหญ่ ๆ อยากเห็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพดี ผมอยากเห็นเรื่องที่ 3 คือ พื้นที่ที่เรียกว่า Common Space ในจังหวัดในชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กีฬา ศิลปะ ดนตรีผมว่า 3 เรื่องเอาแบบกลับไป 3 คนนี้กลับไปทำ 3 เรื่องผมคิดว่าโครงสร้างผมไปทุกเวทีก็เห็นโครงสร้างทุกเวที ช่วยเติมให้ คือ ต้องมีภาคการเมือง ช่วยขับเคลื่อนกติกาต่าง ๆ ถ้าตรงนี้ทะลวงได้จะดี อันนี้ที่ อ. ศักดิ์ณรงค์ พูดเรื่องกติกา เรื่องผังเมือง คือ จะลงทุนอยู่แล้วแต่ผังเมืองไม่ให้ ต้อง เป็น  reasonable ด้วย ไม่ใช่ไปเอาเปรียบส่วนรวม ไม่ใช่ อันนี้ที่๑​นะครับ กฎกติกา ที่อยากจะเสริมการเมือง ทำข้อมูลทั้งหมด database นี้สำคัญมาก ผมอยากให้แพร่มี database ของเมือง เช่น อยากให้ชวนคนมาลงทุนจะให้ลงทุนแบบไหนที่คนอยากมาลงทุนมความเป็นตัวเองใช่ไหม จะลงทุนสุรา หม้อฮ้อม เมืองน่าอยู่ข้อมูล คืออะไร เมื่อคนเข้าไปเชียงใหม่ก็เจอปัญหาแบบนี้ไม่มี database ผมจะไปลงได้อย่างไรเมื่อไปเจอผังเมืองก็ตายแล้วใครจะมาร่วมมือกับเรา มีทรัพยากรอย่างไรไหม และทิศทางตลาด จากแพร่ ไปยังไงต่อ  เชียงใหม่ก็เริ่มทำแล้ว หลายเมืองเริ่มทำ ดาต้าเบสของเมือง หรือ Big Data

คุณ นันทนิจ บอยด์ ผู้ก่อตั้งแพร่คราฟท์ และ แบรนด์ Natcharal กล่าวว่า เรื่อง Common Space จริง ๆ ที่แพร่ เราก็พยายามทำตรงนั้นให้เป็น Common Space สำหรับทุกคนเหมือนกัน แต่ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างด้วยเรื่องของงบประมาณอย่างแรก ก็อาจจะทำได้เพียงปีละครั้ง ทำได้ในเรื่องของการจัดอีเว้นท์ หรือการจัดเทศกาล แต่จริง ๆ แล้วเป็นงานที่เราพยายามจะให้คุณค่ากับทุกคนให้มาอัพสกิล รีสกิล แล้วก็พยายามเอาคนในชุมชน อย่างคุณป้า คุณน้า คุณยายที่เขาทำงาน ถ้าเราไม่มองไปแล้วเราก็จะไม่เห็นให้เขามาอยู่ตรงนี้ก็ได้รับการชื่นชมและได้รับความภูมิใจ เขาก็ออกมาเจอกับนักออกแบบรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้น ทั้งเจนเก่าและเจนใหม่เขาได้มาเจอกันในงาน แล้วเขาได้มาแลกเปลี่ยนในส่วนของความคิด ไอเดียต่าง ๆ ถ้าเจนเก่าเขาก็ได้ถ่ายทอดงานอย่างเจนใหม่ ก็เป็นเหมือนกุศโลบายอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ทุกคนได้เข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกัน

เหมือนที่นิวพูดไปเมื่อสักครู่นี้ว่าเหมือนเราค่อย ๆ ส่งไม้ต่อในเรื่องภูมิปัญญาแบบไม่ต้องยัดเยียด เพราะว่า เขาเข้ามาด้วยเหตุผลอื่นอาจจะมาแสดงความสามารถของตัวเอง อย่างที่เขามาเจออย่างอาจารย์ช้าง บายศรี ที่เขามีความสามารถเยอะมาก หรือคนไทยที่ทำเรื่องจักรสาน ซึ่งเด็ก ๆ ไม่เคยรู้มาก่อนเมื่อเขามากันตรงนี้แล้วก็เกิดความสงสัย และมีการพูดคุย คือมีอยู่เคสนึง ที่มีกลุ่มคุณยายเขาไม่อยากออกมาในงาน เราก็ไปขอร้องมา พอมาปีแรกเท่านั้น ก็ถามว่าปีหน้าจัดอีกไหมอยากมาอีก ก็ถามว่า ทำไมถึงอยากมาคะ เพราะเขาเพิ่งรู้ว่าตัวเขา แล้วก็ความสามารถของเขา ทำให้เขารู้สึกภูมิใจในตัวเองได้มากขนาดไหน

แทนที่จะเป็นคนแก่นั่งจักรสานกุบ อยู่ใต้ถุนบ้านไปวันๆและขายกลุ่มได้เพียงแค่ 80 บาทแต่จากจุดตรงนั้นมา ทำให้เขารู้สึกว่าเขาต้องพัฒนาไปให้เยอะกว่านี้ เพราะเขาเห็นงานอื่น ๆ จนทุกวันนี้กลุ่มวิสาหกิจนั้นค่ะ กลุ่มวิสาหกิจที่ทำกุบ สามารถสร้างมูลค่า จากการพัฒนาตรงนั้น ขึ้นมาขายใบละ 1,000 บาท เราก็รู้สึกว่าตรงนี้เป็น Common Space ได้ เพราะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาเรียนรู้กับเขาด้วย

Unlock – ปลดล็อก ประเทศไทย

คุณ อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า เรื่องแรก คือ คนแพร่เองต้องหาคำตอบที่ค่อนข้างชัดเจน คือ จะโตไปอย่างไร จะโตไปทางไหน จะอยากได้ อยากเป็นอะไร

เรื่อง 2 คือ คนแพร่เองเมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องบอกกับคนข้างนอก แล้วก็ฟังเสียงจากคนข้างนอกด้วย เพราะท้ายที่สุดแล้วแพรไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวแพร่ก็ต้องมีเพื่อนบ้าน เพื่อนบ้านโอเคไหม กับสิ่งที่ฉันประกาศตัวออกมา ถ้าเราสามารถสื่อสารกับคนข้างนอก

คุณ วิเชียร เชิดชูตระกูลทอง ปธ.กิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สอท./ รองปธ.สภาอุตสาหกรรมเชียงใหม่ กล่าวว่า ชแค่รู้ว่าตัวเองเป็นใครมีจุดเด่นอะไร อัตลักษณ์อะไร มีทรัพยากรที่มีคุณค่าอะไรบ้างคนที่เก่ง ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ เสร็จแล้วขั้นต่อไป ความยั่งยืน คือ ลงทุนให้เกิดรายได้ ถ้าเราไม่มีรายได้ เราไม่สามารถเคลื่อนตรงนี้ได้ แต่เป็นการลงทุนรายได้ ที่สามารถเลี้ยงชุมชนแล้วก็แฟร์ในการที่จะกระจายรายได้ เพราะความเหลื่อมล้ำที่ว่านี้ ถ้าตรงไหนที่เดือดร้อน เขาก็มีแฟไพรส์ ที่จะแบบเอาสัก 0.5% เพื่อจะจ่ายเป็นกองกลางเพื่อลดปัญหาต่าง ๆ มีรายได้เข้ามา ก็ทำงานต่อไปได้ยั่งยืน

ถ้ามีการสร้างกองทุนเพื่อการลงทุนแบบเชิงประชาสังคม จะยั่งยืน ไม่ต้องรองบจากรัฐ อย่างเดียวนี่เป็นงบที่เราได้จากรายได้ของเราเอง แล้วเราหมุนต่อ ประเด็นอะไรที่เกิดที่เราคิด ต้องมีการหมุนมีรายได้และให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำ แล้วก็รีสกิลคนให้มันทำลงมาให้ได้ 3-4 ท่าน ก็ขอส่งต่อในทุกเจนของของท่านด้วย

ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล หัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายการกระจายอำนาจฯคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต ถ้าพูดเรื่อง ปลดล็อค เราก็ต้องยอมรับว่าเราจะให้รัฐมาปลดล็อคไม่ได้ เราจะให้ให้ทุนทางธุรกิจจากทุนข้างนอก ทุนใหญ่หรือปลดล็อคก็ไม่ได้เราปลดล็อคได้ด้วยตัวเราเอง หรือภาคประชาชน ภาคประชาสังคมนี้แหละลุกขึ้นมาปลดล็อค ด้วยประการอะไร

ประการที่ 1 ต้องเชื่อมั่นตัวเองก่อนต้องเชื่อมั่นว่าบนวิถีการที่ที่เรารวมเข้าหากันเชื่อมโยงกันเครือข่ายภาคประชาชนเปิดกว้างแบบเป็น inclusive ร่วมมือทั้งภาคเอกชนทั้งภาครัฐให้เข้าใจกันภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง เชื่อมั่นตนเอง ประการที่ 1 เรื่องความเชื่อ

ประการที่ 2 คือ ทำอะไรที่เป็นกิจสาธารณะทำร่วมกัน เราต้องการพื้นที่กลางและต้องการพื้นที่ปัญหาตรงไหน จะต้อง จะแก้ใช้กระบวนการในเครื่องมือกันหลายอาชีพบางส่วนก็พูดลุยกันไป พยายามทำกันไป ให้มันเกิดผลงอกเงยขึ้นมา หลายจังหวัดทำเกิดผลพรุ่งนี้ขึ้น ที่สุดแล้วภาครัฐก็มาใช้โครงการที่คุณคิดนั่นแหละที่เสนองบประมาณก็ไหล มาตรงนั้น

คือ เราทำออกมาให้มันเห็น ซึ่งก็ทำให้พี่น้องใน จ.แพร่ ส่วนอื่นๆ ที่ยังไม่เข้ามาก็จะเข้ามา มีความเชื่อ ในโครงสร้างแบบประเทศไทย ภาคประชาชนจะเหนื่อยมากเป็นพิเศษ แต่ต้องเหนื่อย ทุกจังหวัดก็เป็นอย่างนี้ แพร่มีความเป็นไปได้ที่เหนื่อยแล้วได้ผล ผลเชื่ออย่างนั้น

คุณ ธีรวุธ กล่อมแล้ว  สมาคมรักษ์เมืองเก่าแพร่ กล่าวว่า ปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่เฉพาะคนแพร่ ถ้าใช้ระบบโครงสร้างแบบเดิมที่เราบริหารจัดการมาทั้งประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี 2500 เราก็รู้แล้วว่าเป็นยังไง เมื่อเราเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา ไม่ใช่เฉพาะคนแพร่ ทุกคนต้องออกมาจาก พื้นที่ปลอดภัย เพราะบ้านของตัวเอง ต้องออกมาช่วยกัน ปรึกษาหารือกัน แล้วก็มาสร้างสรรค์ในสิ่งที่ควรจะเป็น ผมว่าน่าจะเป็นทางออกเพราะว่าถ้าเราไม่ส่งเสียงไม่มีใครได้ยินเสียงของเรา ต้องออกจากพื้นที่สาธารณะที่มันมีความปลอดภัยแล้วก็มาช่วยกันส่งเสียง

คุณ นันทนิจ บอยด์ ผู้ก่อตั้งแพร่คราฟท์ และ แบรนด์ Natcharal กล่าวว่า ยังเชื่อในเรื่องศักยภาพของคน เพราะฉะนั้น ถ้าจะปลดล็อคได้อยากให้มีพื้นที่ที่มีการพัฒนาศักยภาพของคน ไม่ได้บอกว่าคนที่มี ณ ขณะนี้ไม่มีศักยภาพ แต่เราต้องการมากกว่านี้ นั่นหมายความว่าพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่กลาง แต่ว่ามันควรจะมีพื้นที่ที่ใช้สำหรับให้ทรัพยากรบุคคลในแพร่ได้มาใช้แล้วก็เกิดการพัฒนาในด้านของความคิดของเขาด้วย เพราะว่าถ้าคนไม่ได้ ไม่ได้เริ่มที่ความคิดก่อนว่า อยากจะปลดล็อคตัวเองอย่างไร หรือว่าอยากจะพัฒนาตัวเอง หรืออยากจะพัฒนาเมืองยังไง ต่อให้จะได้รับนโยบายหรือว่าการช่วยเหลือจากข้างนอกมากมายขนาดไหน ถ้าคนไม่พุชความสามารถ หรือศักยภาพของตัวเองออกมา มันจะปลดล็อคไม่ได้

คุณ นวพร สุวรรณรัตน์ ผู้ผลิตสุราท้องถิ่นแพร่และนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า เรายังเชื่อว่า เราต้องปลดล็อคตัวเราเองก่อน คนเมืองแพร่ทุกคนจะต้องรู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ มีเสียง ที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของเมืองนี้ด้วยกันได้ บ้านเมืองเป็นของเราทุกคน มันจะนำไปสู่การส่งเสียงที่ดังขึ้นการพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ ยังไงถ้าตัวเองไม่เชื่อว่าตัวเองมีสิทธิ์ ที่จะทำสิ่งนั้นได้ การปลดล็อคว่าตัวเองมีอำนาจกำหนดการพัฒนาด้วยตนเอง มันไปต่อใน Step โครงสร้าง ที่มันบีบรัด สามารถเปลี่ยนสถาปัตยกรรมทางอำนาจนี้ได้

ถ้าเปรียบเมืองแพร่เป็นเหมือนบ้าน บ้านหลังนี้มันเป็นบ้านไม้สักที่ทรุดโทรม มันก็ต้องมีการปรับปรุงมีสมาชิกหลาย ๆ คนที่มาร่วมกันมีพื้นที่กลางพื้นที่ในการ แสดงออก แสดงความคิดเห็น เราปลดล็อคแล้ว ว่าเราทำได้เราก็ช่วยกันใครช่วยในส่วนไหนได้เราก็ทำทำร่วมมือกันซ่อมแซมบ้านหลังนี้ แล้วเราก็เชื่อว่าบ้านหลังนี้ก็ยังยังมีความหวังอยู่ สำหรับคนทุกคนทุกช่วงวัย ต้องปลดล็อคตัวเอง แล้วก็ยังเชื่อว่าแพร่ ยังเป็นเมืองแห่งความหวังที่เรายังหวังได้อยู่

เรื่องของแพรวันนี้ หลายท่านอาจจะนึกถึงหลาย ๆ จังหวัดที่อยากจะพัฒนาตัวเอง แต่มันยังติดล็อคในเชิงโครงสร้างหลายอย่าง แต่ส่วนสำคัญ คือต้องเริ่มจากคนในพื้นที่ นี่คือส่วนสำคัญที่เราได้ฟังจากหลายท่านในวันนี้

อยากรู้จักแพร่มากขึ้นอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดอนาคตเมืองแพร่สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและรับชมย้อนหลังได้เพราะก่อนหน้านี้มีจัดเวทีในพื้นที่ไปแล้ว รับชมผ่านเว็บไซต์ Local Thai PBS

แชร์บทความนี้