รายการฟังเสียงประเทศไทยวันนี้อยู่ที่ภาคอีสาน คุยกันในประเด็นที่มีชื่อว่าการงานเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตในอีก 5 ปี ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ประเด็นที่เราจะคุยกันมีความสำคัญอย่างมากซึ่งวันนี้ทุกท่านจะได้ร่วมฟังเสียงเพื่อพัฒนาการงานคุณภาพชีวิตของคนพิการ
ความสำคัญของรายการฟังเสียงประเทศไทย เสียงที่ถูกเปล่งออกมาทุกท่านจะได้ยิน เป็นเสียงที่พวกเราจะฟังกันเมื่อฟังกันแล้วเราเชื่อมั่นว่าทุกคนจะเกิดแนวคิดจะเกิดความหมายจะเกิดขึ้นในหัวใจของทุกคนแล้วทีนี้เราก็มาคุยให้กันฟัง แล้วเราก็จะได้มาออกแบบร่วมกัน
เมื่อพูดถึงการงานและคุณภาพชีวิตคนพิการท่านนึกถึงอะไร
พงศกร เวชประดิษฐ์ นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นชำนาญการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี “โดยข้อความที่ผมให้คำจำกัดความไปคือ “สิ่งอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบ”เพราะผมมองว่าคนพิการนั้นมีหลายรูปแบบ ถ้าด้วยความสะดวกในทุกรูปแบบที่เขาพึ่งจะได้ไม่ว่าจะเป็น สื่อ อุปกรณ์ ตั้งแต่สิ่งที่อยู่รอบตัวเขา เครื่องใช้ไม้สอยครัวเรือน ห้องน้ำ ห้องครัว สิ่งที่อยู่รอบบ้าน ยานพาหนะ ที่ทำให้เขาเดินทางได้สะดวกหรือสิ่งคมนาคม ที่ทำให้เขาเดินทางได้ไกลขึ้น หรือนโยบายที่ดีๆจากรัฐบาลจากองค์กรท้องถิ่นทุกรูปแบบเพื่อทำให้เขาได้มีชีวิตดีขึ้นได้ มีโอกาสในการเรียนรู้เท่ากับสังคมรอบด้านนี้ก็เป็นอยู่มีความเท่าเทียมกันโดยมีการเลือกปฏิบัติสิ่งเหล่านี้จะทำให้เขามีทั้งชีวิตโดยไม่ต้องร้องขอจากใครๆโดยเฉพาะครับ ซึ่งเขาจะพึ่งพาตัวเองได้ อย่างสมเหตุสมผลและยั่งยืน “
ฐิติรัตน์ ดิศโยธิน ผู้จัดการศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดอุดรธานี “2-3 วันที่ผ่านมาเขาจะพูดถึงกฎหมายเกี่ยวกับคนพิการที่ปรับปรุงมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีการปรับปรุงเพิ่มเติมอยู่ เขาจะพูดถึงว่าเมื่อก่อนกฎหมายจะพูดถึงการสงเคราะห์แต่ส่วนใหญ่ใช่ไหมคะแต่ปัจจุบันนี้ กฎหมายจะคำนึงถึงสิทธิที่ควรจะได้ของคนพิการเพราะว่าคนพิการ เขาไม่ได้ต้องการการสงเคราะห์อย่างเดียวก็ต้องการสิทธิที่เขาพึงมีพึงได้”
รจนา วรวิทย์ศรางกุล พยาบาลวิชาชีพด้านการสอนชำนาญการพิเศษ อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
“สิ่งที่เขียนลงไปคือคำว่าสังคมให้โอกาสอย่างเท่าเทียม สิ่งที่เรารู้สึกหรือทุกครั้งแม้กระทั่งหรือเราใช้คำว่า
ผู้พิการความรู้สึกของผู้ถูกเรียกหรือความรู้สึกของคนที่เรียกมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นมนุษย์หรือสิทธิของความเป็นมนุษย์และศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน ดังนั้นสังคมควรจะมองว่าคนทุกคนคือคนที่เท่าเทียมกันแล้วให้โอกาสหรือให้สิทธิต่างๆกับทุกๆคนเท่าเทียมกันโดยที่ไม่ได้มองเรื่องของการความพิการมาเป็นอุปสรรคหรือเป็นสิ่งที่กีดกั้นความรู้สึกและต้องให้โอกาสแล้วก็ยอมรับในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน”
กัญนภพ อุ่นแก้ว นายกสมาคมคนตาบอดจังหวัดอุดรธานี “ผมอยากให้คำนึงถึงความรู้ ความรู้เรื่องของคนพิการ รู้ว่าคนพิการมีมากกว่า 1 มีมากกว่าที่ท่านเห็น มีความจำกัด มีความแตกต่างของความพิการ มีความรุนแรงของความพิการแต่ละประเภทความพิการ แตกต่างกันไปอันนี้เรื่องแรก เรื่องที่ 2 ก็คือ ความเข้าใจความเข้าใจถึงบุคคลที่ขาดโอกาส เบื้องต้นความเป็นจริงนั้นบุคคลที่ขาดโอกาส ที่ในความเป็นจริงต้องการความช่วยเหลือหรือไม่แต่นะครับสิ่งต่างๆเหล่านี้สังคมเข้าใจหรือไม่ถ้าไม่เข้าใจประเด็นพวกนี้ก็ยังมีอีกเยอะที่จะต้อง 5 ปีไม่รู้ว่าจะเห็นความขยับขับเคลื่อนใกล้เคียงกันหรือเปล่า ความถูกต้องเหมาะสมคำว่าถูกต้องเหมาะสมโดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจหรือกลุ่มบุคคลที่ถูกได้รับการให้บริการคนพิการ ท่านจะต้องมีความถูกต้อง ความถูกต้องหรือความเป็นธรรมหรืออื่นๆที่ท่านปฏิบัติต่อหน้าที่รวมถึงความเหมาะสมกฎหมายอย่างเดียวบางส่วนอาจจะเป็นปัญหาในการใช้การเขียนกฎหมายไม่รู้ว่าครอบคลุมหรือเหมาะสมหรือไม่ในการจัดการเพื่อนสังคมที่เป็นคนพิการ โอกาสที่จะให้หรือแต้มต่อต่างๆที่จะให้พื้นฐานความคิดของบุคคลในสังคมที่มีความเข้มแข็งมีเหนือกว่าอยู่แล้วเนี่ยมีพื้นฐานความคิดเช่นนี้หรือไม่ถ้าไม่มีควรจะทำกระบวนการอย่างไรโอกาสนอกเหนือจากให้คนพิการแสดงความรู้ความสามารถในเวทีต่างๆแล้วโอกาสในการเข้าถึงการทำงานโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาโอกาสในการเข้าถึงการพัฒนาตนเอง สังคมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้โอกาสแค่ไหนนะครับในความเป็นความพิการเป็นคนพิการ เงป็นความมั่นคงยั่งยืนคนพิการจะมั่นคงยั่งยืนได้อย่างไรเป็นกลุ่มไหมชวนกันเป็นกลุ่มชมรมองค์กรนะครับและองค์กรต่างๆมีความรู้ความสามารถในการบริหารการจัดการหรือไม่ถ้ามีมีอย่างไรและจัดการอย่างไรในพื้นที่หรือในองค์กรของเขารวมถึงตัวของคนพิการเองด้วยที่มีอาชีพทำหรือไม่มีความรู้ในการบริหารการจัดการตนเองหรือไม่ พวกนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญผมถึงบอกว่าท่านตั้งโจทย์มาน่าสนใจสุดท้ายก็คือความมั่นคงเป็นสุขอย่างยั่งยืนของคนพิการโดยเฉพาะคนพิการไทยถ้าสังคมเปิดโอกาสเปิดความคิดให้ความคิดหรือให้ความเข้าใจประเด็นต่างๆ”
รัตนาวดี นาใจแก้ว ชมรมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาจังหวัดอุดรธานี “สิ่งที่นึกถึงของนึกถึงคนพิการ ก็คือว่าคนพิการต้องมีงานทำ อันนี้คือในเรื่องของการมุ่งเน้นไม่ว่าจะเป็นปัจจัยหลายๆอย่าง คือการจ้างงานของคนพิการไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบมาตรา 33 35 หรือ 34 ก็ตามแต่การใช้งานมาตราต่างๆ คนพิการของเราก็อยากมีการจ้างงาน อยากให้แนะนำหรือว่าส่งเสริมในการจ้างงานในจังหวัดแล้วก็การส่งเสริมแบบเหมาจ่ายในสถานประกอบการ เพราะว่าคนพิการของเราบางคนก็สามารถออกไปทำงานข้างนอกได้บางคนไม่สามารถออกไปทำงานข้างนอกได้คืออยากให้สนับสนุนในการจ้างงานในครอบครัว เหมือนเป็นงบประมาณมาเพื่อที่จะให้เขามีรายได้หรือว่าสร้างอาชีพที่สามารถประกอบอาชีพที่บ้านได้ อยากให้สนับสนุนในเรื่องนี้”
นายหมวดตรีรุจิรา สรุจิกำจรวัฒนะ ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี “ในนามเอกชน ก็ทราบว่ารัฐบาลก็พยายามสนับสนุนให้งบประมาณต่างๆ มาส่งเสริมสนับสนุนคนพิการเป็นเรื่องของอาชีพ กู้ยืมหรือว่าปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยให้มีสภาพที่คนพิการอยู่ได้แต่มันก็ยังไม่เพียงพอ เพราะว่าคนพิการก็มีจำนวนมาก ถึง 8 ประเภท ในส่วนของภาคเอกชนได้รับทราบว่าหลายชมรมในอุดรธานี ก็พยายามที่จะศึกษาหาความรู้แล้วก็หาอาชีพให้ตัวเองได้อยู่ได้ไม่เป็นปัญหาของสังคม แล้วทางเอกชนก็ได้ไปร่วมงานหลายๆชมรมก็เห็นถึงหัวใจของเขาไม่ได้พิการเลย ร่างกายพิการจริงๆแต่หัวใจและความคิดไม่ได้พิการเลย เขาเก่งมากเขาสามารถทำอาชีพสร้างอาชีพแล้วก็ส่งเสริมในกลุ่มของเขาให้เป็นรายได้ เพราะเอกชนที่มีโอกาส ก็อยากให้เข้ามาสนับสนุนต่อยอดในเรื่องของนวัตกรรมเพราะเขาทำได้ในระดับหนึ่งแต่ถ้าหากว่ามีคนที่มีความรู้ความสามารถ สามารถต่อยอดส่งเสริมและพัฒนาเขาก็เชื่อว่าคนพิการจะมีอาชีพมีรายได้และสามารถเลี้ยงครอบครัวแล้วก็ดูแลกันเองได้อย่างมั่นคงยั่งยืน แล้วโดยเฉพาะคนพิการที่ได้ร่วมงานกันบ่อยๆก็จะเป็นของสมาคมโรงเรียนคนพิการ เห็นเขาพัฒนาการมาตลอดสินค้าบางอย่างที่เคยเห็นเป็นการสานตะกร้าธรรมดามากราคาที่ไปขายอยู่ตลาดจริงใจก็ไม่แพง แต่วันนี้เขาได้รับการต่อยอดสนับสนุนให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ยกระดับขึ้นจนสามารถนำไปขายในระดับต่างประเทศแล้วก็ทั่วประเทศในจังหวัดทั่วประเทศแล้วก็ต่างประเทศด้วย ก็ขอให้เอกชนที่มีความรู้ความสามารถส่งคนมาช่วยคนพิการ คนพิการที่เขามีความสามารถและเขามีอาชีพอยู่แล้ว”
ผศ.ดร.นพรัตน์ ธรรมวงษา อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี “เป็นส่วนงานที่ขับเคลื่อน ตอนนี้ที่ทำอยู่คือที่ปรึกษายุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน 2 ทางภาครัฐในการจัดทำแผนไม่ว่าจะเป็นแผนขับเคลื่อนพัฒนาและแผนงบประมาณวันนี้ตั้งใจมาฟังคืออยากฟังเสียงของทุกๆท่านเพื่อเราไปขับเคลื่อนในแผนในระนาบในส่วนของจังหวัดให้มันเกิดการขับเคลื่อนในส่วนของ 5 ปี อันนี้คือเป้านึงที่อยากมานั่งฟังวันนี้ฟังจากหลายๆท่านมาแล้วอยากให้เห็นภาพของทางภาครัฐว่าทางหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด เราอยากขับเคลื่อน เราอยากทำให้เกิด คำที่ผมพิมพ์ไปคือคำว่าคุณภาพชีวิตเพราะว่าเป้าหมายที่เราอยากให้มันเกิดขึ้นเราอยากให้มันเกิดขึ้นก็คือพลเมืองที่มีคุณภาพของจังหวัดอุดรธานีสิ่งหนึ่งที่เราต้องทำคือเราต้องเติมเต็มให้กัน งานอะไรที่มันยังขาดอยู่ที่มันเห็นภาพช่องว่ามันยังไม่เต็มเราเสนอเข้ามาทางภาครัฐเรายินดีในการสนับสนุนและขับเคลื่อนไปด้วยกัน”
อาจารย์ชาคริยา พันธ์ทอง อาจารย์ประจำหลักสูตรพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี “มุมมองที่อยากจะแลกเปลี่ยนและอีก 5 ปีข้างหน้าและภาพชีวิตคนพิการ สุขสมดุลแล้วก็มีความหมาย ความสุขน่าจะเกิดที่จริงๆแล้วไม่ว่าจะเป็นคนพิการหรือคนปกติ ทุกคนมีความสามารถและศักยภาพของตัวเอง อยากให้คนพิการเป็นของตัวเอง ก็อยากจะให้คนพิการได้ทำงานตามความถนัดความสนใจ เพื่อให้เขาเกิดความสุขจากการทำงานมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการได้ทำในสิ่งที่ถนัดและสนใจคือช่วยให้เขาค้นพบความถนัดความชอบความสนใจของตัวเองแล้ว เราก็มองว่าความสมดุลในชีวิตก็คือการมีสุขภาพ กาย ใจ ความคิด กินนอนหลับตื่นได้อย่างเป็นปกติ มิติด้านในมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนรอบข้างแล้วก็จะทำให้เขามีความสุขมากขึ้นแล้วสุดท้ายเมื่อได้ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดมีชุดความคิดต่อการใช้ชีวิตที่พอดีพอเพียงแล้วก็อยู่กับอยู่กับสิ่งที่ตัวเองได้รับเนี่ยได้ก็น่าจะเป็นมิติข้างในที่ทำให้เขาจะมีความสุขได้แล้วก็สุดท้ายเขาน่าจะพบค้นพบการมีอยู่อย่างมีความหมายของตัวเองได้มากขึ้นเป็นที่พึ่งให้ตัวเองได้และก็แบ่งปันสิ่งดีๆของตัวเองให้ผู้คนรอบข้างได้ อันนี้ก็อยากจะเห็นภาพแบบนี้เกิดขึ้น”
นอกจากที่นี่แล้วเรายังมีคำที่เกิดจากผู้ร่วมออนไลน์ เมื่อวานนี้เราได้โพสต์กันไปมี เป็นกลุ่มคำและเป็นประโยคส่วนใหญ่ ทางออนไลน์ส่งเข้ามา
- เรื่องรายได้คนพิการ
- เท่าเทียม คุณภาพชีวิตสังคมต้องให้โอกาสอย่างเท่าเทียม
- การพูดถึงการมีนโยบายที่เป็นรูปธรรมเพื่อคนพิการ
- ความเข้าใจสิทธิในการกินอิ่มนอนอุ่น
- งาน หางานทำได้ยาก
- คนพิการน่าจะต้องมีสัตว์เลี้ยงคู่ใจ
- แนวทางในการสร้างรายได้ให้กับคนพิการ
- สิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่สิ่งอำนวยความสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข
ฉากทัศน์ การงานเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตการ ในอีก 5 ปี
ฉากทัศน์ที่ว่าด้วยเรื่องของการงานและคุณภาพชีวิตของคนพิการ ฉากทัศน์ 3 ฉากทัศน์ คือความเป็นไปได้หรือโอกาสที่มันจะเกิดขึ้นอันเกิดจากปัจจัยแวดล้อม เหตุผลจากปีนี้จนถึงอีก 5 ปีข้างหน้าว่า ณ วันนี้เราเห็นอะไรเกี่ยวข้องกับการงานและคุณภาพชีวิตคนพิการแล้วอีก5ปีข้างหน้า คุณคิดว่ามันจะเป็นไปได้หรือไม่
ฉาก A เรียกภาคชุมชนแรงงานเป็นกำลังหลัก
ฉากทัศน์ B เอกชนและนายจ้างเป็นกำลังหลัก
ฉากทัศน์ C รัฐและภาควิชาการเป็นกำลังหลัก
ถ้าสนับสนันชุมชนแรงงานเป็นกำลังหลักทุกท่านจะขยายมุมมองและแนวคิดนี้อย่างไร
ฉากทัศน์ A ภาคชุมชนแรงงานเป็นกำลังหลัก
ธัญชนก นามวงศ์ สมาคมรวมใจคนพิการจังหวัดอุดรธานี ขยายความฉากทัศน์ A
ถ้าใช้คำพูดเราจะใช้คำว่าเข้าถึง คนพิการมีสิทธิมีนโยบายหลายๆนโยบายให้กับคนพิการ แต่คนพิการเข้าไม่ถึงไม่ว่าจะเป็นมาตรา 35 การจ้างงานคนพิการหรือว่างบประมาณต่างๆที่ลงมาสู่พื้นที่คนพิการไม่ได้สามารถเข้าถึงได้ หากคนพิการท่านไหนที่เข้าถึงได้ ได้รับการพัฒนาก็จะบอกว่าเขาสามารถพัฒนาได้เขาสามารถเป็นแรงงานที่สำคัญให้กับประเทศชาติอย่างของทางสมาคมกำลังใจเราจะมุ่งเน้นในการลงพื้นที่ฝึกอาชีพคนพิการกว่าจะออกจากบ้านได้โอกาสมีน้อยมากปีนึงได้รับงบประมาณ 1 ครั้ง หลายองค์กรหลายๆเครือข่ายคนพิการขาดโอกาสขาดโอกาส 1 ในเรื่องงบประมาณคนพิการขาดโอกาสในด้านการศึกษา มีจัดให้แต่เข้าไม่ถึง อย่างที่ท่านอาจารย์ท่านบอกว่าเข้าไม่ถึงโอกาสนี้เป็นสิ่งสำคัญถ้าสังคมชุมชนและภาครัฐและภาคเอกชนวิชาการให้โอกาสคนพิการเข้าถึงทุกอย่าง คนพิการสามารถเป็นกำลังหลักได้และได้รับการพัฒนา เวทีที่เข้าไปร่วมเสวนาหรือว่าเข้าไปร่วมให้การจากความคิดเห็นก็จะบอกว่าคนพิการขาดโอกาส ไม่ว่าภาครัฐภาคเอกชนหน่วยงานต่างๆพยายามที่จะให้โอกาส แต่ไม่ถึงตามชนบทก็ต้องบอกว่าประเทศไทยของเราภาคอีสาน จะมีผู้พิการจำนวนเยอะมากและเป็นผู้พิการที่ไม่ได้รับการศึกษา จำนวนเยอะมากจากประสบการณ์ที่เราเข้าไปทำงานในการช่วยเหลือคนพิการเราจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับเรื่องอาชีพก็จะบอกว่าคนพิการ ถ้ามีอาชีพสามารถช่วยตัวเองได้เมื่อตัวเองแข็งแรงเข้มแข็งสามารถโยนโอกาสให้กับสังคม แต่เราต้องมองตัวเราก่อนว่าเมื่อสังคมให้โอกาสคนพิการท่านนั้นจะรับโอกาสที่ทางสังคมมอบให้ไหม ทางรัฐบาลมอบให้ไหม ทางองค์กรเครือข่ายคนพิการมอบให้ บางครั้งโอกาสที่มาถึงแต่ก็คว้าไม่ได้ ก็ต้องบอกว่าสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นแต่โชคดีของสมาคมดวงใจคนพิการจังหวัดอุดรธานีที่เราได้รับโอกาสจากเซ็นทรัลทำเป็นโครงการที่ดีต่อสังคมไม่ใช่เฉพาะคนพิการ ทุกคนที่เป็นผู้ด้อยโอกาสผู้สูงอายุกลุ่มโรงเรียนก็สามารถเข้าโครงการนี้ ก็อยากจะส่งถึงไปที่ชุมชนเข้มแข็งคนพิการมีส่วนร่วมให้โอกาสคนพิการ
ฉากทัศน์ B เอกชนและนายจ้างเป็นกำลังหลัก
ดร.ชานนท์ เศรษฐแสงศรี รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ขยายความฉากทัศน์ B
ในฐานะที่เป็นรองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานีมานานพอสมควรก็ได้เข้าร่วมกับสมาคมและก็กิจกรรมกับผู้พิการมีหลายครั้ง ก็ได้เห็นความพยายามความอดทนความตั้งใจ ประเทศไทยมีอยู่หลายภาค ภาคอีสานที่ใหญ่ที่สุด และประชากรมากที่สุด เมื่อมีประชากรมากโอกาสที่จะมีคนเกิดใหม่ที่เป็นคนไม่สมบูรณ์เป็นคนพิการก็มาก และส่วนหนึ่งก็เราก็อยู่ใกล้ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราพบบ่อยคือยาเสพติด สารเสพติดที่มาพร้อมกับคนที่พร้อมจะเป็นคนพิการด้วย มันก็เลยเพิ่มจำนวนประชากรคนพิการในเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่เราในฐานะที่เป็นองค์กรเอกชน มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับ สถานประกอบการไม่มีข้อมูลคนพิการ อันนี้เป็นเรื่องจริงครับทำอย่างไรจะมี big data ที่เกี่ยวกับคนพิการ พิการอะไรสามารถที่จะทำอะไร คือพวกเราอยากจะเห็นคนพิการมี upskill reskill และมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับความสามารถของเขา เพื่อเราจะได้จับและเลือกเข้ามาร่วมทำงานได้ สิ่งหนึ่งที่ทั่วประเทศเลือกคนงานที่เป็นคนต่างด้าว ซึ่งเราสามารถที่เลือกได้หลายประเทศรอบบ้านเรา แรงงานถูกด้วย เพราะฉะนั้นประเด็นนี้คือในระหว่างแรงงานต่างด้าวกับแรงงานคนพิการ ถ้าเปรียบเทียบผู้ประกอบการเป็นเลือกใคร คือโจทย์ที่อยากจะฝากไว้ว่าทำอย่างไร ที่เราจะเห็นให้ให้พวกเราเห็นว่าคนพิการมีความสามารถและก็มีฐานข้อมูลที่เราที่จะเลือกใช้ได้จริงๆ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด มีทุกจังหวัดได้พัฒนาผู้พิการไปกี่คนแล้วเป็นร้อยละเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ ประเภทไหนบ้าง แม้แต่สถาบันราชภัฏมีคนพิการเข้ามาเรียนไหมหรือมีลูกหลานผมก็พิการเข้ามาเรียนไหม เรียนแล้วทัศนคติเขาเป็นอย่างไรบ้าง เขายังเหมือนเดิมไหม หรือจะเปลี่ยนไปอย่างไร อยากเห็นmy set ของผู้พิการที่อัพสกิลขึ้นมาแล้วว่ามีแนวโน้มจะให้เป็นตัวเลือกที่ดีของผู้ประกอบการไหม เพราะฉะนั้นในฐานะผู้ประกอบการในทางเอกชน ก็อยากจะเห็นข้อมูลว่าผู้พิการมีศักยภาพด้านใดบ้างอะไรบ้าง ที่เราจะเลือกได้ ในต้องยอมรับว่าหลังจากเราผ่านภาวะโควิด 19 มาผู้ประกอบการก็ย่ำแย่หลายราย เราจะเห็นว่าถนนบางสายนี้ปิดไปหมด มีไม่กี่เจ้าที่เปิด คือเป็นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แม้กระทั่งผู้ประกอบการเองก็พยายามช่วยเหลือตัวเองอยู่แต่ในขณะที่ต่างคนต่างช่วย แล้วก็มองไปถึงชุมชนของของคนพิการด้วยว่าอ่ามีอะไรบ้างที่ที่เขามีความเข้มแข็งที่เราสามารถที่จะรับรู้และเรียนรู้และนำมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะพัฒนาด้วยกัน แล้วก็เป็นตัวเลือกให้เราได้เลือก ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่อยากจะเห็นว่าในฐานะเอกชนในกระบวนการประกอบธุรกิจ อยากจะได้คนพิการไปทำงานเพื่อจะไม่ต้องจ่ายเงินในมาตรา 34 เพราะฉะนั้นเราไม่มีทางเลือกเราก็เลือกเอา 34 ก็ยกให้ทางฝ่ายวิชาการ ฝ่ายรัฐบาลกลับไปดำเนินการต่อไป
ฉากทัศน์ C รัฐและภาควิชาการเป็นกำลังหลัก
ผศ. ดร.ธวัช สุทธิกุลสมบัติ คณะทำงานกำหนดวาระการประชุมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดอุดรธานี ขยายความฉากทัศน์ C
ทั้ง 3 ส่วนที่เห็นกัน เวลาเราพูดถึงฉากท่านทั้ง 3 ฉาก เราเห็นแล้วใช่ไหมว่ามันมีฉากทัศน์3อัน แต่ถ้าเราเอาฉากมาเรียงลำดับเราจะพบว่า ภาพที่ 3 ตัวการสำคัญเห็นได้ว่าเข้าไปถึงยังไม่รู้ข้อมูลจริงๆ แล้วหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางด้านวิทยาการเป็นฉากทัศน์ที่ 3 ที่ควรจะต้องพูดระดับหนึ่งด้วยซ้ำไป เพราะว่าฉากทัศน์ที่ 3 เกี่ยวข้องกับภาคหน่วยงานและภาควิชาการคือทางด้านที่เป็นตัวกำหนดทั้ง 3 อัน ผมคิดว่าหน่วยงานของรัฐและนักวิทยาการควรจะเป็นเซ็นเตอร์ในการเรียนเชิญทั้ง 2 3 ส่วนที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วมาจัดการเรื่องนี้อันดับแรก เพราะว่าเรื่องต่างๆทำไม่ได้เลยชุมชนเองก็ทำไม่ได้ ถ้าไม่มีอะไรการสนับสนุน หนุนเสริมจากภาครัฐภาคเอกชนก็ทำอะไรไม่ได้เพราะว่าถ้าไม่ได้ข้อมูลฐาน ข้อมูลจากภาครัฐพิการจัดการเพราะฉะนั้นฉากทัศน์ที่ 3 เป็นฉากทัศน์ที่สำคัญมาก ผมคิดว่าฉากทัศน์นี้เป็นส่วนสำคัญของหน่วยงานภาครัฐที่จะต้องมาร่วมกันคิด แล้วไม่ต้องร่วมกันทำ ต้องแบ่งกันทำ ร่วมกันคิดแล้วแบ่งกันทำ ร่วมกันคิด หมายความว่าเราจะต้องได้ข้อมูลของผู้พิการทั้งหมด ท่านไม่มีส่วนร่วมนั้นแล้วเราต้องได้ข้อมูลจากสถานประกอบการทั้งหมดที่มีการจ้างงานมีการทำ CSR ที่ต้องเข้ามาจัดการกันร่วมกันไม่ใช่มองภาพของข้อมูลในมิติที่ต่างกันแล้วหลังจากได้ข้อมูลแล้วสภาอุตสาหกรรมหน่วยงานของเอกชนจะทำCSRยังไง ชุมชนมีผู้พิการเท่าไหร่ อปท.ดูแลอยู่เท่าไหร่ จะต้องนำข้อมูลไว้ตรงกลางร่วมกันแล้วก็มาใช้ หน่วยงานมาใช้วางแผนร่วมกันแล้วแยกกันไปทำ ผมคิดว่าสำคัญตอนนี้ เราเห็นตัวเลขเมื่อสักครู่เราเห็นตัวเลขเยอะแยะเลย 64,766 คนที่มีงานทำตอนนี้สิ่งที่เราเห็นมันยังไม่เพียงพอ ผมคิดว่าตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่แบบฉาบฉวยมาก ถ้าหน่วยงานภาครัฐทำจะต้อง monitoring หรือไล่ตามระดับบุคคล เพราะฉะนั้นที่ จข.สาธารณสุขจะต้องการให้เห็นเลยว่าผู้พิการคนนี้ ผู้พิการระดับ ประเภทไหนใน 7 ประเภท อยู่ในระดับไหน ตอนนี้เรายังไม่ทำ anycast ของผู้พิการเรายังไม่ได้ทำเราแค่จัดประเภทเท่านั้น ผู้พิการทางสายตาสายตามีหลายพิการ พิการแบบเคลื่อนไหวมีตั้งแต่เคลื่อนไหวแบบชนิดเคลื่อนไหวแบบไม่ได้เล อันนี้ยังไม่ได้ monitoring ข้อมูลประเภทนี้จะต้องลงมาสู่ในระบบmonitoring ขอย้ำครับเป็นรายคนไม่ใช่มาบอก 46,000 อุดรธานีมีผู้พิการ 49,000 คนมันก็ต้องตอบให้ได้ว่าใครอยู่ที่ไหน เราถึงจะเอาข้อมูลนั้นแจกแจงไปให้เพื่อวางแผนร่วมกันในส่วนหนึ่งภาคอุตสาหกรรมภาคเอกชนจะช่วยเข้ามาจัดการยังไง ภาคชุมชนจะต้องรู้ รู้ไม่ใช่ไม่ใช่ให้ข้อมูลอย่างเดียวรู้ว่าใน อปท. ของเรามีพิการอยู่แค่ 3 ประเภทเท่านั้นเองแล้วก็มีอะไรครับผู้พิการระดับไหนชื่ออยู่ที่ไหนบ้านอยู่ที่ไหนลูกอยู่ที่ไหนพ่อแม่ผู้ที่รับผิดชอบของเขา อีกส่วนหนึ่งไม่ใช่มีงานทำเฉพาะผู้พิการ ผมคิดว่าอีกส่วนหนึ่ง คือผู้ดูแลและผู้ปกครอง บางทีผู้พิการไม่สามารถจะจัดการเรื่องอาชีพเรื่องอะไรได้ เราต้องมองคนที่เป็นผู้ปกครองผู้ที่ได้รับบัตรดูแลผู้พิการพวกนี้ ถ้าเขามีอาชีพเขาก็สามารถจะดูแลผู้พิการได้ผมคิดว่าฉากทัศน์ทั้ง 3 ฉากทัศน์จะต้องเริ่มต้นการทำงานอย่างจริงจังแล้วก็เริ่มต้นฉากที่ 3 ผู้ที่เป็นประสานงานในการจัดการพวกนี้ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
เปิดใจคุยกัน open talk
ท่านเห็นด้วยหรือท่านเปลี่ยนแปลงไปจากครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 แบบไหนเกี่ยวกับการพัฒนาเรื่องงานและคุณภาพชีวิตคนพิการ
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี “เลือกฉากทัศน์ C ทั้งสองครั้ง เพราะว่าคนพิการเป็นจุดศูนย์กลาง คือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าการดำรงชีวิตคนพิการ บางคนก็ไม่รู้จะดำเนินชีวิตไปในทางไหนเพราะต้นทุนชีวิตของคนเราไม่เท่ากัน การที่คนพิการเป็นจุดศูนย์กลางก็น่าจะโอเคที่สุดแล้ว คนพิการคือให้มีชีวิตที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เป็นจุดศูนย์กลางอาจจะให้โอกาสหรือเปิดโอกาสให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำหรือเปิดโอกาสให้เขามีโอกาสในการทำงานมากยิ่งขึ้น”
อาจารย์ศิรินทิพย์ คำมีอ่อน คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี “จริงเราเลือกตั้งแต่ฉากC ตั้งแต่ครั้งแรกแล้วพอหลังจากการที่เราได้ดูวีดีโอยังไม่เห็นเลยว่าฉากซี จะเป็นกลไกสำคัญในการที่ตอบโจทย์เพราะเรารู้เลยว่าการรีสกิลอัพสกิล ต้องอยู่ที่ในหน่วยของสถานศึกษาหรือว่าในหน่วยของวิชาการที่จะต้องเสริมและเติมให้กับผู้พิการของเราและที่สำคัญหน่วยงานของภาครัฐที่มีนโยบายหรือ policy ลงมาที่ต้องตอบโจทย์ซึ่งกันและกัน เห็นหลายๆครั้งว่าภาคเอกชนหรือแม้กระทั่งในชุมชน ศักยภาพของผู้พิการพอตอบโจทย์ขึ้นมาก็ไปทำงานในหน่วยงานไม่ได้มีการในเรื่องของว่าตรงต่อตำแหน่งที่เขาอยากได้ สิ่งหนึ่งที่ท่านวิทยากรที่ขยายฉากทัศน์ให้เห็นว่าถ้าเมื่อไหร่ที่เราข้อมูลใดๆจากที่เกี่ยวข้องแล้วในหน่วยวิชาการรับทราบแล้วอย่างโครงการนี้หรือหน่วยงานนี้บริษัทอยากได้ผู้พิการที่มีสมรรถนะหรือมีความเชี่ยวชาญมีความชำนาญ หรือมีทักษะทางด้านไหนบ้างหน่วยวิชาการที่ช่วยเสริมและเติมกำลัง รีสกิลและอัพสกิลของเขาให้เตรียมพร้อมในการที่เขาจะออกไปทำงานแล้วตอบโจทย์แล้วเขาสามารถที่จะถูกจ้างงานแล้วมีรายได้ด้วยตัวของเขาเอง การที่เราจะเริ่มต้น เริ่มต้นที่หน่วยงานของวิชาการหรือแม้กระทั่งหน่วยงานของ policy ของรัฐที่ลงมา รัฐบอกว่าถ้าคุณไม่จ้างงานคุณจ่ายเงินตามมาตรา 34 แต่ตอนนี้คำว่าจ่ายเงินตามมาตรา 24 มันลงไปที่ผู้พิการแต่จริงๆแล้วที่ท่านประธานชมรมบอก คือ ไม่เห็นจริงๆ ไม่เห็นข้อมูลจริงๆ ในส่วนนี้มันคืออะไร แต่การที่เราอยากให้มันถึงคนพิการแล้วเขาอยู่ด้วยตัวของเขาเองได้ อันนี้สำคัญที่สุดคือการเขาได้งานทำเอง มีรายได้เองเป็นตัวของเขาเองจะสร้างความยั่งยืนแล้วก็ความมั่นคงให้กับเขาด้วยจุดเริ่มต้นอยู่ที่นักวิชาการและหน่วยงานของรัฐ”
กัญนภพ อุ่นแก้ว นายกสมาคมคนตาบอดจังหวัดอุดรธานี “ผมเลือกฉากทัศน์ A ผมขอขยายคุณธัญชนก คือเรื่องชุมชนเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนพิการจริงๆแล้วตัวของคนพิการเวลาเขาประสบปัญหาที่จะเกิดความพิการ รัฐยังไม่รู้จักเขา เป็นกลุ่มคนพิการเป็นกลุ่มชุมชนนายกจี๊บเป็นคนแนะนำให้ไปตรวจดูว่าท่านพิการจริงหรือเปล่า แพทย์จะเป็นคนวินิจฉัยว่าพิการหรือไม่พิการ แต่ตอนนี้ประเด็นมันก็คือชุมชน ในกรณีว่าถ้าเจอแล้วเรื่องการแนะนำ มันเป็นกำลังใจ เป็นสิ่งที่ทำให้คนพิการรู้แล้วว่าเรามีเพื่อนรู้ว่าเราจะไปช่องทางใด มันก็เกิดกำลังใจเกิดสิ่งที่เขาอยากจะเป็น นอกเหนือจากเขามีกำลังใจแล้วร่างกายความคิดเขาดีขึ้นหรือเขาได้รับการแนะนำมีเพื่อนมีกลุ่มบุคคลโดยเฉพาะกลุ่มคนพิการเหมือนกัน แล้วตัวของเขาเองก็จะเข้าสู่กระบวนการของรัฐ ผมได้ยินท่านอาจารย์ ดร. พูดผมก็ยิ่งชอบว่าต้องจริงจัง รัฐต้องจริงจังจากการจัดหางาน ถ้าไปดูรัฐก็ต้องจัดหางาน แต่ว่ารัฐยังไม่จ้างคบ เป็นตำแหน่งเป็นหมื่นกว่าหน่วยงานรัฐ ดังนั้นแม้แต่รัฐหลายเรื่องก็ไม่ปฏิบัติ แต่ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ ดร. บุคลากรต้องมีคุณภาพมีประสิทธิภาพมีความรู้และมีเจตคติที่ดีต่องานที่ดีคนพิการอาจจะสื่อไปถึงองค์กรต่างๆ ดังนั้นผมถึงเลือกชุมชน
กลุ่มคนตาบอด เราพาหมอนวดไปนวดให้กับผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เขามีความสุขและเราก็ได้รับการจ้างงานจากหลายบริษัท แต่ส่วนหนึ่งการจ้างงานลักษณะมาตรา 33 หรือ 34 35 ส่วนใหญ่ไปอยู่ที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเพราะบริษัทเหล่านั้นเข้าข่ายมากกว่า 100:1 ไปกองกันอยู่ที่กรุงเทพฯ ดังนั้นส่วนหนึ่งพี่น้องหมอนวดตาบอดเราพากันเข้าไปในกรุงเทพฯส่วนใหญ่ ดังนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ชุมชนจะต้องมองว่าจ้างเขามาช่วยเหลือสังคมช่วยเหลือกันในชุมชนได้ทั้งใจได้ถึงตัวกำลังใจของคนพิการ ผมบอกแล้วว่าคนพิการนอกเหนือจากสภาพร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมของเขาเป็นองค์ประกอบสำคัญมากดังนั้นผมก็เลือกฉาก A”
ว่าที่ร้อยโทสุธรรม ลครรำ พานิชย์จังหวัดอุดรธานี “อาจจะมองต่าง ผมมองในเรื่องของโจทย์ ถ้าบอกว่าเป็นเรื่องของการงาน ผมมองในในเชิงของพาณิชย์ ผู้พิการนั้นเมื่อมีโอกาสมีศักยภาพมีความสามารถ ดังนั้นถ้าจะพูด คือตลาดนำการผลิต ฉะนั้นตัวแรงงานที่จะเกิดขึ้นมานั้นมันก็คือเกิดจากความต้องการของภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการที่จะจ้าง ผมมองในแง่นี้ แต่ถามว่าฉากทั้ง 1 และ 3 มีความสำคัญซึ่งเชื่อมโยงกันทั้งนั้น แต่ถ้าหากว่ายกมาเริ่มมิติการงาน ผมมองว่าภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการนี้ต้องการแรงงานอย่างไร มีทักษะหรือมีสกิลอย่างไรบ้าง จะเป็นตัวตอบ คนพิการเมื่อดูความต้องการของตลาดแล้วการที่ว่าตัวเองมีขีดความสามารถในตรงนั้นไหม ถ้าไม่มีภาครัฐก็ต้องเข้ามาดูแลเพื่อให้ตรงกับความต้องการเพราะจากที่ฟังท่านตัวแทนของสภาอุตสาหกรรมก็พูดเหมือนว่าฐานข้อมูลผู้พิการว่ามีศักยภาพมีอะไรอะไรอย่างต่างๆ ก็คือเหมือนกับยังไม่มีฐานข้อมูลพวกนี้อยู่ก็เลยอาจจะมองต่าง ถ้าเกิดว่าในส่วนนี้ เราเอาเรื่องงานแต่เรื่องพัฒนาการหรือคุณภาพนั้นผมแยก ถ้าเกิดว่าเป็นภาพรวมใหญ่แน่นอนของรัฐต้องมาก่อน แต่มาเจาะลึกในเรื่องของงานผมมองว่ามันควรที่จะเป็นของผู้ประกอบการเสนอความต้องการมา แล้วในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าภาครัฐหรือสมาคมของผู้พิการ เหมือนรับโจทย์มาเมื่อรับมาเสร็จเรียบร้อยในสมาชิกของเราสามารถตอบโจทย์นั้นได้หรือไม่ ถ้ายังไม่ได้ต้องปรับปรุงต้องแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร”
วิยะดา นันทมาตย์ ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดอุดรธานี “ในส่วนหนึ่งเราอยู่ในประเภทที่ 7 ซึ่งผู้พิการของเราตอนนี้เลือก C เพราะว่าในส่วนหนึ่งเหมือนที่ของว่าผู้พิการซึ่งเราเป็นตัวแทนเป็นคุณแม่โดยตรง พูดถึงคุณภาพชีวิตและการทำงานของคนพิการเมื่อเรามองย้อนกลับไป ทุกกระบวนการหรือว่าสิ่งต่างๆเป็นการสำรวจ เป็นการสำรวจเบื้องต้นว่าคนพิการแต่ละประเภทนี่มีความต้องการหรือว่าความถนัดแตกต่าง ความถนัดหรือว่าความแตกต่างกันเพราะว่าแต่ละประเภทนี่คือถ้าจะเป็นการจ้างงานหรือการทำงานซึ่งมีโอกาสได้ไปอบรมกับทางพมจได้จัดนะคะเกี่ยวกับโครงการการจ้างงานต่างๆเนี่ยค่ะเมื่อเรามามองย้อนในส่วนของเราที่เป็นออทิสติก ซึ่งเราก็เลยเสนอไปบอกว่าในเรื่องของการทำงานเพราะเด็กๆของเราหรือว่าบุคคลออทิสติกนี่มีอยู่ 3 ระดับนะคะมีทั้ง 10% นะคะถ้าจะบอกว่าอย่างนี้ 10% ก็คือในส่วนของดีนะคะแล้วก็มีของส่วนของในเรื่องของไอ้ระดับกลางแล้วก็ระดับที่แบบว่าต้องการความช่วยเหลืออย่างมากนะคะซึ่งตรงนี้ราคาเด็กของเราทั้งถูกการจ้างงานนี่ในระดับที่เป็น 10% นี่ก็สามารถที่จะจ้างงานได้โดยตรงนะคะแล้วก็มาส่วนของกลางหรือว่าแม้แต่คนที่เป็นเยอะจริงๆนะคะเราก็เลยบอกว่าการจ้างงานมีหลากหลายรูปแบบนะคะหลากหลายรูปแบบซึ่งถ้ามองในส่วนของเราที่เป็นศูนย์กลางของคนพิการนี่เราถ้ามีการสำรวจเบื้องต้นนะคะว่าเมื่อเราสำรวจความต้องการหรือว่าความพิการเบื้องต้นในระดับความเป็นของเรานี่เราก็จะสามารถปรับในการทำงานนะคะปรับในการทำงานเพราะว่าแต่ละที่แต่ละเด็กๆของเรานี่ในการทำงานที่ได้เสนอไปนะคะว่าอย่างของออทิสติกส์นี่บางทีเราอาจจะไม่ได้เข้าไปทำงานในส่วนของโรงงานหรือว่าสถานประกอบการต่างๆแต่เสนอบอกว่าเป็นไปได้ไหมว่าอย่างเราครอบครัวที่มีเด็กออทิสติกอยู่ในชนบทหรือว่าตามบ้านเนี่ยค่ะเขามีมีที่ไร่ที่นาเนาะถ้าพูดถึงมีที่ไร่ที่นาเนี่ยค่ะเป็นการส่งเสริมให้กับผู้ประกอบการในเรื่องของการปลูกต้นไม้อย่างเงี้ยค่ะการสร้างคาร์บอนเครดิตอย่างนี้ค่ะซึ่งเขาสามารถดูแลต้นไม้ให้กับทางโรงงานทางที่สถานประกอบการต่างๆ ได้อย่างนี้ค่ะมันมีทางเลือกหลายอย่างให้กับลูกๆหลานๆของเราอย่างนี้ค่ะพี่ดูแลได้เพราะว่าเด็กๆบางทีไม่สามารถที่จะเข้าไปทำงานในสถานประกอบการต่างๆนะคะซึ่งมันก็วกเข้ามาในส่วนของที่เป็นของภาครัฐแล้วก็ภาควิชาการนี้เป็นการสำรวจเบื้องต้นว่าเด็กๆหรือว่าคนพิการของเรานี่มีความจำเป็นนะคะที่จะมีการจ้างงานแบบไหนยังไงเป็นฐานข้อมูลแล้วก็จะส่งต่อให้กับภาคเอกชนไปได้เนี่ยค่ะแล้วก็สามารถเลือกที่จะไปทำงานในแบบต่างๆตามความสามารถของเด็กเหล่านั้นได้”
สุมนชาติ แสงปัญญา ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี “ก็เป็นคนที่อยู่ในภาครัฐนะครับในฉากทั้ง 3 ฉากนี้ก็ล้วนมีความสำคัญทั้งหมดเลยนะครับไม่ว่าจะภาครัฐภาคเอกชนนะครับแล้วก็อ่าพวกเราได้พูดอภิปรายกันก็ล้วนแต่มีเป้าหมายเดียวกันก็คือว่ายกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการนะครับซึ่งการที่จะได้ข้อมูลที่แม่นยำเนี่ยก็ต้องมาจากข้อมูลของชุมชนนะครับแสดงว่าเลือกเอแล้วก็นอกจากนั้นนะครับคือการเข้าถึงนี่แหละครับสำคัญซึ่งคำว่าเข้าถึงเนี่ยก็ท่านประธานสมาคมได้พูดแล้วคำนี้นะครับการที่จะทำให้ข้อมูลหรือการเข้าถึงเนี่ยไม่ว่าจะการดูแลกันของคนพิการในพื้นที่นะครับการขาดโอกาสที่พี่น้องคนพิการที่จะออกจากบ้านไปประกอบอาชีพเนี่ยนะครับอ่านี่คือความความเรียกว่าหาโอกาสเพราะฉะนั้นถ้าชุมชนเข้าถึงนะครับการให้บริการหรือว่าหน้าที่การงานต่างๆหรืออาชีพที่จะสนับสนุนส่งเสริมพี่น้องคนพิการเนี่ยก็จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครับเพราะฉะนั้นชุมชนนะครับแล้วก็ตัวพี่น้องคนพิการเองนั่นแหละสำคัญที่สุด
ผมเห็นตามอาจารย์ได้พูดถึงคือเรื่องของCครับ และเลือกCครั้งแรกอยากให้มองย้อนนะว่า นโยมายเกิดจากการแสดงความต้องการนะครับทั้งความต้องการที่เกิดจากชุมชนตัวบุคคลนะครับท่านไปถ่ายภาพลักษณ์เนี่ยเราจะมี sdg ใช่ไหมครับ 17 เป้าหมายจะมีวันแพลนนะครับเป็นมาสเตอร์ในการทำงานซึ่งจะมีแผนอย่างถึงปี 80 ฉะนั้นการจะทำแผนเป็นเรื่องสำคัญมากเกิดจากชุมชนคือแผนชุมชนหมู่บ้านที่เป็น จปฐ.นะครับกจ2ค.นะครับเป็นแผนพัฒนาท้องถิ่นแผนพัฒนาตำบลนะครับซึ่งมีนายอำเภอดูแลอยู่ จังหวัดมีท่านผู้ว่าผู้ว่า CEO นะครับแผนพัฒนาจังหวัดนะครับทั้งสิ่งนี้ครับภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญครับ อนาคตเราจะพัฒนาเป็น software เป็น application เป็นสำรวจพื้นที่ซึ่งไม่มีกองกำลังพื้นที่นะครับอย่างเช่นอสม.คณะที่ทำงานอยู่นะครับ สวัสดิการสังคมกองสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมนะครับท่านนายกสมาชิกสภาอบต.เหล่านี้ครับคือบุคคลสำคัญที่มาในพื้นที่ปลัดอำเภอประจำตำบลนะครับที่จะมองเห็นภาพที่สำคัญและสวย ในระดับอำเภอนะครับ เนี่ยคือหัวใจพื้นที่ครับ อาจารย์ภาครัฐอย่างมหาลัยราชภัฏอุดรธานีที่ขับเคลื่อนอยู่อย่างพี่ตุ้ยครับทำงานในภาคสังคมนี้มานานแล้ว พมจ.สำนักงานส่งเสริมพื้นที่อุดรธานีนะครับช่วยขับเคลื่อนและเทศบาล อบต. อบจ.นะครับสิ่งที่จะให้เกิดความสามารถของเทศบาลนะครับก็คือ อบจ.รับผิดชอบเป็นพี่ใหญ่ใจดี โครงสร้างที่เข้มแข็งอยู่แล้วนะครับถ้าเราขับเคลื่อนในภาครัฐอย่างถูกต้อง มาดึงบุคคลหรอตั้งแต่ที่จะเป็นนิสิตนักเรียนอยู่เลยดูแล้วทิศทางครับเขาจะไปทางไหนเขาโตด้านไหนได้ ถ้าให้พ่อแม่เขาไปนำเข้าข้อมูลทางเจ้าหน้าที่ของรัฐทางเจ้าหน้าที่เทศบาลอบตเป็นเพราะข้อมูลก็เก็บสะสมครับมันจะเป็น big data สำหรับเด็กคนนั้นซึ่งเราใช้ฐานธงปัจจุบันคือ ID 13 หลักจะสังเกตได้ดีครับสิ่งนี้คือหัวใจครับรักการทำงานอยู่ทางรัฐชั้นจะมีฟังก์ชันต่างๆเยอะแยะมากมายครับเราดึงข้อนี้เป็นรวบรวมนะครับซึ่งภาครัฐจะดึงข้อมูลของฝ่ายผู้จัดการดึงข้อมูลจากภาพภาคประชาชนนะครับซึ่งเขามีโครงการหลายแบบหลายระดับอยู่ดึงมาครับถ้าอยู่ในแผนและเราสามารถกำหนดทิศทางว่าจะให้หน่วยเทศบาลอบตหรืองานที่เกี่ยวข้องนั้นลงไปในมิติแต่ให้มากขึ้นนะครับอย่างเช่นมองทางปฏิบัตินะครับอย่างอบจก็มีจ้างงานคนพิการในการทำงานจริงนะครับอย่างผมไปบรรยายที่เทศบาลเมืองสวนน้ำคำก็มีจ้างลูกจ้างจริงซึ่งเป็นคนพิการนะครับขาแกสูงไม่เท่ากันแต่ท่านนั้นใจของเรามันเก็บภาพทั้งภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวภาพมายกโป้ให้เลยครับกดไลค์ใช่กดแชร์นะครับแล้วบุคคลเหล่านี้มาหลายท่านเป็น influencer ในระดับพื้นที่ความสามารถสร้างรายได้สร้างมูลค่าและเขาสามารถเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้ด้วยบุคคลนี้คือเขามีมูลค่าจากตัวตนเขาเองครับก็ตรงตามโจทย์ด้วยว่าเขาไม่ต้องการพึ่งพาใครแต่เขาต้องการสิ่งทุกอย่างที่มีรอบตัวเขาอำนวยให้เขาสามารถแสดงศักยภาพตัวเองได้มากขึ้นเพราะสิ่งนี้คือสิ่งที่ต้องไปคู่ขนานกันครับงั้นสิ่งนี้ผมมองว่า c คือหัวใจ”
ฐิติรัฐน์ ดิศโยธิน ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนจังหวัดอุดรธานี “ฉากAเพราะว่าเราเป็นองค์กรเพื่อคนพิการนะคะดิฉันชื่อธิติรัตน์ เป็นผู้จัดการศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนจังหวัดอุดรธานี ที่นี้ถามว่าการปฏิบัติการของเราในการที่จะไปค้นหาคนพิการเนาะแต่ว่าเราทำยังไงอันดับแรกเราก็ไปที่พมจ.ไปขอขอข้อมูลและก็พอไปแล้วก็ไปที่ท้องถิ่นและปรากฏว่าท้องถิ่นส่วนใหญ่นะคะต้องขออนุญาตพูดว่าเขามีข้อมูลคนพิการแต่เขาไม่ได้แยกแยะประเภทคนพิการแล้วก็ไม่ได้แยกแยะเอ่อคุณสมบัติแล้วก็ศักยภาพของคนพิการเพราะฉะนั้นสิ่งที่เราอยากเห็นก็คือว่าเค้าไม่ต้องให้ความสำคัญคนพิการทุกระดับทุกกลุ่มเป้าหมายยังครอบครองทำเรื่องเอ่อผู้จัดการสติปัญญาใช่ไหมครับจดทะเบียนประเภท 5 ซึ่งถามว่าเขารู้จักไหมเขาก็รู้จักอยู่แต่เขาไม่รู้ว่ามันมีปัญหายังไง ต้องการยังไงเพราะฉะนั้นเราก็เลยไปให้ความสัมพันธ์แล้วก็ไปไปเล่าให้ฟังว่าคุณต้องดูแลแบบนี้แบบนี้แล้วเรามีทางเลือกให้คือเรามีศูนย์สงเคราะห์อันนี้คือวิธีการที่ว่าถึงคนสำคัญก็คือตกคนพิการเองอันดับ 1 นะคะแล้วก็ท้องถิ่นท้องถิ่นยังไงเราต้องให้ความสำคัญเขาแล้วก็ไปค้นหาข้อมูลแล้วก็ข้อมูลแล้วก็รวบรวมสิ่งที่เขาต้องการขึ้นมาเพื่อจะนำเสนอต่อทางภาครัฐด้วยแล้วก็ภาคเอกชนด้วยของเราเนี่ยเราก็มีการจ้างงานตามมาตรา 35 นะคะซึ่งเราได้เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปีทุกปีเพราะว่าเป็นความสามารถขององค์กรของเราเองในการที่ไปดิวกับนายจ้างแล้วเขาทำนายให้นายจ้างภาคภูมิใจว่าเขาน่ะทำสิ่งดีๆกับคนพิการนะคะปัจจุบันนี้เราตอนนี้เราเริ่มต้นจาก 6 คนตอนนี้เราได้ 34 คนอัตราจ้างเพราะฉะนั้นถามว่าเพราะอะไรเพราะอะไรจ้างเขามาเห็นว่าเงินของเขาเนี่ยมันมีคุณค่าสำหรับคนพิการและครอบครัวเขาก็เพิ่มให้เพิ่มให้เพราะเท่าไหร่ให้หมด ที่มีคุณสมบัติในการทำงานเนี่ยได้หมดเพราะฉะนั้นว่าสิ่งที่สำคัญคือว่าเราต้องไปทำให้นายจ้างเห็นว่าเขาจะต้องให้ความสำคัญเรื่องการจ้างงานคนพิการเพราะว่าอยู่ๆเขาจะคิดเองเนี่ยเขาคิดไม่ได้เพราะว่าดิฉันมีน้องชายอยู่ที่ไฟฟ้านะเขาบอกว่าไฟฟ้าในมีอัตราจ้างเยอะมากในประเทศไทยแต่เขาเลือกที่จะเอาเงินเข้ากองทุนเพราะมันมันมันง่ายใช่ไหมคะโอนเข้าไปเลยตัดยอดตัดยอดส่งส่งแต่การที่จะมาจ้างคนพิการทำงานเนี่ยมันจะต้องมาทำสัญญาจ้างจะต้องมาติดตามนู่นนี่นั่นเอ่ออย่างที่ตอนนี้ก็คือทางจัดหางานจังหวัดจะต้องมาตรวจสอบแล้วก็มามาดูว่าคนพิการจริงไหมทำงานจริงไหมแล้วก็ทำเอกสารส่งให้นายจ้างซึ่งดิฉันคิดว่ามันก็เป็นหน้าที่แล้วก็ควรจะต้องทำอันนี้ก็สรุปว่าทุกส่วนเนี่ยสำคัญหมดแต่ถามว่าเอ่อมันจะเริ่มต้นตรงไหนแล้วก็จะไปตรงไหนแต่จริงๆแล้วคือคนพิการจะต้องต่อสู้ด้วยจะต้องนำเสนอแล้วก็องค์กรเพื่อคนพิการก็ต้องทำด้วยอุปกรณ์ดิฉันน่ะเป็นภาคเอกชนนะคะแล้วก็เคยเป็นภาครัฐด้วยเคยอยู่ภ.ง.จเพราะฉะนั้นดิฉันจะซาบซึ้งกับงานทุกระดับทุกประเภทเพราะฉะนั้นการสร้างให้คนเข้าใจมนุษย์เนี่ยมันดีที่สุดเพราะฉะนั้นจบจากความสงเคราะห์ธรรมศาสตร์ด้วยค่ะ”
นิตยา ชูเลิศ นักสังคมสงเคราะห์ ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดอุดรธานี “สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี ที่แรกเลือกฉากที่ 2 ทีนี้ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นฉากที่ 3 จริงๆแล้วทุกฉากในการทำงานร่วมกับคนพิการมีความสำคัญทั้งหมดไม่ได้มีส่วนใดส่วนหนึ่งสำคัญที่สุดแต่ทุกส่วนมีความสำคัญเท่ากันตั้งแต่ครอบครัวเลยค่ะเจตนาคติที่ดีที่ต้องมีตั้งแต่แรกคือครอบครัวตัวอย่างสร้างคนพิการมีศักยภาพเชื่อหรือยังว่าถ้าไปประเมินความพิการแล้วไปจดทะเบียนแล้วมีบัตรคนพิการจะทำให้คนพิการได้รับการพัฒนาในฐานะที่เป็นคนทำงานที่ลงพื้นที่สัมผัสกับครอบครัวคนพิการทุกตำบลยังไม่ครบทุกหมู่บ้านนะคะทุกตำบลในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีเจอเยอะมากที่ครอบครัวไม่เชื่อว่าคนพิการเนี่ยถ้าไปเรียนหนังสือเขาจะมีความรู้จะพัฒนาได้หรอเขาเป็นแบบนี้นะติดเตียงแบบนี้จะฟื้นฟูได้หรอติดเตียงแบบนี้ฉันยากนะที่จะเอาเขาไปประเมินความพิการฉันก็มีข้อจำกัดเพราะฉะนั้นครอบครัวค่ะคำว่าครอบครัวหรือชุมชนเป็นฐานเนี่ยสำคัญมาก
ถ้าเปลี่ยนแล้วคนพิการมาสู่การจดทะเบียนคนพิการมีบัตรก็จะเข้าติดที่ต่างๆที่กฎหมายกำหนดหรือหน่วยงานต่างๆที่จะให้โอกาสเขาในการทำงานหรือคนพิการจัดเข้าถึงโอกาสต่างๆเนี่ยค่ะถ้าไม่มีบัตรก็ไม่มีสิทธิ์ผู้กำหนดนโยบายก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ทุกอย่างนะคะ จุดไม่ว่าจะคนพิการเองครอบครัวคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่มีชื่อระบุในบัตรผู้กำหนดนโยบายให้ความสำคัญเรื่องนี้มากค่ะเพื่อที่จะให้คนพิการเนี่ยเข้ามาถึงติดนะเพราะฉะนั้นทุกอย่างนะคะสำคัญทั้งหมดเลยแต่จุดเริ่มต้นนะคะอยู่ที่ครอบครัวทีนี้พอมาถึงในเรื่องของการจ้างงานคนพิการถูกไหมคะการทำงานเนี่ยพอสถานประกอบการในหลายสถานกำหนดเลยค่ะต้องเป็นคนพิการประเภทนั้นประเภทนี้เป็นประเภทความพิการติดต่อหรือพฤติกรรมประเภทที่ 4 ไม่ได้รับการจ้างงานนะคะฉันไม่เลือกถ้าเลือกแล้วแล้วมาออกอาการอยู่ในสถานประกอบการเพื่อนร่วมงานจะเป็นยังไงนะคะใครจะควบคุมถ้าไม่ทานยาเขาก็ถูกจำกัดหรือบางสถานประกอบการก็มาจำกัดเขาด้วยวุฒิการศึกษาแล้วถ้าคนพิการไม่ได้รับการศึกษาตั้งแต่แรกล่ะค่ะจะเข้าถึงไหมคะในเรื่องของการสร้างงานก็เข้าไม่ถึงถึงต้องเกิดอาชีพอิสระไงคะอ่าเงินกองทุนที่ทางสถานประกอบการส่งเข้ามาเนี่ยก็ให้คนพิการมาเข้าถึงเพื่อที่จะกู้ยืมไปประกอบอาชีพอิสระโดยที่ไม่มีดอกเบี้ยเพราะฉะนั้นเขาถูกจำกัดด้วยอ่าการศึกษาเจตนาคติที่มีตั้งแต่อยู่ในชุมชนนะคะก่อนที่จะออกมาถึงหน่วยงานรัฐหรือสถานประกอบการหรือผู้กำหนดนโยบายเพราะฉะนั้นทุกฉากทัศน์สำคัญทั้งหมด”
อาจารย์คมสัน ตันติชูเกียรติ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี “เป็นตัวแทนของสาขาวิชาแล้วก็กลุ่มวิศวกรสังคมผมเลือก scenario 3 นะครับแต่จริงๆทุก serio เนี่ยเป็นกลไกเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนประสานสอดประสานกันอยู่แล้วไม่มีกลไกไหนเด่นกว่ากันนะครับแต่นึกว่าส่วนตัวนะครับจะไม่ค่อยชอบใช้คำว่าผู้พิกลผู้พิการผมจะหลีกเลี่ยงแล้วก็จะใช้คำว่าผู้ต้องการความช่วยเหลือแทนซึ่งเขาต้องการความช่วยเหลือเนี่ยเราก็ต้องมาดูว่าเขาต้องการความช่วยเหลือด้านไหนด้านการมองเห็นด้านการเคลื่อนไหวจะไปรับฟังครับลงชุมชนไปรับฟังว่าเขาต้องการในชุมชนเนี่ยเขาต้องการอะไรเพื่อมายกระดับคุณภาพชีวิตหรือมายกระดับคุณภาพการงานของเขาซึ่งเมื่อลงไปในชุมชนแล้วเนี่ยทางกลุ่มชุมชนยกตัวอย่างของท่านประธานเนี่ยก็ต้องการเครื่องตัดเส้นพลาสติกซึ่งเครื่องตัดเส้นพลาสติกเนี่ยสามารถที่จะมาเพิ่มกำลังการผลิตให้กับกลุ่มของเขาแล้วก็เพิ่มคุณภาพสินค้าให้กับเขาดังนั้นแล้วเราในฐานะวิศวกรสังคมเนี่ยก็มาสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับคุณภาพการงานของเขาครับเพราะฉะนั้นทุกๆคนไกลทุกๆฟันเฟืองสำคัญหมด”
ไพฑูรย์ ธนพงศ์ภากรณ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี “ยังยืนยันเลือก A ทั้ง 2 ครั้งนะครับทุกส่วนสำคัญหมดขาดไม่ได้เลยนะครับแต่อีน่าจะเป็นตัวสารตั้งต้นก็คือตัวตนครอบครัวนะครับแล้วก็ชุมชนสำคัญมากในการที่จะสร้างอาคารของคน 1 คนนะครับผมว่าประเทศไทยของเรานั้นน่ะถือว่าสุดยอดอะไรในโลกนี้นะครับออกทั้งกฎหมายออกทั้งระเบียบปฏิบัติต่างๆนะครับให้กับเอื้อต่อคนพิการทั้งหมดนะครับส่วนให้เอกชนนั้นเขาก็ทำตามกฎหมายแค่นั้นเองเพราะว่าเป้าหมายก็คือเรื่องของธุรกิจก็เป็นกำไรนะครับแม้แต่การไฟฟ้าก็ยังไม่รับคนพิการนะจะเอาเงินเข้าไปเพราะว่าก็ยังเป็นผลประโยชน์ของเขาที่ต้องทำงานไฟฟ้าให้มันได้ A สำคัญที่สุดก็คือตัวตัวของผู้พิการและครอบครัวแล้วก็ชุมชน
กัญนภพ อุ่นแก้ว นายกสมาคมคนตาบอดจังหวัดอุดรธานี “การที่เราตั้งโจทย์เนี่ยก็คือโจทย์เนี่ยการงานนะครับการงานยกระดับสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตอันนี้ถ้าผมอ่านผิดก็คือตัวหนังสือท่านไม่เด่น ถ้าอย่างนี้การงานเนี่ยผมบังเอิญว่าที่ผมพูดไปสนับสนุนเองครั้งแรกเนื่องจากงานมันอยู่ในชุมชนชุมชนได้ส่วนอื่นเป็นการสนับสนุนรัฐเป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการที่จะต้อง ผลักดันให้เกิดขึ้นเพื่อคนของรัฐเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีดังนั้นการที่ชุมชนเขามีโอกาสได้ทำงานเนี่ยได้ทำเนี่ยมีความสุขทั้งครอบครัวคนพิการได้งานอยู่ที่บ้านเนี่ยมีความสุขพ่อแม่ได้อยู่ใกล้พ่อแม่ได้อยู่ใกล้พี่น้องได้อยู่ใกล้เมียเนี่ยอันนี้เป็นความสุขเพราะท่านก็เหมือนกัน คนพิการเราก็เหมือนกันอยากจะอยู่ใกล้พี่น้องมีความสุขดังนั้นวิธีคิดพวกนี้เนี่ยเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งนะครับเรื่องชุมชนบอกว่าชุมชนจริงๆชุมชนเนี่ยถ้าระยะหนึ่งก็คือคนอยู่ในกลุ่มหนึ่งนะครับอยู่ใกล้กันแต่ว่าชุมชนของคนพิการจริงๆเนี่ยอาจจะอยู่ห่างกันอย่างเช่นชุมชนคนตาบอดจังหวัดอุดรธานีเนี่ยมีทั้งเกือบทุกหมู่บ้านในจังหวัดอุดรธานีนะครับดังนั้นเนี่ยก็คิดว่าชุมชนเนี่ยอาจจะมองอีกชุมชนหนึ่งว่าชุมชนคนพิการที่เขาได้มาฝึกอบรมร่วมกันเขาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเนี่ยทำให้เขามีความรู้สึกดีขึ้นเรทติต่อความพิการต่อสังคมต่ออื่นๆดีขึ้นอันนี้ก็ช่วยให้เขายกระดับตนเองขึ้นเรื่อยๆดังนั้นก็เป็นที่มาในหัวข้อนี้”
ความเห็นจากทางออนไลน์ คุณกุลชาติ เค้นา ทำหน้าที่เป็นเหมือนดิจิตอล normat แล้ว เป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแล้วก็ทำงานอยู่แบบไม่อิงพื้นที่ มีความชี่ยววชาญด้านดิจิตอลให้ความเห็นบอกว่า “ขอบคุณที่ทำให้ได้ฟังเสียงในแง่มุมที่ค่อยได้ฟังเลย” แปลว่ายังคงมีคนต้องการความรู้ข้อมูลความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ
การงานและก็การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในมุมไหนที่มันขาดตกบกพร่องจากองค์ของเราอยากจะเติมอะไรเพื่อที่จะให้โจทย์ที่เราตั้งวันนี้ไปสู่ความสำเร็จที่สุดเท่าที่จำเป็นไปได้
ธันย์ชนก นามวงศ์ นายกสมาคมรวมใจคนพิการจังหวัดอุดรธานี “ก็ต้องบอกว่าสิ่งสำคัญนะคะถ้านโยบายมีนโยบายแบบไหนราชการทำแบบนั้นนะคะต้องบอกว่านโยบายเป็นสิ่งสำคัญอย่างเช่นขออนุญาตนะคะนโยบายจ้างงานคนพิการใกล้บ้านซึ่งตอนนั้นหนูจำได้เมื่อ 2 ปีที่แล้วเป็นของท่านลุงป้อมนะคะขออนุญาตใช้ศัพท์คำนี้นะคะท่านให้คนพิการทำงานใกล้บ้านด้วยผ่านทางจัดหางานนะคะหรือว่าโครงการนี้ดีมากเป็นโครงการที่คนพิการไม่ต้องออกไปจังหวัดที่ใหญ่ๆคนไม่พิการไม่ต้องเข้าในเมืองคนพิการสามารถทำงานในชุมชนเงินที่ได้นะคะเงินที่ได้มันก็อยู่ในชุมชนเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนเขาสามารถดูแลพ่อแม่ได้เพราะสามารถดูแลตัวเองไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการออกจากบ้านไปทำงานแต่ก็สามารถไปทำงานที่โรงเรียนใกล้บ้านในหมู่บ้านไปทำงานที่อบตที่อยู่ใกล้ๆชุมชนไปทำงานที่รพ. สตต้องบอกว่าโครงการนี้ต้องบอกว่าขอพระคุณมากเลยนะคะที่ทำให้จังหวัดอุดรธานีได้จำนวนอ่าเขาเรียกว่าผู้เข้าร่วมโครงการเยอะที่สุดในประเทศไทยหรือไม่เดี๋ยวให้ทางจัดหางานคอนเฟิร์มอีกครั้งนึงนะคะเราปีนั้นเราส่งไป 40 เคสนะคะเราได้ 17 เพชรซึ่งได้รับการแจ้งงานซึ่งเราเลือกคนที่ทำงานเพื่อชุมชนก่อนองค์กรคนพิการของเราไม่สามารถจ้างเงินคนพิการมาทำงานเพื่อคนพิการได้ใช่ไหมคะแล้วก็ปรึกษากับทางขออนุญาตนะคะตั้งแต่หางานว่าเราอยากได้กลุ่มผู้นำคนพิการเนี่ยค่ะลงไปทำงานในพื้นที่ยังไม่น้อยหนึ่งเขาได้เป็นแรงงานของสมาคมของกลุ่มคนพิการและเป็นปากเสียงเอาข่าวที่คนพิการเข้าไม่ถึงในชุมชนเอาไปพูดให้กับคนพิการในชุมชนไปแสดงศักยภาพว่าเขาเป็นคนพิการแต่เขามีงานทำ 7,9 พัน อันนี้ขออนุญาตหมื่นนะคะตอนนี้แรงงานขั้นต่ำได้หมื่นนะคะซึ่งจะมองให้ชุมชนเห็นว่าอุ๊ยคนพิการคนนี้ทำไมได้งานทำไมมีเงินเดือนได้ทำงานในหน่วยงานราชการซึ่งเป็นความภาคภูมิใจโรงเรียนก็เป็นหน่วยงานราชการใช่ไหมรพสตก็เป็นโรงงานหน่วยงานราชการอบตก็เป็นหน่วยงานราชการซึ่งคนพิการจะภูมิใจมากเลยนะคะเมื่อเราได้เข้าไปทำงานจันทร์ถึงศุกร์ฉันมีงานทำอาจจะทำไม่ถึงเพราะด้วยศักยภาพด้วยความพิการแต่ทำให้เขาภาคภูมิใจมากในการที่เขาไม่ต้องแบกมือของเงินที่บ้านเขาไม่ต้องเป็นภาระของสังคมแต่เขาสามารถช่วยเหลือครอบครัวจึงเจือครอบครัวในชุมชนของเขาไม่ต้องมีเสียค่าใช้จ่ายบ้านไม่ได้เช่าข้าวไม่ได้ซื้อไม่ต้องเติมน้ำมันเยอะๆใช่ไหมคะตรงนี้จาก 30 ปีที่เราเห็นคุณภาพชีวิตคนพิการในกลุ่มนะคะที่ทำงานใกล้บ้านไม่ว่าจะองค์กรแต่ถ้าองค์กรไหนที่เข้มแข็งอย่างเช่นส่วนบุคคลปัญญาอ่อนท่านเข้มแข็งท่านทำให้คนพิการอ่าได้มีงานทำ 30 กว่าท่านนะคะหนูอยากให้ส่งเสริมตรงเนี้ยทั่วประเทศนะคะไม่ใช่เฉพาะจังหวัดอุดรธานีโครงการนี้ต้องมาจากนโยบายของอ่าผู้ใหญ่นะคะยิงลงมาเลยว่าจังหวัดแต่ละจังหวัดในชุมชนให้มีการจ้างงานตัวอย่างกองทุนเราเยอะนะคะอันนี้ต้องบอกว่ากองทุนเราเยอะโครงการแต่ละโครงการที่เขียนมันได้มั่งไม่ได้มั่งตามน้ำพริกละลายแม่น้ำบ้างมันส่งผลให้เห็นแต่ถ้าท่านบอกว่าจ้างคนพิการทำงานในพื้นที่ชุมชนเนี่ยค่ะท่านจะเห็นเลยว่าคุณภาพชีวิตคนพิการของเราดีขึ้นแล้วก็ท่านก็จะได้กำลังแรงงานอีก 1 ที่จะมาช่วยผลักดันคนพิการที่ยังไม่ได้อ่าได้รับรับการฟื้นฟูเมื่อเขาเห็นเพื่อนนะคะเป็นโมเดลเพื่อนทำงานคนนี้สามารถทำงานได้ทำไมเราไม่ลุกขึ้นมาสู้เพราะสังคมให้โอกาสเราสามารถทำงานได้นี่หว่าเค้าจะเกิดความคิดเกิดพลังแต่เราต้องมีโมเดลให้ใครเห็นว่าคนพิการออกมาคนพิการทำงานได้จ้างงานเข้าสู่ระบบเข้าสู่การหารายได้ได้ไม่ใช่ว่าเรียนไปน้องๆเรียนไปนะไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นยังไงจะมีงานทำหรือเปล่าเพราะคนปกติจบปริญญาตรียังไม่มีงานทำเลยใช่ไหมคะบางครั้งที่หลายๆท่านเข้าไปอุ๊ยดีจังเลยคนพิการมีงานมีโอกาสแต่ถามว่าหลายๆคนที่ไม่มีโอกาสไปเห็นคนพิการทำงานเนี่ยค่ะหนูอยากให้ส่งเสริมเรื่องโมเดลการจ้างงานก็เป็นอีกหนึ่งที่ทำให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่ต้องเป็นภาระของสังคมก็อยากจะให้ภาครัฐในใจนะคะอยากเลือกข้อ 3 แต่ข้อ 3 คนพิการต้องมีส่วนร่วมทุกขบวนการไม่ใช่ท่านคิดเราไม่ได้คิดเราเป็นผู้ผู้ที่ต้องการที่อยากแต่เราไม่ได้คิดท่านคิดแทนเราท่านคิดไม่ได้หมดเพราะท่านไม่ได้พิการท่านไม่รู้หรอกว่าคนพิการประเภทนี้ต้องการอะไรคนนี้ต้องการอะไรแต่ถ้าเรามีส่วนร่วมเหมือนวันนี้เวทีนี้ต้องบอกว่าเสียงจากพวกหนูคนพิการก็อยากจะส่งถึงระดับประเทศให้มีนโยบายดีๆแล้วบังคับใช้นโยบายให้ทั่วถึงเหมือนโครงการทำงานเพื่อสังคมทำงานใกล้บ้านหนูจะเรียกประจำว่าทำงานใกล้บ้าน”
ดร.ชานนท์ เศรษฐแสงศรี รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี “ท่านนายกเมื่อดีตจอมพลปอหรือว่าที่พูดถึงว่างานคือเงิน เงินคืองานบันดาลสุขจับไหมครับแต่ถ้ามีงานทำก็ย่อมได้เงินนะครับแล้วคนสุดท้ายคุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นนะครับประเด็นที่เราพูดกันนะครับผมมีอยู่คำนึงที่กล่าวถึงว่าคนพิการได้เป็นภาระแต่กำลังจะเปลี่ยนว่าจะภาระเป็นพลังพลังของแผ่นดินพลังของสังคมผมดูรายการปัญญาปันสุขมีคนพิการคนหนึ่งไม่มีขาและก็ซ่อมมอเตอร์ไซค์แล้วขึ้นหลังคาต่ออะไรล่ะเสาอากาศเสาอากาศได้แล้วทำซ่อมหลังคาได้อะไรอย่างนี้นี่เขามีความสามารถเลยนะครับเพราะฉะนั้นผมอยากจะเห็นพวกเราก็อยากจะเห็นว่าคนพิการมีความสามารถแห่งนี้นะครับเมื่อกี้ถ้าผมอยู่ไฟฟ้าผมก็อยากจะประกาศว่าต้องการผู้พิการไปจดมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเนี่ยนะครับได้ทุกวันละเท่าไหร่อะไรก็กำหนดขึ้นไปก็จะต้องการบุคคลที่มีอายุ 20 25 ปีเป็นชายเอ่อสามารถเอ่อจดมิเตอร์ไฟฟ้าหรือเมื่อกี้ตัดเส้นพลาสติกได้อะไรอย่างนี้นะครับเพราะฉะนั้นอยากจะได้ข้อมูลอย่างนี้เมื่อพวกเราประกาศต้องการคนทำงานก็จะได้มีมีคนพิการที่มีคุณสมบัติที่เราต้องการจริงๆนะครับเพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากเจอก็คือกลับไปที่ข้อมูลนะครับกับ data big data ให้มีแล้วก็ถ้าเราอ่ามีความต้องการเมื่อไหร่พิมพ์ในมือถือลงไปก็เห็นเลยเห็นเลย”
ผศ. ดร.ธวัช สุทธิกุลสมบัติ คณะทำงานกำหนดวาระการประชุมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดอุดรธานี “เวลาเล่นไพ่ใครเป็นคนแจกไพ่ถ้าทุกคนเล่นไพ่แล้วก็จากกันเองกันหมดก็ลำบากผมยังยืนยันนะครับว่ายังไงเสียหน่วยงานภาครัฐเพราะหน่วยงานภาครัฐนะครับไม่ได้รับประโยชน์อะไรเองแต่เป็นเจ้าภาพต้องเป็นเจ้าภาพคำว่าเป็นเจ้าภาพในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงอับรับประโยชน์แต่เป็นคนที่จัดการเรื่องข้อมูลจัดการเรื่องแชร์ข้อมูลอ่าแล้วข้อมูลนั้นต้องมาร่วมคิดผมบอกแล้วว่าร่วมคิดมันต้องเริ่มจากร่วมคิดร่วมคิดจากชุมชนร่วมคิดจากหน่วยงานและร่วมคิดจะภาครัฐภาครัฐเป็นเจ้าภาพไม่ได้หมายความเป็นหัวหน้านะครับอาจจะเป็นผู้อำนวยการก็ได้ครับผู้อำนวยการนี่ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนนะครับเป็นพวกอำนวยการจริงๆฮะไม่ใช่ผู้สั่งการเป็นคนคอยอำนวยการที่จะจัดการเรื่องนี้เพราะว่าข้อมูลต่างๆเหล่านี้ระบบงบประมาณต่างๆเหล่านี้มันเข้ามาโดยระบบภาครัฐที่เป็นส่วนใหญ่เราต้องยอมรับอย่างนี้เพราะว่ามันผ่านจากระบบภาษีเข้ามาในระบบการจัดการเพราะฉะนั้นหน่วยงานภาครัฐน้ำต้องเป็นเจ้าภาพแต่ไม่ได้บังคับคิดเอาเองต้องเป็นเจ้าภาพทำงานร่วมกันครับทำงานร่วมกันเป็นเจ้าภาพแล้วที่สำคัญที่สุดเจ้าภาพต้องไปคุยกันด้วยครับเพราะตอนนี้เรามีเจ้าภาพแล้วผู้พิการที่ต้องเรียนหนังสือเรามีเจ้าภาพทางการศึกษา แรงงาน เป็นกฎหมายแรงงานที่ทำงานร่วมกันเรามีเจ้าภาพทางด้านสุขภาพรพสตเจ้าภาพเยอะครับปัญหาของหน่วยงานภาครัฐคือเป็นเจ้าภาพแล้วขาดการบูรณาการและทำงานร่วมกันหัวใจสำคัญผมจึงบอกว่าหาเจ้าภาพก่อนครับแล้วเจ้าภาพเนี่ยล่ะครับคือ call center ทั้งหมดเลยที่จะมานั่งคุยกันแล้วเรียนเชิญไม่ว่าจะหน่วยงานภาคเอกชนสถานประกอบการหน่วยงานภาคชุมชนนะครับเพราะทำเสร็จจากเรียบร้อยร่วมคิดพอร่วมทำร่วมทำนาเนี่ยผมบอกเลยเจ้าภาพเนี่ยไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่หรอกไม่ค่อยได้ทำหรอกนั่งอยู่แล้วก็คอยตามสุดท้ายจริงๆครับหน่วยงานภาครัฐจะต้องตอบให้ได้ว่าความสำเร็จหรือกระบวนการในการประเมินผลนะไปถึงไหนแล้วครับเมื่อกี้บอกรหัสตกลงแล้วเนี่ยมีโรงงานกี่โรงงานมีสถานประกอบการฉีดสารประกอบพระเจ้าไปกี่คนรายได้เฉลี่ยเท่าไหร่ใต้สถานประกอบการบอกเองนะครับสมาคมเองบางทีก็ตอบไม่ได้ครับดังนั้นหน่วยงานภาครัฐที่ทำเรื่อง data เนี่ยต้องตอบความสำเร็จได้ด้วยยืนยันความสำเร็จปีนี้เราทำเหลือเท่าไหร่แล้วเหลืออีกกี่ปีต้องทำอีกเท่าไรถ้าสามารถบูรณาการหน่วยงานภาครัฐคำราร่วมกันได้คนที่จะรับประโยชน์คือชุมชนผู้พิการคนที่ได้รับประโยชน์คือสถานประกอบการตอนนี้สถานประกอบการลองจ้างนะถามว่าจ้าง 20 อัตราแต่ในหมู่บ้านหรือสถานที่ตั้งสถานประกอบการไม่มีผู้พิการอยู่รอบนั้นน่ะแต่จ้างมา 20 เขาต้องจัดการประเมินมาจากข้างนอก
ถ้าหน่วยงานภาครัฐตอบตรงนี้ไม่ได้นะครับไปเลอะเลยครับตอนนี้ถามว่าชมรมผู้พิการของท่านมีสมาชิกกี่คนชื่ออะไรบ้างถ้าให้ชมรมแต่ละช่วงวิ่งทั้งหมู่บ้านเนี่ยนะแต่ถ้าใช้ฐานข้อมูลจากอบจ. ตรงนี้นะครับมาถึงป้อมบอกทำการกำหนดได้เลยว่าเราจะทำในขอบเขตเท่าไหร่มหาสมุทรกว้างครับถ้าไม่ขอบเขตถ้าไม่กำหนดเขตพื้นที่เขตเวลานะครับพื้นที่กับเวลานะครับแล้วคนที่จะกำหนดเรื่องพื้นที่กับเวลาได้คือหน่วยงานภาครัฐที่สามารถจะบอกได้ว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นจังหวัดอุดรธานีมีเท่าไหร่ชมรมของท่านอยู่อำเภอนั้นนี้มีเท่าไหร่สถานประกอบการอยู่ตั้งตั้งในนี้นะครับถ้าจะจ้างที่สกลนครจะจ้างไหมเท่าไหร่อันนี้หน่วยงานภาครัฐเรื่องเวลาอีกครับขอย้ำอีกทีเรื่องเวลายังมีปัญหาอยู่ในหน่วยงานภาครัฐเพราะว่าเวลาเราพูดเวลาทีไรเนี่ยเราก็ต้องยอมรับแรงหน่วยงานภาครัฐมองไม่เกิน 1 ตุลาคมถึง 30 กันยายนรายงานผลนะครับเพราะว่าปีงบประมาณมันกำหนดไว้อย่างนั้นถ้าสมมุติเรามองภาพให้กว้างไปกว่าปีงบประมาณไร้ลองเลยครับไลฟ์ลองแผนสำหรับผู้พิการเลยครับเพราะผู้พิการคนเนี้ยเกิดมาเนี่ยได้เรียนหนังสือหรือยังใครจะเป็นเจ้าภาพตรงนี้นะครับเรียนแล้วมีงานทำหรือไม่นะครับต้องเรียนเข้าเรียนที่โรงเรียนปกติหรือเรียนที่ศูนย์สงเคราะห์หรือเรียนที่ อบจหรือเรียนที่อบตมีศูนย์ดูแลเด็กเล็กเอาไปรวมกันหรือแยกแยะ รายละเอียดเยอะเลยครับหัวใจสำคัญโดยภาพรวมผมยังยืนยันเหมือนเดิมนะครับถ้าภาครัฐไม่เอาเรื่องไปไม่ได้ครับไปไม่ได้เลยไปไม่ได้ทั้งประเทศไปไหนไม่ได้เพราะฉะนั้นหัวใจสำคัญผมผมคิดว่าภาครัฐกลับมาเถอะครับกลับมาทำงานเพื่อประชาชนมาชวนคนมาร่วมกันคิดแล้วร่วมกันทำแล้วร่วมกันร่วมกันคิดแบ่งกันทำแล้วท่านมีหน้าที่ในการรายงานแล้วบอกเขาคืนข้อมูลให้เขาว่าเขาสำเร็จขนาดไหนเขาไปขนาดไหนแล้วจะต้องทำอะไรต่อไปผมคิดว่ายังไงหน่วยงานภาครัฐกับภาควิชาการครับผมจะทำให้ครับขอบคุณครับจะได้ไม่ต้องเหนื่อยเฉพาะเดือนกันยายน”
ผลสำรวจฉากทัศน์จากวงเสวนา ฟังเสียงประเทศไทย ” การงานเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ“
ผลโหวตฉากทัศน์รอบที่ 1 เป็นภาพแทนในห้อง แล้วก็ข้อมูลเหล่านี้ไปตั้งต้นคุยต่อในรายการรอบแรกปรากฏว่าน้ำหนักอยู่ที่ฉากทัศน์ C ในห้องนี้มองว่ารัฐแล้วก็ภาควิชาการควรจะเป็นกำลังหลัก54% ก็คือเกินกว่าครึ่ง รองลงมาก็อยู่ที่ภาคชุมชนเป็นอันดับ 2 แล้วก็น้อยสุดก็ยังมองว่าเป็นภาคเอกชน
ผลโหวตฉากทัศน์รอบที่ 2 ก็ยังให้น้ำหนักอยู่ที่ทางฉากทัศน์ C คือภาครัฐวิชาการเป็นกำลังหลัก รองลงมาก็อยู่ที่ภาคชุมชน น้อยที่สุดก็คือเป็นภาคเอกชน แสดงว่ามีความเห็นสอดคล้องตรงกันกับที่ทุกท่านแลกเปลี่ยนกันไป เพราะว่าภาคเอกชนเองก็ยินดีที่จะทำตามนโยบายอยู่แล้วก็อยากจะได้ฐานข้อมูลตรงนั้น
เราคุยกันในรายการฟังเสียงประเทศไทยวันนี้อยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีนะครับซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เราร่วมกันพัฒนาภายใต้การสร้างสรรค์เพื่อสาธารณะให้มีบทบาทในการรับใช้ชุมชนซึ่ง วันนี้เราคุยกันเรื่องการพัฒนาชีวิตคนพิการ 3 ฉากทัศน์เป็นสิ่งที่เราได้จำลองเหตุการณ์ขึ้นมาเพื่อคุยกันเพื่อฟังเสียงกันและกันเพื่อข้อมูลมาเท่ากัน
ทุกคนมีความหมายมีผลการดำเนินชีวิตเกิดมาเท่ากันแม้ว่าต้นทุนจะไม่เท่ากันก็ตาม ในมุมก็คือว่าถ้าเราเปิดใจคุยกันแล้วพัฒนาไปพร้อมๆกันภาระจะไม่ได้ตกเป็นของใครคนใดคนหนึ่งจะไม่ได้ตกเป็นของคนพิการ ครอบครัว ทุกคนก็จะได้ประโยชน์ร่วมกัน