ท่องเที่ยวเขาอีสาน โอกาสคนท้องถิ่น

ภาคอีสานมีพื้นที่ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสาน คือ ยอดภูหลวง ภูพานและภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ทั้งมีแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านบริเวณพรมแดน และมีธรรมชาติที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นภูเขา น้ำตก แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ  แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาหารการกินพื้นบ้านต่างเป็นต้นทุนทางทรัพยากรชุมชน   

เทือกเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

“ต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญของภาคอีสานโดยเฉพาะเรื่องของธรรมชาติ วิถีชีวิตพื้นบ้าน อาหารการกิน รวมทั้งศิลปะวัฒนธรรม เรื่องเพลง หมอลำ อุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่น่าจับตามองและเป็นสิ่งที่ให้ผลในเชิงที่เป็น Soft power จะถูกยกระดับขึ้นมาโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คงจะต้องหนี้ไม่พ้นเรื่องของการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเนื้อหาการจัดวิธีการ กระบวนการในการพัฒนา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกพลักดันไปยังชุมชน หรือหน่วยงานที่เป็นสถาบันการศึกษา และภาครัฐ ที่มีส่วนในการหยิบยกขึ้นมาเล่าเรื่อง สอดรับนโยบายของรัฐบาลที่สอดรับเป็นรูปธรรมมากขึ้น”

เสกสรร ศรีไพรวรรณ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น

เล่าถึงความสำคัญของต้นทุนในพื้นที่อีสานและโอกาสยกระดับด้านการท่องเที่ยว ทางศิลปะวัฒนธรรม อุตสาหกรรมบันเทิง หมอลำ เพลงอีสานพื้นบ้าน หรือการแสดงที่กำลังขับเคลื่อน ดันเศรษฐกิจ สังคม ของวิถีคนอีสาน

โดยเมื่อต้นปี วันที่ 14 เดือนกุมภาพันธุ์  2567 ที่ผ่านมา โฆษกประจำสำนักนายกรัฐนตรี ได้ประกาศ 4 นโยบาย กระตุ้นการท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2567 ตามแนวคิด “365 วันเมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน  55 เมืองรอง พัฒนาการสื่อสาร  กระตุ้นไทย/ต่างชาติใช้เงิน” โดยมีเป้าหมายเพื่อกระจายรายได้สู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ  

ชาร์จพลังกาย เติมพลังใจ เลาะท่องเที่ยวเขาอีสาน

“เรามองว่าวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตก็มีความสำคัญ สิ่งที่เป็นมรดกธรรมชาติก็มีความสำคัญ ภูเขาหรือภูทางภาคอีสาน ทาง ททท. มองว่าจะเป็นแหล่งที่สามารถสร้างสรรค์ในเชิงแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และผจญภัยได้ ที่เราเน้นเชิงอนุรักษ์ เพราะว่าเราอยากให้ชุมชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ป่าไม้ ชุมชน ขณะเดียวกันการสร้างจิตสำนึกให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางเข้ามาในรูปแบบของคอนเซ็ปต์ที่ ททท. เคยวางไว้ ที่ชื่อว่าเซเว่นกรีน มีคอนเซ็ปต์เชิงการท่องเที่ยวสีเขียว การไม่เข้าไปทำลายสิ่งแวดล้อม แล้วก็ช่วยส่งเสริมสนับสนุนชุมชนให้รู้จักสำนึกอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทางวัฒนธรรม  เราอยากให้นักท่องเที่ยวเข้าไปมีความเคารพ เหมือนต่างประเทศเขาจะมีวันภูเขา หลายประเทศจะมีเรื่องการดูแลธรรมชาติ วันภูเขาแห่งชาติ การมาเที่ยวภูเขาเหมือนการมารับพลัง ไม่ใช่แค่การท่องเที่ยวเชิงสายมูแต่แห่งเดียว การมาเที่ยวภูเขาเหมือนการมารีชารจ์ เติมพลังงานให้ชีวิต มีความสดชื่น เดินทางกลับไปด้วยความประทับใจ การเดินทางมาเที่ยวลักษณะนี้อยากให้ผู้เดินทางมาเที่ยวภูเขาในภาคต่าง ๆ ในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน จะได้รับพลังเพาเวอร์สปอร์ต  ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนเดินทางมาทุกครั้งเหมือนมารีชารจ์แบตเตอรี่ให้กับชีวิต”

พื้นที่เป้าหมายชุบชูใจ ท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์  ใน อ.สีชมพู อ.ภูผาม่าน

เสกสรร ศรีไพรวรรณ ยังเล่าต่อถึงการทำงานร่วมกับเครือข่าย หน่วยงานในพื้นที่ หาแนวทางปฏิบัติร่วมกันด้านการท่องเที่ยว

“เราเคยมีการสำรวจร่วมกับทางอุทยานแห่งชาติภูผาม่านและทางสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวและไมค์จังหวัดขอนแก่น ทาง ททท กับทางผู้ประกอบการอยากให้มีการทำ Code of Conduct การทำสร้างความเข้าใจการปฏิบัติเที่ยวถ้ำตามวิถีที่ควรจะเป็น การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ ไม่จับ ทำลาย ขีดเขียน ในพื้นที่หวงห้าม ในถ้ำยังมีหินงอก หินย้อยที่ยังเจริญเติบโต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทาง ททท ผู้ประกอบการ พยายามส่งเสริม ผลักดัน จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกออกมาเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน”

นี่คงเป็นเพียงอีกความท้าทายของการยกระดับการท่องเที่ยวเขาอีสาน  ที่มีเรื่องราว อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตท้องถิ่นผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชนในการสร้างการรับรู้และกระตุ้นการเที่ยวเขาวิถีอีสาน จากทุนทรัพยากรธรรมชาติชุมชนท้องถิ่น  ที่หวังให้เกิดการสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในชุมชนจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน   

แชร์บทความนี้