ภาพ/เรียบเรียง : ชาญณรงค์ วรรณสอน Local Correspondent จ.เชียงราย
1 ธันวาคม 2567 เวลา 11.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามแผนการขุดลอกแม่น้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย บริเวณคันดินตลาดสายลมจอย ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมติดตามตรวจสอบความคืบหน้าการฟื้นฟูหลังเหตุการณ์ อุทกภัย ในภาคเหนือ โดยนายกรัฐมนตรีรับฟังแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และดินโคลนถล่ม ที่อำเภอแม่น้ำสาย จังหวัดเชียงราย จากผู้บริหารสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช. ) กระทรวงกลาโหม โดยกรมการทหารช่าง และกรมโยธาธิการและผังเมือง และส่วนงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
“หากแผนการดำเนินการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถลดความเสียหายและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้ ทั้งนี้ ขอให้เร่งดำเนินการโดยเร็วและให้ทันสถานการณ์ สำหรับเรื่องงบประมาณจะต้องไม่ซ้ำซ้อน และวางแผนให้ชัดเจน รวมทั้งให้กระทบประชาชนในพื้นที่ ให้น้อยที่สุด” ย้ำให้เร่งทำตามแผนทั้งระบบ จัดแผนระยะเร่งด่วน (1 ปี) ก่อนฝนมาปีหน้า นายกรัฐมนตรี กล่าว
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เดินตรวจคันดิน บริเวณตลาดสายลมจอยและทักทายประชาชนที่รอให้การต้อนรับ ก่อนจะเป็นประธานพิธีเปิดงาน “ปรับ ฟื้น คืนสุข เมืองล้านนา” เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และส่งมอบมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อหลายมาตรการให้ประชาชน ที่บริเวณด่านศุลกากรแม่สาย จังหวัดเชียงราย
โดยมีการเสนอแผนการขุดลอกให้แก่ท่านนายกได้รับฟัง โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง เสนอโครงการสร้างคันป้องกันน้ำหลาก-โคลนถล่ม หรือ พนังปิดล้อมน้ำสายไม่ให้ทะลักเข้าเขตเศรษฐกิจแม่สาย เป็นระยะทาง 3,960 เมตรแบ่งออกเป็น คันกั้นน้ำเชิงเขา 120 เมตร แนวกั้นน้ำถนนตัดใหม่ 453 เมตร แนวกั้นน้ำถนนเทศบาล 21 ถนนเกาะทราย 1,327 เมตร สิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในแนวคันและแนวน้ำหลาก 843 หลังคาเรือน เป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีกรรมสิทธิ์ 178 หลังคาเรือน สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ 503 หลัง สิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ราชพัสดุ 162 หลัง ในพื้นที่ 275 ไร่ระยะทาง เป็นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ 69 ไร่ ที่ราชพัสดุ 15 ไร่ 196 ไร่ เป็นที่สาธารณะประโยชน์ มีการก่อสร้างถนนแบบเป็นคันดินขึ้นมา ศปช.มีมติให้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการรื้อย้ายชาวบ้านที่อยู่ในแนวถนนและพื้นที่ที่จำทำเป็นพื้นที่รับน้ำหลาก
รายละเอียดในการป้องกันอุทกภัยแม่สายนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้ทราบว่าได้ติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติจำนวน 4 จุด กำหนดให้อยู่ฝั่งเมียนมา 3 จุด คือ บ้านใจคาดา บ้านดอยต่อคำ สะพานบ้านสบสาย ฝั่งไทยมี 1 จุดตรงสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 1 เพื่อให้สามารถเตือนภัยได้
หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยต่อความคืบหน้าของการแก้ไขต่อสื่อ ในปัญหาน้ำท่วมและโคลนถล่มแม่สายว่าจะมีแผนการป้องกันโดยเร่งดำเนินการปีหน้าป้องกันได้แน่ การเวรคืนบ้านเรือนของประชาชนหรือไม่ยังอยู่ในขั้นสำรวจให้ชัดเจนและดูเป็นรายๆ ไป
เสียงชาวชุมชนริมแม่น้ำสาย…
ส่วนที่ต้องโดนเวรคืน ความคิดเห็นจากกลุ่มคนที่ไม่ประสงค์ออกนาม ที่ประกอบอาชีพ เช่น ที่จอดรถและคนทำค้าขายบริเวณตลาดสายลมจอย กล่าวว่า ในตอนนี้ก็ยังรอการตัดสินใจจากทางรัฐว่าสรุปแล้วจะกี่เมตรกันแน่ 10 20 30 40 เมตร จากตรงกลางแม่น้ำสาย ซึ่งรอจนไม่กล้าที่จะซ่อมที่อยู่อาศัยให้มีความปลอดภัยที่เพียงพอต่อการอยู่อาศัย โดยบริเวณเขตราชพัสดุที่ต้องเวรคืนนั้นมีถึง 500 กว่าหลังคาเรือนที่ต้องย้ายออก ความคิดเห็นหนึ่งของการย้ายออกนั้นก็หวังว่าจะมีการเยียวยาที่อยู่อาศัย การเงินและอาชีพ แต่ตนเองและกลุ่มก็ไม่ได้มีความคิดที่จะไม่ยอมย้ายออก รอแค่ในตอนนี้ทางรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร กลัวแต่ว่าการตัดสินใจจะยาวนานมากเกินไป
อีกส่วนหนึ่งเป็นทางด้านของกลุ่มคนที่ไม่ได้โดนทวงคืนพื้นที่ ลุงบุญศรี มีอาชีพค้าขายอยู่บนดอยเวา กล่าวว่า ตนเองนั้นไม่โดนทั้งน้ำท่วมและทวงคืนพื้นที่ ก็เห็นดีด้วยกับการเวรคืนเพื่อการไหลอย่างอิสระของสายน้ำเพื่อไม่ให้เกิดการท่วมซ้ำซาก
ลุงแดงชาย ซึ่งขายเกาลัดในเขตโดนน้ำและโคลนถล่ม กล่าวว่า ต้องลงทุนซื้อเครืองมือใหม่ทั้งหมดเนื่องจากว่านำเครื่องมือทำมาหากินไปฝากไว้ แล้วกำแพงถล่มโดนซัดพัดพาไปกับสายน้ำ การชดเฉยที่ได้คือจำนวนเงิน 200 บาท เนื่องจากว่าตนเองเป็นแค่รถขสายของและไม่มีหลักฐานการโดนน้ำท่วม เรื่องการเวรคืนพื้นที่นั้น ตนเองก็เห็นดีด้วยเพียงกังวลอยู่อย่างหนึ่งคือ การปิดตลาดเพื่อการก่อสร้างและขุดลอกเนื่องจากว่าเพิ่งลงทุนใหม่ไปกับเครื่องคั่วเกาลัดนับแสนกว่าบาทจะอย่างไร
บริเวณใกล้เคียงยังมีร้านขายผลไม้ดองที่ก็ยังกังวลถึงเรื่องการปิดตลาดอยู่เช่นกัน ตัวเขากล่าวว่าหลังจากน้ำโคลนถล่ม การเยียวยาหลักดหมื่นแต่ตนต้องลงทุนใหม่ในหลักล้านบาท หากมีการปิดตลาดขึ้นมารายได้คงหายไปอย่างแน่นอนและยังไม่มีแผนสำรองว่าจะทำอย่างไรต่อไป
แม้ว่าตลาดสายลมจอยจะซบเซามาเป็นเวลานานแล้ว หนำซ้ำยังโดนน้ำโคลนถล่ม ทำให้นักท่องเที่ยวไม่เข้ามาเที่ยวในพื้นที่ แต่ร้านค้าที่กล่าวมาข้างตนกล่าวว่า ยังมีลูกค้าประจำที่คอยมาอุดหนุนกันและกันยังสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวอยู่ ยังมีความหวังกับการที่นายกจะมา เปิดงาน ปรับ ฟื้น คืนสุข เมืองล้านนา เพื่อให้นักท่องเที่ยวกลับมายังแม่สาย
(บรรรยากาศงาน ปรับ ฟื้น คืนสุข เมืองล้านนา ตอนกลางคืน)
ปัญหาอุทกภัยเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชนเอง จากการเสนอแผนอาจเป็นไปได้ ที่จะต้องย้ายชุมชน และบ้านเรือนที่อยู่แนวแม่น้ำสาย ตามแนวสำรวจ ตลอดแนวลำน้ำสาย
แต่ถ้าหากไม่ย้ายหรือย้ายบางส่วนก็ต้องสร้างใหม่ ให้สอดคล้องกับเหตุอุทกภัยที่มีแนวโน้มถี่มากขึ้น และแรงมากขึ้น
โจทย์ใหญ่คือการเยียวยา ทั้งที่อยู่แห่งใหญ่ อาชีพใหม่ที่สอดคล้อง และระยะเวลาของแผน เพราะจากนี้ เหลือเวลา เพียง 8 เดือนเท่านั้น ก่อนเข้าสู่รอบภัยพิบัติครั้งใหม่
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.thaipbs.or.th/news/content/346825