ปัญหาคุณภาพอากาศจาก PM2.5 ในอำเภองาว จ.ลำปาง

Local Correspondent ภาณุภัทร กาญจนระพีพงษ์ 

อำเภองาว  1 ใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง มีพื้นที่ประมาณ 1,815 ตารางกิโลเมตร โดยเป็นอำเภอมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดลำปาง  มีบริเวณอาณาเขตติดต่อ อำเภอแม่เมาะ อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา  และอำเภอสอง จังหวัดแพร่  

อำเภองาวมีประชากรมี 51,301มี ซึ่งในนี้เป็นประชากรที่สูงอายุกว่า 13,319 คน  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  จากข้อมูลสำนักงานเกษตรอำเภองาว ในปี 2566 รวมจากพื้นที่ต่างๆโดยไม่จำแนกประเภทสิทธิ์ของที่ดินมีพื้นที่เกษตรจำนวนกว่า 135,551 ไร่ โดยพืชเกษตรส่วนใหญ่ คือการปลูกข้าวโพด นอกจากนี้สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเป็นพื้นที่ป่า ในการดูแลของกรมต่างๆ

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ มีอาณาบริเวณครอบคลุม อำเภอเมืองลำปาง อำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว และพื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก ที่ได้ประกาศจากยูเนสโกขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลของโลก ทั้งนี้พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทส่วนใหญ่ อยู่ในเขตพื้นที่อำเภองาว  

อุทยานแห่งชาติแม่ยม มีเนื้อที่ประมาณ 284,218.75 ไร่ ที่มีพื้นที่บางส่วนครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภองาว   

พื้นที่ป่าสงวนต่างๆ  เช่นป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่ง ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งซ้าย  ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งขวา เป็นต้น

จากสภาพภูมิประเทศเราจะสามารถสังเกตุได้ว่าพื้นที่อำเภองาว จะรายล้อมด้วยภูเขาตั้งแต่ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,100 เมตร เป็นซึ่งเป็นทั้งแนวเขตจังหวัดลำปางและอำเภองาวโดยลักษณะพื้นที่คล้ายแอ่งกระทะที่เป็นรูปแบบที่มีขอบสูง-ต่ำไม่เท่ากัน นั้นเอง เห็นได้ว่าเมื่อถึงช่วงฤดูเผาหรือหน้าแล้งพื้นที่ในอำเภองาว 1,815 ตารางกิโลเมตรปัจจัยของสภาพพื้นที่ถือว่าเป็นจุดอ่อนที่ก่อเกิดการเผาไหม้ในพื้นที่ แต่เมื่อมีภูเขาสูงกั้น หรือ พื้นที่มีลักษณะที่เป็นแอ่งกระทะ ทำให้หมอกควันไม่สามารถกระจายตัวออกไปได้ นอกจากนี้ความกดอากาศสูง ทำให้ฝุ่นละอองไม่สามารถลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่สูงขึ้น ไม่สามารถแพร่กระจายได้ ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองเป็นชั้นหนาขึ้น จนเกิดหมอกควันปกคลุมในพื้นที่ การเกิดไฟป่าจากในพื้นที่อำเภองาวเกิดขึ้นทุกๆปีและต้องใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการช่วยกันดับอย่างรวดเร็ว บางพื้นที่ที่มีไฟไหม้ป่าหรือที่เกิดเหตุมีสภาพพื้นที่ภูเขาสูงไม่มีทางเข้าออกยาก ระยะเวลาเดินทางนานค่อนข้างนาน และอาจเกินความสามารถที่จะเข้าไปทำการดับไฟในเวลาที่เกิดเหตุ จนบางครั้งหลายพื้นที่ไฟป่าได้ขยายเป็นวงกว้างนอกเหนือการควบคุมทำให้เกิดหมอกควันสะสมเป็นจำนวนมาก   

หมอกควันในพื้นที่อำเภองาวยังเกิดจากพื้นที่เกษตรและพื้นที่ต่างๆ โดยจากข้อมูลดาวเทียม Landsat 8 ระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม 2567 มีพื้นที่เผาไฟไหม้จำแนกออกมาเป็น เขต สปก. 1,514 ไร่ ชุมชนและอื่นๆ 129 ไร่ ป่าสงวน 28,526 ไร่ ป่าอนุรักษ์ 4,915 ไร่ พื้นที่เกษตร 114 ไร่ พื้นที่ริมทางหลวง 7 ไร่ รวม 35,205 ไร่  และข้อมู 2566 จากดาวเทียม Landsat ,8-9 พื้นที่เผาไหม้ในอำเภองาวมากถึง 148,079 ไร่ โดยส่วนใหญ่เกิดภายในพื้นที่ป่าสงวน และป่าอนุรักษ์

 และนี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา P.M.2.5 ของที่นี่อย่างเห็นได้ชัด  เมื่อในพื้นที่มีการเผาสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือหมอกควันในพื้นที่หรืออาจเป็นหมอกควันข้ามถิ่นที่จะมาแออัดในพื้นที่แห่งนี้  ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือประชาชนทุกช่วงวัยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภองาว  จากข้อมูลจาก Monitoring P.M 2.5 CMU  ในระยะเวลาช่วง มกราคม 2567 – เมษายน 2567 เห็นได้ว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีค่าเฉลี่ยปริมาณ P.M2.5 ในอำเภองาว จังหวัดลำปาง เกินค่ามาตราฐานที่มีผลต่อสุขภาพ มากกว่า 80 วัน

ประชาชนส่วนใหญ่ของอำเภองาว อยู่กับฤดูกาลหมอกควัน  มาเนินนานทุกๆปี จนเป็นภาพในลักษณะคุ้นชินกับฤดูกาลนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเกิดในพื้นที่ป่า ทั้งป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ ถือว่าเป็นต้นตอ ในการเกิดฝุ่นควันในพื้นที่ ประชาชนบางส่วนยังขาดองค์ความรู้เท่าที่ควรจากโทษของ P.M.2.5 ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพตนเองในระยะยาวอย่างลีกเลี่ยงได้  ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่คงไม่สามารถดูและจัดการในวันที่มีหมอกควันมาก และมีค่า P.M. 2.5 สูงเกิดมาตราฐานที่มีผลต่อสุขภาพไม่ได้ในทันที แต่ประชาชนในพื้นที่สามารถป้องกันรักษาสุขภาพตนเองได้ การส่งเสริมการป้องกัน  การแจ้งเตือนเพื่อเข้าถึงข้อมูลการระวังผลกระทบต่อสุขภาพเมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยง จึงเป็นเหตุที่สำคัญในการป้องกันและดูแลตนเอง การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในพื้นที่โดยเฉพาะเครืองวัดค่า P.M.2.5 ที่มีมาตรฐาน หลายๆจุดอยู่ประจำสถานที่ต่างๆ ตำบลต่างๆ  แหล่งชุมชน และเชื่อมโยงการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ คำนึงให้ประชาชนได้ระวัง เข้าถึงข้อมูลสำคัญเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัว

แม้ปัจจุบันทาง อ.เสกสรรค์ แดงใส ประธานกลุ่ม WE LOVE THE KING นครลำปาง ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องไฟป่า ดับไฟป่า  และการสร้างฝายชะลอน้ำ ในพื่นที่อำเภองาว อ.เสกสรรค์ แดงใส  ได้จัดหาเครื่องวัดค่า P.M.2.5   ได้จำนวน  5 เครื่อง กระจายอยู่ 4 ตำบลของอำเภองาว  แต่ก็ยังขาดระบบการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงข้อมูลกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่  อย่างไรก็ตามแม้ในอำเภองาวมีเครื่องวัดค่า P.M.2.2  จำนวน 5 เครื่องก็ตาม แต่ความจริงยังมีชุมชนต่างๆ  หรือ โรงเรียนบางโรงเรียน อยู่ใกล้พื้นที่ป่า พื้นที่เผาไหม้ หรือใกล้แหล่งกำเนิดไฟ ที่มีความเสี่ยงสูงกับผลกระทบ   ก็ยังขาดการเข้าถึงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อป้องกันตัวเองอยู่ดี   ดังนั้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพขับเคลื่อนการทำงานจากระบบของภาครัฐและการสนับสนุนในด้านต่างๆ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ด้านสุขภาพต่อประชาชนโดยตรง    ประชากรที่สูงอายุกว่า 13,319 คน  ประชากรวัย 1-12 ปี จำนวน 5,128คน  และประชากรหลายๆช่วงวัย ทั้งหมดถือว่าประชากรเหล่านี้เป็นกลุ่มเสี่ยง ที่ส่งผลต่อสุขภาพได้ในอนาคต

แชร์บทความนี้