เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนากระบวนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์น้ำเพื่อการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัย สุขาภิบาลและสุขอนามัยที่พอเพียงและเป็นธรรม วัน จันทร์ ที่ 21 ตุลาคม 2567 จัดโดย มูลนิธิรักษ์ไทย ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1 , เขต 5 และเขต 6 ที่สนับสนุนโดย Swarovski Foundation ณ ศูนย์ประชุมชุมนานาชาติคุ้มคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เสวนา : ความสําเร็จและบทเรียนการจัดการะบวนการเรียนรู้ค้านการอนุรักษ์น้ำ
- “การพัฒนาและการจัดการเรียนรู้ เรื่อง น้ำกับการส่งเสริมอนามัยในโรงเรียน และการสร้างสมรรถนะความเป็นพลเมืองโลกสู่สังคมที่ยั่งยืน” โดย นางณัฐชยา เมนไธสง ผอ. กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนการสอน สํานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
- โครงงานนักเรียนรักษ์น้ำ กับการเปลี่ยนแปลงตนเอง เพื่อน ชุมชนและโรงเรียน โดย ตัวแทนนักเรียน โรงเรียนท่าศาลาและนักเรียนโรงเรียนนาไคร้
- รูปแบบการจัดการเรียนรู้ “รักษ์น้ำ” แบบ Active Learning ในโรงเรียน โดย ครูแกนนําโรงเรียนบ้านห้วยปูลิง สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติวิทยา : วิทยาศาสตร์พลเมือง (ธรรมชาติวิทยา) โดย ครูแกนนําบ้านสามสบ สังกัด สพป.เชียงใหม่ เขต 6 อำเภอเเม่เเจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ดําเนินรายการโดย คุณสมสกุล ชมชื่น ผู้ประกาศ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT North
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ “รักษ์น้ำ” แบบ Active Learning ในโรงเรียน โดย ครูแกนนําโรงเรียนบ้านห้วยปูลิง สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า กระบวนการลงพื้นที่ร่วมกับเด็ก ๆ เราสำรวจลำน้ำในชุมชน พบว่า ต้นน้ำน้ำสะอาด แต่พอมาถึงกลางน้ำน้ำเริ่มเปลี่ยนไป ด้วยกลางน้ำเริ่มเป็นพื้นที่ของการเกษตรกรรม ทำให้ในส่วนของปลายน้ำน้ำมีคุณภาพแย่ เมื่อเราลงไปเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น มันก็เกิดคําถามให้เรามองต่อ
ว่าในฐานะที่เป็นคนต้นน้ำและนี่เป็นแหล่งน้ำที่ผ่านจากบ้านเราแหล่งแรกระบบนิเวศน์พังไปแล้ว ทำอย่างไรต่อไปกับแหล่งนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่ตัวเราตั้งคำถาม เราชวนเด็น ๆ ร่วมตั้งคำถาม และค้นคิดหาวิธีในการที่จะดูแลแหล่งน้ำในพื้นที่ และตระหนักในการอนุรักษ์แหล่งน้ำของเขา
เราใช้นวัตกรรมนี้ จากโรงเรียนลำปลายมาศ มาประมาณ 5 ถึง ปี ซึ่งผลที่เราเก็นตามมาคือ เราก็จะเห็นว่าเกิดตระหนักในตัวของเด็ก ๆ เยาวชน เกิดการตั้งคำถาม คิดหาทางออก ตอนนี้ด้วยความที่เขายังเด็กและก็ประสบการณ์เขายังไม่มากพอ แต่ครูเชื่อว่า การที่เค้าได้เผชิญกับปัญหาที่แท้จริงในชุมชน จะสั่งสมให้เขาเกิดประสบการณ์ในอนาคตที่เขาเติบโต แล้วก็ไปมองโลก นี่คือการเรียนรู้ต่อเนื่องและเป็นการต่อยอด
การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติวิทยา : วิทยาศาสตร์พลเมือง (ธรรมชาติวิทยา) โดย ครูแกนนําบ้านสามสบ สังกัด สพป.เชียงใหม่ เขต 6 อำเภอเเม่เเจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า บริบทของโรงเรียนบ้านสามสบ ตั้งอยู่บนพื้นที่เรียกว่า ป่าชั้น 1A คือป่าต้นน้ำอยู่เชิงเขาเชิงดอยอินทนนท์ เพราะฉะนั้นความสําคัญก็คือเราเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ในการใช้น้ำของพื้นที่ของเราต้องคํานึงถึงคนกลางน้ำ คนปลายน้ำด้วย เพราะถ้าเราทําให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำ มันก็จะเริ่มตั้งแต่เราคนต้นน้ำ ไปยันปลายน้ำซึ่งอาจได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิและ จากจังหวัด และจากโครงการ คือมีการนํามาประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน ในรูปแบบของโรงเรียนตามบริบทพื้นที่ ซึ่งเป็นรูปแบบของชุมนุม สัปดาห์ละ1 ครั้ง เรียกว่า 1 คาบ 1 ชั่วโมง เรียน 1 ชั่วโมง แต่ถ้าบางเนื้อหา ที่อาจจะยาวหรือในบางเนื้อหาเราต้องลงพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น ลงพื้นที่ไปสํารวจสัตว์หน้าดิน มันต้องใช้เวลาซึ่งอาจจะนานกว่านั้น ก็จะขอทางโรงเรียน ขอชั่วโมงที่เหลือ
จากคุณครูที่เหลือหรือว่าอาจจะอาจจะเกินเวลานิดนึ เช่น เราจะต้องกลับมา 15.00 น. เราอาจจะยืดเวลาไปซักประมาณซัก 16.00 น. เหมือนกับเป็นการเพิ่มระยะเวลาในการเรียนรู้
เพราะส่วนใหญ่อยู่ในชุมชนอยู่แล้ว เราไม่เหมือนเด็กในเมือง เพราะว่าเราจะเดินทางกลับบ้านแค่ไม่กี่นาที เราก็สามารถยืนเวลาตรงนั้นได้เมื่อจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ และในการทำแบบนี้มีผลอะไรเกิดขึ้น นักเรียนมีความตระหนักใน แต่ตระหนักของแต่ละคนไม่เหมือนกันสิ่งที่หเราจับได้ดีกว่า เช่น ผมจะชอบพูดติดปากอย่างที่บอกหลาย ๆ ท่านบอกว่าอย่าใช้น้ำเหมือนกับเด็กสามสบ หมายถึงว่าก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ คําว่าใช้น้ำเหมือนกับเด็กสามสบ หมายความว่าน้ำของเรา คือต้นน้ำ คือประปาภูเขาโดยตรงไม่มิเตอร์ เปิดทิ้งเปิดขว้างอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ของเด็กแล้ว เด็กจะเริ่มจากคําว่าตระหนักเช่นเด็ก ๆ เดินผ่านก๊อกน้ำมันมีน้ำหยดเขาจะเริ่มปิด ช่วยสังเกตุ ช่วยกันดู เขาจะเริ่มมีความรู้ตรงนี้ ถึงเราจะได้น้ำมาฟรี แต่ถ้าเราร่วมกันดูแล ร่วมกันรักษา
อีกจุดหนึ่ง เราอยู่ป่าต้นน้ำ แต่บนพื้นที่ของเขาก็มีจุดที่ทําการเกษตรและก่อนที่จะเริ่มโครงการนี้ การเกษตรเมืองไทยหนีไม่พ้นการใช้สารเคมี เมื่อใช้สารเคมี มันจะมีบรรจุภัณฑ์อยู่ไม่ว่าจะเป็นขวด ไม่ว่าจะเป็นกระป๋องอะไรก็ตาม ถ้าเราลงพื้นที่ช่วงก่อน ไปเจอผู้ปกครองใช้เสร็จก็ทิ้งเรี่ยราด ทีนี้ผลของการไม่ได้แยกขยะมันก็เริ่มเป็นมลพิษ โดนฝนบ้าง โดนน้ำบริเวณนั้นบ้า งลงไปในแหล่งน้ำ ซึ่งผลพลอยได้เราไม่ได้ไปสอนกับผู้ครองโดยตรง เพราะผู้ปกครองเขาก็มีอายุมากกว่าครู เขาไม่ยอมรับ เราก็จะสอนผ่านเด็ก ๆ แต่ถามว่าผลมันจะเปลี่ยนแปลง 100 เปอร์เซ็นต์ทันทีหรือไม่ ก็ต้องบอกว่าตองค่อย ๆ ใช้เวลา ค่อยเป็นค่อยไป หากเด็กๆ ไปพูดทุกวันๆ หรือว่าบางครั้งเห็นเขาพูด ก็จะมีการสะกิดใจ ผู้ปกครองก็จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งก็ถือว่าพอใจในระดับหนึ่ง ทั้งในโรงเรียนเด็ก ๆ ที่เรียนกับเราด้วย และในบ้านของเขาด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถามว่า 100 เปอร์เซ็นต์ไหม ก็ยังไม่ได้ ต้องค่อย ๆ ปรับทั้งผู้ปกครอง ทั้งนักเรียน และตัวครูเองด้วย หมายความว่าครูก็ต้องปฏิบัติให้นักเรียนเห็น ด้วยเช่นกัน
เรื่องของของการเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนวิถีจากสิ่งที่คุ้ยเคยมาอยู่แล้ว บางบ้านแทบครึ่งคล่อนชีวิต เลยด้วยซ้ำที่มีการเปิดใช้น้ำจากแหล่งน้ำต้นน้ำโดยที่ไม่มีมิเตอร์ คือเปิดใช้ไปและไหลมาตลอดต่อเนื่องอยู่แล้ว ก็เหมือนเป็นน้ำลําธาร ซึ่งหารู้ไม่ว่าของพวกนี้ถ้าเราใช้อย่างประหยัด มันจะอยู่กับเราได้นานมากขึ้น ซึ่งเขามองว่ามันมาจากธรรมชาติอยู่แล้ว เราไม่ต้องไปสรรหา เราไม่ต้องไปซื้อขายมา มีความพยายามมากขนาดไหน ในเรื่องของการจะไปเปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลามากพอสมควรเหมือนกัน การสอดใส่เรื่องของความรู้เข้าไปหรือหลักวิชาการเข้าไป บางทีอาจจะโดนปฏิเสธด้วยซ้ำในการเป็นครู ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติของการเรียนรู้ของมนุษย์ ต้องค่อย ๆ ส่งเครื่องมือของเรา ผ่านเด็ก เข้าสู่พ่อแม่ สู่ชุมชน โครงการนี้ภายใต้ชื่อโครงการรักษ์น้ำ 9 ปี ก่อนหน้านี้มีโครงการคล้ายกัน โรงเรียนบ้านสามสบ เข้านานกว่า 9 ปี เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นเทียบจากตัวผมเอง คือค่อย ๆ เปลี่ยน ช่วงนี้ตอนระยะเวลานี้ก็ถือว่าในระดับหนึ่ง ถือว่าประสบผลสําเร็จ อาจจะยังไม่ 100 เปอร์เซ็นต์แต่เราต้องทํากันอย่างต่อเนื่อง
ตัวแทนนักเรียน โรงเรียนท่าศาลาและนักเรียนโรงเรียนนาไคร้ กล่าวว่า ในการอนุรักษ์น้ำทั้งในชุมชนก็ดีรวมถึงในโรงเรียนก็ดีเรามีบทบาทในการอนุรักษ์น้ำ คือ การช่วยครูบอกเพื่อน ๆ นักเรียน ว่าต้องทำอย่างไร คือบอกให้เพื่อนใช้น้ำแบบประหยัดน้ำ เพราะว่าบางคนก็แบบเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ และใช้แนวทางการประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนและบอกคนในครอบครัว มุมมองของเด็ก ๆ มองว่าการอนุรักษ์น้ำ แหล่งน้ำ เป็นเรื่องสําคัญที่ต้องรักษาไว้ เพราะหากน้ำหมดก็ลําบาก หรือน้ำกลายเป้นแหล่งมลพิษก็ทำให้เราเข้าไม่ถึงน้ำสะอาด
นางณัฐชยา เมนไธสง ผอ. กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนการสอน สํานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. กล่าวว่า การอนุรักษ์น้ำก็ดีหรือการใช้น้ำ การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการใช้น้ำอย่างไรให้ถูกต้อง เมื่อฟังดูจากน้อง ๆ เยาวชนแล้ว มันก็เป็นปัญหาใหญ่เหมือนกัน ก็เค้า
เรามองว่าเรื่องของน้ำ บางทีมองว่าเราน้ำไม่ได้มองทั้งสาย ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เรามองแค่เฉพาะจุดของเราที่เราอยู่ ขอบคุณทั้งสองโรงเรียนที่มองเรื่องการมองน้ำที่ไม่ใช่มองน้ำเฉพาะตัวเอง แต่มองน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สิ่งที่เราอยากจะเพิ่มอีกคือเรื่องของคุณภาพน้ำ ที่เป็นสิ่งสําคัญ โดยเฉพาะคุณภาพน้ำในโรงเรียน จากต้นน้ำที่กําลังเปลี่ยน ถ้าเรามองมิติของความยั่งยืน มองในเรื่องสังคม เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องเศรษฐกิจ เราหนีไม่ได้กับการมีรายได้ ปากท้องก็ต้องสําคัญ แต่เรื่องของสังคมที่เปลี่ยนไป เราเน้นเรื่องของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป การปลูกข้าวก็เปลี่ยน ทรัพยากรหรือรายได้อะไรต่างๆ ล้วนสําคัญ ดังนั้นรูปแบบของการเกษตรที่เปลี่ยนไป น้ำจึงมีส่วนกระทบเพราะน้ำมันไหลมาเรื่อย ๆ เมื่อผมีสารเคมี ใต้ดิน นอกเหนือจากขยะ ดังนั้นสิ่งที่สําคัญคือ ถ้าโรงเรียนของเรามีระบบของกรองน้ำ ควรจะต้องตรวจเช็คและสิ่งที่ถูกต้อง หรือตัดแนวทางคือ ตอนที่เด็ก ๆ กําลังทําเรื่องของกรองน้ำ เด็ก ๆ กําลังตรวจวัดเรื่องของชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในน้ำเพื่อให้รู้ว่า แม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ มันละเอียดอ่อน มันจะอยู่ในน้ำที่สะอาด ปานกลางหรือน้ำที่สกปรก แม้ตัวดัชนีของต้นไม้ ถ้าเราสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการต้นไม้บางชนิด โดยเฉพาะผักกูดที่ขึ้นในพื้นที่ป่า ชาวบ้านชอบทานกับน้ำพริก ซึ่งอยู่ได้ในน้ำไหล และเป็นแหล่งน้ำที่ที่สะอาดเท่านั้น
เป็นลักษณะของการสังเกต ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เรากําลังพูด คือ การที่เรามองเห็นน้ำใส แต่มันไม่ใช่ว่าน้ำจะสะอาด เด็ก ๆ ควรจะทําอะไร คุณครู หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เขามีบทบาทเกี่ยวข้อง มาร่วมใช้เวทีเหล่านี้ เข้ามาตรวจน้ำในโรงเรียนของเราหรือตรวจน้ำในชุมชนของเราว่าน้ำ แม้มันจะใส ถ้าเราสังเกตลักษณะของวิทยาศาสตร์ เราจะดูที่กลิ่น ต้องไม่มีสีไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ซึ่งดูแค่นี้ไม่ได้ต้องวัดที่ลึกกว่านั้น ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กของประถม เราจะต้องไม่จํากัด ว่าเราจะต้องใช้แค่กระดาษ แต่เราควรจะต้องมีเครื่องมือที่ให้เขาสามารถวัดสารเคมีได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดเด็ก ๆ เขาต้องรู้ว่าอ่อ พอรู้แล้วอย่างไร รู้ก็เท่าความรู้แล้วทิ้งไว้อย่างนั้นหรือ หรือรู้แล้วต้องหาทางสื่อสาร หาทางแก้ไข ไปเสิร์ชเราไปหาความรู้กับปัญหาจากการเรียนรู้ในห้องเรียนเราไม่ได้จะชวนชุมชนให้เค้ามาเข้าใจในเรื่องของการเข้าไปสู่ในห้องเรียนเหล่านั้นด้วย ดังนั้น แล้วคุณครูโดยส่วนใหญ่ ผู้ปกครองก็จะถามว่า เอาเด็กออกนอกห้องเรียน เพราะในความคิดของคุณครู ของผู้ปกครองคือเด็กต้องอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม แต่เดี๋ยวนี้โลกมันเปลี่ยนไป เด็กต้องเรียนสิ่งแวดล้อม เรียนอะไรหลาย ๆ อย่าง จากการที่เค้าได้เรียนรู้แล้วเค้าคิดโปรเจกต์ขึ้นมา สักวันนึงเขาอาจเป็นนักประดิษฐ์หรืออะไรที่มาทําเรื่องที่จะบําบัดน้ำหรือป้องกันน้ำก็ได้ ดังนั้นสิ่งหนึ่ง สิ่งที่เราจะต้องเชิญชวน คือ ทําอย่างไรที่ เราจะให้ชุมชนหรือผู้ปกครองเข้าใจ แล้วมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ครั้งนี้ด้วย นั่นก็คือการที่เราได้ให้มีโจทย์หรือมีอะไรต่าง ๆ ให้ชุมชนเข้ามา ซึ่งการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่สําคัญ ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน มาวัดน้ำในบ้านของตัวเอง
อยากจะยกเคสที่ทํากับโครงการมีผู้เชี่ยวชาญชาวเดนมาร์ก ที่เราเคยทํามาไปเกือบ 20 ปีก่อน เคสจากโรงเรียนนําเข้าไปสู่ชุมชน ครั้งหนึ่งคือที่โรงเรียนของเดนมาร์ก ประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่บนเกาะ เค้ากระทบสิ่งแวดล้อมก็กระทบทั้งหมด โลกแปรปรวนทําให้ภูเขาน้ำแข็งหรือน้ำแข็งละลายเขาจะเป็นประเทศแรกที่ท่วม จุดเริ่มต้นของประเทศแรก ๆ ที่รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา สิ่งที่เค้ายกเคสให้ฟัง เพราะในที่เดนมาร์กมีโรงแรมอยู่โรงแรมหนึ่ง เรากําลังเชื่อมโยงของคนที่จะมีส่วนร่วมอย่างไร ครั้งนึงน้ำเกิดเน่าเสีย ทุกคนไม่เคยเป็นมาก่อน พอน้ำเน่าเสียเกิดขึ้นมาในโรงเรียนก็ได้รับผลกระทบชุมชนก็ได้รับผลกระทบ นี่คือผลกระทบร่วมกัน หลังจากนั้น เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเด็ก ๆ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นตัวอย่างที่ดีของการศึกษาเชิงประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับปัญหาจริงในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของโรงเรียนในเดนมาร์กที่มีการเผชิญกับปัญหาน้ำเน่าเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งโรงเรียนและชุมชนโดยรอบ ในกรณีนี้ เด็ก ๆ ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา โดยการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การใช้จีพีเอสในการสำรวจแหล่งน้ำ และการเข้าไปศึกษาที่โรงแรมที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น การเรียนรู้ในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ยังสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมในชุมชน นอกจากนี้ การที่เด็ก ๆ ได้มีโอกาสนำเสนอความรู้และผลการศึกษาให้กับผู้ปกครองและผู้นำชุมชน ยังเป็นการสร้างพลังให้กับเยาวชนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาไม่เพียงแต่เรียนรู้ในห้องเรียน แต่ยังสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงและสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนได้อีกด้วย โดยรวมแล้ว เคสนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาเชิงประสบการณ์และการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์โครงการที่มีประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ