ภูเขาผลไม้กินได้ที่ลับแล จ.อุตรดิตถ์

‘หลง’ ‘หลิน’ เป็นสายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้าน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ที่ขึ้นชื่อของพื้นที่ ช่วงนี้ยังคงมีกินได้ชิมกันบ้าง แต่ก็เริ่มหากินยาก เพราะเข้าสู้ช่วงท้ายฤดูกาลแล้ว และบางสวนนอกจากจะตัดขายส่งแล้วยังเปิดให้คนได้เข้าไปเยี่ยมชมและกินทุเรียนสุก สดใหม่ รสชาติดีจากสวน เพื่อเรียนรู้วีถีของชาวสวนทุเรียนแบบวนเกษตรอย่างที่อำเภอแม่พูล ที่ปลูกไม้ผลร่วมกับป่า จนถูกขนานนามว่า ‘ภูเขากินได้’

ลองทายดูกันได้นะว่าลูกไหน หลง หลิน เมืองลับแล (มีเฉลยท้ายบทความ)

ในอดีตคนลับแลจะมีอาวุธที่เรียกว่า ‘หนังสติ๊ก’ เกษตรกรรุ่นปู่ยาตายายจะถือหนังสติ๊กพร้อมกับหมากไม้ หรือเมล็ดพันธุ์ หากอยากปลูกทุเรียนก็ใช้เมล็ดพันธุ์ทุเรียน ยิงหนังสติ๊กออกไป อยากปลูกเงาะก็ใช้หนังสติ๊กยิงเมล็ดเงาะออกไป เมล็ดผลไม้ชนิดนั้นก็จะไปงอกเงยอยู่บนภูเขา ทุเรียน ลองกอง ลังสาด ผลไม้หลากหลายชนิดขึ้นแซมกันเต็มพื้นที่ต่อมาเมื่อผลิดอกออกผล เกษตรกรก็ก็จะขึ้นไปเก็บเกี่ยวผลผลิตลงมา จนปัจจุบันเป็นภูเขากินได้ คือ ภูเขาที่เต็มไปด้วยผลไม้ ทุเรียน ลองกอง ลังสาด ผลไม้หลากหลายชนิดขึ้นแซมกันเต็มพื้นที่ เป็นการปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน และอยู่ร่วมกับป่า ทำมาหากินในป่า มีการเก็บเกี่ยว ผลไม้ตลอดปี

ภูเขาผลไม้ ในรูปแบบวนเกษตรที่มีไม้ป่าอยู่ร่วมกับไม้ผลหลากชนิด

พี่ดำเนิน เชียงพันธ์ เจ้าของพื้นที่เคยเล่าให้ฟังว่า คนแม่พูลทำวนเกษตรแบบนี้มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย โดยถ้านับพืชในสวนทุเรียนดั้งเดิมจะมีเรือนยอดต่ำสุด 4 ระดับ สูงสุด 7 ระดับขึ้นไป ไม้ป่าใหญ่ๆ ไม้ยางใหญ่ๆ ชาวสนวนก็ไม่ได้ทำลาย ปลูกทุเรียนแซมเข้าไป จะเห็นไม้ป่าดั้งเดิม จะเป็นเรือนยอดสูง เป็นอันดับที่หนึ่ง อันดับสองเป็นทุเรียน เดิมเป็นทุเรียนพื้นเมือง ต่อมาก็มีหมอนทองเข้ามา เรือนยอดระดับที่สามเป็นลางสาด ลองกอง เรือนยอดที่สี่เป็นกาแฟ ซึ่งเป็นแบบนี้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแม่พูล

สวนทุเรียนของคนที่แม่พูลที่มีเรือยยอดอย่างน้อย 4 ระดับ

หากอยากรู้ว่าคนที่นี่ทำสวนแบบวนเกษตรมายาวนานแค่ไหน ก็สามารถไปพิสูจน์ได้ในเชิงประจักษ์กับต้นแรกก็มีอายุกว่า 130 ปีแล้ว แม้ว่าที่ดินในพื้นที่จะมีเอกสารสิทธิ์ประมาณ 10 % แต่ก็เป็นที่อยู่ที่ทำกินของคนในพื้นที่ เป็นหม้อข้าวหม้อแกง แหล่งรายได้ในชีวิตประจำวัน ใช้จับจ่ายซื้อของ ส่งลูกเรียน และเป็นต้นทุนด้านอาชีพที่คนรุ่นพ่อแม่จะส่งต่อให้คนรุ่นลูกหลานต่อไป

หลายสวน โดยเฉพาะที่มีทายาทรุ่นใหม่ ปรับเปลี่ยนจากขายผลไม้อย่างเดียว เป็นจัดเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและธรรมชาติด้วย เพราะพื้นที่มีความเขียวขจีตลอดทั้งปี จากร่มเงาไม้ ร่มเงาของผลไม้ คนที่มาเขาจะมีความตื่นเต้นที่ได้ชิมผลไม้สดๆจากสวน และตื่นเต้นกับภูเขาที่มีต้นไม้ใหญ่ ที่ชาวสวนอนุรักษ์ไว้ ส่งผลผลิตที่ดีที่สุด ให้คนข้างนอก

ด้วยสภาพพื้นที่ อากาศ ที่แตกต่างจากที่อื่นทำให้ลับแลเป็นพื้นที่ซึ่งมีผลไม้ที่มีรสชาติ และเนื้อสัมผัสเป็นเอกลักษณ์

หลงลับแล

ลักษระเป็นทรงกลมหรือรูปไข่ ฐานค่อนข้างกลม ร่องพูจะเห็นไม่ชัดเจน 

เนื้อละเอียด ไม่มีเส้นใย รสหวานมัน กลิ่นอ่อน หนักเฉลี่ย 1-3.5 กิโลกรัม

หลินลับแล

ลักษะทรงกระบอก ฐานเว้าลึก ร่องพูจะเห็นชัดเจน คล้ายผลมะเฟือง

เนื้อละเอียด เส้นใยน้อย รสหวานแหลมปนมัน เม็ดลีบแบน กลิ่นอ่อน น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม

หลิน และหลง ที่วางขายที่ตลาดหัวดง อ.ลับแล จงอุตรดิตถ์

นอกจากนี้ คุณธันวา วงศ์วาสน์ ยังเล่ามาว่าที่ลับแลยังมีโปรแกรม นั่งรถรางกินทุเรียน เที่ยวเมืองลับแล ที่ให้คนได้รู้จักเมืองลับแล สถานที่ท่องเที่ยวและชิมทุเรียนถึงสวนและมีแบบนี้ในทุกปี

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมที่ https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000041195

ขอบคุณภาพและเรื่องราว: ปันภาพ(ทีมภูมิภาค3.0) ธันวา วงศ์วาสน์

เฉลย ซ้ายมือคือหลิน ลูกทรงกระบอกร้องพูชัดเจน ขวามือ หลง ลูกทรงกลม เห็นร่องพูไม่ชัด

ชมเรื่องราวของภูเขากินได้ ตอน หลงป่า เมืองลับแล
https://www.facebook.com/watch/?v=1871684456492592

แชร์บทความนี้