การเดินทางของภัยพิบัติ จาก 20 ปี สึนามิ สู่ความพร้อมของไทยวันนี้

การเดินทางของอาสาจัดการภัยพิบัติ สึนามิ สะท้อนความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของไทย

จากบทเรียน 20 ปี ที่ประเทศไทยรู้จัก “สึนามิ” เป็นจุดเริ่มต้นของ อาสาสมัครจัดการและ รับมือภัยพิบัติของประเทศไทย  ที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่และทวีความรุนแรงถี่ขึ้นเรื่อยๆ  และจากบทเรียนการจัดการภัยพิบัติของไทยที่ผ่านมาเราพร้อมแค่ไหน? และจะมีวิธีการเตรียมรับมือเพื่อให้เท่าทันสถานการณ์ได้อย่างไร

ผมเป็นผู้ประสบภัยสึนามิคนนึง ที่สูญเสียคุณพ่อ สูญเสียญาติ พี่น้อง ในตระกูลเดียวกัน 46 คน  เราจัดระบบดูแลชุมชน จากวันนั้นเราก็ไปช่วยภัยพิบัติที่อื่นๆ เพราะที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แล้วเราก็พบว่า บทเรียนสึนามิไปใช้กับภัยพิบัติอื่นๆ  เป็นคำพูดของ ไมตรี จงไกรจักร มูลนิธิชุมชนไท และเครือข่ายภัยพิบัติชุมชน เล่าย้อยถึงวันที่  26 ธันวาคม 2547 ในเวลา 10 โมงเช้าว่า  พวกเราก็อยู่กันตามปกติ แต่แล้วภรรยาก็วิ่งมาตามผม บอกว่าน้ำทะเลแห้ง ผมก็ลงไปดู แล้วยัง กล่าวหาภรรยาด้วยซ้ำไปว่า กระต่ายตื่นตูมไปได้ แล้วก็ให้ไปเอากล้องถ่ายรูปมา มาถ่ายน้ำทะเลแห้ง  แต่แล้วคลื่นยักษ์มันก็วิ่งเข้ามาใกล้บ้านเราเรื่อยๆ เราก็เลยวิ่งหนี ไปลากคุณแม่ที่อยู่ในบ้าน ลากลูกเพื่อหนีสึนามิให้รอด จากวันนั้นน่ะ เราทำให้สูญเสียคุณพ่อ สูญเสียญาติ พี่น้อง ในตระกูลเดียวกัน 46 คน แล้วเราก็แล้ว หกระเหินแอบไปอยู่ตามป่าตามเขา

แต่ในขณะเดียวกันผมเป็นสมาชิกอบต. ที่บ้านน้ำเค็ม เป็นนักการเมืองท้องถิ่นก็จำเป็นต้องมีหัวใจว่าต้องไปดูแลประชาชนที่เป็นผู้เลือกตั้งเราเข้ามา แล้วเราก็ไปพบชาวบ้านบอกว่า ไม่รู้จะอยู่ยังไง ไม่มีห้องน้ำ ไม่รู้จะนอนที่ไหน กระจัดกระจายกันตามที่ต่างๆ  เราพบกับมูลนิธิชุมชนไทย เข้ามาตั้งคำถามว่าจะจัดการชีวิตยังไง ผมก็ตอบด้วยคำถามว่า คำตอบว่า เราต้องมีห้องน้ำ เขาก็บอกว่า แล้วจะทำยังไง จะสร้างที่ไหน จะรวมคนยังไง ถ้ามีห้องน้ำรวมคนได้และส่วนสถานที่ผมจะหาให้

จากวันนั้นเราเลยจัดตั้งศูนย์พักชั่วคราว แล้วก็ดูแลกันจัดระบบชุมชนโดยผู้ประสบภัยเป็นแกนหลัก ผมเป็นผู้ประสบภัยคนหนึ่ง แล้วก็ร่วมชาวบ้านขึ้นมาอยู่ที่นั่น 3-4พัน คน เราจัดระบบดูแลชุมชน จากวันนั้นเ ราก็ไปช่วยภัยพิบัติที่อื่นๆ เพราะที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แล้วเราก็พบว่า บทเรียนสึนามิไปใช้กับภัยพิบัติอื่นๆ ได้

ไปช่วยสนับสนุนชุมชนที่เกิดภัยพิบัติเรายึดหลัก 3 ข้อ

  • ต้องไปช่วยเขา ให้เขาช่วยตัวเองให้ได้
  • ต้องไปช่วยเขา ให้เขาอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยได้
  • เราต้องไปช่วยเขาให้เขาช่วยคนอื่นได้ในอนาคต

เพราะเราเชื่อว่า ไม่อยากจะให้ใครต้องสูญเสียชีวิต เลือดเนื้อ คราบน้ำตาไปกับการเกิดภัยพิบัติในประเทศไทย

อาสาสมัครนับหมื่น ที่มาช่วนเหลือฟื้นฟู ในพื้นที่เกิดเหตุสึนามิ  เป็นคำพูดของ คุณสมบัติ บุญงามอนงค์  ผู้อำนวยการมูลนิธิกระจกเงา กล่าว่า ย้อนไป เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มีข่าวใหญ่ในสถานีวิทยุ แล้วก็โทรทัศน์ มีการรายงานว่ามีน้ำท่วมใหญ่ในทะเลซึ่งต่อมา มีการเรียกสิ่งนี้ว่าคลื่นยักษ์สึนา เกิดขึ้นที่อันดามัน ผมและก็เพื่อนๆ ประมาณ 20 คน ได้ไปเป็นอาสาสมัคร ไปช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูลผู้สูญหาย แล้วก็ผู้เสียชีวิตในช่วงเริ่มต้น

นอกจากพวกเราแล้ว เราก็เห็นอาสาสมัครจำนวนมากนับหมื่น และถ้าเรารวมทั้งหมดทุกคนที่มาช่วยเหลือ ฟื้นฟูในพื้นที่สึนามิ อาจจะมีถึง 100,000 คน แน่นอนครับ  เวลาเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ แล้วก็เป็นภัยพิบัติที่เราไม่เคยเจอหรือรู้จักมันมาก่อน  มันจะมีช่องว่างอยู่จำนวนมาก และช่องว่างนี่แหละครับเป็นช่องว่างที่อาสาสมัครจะเข้าไปเสริมไปอุดไปช่วยทำให้ช่องว่างเหล่านั้นลดลง

ผมได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาสาสมัครสึนามิ หรือสึนามิวารันเทียร์เซ็นเตอร์ แล้วก็ปักหลักอยู่ที่เขาหลักนั้น อยู่ถึง 3 ปีครับ แล้วก็ช่วยในการฟื้นฟู แม้ว่าเบื้องต้นจะทำเรื่องงานฐานข้อมูล แต่ต่อมาก็ได้เข้าไปช่วยเหลือในเรื่องของที่อยู่อาศัย การสร้างบ้านพักชั่วคราว บ้านพักถาวรหรือแม้แต่การต่อเรือครับ

เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นในประเทศไทย เกี่ยวกับอาสาสมัครและเมื่อเกิดอุบัติภัยขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเกิดที่ใด ในประเทศไทย เราจะได้เห็นศูนย์ประสานงานอาสาสมัครและการจัดการอาสาสมัครเกิดขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าส่งผลมาจากประสบการณ์เรียนรู้เมื่อเหตุการณ์สึนามิ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ผมเรียกสิ่งนี้ว่าระบบการจัดการภัยพิบัติ อาสาสมัคร ผมเรียกสิ่งนี้ว่า ระบบตอบโต้ภัยพิบัติ

นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ) เล่าย้อนว่า เราก็ไม่คิดว่าสึนามิ มันจะเข้าประเทศไทย ถล่ม ตลอดแนวชายฝั่งอันดามัน  สุดท้ายออกจากปัตตานีนัดพบกับพี่น้องที่ทำงานเรื่องชาวประมงพื้นบ้านกันที่ตรัง ว่า ใครรู้ข่าวอะไรบ้าง ประเมินกันเสร็จ แยกย้ายกันไปประมวลว่าพี่น้องเราใครประสบเหตุอะไรบ้าง

จากนั้น เราก็เลยตรงไปที่เขาหลัก เพื่อไปดูว่า มันเป็นยังไง แล้วเราจะช่วยอะไรได้บ้าง ขณะเดียวกันก็เริ่มโทรศัพท์ไปที่ 3-4 จุด ที่เราพอรู้จักว่าต้องมาช่วยกัน พอไปถึงที่เขาหลักเข้าไปที่วัดบางม่วงเข้าไปที่วัดย่านยาว เหตุการณ์ที่เราพบก็คือว่า ศพคนนอนเต็มไปหมดในลานวัดแม้กระทั่งตามริมถนน

ถามทุกฝ่ายว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องการ คำตอบ ก็คือว่า ระบบฐานข้อมูลมันขาด ไม่สามารถต่ออะไรได้เลย คนญาติหายคนที่อยากจะช่วย เราจัดการระบบฐานข้อมูลลงมาด่วน และเตรียมทุนไว้เพื่อให้เราพร้อมทำงาน พร้อมกันและนัดชาวบ้านที่ทำงานอยู่กับชุมชนชาวประมง มาประเมินกันว่า อะไรที่เราจะต้องทำสุดท้ายชาวบ้านก็บอกว่าเราอยากได้ฟื้นคืนชีวิตกลับมา ขอแต่เพียงว่าเรามีเครื่องมือประกอบอาชีพบ้านยังไม่ต้องแล้วเราจะเริ่มกลับมานับหนึ่งกันได้

สิ่งที่เราได้เรียนรู้ ก็คือว่า ภัยมันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วก็ใหญ่อาจจะเกินคาดคิด  เราจะต้องพร้อมที่จะเผชิญ พร้อมที่จะไปต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมประสานกับผู้ที่เรารู้จักผู้ที่เราเกี่ยวเนื่องหรือผู้ที่เขาอยากจะร่วมแล้วก็มาช่วยกัน ท้ายสุดเนี่ย เราก็ไปเจอพี่น้องในระดับชุมชนทำงานกับชาวบ้านกับนักวิชาการจนออกมาเป็นขบวนการขับเคลื่อนหนึ่งที่ผมมีส่วนร่วมก็คือเซฟอันดามัน Network เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน ที่ทำงานอีกมากมาย

คุณสมบัติหรือพี่หนูหริ่ง  กล่าวต่อว่า คือ จริงๆ เหตุการณ์สึนามิ เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว มันคิกออฟ เลยนะครับ เกี่ยวกับเรื่องความตื่นตัวเกี่ยวเรื่องภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติ แต่ว่า  การจัดหน้าที่และการจัดการหลักมันเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่เนื่องจากว่าการเมือง การเปลี่ยนรัฐบาล แล้วบรรยากาศที่ภัยพิบัติ มันไม่ได้มาแบบใหญ่ๆไม่ได้ต่อเนื่องนะ มันก็จะมีความหย่อนยานแล้วก็เลิกราไปในที่สุดนะครับ

แต่ว่า ภาคประชาสังคมมันชัดมากเลย ภาคของอาสาสมัคร หรือประชาสังคมมันชัดเด่น ผมคือมันยกระดับทุกครั้ง  และมันกลาย มันเข้าไปบีบ เบียดงาน เบียดถึงขนาดว่า งานบางงานนี่รัฐ ไม่ทำเลยนะ ไม่ใช่ อย่างเช่น งานฟื้นฟู ในบางลักษณะงานไม่ปรากฏงานของรัฐอยู่ในการฟื้นฟูเลย เพื่อจะให้ประชาชนจบภารกิจการฟื้นฟูในในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นภาคประชาสังคม หรืออาสาสมัครจะให้เขาเติบโตในบรรยากาศที่เรียกว่าตามยถากรรมซึ่งทำได้ดีด้วย

 แต่ถ้ามองว่า หากรัฐยอมรับข้อจำกัดของตัวเอง ถ้าไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถ หรือพัฒนาให้ท่วงทันกับการเกิดภัยพิบัติ ทางหนึ่งที่รัฐทำได้ ก็คือ การที่รัฐมองเห็นบทบาทของภาคประชุมสังคม ที่แข็งแรงและเติบโตเขาไปได้ไกลกว่าดีกว่า ควรจะส่งเสริม ไม่ใช่แค่ การมอบอำนาจ แต่ต้องลงไปสนับสนุน

แชร์บทความนี้