คนแป้ล้อมวงคุย : เวทีการมีส่วนร่วมในการจัดการแพร่เมืองน่าอยู่

คนแพร่ล้อมวงคุย คนแป้อู้จา จัดเวทีการมีส่วนร่วมในการจัดการแพร่เมืองน่าอยู่ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ณ สถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้ จ.แพร่

เป็นระดมความคิดเห็นของคนแพร่ มองศักยภาพต้นทุนในพื้นที่ ชวนมองถึงข้อติดขัดอะไรที่ทำให้แพร่ยังไปไม่ถึงฝัน รวมทั้งข้อเสนอจัดตั้งพื้นที่กลาง ของภาคประชาสังคม เอกชน รัฐ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่แพร่

สามชาย พนมขวัญ เครือข่ายองค์กรภาคเอกชน จ.แพร่ กล่าวว่า อยากจะเห็นการที่เราจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบ้านเมืองได้อย่างไร ? เพราะปัจจุบันสังคมป่วย สิ่งแวดล้อมป่วย คนแพร่ จะช่วยกันได้อย่างไร เช่นการจัดการเรื่องฝุ่นควันไฟป่าเป็นเรื่องแกยากและซับซ้อนในพื้นที่จังหวัดแพร่

ข้อเสนอการจัดการที่เป็นรูปธรรมในการจัดการของ สสส.โหนดแพร่และร่วมมือหลายภาคส่วนทั้งสภาองค์กรชุมชน พอช. ท้องถิ่น ร่วมมือกันทำพื้นที่ตัวอย่างซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันมีการสรุปการทำแผนและการทำงานร่วมกับชุมชนและทำงานเชิงพื้นที่ได้อย่างไรที่จะเข้าไปแก้ปัญหาฝุ่นควันไฟป่าในพื้นที่จังหวัดแพร่ วันนี้มีพื้นที่ตัวอย่างป่าชุมชนที่พร้อมเดินต่อได้ เข่น ชุมชนบ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ / ป่าชุมชนบ้านปง จ.แพร่

กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ กล่าวว่า แพร่มีการกำหนดพื้นที่เกษตรอินทรีย์ แต่อยากให้คนแพร่ใส่ใจการกิน การอยู่ ไม่ใช่เพียงกำหนดวาระว่าเราเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์แต่คนในพื้นที่ไม่ได้สนใจการกินการอยู่ ไม่มีการกำหนดแผนนโยบายออกมา ตลาดการขายอยู่กับคนภายนอก คนรุ่นใหม่เปลี่ยนอาชีพไปทำอาชีพอื่น แต่เรามีวาระในพื้นทีเรื่องเกษตรอินทรีย์ ตั้งคำถามถึงการไปต่อในพื้นที่ว่าจะไปได้อย่างไร แต่หากเราต้องการให้ไปต่อได้ต้องมาคิดร่วมกัน

ผู้ประกอบการสมาคมเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก กล่าวว่า ทางสมาคมเฟอร์นิเจอร์กฎหมายแต่ละกฎหมายการค้าเฟอร์นิเจอร์การผลิตเฟอร์นิเจอร์ ในยุคก่อนไม้ต้องใช้ไม้เถื่อน ถ้าไม่ใช่หมายถึงอันก็ไม่ได้เพราะต้องผ่านกฎหมายมากมาย แต่วันนี้ไม่ได้ที่จะทำต่อไปได้ในพื้นที่ เพราะกฎหมายยังคงไม่เอื้อต่อการพัฒนา จะทำอย่างไรกับการพัฒนาต่อไป ต้องมาคุยกันต่อว่าจะมีอะไรเข้าไปสู่กระบวนการ เพราะปัจจุบันข้อมูลบอกว่าเล่ามีรายได้สูงสุด ไม้ไม่มีใครบอกว่ามีภาษีเท่าไหร่ เพราะบอกไม่ได้

นพ.ลักษณ์ ปภินวิชกุล” แพทย์ศัลยกรรมกระดูก (ออร์โธปิดิกส์) ประจำโรงพยาบาลแพร่ จ.แพร่ กล่าวว่า มุมมองด้านสุขภาพวะ ปัญหาเรื่องของผู้สูงอายุในเมืองแพร่ เป็นอันดับสองของประเทศ ซึ่งปัญหาใหญ่คือเรื่องกระดูก

สังคมสูงวัยกำลังไล่ล่าประเทศที่ไม่มีความพร้อม โดยสถานการณ์ของประเทศไทย พบว่าภูมิภาคที่ประสบปัญหาเรื่องสังคมผู้สูงอายุมากที่สุดคือภาคเหนือ โดยเฉพาะ “จ.แพร่” ที่มีอัตราผู้สูงอายุสูงกว่าจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย

กว่า 24% ของประชากรใน จ.แพร่ เป็นผู้มีอายุเกิน 60 ปี โดยปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุที่พบเจอมากที่สุดในจังหวัดแพร่คือปัญหาเกี่ยวกับ “สะโพก” ไม่ว่าจะเป็นสะโพกฉีก กระดูกสะโพกร้าว หรือหัก

อย่างไรก็ตาม แม้การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดจะค่อนข้างครอบคลุมทั่วถึงและสามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี แต่การจะผ่าก็ต้อง “รอคิว” ซึ่งการรอคอยก็มีทั้งความยาวนาน และทรมาน ปัญหาเพียงแค่รอผ่าตัดนี้เรื้อรังและร้ายจนสามารถนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิตได้

ซึ่งจริงๆแล้วเมืองแพร่มีหลายกลุ่มที่ทำเรื่องสุขภาพเช่นเรื่องการแก้ปัญหาภาวะโรค NCD โรคเบาหวานความดัน เกี่ยวกับระบบการกินการอยู่ ตั้งคำถามถึงสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างไร

เชื่อมกับสมาคมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ร่วมแชร์ในมุมมอง การดูแลสุขภาพคนในชุมชนออสอมอถือว่าเป็นตัวหลัก ปัจจุบันอสม ได้รับเงินสนับสนุนมากขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวลคืออายุที่เพิ่มมากขึ้นไปด้วยซึ่งร้อยละ 70 เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเวลาลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยในการดูแลจะลำบาก อสม. ต้องเข้าไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองด้วย มีการปลูกไผ่

ในมุมของการท่องเที่ยว กลุ่มรักษ์เมืองเก่าแพร่ มองว่า เมืองแพร่เห็นชัดจากเรื่องในอดีตในอดีตอย่างเรื่องการรื้อบ้านเขียว ปัจจุบันมีวัดโบราณขุดขึ้นโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่จริงแล้วถ้าระเบียบราชการเป็นไปตามระเบียบวัดเก่าที่เกิดขึ้น จะไม่เกิดปัญหานี้กรมศิลปากรจะต้องมาควบคุมดูแลก่อนออกแบบเส้นทางรถไฟ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการปล่อยประไม่สำรวจวิถีชีวิตของคนในพื้นที่โดยหน่วยงานราชการมองข้ามจุดนี้ ปัจจุบันเส้นทางรถไฟอยู่กลางวัด จะเป็นไปอย่างไรต่อ

กลุ่มท่องเที่ยว ตั้งคำถามถึงแนวทางพัฒนาแบบมีส่วนร่วมจะเป็นอย่างไร การศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เกิดการสูญเสียและ ขาดการอนุรักษ์ งานหัตถกรรมการสนับสนุนสิ่งเหล่านี้สะท้อนด้านการท่องเที่ยว เช่นบ้านนาแหลมทำหมวกกุ๊บลอน ทำด้วยการสานไผ่และใบลาน บ้านนาแหลมหากไม่มีแกนนำ และการเชื่อมโยงการทำงานกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ก็จะไม่มีเรื่องราว story ของดีออกมา แต่วันนี้มีคนที่ออกมาเริ่มฟื้นฟูใช้ทุนวัฒนธรรมชุมชนในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวชุมชนซึ่งทำให้เห็นว่าเมืองแพร่มีของดี

และอย่างพื้นที่อำเภอวังชิ้นการส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาเมืองแพร่พัฒนาและมีคุณภาพแต่ขาดการรวมตัวรวมกลุ่ม ซึ่งพื้นที่วังชิ้นเน้นการท่องเที่ยวชุมชน การทำงานร่วมกันระหว่างคนรุ่นเดิมและคนรุ่นใหม่ให้เกิดการสานต่อเป็นโจทย์ท้าทาย และประเด็นงบประมาณคนในพื้นที่จะเข้าถึงได้อย่างไรและคนรุ่นใหม่ที่จะมาต่อยอดงานพัฒนาต่อจะเป็นไปอย่างไร

กลุ่มชาติพันธ์ในพื้นที่จังหวัดแพร่ กล่าวถึง การพัฒนาที่ผ่านมาล้วนมีปัญหา รัฐพัฒนาสุดท้ายทุนใหญ่ได้กิน และสุดท้ายประชาชนเป็นหนี้สิน แม้แต่โค่กหนองนาในปัจจุบันสุดท้ายผู้รับเหมาได้ผลประโยชน์แต่เกษตรตามนโยบายของรัฐไปไม่รอด

สล่าเอก สูงเม่น กล่าวว่า บ้านท่าล้อ ทำเกวียณ เป็นเหมือนแสงเทียนเล็กๆ ผุดขึ้นกลางชุมชน อยากให้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่

ข้อเสนอในด้านการส่งเสริมการแก้ไขปัญหาการจัดการด้านกฎหมายซึ่งในปัจจุบันยังไม่ลงตัว หลายคนสะท้อนเรื่องการทำงานที่ดีแต่ไม่ลงตัวการทำงานที่ไปได้แต่ไปได้ไม่สุด ซึ่งวันนี้ทุกคนอยากให้เริ่มการมีพื้นที่กลางซึ่งร่วมกันจัดการสิ่งเหล่านี้ให้เดินไปถึงปลายทาง ไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้อย่างไร ?

นอกจากการระดม เสียงของคนแพร่แล้ว การพูดคุยถึงการมี พื้นที่กลางของคนแพร่ จากบทเรียนการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ โดย คุณ ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ กล่าวว่า บทเรียนการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ที่เป็นเมืองมหานครซึ่งเกิดสภาลมหายใจขึ้น ข้อสำคัญและข้อสังเกตที่พบจากการทำงานของภาคประชาสังคมและภาครัฐยังไม่สอดคล้อง แก้ปัญหาแบบเดือนชนเดือน การแก้ปัญหาแบบบนลงล่าง สั่งการจากข้างบนโดยไม่รับรู้ถึงความต้องการของคนในพื้นที่ จากบทเรียนในอดีตวันนี้มีการวางแผนแก้แบบเป็นระบบ อย่างมีส่วนร่วมทั้งชุมชน อปท. ทำงานร่วมกันเสนอการบริหารจัดการที่มีทั้งไฟจำเป็นและไฟไม่จำเป็น และสิ่งที่สำคัญในอนาคตของเมืองเชียงใหม่ และคนไทยทั้งประเทศที่จะช่วยเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่น คือ พ.ร.บ.อากาศสะอาด นอกจากนี้ยังมีแผนในการสร้างเมืองสุขภาพวะ สร้างจิตสำนึกคน เรื่องการดูแลสุขภาพวะ

พร้อมทั้งขยายแนวคิดการมีพื้นที่กลาง โดย ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล หัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายการกระจายอำนาจฯ คณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวว่า ซึ่งใจความสำคัญหลักต้องเป็นพื้นที่กลางเวทีปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันและเป็นเวทีประชาธิปไตย ซึ่งประชาชนเข้ามาช่วยกันทำงานได้ และที่สำคัญต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย สามารถสะท้อนปัญหา เป็นพื้นที่ที่สามารถแสดงตัวตนได้ พื้นที่เชื่อมโยงผู้คนให้มีส่วนร่วมและพื้นที่ไม่ปลอดการเมืองสามารถเอาผู้ที่เห็นต่างมาพูดคุยผ่านพื้นที่กลางได้เพื่อหาจุดร่วม ทำให้พื้นที่กลางกลายเป็นสถาบันจะให้มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อการยอมรับจากทางราชการ

แนวทางการจัดตั้งพื้นที่กลางคือภาคประชาชนต้องก่อรูปขึ้นและสถาปนาตนเองขึ้นมา ภาคประชาชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีกฎหมายก่อตั้ง และภาคประชาชนต้องมีความเข้มแข็งเป็นพลเมืองตื่นรู้

ฟังเสียงคนแพร่เพิ่มเติมได้ที่

ช่วงเช้า : https://www.facebook.com/Samakomkhonphrae/videos/7870234266322499?locale=th_TH

ช่วงบ่าย : https://www.facebook.com/thaithenorth/videos/1114803349574103

แชร์บทความนี้