Back To School ร็อกเกตมีเดียสำรวจสุขภาพการเงินของเด็กไทย “ค่าเทอมฟรี” ยังเป็นข้อเสนอของทุกระดับชั้น

– นักเรียนไทยกว่าครึ่งหนึ่งมีเงินเก็บ แต่มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ทำงานพิเศษหาเงิน ซึ่งทำทั้งในช่วงปิดเทอมและทำเป็นประจำแม้จะเปิดเทอมแล้ว โดยนักเรียนในทุกระดับชั้นที่ทำงานพิเศษมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด รองลงมาคือเพื่อช่วยเหลือครอบครัว

– โดยส่วนใหญ่นักเรียนได้เงินจากการทำงานพิเศษเดือนละ 1-3,000 บาทมากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน ม.ต้นและม. ปลาย ส่วนกลุ่มปวช. นั้นส่วนใหญ่ได้เดือนละ 3,001-5,000 บาท โดยงานพิเศษที่นักเรียนทำกันมากที่สุดในทุกระดับชั้นคืองานบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า 

– นักเรียนชั้น ปวช. เป็นกลุ่มนักเรียนที่ตอบว่าต้องกู้ กยศ. มากที่สุด และเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้จ่ายค่าเดินทางไปเรียนมากที่สุดอีกด้วย ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ เช่น ม.ต้นใช้จ่ายไปกับค่าอาหารในโรงเรียนมากที่สุด ส่วนนักเรียนประถมใช้ไปกับค่าอาหารนอกโรงเรียนมากที่สุด และส่วนใหญ่มักได้เงินไปโรงเรียนอยู่ที่ 51-100 บาทต่อวัน ยกเว้นนักเรียนชั้นประถมที่ได้ 1-50 บาทต่อวันเป็นส่วนใหญ่ 

– นักเรียนกว่า 20% ต้องจ่ายค่าเรียนพิเศษ โดยมีในทุกระดับชั้นต้องจ่าย ตั้งแต่ชั้นประถมที่สะท้อนว่าจ่ายค่าเรียนพิเศษเดือนละ 1-500 บาทมากที่สุด ส่วน ม.ต้น ม.ปลาย และ ปวช. จ่ายค่าเรียนพิเศษเดือนละ 1,001- 3,000 มากที่สุด 

– นักเรียนประถมมีการเปลี่ยนชุดนักเรียนและรองเท้านักเรียนบ่อยที่สุด ในขณะที่นักเรียน ม.ปลายส่วนใหญ่ตอบว่าจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อขาดหรือใส่ไม่ได้ ส่วนหนังสือเรียนนั้นนักเรียนส่วนใหญ่มักยืมหรือได้จากโรงเรียนมากที่สุด และในส่วนของอุปกรณ์เสริมการเรียนพบว่านักเรียน 76% ล้วนมีสมาร์ทโฟน

ร็อกเกต มีเดีย แล็บ rocketmedialab.co ร่วมกับ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (p2h) https://path2health.or.th สำรวจค่าใช้จ่ายของกลุ่มนักเรียนชั้นประถม (ป.1-6) มัธยมศึกษา (ม.1-6) และ ปวช. ผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างวันที่ 16-23 พ.ค. ที่ผ่านมา ผลการสำรวจมีดังนี้ 

จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 1,721 คน แบ่งเป็นเพศหญิง  1,023 คน คิดเป็น 59.44% ตามด้วย ชาย 591 คน คิดเป็น 34.34% LGBTQ+ 89 คน คิดเป็น 5.17% และ ไม่ต้องการระบุ 18 คน คิดเป็น 1.05%

เมื่อแบ่งตามระดับการศึกษา แบ่งได้เป็น ป.1-ป.6 จำนวน 593 คน คิดเป็น 34.46% ม.1-ม.6จำนวน 895 คน คิดเป็น 52% และ ปวช.1-ปวช.3 จำนวน 233 คน คิดเป็น 13.54% โดยแบ่งเป็นโรงเรียนรัฐ 1,562 คน คิดเป็น 90.76% และโรงเรียนเอกชน 159 คน คิดเป็น 9.24%

เมื่อแยกพื้นที่ของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า อยู่ในภาคเหนือ มากที่สุด จำนวน 890 คน คิดเป็น 51.71% ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 484 คน คิดเป็น 28.12% ภาคกลาง 182 คน คิดเป็น 10.58% ภาคใต้ 86 คน คิดเป็น 5.00% ภาคตะวันออก 50 คน คิดเป็น 2.91% และภาคตะวันตก 29 คน คิดเป็น 1.69%

เมื่อถามว่าทำงานพิเศษหรือไม่ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานพิเศษ เป็นจำนวน 1,387 คน คิดเป็น 80.59% มีนักเรียนที่ทำงานพิเศษ 334 คน คิดเป็น 19.41% แบ่งเป็นนักเรียน ม.1-6 จำนวน 177 คน คิดเป็น 52.99% ป.1-6 จำนวน 33 คน คิดเป็น 9.88% ปวช.1-3 จำนวน 124 คน คิดเป็น 37.13% กลุ่มนักเรียนที่ทำงานพิเศษมากที่สุด คือ ภาคเหนือ 26.35% ภาคกลาง 26.05% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25.45%

ในจำนวนนักเรียนที่ทำงานพิเศษ 334 คน เมื่อถามว่าทำงานประเภทใด โดยมีตัวเลือกให้ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ มีผู้ที่ตอบว่าทำงานบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า มากที่สุด 194 คน คิดเป็น 48.02% รองลงมา ค้าขายออนไลน์หรือมีหน้าร้าน 66 คน คิดเป็น 16.34% อันดับที่ 3 งานช่าง 25 คน คิดเป็น 6.19% อันดับที่ 4 งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง 17 คน คิดเป็น 4.21% อันดับที่ 5 งานดนตรี/ศิลปะ/การแสดง 15 คน คิดเป็น 3.71% อันดับที่ 6 คอนเทนต์ครีเอเตอร์ 10 คน คิดเป็น 2.48% อันดับที่ 7 สอนพิเศษ 6 คน คิดเป็น 1.49% อันดับที่ 8 แคสต์เกม 5 คน คิดเป็น 1.24% อันดับที่ 9 อื่นๆ เช่น แคดดี้สนามกอล์ฟ ช่วยงานครอบครัว 22 คน คิดเป็น 5.45%

ในผลการตอบแบบสอบถามยังพบว่า นักเรียนประถม ค้าขายออนไลน์/ มีหน้าร้าน มากที่สุด จำนวน 9 คน คิดเป็น 27.27% งานบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า 8 คน คิดเป็น 24.24% ตามด้วยงานที่เกี่ยวกับการเกษตร 5 คน คิดเป็น 15.15%

นักเรียนชั้นมัธยมต้น ทำงานบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า มากที่สุด 11 คน คิดเป็น 33.33% งานที่เกี่ยวกับการเกษตร 10 คน คิดเป็น 30.30% ค้าขายออนไลน์/ มีหน้าร้าน 8 คน คิดเป็น 24.24% 

ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมปลาย ทำงานบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า มากที่สุด 82 คน คิดเป็น 56.94% ค้าขายออนไลน์/ มีหน้าร้าน 30 คน คิดเป็น 20.83% งานที่เกี่ยวกับการเกษตร 20 คน คิดเป็น 13.89%

นักเรียนชั้น ปวช.ทำงานบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า มากที่สุด 93 คน คิดเป็น 75% ค้าขายออนไลน์/ มีหน้าร้าน 19 คน คิดเป็น 15.32% งานช่าง 12 คน คิดเป็น 9.68%

ช่วงเวลาที่ทำงานพิเศษของนักเรียนมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยมีนักเรียนที่ทำเฉพาะช่วงปิดเทอมมากที่สุด 120 คน คิดเป็น 35.93% แบ่งออกเป็น ม.ปลาย 60 คน คิดเป็น 50% ปวช. 39 คน คิดเป็น 32.50% และม.ต้น 13 คน คิดเป็น 10.83% รองลงมา ทำเป็นประจำ 109 คน แบ่งออกเป็น ม.ปลาย 46 คน คิดเป็น 51.69% ปวช. 33 คน คิดเป็น 37.08% และม.ต้น 10 คน คิดเป็น 11.24% คิดเป็น 32.63% อันดับที่ 3 ทำเป็นครั้งคราว 105 คน คิดเป็น 31.44% แบ่งออกเป็น ปวช. 52 คน คิดเป็น 52.00% ม.ปลาย 38 คน คิดเป็น 38.00% และม.ต้น 10 คน คิดเป็น 10%

รายได้จากงานพิเศษในแต่ละเดือน พบว่า มีนักเรียนได้เงิน 1-3,000 บาทมากที่สุด 162 คน คิดเป็น 48.50% รองลงมา มีรายได้ 3,001-5,000 บาท 97 คน คิดเป็น 29.04% อันดับที่ 3 มีรายได้ 5,001-10,000 บาท 64 คน คิดเป็น 19.16% อันดับที่ 4 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท 9 คน คิดเป็น 2.69% อันดับที่ 5 มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท 2 คน คิดเป็น 0.60%

เมื่อจำแนกตามระดับชั้น นักเรียนมัธยมต้นมีรายได้จากงานพิเศษ 1-3,000 บาท มากที่สุด 23 คน นักเรียนมัธยมปลาย มีรายได้ 1-3,000 บาทมากที่สุด 71 คน ส่วนนักเรียนระดับชั้น ปวช. มีรายได้จากงานพิเศษ 3,001-5,000 บาท มากที่สุด 50 คน

โดยกลุ่มที่รายได้ไม่เกิน 3,000 บาท ส่วนใหญ่ทำงานบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า 71 คน ค้าขายออนไลน์/ มีหน้าร้าน 36 คน งานที่เกี่ยวกับการเกษตร 32 คน ขณะที่ กลุ่มที่รายได้เกิน 20,000 บาท ค้าขายออนไลน์/ มีหน้าร้าน 1 คน งานที่เกี่ยวกับการเกษตร 1 คน

เมื่อพิจารณารายภาค กลุ่มรายได้ 1-3,000 บาท แบ่งเป็นภาคเหนือ 61 คน คิดเป็น 37.65% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 45 คน คิดเป็น 27.78% ภาคกลาง 21 คน คิดเป็น 12.96% ภาคใต้ 18 คน คิดเป็น 11.11% ภาคตะวันออก 12 คน คิดเป็น 7.41% และภาคตะวันตก 5 คน คิดเป็น 3.09%

กลุ่มรายได้ 3,001-5,000 บาทแบ่งเป็นภาคกลาง 36 คน คิดเป็น 37.11% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25 คน คิดเป็น 25.77% ภาคเหนือ 18 คน คิดเป็น 18.56% ภาคใต้ 11 คน คิดเป็น 11.34% ภาคตะวันตก 5 คน คิดเป็น 5.15% และภาคตะวันออก 2 คน คิดเป็น 2.06%

กลุ่มรายได้ 5,000-1,0000 บาท แบ่งเป็นภาคกลาง 24 คน คิดเป็น 37.50% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 คน คิดเป็น 18.75% ภาคใต้ 11 คน คิดเป็น 17.19% ภาคเหนือ 8 คน คิดเป็น 12.50% ภาคตะวันออก 7 คน คิดเป็น10.94% และภาคตะวันตก 2 คน คิดเป็น 3.13%

กลุ่มรายได้ 10,000-20,000 บาท แบ่งเป็นภาคกลาง 5 คน คิดเป็น 55.56% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 คน คิดเป็น 22.22% ภาคเหนือ 1 คน คิดเป็น 11.11% และ ภาคตะวันออก 1 คน คิดเป็น 11.11% 

ส่วนกลุ่มรายได้ มากกว่า 20,000 บาท แบ่งเป็น ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคละ 1 คน คิดเป็นภาคละ 50%

เมื่อถามถึงจุดประสงค์ในการทำงานพิเศษของผู้ตอบแบบสอบถาม 334 คน โดยให้เลือกได้เพียงคำตอบเดียว มีผู้ตอบว่า เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด 146 คน คิดเป็น 43.71% รองลงมา ช่วยเหลือครอบครัว 62 คน คิดเป็น 18.56% อันดับที่ 3 เก็บไว้เรียนต่อ 37 คน คิดเป็น 11.08% อันดับที่ 4 เก็บเป็นเงินออม 33 คน คิดเป็น 9.88% อันดับที่ 5 ใช้จ่ายด้านการศึกษา เช่น ค่าเทอม เครื่องแบบ 28 คน คิดเป็น 8.38% อันดับที่ 6 ซื้อของที่อยากได้ 22 คน คิดเป็น 6.59% อันดับที่ 7 ค่าโทรศัพท์/ค่าอินเทอร์เน็ต 2 คน คิดเป็น 0.60% อันดับที่ 8 อื่นๆ เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ลงทุนต่อ ท่องเที่ยวต่างจังหวัด/ต่างประเทศ เติมเกม 4 คน คิดเป็น 1.2%

เมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่า นักเรียนชั้นประถมนำเงินที่ได้ไปเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด 10 คน คิดเป็น 30.30% รองลงมาเก็บเป็นเงินออม 9 คน คิดเป็น 27.27% อันดับที่ 3 ช่วยเหลือครอบครัว 8 คน คิดเป็น 24.24% อันดับที่ 4 ซื้อของที่อยากได้ และเก็บไว้เรียนต่อ เท่ากันที่ 2 คน คิดเป็น 6.06% อันดับที่ 5 เติมเกม และใช้จ่ายด้านการศึกษา เช่น ค่าเทอม เครื่องแบบ เท่ากันที่ 1 คน คิดเป็น 3.03% 

นักเรียนชั้นมัธยมต้นนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด 13 คน คิดเป็น 39.39% รองลงมาเก็บซื้อของที่อยากได้ 7 คน คิดเป็น 21.21% อันดับที่ 3 ช่วยเหลือครอบครัว 5 คน คิดเป็น 15.15% อันดับที่ 4 เก็บไว้เรียนต่อ 3 คน คิดเป็น 9.09% อันดับที่ 5 เก็บเป็นเงินออม 3 คน คิดเป็น 9.09% อันดับที่ 6 ใช้จ่ายด้านการศึกษา เช่น ค่าเทอม เครื่องแบบ 2 คน คิดเป็น 6.06%

นักเรียนชั้นมัธยมปลายนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด 53 คน คิดเป็น 36.81% รองลงมาช่วยเหลือครอบครัว 33 คน คิดเป็น 22.92% อันดับที่ 3 เก็บไว้เรียนต่อ 26 คน คิดเป็น 18.06% อันดับที่ 4 เก็บเป็นเงินออม 15 คน คิดเป็น 10.42% อันดับที่ 5 ใช้จ่ายด้านการศึกษา เช่น ค่าเทอม เครื่องแบบ 11 คน คิดเป็น 7.64% อันดับที่ 6 ซื้อของที่อยากได้ 5 คน คิดเป็น 3.47% และค่าโทรศัพท์/ค่าอินเทอร์เน็ต 1 คน คิดเป็น 0.69%

นักเรียนชั้น ปวช.นำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด 70 คน คิดเป็น 56.45% รองลงมาช่วยเหลือครอบครัว 16 คน คิดเป็น 12.90% อันดับที่ 3 ใช้จ่ายด้านการศึกษา เช่น ค่าเทอม เครื่องแบบ 14 คน คิดเป็น 11.29% อันดับที่ 4 ซื้อของที่อยากได้ 8 คน คิดเป็น 6.45% อันดับที่ 5 เก็บไว้เรียนต่อ 6 คน คิดเป็น 4.84% อันดับที่ 6 เก็บเป็นเงินออม 6 คน คิดเป็น 4.84% อันดับที่ 7เลี้ยงสัตว์เลี้ยง 1 คน คิดเป็น 0.81% ลงทุนต่อ 1 คน คิดเป็น 0.81% ท่องเที่ยวต่างจังหวัด/ต่างประเทศ 1 คน คิดเป็น 0.81% และค่าโทรศัพท์/ค่าอินเทอร์เน็ต 1 คน คิดเป็น 0.81%

เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่ตอบว่าจะนำเงินไปใช้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวพบว่า มีสัดส่วนจากภาคเหนือมากที่สุด 22 คน รองลงมาเป็น ภาคกลาง 18 คน อันดับที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 คน อันดับที่ 4 ภาคตะวันออก 4 คน อันดับที่ 5 ภาคใต้ 3 คน อันดับที่ 6 ภาคตะวันตก 1 คน

เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่ตอบว่าจะนำเงินไปใช้เพื่อจ่ายค่าเทอมพบว่า มาจากภาคกลางมากที่สุด 7 คน รองลงมาเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 คน อันดับที่ 3 ภาคใต้ 6 คน อันดับที่ 4 ภาคเหนือ 5 คน อันดับที่ 5 ภาคตะวันออก 2 คน อันดับที่ 6 ภาคตะวันตก 2 คน

จากคำถามที่ว่ามีเงินเก็บเท่าไร นักเรียน 1,721 คนที่ตอบแบบสอบถามตอบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีเงินเก็บ 748 คน คิดเป็น 43.46% รองลงมา มีเงินเก็บ 1-1,000 บาท 480 คน คิดเป็น 27.89% อันดับที่ 3 มีเงินเก็บ 1,001-5,000 บาท 267 คน คิดเป็น 15.51% อันดับที่ 4 มีเงินเก็บ 5,001-10,000 บาท 140 คน คิดเป็น 8.13% อันดับที่ 5 มีเงินเก็บ 10,001-50,000 บาท 61 คน คิดเป็น 3.54% อันดับที่ 6 มีเงินเก็บมากกว่า 50,000 บาท 25 คน คิดเป็น 1.45%

ในจำนวนนี้พบว่านักเรียนที่ตอบว่าไม่มีเงินเก็บ เป็นนักเรียนชั้นประถมมากที่สุด 301 คน โดยเงินเก็บที่นักเรียนประถม มีมากที่สุด อยู่ในช่วง 1-1,000 บาท มีจำนวน 122 คน

นักเรียนชั้นมัธยมต้นตอบว่ามีเงินเก็บอยู่ในช่วง 1-1,000 บาทมากที่สุด มีจำนวน 160 คน ส่วนที่ตอบว่าไม่มีเงินเก็บ มีจำนวน 146 คน นักเรียนชั้นมัธยมปลายตอบว่าไม่มีเงินเก็บมากที่สุดถึง 195 คน ส่วนที่ตอบว่ามีเงินเก็บนั้น มีเงินเก็บอยู่ในช่วง 1-1,000 บาท มากที่สุด มีจำนวน 128 คน ส่วนระดับชั้นปวช. ตอบว่าไม่มีเงินเก็บมากที่สุด 106 คน ส่วนที่มีเงินเก็บนั้นมีเงินเก็บในช่วง 1-1,000 บาทมากที่สุด 70 คน

กลุ่มที่เงินเก็บมากกว่า 50,000 บาท มากที่สุด คือกลุ่มนักเรียนชั้นประถม 11 คน (ไม่มีใครทำงานพิเศษ) มัธยมต้น 8 คน (ไม่มีใครทำงานพิเศษ) มัธยมปลาย 6 คน (ค้าขายออนไลน์/ มีหน้าร้าน, งานที่เกี่ยวกับการเกษตร, สอนพิเศษ, งานบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า)

สำหรับเงินที่ต้องจ่ายค่าเทอมให้กับโรงเรียนในแต่ละเทอม ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่า ต้องจ่ายเงินระหว่าง 1-3,000 บาทมากที่สุด 746 คน คิดเป็น 43.35% อันดับ 2 ไม่ต้องจ่าย (ฟรี) 338 คน คิดเป็น 19.64% อันดับที่ 3 ต้องจ่าย 3,001-5,000 บาท 283 คน คิดเป็น 16.44% อันดับที่ 4 ต้องจ่าย 5,001-10,000 บาท 155 คน คิดเป็น 9.01% อันดับที่ 5 นักเรียนที่กู้ กยศ.76 คน คิดเป็น 4.42% อันดับที่ 6 นักเรียนต้องจ่าย 10,001-20,000 บาท 53 คน คิดเป็น 3.08% อันดับที่ 7 นักเรียนได้รับทุนการศึกษา 37 คน คิดเป็น 2.15% อันดับที่ 8 นักเรียนต้องจ่ายเงินมากกว่า 20,000 บาท 33 คน คิดเป็น 1.92%

เมื่อพิจารณาเฉพาะ กลุ่มที่ไม่ต้องจ่ายเงินค่าเทอมพบว่า มาจากกลุ่มประถมมากที่สุด 132 คน คิดเป็น 39.05% ม.ปลาย 125 คน คิดเป็น 36.98% ม.ต้น 66 คน คิดเป็น 19.53% ปวช. 15 คน คิดเป็น 4.44% โดยเป็น ภาคเหนือมากที่สุด 258 คน คิดเป็น 76.33% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 39 คน คิดเป็น 11.54% ภาคกลาง 21 คน คิดเป็น 6.21% ภาคใต้ 10 คน คิดเป็น 2.96% ภาคตะวันออก 7 คน คิดเป็น2.07% ภาคตะวันตก 3 คน คิดเป็น 0.89%

ส่วนกลุ่มที่กู้ กยศ.พบว่า มาจากกลุ่ม ปวช. มากที่สุด 47 คน คิดเป็น 61.84% ม.ปลาย 26 คน คิดเป็น 34.21% ม.ต้น 3 คน คิดเป็น 3.95% ในจำนวนนี้มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด 27 คน คิดเป็น 35.53% ภาคกลาง 23 คน คิดเป็น 30.26% ภาคเหนือ 10 คน คิดเป็น 13.16% ภาคใต้ 10 คน คิดเป็น 13.16% ภาคตะวันออก 4 คน คิดเป็น 5.26% ภาคตะวันตก 2 คน คิดเป็น 2.63%

เมื่อถามว่า เรียนพิเศษหรือไม่และมีค่าเรียนพิเศษเท่าใด มีผู้ตอบว่า ไม่เรียน มากที่สุด 1,367 คน คิดเป็น 79.43% ส่วนผู้ที่ตอบว่า เรียนพิเศษ จำนวน 354 คน คิดเป็น 20.57% มีค่าเรียนพิเศษอยู่ที่ 1-500 บาท/เดือน มากที่สุด 113 คน คิดเป็น 6.57% ตามด้วยค่าเรียนพิเศษ 1,001- 3,000 บาท/เดือน 110 คน คิดเป็น 6.39% ค่าเรียนพิเศษ 501-1,000 บาท/เดือน 81 คน คิดเป็น 4.71% ค่าเรียนพิเศษ 3,001-5,000 บาท/เดือน 27 คน คิดเป็น 1.57% ค่าเรียนพิเศษ 5,001-10,000 บาท/เดือน 15 คน คิดเป็น 0.87% และค่าเรียนพิเศษ มากกว่า 10,000 บาท/เดือน 8 คน คิดเป็น 0.46%

กลุ่มที่จ่ายค่าเรียนพิเศษ 1-500 บาท มากที่สุดคือ นักเรียนชั้นประถม 91 คน คิดเป็น 80.53% รองลงมา นักเรียนชั้นมัธยมปลาย 16 คน คิดเป็น 14.16% ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมต้น 6 คน คิดเป็น 5.31%

ส่วนนักเรียนที่จ่ายเรียนพิเศษ มากกว่า 10,000 บาท มากที่สุดคือ นักเรียนชั้นมัธยมปลาย 3 คน คิดเป็น 37.50% นักเรียนชั้นมัธยมต้น 3 คน คิดเป็น 37.50% นักเรียนชั้นประถม 2 คน คิดเป็น 25%

นักเรียนชั้นประถมจ่ายค่าเรียนพิเศษ 1-500 บาท/เดือน 91 คนมากที่สุด คิดเป็น 15.35% นักเรียนมัธยมต้นจ่ายค่าเรียนพิเศษ 1,001- 3,000 บาท/เดือนมากที่สุด 30 คน คิดเป็น 6.42% นักเรียนชั้นมัธยมปลาย จ่ายค่าเรียนพิเศษ 1,001- 3,000 บาท/เดือนมากที่สุด 18 คน คิดเป็น 4.21% นักเรียนชั้นปวช.จ่ายค่าเรียนพิเศษ 1,001- 3,000 บาท/เดือนมากที่สุด 3 คน คิดเป็น 1.29%

เมื่อถามว่า ได้เงินไปโรงเรียน วันละกี่บาท จำนวนเงินที่ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอบมากที่สุดคือ 1-50 บาท จำนวน 811 คน คิดเป็น 47.12% ตามด้วย 51-100 บาท 656 คน คิดเป็น 38.12% 101-150 บาท 184 คน คิดเป็น 10.69% 151-200 บาท 52 คน คิดเป็น 3.02% มากกว่า 300 บาท 10 คน คิดเป็น 0.58% 201-250 บาท 6 คน คิดเป็น 0.35% และ 251-300 บาท 2 คน คิดเป็น 0.12%

โดยกลุ่มที่ได้เงินไปโรงเรียน 1-50 บาทต่อวัน แบ่งเป็นนักเรียน ป.1-ป.6 จำนวน 540 คน คิดเป็น 66.58% ตามด้วย ม.1- ม.6 จำนวน 261 คน คิดเป็น 32.18% และปวช. 1- ปวช. 3 จำนวน 10 คน คิดเป็น 1.23%

กลุ่มนักเรียน ม.ต้น พบว่าได้เงินไปโรงเรียนในช่วง 51-100 บาทต่อวัน มากที่สุด จำนวน 280 คน คิดเป็น 59.96% ขณะที่นักเรียน ม.ปลาย ได้เงินไปโรงเรียนในช่วง 51-100 บาทต่อวัน มากที่สุด จำนวน 211 คน คิดเป็น 49.30% และนักเรียน ปวช. ได้เงินไปโรงเรียนในช่วง 51-100 บาทต่อวัน มากที่สุด จำนวน 117 คน คิดเป็น 50.21% 

ในแต่ละวัน นักเรียนส่วนใหญ่ใช้เงินไปกับค่าอาหารในโรงเรียนมากที่สุด 1,033 คน คิดเป็น 60.02% รองลงมาเป็น ค่าอาหารนอกโรงเรียน 471 คน คิดเป็น 27.37% อันดับที่ 3 ค่าเดินทางไปกลับ 80 คน คิดเป็น 4.65% อันดับที่ 4 ค่าจัดทำรายงาน/ชิ้นงาน/โครงงานที่ครูสั่ง 75 คน คิดเป็น 4.36% อันดับที่ 5 ค่าความงาม/แฟชั่น 28 คน คิดเป็น 1.63% อันดับที่ 6 ค่าสุขภาพ เช่น อุปกรณ์กีฬา ยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย 25 คน คิดเป็น 1.45% อันดับที่ 7 ใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง เช่น เติมเกม ซื้อการ์ตูน 9 คน คิดเป็น 0.52%

ค่าอาหารในโรงเรียนเป็นกลุ่มมัธยมต้นที่ใช้จ่ายมากที่สุด 343 คน คิดเป็น 33.20% ม.ปลาย 294 คน คิดเป็น 28.46% ประถม 278 คน คิดเป็น 26.91% ปวช. 118 คน คิดเป็น 11.42% โดยเมื่อจำแนกตามภาคพบว่า ภาคเหนือมากที่สุด 483 คน คิดเป็น 46.76% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 348 คน คิดเป็น 33.69% ภาคกลาง 101 คน คิดเป็น 9.78% ภาคใต้ 52 คน คิดเป็น 5.03% ภาคตะวันออก 29 คน คิดเป็น 2.81% ภาคตะวันตก 20 คน คิดเป็น 1.94%

ค่าอาหารนอกโรงเรียน นักเรียนชั้นประถมใช้จ่ายมากที่สุด 284 คน คิดเป็น 60.30% รองลงมาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมต้น 87 คน คิดเป็น 18.47% ม.ปลาย 60 คน คิดเป็น 12.74% ปวช.40 คน คิดเป็น 8.49% เมื่อจำแนกตามภาคพบว่า ภาคเหนือมากที่สุด 340 คน คิดเป็น 72.19% รองลงมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 74คน คิดเป็น 15.71% ภาคกลาง32 คน คิดเป็น 6.79% ภาคใต้ 13 คน คิดเป็น 2.76% ภาคตะวันออก 8 คน คิดเป็น 1.70% ภาคตะวันตก 4 คน คิดเป็น 0.85%

สำหรับกลุ่มที่ตอบว่า ใช้จ่ายค่าเดินทางมากที่สุดในแต่ละวัน เป็นนักเรียนกลุ่ม ปวช. มากที่สุด 31 คน คิดเป็น 38.75% ม.ปลาย 22 คน คิดเป็น 27.50% ประถม 18 คน คิดเป็น 22.50% ม.ต้น 9 คน คิดเป็น 11.25% เมื่อจำแนกตามภาคพบว่า เป็นภาคเหนือมากที่สุด 27 คน คิดเป็น 33.75% ภาคกลาง 23 คน คิดเป็น 28.75% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 คน คิดเป็น 20.00% ภาคใต้ 9 คน คิดเป็น 11.25% ภาคตะวันออก 4 คน คิดเป็น 5.00% ภาคตะวันตก 1 คน คิดเป็น 1.25%

ส่วนค่าเดินทางไป-กลับโรงเรียน มีนักเรียนที่ตอบว่า ไม่มีค่าใช้จ่ายเพราะผู้ปกครองรับ-ส่งมากที่สุด 61 คน คิดเป็น 35.74% รองลงมา ผู้ปกครองจ่ายค่ารถรับส่งรายเดือน 318 คน คิดเป็น 18.48% อันดับที่ 3 นักเรียนมีค่าเดินทาง 21-50 บาทต่อวัน 92 คน คิดเป็น 16.97% อันดับที่ 4 ค่าเดินทาง 51-100 บาท 127 คน คิดเป็น 7.38% อันดับที่ 5 ค่าเดินทาง มากกว่า 100 บาท 66 คน คิดเป็น 3.83% น้อยที่สุด ไม่มีค่าใช้จ่ายเพราะเพื่อนหรือแฟนรับส่ง 64 คน คิดเป็น 3.72%

โดยกลุ่มที่ตอบว่า ไม่มีค่าใช้จ่ายเพราะผู้ปกครองไปรับไปส่งมากที่สุด คือ นักเรียนชั้นประถม 327 คน คิดเป็น 53.17% ม.ต้น 196 คน คิดเป็น 31.87% ม.ปลาย    71 คน คิดเป็น 11.54% ปวช. 21 คน คิดเป็น 3.41% ขณะที่กลุ่มที่มีค่าเดินทางมากที่สุด คือ นักเรียน ม.ต้น 130 คน คิดเป็น 40.88% ประถม 119 คน คิดเป็น 37.42% ม.ปลาย 54 คน คิดเป็น 16.98% ปวช. 15 คน คิดเป็น 4.72% 

เมื่อถามถึงความถี่ในการซื้อชุดนักเรียนพบว่า นักเรียนตอบว่าซื้อปีละ 1 ครั้งมากที่สุด 639 คน คิดเป็น 37.13% ตามด้วยใส่จนกว่าจะขาด/ใส่ไม่ได้ 437 คน คิดเป็น 25.39% อันดับที่ 3 ซื้อเทอมละครั้ง 282 คน คิดเป็น 16.39% อันดับที่ 4 ซื้อทุก 2 ปี 194 คน คิดเป็น 11.27% อันดับที่ 5 ซื้อทุก 3 ปี 126 คน คิดเป็น 7.32% อันดับที่ 6 ไม่ซื้อแต่ใช้ของพี่/ญาติ 27 คน คิดเป็น 1.57% อันดับที่ 7 ไม่ซื้อ แต่ได้ฟรีจากโรงเรียน/หน่วยงานอื่นๆ 16 คน คิดเป็น 0.93%

นักเรียนตอบว่าซื้อปีละ 1 ครั้ง เป็นนักเรียนชั้นประถมมากที่สุด 262 คน คิดเป็น 41% ส่วนคนที่ตอบว่า ใส่จนกว่าจะขาด/ใส่ไม่ได้ เป็นนักเรียน ม.ปลาย มากที่สุด 138 คน คิดเป็น 31.58% โดยมาจากภาคเหนือมากที่สุด 176 คน คิดเป็น 40.27% และคนที่ตอบว่าไม่ซื้อ แต่ได้ฟรีจากโรงเรียน/หน่วยงานอื่นๆ เป็นนักเรียน ม.ปลาย มากที่สุด 10 คน คิดเป็น 62.5% มาจากภาคเหนือมากที่สุด 5 คน 31.25%

สำหรับจำนวนชุดนักเรียนที่แต่ละคนมีโดยไม่นับรวมชุดลูกเสือ-เนตรนารี และชุดพละ นักเรียนส่วนใหญ่ตอบว่ามี 2 ชุด 933 คน คิดเป็น 54.21% รองลงมา มีชุดนักเรียน 3 ชุด 424 คน คิดเป็น 24.64% อันดับที่ 3 มี 1 ชุด 241 คน คิดเป็น 14.00% อันดับที่ 4 มี 4 ชุด 79 คน คิดเป็น 4.59% อันดับที่ 5 มี 5 ชุด 37 คน คิดเป็น 2.15% อันดับที่ 6 มี มากกว่า 5 ชุด 7 คน คิดเป็น 0.41%

นักเรียนที่มีชุดนักเรียน 2 ชุด เป็นนักเรียนชั้นประถมมากที่สุด 307 คน คิดเป็น 32.90% รองลงมา ชั้นมัธยมต้น 296 คน คิดเป็น 31.73% มัธยมปลาย 220 คน คิดเป็น 23.58% ปวช. 110 คน คิดเป็น 11.79% เมื่อจำแนกตามภาค เป็นภาคเหนือมากที่สุด 468 คน คิดเป็น 50.16% รองลงมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 307 คน คิดเป็น 32.90% อันดับที่ 3 ภาคกลาง 72 คน คิดเป็น 7.72% น้อยที่สุด ภาคตะวันตก 11 คน คิดเป็น 1.18%

นักเรียนที่มีชุดนักเรียน 5 ชุด เป็นนักเรียนชั้นประถมมากที่สุด 21 คน คิดเป็น 56.73% รองลงมา ชั้นมัธยมต้น 8 คน คิดเป็น 21.62% มัธยมปลาย 6 คน คิดเป็น 16.22% ปวช. 2 คน คิดเป็น 5.41% เมื่อจำแนกตามภาค เป็นภาคเหนือมากที่สุด 26 คน คิดเป็น 70.27% รองลงมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 คน คิดเป็น 16.22% อันดับที่ 3 ภาคกลาง 2 คน คิดเป็น 5.41% น้อยที่สุด ภาคตะวันออก 1 คน คิดเป็น 2.7%

ส่วนความถี่ในการซื้อรองเท้านักเรียนใหม่ นักเรียนตอบว่าใส่จนกว่าจะขาด/ใส่ไม่ได้มากที่สุด 676 คน คิดเป็น 39.28% รองลงมาซื้อปีละ 1 ครั้ง 572 คน คิดเป็น 33.24% อันดับที่ 3 ซื้อเทอมละ 1 ครั้ง 251 คน คิดเป็น 14.58% อันดับที่ 4 ซื้อทุก 2 ปี 144 คน คิดเป็น 8.37% อันดับที่ 5 ซื้อทุก 3 ปี 55 คน คิดเป็น 3.20% อันดับที่ 6 ไม่ซื้อ ใช้ของพี่/ญาติ 23 คน คิดเป็น 1.34%

เมื่อพิจารณาระดับชั้นของผู้ที่ตอบว่า ใส่จนกว่าจะขาดไม่ได้พบว่า เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลายมากที่สุด 138 คน คิดเป็น 31.58% รองลงมา นักเรียนชั้นมัธยมต้น 123 คน คิดเป็น 28.15% อันดับที่ 3 ประถม 98 คน 22.43% อันดับที่ 4 ปวช. 78 คน คิดเป็น 17.85% โดยหากดูรายภาคเป็นนักเรียนในภาคเหนือมากที่สุด 176 คน คิดเป็น 40.27% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 140 คน คิดเป็น 32.04% ตามด้วย ภาคกลาง 57 คน 13.04% ภาคใต้ 40 คน คิดเป็น 9.15% ภาคตะวันออก 19 คน คิดเป็น 4.35% และภาคตะวันตก 5 คน คิดเป็น 1.14%

ส่วนที่ไม่ซื้อ ใช้ของพี่/ญาติ เป็นกลุ่มนักเรียนประถม และม.ปลาย มากเท่ากันที่ 8 คน คิดเป็น 29.63% ตามด้วย นักเรียน ม.ต้น 6 คน คิดเป็น 22.22% และนักเรียน ปวช. จำนวน 5 คน คิดเป็น 18.52% โดยหากดูรายภาค พบว่า เป็นนักเรียนในภาคเหนือมากที่สุด 14 คน คิดเป็น 51.85% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 คน คิดเป็น 33.33% ภาคใต้ 2 คน คิดเป็น 7.41% ภาคกลางและภาคตะวันตก เท่ากันที่ 1 คน คิดเป็นภาคละ 3.70% 

ในการซื้อหนังสือเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ยืมหรือได้จากโรงเรียนมากที่สุด 800 คน คิดเป็น 46.48% รองลงมา ซื้อใหม่ทั้งหมด 666 คน คิดเป็น 38.70% อันดับที่ 3 ได้ฟรีจากทุนการศึกษา 227 คน คิดเป็น 13.19% อันดับที่ 4 ใช้ต่อจากพี่/ญาติ 28 คน คิดเป็น 1.63%

นักเรียนชั้นประถมยืมจากโรงเรียนได้มากที่สุด 299 คน คิดเป็น 37.38% นักเรียนที่ซื้อใหม่ทั้งหมดเป็นนักเรียนชั้นประถมมากที่สุด 224 คน คิดเป็น 33.63% กลุ่มที่ได้ฟรีจากทุนการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลายมากที่สุด 73 คน คิดเป็น 32.16% กลุมที่ใช้ต่อจากพี่/ญาติเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลายมากที่สุด12 คน คิดเป็น 42.86%

สำหรับอุปกรณ์ส่วนตัว นอกจากเครื่องเขียนแล้ว เมื่อให้เลือกได้มากกว่า 1 คำตอบต่อคน นักเรียนมีสมาร์ทโฟนมากที่สุด 1,308 คน คิดเป็น 76% รองลงมาเป็นแล็ปท็อปหรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 234 คน คิดเป็น 10.84% อันดับที่ 3 แท็บเล็ต 230 คน คิดเป็น 10.65% อันดับที่ 4 โทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกด 112 คน คิดเป็น 5.19% อันดับที่ 5 ไม่มี 275 คน คิดเป็น 12.74%

สำหรับกลุ่มที่ตอบว่า ไม่มี เป็นนักเรียนชั้นประถมมากที่สุด จำนวน 253 คน คิดเป็น 92% โดยอยู่ในภาคเหนือทั้งหมด ตามด้วยนักเรียนชั้น ม.ต้น 16 คน คิดเป็น 5.82% ม.ปลาย 4 คน คิดเป็น 1.45% และ ปวช. 2 คน คิดเป็น 0.73%

เมื่อถามว่า ผู้ปกครองบ่นถึงค่าใช้จ่ายอะไรมากที่สุด มีนักเรียนตอบว่า ไม่บ่นมากที่สุด 472 คน คิดเป็น 27.43% รองลงมา ค่าเครื่องแบบ เช่น ชุดนักเรียน ชุดพละ 375 คน คิดเป็น 21.79% อันดับที่ 3 ค่าเทอม 333 คน คิดเป็น 19.35% อันดับที่ 4 กิจกรรมพิเศษ เช่น กีฬาสี โครงงาน ทัศนศึกษา 192 คน คิดเป็น 11.16% อันดับที่ 5 อุปกรณ์เสริมการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ 179 คน คิดเป็น 10.40% อันดับที่ 6 ค่าอุปกรณ์การเรียน เช่น เครื่องเขียน สมุด 92 คน คิดเป็น 5.35% อันดับที่ 7 ค่าเรียนพิเศษ 33 คน คิดเป็น 1.92% อันดับที่ 8 ค่าใช้จ่ายแต่ละวัน/ค่าขนม/ค่าเดินทาง 26 คน คิดเป็น 1.51% อันดับที่ 9 อื่นๆ เช่น ใช้จ่ายเอง ทุกข้อที่กล่าวมา ไม่ได้อยู่กับผู้ปกครอง 19 คน คิดเป็น 1.10% 

โดยผู้ที่ตอบว่า ผู้ปกครองบ่นถึงค่าเครื่องแบบ เช่น ชุดนักเรียน ชุดพละ เป็นนักเรียนกลุ่มประถมมากที่สุด 174 คน คิดเป็น 46.40% ขณะที่ค่าเทอม จะตอบโดยนักเรียนประถม มากที่สุด 138 คน คิดเป็น 41.44% ด้านกิจกรรมพิเศษ เช่น กีฬาสี โครงงาน ทัศนศึกษา เป็นกลุ่ม ม.ปลาย มากที่สุด 96 คน คิดเป็น 50.00% และค่าอุปกรณ์การเรียน เช่น เครื่องเขียน สมุด เป็นนักเรียน ม.ต้น มากที่สุด 32 คน คิดเป็น 34.78%

ความคิดเห็นของนักเรียนถึงสิ่งที่อยากได้ฟรีจากรัฐมากที่สุด นักเรียนตอบว่าอยากได้ค่าเทอมฟรีมากที่สุด 869 คน คิดเป็น 50.49% โดยนักเรียนทุกภาคและทุกระดับชั้น เลือกตอบว่า อยากได้ค่าเทอมฟรีเป็นอันดับ 1 รองลงมา คอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต 430 คน คิดเป็น 24.99% อันดับที่ 3 ชุดนักเรียน 120 คน คิดเป็น 6.97% อันดับที่ 4 ผ้าอนามัย 103 คน คิดเป็น 5.98% อันดับที่ 5 อุปกรณ์เครื่องเขียน 97 คน คิดเป็น 5.64% อันดับที่ 6 ชุดลูกเสือ/เนตรนารี 34 คน คิดเป็น 1.98% อันดับที่ 7 หนังสือเรียน 27 คน คิดเป็น 1.57% อันดับที่ 8 รองเท้านักเรียน 23 คน คิดเป็น 1.34% อันดับที่ 9 ชุดพละ 18 คน คิดเป็น 1.05%

ผลจากแบบสอบถามพบว่า นักเรียนไทยกว่าครึ่งหนึ่งมีเงินเก็บ แต่มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ทำงานพิเศษหาเงิน ซึ่งทำทั้งในช่วงปิดเทอมและทำเป็นประจำแม้จะเปิดเทอมแล้ว โดยนักเรียนในทุกระดับชั้นที่ทำงานพิเศษมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด รองลงมาคือเพื่อช่วยเหลือครอบครัว โดยส่วนใหญ่ได้เงินจากการทำงานพิเศษเดือนละ 1-3,000 บาทมากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน ม.ต้น และ ม.ปลาย ส่วนกลุ่ม ปวช. นั้นส่วนใหญ่ได้เดือนละ 3,001-5,000 บาท ซึ่งงานพิเศษที่นักเรียนทำกันมากที่สุดในทุกระดับชั้นคืองานบริการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า 

ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียนนั้นพบว่า ในส่วนของค่าเทอม นักเรียนในระดับชั้น ปวช. เป็นกลุ่มนักเรียนที่ตอบว่าต้องกู้ กยศ. มากที่สุด และเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้จ่ายค่าเดินทางไปเรียนมากที่สุดอีกด้วย ในขณะที่กลุ่มอื่น ๆ เช่น ม.ต้นใช้จ่ายไปกับค่าอาหารในโรงเรียนมากที่สุด ส่วนนักเรียนประถมใช้ไปกับค่าอาหารนอกโรงเรียนมากที่สุด และส่วนใหญ่มักได้เงินไปโรงเรียนอยู่ที่ 51-100 บาทต่อวัน ยกเว้นนักเรียนชั้นประถมที่ได้ 1-50 บาทต่อวันเป็นส่วนใหญ่ 

นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนกว่า 20% ต้องจ่ายค่าเรียนพิเศษ โดยมีในทุกระดับชั้นต้องจ่าย ตั้งแต่ชั้นประถมที่สะท้อนว่าจ่ายค่าเรียนพิเศษเดือนละ 1-500 บาทมากที่สุด ส่วน ม.ต้น ม.ปลาย และ ปวช. จ่ายค่าเรียนพิเศษเดือนละ 1,001- 3,000 บาท มากที่สุด 

สำหรับค่าใช้จ่ายในเรื่องเครื่องแบบจะพบว่า กลุ่มนักเรียนประถมมีการเปลี่ยนชุดนักเรียนและรองเท้านักเรียนบ่อยที่สุด ในขณะที่นักเรียน ม.ปลายส่วนใหญ่ตอบว่าจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อขาดหรือใส่ไม่ได้ ส่วนหนังสือเรียนนั้นนักเรียนส่วนใหญ่มักยืมหรือได้จากโรงเรียนมากที่สุด และในส่วนของอุปกรณ์เสริมการเรียนพบว่านักเรียน 76% ล้วนมีสมาร์ทโฟน ในกลุ่มที่ไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสริมในการเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประถม ซึ่งเป็นกลุ่มที่บอกว่าผู้ปกครองมักจะบ่นเรื่องค่าใช้จ่ายในเรื่องเครื่องแบบมากที่สุด ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลที่ว่าเป็นกลุ่มนักเรียนที่เปลี่ยนเครื่องแบบบ่อยที่สุด ในขณะที่นักเรียน ม.ปลายนั้น มักจะถูกผู้ปกครองบ่นเรื่องค่าใช้จ่ายของกิจกรรมพิเศษของโรงเรียนมากที่สุด 

และสิ่งที่นักเรียนทุกระดับชั้นเห็นร่วมกันว่าอยากได้อะไรฟรีจากภาครัฐมากที่สุดในเรื่องการศึกษาก็คือค่าเทอมฟรี 

ดูข้อมูล: https://rocketmedialab.co/database-student-q3-2024/ 

แชร์บทความนี้