ติดตามสถานการณ์น้ำเหนือได้ที่เพจเครือข่ายภาคเหนือ
สถานการณ์ล่าสุด ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2567 พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ที่ประสบภัยคือเชียงราย พะเยา น่าน และเเพร่
เชียงรายสถานการณ์น้ำล่าสุดคือลำน้ำกกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ล้นตลิ่ง ส่วนพื้นที่รอบเมืองน้ำป่าไหลหลากและท่วมถึงปัจจุบันคือที่อำเภอเทิง อำเภอขุนตาล อำเภอเวียงแก่นอำเภอเชียงของ
ส่วนจังหวัดพะเยา เริ่มที่บริเวณอำเภอเมืองจากกว้านพะเยาน้ำเอ่อเข้าร่วมชุมชนเมืองบางพื้นที่ รวมถึงส่งต่อพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ รวมถึงอำเภอจุน อำเภอเชียงคำอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน
แล้วน้ำเหล่านี้จะไปที่ไหน
วันนี้นักข่าวพลเมืองรายงานน้ำกว๊านพะเยาสูงขึ้นผลคือ น้ำจากกว๊านจะไปต่อไปยัง อ.เทิง อ.ขุนตาล และอ.เชียงของ ก่อนลงน้ำโขงที่ปากอิง แต่ระหว่างทางยังมีน้ำลาว จากเชียงคำเติมด้วย
อีกเส้นคือ น้ำกก ที่ผ่านตัวเมืองเชียงราย ก่อนไหล่ไปลงโขงที่สบกกวันนี้ฝนยังตกอยู่ หากน้ำโขงเพิ่มขึ้น ก็ทำให้การระบายน้ำลงโขง ระบายได้ช้าลง พะเยา เชียงรายยังน่าห่วง
เข้าใจภูมิศาสตร์รู้จักลำน้ำภาคเหนือ
น้ำสายสำคัญที่เกี่ยวพันกับการจัดการ น้ำของประเทศไทยก็จะมีสายน้ำหลักๆคือแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคเหนือ เรียกว่าโขงเหนือ กับอีกส่วนหนึ่งคือแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสัมพันธ์กับ ต้นกำเนิดของสายน้ำในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนนั่นก็คือ น้ำปิง น้ำวัง น้ำยม น้ำน่าน
โขงเหนือ
ลุ่มน้ำกก มีต้นกำเนิดมาจากภูเขาทางเหนือในรัฐเชียงตุง สหภาพเมียนม่าร์ ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ช่องน้ำกก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกผ่าน อำเภอแม่อาย เข้าสู่อำเภอ เมืองจังหวัดเชียงราย จากนั้นไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่อำเภอเชียงแสน แล้วไหลสู่แม่น้ำโขง ที่บ้านสบกก ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ความยาวประมาณ 285 กิโลเมตร
ลุ่มน้ำอิง ที่ราบเชียงราย-พะเยา ลุ่มน้ำอิงตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่ใจ อำเภอเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้ ลุ่มน้ำอิงตอนกลาง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอจุน กับบางส่วนของอำเภอเชียงคำ ของจังหวัดพะเยา และบางส่วนของอำเภอเทิงจังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของเมืองลอ
ลุ่มน้ำอิงตอนบน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเทิง อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ เป็นที่ตั้งของเมืองเทิง และเมืองเชียงของ การไหล่ของน้ำอิง ก็จะผ่านทั้งตอนล่าง ตอนกลาง และตอยบน ก่อนลงน้ำโขงที่บ้านปากอิง อำเภอเชียงของ
นั้นหมายความว่า หากทั้งน้ำกก น้ำอิง จะไหล่สะดวก ปัจจัยไม่เพียงฝนหยุด หรืออย่างไร แต่ถ้าหากน้ำโขงหนุนหรือน้ำโขงเยอะมากขึ้น ก็จะทำให้สถานการณ์น้ำในเชียงราย พะเยา ชะลอการระบายไปด้วย
ส่วน ปิง วัง ยม น่าน
สถานการณ์น้ำน้ำน่าน ยังคงหน้าห่วงในพื้นที่ จังหวัดน่าน ที่สร้างความเสียหายให้กับประชาชนในทุกอำเภอของจังหวัดน่านในปีนี้ แต่ หากพ้นจังหวัดน่าน เเล้วมวลน้ำน่านที่มีต้นกำเนิดของสายน้ำในจังหวัดน่าน จะไหล่ลงเขื่อนสิริกิติ์
ขณะที่แม่น้ำยม แม่น้ำยม ไหลลงผ่านที่จังหวัดแพร่ซึ่งได้ล้นตลิ่งเมื่อคืนที่ผ่าน ซึ่งลำดับถัดไปผ่านอำเภอเมืองแล้ว พื้นที่รับน้ำต่อคืออำเภอวังชิ้น และลำดับถัดไปมุ่งหน้าตรงลงไปที่เมืองสุโขทัย ช่วงคืนนี้ หรือช่วงวันเสาร์ ที่24 ส.ค. 67
นอกจากสุโขทัยต้องเตรียมรับน้ำเเล้ว พิษณุโลก ตั้งเเต่พรหมพิราม สุดท้ายคือบางระกำ ต้องเตรียมรับ
เมื่อวานเริ่มมีการตัดยอดน้ำยม ผันผ่านคลองหกบาท ตอนท้ายของอุตรดิตถ์ แล้ว น้ำเริ่มเยอะ
บางระกำ พื้นที่รับน้ำ รอบนี้ น่าจะเยอะ ทั้งน้ำยม และน้ำน่าน น้ำยมที่ถูกตัดยอดน้ำตอนบน ต้องไหล่ผ่านพื้นที่บางระกำทั้งหมด
สถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือและผลกระทบต่อภาคกลาง
สถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือในแต่ละปีมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณฝนที่ตกหนักและต่อเนื่อง ระดับน้ำในเขื่อนต่าง ๆ การบริหารจัดการน้ำ และสภาพภูมิประเทศ
โดยทั่วไปแล้ว น้ำท่วมภาคเหนืออาจส่งผลกระทบต่อภาคกลางได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากแม่น้ำสายสำคัญหลายสายที่ไหลผ่านภาคเหนือจะไหลลงสู่ภาคกลาง แต่ระดับความรุนแรงของผลกระทบจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่า
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำในเขื่อนสำคัญของภาคเหนือยังพร้อมรับมวลน้ำอยู่