“ครัวกลาง” แบ่งปัน “แนวกิน”  อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรร่วมระดมความช่วยเหลือ แบ่งปันและส่งต่อน้ำใจไปยังผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากเหตุการณ์แม่น้ำโขงหลากเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรชุมชนริมฝั่งโขงในภาคอีสาน โดยร่วมตั้งครัวกลาง ณ วัดธาตุดำ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่ผ่านมา

“รู้สึกตื่นเต้นและยินดีที่ได้มาช่วยพี่น้องชาวบ้าน ตื่นมาราว ๆ ตี 4 ตี 5 มาถึงก็วางแผนกันว่าจะทำเมนูไหน อย่างไร ให้ทันเวลาครับ อยากให้ทุกคนสู้ ๆ กินข้าวก่อน แล้วจะมีแรงต่อไป”  นี่เป็นเสียงจากอาสาพ่อครัว นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เล่าถึงความตั้งใจในการมาปรุงอาหารเติมกำลังใจผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วม จ.หนองคาย” นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

“หลังจากที่ได้ทราบข่าวเรื่องของอุทกภัยที่ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ก็ได้มีการรีบประสานงานกันภายทั้งภายในมหาวิทยาลัยเอง แล้วก็คุยกับทางเครือข่ายของมูลนิธิของไทยพีบีเอส และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เราร่วมมือกันในพื้นที่เพื่อที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแง่ของการเยียวยาเรื่องของอาหารก่อน เพราะว่าข้างในคงจะปรุงอาหารกันยาก”  ดร.เอกราช ดีนาง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวถึงความจำเป็นในการตั้งครัวกลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 

โรงครัวชั่วคราวบริเวณเต้นท์ผ้าใบภายในวัดธาตุดำ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ณ ศูนย์อำนวยการภัยพิบัติ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นับเป็นห้องเรียนประสบการณ์ตรงท่ามกลางสถานการณ์ภัยพิบัติ ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และคณาจารย์ ที่ร่วมลงพื้นที่ประสานส่งต่อความช่วยเหลือและบริการชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำโขงหลากเข้าท่วม ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังพบว่า หลายครัวเรือนในชุมชนริมแม่น้ำโขงยังมีอุปสรรคนจากระดับน้ำที่ท่วมสูงในพื้นที่ลุ่มต่ำทำให้ขาดความคล่องตัวในการประกอบอาหารในแต่ละวัน 

“มีการจัดตั้งครัวร้อน โดยมีสาขาอาหารและบริการ คณะเทคโนโลยี และคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภฏอุดรธานี ผนวกกับวันนี้ด้วยความเร่งด่วนจึงไปขอยืมเครื่องมือ เครื่องไม้จากทางศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเอามารวมกัน วันนี้ก็เลยจัดเป็นอาหาร 3 มื้อ เพื่อมอบให้กับผู้ทางผู้ประสบภัยที่ยังไม่ได้ทานข้าวตั้งแต่เมื่อคืนก็มี เมื่อเช้าไปแจกมาหลายท่านก็ออกมารับ ได้ได้อิ่มท้องกันในมื้อนี้ เดี๋ยวมื้อต่อไปทยอยทำจัดส่งไป และในวันพรุ่งนี้เป็นอีกทีมหนึ่งสลับกันมา ก็จะทำอาหารอีก 3 มื้อเหมือนกัน พร้อมรอประเมินสถานการณ์เป็นวันต่อวัน” ดร.เอกราช ดีนาง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

นอกจากระดับน้ำที่ยังท่วมสูงในพื้นที่ลุ่มต่ำของชุมชน การประกอบอาหารประจำวันของแต่ละครัวเรือนยังมีอุปสรรค การตั้งครัวกลางเพื่อปรุงอาหารสดใหม่ในแต่ละมื้อจึงเป็นโอกาสให้ผู้ประสบภัยได้มีอาหารที่ปรุงสุกใหม่รับประทานในแต่ละมื้อ

“อันนี้เป็นมื้อเย็นนะครับพอดีมื้อมื้อเที่ยงเนี่ยบรรจุแล้วซึ่งจะไปแจกในซอย 15 ,16 จำนวน200 กล่องเป็นผัดเอาผัดผัดเข้ากลิ้งนะผัดกลิ้งเค้ากลิ้งกำลังประกอบมื้อเย็น เมนูผัดพริกหยวกใส่เห็ด ซึ่งเห็ดนี้ชาวบ้านเขาบริจาคเพิ่มมาเมื่อกี้ ก็เลยปรับเมนูให้มันเข้าน้อง ๆ น้องนักศึกษาสาขาอาหารและบริการชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งเขาเรียนเรียนด้านด้านประกอบอาหารมาอยู่แล้วนะครับก็จะมีพวกไก่ทอดบ้างนะครับที่เสริมเข้าไปเนื่องจากว่าตอนเที่ยงอาหารไม่พอก็เลยจะจะเป็นข้าวไก่ทอดเอาไปเอาไปเสริมอีกทีหนึ่งนะครับเพราะฉะนั้นอันนี้จะเป็นอาหารที่จากฝีมือนักศึกษาครับนะครับได้มาตรฐานครับว่าเขาเรียนมานะครับแล้วก็ผ่านการทดสอบมาตรฐานแรงงานซึ่งเรามีมาตรฐานอยู่แล้ว” รศ.ดร.สุนทร สุทธิบาก คณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เน้นยำถึงการการตั้งครัวกลางช่วยอุทกภัย ด้านอาหารปรุงสุก พร้อมทาน เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้กินอิ่มท้อง

แชร์บทความนี้