rocketmedialab ชวนส่องความคึกคัก “ผู้สมัคร สว. 67” จาก 20 อาชีพ

  • – มีผู้สมัคร สว. ทั่วประเทศ 48,117 คน เป็นเพศชาย 27,779 คน คิดเป็น 57.73% เพศหญิง 20,338 คน คิดเป็น 42.27% ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีผู้สมัครสูงสุด 2,764 คน ส่วนจังหวัดที่มีผู้สมัครน้อยที่สุดคือ น่าน 98 คน 
  • – กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น เป็นกลุ่มที่มีผู้ลงสมัครมากที่สุด 5,211 คน น้อยที่สุดคือ กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม 609 คน
  • ผู้ที่สมัคร สว. ที่มีอายุน้อยที่สุด คือ 40 ปี มีจำนวน 700 คน อายุมากที่สุดคือ 92 ปี มีจำนวน 2 คน 
  • – ภาคที่มีสัดส่วนผู้สมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดคือภาคใต้ คิดเป็น 0.20% ภาคที่มีสัดส่วนผู้สมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดคือภาคกลาง คิดเป็น 0.13% 
  • – จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดคือ มุกดาหาร 0.77% สตูล 0.55% นครนายก 0.48% อำนาจเจริญและอ่างทอง 0.44% และจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดคือ อุดรธานีและนครราชสีมา 0.03% น่าน นครพนม และตาก 0.04% 

จากการสรรหา สว. ชุดใหม่ แทน สว. ชุดเก่าที่หมดวาระลง โดยระบบการสรรหา สว. ชุดใหม่นี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นระบบ ‘แบ่งกลุ่มอาชีพ’ และ ‘เลือกกันเอง’ ระหว่างผู้สมัครจากระดับอำเภอและจังหวัด ทำให้เกิดแคมเปญรณรงค์ให้ประชาชนสมัครเพื่อเข้าไปเป็นตัวแทนเลือก สว. เพื่อสกัดกั้นการเอื้อประโยชน์จากกลุ่มเครือข่ายและผู้มีอิทธิพลจากพวกเดียวกันเอง

ข้อมูลผู้สมัคร สว. จากเว็บ กกต. ตามที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วันที่ 25 พ.ค. 2567 มีผู้สมัครทั่วประเทศทั้งสิ้น 48,117 คน เป็นเพศชาย 27,779 คน คิดเป็น 57.73% เพศหญิง 20,338 คน คิดเป็น 42.27% โดยจังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดที่มีผู้สมัครสูงสุด 2,764 คน ส่วนจังหวัดที่มีผู้สมัครน้อยที่สุดคือ น่าน 98 คน ในส่วนของกลุ่มอาชีพที่ลงสมัครนั้นพบว่า (เรียงจากมากไปน้อย)

  1. ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 5,211 คน
  2. กลุ่มสตรี 4,589 คน
  3. การศึกษา 4,447 คน
  4. ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 3,816 คน
  5. อาชีพทำสวน 3,628 คน
  6. อาชีพทำนา 3,422 คน
  7. อื่นๆ 2,656 คน
  8. การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 2,478 คน
  9. พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 2,440 คน
  10. ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 2,168 คน
  11. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 1,869 คน
  12. ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 1,844 คน
  13. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 1,819
  14. การสาธารณสุข 1,628 คน
  15. ผู้ประกอบกิจการอื่น 1,200 คน
  16. ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 1,200 คน
  17. ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 1,180 คน
  18. ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 1,039 คน
  19. สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 867 คน
  20. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 609 คน

จากข้อมูลจะเห็นว่า กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น และกลุ่มสตรี เป็นสองกลุ่มที่มีผู้สมัครสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสอง ตามลำดับ เนื่องจากสองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีข้อกำหนดในการสมัครไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่ากับกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่ต้องพิสูจน์ประสบการณ์ในการทำงาน ในขณะที่สองกลุ่มนี้มีเพียงข้อกำหนดด้านอายุ เพศ อัตลักษณ์ ฯลฯ เท่านั้น 

ในขณะที่สองกลุ่มที่มีผู้สมัครน้อยที่สุด คือกลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม และกลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม พบว่า ในกลุ่มสื่อสารมวลชนนั้น นอกจากจะห้ามเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ ยังมีระเบียบ กกต. ที่ห้ามผู้ประกอบอาชีพทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพ เพื่อเอื้อประโยชน์ในการแนะนำตัว ซึ่งเป็นข้อที่มีความกังวลว่าอาจสร้างข้อจำกัดทำให้มีผู้สมัครน้อยลง โดยระเบียบข้อดังกล่าวเป็นหนึ่งในระเบียบฯ 4 ข้อที่ เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท ในฐานะผู้ประสงค์ลงสมัคร สว. (ขณะยื่นฟ้อง) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอน 

การสมัคร สว. 67 คึกคักแค่ไหน จังหวัดไหนมีสัดส่วนสูงสุด 

จากข้อมูลของกรมการปกครอง ณ เดือนเมษายน 2567 ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงอายุที่สามารถสมัคร สว. ได้ รวม 33,099,643 คน ขณะที่มีผู้สมัคร สว. ทั่วประเทศ 48,117 คน หรือคิดเป็น 0.145% โดยหากพิจารณารายภาคจะพบว่า

ภาคเหนือ 

ภาคเหนือมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 3,229,335 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 5,182 คน คิดเป็น 0.16% เป็นผู้สมัครเพศชาย 3,109 คน คิดเป็น 60% เพศหญิง 2,073 คน คิดเป็น 40% โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคเหนือมีอายุ 40 ปี จำนวน 77 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 88 ปี มีจำนวน 1 คน

โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคเหนือพบว่า (เรียงจากมากไปน้อย) 

  1. ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 609 คน
  2. กลุ่มสตรี 492 คน
  3. การศึกษา 460 คน
  4. ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 441 คน
  5. อาชีพทำนา 383 คน
  6. อาชีพทำสวน 373 คน
  7. การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 287 คน
  8. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 258 คน
  9. ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 238 คน 
  10. อื่นๆ 237 คน
  11. พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 222 คน
  12. ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 211 คน
  13. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 209 คน
  14. ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 173 คน
  15. การสาธารณสุข 171 คน
  16. ผู้ประกอบกิจการอื่น 127
  17. ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 102 คน
  18. สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 78 คน
  19. ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 68 คน
  20. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 43 คน 

จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคเหนือคือ ลำพูน คิดเป็น 0.29% รองลงมาคือ แม่ฮ่องสอน 0.27% เชียงใหม่ 0.23% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคเหนือคือ จังหวัดน่าน คิดเป็น 0.04% ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผู้สมัคร สว. น้อยที่สุดในประเทศ รองลงมาคืออุตรดิตถ์ 0.06% ลำปาง 0.11%

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 11,065,299 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 15,415 คน คิดเป็น 0.14% เป็นผู้สมัครเพศชาย 8,797 คน คิดเป็น 57.07% เพศหญิง 6,618 คน คิดเป็น 42.93% โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอายุ 40 ปี จำนวน 142 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 91 ปี มีจำนวน 1 คน

โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า (เรียงจากมากไปน้อย) 

  1. อาชีพทำสวน 1,174 คน
  2. กลุ่มสตรี 930 คน
  3. ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 811 คน
  4. ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 664 คน
  5. อื่นๆ       597 คน
  6. การศึกษา 572 คน
  7. การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 456 คน 
  8. อาชีพทำนา 441 คน 
  9. ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 439 คน 
  10. พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 369 คน
  11. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 303 คน
  12. ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 300 คน 
  13. ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 271 คน 
  14. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 262 คน 
  15. การสาธารณสุข 232 คน 
  16. ผู้ประกอบกิจการอื่น 208 คน 
  17. ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 206 คน 
  18. ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 144 คน 
  19. สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 139 คน
  20. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 96 คน

จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ มุกดาหาร คิดเป็น 0.77% รองลงมาคือ อำนาจเจริญ 0.44% ศรีสะเกษ 0.38 ซึ่งศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีจำนวนผู้สมัคร สว. สูงที่สุดในประเทศอีกด้วย ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ อุดรธานีและนครราชสีมา คิดเป็น 0.03% รองลงมาคือ นครพนม 0.04% กาฬสินธุ์และอุบลราชธานี 0.05% 

ภาคกลาง

ภาคกลางมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 10,570,576 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 13,717 คน คิดเป็น 0.13% เป็นผู้สมัครเพศชาย 8,066 คน คิดเป็น 58.80% เพศหญิง 5,651 คน คิดเป็น 41.20% โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคกลางมีอายุ 40 ปี จำนวน 254 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 92 ปี มีจำนวน 2 คน

โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคกลาง พบว่า (เรียงจากมากไปน้อย) 

  1. ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 1,571 คน
  2. การศึกษา 1,278 คน 
  3. ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 1,203 คน 
  4. กลุ่มสตรี 1,179 คน 
  5. พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ          861 คน 
  6. อาชีพทำนา       809 คน 
  7. การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 793 คน 
  8. อื่นๆ       710 คน
  9. อาชีพทำสวน 646 คน 
  10. ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 601 คน 
  11. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 573 คน 
  12. ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 545 คน 
  13. การสาธารณสุข 528 คน
  14. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 518 คน 
  15. ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 451 คน
  16. ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 420 คน
  17. ผู้ประกอบกิจการอื่น 285 คน 
  18. สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 277 คน 
  19. ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 257 คน 
  20. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 212 คน 

จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคกลางคือ จังหวัดนครนายก คิดเป็น 0.48% รองลงมาคือ อ่างทอง 0.44% พระนครศรีอยุธยา 0.38% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคกลางคือ จังหวัดกำแพงเพชร คิดเป็น 0.05% รองลงมาคือ สุพรรณบุรี 0.06% นครปฐมและนครสวรรค์ 0.08%

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออกมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 2,376,412 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 2,409 คน คิดเป็น 0.10% เป็นผู้สมัครเพศชาย 1,537 คน คิดเป็น 63.80% เพศหญิง 872 คน คิดเป็น 36.20% โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคตะวันออกมีอายุ 40 ปี จำนวน 45 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 85 ปี มีจำนวน 1 คน

โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคตะวันออก พบว่า (เรียงจากมากไปน้อย) 

  1. ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 315 คน
  2. กลุ่มสตรี 244 คน 
  3. อาชีพทำสวน 225 คน 
  4. พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ  202 คน 
  5. การศึกษา 176 คน 
  6. อื่นๆ 168 คน 
  7. ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 167 คน 
  8. อาชีพทำนา 119 คน 
  9. การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 99 คน 
  10. ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 79 คน 
  11. ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 79 คน 
  12. ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 79 คน 
  13. การสาธารณสุข 77 คน 
  14. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 71 คน 
  15. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 70 คน 
  16. ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว   68 คน 
  17. ผู้ประกอบกิจการอื่น 57 คน 
  18. สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 44 คน 
  19. ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค  38 คน 
  20. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 32 คน 

จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคตะวันออกคือ ปราจีนบุรี คิดเป็น 0.25% รองลงมาคือ ตราด 0.15% ฉะเชิงเทรา 0.14% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคตะวันออกคือ จังหวัดชลบุรีและสระแก้ว 0.06% รองลงมาคือ จันทบุรีและระยอง 0.07% 

ภาคตะวันตก

ภาคตะวันตกมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 1,592,421 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 2,780 คน คิดเป็น 0.175% เป็นผู้สมัครเพศชาย 1,432 คน ผู้สมัครเพศหญิง 1,348 คน โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคตะวันตกมีอายุ 40 ปี จำนวน 49 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 85 ปี มีจำนวน 2 คน

โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคตะวันตกพบว่า (เรียงจากมากไปน้อย) 

  1. ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 341 คน 
  2. การศึกษา 280 คน 
  3. ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 269 คน
  4. กลุ่มสตรี 243 คน 
  5. อาชีพทำสวน 206 คน 
  6. อาชีพทำนา       149 คน
  7. พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ          142 คน 
  8. การสาธารณสุข 130 คน 
  9. การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 112 คน 
  10. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 109 คน 
  11. อื่นๆ 109 คน 
  12. ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 104 คน 
  13. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 94 คน 
  14. ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 93 คน 
  15. ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 88 คน 
  16. ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 85 คน 
  17. สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 72 คน 
  18. ผู้ประกอบกิจการอื่น 63 คน 
  19. ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 56 คน 
  20. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 35 คน 

จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคตะวันตกคือ เพชรบุรี คิดเป็น 0.44% รอลงมา คือราชบุรี 0.24% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคตะวันตกคือ จังหวัดตาก คิดเป็น 0.04% รองลงมาคือ กาญจนบุรี 0.07%

ภาคใต้

ภาคใต้มีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 4,265,600 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 8,614 คน คิดเป็น 0.20% เป็นผู้สมัครเพศชาย 4,838 คน เพศหญิง 3,776 คน โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคใต้มีอายุ 40 ปี จำนวน 133 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 90 ปี มีจำนวน 1 คน

โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคใต้ พบว่า (เรียงจากมากไปน้อย) 

  1. อาชีพทำสวน 1,174 คน
  2. กลุ่มสตรี 930 คน
  3. ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 811 คน
  4. ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 664 คน
  5. อื่นๆ 597 คน
  6. การศึกษา 572 คน
  7. การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 456 คน
  8. อาชีพทำนา       441 คน
  9. ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 439 คน
  10. พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ          369 คน
  11. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 303 คน
  12. ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 300 คน
  13. ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 271 คน
  14. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 262 คน
  15. การสาธารณสุข 232 คน
  16. ผู้ประกอบกิจการอื่น 208 คน
  17. ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 206 คน
  18. ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 144 คน
  19. สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 139 คน
  20. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 96 คน

จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคใต้คือ สตูล คิดเป็น 0.55% รองลงมาคือ พัทลุง 0.35% ระนอง 0.33% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคใต้คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี คิดเป็น 0.08% รองลงมาคือ ยะลา 0.09% ตามด้วย พังงา 0.11% 

ภาพรวมทั้งประเทศ 

จากข้อมูลจะพบว่า ผู้ที่สมัคร สว. ที่มีอายุน้อยที่สุด คือ 40 ปี มีจำนวน 700 คน อายุมากที่สุดคือ 92 ปี มีจำนวน 2 คน ภาคที่มีสัดส่วนผู้สมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดคือภาคใต้ คิดเป็น 0.20% ภาคที่มีสัดส่วนผู้สมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดคือภาคกลาง คิดเป็น 0.13% 

หากพิจารณาเปรียบเทียบกับประชากรวัย 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สามารถสมัคร สว. ได้ จะพบว่า จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดคือ มุกดาหาร 0.77% สตูล 0.55% นครนายก 0.48% อำนาจเจริญและอ่างทอง 0.44% และจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดคือ อุดรธานีและนครราชสีมา 0.03% น่าน นครพนม และตาก 0.04% 

ดูข้อมูลที่ https://rocketmedialab.co/database-senate-67/ 

อ้างอิง

ข้อมูลประชากร ณ เดือนเมษายน 2567 จากเว็บกรมการปกครอง 

ข้อมูลผู้สมัคร สว. จากเว็บ กกต. ตามที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ กกต. วันที่ 25 พ.ค. 2567

แชร์บทความนี้