ไกลจากบ้านแต่ไม่โดดเดี่ยว : Far from home but not lonely

เรื่องเล่าจากกลุ่มชาวปกาเกอะญอ ในรัฐมินนิโซต้า ประเทศสหรัฐ ที่มีความมุ่งมั่น ก่อร่างสร้างชีวิตใหม่ในแผ่นดินที่ห่างไกล พี่น้องชาติพันธุ์กลุ่มนี้ พยายามรักษาอัตลักษณ์ วัฒนธรรมของตัวเอง ไม่ให้สูญหาย ท่ามกลางความ

ท้าทายในบริบทสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการยอมรับในสังคมโอกาสวันชาติพันธุ์สากล เราขอหยิบเรื่องราว ชีวิตของพี่น้องชาติพันธุ์กลุ่มนี้ ผ่านผ่านประสบการณ์ชีวิตคุณครู Saw  Eh Dah และเรื่องราวของ โรงเรียน St. Paul Public school ซึ่งผลักดันและส่งเสริมให้ เด็กปกาเกอะญอที่เติบโตในรัฐมินนิโซต้า ได้มีโอกาศเรียนรู้ ภาษาปกาเกอะญอ รวมถึง วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ดั่งเดิมของชาติพันธุ์ตนเอง

เกือบ 16-17 ปีแล้ว มีชาวปกาเกอะญอ เข้ามาตั้งถิ่นฐานใน รัฐมินนิโซต้า ประเทศสหรัฐ หากเทียบการอายุไขของรถยนต์หนึ่งคัน คงผ่านการเดินทางมาครั้งนับไม่ถ้วน เช่นเดียวกับ คุณครู Saw  Eh Dah ชายปกาเกอะญอ วัยกลางคนซึ่งทำหน้าที่การสอน ภาษาปกาเกอะญอ ในโรงเรียน St. Paul Public school “ก่อนที่ผมจะย้ายมาอยู่ในรัฐ มินนิโซต้า ผมเองเคยมีบ้าน เคยมีชีวิตที่สงบสุ

แต่วันหนึ่งทุกอย่างก็จางหายไปเพราะ ไฟแห่งสงคราม เรากลายเป็นคนไร้แผ่นดิน ถึงวันนี้ เราจะกลายเป็นคนไร้แผ่นดิน แต่อัตลักษณ์ความเป็นปกาเกอะญอของเรายังคงมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านทาง  ภาษาพูด ภาษาเขียน  รวมถึง วัฒนธรรมและ เครื่องแต่งกาย สิ่งหล่านี้ คือ เครื่องหมายที่ยืนยันว่า “เราชาวปกาเกอะญอยังมีตัวตนอยู่”  การอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศสหรัฐ เราตระหนักถึงความสำคัญในวิถีชีวิตและคุณค่าในความเป็นชาติพันธุ์

 แม้จะอยู่ในสังคมและสภาพแวดล้อม ที่แตกต่างจากแผ่นดินแม่ที่เรา เติบโตขึ้น  ชาวปกาเกอะญอที่ ก่อร่างสร้างชีวิตใหม่ ในประเทศแห่งนี้  เราช่วยกันสร้าง

ชุนชมที่สามารถให้ ความเป็นปกาเกอะญอของพวกเราอยู่รอด เราหาทางที่จะช่วยลูกหลานของเรา  ที่เกิดและเติบโตในประเทศแห่งนี้ จะไม่หลงลืมรากเหง้าของพวกเขา  

หากจะให้วัฒนธรรมของเราอยู่รอดและเป็นที่ยอมรับในประเทศแห่งนี้  คงไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะ ความไม่ง่ายและความท้าทายที่มีมากมาย “

ชาวปกาเกอะญอจึงมีความฝันที่จะมีโรงเรียน ซึ่งอยากให้ลูกหลานตัวเอง  ได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอ  

เราเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล หลาย หมื่นกิโล เราแบกความหวังและความฝันมากมาย ดังนั้น การสร้างชีวิตใหม่ที่นี้ คงจะทำสูญเปล่าไม่ได้

The Small Class room for Karen kids and their friends

ห้องเรียนเล็กๆ ของเด็กชาวปกาเกอะญอและผ่องเพื่อน

เมื่อคุณก้าวเท้าเข้ามาในโรงเรียนแห่งนี้  คุณจะเห็นเด็ก ๆ จากหลากหลายเชื้อชาติ ส่วมใส่เสื้อปกาเกอะญอ  ซึ่งกำลังนั่งเรียนหนังสือด้วยกัน   ผมรู้สึกถึงบรรยายกาศที่มีความอบอุ่นภายในห้องเรียน  ผมภูมิใจ ที่มีคนสนใจเรียนภาษาของเรา และพยายามเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอ  St. Paul Public School โรงเรียนก่อตั้งขึ้นโดย พี่น้องชาวปกาเกอะญอ ในรัฐมินนิโซต้า โรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อ เปิดสอนภาษา ปกาเกอะญอและวัฒนธรรมให้แก่เด็กปกาเกอะญอที่เติบโตมาใน รัฐมินนิโซตา โรงเรียนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการส่งเสริม

อัตลักษณ์ปกาเกอะญอแก่ เด็กชาวปกาเกอะญอ Gen ใหม่  โดยเฉพาะเรื่อง ภาษาพูด ภาษาเขียน ร่วมถึงเครื่องแต่งกายประจำชาติพันธุ์  หนึ่งในนโยบายของโรงเรียนที่ทางคณะครูให้ความสำคัญ คือ การเปิดโอกาส เชิญชวนให้คนในพื้นที่ ซึ่งไม่ใช่ชาวปกาเกอะญอเข้ามาศึกษา อัตลักษณ์และวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอ  โรงเรียนเรียก นโยบายนี้ว่า  “ Open School , Open Culture for everyone” เหตุผลประการหนึ่งจาก คุณครู Saw Eh Dah หนึ่งในบุคคลกรของโรงเรียนที่ให้คำสัมภาษณ์แก่เรา  คุณครูเล่าว่า ในเมือง St. Paul เรามี ชุนชมที่ใหญ่มาก มีผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน  

ดังนั้น เราตั้งใจที่จะสร้างบรรยายกาศของโรงเรียนให้กลายเป็นสถานที่ซึ่ง ทุกคนสามารถเปิดใจและยอมรับในความแตกต่างกันได้ ไม่ว่าเรื่องเชื้อชาติ ภาษา สีผิว  ร่วมถึงวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน  เราได้ตระหนักว่า นโยบายที่โรงเรียนได้ออกแบบนั้นจะสามารถลดช่องว่างมายาคติจากสังคมได้ เด็กๆ ทุกคนที่เข้ามาเรียน พวกเขาจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง  ตรงกันข้าม พวกเขาจะยอมรับและเรียนรู้กันและกันมากขึ้น

แม้นโนบายและวัตถุประสงค์ของโรงเรียนคือ การสอนภาษาและวัฒนธรรมให้แก่เด็กชาวปกาเกอะญอ  อีกด้านหนึ่ง โรงเรียนมีแนวคิดในเรื่องการสร้างมิตรภาพกับคนในชุนชมและสังคมควบคู่ไปกับการสอนภาควิชาการในโรงเรียน

The Different and the Acceptation

แตกต่างบนพื้นฐานของการยอมรับ

ปัจจุบัน มีนักเรียนอเมริกัน เชื้อสาย ม้ง  เชื้อสาย คาเรนี  เชื้อสาย แอฟริกัน อเมริกัน และชาวอเมริกันพื้นเมือง เข้ามาร่วมเรียนกับ เด็กชาวปกาเกอะญอ

คุณครูมองว่า เป็น โอกาสที่ดีสำหรับนักเรียนทุกคน กับการทำความรู้จักกับกลุ่มเพื่อนซึ่งมีความแตกต่างทางเชื้อชาติ  เด็กมีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมจากเพื่อน ร่วมทั้งภาษาพื้นเมือง  บรรยากาศของความแตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม รวมทั้งภูมิหลังของนักเรียนแต่ละคน  คือ จุดเด่นที่จะทำให้นักเรียนทุกคน สามารถแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ต่อหน้าเพื่อนๆของพวกเขา

ผมคิดว่า สิ่งนี้แหละที่จะทำให้นักเรียนทุกคน เกิดความมั่นใจในตัวเอง ภูมิใจในเชื้อชาติ ภาษาของตัวเอง บรรยากาศเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีความกล้าในการแสดงออก มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง ทัศนคติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น  เด็กจะไม่ตัดสินใครจากรูปร่างภายนอก เชื้อชาติ ภาษา ตรงกันข้ามพวกเขาจะให้การยอมรับในความแตกต่างมากขึ้นในฐานะเพื่อนมนุษย์ในสังคม  ส่วนการเรียนการสอนในห้องเรียนและกิจกรรมที่นักเรียนจะได้ทำร่วมกันนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ พวกเขาจะสนุกไปกับการเรียนภาษาปกาเกอะญอผ่านคุณครูผู้สอน  แน่นอนทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน จำเป็นต่อการศึกษาก็จริง แต่อย่าลืมว่า กิจกรรมที่นักเรียนจะมีส่วนร่วมกับ คุณครูในห้องเรียน  เช่น การระดมความคิด Brains storming ผ่านกิจกรรมสันทนาการ สามารถ สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ควบคู่กับการเรียนภาษาปกาเกอะญอ ทั่งยังสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้มให้กับกลุ่มเด็กๆที่ได้มีโอกาส เข้ามาเรียนรู้ภาษาปกาเกอะญอด้วยเช่นกัน

The Waving clothes and language are our legacy

เสื้อทอ และภาษาคือมรดกของเรา

ผมจำได้อยู่นะ ตั้งแต่ผมย้ายมาอยู่ใน รัฐ มินนิโซตา ประเทศสหรัฐ ในฐานะ Refugee and immigrant   เด็กชาวปกาเกอะญอรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้น และเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษาตามหลักสูตรโรงเรียนอเมริกัน ภาษาแรกที่พวกเขาจะได้ยินกลับไม่ใช่ ภาษาแม่ของตัวเอง  แต่กลายเป็นภาษาอังกฤษ  

ดังนั้นเด็กชาวปกาเกอะญอรุ่นใหม่ ที่เติบโตในประเทศที่ 3 ซึ่งห้อมล้อมด้วย วัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นสิ่งที่ท้ายทายมาก หากผู้ปกครองของเด็ก ไม่ได้ให้ความสำคัญต่ออัตลักษณ์และวัฒนธรรมดังเดิมของพวกเขา

ปกาเกอะญอ  Generation Z หรือ Gen Z เด็กในรุ่นนี้ จะพูดภาษาตัวเองไม่ค่อยได้ เพราะบริบทสังคม กลุ่มเพื่อน กิจกรรม ที่เด็กต้องทำในโรงเรียน หรือ แม้แต่ในกิจวัตรชีวิตประจำวันของพวกเขา ดังนั้น St. Paul Public school โรงเรียนสอนภาษาปกาเกอะญอ ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะกลุ่มเด็กๆเท่านั้น โรงเรียนยังให้ความสำคัญต่อ ผู้ปกครองนักเรียนซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนปกาเกอะญอด้วย

ทางโรงเรียนสนับสนุนผู้ปกครองเด็กนักเรียนทุกคนให้ ใช้ภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งเป็นภาษาแม่ในการพูดคุยกับลูกๆ ในครอบครัว

นอกจากการเรียนภาษาซึ่งทางโรงเรียนได้ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆแล้ว  การแต่งกายชุดประจำชาติพันธุ์  เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่นโยบายของโรงเรียนให้ความสำคัญไม่แพ้การเรียนภาษาแม่  ครอบครัวเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาคริสต์ ทุกวันอาทิตย์ทุกคนจะเข้าโบสถ์  เข้ามามนัสการพระเจ้า  โรงเรียนจึงเกิดความคิดขึ้น ให้วันอาทิตย์  ครอบครัวไหนก็ตาม  ที่พาบุตรหลานเข้าโบสถ์ พยายามให้เด็กๆ หรือแม้แต่ตัวผู้ปกครองเอง ให้ทุกคนแต่งกายด้วยชุดประจำชาติพันธุ์เข้าโบสถ์ ทางโรงเรียนตระหนักว่า “ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้ตระหนักถึงคุณค่าในเรื่อง เครื่องแต่งกายประจำชาติพันธุ์ของตัวเอง  

สำหรับผม ครอบครัวของเด็กนักเรียน  คือ จุดเริ่มต้นในการวางรากฐานชีวิตของเด็กในทุกมิติ  เด็กจะมีความมั่นใจทั้งกายและใจ เมื่อครอบครัวให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ หน้าที่ของโรงเรียนคือ การสนับสนุนหรือชี้แนะเท่าที่ทำได้  สุดท้ายแล้วการสนับสนุนที่ดีที่สุดนั้น ต้องมาจากครอบครัว

The seed will become the tree someday.

เมล็ดพันธุ์ที่หว่านในวันนี้จะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ในวันข้างหน้า

ไม่ว่าโรงเรียนแห่งนี้จะเกิด  ขึ้นด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ผมมั่นใจว่า สิ่งเราได้ก่อร่างสร้างขึ้น ในชุนชมเล็กๆ ที่พวกเราชาวปกาเกอะญอทุกคนอาศัยอยู่ จะช่วยหล่อหลอมให้ เด็กชาวปกาเกอะญอรุ่นใหม่ หันมาสนใจและเรียนรู้รากเหง้าของตัวเองมากขึ้น แม้วันนี้พวกเขาจะอยู่ไกลจากแผ่นดินเกิดของพวกเขา ที่ซึ่งบรรพบุรษของพวกเขาได้จากมา  สิ่งที่พวกเราทุกคนทำได้ในตอนนี้คือ การส่งมรดกทางความคิด และองค์ความรู้ของชาวปกาเกอะญอให้แก่พวกเขาได้ ผ่านทางประสบการณ์ที่พวกเราได้สะสมมา

วันนี้พวกเขาคือ เด็กน้อยที่กำลังหัดเดิน หัดพูด และเริ่มลองถูกลองผิดกับสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิตของพวกเขาทุกคน  แต่อีก 10 ปีข้างหน้า หรือ 20 ปีข้างหน้า พวกเขานี้จะกลายเป็นพ่อแม่ของ เด็กๆ ในรุ่นต่อไป  พวกเขาคือ ความหวังที่จะมาสานต่องานของพวกเราในอนาคต  สำหรับผมแล้ว

 ปกาเกอะญอจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้าเรียนรู้ที่จะพูด เรียนรู้ที่จะอ่าน เขียน ภาษาของตัวเอง ผมเชื่อ อัตลักษณ์ความเป็น DNA ชาวปกาเกอะญอ จะไม่จางหายไป

ผมเองดีใจมาก ที่ได้มีโอกาสเข้ามาสอนเด็กๆ ทุกคนในโรงเรียนแห่งนี้ ไม่ว่าพวกเขาจะมากเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ใดก็ตาม ผมเอ ในฐานะคุณครู ผมภูมิใจและเชื่อมั่นเสมอ เมล็ดพันธุ์ปกาเกอะญอที่เรากำลังดูแลเป็นอย่างดีในวันนี้

จะกลายเป็น ต้นไม้ใหญ่ในวันข้างหน้า ต้นไม้ใหญ่ที่มีรากลึก เป็นที่พึ่งให้กับใครหลายคน รวมไปถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมที่จะซึมซาบเข้าไปอยู่ในชีวิตของพวกเขาทุกคน 

แชร์บทความนี้