ฟังเสียงคนแม่สาย : อนาคตของเมืองท่ามกลางภัยพิบัติ ทางออกคืออะไร?

ฟังเสียงประเทศ  “ฟังเสียงคนแม่สาย : อนาคตของเมืองทามกลางภัยพิบัติ ทางออกคืออะไร? ทางออก 3 ทางเลือกเป็นแบบไหนได้บ้าง”โดยมี นายสิทธิศักดิ์ อินใจคำ ปลัดอาวุธสอำเภอแม่สาย  นายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย ปภ.จังหวัดเชียงราย ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ประสบอุทักภัยในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเข้าร่วมเวทีพูดคุยกว่า 30 คน

ในเวทีเสนอบททดสอบทางเลือกให้กับผู้ร่วมรายการว่าหากมีการย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมคิดว่าจะเป็นไปในแนวทางไหน ใน 3 แนวทาง การย้ายแบบสมัครใจชดเชยเต็มจำนวน การย้ายสมัครใจและชดเชยบางส่วน และการบังคับย้าย ส่วนใหญ่คนจะมองว่าเป็นการให้ย้ายด้วยความสมัครใจและจ่ายชดเชย โดยจะมีความเห็นต่างกัน ก่อนเปิดเวทีพูดคุยคนคิดว่าจะมีการชดเชยเต็มจำนวน แต่หลังการพูดคุยคนเห็นว่าชดเชยบางส่วนมากกว่าชดเชยทั้งหมดเล็กน้อย

“การดำเนินการขณะนี้ทางอำเภอทำหน้าที่การสื่อสารเรื่องการฟื้นฟู  โดยรับข้อมูลจากส่วนกลางหรือรัฐบาล แจ้งให้พื้นที่ทราบความเคลื่อนไหวโดยล่าสุด” นายสิทธิศักดิ์  อินใจคำ ปลัดอาวุโสอำเภอแม่สาย กล่าว

ปลัดอำเภอแม่สาย กล่าวว่า ส่วนที่ดำเนินการแล้ว คือติดตั้งเครื่องมือแจ้งเตือนระดับน้ำ หรือเครื่องโทรมาตรอัตโนมัติ บริเวณต้นแม่น้ำสายและจุดตรวจสอบ จำนวน 4 จุด ได้แก่ บ้านโจตาดา บ้านดอยต่อคำ สะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา แห่งที่ 1 และสะพานข้ามแม่น้ำรวก โดยมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก ซึ่งเป็นสถานีในเมียนมา  3 จุด  และในไทย  1 จุด ที่จะทำให้ทราบปริมาณน้ำฝนสะสมและรายงานระดับน้ำแบบเรียลไทม์

สำหรับการแก้ไขภาวะน้ำท่วมแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะเร่งด่วนให้เสร็จก่อนฤดูฝนในปีหน้า และระยะยาว การสร้างคันดินถาวรที่ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ระยะเร่งด่วนคือ ขุดลอกลำน้ำ และการสร้างพนังแข็งแรง เป็นแบบชั่วคราว โดย สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ที่ได้รับมอบหมายรัฐบาลให้ดำเนินการ  รองผู้ว่าราชการจังหวัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประสานขออนุญาตจังหวัดท่าขี้เหล็กได้ลงเรือยางตั้งแต่ ท่ากะหล่ำ จนถึงบริเวณหัวฝาย พบว่าแม่น้ำมีความตื้นเขินมีความลึกของลำน้ำอยู่ระดับ  1.5 – 2 เมตร 

โดยกรมการทหารช่างได้รับมอบหมายให้ทำข้อมูลจะเสนอ และดำเนินการขุดรอกลำน้ำ ให้เสร็จก่อนเดือน พฤษภาคม ปี 2568 ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท สำหรับการขุดรอกลำน้ำป้องกันการที่ทำให้แม่น้ำตื้นเขิน  ขณะนี้เหลือเวลาไม่ถึง 8 เดือน ส่วนเรื่องแผนงานเตรียมน้ำเสนอคณะอนุกรรมการร่วมไทย-เมียนมาเกี่ยวกับเขตแดนคงที่ช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก (Sub JCR) ก่อนนำเสนอ JCR ตามลำดับ ทั้งแนวทางระยะเร่งด่วน และระยะยาว ที่มีมีแนวทางว่าจะทำคันดินถาวรไปถึงสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 คันดินจากริมฝั่งระยะ 40 เมตร และการใช้แนวถนนเป็นแนวทำพนังถาวรนั้น ขณะนี้เป็นข้อเสนอ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังอยู่ในระหว่างการหารือกัน

นายสืบสกุล กิจนุกร สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า จากข้อมูลที่รับทราบ  ที่กังวลคือระยะยาว เท่าที่สังเกตแนวคิดทางภาครัฐที่ใช้แก้ปัญหาภัยพิบัติจากน้ำท่วม ทั้งแม่น้ำสาย แม่น้ำกก และแม่น้ำอิง มี 4 แนวทาง

แนวทางแรก การใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร ติดตั้งเครื่องตรวจวัด สร้างคันดินเป็นแนวพนัง ในวิธีการนี้ดำเนินการโดยใช้งบประมาณเป็นเรื่องง่าย แต่ปัญหาเยอะที่สุด  แนวทางที่สอง การแก้ภัยพิบัติโดยใช้ระบบนิเวศวิทยาในพื้นที่ เช่นการจัดหาพื้นที่แก้มลิง รักษาป่าชุ่มน้ำ แต่ที่แม่สายมีหรือไม่ 

แนวทางที่สาม  ใช้ความร่วมมือข้ามพรมแดนกับการใช้ประโยชน์ที่ดินกับประเทศเพื่อนบ้านที่เกิดความเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลให้น้ำขุ่นขาว และน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม สภาพป่าไม่เหลือ ยังมีเหมืองแร่ ป่าข้าวโพด  ซึ่งจะคุยกับใคร เรามีกลไกในการคุยกับฝ่ายความมั่นคง ที่จะคุย 19 – 20 ธ.ค.และจะคุยกันอีกแนวทางสุดท้าย  ใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นแนวร่วมในการแก้ไขปัญหา  แนวทางที่ยากที่สุด แต่ถ้าไม่มีส่วนร่วมจากพี่น้องประชาชน  เกิดความกังวล ข้อมูลไม่ชัดเจน ส่วนการมีส่วนรร่วมแนวปฏิบัติควรทำอย่างไร 

“ต้องทำอย่างไร ก็ต้องเข้าใจปัญหาร่วมกันก่อน  ทางออกต้องขุดลอก สร้างคันดิน และขยับพื้นที่  คนที่เข้าใจเรื่องนี้มากที่สุดคือ รัฐบาล และผู้รับผิดชอบ แต่คนในพื้นที่ยังไม่เห็นภาพ ก่อนตัดสินใจมาคุยร่วมกันก่อน ถ้าทุกคนเข้าใจร่วมกัน ทางออกอาจมีมากกว่าที่ช่วยกันคิด ในการที่จะให้ฟื้นคืนชีพ ต้องจำเป็นต้องพูดถึงระยะยาวเรื่องอาชีพในอนาคต สร้างภาพตรงนี้ให้ชัดเจนอย่างอื่นก็จะมา” นายสืบสกุลกล่าว

อาจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า ในส่วนความร่วมมือเบื้องต้นของภาครัฐ และแบ่งปันความรับผิดชอบกันระหว่างส่วนของท้องถิ่น และรัฐบาล ส่วนท้องถิ่นจะอยู่ตรงไหนในการดำเนินการนี้  และการแก้ไขปัญหาระยะยาว เรื่องการดูแลคนเปราะบางทางสังคมจึงต้องสร้างความแข็งแรงของ อปท. มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

เงื่อนไขในระยะยาว มีระยะยาว ในท้องถิ่นร่วมตัดสินใจได้ แม้รัฐมีเงิน ถ้าท้องถิ่นปฎิเสธ ก็เดินไม่ได้

ความยากของความเข้าใจของชาวบ้าน  ความชัดเจน และความละเอียดอ่อน

ปลัดฯ กล่าวว่า  เรื่องพี่น้องชาวบ้านสำคัญ หลายครั้งคุยกับผญบ. ไม่เหมือนที่อื่น ย้ายได้แต่ขออยู่ในเขตหมู่บ้านได้ไหม ที่เติบโตมา  ส่วนของชายแดน ตรงนี้เราก็ไม่ทราบ 100 เปอร์เซ็น เท่าที่เข้าไปคือการขอความเห็นชอบการสำรวจขุดรอก

นายเกรียงศักดิ์ อำพรไพ ชาวบ้านบ้านผาจมกล่าวว่า การรับข้อมูลและข่าวสารไปทำลายจิตใจ กรณีมีข่าวมาเป็นระยะในพื้นที่การเวนคืนเป็นระยะ   15 เมตร  30 เมตร และ100 เมตร จากฝั่ง ถ้าทำตาม 4 ข้อ ถ้าไม่ย้ายจะทำอย่างไร อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยทั้งเมือง ถึง 250 เมตร  สามารถทำทาวน์โฮมโดยด้านหลังอาคารชนแม่น้ำสายได้ไหม ก่อนหน้านี้ริมน้ำสายเริ่มด้วยการทำแปลงผัก สร้างเป็นกระต๊อบ แล้วมาทำบ้าน ให้เลขที่บ้าน ไฟฟ้ามา จะย้อนกระบวนการ ก็โทษกันไม่ได้ 

“ต่อไปถ้าทำคันดินป้องกันน้ำ มีระบบระบาย ทำพนังกั้นน้ำ ทำพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ริมน้ำระยะทาง  3,960 เมตร แล้วสามารถสร้างการอยู่แบบแนวตั้งได้หรือไม่ เป็นทาวน์โฮม  เพราะเมื่อมองบริบทตามพื้นที่เกาะทรายอาจต้องย้ายทั้งชุมชน แล้วสร้างบ้านเรียงกันทั้ง 503 หลังคาเรือน เสนอภาครัฐจะทำได้ไหม เพราะชุมชนมันคือโครงสร้างพื้นฐานของชีวิต  และคนชุมชนสายลมจอย ยาวถึงถ้ำผาจม มีชนเผ่าและมีหลายสถานะ ” นายเกรียงศักดิ์ อำพรไพกล่าว

ทั้งนี้ข้อกังวลและข้อเสนอของชาวบ้านในวง มีหลากหลาย ประกอบด้วย ผลกระทบข้ามแดน ในปัญหาน้ำท่วม ฝุ่น PM 2.5  ที่เกิดในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน และทุนจากประเทศไทย  แต่เราทำอะไรไม่ได้  บางส่วนเสนอถึงความผูกพันของชุมชนท้องถิ่นที่อยู่กันมานานและส่งต่อให้ลูกหลาน เมื่อมีความเสี่ยงอันตรายก็ย้ายได้ แต่ที่ต้องการคือความชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล ต้องการส่งข้อมูลให้เร็วที่สุดกับชาวบ้าน การที่แม่สายมีทั้งคนต่างด้าว ทั้งคนต่างประเทศที่มาอาศัย มีสถานะที่แตกต่างกัน แต่ละสถานะจะมีการชดเชยเยียวยาหรือไม่ ต่างกันอย่างไร

และมีข้อเสนอจากชาวบ้านที่เข้าร่วมวงพูดคุย จากการที่มีข้อมูลการออกแบบจากสำนักงานโยธาและผังเมืองออกมาที่จะมีการย้ายชุมชนจำนวนหลายหลังคาเรือนโดยไม่มีรายละเอียดการดำเนินการและการเวนคืน และการมีส่วนร่วมจากประชาชน ทำให้ชาวบ้านกังวลเพราะยังไม่ทราบแผนชัดเจน คำถามถึงแผนการขุดลอกแม่น้ำสายที่ระหว่างดำเนินการชาวบ้านจะไปอยู่ทีไหน และผู้ที่ไม่ได้อยู่ติดลำน้ำหรือรุกล้ำลำน้ำ จะต้องอยู่อย่างไร ไม่รู้ว่าตนเองควรจะซ่อมหรือสร้างบ้านใหม่หรือไม่

“การที่เราอยู่ริมห่างจากน้ำ เราเรียนรู้เรารู้ว่าจะทำอย่างไร เราไม่อยากย้าย มันกระทบ ทุกรัฐบาลไม่มีความจริงจัง ใส่ใจ ผลกระทบ  หลบเลี่ยงข้อกฎหมายตำหนิหรือลงโทษ ชุมชนบ้านผาจม ถามทางโซเชี่ยล ติดริมน้ำ รุกล้ำส่วนหนึ่ง บางส่วนเต็มใจย้าย  เราไม่ได้รุกล้ำ เราก็ทบอย่างรุนแรง ขอฝากคำตอบ ในชั่วโมงนี้ควรจะซ่อมประตูบ้านไหม และกระบวนการเทศบาล ล่าช้า น่าจะเร่งได้เร็วกว่านี้” ชาวบ้านบ้านผาจมกล่าว

ด้านนายชัยยนต์  ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแม่สาย กล่าวว่า  ปัญหาตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องกระบวนการหรือรูปแบบ เป็นเรื่องการสื่อสาร ความต้องการของข้างล่างไปข้างบน และข้างบนลงมาข้างล่าง  กระบวนคิดข้างบน กระบวนการรองรับข้างล่างยังสื่อสารกันไม่ดี

“ผมเชื่อว่าทุกคนยอมรับได้แต่ต้องเหมาะสม สิทธิ์กรรมสิทธิ์ กระบวนการที่เราขาดมาก คนไทยต่างด้าวต่างชาติ เขตแดน พื้นที่ทับซ้อน กรรมสิทธิ์ที่ดิน ยังไม่ชัดเจน  ขณะเดียวกัน กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ไม่ได้ออกระเบียบตามบริบทแต่ละเมือง แต่ทุกพื้นที่ใช้กฎหมายเดียวกัน รวมทั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ใช้ทั้งประเทศ แต่กฎหมายไม่เอื้อให้ปฏิบัติการตามความเหมาะสมของพื้นที่ เป็นประเด็นเรื่องกระจายอำนาจ อยากให้ทางส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น ปกครอง ได้มาคุยกันจริง ๆ  เชื่อว่ากรมโยธาและผังเมืองต้องการแก้ปัญหา แต่ไม่ให้ประชาชนมีทางเลือก แผนการดำเนินการโยนมาตูม สถานะฉันอยู่ตรงไหน พื้นที่ฉันไม่มีเอกสาร ไม่มีเอกสารแบบไหน ผมอยู่ยากมาก ผมตอบประชาชนไม่ได้ ตอบส่วนกลางไม่ได้ ผมต้องรอให้แผนฯ ประกาศออกมาก่อน ต้องรอ ครม. แต่ขณะเดียวกันประชาชนก็เห็นแล้ว ไม่ใช่เอกสารลับอีกต่อไป” นายชัยยนต์กล่าว

นายกเทศมนตรีตำบลแม่สายกล่าวว่า คนในหมู่บ้านมีหลายสถานะ เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้คุยพื้นที่เดียวกัน บ้านเอกสารสิทธิ์ที่เขามี การสื่อสารเรามีปัญหาจริง ๆ  เราต้องการความชัดเจน เป็นเรื่องแผนงาน กระบวนการเรียนรู้ ซ่อมไม่ซ่อมดี  การที่บอกเทศบาลล่าช้าในการแก้ปัญหา แต่เพราะเราส่งรายงานและแผนกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด( อบจ.) ที่เตรียมงบประมาณ 49 ล้าน และยังต้องส่งกลับไปอำเภอ หรือแม้แต่ข้อนี้ไม่ได้อธิบายถึงประชาช ขออภัยด้วย จะขอสื่อสารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องสื่อสารกับชาวบ้านมากขึ้น ถ้าได้รับการพูดคุยได้ดีกว่านี้

ด้านปลัดอาวุโสอำเภอแม่สาย กล่าวว่า ในส่วนอำเภอแม่สายเป็นข้อกลางจริง ๆ ไม่ได้มีข้อสั่งการมาที่อำเภอ แต่ฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ก็ไม่ได้ข้อมูลตรงนี้ด้วยเช่นกัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่รัฐบาลทำ ไม่ได้เป็นระเบียบกฎหมายชัดเจน ก็ไม่ได้ออกมาเป็นข้อมูล แต่ต่อไปก็จะขอข้อมูล จะมาชี้แจงผ่านกำนันผู้ใหญ่บ้านไปถึงชาวบ้านต่อไป

นายสืบสกุล  กล่าวว่า จากการพูดคุย มีข้อเสนอต่อประชาชนผู้ประสบภัย จัดตั้งเป็นคณะทำงาน เครือข่าย เพื่อรวบรวมข้อมูล เป็นไปได้หรือไม่ หน้าที่แรกร่วมรวมข้อมูลประชาชนทั้งลำน้ำ  ทำข้อเสนอ สถานะทางทะเบียน ตามพื้นที่ จำแนกตามอาชีพ สถานะ พื้นที่ เพื่อจัดการกับความต้องการ พอเราได้ข้อมูลตรงนี้ จะเป็นข้อมูลกลางเป็นเสียงเดียวกันของคนแม่สาย ครอบคลุมความต้องการอนาคต กฎหมายที่ไม่เอื้อสามารถนำเสนอได้ ความเป็นเมืองชายแดน ถ้าจะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจะแก้ปัญหาอย่างใดบ้าง เป็นกลุ่มก้อนทำให้เป็นข้อมูลของประชาชน

ซึ่งบ่ายโมงวันที่ 12 ธันวาคม 2567 สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จะร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ จัดเวทีรับฟังเสียงของชาวแม่สาย ที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองแม่สาย และรวบรวมข้อคิดเห็นต่าง ๆ เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสม ที่มาจากเสียงของผู้คนที่ได้รับผลกระทบให้มากที่สุด

แชร์บทความนี้