Hackวิกฤตปลาหมอคางดำ : แลทะเลสาบสงขลา

โครงการจัดประชุมระดมความคิดเห็น แนวทางการแก้ไขปัญหา และการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในประเทศไทย: รักษา/ดูแล ฟื้นฟู “ทะเลสาบสงขลา” ไม่ให้คางดำรุกราน (HACKATHON)  
 

การแนะนำ

ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบสามน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นทะเลแบบลากูน(แหล่งน้ำตื้น) ที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่แยกจากทะเลโดยเนินทรายและมีทางออกสู่ทะเลเป็นจุดๆ ถือเป็นเแหล่งน้ำที่มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาและเศรษฐกิจของประเทศไทย ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่มีทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำหลายชนิด เนื่องจากเป็นที่ไหลรวมกันของต้นน้ำลำคลองเล็กๆ จำนวนมาก  โดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลากจะมีน้ำจืดปริมาณมหาศาลไหลของสู่ทะเลสาบและผลักดันน้ำเค็มออกสู่ทะเลอ่าวไทย  ขณะที่ช่วงหน้าแล้งน้ำเค็มจะไหลเข้ามาแทนที่ผสมกับน้ำในทะเลสาบเป็นน้ำกร่อย

ทะเลสาบสงขลาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ทะเลน้อย พื้นที่ประมาณ 27 ตารางกิโลเมตร เป็นทะเลน้ำจืด ความลึกเฉลี่ย 1.2 เมตร มักจะพบพืชน้ำนานาชนิดและป่าพรุขนาดใหญ่ ทะเลหลวง อยู่ถัดจากทะเลน้อย มีพื้นที่ประมาณ 373 ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ 2 เมตรในอดีตเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันถูกรุกจากน้ำเค็มในช่วงหน้าแล้ง ทะเลสาบ อยู่ถัดจากทะเลหลวง มีพื้นที่ประมาณ 360 ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ 2 เมตร มีเกาะมากมายในพื้นที่ และเป็นพื้นที่ผสมผสานของน้ำเค็มและน้ำจืด  ทะเลสาบสงขลา เป็นส่วนของทะเลสาบน้ำเค็มที่เชื่อมกับอ่าวไทย พื้นที่ประมาณ 183 ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ 1.5 เมตร (ยกเว้นช่องแคบเชื่อมกับอ่าวไทยซึ่งใช้เดินเรือมีความลึกประมาณ 12 –14 เมตร) แต่บางส่วนในฤดูฝนเป็นน้ำกร่อยและได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นลง ทะเลสาบสงขลามีการวางเครื่องมือประมงประเภทไซนั่งและโพงพางทั่วทั้งทะเลสาบ

กล่าวสำหรับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ทะเลสาบสงขลามีพืชบก พืชน้ำ และกลุ่มหญ้าทะเล รวมถึงสัตว์ประเภทต่างๆ หลายร้อยชนิด โดยเฉพาะกลุ่มปลาซึ่งพบถึงกว่า 500 ชนิด บางชนิดเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว และมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ อาทิ  กระเบนบัว ปลาพรหมหัวเหม็น ปลากระทิงไฟ ปลากระทิงลาย ปลาจิ้มฟันจรเข้  นอกจากปลาแล้วยังมีกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อาทิ ไส้เดือนทะเล กุ้งทะเล ปู หอยฝาเดียวและหอยสองฝา หมึก ส่วนกลุ่มสัตว์ปีกซึ่งสำรวจพบกว่า 200 ชนิด กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน 27 ชนิด กลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง โลมาอิรวดี โลมาน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิดที่มีความสามารถปรับตัวอาศัยในน้ำจืดได้ และมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์

ทะเลสาบสงขลามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นอย่างน้อยใน  3 จังหวัดคือ พัทลุง นครศรีธรรมราชและสงขลา แต่ก็เผชิญภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ อาทิ สภาพการตื้นเขินของทะเลสาบสงขลา เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นหลัก ประเด็นการใช้เครื่องมือประมงแบบทำลายล้าง ประเด็นมลพิษทางน้ำ และการรุกตัวของน้ำเค็มเนื่องจากสภาพการใช้ที่ดินทำให้สภาพพื้นที่ป่าต้นน้ำเปลี่ยนไป   อย่างไรก็ตาม ทะเลสาบสงขลากำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่จากการแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างรุนแรง

เพื่อรับมือกับปัญหานี้ โครงการ Hackathon จึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการระดมความคิดและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มุ่งเน้นการดูแลและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลสาบสงขลา โครงการนี้มีเป้าหมายในการผสานความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น งานวิจัย และ รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ผ่านการสื่อสารสาธารณะ

การจัด Hackathon ครั้งนี้จะเป็นการรวมตัวของนักพัฒนา นักวิจัย นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขลา รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อร่วมกันออกแบบและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และฟื้นฟูระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน โครงการนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ แต่ยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน.

หลักการและเหตุผล

ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่าย ๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetics) และระบบนิเวศ(ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก

ทั้งนี้ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ฉะนั้นการรุกรานของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลต่อชนิดพันธุ์และสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่เดิม และสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศ จึงย่อมส่งผลและสร้างความเสียหายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ องค์การกระจายเสียง

และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ต่างตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบ จาก ‘ปลาหมอคางดำ’ ซึ่งถือเป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species) ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ตามแหล่งน้ำต่างๆ กว่า 16 จังหวัด จึงกำหนดจัดประชุมระดมความคิดเห็น แนวทางการแก้ไขปัญหา และการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในประเทศไทย: รักษาดูแล ฟื้นฟู “ทะเลสาบสงขลา” ไม่ให้คางดำรุกราน ในรูปแบบโครงการ HACKATHON ในวันที่ 26-27 กันยายน 2567 ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับภาคประชาสังคม นักวิชาการ นักวิจัย และนักสื่อสาร ได้ทำการวิเคราะห์รากของปัญหา (Root Cause) การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่ต่างๆ (what) และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น (So What) ในทุกมิติทั้งในส่วนของวิถีชีวิตของชาวประมง ความหลากหลายของระบบนิเวศที่อาจลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว หรือสูญหายไป

คำชี้แจงปัญหา

ประเทศไทยมีความเข้าใจเรื่องสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นค่อนข้างน้อย ตามวัดในพื้นที่เขตอภัยโทษมีการขายสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นเพื่อปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลองเพื่อประกอบพิธีกรรมการทางศาสนา สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นรุกราน เมื่อเข้ามาแล้วจะสามารถขยายพันธุ์ตามธรรมชาติเองได้ อย่างเช่น ผักตบชวา หอยเชอรี่ และปลาหมอคางดำ ที่ขยายพันธุ์เองได้แล้วสร้างปัญหาผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม 

ในกรณีของปลาหมอคางดำ หรือ Blackchin tilapia ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาหมอเทศ นั้น เดิมมี

ต้นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ต่อมาได้มีการนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553

ปลาหมอคางดำเป็นสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษคือสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้ทั้ง 3 น้ำ คือ น้ำเค็ม น้ำจืด และน้ำกร่อย และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

การแพร่ที่รวดเร็วของปลาชนิดนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ เนื่องจากนิสัยโดยทั่วไปของปลาหมอคางดำมีความต้องการอาหารอยู่ตลอดเวลา โดยปลาหมอคางดำกินทั้งพืช สัตว์ แพลงก์ตอน ลูกปลา ลูกหอยสองฝา รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตเป็นอาหาร รวมไปถึงลูกกุ้งทะเล และลูกปลาวัยอ่อนด้วย นั่นหมายความว่ายิ่งการปลาหมอคางดำขยายจำนวนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลให้สัตว์น้ำอื่นๆ ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วไปด้วย

หลังจากพบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำครั้งแรกในปี พ.ศ.2555 ที่บ่อกุ้งและบ่อปลา ในตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และต่อมาแพร่กระจายไปในอีกหลายพื้นที่

ข้อมูลจาก C-Site Application ซึ่งเป็นช่องทางที่เปิดให้บุคคลทั่วไปใช้รายงานข้อมูลข่าวสารได้ ดำเนินการโดยสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส พบว่ามีการปักหมุดรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำตั้งแต่ตะวันออกสุด คือ จังหวัดจันทบุรี ไปจนถึงใต้สุด คือ จังหวัดสงขลา 

สำหรับจังหวัดสงขลานั้นมีความพิเศษตรงเป็นที่ตั้งของทะเลสาบสงขลาส่วนล่างที่เชื่อมต่อกับอ่าวไทย และเชื่อมต่อกับทะเลสาบอีก 3 ส่วน(ตามข้อมูลข้างต้น)

ด้วยความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลสาบสงขลา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลป้องกันและและฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาจากแพร่กระจายของปลาหมอคางดำ ไม่เช่นนั้นปลาหมอคางดำจะกลายเป็นภัยคุกคามของสัตว์น้ำพื้นถิ่นของทะเลสาบสงขลา และทำให้ความหลากหลายของสัตว์ชนิดต่างๆ ตามแหล่งน้ำธรรมชาติของแต่ละถิ่นลดลงจนอาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ รวมถึงผลกระต่อการดำรงชีพ และอาชีพผู้ในพื้นที่ต่อไปอีกทอด

โอกาสสำหรับนวัตกรรม:

โครงการ Hackathon ในฐานะเวทีในการระดมความคิดและสร้างสรรค์นวัตกรรม มุ่งหวังที่จะหาทางจากปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบความคิด ความรู้ ความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล รวมถึงแนวความคิดแบบปัญญารวมหมู่ Collective Intelligence คือ

  1. Deliberation การตัดสินใจร่วมกันแบบไตร่ตรอง เป็นกระบวนการที่ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมการแก้ปัญหาและตัดสินใจ โดยมีสื่อสาธารณะที่เป็นประโยชน์ในการรับรู้ข้อมูล ถกเถียงกันโดยไม่มีอคติ (Bias) แล้วนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกัน
  2. Insight & Foresight การคาดการณ์อนาคต ในเรื่องที่มีความซับซ้อนซึ่งจะต้องมีการทำความเข้าใจเชิงลึกขึ้นและมองเป็นพลวัต เพื่อจำลองภาพอนาคต และหาทางรับมือกับความไม่แน่นอนรูปแบบต่าง ๆ
  3. Public Benefit ข้อเสนอที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างต่อเศรษฐกิจและสังคม / สร้างองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในประเทศ / พัฒนาบุคลากรในภาคส่วนต่างๆ และถ่ายทอดเทคโนโลยี

เป้าหมายคือการนำทุกความเห็น ความรู้ ของผู้เข้าร่วมมาออกแบบการจัดการกับปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ รวมถึง สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกรานอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของสาธารณะ พร้อมกับเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมออกแบบแผนการวิจัยให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างมีเป้าหมาย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อระดมความเห็นในการรักษาดูแลฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาไม่ให้ปลาหมอคางดำรุกราน ร่วมกับทุกภาคส่วน
    1. เพื่อสร้างบทสนทนาของสาธารณะ ในประเด็นการสร้างและใช้ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ
    1. เพื่อสื่อสาร สร้างการรับรู้ และทำความเข้าใจต่อสาธารณะให้เห็นความสำคัญของแผนด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลง พัฒนาประเทศในทุกมิติ และการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน

เกณฑ์คุณสมบัติ

การแข่งขันนี้เปิดกว้างสำหรับนักสร้างสรรค์ นักคิด นักออกแบบ และผู้ที่สนใจเรื่องสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกรานและความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าร่วมโครงการ Hackathon โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องนำเสนอแนวทางการแก้ไขและจัดการปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพที่มีเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกรานได้  โดยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น

ความท้าทายที่สำคัญคือการพัฒนาวิธีการจัดการที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในการควบคุมการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ โดยผสมผสานความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการสนับสนุนจากนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โอกาสอยู่ที่การสร้างความร่วมมือข้ามสาขาวิชาและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหานี้.

ข้อกำหนดในการส่ง

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถต้องเลือกประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สนใจในขั้นตอนการทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการ เช่น การป้องกันหรือฟื้นฟูระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำ  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการจัดการชุมชน การประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการออกแบบนโยบาย มาตรการ กลไก กฎหมาย ที่มีส่วนช่วยในจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น

เอกสารแนะนำตัว

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ทางออนไลน์ โดยไม่มีการจำกัดคุณสมบัติผู้เข้าร่วม เพียงเล่าแรงบันดาลใจที่ทำให้ต้องการเข้าร่วม Hackathon นี้ และความคาดหวังจากการเข้าร่วม Hackathon นี้ อย่างไรก็ตามผู้สมัครจะต้องเข้าใจและยอมรับเงื่อนไขการเข้าร่วม Hackathon ที่กำหนดโดยผู้จัดงาน

ทั้งนี้ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวมในแบบลงทะเบียนนั้นทางผู้จัดงานจะเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดงาน Hackathon นี้เท่านั้น

ลงทะเบียนเข้าร่วม Hackathon หัวข้อ : ระบบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลากับการรักษา/ดูแล ฟื้นฟู ‘ทะเลสาบสงขลา’ ไม่ให้ปลาหมอคางดำรุกราน (google.com)

เกณฑ์การประเมิน

  • นวัตกรรมและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ความคิดสร้างสรรค์ของวิธีการแก้ปัญหาและความสามารถในการแนะนำแนวคิดหรือแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา
  • ความเป็นไปได้และความยั่งยืน : การปฏิบัติจริงของการนำวิธีแก้ปัญหาไปใช้ ซึ่งรวมถึงการพิจารณาต้นทุน ทรัพยากร เทคโนโลยี และความเหมาะสมของพื้นที่รูปธรรม ตลอดจนความยั่งยืนเมื่อเวลาผ่านไป
  • ผลกระทบ: รูปธรรมความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เป็นไปได้ของการแก้ปัญหาต่อความพยายามในการดูแลและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลสาบสงขลา
  • ศักยภาพในการพัฒนาชิ้นงานนวัตกรรม : คุณภาพของแผนการจัดทำเอกสารประกอบของสื่อที่เสนอ และศักยภาพของวิธีการแก้ปัญหาสำหรับการพัฒนาเพิ่มเติม การมีส่วนร่วมของสาธารณะ และความสามารถในการพัฒนาต่อยอด
  • ความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ : ผลงานที่ส่งมีความละเอียดถี่ถ้วน มีชุดข้อมูลสนับสนุน และแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่าง ๆ ที่มีอยู่ ข้อเสนอที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจะไม่เพียงแต่จัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่กว้างขึ้นในการรักษาความหลาหลายทางชีวภาพ

แนวทางการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก

  • การระบุปัญหา: อธิบายแง่มุมเฉพาะของแผนงานที่นำเสนอ โดยสามารถชี้ให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนที่จะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
  • แนวทางแก้ไขที่เป็นนวัตกรรม: เสนอแนวทาง ต้นแบบ หรือเครื่องมือใหม่ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อบรรเทาปัญหาที่ระบุ ให้รายละเอียดด้านนวัตกรรมของวิธีการแก้ปัญหา และความแตกต่างจากแนวทางที่มีอยู่ รวมการออกแบบเบื้องต้น ภาพร่างแนวคิด หรือกรอบทางทฤษฎีที่สนับสนุนข้อเสนอของคุณ
  • การประเมินผลกระทบ: ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการแก้การปัญหาที่นำเสนอ สามารถแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทันที รวมไปถึงความยั่งยืนในระยะยาวของแนวทางที่นำเสนอ โดยพิจารณาถึงปัจจัยทางนิเวศวิทยา สังคม และเศรษฐกิจด้วย
  • แผนการพัฒนานวัตกรรม : สรุปแผนสำหรับการพัฒนาและทดสอบวิธีการแก้ปัญหาที่นำเสนอ รวมขั้นตอนในการปรับปรุงต้นแบบ การทดลองภาคสนามที่เป็นไปได้ และศักยภาพในการต่อยอดความสำเร็จนำไปใช้ในพื้นที่อื่น

รายละเอียดรางวัล

ไอเดียที่โดดเด่นจะได้รับเงินรางวัลและโอกาสในการพัฒนาไอเดียต้นแบบให้เป็นจริงร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร และหน่วยงาน องค์กรในพื้นที่

  • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท

*มีประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน

เส้นเวลา

ประชาสัมพันธ์กิจกรรม : 27สิงหาคม- 15 กันยายน พ.ศ.2567

กำหนดเวลาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ: 27สิงหาคม- 15 กันยายน พ.ศ.2567

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วม :20 กันยายน พ.ศ.2567 (ประกาศผลผ่านทางหน้าเฟซบุ๊คแฟนเพจ Your Priorities)

วันกิจกรรม Hackathon : 26-27 กันยายน พ.ศ.2567

วันที่จัดงาน

ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับจากโครงการ Hackathon เพื่อการดูแลและฟื้นฟูนิเวศความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลสาบสงขลา จะมอบประโยชน์ให้แก่ผู้เข้าร่วม ดังนี้

  • การเรียนรู้และพัฒนาทักษะ: ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม ทั้งในด้านเทคโนโลยี การวิจัย และการสื่อสาร โดยได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ.
  • การสร้างเครือข่าย: โครงการนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้พบปะและสร้างเครือข่ายกับนักพัฒนา นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ซึ่งสามารถนำไปสู่ความร่วมมือในอนาคตและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ.
  • การมีส่วนร่วมในชุมชน: ผู้เข้าร่วมจะได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่มีความสำคัญต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ซึ่งช่วยเพิ่มความตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อสังคม.
  • โอกาสในการนำเสนอผลงาน: ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสนำเสนอผลงานของตนต่อผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งอาจนำไปสู่การสนับสนุนเพิ่มเติมหรือการนำผลงานไปใช้จริงในพื้นที่.
  • การรับรองและรางวัล: ผู้เข้าร่วมที่มีผลงานโดดเด่นจะได้รับการรับรองและรางวัล ซึ่งเป็นการยอมรับถึงความสามารถและความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.

การเข้าร่วมโครงการ Hackathon นี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการพัฒนาทักษะและความรู้ส่วนบุคคล แต่ยังเป็นการสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

ข้อมูลเพิ่มเติม

การมองปัญหาในมิติที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้เข้าร่วม Hackathon สามารถพัฒนานวัตกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืนในการจัดการกับปัญหาของทะเลสาบสงขลา

  • การแก้ไขปัญหาด้านระบบนิเวศ: พัฒนาวิธีการจัดการระบบนิเวศที่สามารถป้องกันและลดผลกระทบจากปลาหมอคางดำ เช่น การฟื้นฟูชนิดพันธุ์พื้นเมือง การสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และการใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบและควบคุมการแพร่ระบาด.
  • การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการจัดการชุมชน: ส่งเสริมการใช้ความรู้และวิธีการจัดการที่มีอยู่ในชุมชน เช่น การจัดการประมงแบบยั่งยืน และการสร้างความตระหนักรู้ในชุมชนเกี่ยวกับผลกระทบของปลาหมอคางดำ.
  • การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการตรวจจับและควบคุมปลาหมอคางดำ เช่น การใช้เซ็นเซอร์หรือระบบติดตามเพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวและการแพร่กระจาย.
  • นโยบายและการกำกับดูแล: สนับสนุนการพัฒนานโยบายและกฎหมายที่สนับสนุนการจัดการและควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน รวมถึงการสร้างกลไกการสนับสนุนและการชดเชยสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ.



ติดต่อ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือคำชี้แจงเกี่ยวกับการโครงการนี้ สามารถติดต่อได้ทางอีเมล [email protected]

แชร์บทความนี้