Localizing the senate สว. เลือกแบบไหนให้วุฒิสภายึดโยงกับประชาชน-คนท้องถิ่น

อัปเดตเนื้อหาล่าสุด 13:20 น. วันที่ 10 มิถุนายน 2567

ทำไมท้องถิ่นทำไมไม่เจริญเท่าใครเขา ความเหลื่อมล้ำกลายเป็นเรื่องปกติทั่วไป คนรุ่นใหม่ ไม่มั่นใจว่าท้องถิ่นจะมีโอกาสให้เขาเติบโตแบบไหน แล้วนานแล้วเท่าไหร่ที่ปัญหาของบ้านเราซึ่งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ แต่ต้องรอคนตรงส่วนกลางเข้ามาตัดสินใจ…. ทั้งหมดเป็นเรื่องเชิงโครงสร้างและการใช้อำนาจที่สว. ซึ่งกำลังจะมีการคัดเลือกกันเอง ต้องเข้าไปมีบทบาท จัดการ
แม้ว่าบทบาทหลักของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จะมุ่งเน้นไปที่การพิจารณากฎหมายในระดับชาติ แต่พวกเขาก็มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นได้หลายวิธี ได้แก่

  1. การเป็นกระบอกเสียงให้กับท้องถิ่น สว. สามารถนำเสนอปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นในสภา และผลักดันให้รัฐบาลกลางให้ความสนใจและจัดสรรทรัพยากรเพื่อแก้ไขปัญหาได้
  2. การตรวจสอบและประเมินนโยบายของรัฐบาลกลาง สว. สามารถตรวจสอบว่านโยบายของรัฐบาลกลางมีผลกระทบต่อท้องถิ่นอย่างไร และเสนอแนะแนวทางปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของท้องถิ่นมากขึ้น
  3. การสนับสนุนการกระจายอำนาจ สว. สามารถสนับสนุนการกระจายอำนาจและงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นมีอำนาจและทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สว. สามารถประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐบาลกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นได้อย่างบูรณาการ
  5. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สว. สามารถจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อนำข้อมูลและข้อเสนอแนะไปใช้ในการพิจารณากฎหมายหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
  6. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สว. สามารถส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว

ทำไมคนท้องถิ่นต้องใส่ใจสว.

การกระบวนการเลือก สว. รอบนี้เรียกว่าเป็นวิธีการ “คัดเลือกกันเอง” ถือเป็นแนวทางการเลือกแบบใหม่ที่แปลกที่สุดนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นต้นมา กล่าวคือ สว.แบบใหม่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับที่มาของ สว.แบบใหม่ว่า “ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยตรง และไม่ต้องอิงกับพรรคการเมืองเพราะไม่ต้องหาเสียง คุยกันเฉพาะในกลุ่มบุคคลที่สมัคร กลไกในลักษณะนี้จะทำให้ สว. ปลอดจากการเมือง มาจากทุกสาขาอาชีพ มาจากคนทั่วประเทศ และกลุ่มบุคคลเหล่านี้ก็คือประชาชน”

สมัคร สว. ≠ อยากเป็น สว. แต่เพื่อมีสิทธิมีเสียงด้วย

Ø ผู้สมัครจะมีโอกาส ลงคะแนนโหวต ให้กับผู้สมัครคนอื่น ๆ ทั้งในกลุ่มอาชีพของตัวเองและต่างกลุ่มอาชีพ เป็นช่องทางเดียวที่จะมีโอกาสได้เลือกคนที่มีแนวคิด อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับตัวเอง

Ø ผู้สมัครจะมีโอกาส ลุ้นเข้ารอบ เพื่อไปโหวตให้กับผู้สมัครอีกหลายคนอีกหลายครั้ง ถ้าเข้ารอบสุดท้ายก็มีโอกาสเป็นเสียงตัดสินคนที่จะได้เป็น สว. จริง ๆ หรือมีโอกาสได้เป็น สว. เพื่อทำความฝันของตัวเอง

Ø ผู้สมัครที่ได้เข้าร่วมกระบวนการ จะมีโอกาสช่วยกัน “จับตา” สังเกตสิ่งปกติหากมีการ “จัดตั้ง” หรือ “ล็อกผล” ในกลุ่มผู้สมัครคนอื่น

สว. ทำอะไรได้บ้าง 

  1. เขียนรัฐธรรมนูญใหม่
  2. พิจารณากฎหมาย
  3. เคาะเลือกคนมาตรวจสอบรัฐบาล
  4. ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล

บทบาทของสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. มีความสำคัญต่อกลไกทางการเมืองไม่แพ้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สส. โดยเฉพาะการเข้าไปมีบทบาทในการเป็นสภาสูงเพื่อถ่วงดุลอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของกลไกแบบรัฐสภา ดังนั้นการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะ สว. ก็สำคัญไม่แพ้กัน 

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาทีม Locals สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอส ภาคีเครือข่ายองค์กร สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน ล้อมวงคุยเพื่อรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมแลกเปลี่ยนถึงความคาดหวังจากประชาชนในพื้นที่ภูมิภาคต่อการสรรหา สว. ในปี 2567 นี้

ผ่านรูปแบบกระบวนการ ฟังเสียงประเทศไทย “เลือกตั้ง สว. 2567” เสียงสะท้อนความหวังของประชาชน ใน 4 ภูมิภาค

  • ภาคอีสาน วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:30 – 12:00 น. ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภาคใต้ วันพฤหสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาศารทักษิณาคาร
  • ภาคกลาง วันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 เวลา 13:30-17:00 น. ณ หอประชุม 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี
  • ภาคเหนือ วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ทั้งนี้ ในพื้นที่กิจกรรรมของงานมีกระดานแสดงความคิดเห็นสาธารณะของ ทีมห้องทดลองปัญญารวมหมู่ ซึ่งประมวลผลข้อความได้ดังนี้

จากภาพ wordcloud ที่เห็นเราอาจแบ่งกลุ่มความคิดเห็นได้ดังนี้

1. คุณสมบัติของ สว. ที่พึงประสงค์:
  • ความซื่อสัตย์และคุณธรรม: ซื่อสัตย์, จริงใจ, มีคุณธรรม, ไม่ขายตัว, ไม่คดโกง, มือสะอาด, มีจิตวิญญาณเสียสละ, มีศีลธรรม
  • ความรู้ความสามารถ: มีความรู้, ฉลาด, มีความรู้ความสามารถ, รู้ลึกจริง, มีความรู้ด้านกฎหมาย, ดีและเก่ง, มีคุณวุฒิ,สูงด้วยภูมิปัญญา
  • การทำงานเพื่อประชาชน: ทำงานเพื่อประชาชน, ไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตัว, รับฟังความคิดเห็นของประชาชน, เข้าถึงประชาชน, ยึดโยงถึงชาวบ้าน, เป็นปากเสียงให้ประชาชน, ทำงานเพื่อส่วนรวม, ไม่ทำงานเพื่อกลุ่มตัว, เป็นที่พึ่งของประชาชน, เห็นประโยชน์แก่พลเมือง
  • ความเป็นผู้นำและความกล้าหาญ: มีความเป็นผู้นำ, กล้าสู้เผด็จการ, กล้าหาญ, มีความคิดที่เป็นผู้นำ, ยืนหยัด
  • ความโปร่งใสและเป็นกลาง: โปร่งใส, เป็นกลาง, ไม่สังกัดพรรค, ไม่เข้าข้างนักการเมือง, ไม่แบ่งพวก, เป็นอิสระ
  • อื่นๆ: ติดดิน, ทันสมัย, ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงได้เร็ว, มีวิสัยทัศน์กว้างไกล, จริงจัง, รับผิดชอบ


ฟังเสียงประเทศไทย สว.แบบไหนถูกใจคนใต้

ภาพจากเพจTSU News ข่าวมหาวิทยาลัยทักษิณ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พ.ค. 2567 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.พัทลุง เวลา 13.00- 16.00 น. แลต๊ะแลใต้ RO’ โร้วล์ Thai PBS Thai PBS News และภาคีเครือข่าย ร่วมจัดเวทีฟังเสียงประเทศไทย ชวนฟังเสียงคนใต้ “สว.แบบไหนที่ #คนใต้อยากเห็น” ร่วมกับภาคีเครือข่าย สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน ที่จะมาล้อมวงพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นและความคาดหวังจากพื้นที่ภูมิภาค ซึ่งในเวทีมีการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมหลายกิจกรรม

ทีมงานพีไอ (Public Intelligence) ประมวลผลพบสิ่งที่น่าสนใจดังนี้

สว. แบบไหนที่คนใต้อยากเห็น

สว.ในฝัน ลักษณะแบบไหนที่คนใต้พึงประสงค์

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความร่วมมือหลายภาคส่วน

แบบสำรวจฉบับนี้ สร้างขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อบทบาท ที่มา ลักษณะและความเป็น สมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทยระหว่างกระบวนการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภาในปี 2567 โดยสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอสที่ต้องการรวบรวมความคิดเห็นของทุกท่าน เพื่อนำข้อมูลชุดนี้จะถูกไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ออกมาเป็น White paper (สมุดปกขาว) หรือรายงานเอกสารที่จะทำหน้าที่เป็น ข้อเสนอแนะและแนวทางให้แก่สมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่นั้นมีความยึดโยงกับความต้องการของประชาชนภายใต้ระบอบสังคมประชาธิปไตย และใช้ในกระบวนการฟังเสียงประเทศไทยและจัดทำเป็นเอกสารเพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางให้แก่สว.เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามความยึดโยงกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งจะประมวลผลและนำเสนอในหน้าเพจนี้อยู่เป็นระยะ

🗣️ เสียงของคุณคือพลังสำคัญในการกำหนดอนาคตของประเทศ! 🗣️

ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมแสดงพลังและเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางของวุฒิสภาไทย ผ่านการตอบแบบสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อบทบาท ที่มา ลักษณะ และความเป็นสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทย 

ทำไมต้องร่วมตอบแบบสำรวจนี้? 

  • เสียงของคุณมีค่า ความคิดเห็นของคุณจะถูกนำไปวิเคราะห์และรวบรวมเป็นข้อเสนอแนะสำคัญ เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่เข้าใจความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
  • ร่วมสร้างอนาคต คุณมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและบทบาทของวุฒิสภา ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
  • เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลจากแบบสำรวจนี้จะถูกนำไปใช้ในการจัดทำเอกสารข้อเสนอแนะแนวทางให้แก่สมาชิกวุฒิสภาในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนในท้องถิ่น

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสว.ที่ยึดโยงกับประชาชนได้ด้วยการส่งต่อลิงก์นี้ https://tally.so/embed/wAJ7Ao หรือแชร์เนื้อหานี้ไปด้วยกัน

แชร์บทความนี้