ย้อนมองคดี OTT ทรูฟ้องกสทช. เกี่ยวอะไรกับปชช.-ผู้บริโภคสื่อยุคดิจิทัล

จากกรณีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ยื่นฟ้องต่อ กสทช. พิรงรอง เป็นประเด็นที่น่าสนใจซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของการกำกับดูแลเนื้อหาออนไลน์ในยุคดิจิทัล รวมถึงประเด็นสิทธิของผู้บริโภคและสิทธิของพลเมืองในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์และถูกต้อง 

สืบเนื่องจากบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ในเครือทรู คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ เป็นจำเลย ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยกล่าวโทษว่าทางสำนักงานกสทช. ออกหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ทำให้ผู้ได้รับอนุญาตเข้าใจว่าเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้รับอนุญาตอาจระงับเนื้อหารายการต่าง ๆ ที่บริษัทส่งไปออกอากาศและอาจทำให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายนั้น และศาลอาญาฯ ได้ประทับฟ้องไว้พิจารณา คดีดำ อท. 147/2566 

ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 

ใจความสำคัญของคดี

ที่ประชุมอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งมี ดร. พิรงรอง รามสูตร ในฐานะกรรมการ กสทช. มีมติที่ให้ออกหนังสือให้ความเห็นแจ้งไปยังผู้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อให้ตรวจสอบการออกอากาศรายการโทรทัศน์ผ่านแอปพลิเคชันทรูไอดี ซึ่งอาจมีเนื้อหาที่ไม่เป็นไปตามประกาศ กสทช. และเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต ตามที่มีผู้บริโภคร้องเรียนต่อกสทช. ว่ารายการที่รับชมมีโฆษณาคั่นรบกวน

การดำเนินการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่อาจได้รับผลกระทบจากการแทรกโฆษณาบนแพลตฟอร์มทรูไอดี และเพื่อดูแลลิขสิทธิ์เนื้อหาของผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (บริษัท แม่ของ ทรูไอดี) เห็นว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลกิจการ OTT (Over The Top) เช่น ทรูไอดี เนื่องจากยังไม่มีระเบียบเฉพาะในการกำกับดูแล และอ้างว่าหนังสือดังกล่าวทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ตลิ่งชัน มีการนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 6 ก.พ. 2568 ที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงและผลของหนังสือของกสทช. ฉบับดังกล่าว ยังไม่ปรากฏรายงานว่ามีผู้รับชมทรูไอดีร้องเรียน หรือเข้าไม่ถึงบริการเนื้อหา ตามคำร้องของทรูฯ ว่าอาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหาย หรือต้องระงับรายการแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เมื่อสืบค้นรายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติครั้งที่ 12/2566 วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566 วาระที่ 4.5 การตรวจสอบการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านการให้บริการกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet TV Box) และแอปพลิเคชัน True ID : ปส.

โดยที่ประชุม ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 6/2566
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 มีมติให้นำเสนอที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณา

  1. เห็นควรมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำเสนอลักษณะการให้บริการแอปพลิเคชัน True ID ของบริษัท ทรู ดิจิทัล
    กรุ๊ป จำกัด แอปพลิเคชัน AIS PLAY ของบริษัท ไมโม่เทค จำกัด และผู้ให้บริการที่มีลักษณะการให้บริการ
    เดียวกัน ต่อคณะอนุกรรมการด้านการให้บริการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อพิจารณต่อไป
  2. เห็นควรมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เห็นควรมีหนังสือแจ้งบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด เพื่อทราบเกี่ยวกับการ
    ดำเนินการของสำนักงาน กสทช. ในการรวบรวมข้อมูลผู้ให้บริกำรในลักษณะของการรวบรวมช่องรายการ
    ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และแอปพลิเคชัน ว่าเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
    ตามมาตรา 27 (6) และ
    มาตรา 57 (4) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ประกอบประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์
    และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ข้อ 12 (10) และเงื่อนไข
    แนบท้ายใบอนุญาต ที่กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องให้บริกำรโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ แก่ผู้รับ
    ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์จาก กสทช. เท่านั้น และตามประกาศ กสทช.
    เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ข้อ 14 (23)
    และเงื่อนไขแนบท้ำยใบอนุญาต ที่กำหนดให้ผู้รับใบอนุญำตต้องให้บริกำรกระจำยเสียงหรือโทรทัศน์ โดยใช้
    โครงข่ำย สิ่งอำนวยความสะดวก ที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. เท่านั้น ซึ่งเป็นการกำกับดูแลการประกอบ
    กิจการโทรทัศน์และการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้ผู้รับอนุญาต
    ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ตรวจสอบและเฝ้าระวังในการปฏิบัติตามประกาศและเงื่อนไข
    ที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบัน กสทช. มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการให้บริการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์ม
    ดิจิทัล เพื่อพิจาณาการให้บริการในลักษณะดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขอให้
    บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการดำเนินการดังกล่าวส่งผลต่อการประกอบธุรกิจของบริษัท
    อย่างไร

โดยที่ประชุมมีมติดังนี้

ที่มา : https://www.nbtc.go.th/getattachment//Information/cabinet/รายงานการประชุม-กสทช/mati-2566/61752/รายงานการประชุม-กสทช-ครั้งที่-12-2566-(เต็ม).pdf?

OTT คืออะไร 

กิจการโทรคมนาคมในตลาดใหม่ ถูกขับเคลื่อนด้วยตลาดโทรคมนาคมใหม่ ถูกขับเคลื่อนจากการวิวัฒนาการของจากการรับชมโทรทัศน์ผ่านการแพร่ภาพกระจายเสียง มาสู่การรับชมผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Over The TOP (OTT) มีลักษณะการบริการผ่านโครงข่ายอินเทอร์หลายรูปแบบ โดยเนื้อหาเหล่านั้นสามารถเข้าถึงได้ผ่านหลายอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาและบริการอาจเป็นทั้งข้อความ ภาพ เสียง หรือวิดีโอ 

บริการ OTT ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สามาแบ่งตามประเภทยของการหารายได้ออกเป็น 4 ประเภทที่เราอาจจะคุ้ยเคยกันได้

  1. การให้บริการประเภทเก็บค่าบอกรับเป็นสมาชิก (Subscription Video on Demand) เช่น Netflix, Amazon Prime Video, VIU
  2. การให้บริการที่หารายได้จากการเก็บค่าโฆษณา (Advertising Video on Demand) เช่น YouTube
  3. การให้บริการโดยเก็บค่าบริการ 1 ครั้งต่อการดาว์นโหลด 1 เนื้อหา (Electronic Sell Through เช่น iTunes
  4. Digital Rental การเก็บค่าบริการรายครั้งที่รับชม เช่น Pay-Per-View

ภาพรวมสภาพตลาดผู้ให้บริการ OTT ในประเทศไทย (2017 – 2021 กราฟิกสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์) https://broadcast.nbtc.go.th/data/ott/%5BInfographic%5D%20Thailand’s%20OTT.pdf 

มติ กสทช. ในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 16/2566 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 เห็นชอบการกำหนดให้ผู้ให้บริการวิดีโอออนดีมานด์ (VoD) และบริการแพลตฟอร์มแชร์วิดีโอ (VSP) เป็นผู้ให้บริการภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. โดยเมื่อ กสทช. มีกฎหมายในการกำกับดูแลบริการเหล่านี้เป็นการเฉพาะแล้ว สำนักงาน กสทช. มีหน้าที่ต้องแจ้งให้
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. หรือ ETDA) รับทราบต่อไปตามมาตรา 5 ของพระราชกฤษฎีกาแพลตฟอร์มดิจิทัลฯ

ปัจจุบัน กสทช. อยู่ในระหว่างขั้นตอนการจัดทำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลผู้ให้บริการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้สอดคล้องกับการกำกับดูแลตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้

กราฟแสดงรายได้ของบริการ OTT ในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง https://broadcast.nbtc.go.th/ott_thailand 

จากเอกสารเผยแพร่ของ นายพสุ ศรีหิรัญ ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า บริการ OTT ที่ทำให้อัตราการรับชมกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เดิมลดลง ส่งผลให้รายได้ของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นแล้วปัจจุบันบริการ OTT มิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลการประกอบกิจการเช่นเดียวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์เดิม ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการแข่งขัน เพราะถึงแม้แหล่งรายได้ของบริการ OTT และกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์จะมาจากค่าโฆษณาแหล่งเดียวกัน แต่ผู้ประกอบกิจการบริการ OTT ไม่จำเป็นต้องได้รับภาระที่เกิดจากการกำกับดูแล (Regulatory Cost) เช่นเดียวกับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อาทิ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ข้อจำกัดในการออกอากาศตามเงื่อนไขของกฎหมาย เป็นต้น

การเกิดขึ้นของบริการ OTT นี้ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อกระบวนทัศน์ของหน่วยงานกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ในกรณีของกลุ่มประเทศยุโรปได้ปรับเปลี่ยนนิยามของกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ให้หมายรวมถึงบริการ OTT ซึ่งมีบทบาทในการคัดกรองเนื้อหา หรือบทบาทบรรณาธิการ (Editorial Responsibility) ด้วย และใช้วิธีการกำกับดูแลเนื้อหาร่วมกันระหว่างบริการ OTT กับหน่วยงานกำกับดูแล (Co-Regulate) พร้อมกันนั้นยังได้มีการลดความเข้มข้นในการกำกับดูแลโฆษณา และเพิ่มโอกาสในการที่จะแสวงหารายได้เพิ่มเติมได้สำหรับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันกับบริการ OTT

ภาพตารางเปรียบเทียบการกำกับดูแล OTT ของต่างประเทศ ที่มา รายงานวิเคราะห์ พฤติกรรมการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยได้ศึกษาแนวคิดการดูแล OTT รวมถึงส่งเสริมกลไกเพื่อสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มไทยให้มีโอกาสในการแข่งขันกับบริการ OTT จากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และกำลังดำเนินการในการกำกับดูแล OTT ในส่วนของบริการเนื้อหาที่สอดคล้องตามภารกิจที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.กสทช. (พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553)

คดีนี้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการกำกับดูแลเนื้อหาออนไลน์ในยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กฎหมายและระเบียบต่างๆ อาจยังไม่สามารถตามทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้ คดีนี้ยังเปิดให้ทุกฝ่ายพิจารณาถึงความสำคัญของสิทธิของผู้บริโภคและสิทธิของพลเมือง ในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์และถูกต้อง รวมถึงการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนรวม

ทั้งนี้ จากรายงานสรุปผล การศึกษาแนวทางการกำกับดูแลการแข่งขันกิจการโทรทัศน์ในยุคการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีของประเทศไทย ของรมิดา จรินทิพย์พิทักษ์และคณะ ที่ทำการศึกษาในปี 2563 ภายใต้การสนับสนุนของกสทช. ระบุว่า กสทช. ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับและกำกับดูแลการบรรจบกันของกิจการโทรคมนาคม กิจการโทรทัศน์และกิจการกระจายเสียง โดยมีภาระความรับผิดชอบ (Accountability) ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ ตามความรับผิดชอบ และการดำเนินการอย่างเป็นอิสระและประสานกันระหว่างหน่วยงาน 

อย่างไรก็ตามความอิสระทางการเงินของ กสทช. นั้น ช่วยลดการขึ้นตรงกับหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งและการมีอิทธิพลของหน่วยงานอื่นต่อหน้าที่ในการกำกับดูแลอย่างเหมาะสมของ กสทช. ทั้งนี้ กสทช. มีระบบใบอนุญาตการให้บริการกิจการโทรทัศน์ที่แตกต่างกันสำหรับการให้บริการกิจการโทรทัศน์รูปแบบต่าง ๆ สำหรับการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดในประเทศไทย สำหรับกิจการโทรทัศน์แบบ OTT นั้น ยังไม่ได้มีการควบคุมซึ่งคือ ยังไม่มีการออกใบอนุญาตสำหรับการให้บริการโทรทัศน์แบบ OTT การกำกับดูแลการหลอมรวม (Regulation of Convergence): โทรทัศน์แบบ OTT ยังไม่ได้มี การจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด การเรียกร้องให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมจึงต้องมีการประเมินสภาพแข่งขัน ระหว่างการให้บริการโทรทัศน์แบบดั้งเดิมและแบบ OTT ในตลาดประเทศไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการวางกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น และการที่ OTT ยังไม่ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจึงไม่สามารถใช้กฎระเบียบของระบบโทรทัศน์แบบดั้งเดิมได้

ล่าสุด ช่วงค่ำของวันที่ 4 ก.พ. 68 เครือข่ายนักวิชาการ คนทำสื่อชุมชนและกลุ่มผู้บริโภค เริ่มเคลื่อนไหวรวบรวมรายชื่อลงนามในจดหมายให้กำลังใจและสนับสนุนการทำหน้าที่ของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต ในฐานะกรรมการกสทช. องค์กรกำกับดูแล เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องจนครบวาระการดำรงตำแหน่ง และเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยที่จะเป็นที่พึ่งหลักให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำรงตนและปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และประโยชน์สาธารณะอย่างเข้มแข็ง

เครือข่ายนักวิชาการ สื่อชุมชน ผู้บริโภค และกลุ่มเพื่อนพิรงรอง ร่วมให้กำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ของ พิรงรอง รามสูต กสทช.
————-
เนื่องจากวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ศาลอาญาทุจริตประพฤติมิชอบกลาง ตลิ่งชัน จะมีการอ่านคำพิพากษาคดีดำหมายเลข 147/2566 คดีที่ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ถูกฟ้องในข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งคดีดังกล่าวศาลมีคำสั่งรับคำฟ้องเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567
เครือข่ายนักวิชาการ สื่อชุมชน ผู้บริโภค และกลุ่มเพื่อนพิรงรอง ดังรายชื่อปรากฏด้านล่างนี้ ขอสนับสนุนและให้กำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ กสทช. ของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต

คดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่สำนักงาน กสทช. ออกหนังสือถึงผู้รับใบอนุญาตกิจการโทรทัศน์ประเภทช่องรายการเพื่อสอบถาม และให้ตรวจสอบการให้บริการของตนให้ทำตามเงื่อนไขใบอนุญาตที่กำหนดให้ช่องรายการของตนจะต้องออกอากาศผ่านผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายจาก กสทช.เท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามกฎมัสต์ แคร์รี่ (must carry) โดยต้องไม่มีการแทรกเนื้อหาใด ๆ แต่ในกรณีของโจทก์มิได้เป็นผู้รับใบอนุญาตแต่อย่างใด
โจทก์จึงฟ้องว่า หนังสือดังกล่าวทำให้ตนได้รับความเสียหายและอาจส่งผลให้ผู้รับใบอนุญาตช่องรายการโทรทัศน์ ระงับการเผยแพร่รายการต่าง ๆ ผ่านทางบริการของตน โดยอ้างว่า ทางสำนักงาน กสทช. ยังไม่มีระเบียบเฉพาะในการกำกับดูแลกิจการ OTT (Over the TOP หรือการให้บริการเนื้อหาผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต) ซึ่งโจทก์แจ้งว่าตนเป็น OTT จึงไม่ต้องรับใบอนุญาตจาก กสทช. เหมือน IPTV

ขณะที่ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ได้ยืนยันการทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แทรกโฆษณาในช่องรายการทีวีดิจิทัลที่นำไปเผยแพร่บนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีข้อร้องเรียนเข้ามายังคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช. และเพื่อเป็นการดูแลลิขสิทธิ์ในเนื้อหาของผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลให้เกิดการแข่งขันเสรี และเป็นธรรม มาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ในฐานะ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. พิรงรอง ได้พยายามพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมและผู้ผลิตสื่อ ด้วยการผลักดันให้มีหลักเกณฑ์และมาตรการส่งเสริมการผลิตรายการคุณภาพโดยเฉพาะประเภทรายการที่กำลังเลือนหายไปจากผังโทรทัศน์ไทย อย่างรายการสำหรับเด็ก รายการที่ส่งเสริมความหลากหลายของสังคม เอกลักษณ์ท้องถิ่น และประเด็นเชิงวัฒนธรรม และรายการที่มีศักยภาพที่จะแข่งขันในต่างประเทศ อีกทั้งยังผลักดันมาตรการส่งเสริมสื่อท้องถิ่นและสื่อชุมชนให้สามารถคงอยู่และตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ที่สำคัญคือการกระตุ้นให้เกิดมาตรการส่งเสริมการรวมกลุ่ม เพื่อเป็นกลไกการกำกับดูแลกันเองตามมาตรฐานจริยธรรมของสื่อมวลชนซึ่งเป็นบทบาทที่สำนักงาน กสทช. ถูกคาดหวังให้ส่งเสริมแต่ยังไม่เกิดขึ้นในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา

ดังนั้น เครือข่ายนักวิชาการ ตัวแทนสื่อชุมชน และกลุ่มผู้บริโภค จึงแสดงความห่วงใย ให้กำลังใจ และสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ให้ยืนหยัดปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแล เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องจนครบวาระการดำรงตำแหน่ง และเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยที่จะเป็นที่พึ่งหลักให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำรงตนและปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และประโยชน์สาธารณะอย่างเข้มแข็ง

อ่านเพิ่มเติม

ลุ้นคำพิพากษา กสทช.พิรงรอง 6 ก.พ.นี้

เปิด 7 เหตุผล “พิรงรอง” สงวนความเห็นรับทราบควบรวมทรู-ดีแทค

ศาลปกครองสูงสุด รับคำฟ้องถอนมติควบรวมทรู-ดีแทค

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฟ้องศาลฯ เพิกถอนมติ กสทช. กรณีควบรวม “ทรู – ดีแทค”

บอร์ด กสทช.พิจารณาดีลควบรวมกิจการ “ทรู-ดีแทค” ท่ามกลางเสียงคัดคัดจากเครือข่ายประชาชน-นักการเมือง

แชร์บทความนี้