วันที่ 2 สิงหาคม ศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องมือด้านการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI TU) วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ม.ธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทคววามเรื่อง การระบาดของสัตว์น้ำต่างถิ่น “ปลาหมอคางดำ” กับความสูญเสียทางเศรษฐกิจด้านการประมงของตำบลแพรกหนามแดง พร้อมเสนอแนะการศึกษาผลกระทบมิติสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม และใช้หลักผู้ก่อความเสียหายเป็นผู้ชดเชยแทนการใช้ภาษีประชาชน
ระบุว่า ว่าเป็นบทความจากการสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยเรื่อง การประเมินผลโครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พ.ศ. 2563 ที่ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยโดยคณะนักวิจัยจากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2561 – 2563
สาระสำคัญของงาน นำเสนอว่า ปลาหมอคางดำก่อให้เกิดความเสียหายต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรและชาวประมงท้องถิ่นคลองสาขาในพื้นที่แพรกหนามแดง เป็นมูลค่าสูงถึง 131.96 ล้านบาท/ปี ซึ่งมูลค่านี้ยังไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และเป็นมูลค่าความเสียหายเฉพาะพื้นที่ตำบลแพรกหนามแดงเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ช่วงท้ายของงานเน้นย้ำว่า การประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการระบาดของปลาหมอคางในทางสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติด้านการประเมินมูลค่าทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในอนาคตเพื่อสนับสนุนมาตรการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผู้ก่อมลพิษ/ผลกระทบ ต้องเป็นผู้ชดเชย Polluter Pays Principle ซึ่งเป็นมาตรการที่มีความเหมาะสมมากกว่าการใช้ภาษีประชาชนมาแก้ไขความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว
เกิดอะไรขึ้นที่แพรกหนามแดง
ย้อนไทม์ไลน์ 2 ปี “ไทยพีบีเอส” ล่า “ปลาหมอคางดำ”
“ไทยพีบีเอส” เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” มาตั้งแต่การแพร่ระบาดเมื่อปี 2565 โดย สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ และสำนักข่าว
ย้อนกลับในปี 2565 จากความร่วมมือระหว่าง “สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอส” จัดแคมเปญปักหมุดการพบปลาต่างถิ่นผ่านแอปพลิเคชัน C-Site กับเครือข่ายนักวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่พบเห็นสัญญาณการกลับมาระบาดอีกครั้งของ “ปลาหมอสีคางดำ” (ชื่อเรียกที่ใช้กันในตอนนั้น) ในพื้นที่ 3 สมุทร (สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ) และบางจุดของอ่าวตัว ก. และพื้นที่ทางภาคตะวันออก อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thaipbs.or.th/news/content/342424
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่
https://drive.google.com/file/d/1d-NM2OFaU-OzJi0muUSk14dsAkH_r82p/view?fbclid=IwY2xjawEZIuRleHRuA2FlbQIxMAABHcmuYVbkVnGSDTo-RgPGsCaCgGFj-8LCEyiJxbWMFR-_2vHKRgqmlw2RyQ_aem_2JgIjRtUpbl_jBHadH9M9Q