การออกแบบนโยบาย ปฏิบัติการ และการบริหารระดับท้องถิ่น คือตัวชี้วัดความเจริญของเมืองต่างๆ ที่เห็นได้เด่นชัด และสัมผัสรู้ได้ในทันที ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่เทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นดั่งหัวใจและกลไกการพัฒนาเมืองที่สำคัญ หากสามารถขับเคลื่อนด้วยข้อมูล องค์ความรู้ และการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ท้องถิ่นนั้นๆ ก็จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในเมืองอย่างมีนัยยะสำคัญ
ตลอดระยะ 1 ปีที่ผ่าน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สมาคมเทศบาลนครและเมือง ร่วมกับเทศบาล 18 เทศบาลนำร่อง ได้ร่วมดำเนินการ โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) โดยมี มหาวิทยาลัยสารคาม และเครือข่ายมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับทุน

18 เมืองที่ได้นำงานวิจัยและนวัตกรรมพัฒนาเมืองเข้าไปร่วมขับเคลื่อนดำเนินการพัฒนาตอบโจทย์ท้องถิ่น ได้แก่ 1.เทศบาลเมืองแม่เหียะ, จ.เชียงใหม่, 2.เทศบาลนครเชียงราย, จ.เชียงราย 3.เทศบาลนครลำปาง, จ.ลำปาง, 4.เทศบาลเมืองลำพูน, จ.ลำพูน, 5.เทศบาลเมืองแพร่, จ.แพร่, 6.เทศบาลนครพิษณุโลก, จ.พิษณุโลก, 7.เทศบาลนครนครสวรรค์, จ.นครสวรรค์, 8.เทศบาลนครนนทบุรี, จ.นนทบุรี, 9.เทศบาลนครปากเกร็ด, จ.นนทบุรี, 10.เทศบาลนครสกลนคร, จ.สกลนคร, 11.เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์, จ.กาฬสินธุ์, 12.เทศบาลเมืองศรีสะเกษ, จ.ศรีสะเกษ, 13.เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด, จ.ร้อยเอ็ด, 14.เทศบาลเมืองสระบุรี, จ.สระบุรี, 15.เทศบาลเมืองพนัสนิคม, จ.ชลบุรี, 16.เทศบลาลเมืองชุมพร, จ.ชุมพร, 17.เทศบาลนครนครศรีธรรมราช, จ.นครศรีธรรมราช, 18.เทศบาลเมืองทุ่งสง, จ.นครศรีธรรมราช
ในวันที่ 19 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม กมลทิพย์ 2 (Kamolthip 2) โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) มหาวิทยาลัยสารคาม และเครือข่ายมหาวิทยาลัย ร่วมกับผู้บริหารเทศบาล 18 เทศบาล และสมาคมเทศบาลนครและเมือง (ส.ท.น.ม) ได้ร่วมแถลงความสําเร็จของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม จากการดำเนินงานวิจัยเพื่อพัฒนาเมืองในพื้นที่ 18 เมืองนำร่องทั่วประเทศ ที่ร่วมดำเนินงานขับเคลื่อนมาเป็นระยะ 1 ปี
โดยภายในงานมีตัวแทนผู้บริหาร นายกเทศมนตรี และคณะผู้บริหาร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนถึงการขับเคลื่อนการทำงานรูปแบบใหม่ โดยได้การกล่าวถึง รวมถึงการนำกระบวนการวิจัย การเก็บข้อมูลในพื้นที่ และการนำร่องการใช้งาน 18 เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเมือง และ 39 เครื่องมือการแก้ไขและพัฒนาเมือง ซึ่งเริ่มส่งผลดีกับการบริหารท้องถิ่น รวมไปถึงการพัฒนา City Data Learning Platform (CDLP) แฟลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลเมืองที่มุ่งเน้นการใช้ข้อมูลในการประมวลและวิเคราะห์ผล เพื่อช่วยให้งานบริหารเมืองสามารถตัดสินใจ และออกแบบนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด เช่น การจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลน้ำท่วมในพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครปากเกร็ด และเทศบาลเมืองทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ที่สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการแบบจำลองระดับน้ำท่วม เพื่อช่วยวางแผนการจัดการน้ำและการบรรเทาสาธารณภัย หรือตัวอย่างการใช้ข้อมูล และการติดตามปริมาณขยะ การจัดเก็บ ประเภท และความต้องการในการกำจัดขยะในพื้นที่แบบ Real-Time ซึ่งช่วยให้เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์สามารถวางแผนการจัดเก็บขยะ การออกแบบนโยบายส่งเสริมการคัดแยกขยะ การรีไซเคิล รวมไปถึงการบริหารจัดการบ่อกำจัดขยะที่กำลังใกล้จะเต็มความจุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือตัวอย่างของการใช้แฟลตฟอร์มร่วมค้า นำข้อมูลสินค้าหัตถกรรม และสินค้าชุมชนของเมืองลำพูนขึ้นสู่แฟลตฟอร์มการค้าออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและการขายให้กับสินค้าท้องถิ่นมากขึ้น
ภายในงานแถลงข่าว ได้มีการกล่าวเน้นย้ำถึงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์การใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเมืองที่น่าอยู่โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อํานวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) การบรรยายพิเศษเรื่อง “ความพร้อมของเมืองและบทบาทของงานวิจัยในการส่งเสริมความสําเร็จของ เมือง”โดย นายกฯ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง
และการกล่าวถึงภาพรวมการขับเคลื่อนโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ระยะที่ 1 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม หัวหน้าโครงการโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) มหาวิทยาลัยสารคาม รองนายกฯ ฉัตรกุล ชื่นสุวรรณกุล รองนายกเทศบาลเมืองสระบุรีและที่ปรึกษาโครงการ CIAP
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเติมเต็มแนวคิดการพัฒนาเมืองให้กับคณะผู้บริหารเทศบาล และนักวิจัยในเครือข่ายโดย ในเรื่องการนําเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาและบริหารเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด : กรณีใช้งานของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ. ดร.วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ ผู้อํานวยการศูนย์การจัดการทรัพย์สินเชิงดิจิทัลที่ยั่งยืน (CDAM) ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บรรยายพิเศษหัวข้อ “ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน”โดย ดร.วินิจ ร่วมพงษ์พัฒนะ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกระทรวงการคลัง
ติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมได้ที่
Facebook : facebook.com/PMUA.THAI
Website : pmua.or.th