พื้นที่สาธารณะที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในบ้านเรามีอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีการใช้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้งเชิงการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยว หลายที่ก็ถูกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศคือ เวียงหนองล่ม จ.เชียงราย เวลานี้ ที่นั่นอาจกำลังมีความเปลี่ยนแปลงกระทั่งเกิดผลกระทบจากโครงการและคนที่เข้าไปใช้ประโยชน์ แต่อีกด้านคนท้องถิ่นก็กำลังพยายามใช้ต้นทุนที่มีฟื้นวิถีชีวิตชุมชนควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้
ชาวบ้านในพื้นที่พยายามปรับตัว ใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมชุมชน ปกป้องและฟื้นฟูเวียงหนองหล่ม นำทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อยอดให้ตำนานเวียงหนองหล่มให้มีชีวิต
มองเวียงหนองหล่มจากอดีตถึงปัจจุบัน
รศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง นักวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย หนึ่งในผู้ที่ร่วมกันกับชาวบ้านฟื้นฟูเวียงหนองหล่ม เล่าว่า
เวียงหนองหล่มเป็นพื้นที่ที่เป็นแนวรอยเลื่อนเป็น พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ มีพื้นที่ราว 15,000 ไร่ อยู่ในความดูแลของ 3 ตำบล คือ ตำบลจันจว้า ตำบลท่าข้าวเปลือก และตำบลจอมสวรรค์ ของอำเภอแม่จัน และตำบลโยนก ในอำเภอเชียงแสน ที่นี่ยังเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์สำคัญของชาวเชียงราย และเป็นพื้นที่ซึ่งมีการเลี้ยงควายมากที่สุด เป็นพื้นที่สาธารณะที่มีคนหลากหลายเข้ามาใช้ประโยชน์จากพื้นที่
เวียงหนองหล่ม คือ พื้นที่ที่เขียนไว้ในตำนานและถูกบันทึกไว้ในตำนาน เป็นตำนานโยนกนาคพันธ์และสิงหนวัติ ตำนานที่ถูกส่วนกลางกรุงเทพมหานครในช่วงกำลังก่อร่างสร้างตัวประวัติศาสตร์ของรัฐชาติขึ้นมา เวียงหนองหล่มถูกบันทึกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพงศาวดารโยนกเป็นส่วนที่ก่อนจะมีรัฐ ชาติ
ซึ่งเหตุผลสำคัญคือมีกลุ่มคนไทยอพยพเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐาน นี่คือเรื่องตำนานที่มีร่องรอยของคนอพยพเข้ามา ถ้าบอกว่าการตั้งถิ่นฐานตรงนี้สำคัญต่อประวัติศาสตร์ชาติของไทยอย่างไร มีเรื่องตำนานแต่ตำนานจะเป็นจริงถ้ามีการขุดค้นต่อไปว่าจริงหรือไม่จริง ซึ่งในทางโบราณคดีมีความสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
เวียงหนองหล่ม เป็นส่วนหนึ่งของตำนานในพื้นที่แอ่งเชียงแสน ซึ่งภายในแอ่งเชียงแสนนั้น มีตำนานหลายอย่าง ทั้งตำนานดอยตุง และตำนานอื่น ๆ เวียงหนองหล่มเป็นอีกหนึ่งตำนาน เวียงหนองหล่มล่มสลายไป กลายไปเป็นอพยพไปที่เวียงพฤกษาที่ถือว่าเป็นประชาธิปไตยแห่งแรกของประเทศไทย มีการเลือกตั้งเจ้าเมือง
แต่เดิมช่วงต้นรัตนโกสินทร์มีการบันทึกการเดินทางของพระภิกษุสงฆ์มาคารวะพระธาตุดอยตุง และเขียนถึงชื่อว่าเมืองหนอง ไม่มีหล่ม แต่ปัจจุบันยังหาไม่ได้บ้านหล่มมาจากตรงไหน
เวียงหนองคือพื้นที่อุดมสมบูรณ์เวียงหนองเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนเข้ามาทำมาหากินได้ถึงทุกวันนี้ ซึ่งทุกวันนี้พื้นที่เวียงหนองหล่มเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีคนเข้ามาใช้ประโยชน์ ก่อนจะมีโครงการของรัฐขนาดใหญ่ เช่น คนหากุ้ง หาปลาในหนองน้ำต่าง ๆ หาปลาไหลต่าง ๆ
เคยถามชาวบ้านว่าตกกุ้งได้วันละเท่าไหร่ ซึ่งชาวบ้านตอบว่าวันละ 3000 บาท ถ้าหาได้ทั้งวัน ซึ่งลองคิดดูว่าอยู่ดีดีเดินไปเดินมาก็ได้กุ้ง 3000 บาทต่อวัน ก็ถือว่าเป็นรายได้ที่ดีมาก และทุกคนสามารถทำมาหากินได้ในพื้นที่สาธารณะ โดยพื้นที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองหล่ม ควายก็เข้ามาใช้พื้นที่ ควายกินวัชพืช หญ้า ทำให้หนองน้ำยังคงเป็นหนองน้ำ และการปลูกข้าวของคนในชุมชนเป็นการระมัดระวังไม่ใช้สารเคมีเพราะไม่งั้นควายก็จะป่วยและตายรวมถึงสัตว์น้ำในพื้นที่ชุมน้ำด้วย ฉะนั้นเราจะเห็นว่าทุกพื้นที่มันเกื้อกูลกันแตกต่างกันเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใครใช้ประโยชน์ได้
แต่เมื่อผ่านเวลามาโครงการ ของรัฐขนาดใหญ่เข้ามาในพื้นที่ทำให้พื้นที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ระบบนิเวศของพื้นที่เปลี่ยนและการคืนสภาพแบบก่อนหน้านี้ไม่สามารถเป็นไปได้
ซึ่งปัจจุบันเวียงหนองหล่มถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของทาง อ.เชียงแสน ส่วนหนึ่งของ อ.จันจว้า และอีกส่วนของทาง ตำบล ท่าข้าวเปลือก อ.จันจว้า ซึ่งส่วนของท่าข้าวเปลือกเป็นพื้นที่ทำนา เพราะฉะนั้นยังมีพื้นที่ตรงตำบลโยนกและตำบลจันจว้า ที่ยังเป็นพื้นที่สาธารณะอยู่ พอพื้นที่มีโครงการ เมกะโปรเจครัฐขนาดใหญ่ ตรงจุดตำบลจันจว้า จุดนี้มีความเปลี่ยนแปลงมาก แต่พื้นที่ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากในส่วนของที่โยนก
สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันอย่างภาพที่เราเห็น ตามสื่อต่าง ๆ ควายไม่มีหญ้ากิน ปางควายไม่มีลดลง สิ่งที่โดนผลกระทบ ซึ่งการเลี้ยงควาย เป็นอาชีพหลักของชาวเวียงหนองหล่มมายาวนาน ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้มีปางควายอยู่ 3 จุดหลัก ๆ
จุดที่ 1 บ้านดงต้นยาง – ต.จันจว้า อ.แม่จัน
จุดที่ 2 บ้านป่าสักหลวง – ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน
สองที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเต็ม ๆ
และ จุดที่ 3 บ้านห้วยน้ำราก – ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน
พื้นที่ห้วยน้ำราดซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าสองพื้นที่แต่เริ่มมีผลกระทบเล็กน้อย ซึ่งอยู่ในพื้นที่โยนก ตัวโปรเจ็คของหน่วยงานรัฐไปไม่ถึงตรงจุดนั้น ตำบลจันจว้า เป็นพื้นที่เลี้ยงควายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ถูกยกให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ควาย การเลี้ยงควายที่นี่เป็นการเลี้ยงตามธรรมชาติ
เมื่อสภาพพื้นที่ไม่สามารถกลับคืนแบบเดิม ปัจจุบันพื้นที่ ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย เหลือพื้นที่อยู่ 50 ไร่ที่ เราได้ทำเป็นพื้นที่อนุรักษ์ป่าต้นอั้นไว้ ซึ่งป่าต้นน้ำเป็นโครงการน้ำจืด ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้คนท้องถิ่นร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และหน่วยงานในพื้นที่ จัดพิธี “ฟื้นใจเวียงหนองด้วยศรัทธา สืบชะตาป่าต้นอั้น” และการประกาศให้เวียงหนองหล่มมีสถานะบุคคลทางวัฒนธรรมที่ชุมชนต้องร่วมกันปกป้อง
เรียนรู้วัฒนธรรม ปกป้องธรรมชาติ
การปกป้องแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติด้วยวัฒนธรรม แสดงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาของเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว เพื่อปกป้องธรรมชาติ สร้างความเชื่อมโยงให้ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อทุกคน ผ่านการเล่าเรื่อง รศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง ในฐานหัวหน้าโครงการ เล่าว่า “เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้วัฒนธรรม ปกป้องธรรมชาติ พื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน” เป็นส่วนหนึ่งของการหาคำตอบเรื่อง “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับทุกคน” โดย โครงการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน (EPISG) ม.แม่ฟ้าหลวง ดำเนินงานตามเกณฑ์ Global Sustainable Tourism Council (GSTC) เพื่อที่จะสร้างระบบสารสนเทศระบบนิเวศมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้นำไปสู่การรับรองมาตรฐานกรีนเดสทิเนชั่นที่เป็นชุดมาตรฐานที่ GSTC ยอมรับ (GSTC –Recognized Standards) พัฒนาขึ้นมาโดยองค์กร Green Destinations โดยนำตัวชี้วัดจาก Green Destination (GD) มาเป็นโจทย์ในการหาประสิทธิภาพของการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวและระบบนิเวศมรดกทางภูมิปัญญา ด้านที่ 4 คือ วัฒนธรรมและประเพณี (Culture & Tradition) แหล่งท่องเที่ยว มีการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณค่าและสถานะของท้องถิ่น และระบบนิเวศมรดกทางวัฒนธรรมทั้งในแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่โดยรอบแอ่งเชียงแสน จังหวัด เชียงราย
ในพื้นที่เวียงหนองหล่ม เป็นหนึ่งในโครงการวิจัยภูมิทัศน์ของตำนาน เป็นการวิจัยไตรภาคของพื้นที่แอ่งเชียงแสน ในการหาบทเชื่อมโยงพื้นที่เข้าด้วยกันและสามารถเชื่อมต่อการวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบนต่อไป โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ภายใต้โครงการวิจัยภูมิทัศน์ของตำนาน : การขับเคลื่อนระบบนิเวศวัฒนธรรมในพื้นที่แอ่งเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับ เทศบาลตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
เชื่อม : มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
รัด : การปกป้องแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม
มัด : รวมวัตถุประสงค์ผ่านความคิด งานวิจัย การทำงานร่วมกันระหว่างชาวบ้านกับนักวิชาการ
ร้อย : เรียงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน
ปี2564 ทำการวิจัยเพียง 2 หมู่บ้านที่เรียกว่าย่านแม่คำสบเปิน เป็นพื้นที่ของกลุ่มคนพลัดถิ่นชาวยอง พื้นที่ที่เป็นต้นแม่น้ำคำ ที่เผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดระยะเวลา 100 ปี ในการการปกป้องและแบ่งปันทรัพยากรน้ำกับผู้คนปลายน้ำของผู้คนในหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ชื่อแม่คำสบเปินในแอ่งเชียงแสน
ปี2565 ได้ทำการวิจัยเมืองเชียงแสน (ขนาด 2 เทศบาลตำบล) เป็นพื้นที่ที่ย้อนกลับไปสมัยมังรายกว่า 700ปี ให้เห็นการต่อสู้ของคนเชียงแสนปัจจุบันที่ปกป้องเมืองโบราณและสามารถต่อสู้เพื่อให้เข้าถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรมคือเมืองเชียงแสนโบราณและความเป็นคนเชียงแสน
ปี2566 การวิจัยพื้นที่ 3 อำเภอเพื่อเชื่อมโยงระบบนิเวศทั้งแอ่งเชียงแสนเข้าด้วยกันเพื่อเป็นบทสรุปไตรภาคของ 3 โครงการวิจัย ได้ย้อนเวลาการศึกษากลับไปในยุคตำนานเรื่องเล่า เกินกว่ายุคประวัติศาสตร์ เพื่อที่จะเชื่อโยงผู้คน และธรรมชาติ เข้าด้วยกัน
ตนเองยังนึกไม่ออกว่า หน้าตาของโครงการเป็นอย่างไรเพราะสุดท้ายโครงการจะหน้าตาเป็นอย่างไร ทางเทศบาล บอกกับชาวบ้านในพื้นที่ว่าไม่ได้ขุด แบบที่ตกลงกันไว้ ซึ่งตนเองก็ยังนึกไม่ออกเช่นเดียวกันว่าจะน่าเป็นอย่างไร แต่หากพูดถึงด้านผลกระทบมีผู้คนได้รับผลกระทบประชาชนในพื้นที่ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับผลกระทบมากซึ่งไม่ใช่ชาวบ้านรอบรอบแต่เป็นชาวบ้านทั้งหมดในสามอำเภอเชียงแสน แม่จัน แม่สายได้รับผลกระทบอย่างหนัก
โครงการวิจัยทุนทางวัฒนธรรมที่ลงพื้นที่เวียงหนองหล่ม เป็นโครงการวิจัยที่ทำต่อเนื่องมา 3 โปรเจค ซึ่งโปรเจคแรกเราทำที่แม่คำ สบเปิ่น ตรงแม่น้ำคำ เริ่มต้นจากเขาคอกหมาออกมาเป็นช่องทางแอ่งเชียงแสนทั้งหมดหล่อเลี้ยงด้วยแม่น้ำคำ และไปทำในพื้นที่เชียงแสนเพื่อให้ครบตรงกลางของแอ่งเชียงแสนคือเวียงหนองหล่มและแม่สายทั้งหมด
พื้นที่แม่คำ ท้าวความก่อนว่าทำไมถึงเลือกพื้นที่นี้แม่คำมีการอพยพของในช่วงหลังรัชกาลที่ห้าถึงปัจจุบัน ที่เชียงแสนทำเรื่องพระยามังราย แต่ในแอ่งเชียงแสนทั้งหมดเราทำเรื่องก่อนพระยามังรายเป็นเรื่องเกี่ยวกับตำนานนิทานพื้นบ้านต่าง ๆ เพื่อให้เชื่อมโยงแอ่งเชียงแสนทั้งหมดเข้าด้วยกันต้องใช้นิทานพื้นบ้านหรือตำนานต่าง ๆ เชื่อมโยงทุนทางวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะหากเราทำเป็นแต่ละจุดตรงนั้นตรงนี้แล้วไม่เชื่อมโยงประเด็นกันก็จะไม่เกิดการเชื่อมโยงแอ่งเชียงแสน
เวียงหนองหล่มเป็นพื้นที่หนึ่งที่เป็นพื้นที่ดั้งเดิมเป็นจุดเริ่มต้น Original ของคนไทยก่อนดอยตุง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญถึงแม้ว่าเราจะทราบข้อมูลว่ามีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐแต่ยังมาไม่ถึงตรงนี้ ทีมวิจัยพยายามที่จะบอกว่าหากโครงการรัฐขนาดใหญ่เข้ามาแล้วชาวบ้านจะเหลืออะไรเราจึงบอกว่าทุนทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญและเรื่องตำนานเป็นสิ่งที่รัฐเอาไปจากชาวบ้านไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวตำนานก็ตามแต่ตำนานนี้สามารถเป็นปฏิบัติการกับชุมชนซึ่งชุมชนคิดว่าตำนานเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาเป็นคนเวียงหนองหล่ม ซึ่งตำนานเวียงหนองหล่มเคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับปลาไหลเผือกจริงหรือไม่ไม่รู้แต่ตำนานเหล่านี้สร้างผู้ขนขึ้นมาและเรื่องราวประวัติศาสตร์ในพื้นที่ขึ้นมา
ทีมวิจัยบอกว่าเราจะทำท่องเที่ยวในพื้นที่เวียงหนองหล่มเราจะทำอย่างไรให้เกิดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว แต่ทำไปสักพักลงพื้นที่โครงการขนาดใหญ่ขุดเจาะพื้นที่พังพินาศจนไม่เหลือ จึงต้องเปลี่ยนวิธีชาวบ้านจะทำอย่างไรกันดี จึงใช้กระบวนการความงร่วมมือ พลิกฟื้นทุนวัฒนธรรม ทั้งจากเรื่องเล่า วิถีชีวิต และทรัพยากรยกระดับเป็นสินค้า เพื่อเปิดโอกาส สร้างงาน สร้างอาชีพภายใต้การศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม
อีกทางคือเชื่อมต่อกับทางโรงเรียนซึ่งโรงเรียนเป็นโปรเจ็คที่สำคัญและประสบความสำเร็จ ส่วนเรื่องท่องเที่ยวยังทำอยู่และกำลังจะคิดว่าชาวบ้านจะพาท่องเที่ยวเวียงหนองหล่มอย่างไรในอนาคต
จากตำนานสู่ผลิตภัณฑ์โดยคนในชุมชน
วันนี้เรามีตัวอย่างลายผ้าปลาไหลเผือก จากตำนานเวียงหนองหล่ม ผลิตภัณฑ์สินค้าต้นแบบที่จะอวดโฉมให้ชมกันได้อย่างจริงจังใน นิทรรศการ ‘วัฒนธรรมนฤมิต ชุบชีวิตธรรมชาติ’ ในพื้นที่งานเทศกาลออกแบบเพื่อความยั่งยืน เชียงราย (CRSDW 2021) ที่ผ่านมาแล้ว
คุณ เมืองชื่น จินดาธรรม ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวป่าสักหลวง บ้านป่าสักหลวงเป็นหนึ่งในชุมชนบนพื้นที่เวียงหนองหล่ม ปัจจุบันเวียงหนองหล่มเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของ 2 อำเภอ 4 ตำบล รวมถึงหมู่บ้านป่าสักหลวง วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำประมงพื้นบ้าน เลี้ยงควาย ซึ่งที่นี่เป็นแหล่งพื้นที่รู้ทางธรณีวิทยา นอกจากนี้บ้านป่าสักหลวงยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น วัดพระธาตุดอยกู่แก้ว ตำนานการกินปลาไหล หอการเรียนรู้ธรณีวิทยาเวียงหนองหล่มคูเมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณเวียงหนองหล่ม เมื่อพื้นที่เริ่มเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง คนในพื้นที่เริ่มคิดหาทางปรับตัว
โดย #วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวป่าสักหลวง และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงร่วมกับคนในชุมชน ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการออกแบบพื้นถิ่น โดยสร้างกระบวนการคิดจากปัญหาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนใช้ประโยชน์ นำเอาภูมิปัญญามาสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้คนในชุมชนเตรียมการรองรับปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสในด้านอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน
เริ่มต้น เราเป็นคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านและมองเห็นต้นทุนของบ้านตัวเอง มีทุนทรัพยากรมากมายในหมู่บ้านซึ่งมีตั้งแต่สถานที่ท่องเที่ยว พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ตำนาน และทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างเช่นเวียงหนองหล่ม มีวัตถุโบราณและโบราณสถาณมากมาย ซึ่งของเหล่านี้ถูกฟรีสเก็บไว้ หรือวางไว้เฉยเฉยไม่ได้ถูกนำมาเพื่อนำเสนอให้คนภายนอกเห็นและเข้าใจ จึงชวนคนในชุมชนหลักหลายเจนเนอเรชั่น มาร่วมทำ เช่น กลุ่มแม่แม่ผู้สูงวัยในชุมชน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ไม่รู้วิธีการสื่อสารกับคนภายนอกการ promote การขายการแบรนด์ดิ้ง เพราะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและเป็นแม่บ้านที่อยู่ใน ชุมชน วิสาหกิจชุมชนปาศักดิ์หลวงก่อตั้งเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565 หนึ่งปีสองเดือน โดยการที่เรามีเครือข่ายมาก และเล่นโซเชียล ซึ่งมีการเปิดรับสมัครชุมชนชวนชุมชนทำกิจกรรมรวมถึงโครงการของทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ลองสมัครและนำเรื่องราวของชุมชนเราให้คณะกรรมการและให้ชุดโครงการฟัง โครงการของแม่ฟ้าหลวงเป็นโครงการวิจัยที่วิจัยเรื่องงานวัฒนธรรมภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ใช้พื้นที่ของหมู่บ้านป่าสักหลวงและเวียงหนองหล่ม ให้เห็นวัฒนธรรมต้องถูกจัดวางในที่ใดบ้าง และจะต้องใช้วัฒนธรรมเหล่านี้ในรูปแบบอย่างไรให้ชุมชนได้ประโยชน์จากงานวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่นเสาหลักเมืองที่เวียงหนองหล่ม ประกาศใช้สถานะบุคคล ทางวัฒนธรรมว่าพื้นที่ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากวัฒนธรรม ป่าไม้อั้น ให้เป็นพื้นที่พิเศษไม่ให้ใครรุกล้ำเป็นการร่วมงานกับทั้ง อปท. เทศบาลจันจว้า เป็นการใช้วัฒนธรรมในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อให้พื้นที่ที่เหลือน้อยนิดได้เป็นพื้นที่เก็บรักษาป่าต้นอั้น เพื่อให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ให้สัตว์ใช้ประโยชน์ให้ควายใช้ประโยชน์ ชาวประมงพื้นบ้านใช้ประโยชน์
ทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้เรื่องของวัฒนธรรม จับประเด็นเรื่องพื้นที่วิจัยและภูมิทัศน์ ทีมวิจัยและคนในชุมชนตั้งโจทย์ว่าในชุมชนมีอะไรบ้าง เริ่มทำการลงพื้นที่ไปดูวิถีชีวิตของคนเลี้ยงควาย ไปดูป่าต้นอันที่เป็นป่าโกงกางน้ำจืดของเวียงหนองหล่มที่เกิดขึ้น ทีมวิจัยถามชาวบ้านว่าป่าต้นอัั้น ไว้ใช้ทำอะไร ซึ่งเป็นที่เลี้ยงปลาเป็นที่ควายพักร้อน และมีพืชเช่นผักหนามหรือผักเซียนที่เกิดขึ้นในต้นป่าอั้น จากนั้นทีมวิจัยและชาวบ้านร่วมกันคิดว่าทั้งหมดทั้งมวลที่เป็นทุนวัฒนธรรมในชุมชนมีสินค้า และผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในชุมชนไหม ซึ่งกระบวนการที่คิดรวมกันถูกพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น กระบวยน้ำ ทำจากด้ามไม้อั้น ซึ่งเป็นไม้ที่ยืนต้นตาย ตลาดในชุมชนนำมาแกะสลักเป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตชุมชนประวัติศาสตำนาน พัดหรือวี นำไม้อั้นมาแกะสลัก หมวกหรือเสื้อที่เล่าเรื่องราว ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนทั้งหมดจะบอกเล่าเรื่องราวของตำนานพื้นที่และเรื่องราวของชุมชนทั้งหมดเมื่อใส่คนในชุมชนหรือคนนอกใส่ ก็จะรู้ว่าฉันใส่ของป่าสักหลวงกำลังเล่าเรื่องราวความเป็นมาวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนที่นี่
จากสิ่งที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเข้ามาเราเริ่มเห็นทิศทางผลิตภัณฑ์ถูกพัฒนาขึ้นกลายเป็นเป็นสินค้าที่มีเรื่องเล่า จากเดิมที่เป็นแค่ไม้รูปร่างปกติแต่นำมาใส่เรื่องราวโดยสล่าชุมชนนำไปแกะสลัก และช่วงที่เราทำการสำรวจ เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมและเชิงประสบการณ์ใช้ชุมชนเช่นรถอีแต๋น ทุกบ้านมีรถอีแต๋นใช้ในการเกษตรเราใช้รถอีแต๋นเป็นรถที่สามารถนำเที่ยวได้ในชุมชน ทดลองนั่งอีแต๋นเที่ยวเวียงหนองหล่ม และเล่าเรื่องราวเวียงหนองหล่ม ตำนานหนองหล่มผ่านอีแต๋น เล่าไปคุยไป เล่าเรื่องระบบนิเวศ เรื่องปางควาย และทำเรื่องอาหาร ทดลองอาหารที่จะนำเสนอนักท่องเที่ยวควรเป็นแบบไหนทดลองเรื่องการทำหอนึ่ง ซึ่งในเมืองหนองมีสายบัว บัวป้าน ซึ่งก้านสายบัวเหมือนปลาไหลเผือก ออกมาเป็นห่อนึ่งสายบัว แอ๊บสายบัว ผ่านการพัฒนาโดยการคิดผ่านกระบวนการวัฒนธรรม หอนึ่งเป็นอาหารชุมชนเป็นอาหารที่ชาวบ้านทำอยู่แล้วแต่เป็นอาหารพิเศษหน่อยคือเป็นอาหารที่ถูกทำในกรณีพิเศษ เช่นวันเข้าพรรษางานออกพรรษา จึงกลายเป็นอาหารที่มีที่นี่ทีเดียวห่อนึ่งสายบัว แอ๊บสายบัว ผลิตภัณฑ์กำลังคิดกันต่อว่า อย่างตัวหมวกที่บอกเรื่องราวชุมชนตำนานทั้งเรื่องผาสามเหลี่ยม ดอกอั้น บ่อน้ำพุร้อน ปลาไหลเผือก เป็นการบอกเล่าเรื่องราวศิลปะผ่านพื้นผ้าและการดีไซน์เป็นเสื้อผ้า
Concept ของการทำคือ ลายง่าย ชาวบ้านปักได้
คนเห็นเข้าใจ เดินเป็นลายเส้นและเป็นเรื่องราวที่วาดง่ายขึ้นโครงง่าย เช่นลายผาสามเหลี่ยมก็ไม่อยากเป็นภูเขาซ้อนกัน สุดท้ายคืออยากให้ชาวบ้านทำดำเนินการเองทั้งหมดโดยไม่ผ่านช่างภายนอก ไม่ต้องผ่านนักวาดนักออกแบบภายนอกแต่คนในชุมชนสามารถจัดการได้เอง ซึ่งเราจะเป็นคนคุมเรื่องโทนสี
คนเห็นเข้าใจ เดินเป็นลายเส้นและเป็นเรื่องราวที่วาดง่ายขึ้นโครงง่าย เช่นลายผาสามเหลี่ยมก็ไม่อยากเป็นภูเขาซ้อนกัน สุดท้ายคืออยากให้ชาวบ้านทำดำเนินการเองทั้งหมดโดยไม่ผ่านช่างภายนอก ไม่ต้องผ่านนักวาดนักออกแบบภายนอกแต่คนในชุมชนสามารถจัดการได้เอง ซึ่งเราจะเป็นคนคุมเรื่องโทนสี
ด้วยความที่เราคิดว่าคนควรเข้าถึงผ้าเหล่านี้ได้และควรอยู่ในราคาไม่มากและไม่น้อยเกินไป อยากให้คนเอาผ้าเราไปใช้หรือรายปัก เราไปใช้และให้เห็นว่าเป็นเรื่องราวของชุมชน เห็นง่ายขายง่าย ในส่วนในอนาคตหากไปหลายที่ยากขึ้นเราก็ต้องคิดถึงกลุ่มตลาดอีกระดับนึงที่ไม่ใช่กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาในชุมชน
ในฐานะเราเป็นชาวบ้านเราไม่เห็นภาพว่าพื้นที่จะพัฒนาไปทางใดแต่รู้เพียงแค่ข้อมูล และเราทำเรื่องท่องเที่ยวชุมชนเราไม่เห็นภาพว่ารัฐจะทำอะไรบ้างในพื้นที่ ซึ่งเมื่อเริ่มทำปุ๊บในพื้นที่เห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงชัดเช่นการขุดหนองน้ำขนาดใหญ่เพื่อเป็นฝายแก้มลิง ของทางชลประทาน คนในชุมชนเริ่มตกใจ ตั้งคำถามว่ามันจะใช้เวลากี่ปี ซึ่งอย่างตัวเราเองไม่รู้ข้อมูล จะใช้เวลากี่ปีและจะเป็นไปในทิศทางไหนบ้าง แล้วจะกระทบเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนหรือไม่ซึ่งเป็นความกังวลส่วนตัวและกลุ่ม
มองว่ามีบางสิ่งที่ยังคงอยู่คือตำนานยังคงอยู่ประวัติศาสตร์ยังคงอยู่เพราะเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้ว แต่สิ่งที่จะหายไปคือ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ วัฒนธรรมชุมชน วิถีชีวิตชุมชน เปลี่ยนไปแน่นอน 100% เรื่องการเป็นอยู่การหากินถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง การหากินพื้นบ้าน ผักพื้นบ้านหาย ปลาพื้นบ้านหายมีเป็นสิ่งที่กระทบในพื้นที่แน่นอนไม่ใช่ในแง่ของการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว สมมุติว่าสิ่งที่พูดมาเหล่านี้หายไปแล้วไม่มีแล้วเราจะขายอะไรให้กับคนอื่นๆ นอกพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวดูอะไรถ้าสิ่งเหล่านี้หายไป เช่นพื้นที่ชุมน้ำเมื่อก่อนภูมิใจมากว่าพื้นที่ชุมน้ำนี้เป็นพื้นที่ชุมน้ำขนาดใหญ่ที่สองของประเทศ เมื่อฝนตกมาจะเห็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่เมื่อแล้ง จะเห็นดอกบัวบานตามฤดูกาล หรือไม่เห็นนกอพยพที่มาจากไซบีเรีย แต่ปัจจุบันหายไปการที่เราจะเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นจุดการท่องเที่ยวหายไป
ตอนแรกกังวลอยู่กังวลมากว่าพื้นที่เดิมๆ จะหายไปแต่กลับมาคิดอีกทีว่าเราไม่สามารถห้ามอะไรได้เพราะเป็นโครงการระดับประเทศโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มองเห็นในพื้นที่ว่าหยุดยังไม่ได้คงต้องเดินหน้าอย่างเดียว ถอยหลังไม่ได้ หลังจากนี้ห้าปีมันมาในรูปแบบกลายเป็นการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเราอาจเป็นหน่วยหนึ่งที่การท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องปรับตัวและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดเช่นหากเขาทำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทำถนนพาปั่นจักรยานนั่งอีแต๋นตอนเย็น ในแผนพัฒนาเรามองเห็นการอนุรักษ์ควายแต่อาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปไม่เป็นควายแบบส่งขายแต่อาจเป็นโรงเรียนฝึกควายให้คนมาเที่ยว ใช้ประโยชน์จากตรงนั้นมาส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว
ซึ่งความกังวลไม่ได้กังวลแค่เรื่องของการท่องเที่ยวแต่กังวลเรื่องการทำมาหากินวิถีชีวิตของชาวบ้านในมิติอื่นๆ จะยากขึ้นและอนาคตกลัวว่าจะยากขึ้นมากกว่าปัจจุบัน และสิ่งที่มีอยู่จะหายไป ซึ่งไม่ได้หายไปแค่เฉพาะเมืองหนองพื้นที่เวียงหนองหล่มคนจะหายไป วิถีชีวิตของคนที่อยู่กับเมืองหนองมาเป็น 100 ปีจะหายไป และกลายเป็นสังคมเมืองสมัยใหม่เกิดขึ้น การท่องเที่ยวก็ต้องปรับตัวคนก็ต้องปรับตัวซึ่งตนคิดว่าคนปรับตัวได้เชื่อว่าคนในพื้นที่เริ่มปรับตัวได้แต่เราอาจจะเล่าโดยไม่เห็นภาพว่าเมืองหนองเป็นอย่างไรในอดีตจะคิดภาพไม่ออก เหมือนเราเล่าเรื่องปลาไหลเผือกในพันปีก่อนคนฟังจะไม่เห็นภาพ ต้องใช้จินตนาการในการเล่าว่าเมื่อก่อนตรงนี้เป็นหนองน้ำพุ ต้องกลายเป็นเล่าผ่านประสบการณ์และความทรงจำ
หมวก ผ้าพื้นเมืองปักลายเวียงหนองหล่ม ผ้าปลาไหลเผือก ตำนานเล่าถึงเมืองโบราณในแอ่งอารยธรรมเชียงแสนที่ปัจจุบันรู้จักกันในนามเวียงหนองหล่มถึงสาเหตุการล่มสลายของเมืองนั้นเกิดจากการที่ชาวเมืองไปบริโภคปลาไหลเผือก อุปมาถึงการบริโภคที่มากเกินความจำเป็น รวมไปถึงภัยธรรมชาติที่เกิดจากแผ่นดินไหว
งานแกะสลักไม้อั้น ที่มีเรื่องราวของเวียงหนองหล่ม หนึ่งในผลิตภัณฑ์เมืองหนองสร้างสรรค์จากฐานภูมิปัญญามรดกทางวัฒนธรรมเชียงแสน
สินค้าเพื่อการท่องเที่ยว ที่นักออกแบบชุมชนนำเรื่องราวตำนานมาใช้เป็นแรงบันดาลใจพัฒนา ออกมาเป็นลายผ้ารูปปลาไหลเผือกขดเป็นลวดลายสื่อความหมาย
ขับเคลื่อนทุนวัฒนธรรมทำให้ถึงหลักสูตรโรงเรียน Culture as a lived experience
อ.พลวัตร กล่าวว่า นอกจากการทำกับชุมชนทางทีมวิจัยทำกระบวนการที่เริ่มที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ซึ่งเริ่มกับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ห้าและประถมศึกษาปีที่หก ทำเกี่ยวกับเรื่องให้นักเรียนลงพื้นที่เวียงหนองหล่มเป็นอย่างไรและชวนนักเรียนคิดการเล่านิทานกันว่านิทานเกี่ยวกับเรื่องเวียงหนองหล่มในจินตนาการ ซึ่งตัวนักเรียนเริ่มเขียนเรื่องเวียงหนองหล่มออกมาเป็นนิทานหนังสือ E-Book เสียงจากเวียงหนองหล่ม 11 เรื่องถือว่าเป็นสิ่งที่นักเรียนสะท้อนและปฎิบัติการสำหรับเด็ก ถ้าเขาพูดภาษาอังกฤษเก่ง เล่าเรื่องเก่ง เข้าใจตำนานของพื้นที่ ก็จะสามารถปกป้องชุมชนได้ มีการปรับปรุงเนื้อหาสถานการณ์ปัจจุบันในเวียงหนองหล่มแทรกเข้าไปด้วยในนิทาน
จากเรื่องเล่าและภาพของนักเรียนชั้น ป.5-6 นำมาถอรหัส และเรียบเรียงใหม่ จาก 15 เรื่องได้มาวันนี่ 11 เรื่อง เป็นประวัติศาสตร์ของพื้นที่แอ่งเชียงแสนที่มีตำนานเรื่องเล่าจำนวนมากและเรื่องเล่ากลายเป็นปฏิบัติการทางสังคมของผู้คนผลักดันให้ผู้คนสร้างตัวตนจากเรื่องเล่ามาอย่างยาวนานกลายเป็นประวัติศาสตร์ แต่ละเรื่องนั้นเมื่อถอดรหัสออกมาเป็นความรู้ที่ซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อว่านักเรียนเรียนจะนำเสนอออกมาได้
1.ประวัติศาสตร์การเรียนรู้แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 2.ประวัติศาสตร์การกระจายอำนาจและความเป็นธรรม 3.ประวัติศาสตร์ผู้ถูกกดทับไร้เสียง 4.ประวัติศาสตร์แรงงาน 5. ประวัติศาสตร์ผึ้งและระบบนิเวศ 6. ประวัติศาสตร์นวัตกรรมพื้นถิ่น 7.ประวัติศาสตร์เวลาที่หวนกลับ 8.ประวัติศาสตร์เสียงที่ไม่ได้ยิน 9. ประวัติศาสตร์เพื่อนบ้าน 10.ประวัติศาสตร์การสร้างSoft Power 11. ประวัติศาสตร์การกลายพันธุ์ และกิจกรรมท้ายส่งท้ายในแต่ละเรื่องให้ฝึกฝนและอภิปราย
E-Book เสียงจากเวียงหนองหล่ม
ในอนาคตเด็กเด็กและตัวทีมวิจัยอยากจะสร้างเป็นอาร์ตทอย บอร์ดเกมซึ่งตรงนี้เป็นหนึ่งในสามของโครงการวิจัยในพื้นที่แอ่งเชียงแสน
โอกาสของทุนทางวัฒนธรรมที่ต่อยอดสู่ตลาดอื่น ๆ ได้
ปัจจุบันนักธุรกิจมองว่าชาวบ้านผลิตสิแล้วฉันจะเอาไปขาย หากขายไม่ได้ชาวบ้านก็ออกแบบวิธีเอง ช่วยออกแบบชาวบ้านทำไป นักธุรกิจซื้อไปชาวบ้านกลายเป็นแรงงาน
ในปี 2564 ที่ผ่านมาเราคือแรงงานผลิต ซึ่งผลิตของที่เราไม่เคยได้ใช้ ทำให้เกิดการแปลกแยกต่อสินค้าของเราเอง พ่อค้านำไปสุดท้ายกดราคาให้กับชาวบ้าน ซึ่งทางทั้งที่ความรู้เป็นของชาวบ้านทั้งหมดเพราะฉะนั้นชาวบ้านน่าจะอธิบายงานของตนเองได้ดี ถ้าดีไซน์ขึ้นมาเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ด้วยและสามารถขายออกสู่ตลาด ถ้าเกิดความร่วมมือชาวบ้านขายได้เองจะดีต่ออนาคต เพราะพื้นที่และชาวบ้านแบบนี้เยอะ เช่น บ้านสันกอง ชาวบ้านป่าสักหลวง ทำเองขายของเองได้ สามารถอธิบายสินค้าเราเป็นตัวจริงซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชาวบ้านสู้และสามารถเป็นผู้ประกอบการได้เอง คนในชุมชนใส่เสื้อผ้าที่ดีไซน์ทั้งหมดด้วยตัวเอง
โอกาสของชาวบ้านฉันคือตัวจริงและเป็นเจ้าของวัฒนธรรมและเป็นเจ้าของงานเอง ชาวบ้านสามารถที่จะก้าวไปสู่ข้างหน้าได้เชื่อมโยงกับลูกหลานเป็นทุน ซึ่งเป็นคำตอบว่าใครจะรู้วัฒนธรรมของตนเองได้ดีที่สุดคือเจ้าของวัฒนธรรม
พื้นที่กาดก้อมสร้างเมือง พื้นที่กลาง
ในงานวิจัยสร้างแนวคิดขึ้นมา Circular design คือการออกแบบพื้นถิ่นเพื่อสนับสนุนเมืองสร้างสรรค์ของเชียงราย พื้นที่เชียงรายขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก้ ซึ่งทางเชียงใหม่เป็นคราฟท์และอาร์ท เชียงรายทำเรื่องดีไซน์แต่ดีไซน์ ไม่ใช่ดีไซน์ที่เป็นของทางอุตสาหกรรมแต่เป็นการออกแบบโดยกระบวนการเพื่อแก้ปัญหาของตนเอง เช่น โครงการพัฒนาดอยตุง การออกแบบพื้นถิ่นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบอกว่าชาวบ้านเป็นนักออกแบบแต่เค้าไม่ได้ออกแบบแบบอุตสาหกรรมออกแบบเพื่อแก้ปัญหาชีวิตของเค้าเอง งานออกแบบของเขาเพื่อแก้ปัญหาชีวิตทำให้คนรวมตัวกันเพื่อ สร้างระบบ เช่น คนอาข่าปลูกกาแฟและขายกาแฟไป เคยถามคนปลูกว่าเคยกินกาแฟตัวเองหรือไม่ซึ่งได้คำตอบมาว่ากินของคนอื่นไม่เคยกินของตนเอง และจะรู้ได้อย่างไรว่ากาแฟของตนเองดีกว่าของคนอื่นเพราะฉะนั้นเค้าปลูกเพื่อเป็นแรงงาน เป็นการแก้ปัญหาของพื้นที่การออกแบบของเขา เพื่อแก้ปัญหาชีวิต
เพราะฉะนั้นอย่างที่เวียงหนองหล่มออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาชีวิตของเขาปัญหาชีวิตที่จะทำมาหากินบนพื้นที่ยังหนองหล่มในแบบเดิมไม่ได้แล้ว แต่สามารถผลิตของใช้เองและสามารถขายได้ ไม่ได้ผลิตเพื่อขายไปโดยที่ไม่เคยใช้ของทั้งหมดใช้งานด้วย ซึ่งชุมชนเองสามารถตอบได้ว่าของที่ผลิตขึ้นมาดีอย่างไรซึ่งตอบสนองแนวคิดของ การออกแบบพื้นถิ่นเพื่อสนับสนุนเมืองสร้างสรรค์ ของเชียงราย ซึ่งกาดก้อมสร้างเมืองเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบพื้นถิ่นเพื่อสนับสนุนเมืองสร้างสรรค์ เชื่อมโยวการออกแบบตลาด เป็นสิ่งที่คนเล็กคนน้อยสามารถที่จะมีพลังในการหาตลาดมีพื้นที่กลางในการขายสินค้าซึ่งถ้ามีพื้นที่กลางเป็นพื้นที่ตลาดก็สามารถขายของได้แลกเปลี่ยนความรู้ได้เพราะฉะนั้นเยาวชนเองผลิตแล้วไปไหนคลินิกแล้วรอคนมาขายคิดว่าไม่น่าใช่หากเราสร้างตลาดขึ้นมาให้ตลาดเคลื่อนที่ไปด้วย เพราะฉะนั้นตลาดเล็ก ๆ มีพลังในการสร้างเมืองนี้ขึ้นมาเหมือนสมัยพญามังราย
เชื่อม รัด มัด ร้อย เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบันนี้ ปีนี้ภายใต้งานไทยแลนด์บินนาเล่ ทีมงานวิจัยและชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการ ทางเทศกาลพานักท่องเที่ยวผู้คนที่มาดูงานไปชมบ้านเก่าของพื้นที่แม่คำ สบเปิ่น และอาหารที่ถูกดีไซน์ขึ้นมาในงานโปรเจคนี้ โปรเจคนี้เรายังดูแลพื้นที่อยู่เช่นพื้นที่เชียงแสนยังดูแลพื้นที่นี้อยู่ คนที่งานวิจัยสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมก็ทำงานให้กับงานไทยแลนด์บินนาเล่ และในปี 2567 ทางเชื่อม รัด มัด ร้อย กำลังจะขยายพื้นที่การทำงานไปที่เชียงของจังหวัดเชียงราย พื้นที่ศรีดอนชัย และจะข้ามไปถึงประเทศลาวเข้าไปในพื้นที่ลาวด้วยเผื่อเชื่อมโยงลาวกับการทอผ้าในล้านนาทั้งหมด
เราจะสู้กันอย่างไร ชาวบ้านเวียงหนองหล่มจะสู้อย่างไร ?
ที่ผ่านมาชาวบ้านไม่รู้จะสู้อย่างไร ในกรอบวิจัยเราพูดถึงเรื่องธรรมชาติกับวัฒนธรรมเพราะเราถูกแยกวัฒนธรรมออกจากชาวบ้านมานาน ซึ่งทำไมวัฒนธรรม กับธรรมชาติต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกันและเราเสนอไปตั้งแต่แรก ซึ่งมีตัวอย่างของทางนิวซีแลนด์ที่ให้แม่น้ำเป็นบรรพบุรุษมีสถานะบุคคลทางกฎหมาย ซึ่งเสนอไปในโครงการนี้และมีความพยายามที่จะเสนอให้ เวียงหนองหล่มมีสถานะบุคคล แต่ตามกฎหมายคงยากให้เป็นบุคคลทางวัฒนธรรมแต่ทางทีมวิจัยร่วมกับเทศบาลตำบลจันว้า ขับเคลื่อนเรื่องนี้และประกาศให้เวียงหนองหล่มให้มีสถานะบุคคลทางวัฒนธรรม และจะปกป้องสิทธิทางวัฒนธรรม
ทีมวิจัยได้มีการคุยกับทางชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านมองว่า เวียงหนองหล่มเปรียบเสมือนพ่อแม่ของเขา เขาให้ทุกอย่างเป็นบรรพบุรุษทุกคนพึ่งพา เวียงหนองหล่มมีกินมีใช้เพราะเวียงหนองหล่ม นอกจากการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชาวบ้านก็มีวิธีการดูแลพื้นที่เช่นกัน ทางทีมวิจัยจึงพูดคุยกับเทศบาลเห็นด้วยทางเทศบาลยินดีประกาศว่าให้เวียงหนองหล่มมีสถานะบุคคลทางวัฒนธรรม ซึ่งหากประกาศที่นี่ก็เป็นที่แรกของประเทศไทย โดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งถือว่าการกระจายอำนาจเป็นเรื่องสำคัญที่เค้าจะสามารถตัดสินใจได้ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวบ้าน ทำเสาใจเวียงหนองขึ้นมามีพิธีสาปแช่ง คนที่ทำร้ายเวียงหนองหล่มมีขบวนแห่ซึ่งทางเทศบาลก็เห็นดีเห็นงามและปีหน้าทำกันอีกในทุกวันที่ 5 มีนาคมของทุกปีซึ่งจะทำเป็นประเพณีสู่ขวัญ เรียกขวัญเวียงหนองหล่มที่สาวใจเวียงหนอง การอนุรักษ์พันธ์พืชในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพ ซึ่งทางเทศบาลมีหน้าที่ทำตรงนี้ ด้วยจึงมีการติดตั้งป้ายพื้นที่เวียงหนองหล่มเป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธ์พืชพันธุกรรมพืชไปพร้อมกัน
ซึ่งในช่วงเชียงรายเบียนนาเล่ ทางศิลปิน ร่วมจัดงานเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ทำการแสดงศิลปะล่มแล้ว ล่มอีก ล่มต่อ ทำอาหารร่วมมือกับชุมชนเอารถอีแต๋นพาไปตามจุดต่าง ๆ ถือว่าเป็นงานศิลปะให้มีเสียงดังขึ้น ทางศิลปินก็กำลังคิดหาโปรเจคทำงานร่วมกันต่อในพื้นที่
จุดเริ่มต้นหนึ่งในการหาทางไปต่อของชาวบ้านในพื้นที่เวียงหนองหล่ม ส่วนหนึ่งตอนนี้คือการผลักดันคุณค่าพลิกฟื้นทุนวัฒนธรรม ซึ่งในอนาคตพวกเขาหวังว่าคนในชุมชนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเข้ามามีส่วนพัฒนาให้