Public Intelligence
- “จ่ายประกันสังคมทุกเดือน แต่ไม่รู้ทำอะไรได้บ้าง” รู้จักสิทธิประกันสังคม จะดีกว่านี้ได้ถ้า…“สิทธิประกันสังคม” เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงมาโดยตลอด ถึงเรื่องการจัดสรรงบประมาณของกองทุน สิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับของผู้ประกันตนในแต่ละมาตรา ไม่ว่าจะเป็นการเบิกค่ารักษาสุขภาพ เงินบำนาญในวัยเกษียณ เงินค่าคลอดบุตร และสวัสดิการด้านอื่นๆ ขณะนี้กองทุนมีสมาชิกกว่า 24 ล้านคน ที่จ่ายเงินเข้าระบบในทุกๆ ปี ทั้งมาตรา 33, 38 และ 40 นอกจากค่ารักษาพยาบาลกับเงินบำนาญแล้วนั้น ผู้ประกันตนรู้หรือไม่ว่ายังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกที่สามารถใช้ได้ ทีมงานห้องทดลองปัญญารวมหมู่ สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ พัฒนาแบบสำรวจ “จ่ายประกันสังคมทุกเดือน แต่ไม่รู้ทำอะไรได้บ้าง” ลองรู้จักสิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนได้รับมีอะไรบ้าง และร่วมออกแบบและระบบประกันสังคมที่ควรจะเป็นนั้นมีหน้าตาแบบไหน 4 ขั้นตอนง่ายๆ ไม่กี่นาที แพลตฟอร์มนี้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแบบสำรวจภาพรวมการใช้สิทธิของผู้ประกันแต่ละมาตราใช้ไปกับด้านไหน โดยมีส่วนของข้อมูลประเภทของผู้ประกันสังคมแต่ละมาตรา รวมถึงสิทธิประโยชน์ในแต่ละด้านให้ได้อ่านร่วมกัน และสุดท้ายส่วนสำคัญที่สุดคือทุกคนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ หรือเขียนข้อเสนอในการปรับปรุงระบบประกันสังคมให้ดีกว่าเดิม วิธีการใช้มีเพียง 4 ขั้นตอน คือ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างฐานข้อมูลเพื่อนำไปแก้ไข ปรับปรุง ระบบประกันสังคมที่มีอยู่ของเราให้ดีกว่าเดิม ได้ข้างล่างนี้ ข้อควรทราบ เป็นการสำรวจเบื้องต้น เราให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว ไม่มีการเก็บและเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ข้อมูลที่เก็บจะใช้เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมเท่านั้น
- ทำความเข้าใจ 3 สถานการณ์แผ่นดินไหว ที่อาจเขย่าตึกสูงในกรุงเทพ-ปริมณฑลในอนาคตเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2568 สกสว. จัดวงเสวนา “ก้าวข้ามธรณีพิโรธ: นวัตกรรม ววน. พลิกเกมภัยแผ่นดินไหว เพื่ออนาคตที่ปลอดภัยของไทย” บางห้วนบางตอน ทีมห้องทดลองปัญญารวมหมู่ถอดเนื้อหา สรุปประเด็นเพื่อร่วมสร้างการเรียนรู้และจัดการสาธารณภัย การรับมือภัยพิบัติร่วมกันในอนาคต ศ.ดร. เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ข้อมูลว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีรอยเลื่อนอยู่เป็นจำนวนมาก (ตามภาพด้านล่าง) แต่รอยเลื่อนที่เป็นอันตราย คือ รอยเลื่อนสีแดง ที่เด่นที่สุดก็คือรอยเลื่อนสะกาย รอยเลื่อนสีเขียวจะอันตรายรองลงมา ตามด้วยรอยเลื่อนสีเทา สำหรับรอยเลื่อนในประเทศไทยเป็นรอยเลื่อนสีเทาค่อนข้างเยอะ และไม่มีรอยเลื่อนหรือแหล่งกำเนิดใกล้กรุงเทพฯ แต่จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นไกล ๆ เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ได้ทำการศึกษาประเมินสถานการณ์ที่เป็นอันตราย เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ก็เป็น 1 ใน 3 สถานการณ์หลักอันตราย พูดไปตอนนั้นก็ไม่มีใครเชื่อ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ โดยทั่วไปเมื่อเกิดแผ่นดินไหวบริเวณใกล้ ๆ แนวรอยเลื่อน จะมีการสั่นสะเทือนรุนแรงมาก ดังที่ปรากฏรายงานข่าวในพม่า พบอาคารบ้านเรือนเสียหาย ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก ส่วนจุดที่ห่างออกมา ความรุนแรงก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ ยิ่งห่างยิ่งเบา แต่แล้วทำไมมาแรงใหม่ที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็คือแผ่นดินอ่อนของกรุงเทพฯ จากแผนที่แสดงสภาพดินในประเทศไทย (สีเขียว ดินแข็ง สีเหลืองก็อ่อนลงมาหน่อย สีแดงก็อ่อนมาก)… Read more: ทำความเข้าใจ 3 สถานการณ์แผ่นดินไหว ที่อาจเขย่าตึกสูงในกรุงเทพ-ปริมณฑลในอนาคต
- บ้านร้าวหลังแผ่นดินไหว ยังปลอดภัยอยู่ไหมไหม ? ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นด้วย CrackSafeเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2568 เวลาประมาณ 13:20 น. และอาฟเตอร์ช็อกที่ตามมาหลายครั้ง ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาพความเสียหายของอาคารต่างๆ ที่ปรากฏ ยิ่งสร้างความกังวลใจให้กับพี่น้องประชาชนจำนวนมาก คำถามสำคัญที่อยู่ในใจหลายคนคือ “บ้านเรือน ที่พักอาศัย คอนโด ห้องเช่าของเรามีรอยร้าวแบบนี้ จะยังปลอดภัยไหม?” เพื่อช่วยคลายความกังวลเบื้องต้น และเพื่อให้เห็นภาพรวมความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทีมงานห้องทดลองปัญญารวมหมู่ สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ จึงเร่งพัฒนาระบบ “CrackSafe” ขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือให้ประชาชนสามารถประเมินความเสี่ยงของโครงสร้างบ้านหรืออาคารที่ตนอยู่อาศัยได้ด้วยตนเอง CrackSafe คืออะไร? CrackSafe คือ เว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นอย่างเร่งด่วน (ตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงเที่ยงคืนของวันเกิดเหตุ) โดยอ้างอิงหลักเกณฑ์เบื้องต้นจาก “คู่มือการสำรวจความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างอาคารหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว” ของกรมโยธาธิการและผังเมือง (พ.ศ. 2560) เพื่อให้ประชาชนใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ผ่านทางเว็บไซต์ ใช้งานง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน ข้อมูลของคุณสำคัญอย่างไร? ข้อมูลความเสียหายที่กรอกเข้ามา (ซึ่งจะไม่ระบุตัวตน) นอกจากจะช่วยให้ผู้ใช้งานประเมินสถานการณ์เบื้องต้นของบ้านตัวเองได้แล้ว ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมและส่งต่อไปยัง ทีมวิศวกรอาสา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการ การสละเวลาให้ข้อมูลของทุกท่าน คือการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามวิกฤต เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับชุมชนของเรา ข้อควรทราบ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความปลอดภัย หากบ้านหรืออาคารของท่านหรือคนใกล้ชิดได้รับผลกระทบ หรือพบเห็นรอยร้าวที่น่าสงสัย ขอเชิญชวนทุกท่านเข้ามาใช้ระบบ CrackSafe… Read more: บ้านร้าวหลังแผ่นดินไหว ยังปลอดภัยอยู่ไหมไหม ? ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นด้วย CrackSafe
- เสียงคนนครพิษณุโลก พัฒนาเมืองแบบไหน? ให้ตอบโจทย์ประชาชนระหว่างวันที่ 24 – 25 มี.ค. 2568 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเทศบาลนครพิษณุโลกในวันอาทิตย์ที่ 30 มี.ค. ที่จะถึงนี้ Locals Voice ฟังเสียงประเทศไทย ฟังเสียงคนท้องถิ่น โดยทีมองศาเหนือและทีมห้องทดลองปัญญารวมหมู่ สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอส ออกเดินทางมายังนครพิษณุโลก ออกมาจัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกับนิสิตสาขารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สำรวจความต้องการ และโจทย์การพัฒนาเร่งด่วนที่ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ ณ สวนริมน่าน และตลาดใต้ ซึ่งประมวลผลจากกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมกิจกรรมได้ผลที่น่าสนใจ ดังนี้ ความต้องการพื้นฐานที่สำคัญที่สุด น้ำประปาและโครงสร้างพื้นฐาน จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าประชาชนในเทศบาลนครพิษณุโลกให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสาธารณูปโภคและการก่อสร้างมากที่สุด (18.35%) โดยเฉพาะประเด็นเรื่องน้ำประปา ประชาชนต้องการน้ำประปาที่ “ไหลแรง” “สะอาด” “มีมาตรฐานสากล” และ “ไม่ขาดตอน” สะท้อนให้เห็นว่าการเข้าถึงน้ำสะอาดยังเป็นปัญหาพื้นฐานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ประชาชนยังให้ความสำคัญกับการจัดระเบียบสายไฟ (“เสาไฟไร้สาย” “ถนนไร้สาย”) ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสวยงามให้เมืองแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชนอีกด้วย ความต้องการให้มี “ไฟเขียวไฟแดงทุกแยกมีเวลานับถอยหลัง” แสดงให้เห็นถึงความต้องการระบบจราจรที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจร การขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านการค้าและตลาด ด้านอาชีพและการพาณิชย์ได้รับความสำคัญเป็นอันดับสอง (16.22%) โดยมีประเด็นสำคัญคือการปรับปรุงตลาดสดให้… Read more: เสียงคนนครพิษณุโลก พัฒนาเมืองแบบไหน? ให้ตอบโจทย์ประชาชน
- พลิกโฉม 18 เมือง สู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังของงานวิจัยและนวัตกรรมจากความร่วมมือของ บพท. สมาคมเทศบาลนครและเมือง และโครงการ CIAPการออกแบบนโยบาย ปฏิบัติการ และการบริหารระดับท้องถิ่น คือตัวชี้วัดความเจริญของเมืองต่างๆ ที่เห็นได้เด่นชัด และสัมผัสรู้ได้ในทันที ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่เทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นดั่งหัวใจและกลไกการพัฒนาเมืองที่สำคัญ หากสามารถขับเคลื่อนด้วยข้อมูล องค์ความรู้ และการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ท้องถิ่นนั้นๆ ก็จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในเมืองอย่างมีนัยยะสำคัญ ตลอดระยะ 1 ปีที่ผ่าน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สมาคมเทศบาลนครและเมือง ร่วมกับเทศบาล 18 เทศบาลนำร่อง ได้ร่วมดำเนินการ โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) โดยมี มหาวิทยาลัยสารคาม และเครือข่ายมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับทุน 18 เมืองที่ได้นำงานวิจัยและนวัตกรรมพัฒนาเมืองเข้าไปร่วมขับเคลื่อนดำเนินการพัฒนาตอบโจทย์ท้องถิ่น ได้แก่ 1.เทศบาลเมืองแม่เหียะ, จ.เชียงใหม่, 2.เทศบาลนครเชียงราย, จ.เชียงราย 3.เทศบาลนครลำปาง, จ.ลำปาง, 4.เทศบาลเมืองลำพูน, จ.ลำพูน, 5.เทศบาลเมืองแพร่, จ.แพร่, 6.เทศบาลนครพิษณุโลก, จ.พิษณุโลก, 7.เทศบาลนครนครสวรรค์, จ.นครสวรรค์, 8.เทศบาลนครนนทบุรี, จ.นนทบุรี, 9.เทศบาลนครปากเกร็ด, จ.นนทบุรี, 10.เทศบาลนครสกลนคร, จ.สกลนคร, 11.เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์,… Read more: พลิกโฉม 18 เมือง สู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังของงานวิจัยและนวัตกรรมจากความร่วมมือของ บพท. สมาคมเทศบาลนครและเมือง และโครงการ CIAP
- รายงานการวิเคราะห์ความต้องการของประชาชนจังหวัดนครราชสีมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา (โคราช) ที่มีการตอบผ่าน My CEO บ้านฉันเอาแบบนี้ พบว่าประเด็นความต้องการหลักเน้นที่การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน และการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ประเด็นความต้องการหลัก 1. การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง (35% ของความคิดเห็นทั้งหมด) ระบบขนส่งสาธารณะ การจัดการจราจร 2. โครงสร้างพื้นฐาน (28% ของความคิดเห็นทั้งหมด) ถนนและการสัญจร ระบบสาธารณูปโภค 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิต (20% ของความคิดเห็นทั้งหมด) เศรษฐกิจและรายได้ สิ่งแวดล้อมและพื้นที่สาธารณะ แนวทางการพัฒนา ระยะสั้น (1-2 ปี) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเร่งด่วน การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ระยะกลาง (3-5 ปี) การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน การพัฒนาพื้นที่สาธารณะ ระยะยาว (5-10 ปี) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาควรมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาด้านคมนาคมขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานเป็นลำดับแรก ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกำหนดอนาคตการพัฒนาของทุกคนได้ โดยเข้าผ่านแคมเปญ My CEO บ้านฉันเอาแบบนี้ โดยพิมพ์การพัฒนาที่คุณอยากเห็น… Read more: รายงานการวิเคราะห์ความต้องการของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา
- บ้านฉันเอาแบบนี้ พัทลุงเอาแบบไหนอีกไม่กี่วันจะถึงวันเลือกตั้งอบจ. ในหลายจังหวัด เช่นเดียวกับพัทลุง เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 68 ณ ห้องประชุมป่าพะยอม ชั้น 2 หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มีเวที “แหลงให้เทือน การเมืองใต้ : เลือกตั้ง อบจ.พัทลุง 68” DEBATE ประชันวิสัยทัศน์ ของผู้สมัครนายก อบจ.พัทลุง ประกอบด้วย สามารถรับชมย้อนหลังได้ นอกจากการดีเบตของผู้สมัครแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านแคมเปญ My CEO บ้านฉันเอาแบบนี้ และร่วมจัดลำดับเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่อยากให้ผู้นำท้องถิ่นออกแบบและจัดการร่วมกับคนในพื้นที่ เพื่อร่วมกำหนดทิศทางและโจทย์การพัฒนาที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ ปรากฏเป็น word cloud (ข้อความสำคัญ) ดังนี้ จากกิจกรรมที่ชาวพัทลุงจำนวนมากได้ร่วมระบุเรื่องสำคัญ ทีมงานได้ประมวลข้อมูลจากทั้งบอร์ดกิจกรรมและข้อความที่ตอบเข้ามาใน My CEO พบข้อค้นพบที่น่าสนใจดังนี้ ปากท้องและความโปร่งใส : สองปัจจัยหลักสู่การพัฒนา เสียงที่ดังที่สุดจากชาวพัทลุงคือเรื่องเศรษฐกิจและความโปร่งใส เราได้ยินเสียงเรียกร้องเรื่อง “การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ” และ “เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน” อย่างต่อเนื่อง บางความเห็นพูดถึงปัญหาปากท้องที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน พร้อมข้อเสนอในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น… Read more: บ้านฉันเอาแบบนี้ พัทลุงเอาแบบไหน
- 8 ชุดคำถาม เพื่อร่วมสังเกต-รายงานอากาศบ้านเราสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยชวนทุกท่านถ่ายภาพ-บันทึก บอกเล่าเรื่องราว ของอากาศที่เราหายใจ ผ่านท้องฟ้าในพื้นที่ที่คุณอยู่ เพื่อร่วมกันสะท้อนสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ของเมืองไทยในปี พ.ศ. 2568 ผ่าน 8 ชุดคำถาม กับทาง C-SITE Thai PBS เพียงสแกน QR Code ในรูปด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ที่เว็บไซต์ https://www.csitereport.com/dashboard หรือ โพสต์ในFacebook พร้อมติดแฮชเเท็ก #บ้านฉันบ้านเธอ#ภาพบอกเล่าPM25#ฟ้าใสไร้ฝุ่น
- เสียงชาวปัตตานี อะไรคือสิ่งที่บ้านเราต้องการ?ช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวปัตตานีหลายคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงสิ่งที่อยากเห็นในบ้านเกิดของเรา ทั้งผ่านการแสดงความเห็นผ่าน My CEO บ้านฉันเอาแบบนี้ และการระดมจัดลำดับเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่อยากให้ผู้นำท้องถิ่นออกแบบและจัดการร่วมกับคนที่นั่น และนี่คือเสียงเราที่อยากบอกว่า ต้องการอะไรและอยากเห็นปัตตานีเป็นแบบไหน จากบอร์ดกิจกรรมที่คนปัตตานีจำนวนมากได้ร่วมระบุเรื่องสำคัญ ได้ผลออกมาดังกราฟต่อไปนี้ เมื่อทีมงานประมวลข้อมูลจากบอร์ดกิจกรรม ที่ได้จากเวที แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้สมัครนายก อบจ.ปัตตานี ในหัวข้อ “อนาคตปัตตานีที่ใฝ่ฝัน” เวทีสภานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี & คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี เสวนาแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ หัวข้อ อนาคตปัตตานีที่ใฝ่ฝัน ร่วมฟังแนวคิดและแผนพัฒนาที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับจังหวัดปัตตานีของเรา ณ หอประชุม ม.อ.ปัตตานี ชูเกียรติ ปิติเจริญกิจ(สนอ.เก่า) เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา วิเคราะห์ประมวลผลร่วมกับข้อความที่มีการตอบเข้ามาในกิจกรรม My CEO สามารถประมวลผลและพบข้อค้นพบสำคัญ ดังต่อไปนี้ ก้าวไปด้วยกัน การศึกษาและเศรษฐกิจ เรื่องที่ให้ความสำคัญมากที่สุดสองอันดับแรก คือการศึกษาและเศรษฐกิจ (อย่างละ 30.4%) และนี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะสองเรื่องนี้เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก หลายคนอยากเห็น “ระบบการศึกษาที่ก้าวหน้าเท่าเทียม ไม่มีนักเรียนหลุดจากระบบ” บางคนพูดถึง “การศึกษาที่ดี” บางคนเชื่อมโยงว่า… Read more: เสียงชาวปัตตานี อะไรคือสิ่งที่บ้านเราต้องการ?
- บ้านฉันเอาแบบนี้ อ่านความต้องการ โจทย์พัฒนาท้องถิ่นกว่า 3 สัปดาห์ที่ Locals และ PI ห้องทดลองปัญญารวมหมู่ ชวนคนท้องถิ่นทั่วประเทศ ช่วยบอกความต้องการพัฒนาผ่านการทบทวนมองย้อนการใช้งบประมาณของท้องถิ่น โดยเฉพาะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งกำลังจะมีการเลือกตั้งนายก อบจ. (ทำหน้าที่บริหาร) และส. อบจ. (พิจารณาข้อบัญญัติของอบจ. ผ่านงบประมาณ) ทั้งนี้มีการร่วมตอบกว่า 500 รายการ (ประมวลผล 24 ม.ค.2568) และสามารถวิเคราะห์ผลจัดกลุ่มความต้องการและแยกตามภูมิภาคได้ดังนี้ สำหรับผู้สนใจสามารถอ่านงบประมาณของแต่ละจังหวัด ข้อมูลเชิงลึก งบประมาณต่อรายหัวประชากร หมวดหมู่งบประมาณที่จังหวัดนั้นๆ ใช้มากที่สุด และเติมความต้องการของทุกคนได้ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคอีสาน ภาคกลาง ร่วมบอกความต้องการ โจทย์ที่อยากให้บ้านฉันเป็นแบบนี้ได้ สำหรับคนที่สนใจภาพรวมของคนท้องถิ่นทั้งประเทศสามารถดูได้จากแบนเนอร์ด้านล่างนี้ (ข้อมูล สรุปผล ณ วันที่ 21 มกราคม 2568) *หมายเหตุ ชุดภาพนี้ (สรุปคำตอบเมื่อวันที่ 21 ม.ค.)
- สังคมสูงวัย แรงงานข้ามชาติ ความท้าทายของศตวรรษที่ 21 ที่ยากจะแยกออกจากกันประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์นี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดแรงงานและเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งพาแรงงานข้ามชาติที่เพิ่มมากขึ้น จากการสัมมนาสาธารณะเนื่องในวันผู้อพยพย้ายถิ่นฐานสากลปี 2567 ที่จัดขึ้นโดย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่ผ่านมา ศ.เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ ได้นำเสนอสิ่งที่เรียกว่าเป็นทางเลือกเชิงนโยบาย ซึ่งอาจจะช่วยให้ประเทศสามารถฝ่าวิกฤติเรื่องสังคมผู้สูงอายุได้ และอาจทำให้เราต้องทบทวนและปรับมุมมองใหม่ต่อประเด็นเรื่องแรงงานข้ามชาติ อนาคตประชากรไทย จะมองไปทางไหนก็มีแต่คำถาม? ศ.เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ เริ่มต้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมผู้สูงอายุ แรงงานข้ามชาติ และผลกระทบต่ออนาคตของประเทศไทย โดยอธิบายสถานการณ์สังคมสูงวัยในประเทศไทย ผ่านการอ้างอิงข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นซึ่งเผยแพร่เมื่อปี ค.ศ.2019 ทางยูเอ็นได้ทำการคาดการณ์สถานการณ์ประชากรของประเทศต่างๆ โดยระบุว่าประเทศไทยจะสูญเสียประชากรถึง 1 ใน 3 หรือก็คือจะมีประชากรลดลงถึง 34.1% เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงประเทศญี่ปุ่นที่คาดการณ์ว่าจะมีประชากรลดงถึง 41% ตัวเลขดังกล่าวอาจดูน่าหวาดหวั่น แต่นั่นก็ยังเป็นเพียงแค่ปฐมบทเท่านั้น ศ.เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในปี ค.ศ.2020 ทางThe Lancet ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ทั่วไปรายสัปดาห์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งเก่าแก่ที่สุดและได้รับการยกย่องมากที่สุดในโลก ได้คาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี ค.ศ.2100 ประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรลดลงมากกว่า 50%… Read more: สังคมสูงวัย แรงงานข้ามชาติ ความท้าทายของศตวรรษที่ 21 ที่ยากจะแยกออกจากกัน
- แนวนโยบาย (ฉบับย่อ) เพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยปัญหาการขาดธรรมาภิบาลและคอร์รัปชันในสังคมไทยเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกและส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะในหน่วยงานภาครัฐที่มักพบการใช้อำนาจโดยมิชอบ การเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง และการทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การรับสินบน การฮั้วประมูล หรือการยักยอกงบประมาณ นอกจากนี้ ระบบอุปถัมภ์ที่ฝังตัวอยู่ในสังคมไทยยังทำให้การคัดเลือกบุคลากรไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความรู้ความสามารถ แต่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัวและผลประโยชน์ ส่งผลให้การบริหารงานขาดประสิทธิภาพและไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ผลกระทบจากการขาดธรรมาภิบาลและคอร์รัปชันส่งผลเสียต่อประเทศในหลายมิติ ในด้านเศรษฐกิจ ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น ลดความน่าเชื่อถือในสายตานักลงทุน และบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในด้านสังคม ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม เนื่องจากทรัพยากรและโอกาสถูกกระจายไปยังกลุ่มผู้มีอำนาจและเครือข่ายพวกพ้อง ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงบริการและสวัสดิการของรัฐได้อย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เพราะงบประมาณที่ควรนำไปพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกลับถูกรั่วไหลไปกับการทุจริตคอร์รัปชัน “ธรรมาภิบาล” กับ “ต่อต้านคอร์รัปชัน” 2 สิ่งต้องทำควบคู่กัน ธรรมาภิบาล (Good Governance) คือหลักการบริหารจัดการที่ดีที่มุ่งเน้นการสร้างความโปร่งใส ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม ความคุ้มค่า หลักนิติธรรม และหลักคุณธรรม โดยเป็นแนวทางในการบริหารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มุ่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน สร้างความเป็นธรรมในสังคม และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง World Governance Indicators (WGI) เป็นชุดตัวชี้วัดที่พัฒนาโดยธนาคารโลกเพื่อประเมินคุณภาพการกำกับดูแลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยวัดใน 6 มิติหลัก ได้แก่ การมีสิทธิ์มีเสียงและความรับผิดชอบ เสถียรภาพทางการเมือง ประสิทธิภาพของรัฐบาล คุณภาพของกฎระเบียบ… Read more: แนวนโยบาย (ฉบับย่อ) เพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทย
- สรุปนโยบายและแผนพลังงานของประเทศไทย ตอนที่ 2ร่าง แผนปฏิบัติการด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก, AEDP 2024 (พ.ศ. 2567 – 2580) ทิศทางของนโยบายพลังงานของประเทศไทยเพื่อให้สอดคล้องในด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ได้แก่ การเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ การปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานภาคขนส่งเป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว การปรับเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ร่วมกันกับเทคโนโลยีด้านพลังงาน การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวและยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้า การเปิดเสรีภาคพลังงาน การใช้พลังงานไฟฟ้าสีเขียว การลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มีการกำหนดเป้าหมายพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกโดยยกระดับสัดส่วนพลังงานการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย 36 % ณ ปี พ.ศ. 2580 โดยค่าเป้าหมายในภาคไฟฟ้า ภาคความร้อนและภาคเชื้อเพลิงชีวภาพตามร่างแผนปฏิบัติการด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2567 – 2580 ดังรูป การเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกในภาคไฟฟ้า ความร้อนและขนส่งนี้มีความสำคัญต่อการนำพาประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ แต่ยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการผันผวนหรือความไม่แน่นอนรวมทั้งความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของพลังงานทดแทน เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของยานยนต์ไฟฟ้า ราคาต้นทุนของน้ำมันเชื้อเพลิง การลงทุนที่สูงมากในหลายๆเทคโนโลยีในกลุ่มพลังงานทดแทน และความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ ที่ไม่แน่นอน งานวิจัยที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) ที่เหมาะสมต่อบริบทประเทศ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม แรงงาน และสังคม จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทน ที่ลดผลกระทบต่อการปรับตัวในภาคอุตสาหกรรมและแรงงาน ซึ่งประเด็นการยกระดับความสามารถ (upskilling) ในแรงงานฝีมือเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคต เป็นนโยบายของกระทรวง อว ที่สามารถช่วยสนับสนุนแผน AEDP นี้ เช่น อว For EV, อว for AI ตลอดจน หลักสูตร non-degree ต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนาฝีมือแรงงานของไทยในอนาคต ร่าง… Read more: สรุปนโยบายและแผนพลังงานของประเทศไทย ตอนที่ 2
- สรุปนโยบายและแผนพลังงานของประเทศไทย ตอนที่ 1ปัจจุบันพลังงานถือเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจและสังคม และความมั่นคงของชาติ สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศก่อนที่จะมีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เป็นแผนระดับที่ 1 โดยได้อาศัยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นแผนหลัก เพื่อเป็นกรอบในการวางแผนปฏิบัติราชการและแผนในระดับปฏิบัติต่าง ๆ นอกจากนี้ แผนระดับที่ 1 จะทำหน้าที่เป็นกรอบสำหรับการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในภาพรวมที่ครอบคลุมการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาประเทศด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน สำหรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะมีการแบ่งยุทธศาสตร์ออกเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับแผนระดับที่ 2 จะเป็นกลไกที่สำคัญในการถ่ายทอดแนวทางการขับเคลื่อนประเทศในด้านต่าง ๆของยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งประกอบไปด้วย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) มีสถานะเป็นแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินงานของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องสามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติตามกรอบระยะเวลาที่คาดหวังไว้ได้ โดยการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 นี้มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม และสามารถบอกทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนที่ประเทศควรมุ่งในระยะ 5 ปี ได้อย่างรอบด้าน สำหรับการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 นี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้ประเทศก้าวข้ามความท้าทายต่างๆเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยหลักการและแนวคิด 4 ประการ ประกอบด้วย 1.หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.การสร้างความสามารถในการล้มแล้ว ลุกไว 3.เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ และ 4.การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว นอกจากนี้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 นี้ยังได้กำหนดหมุดหมายการพัฒนาจำนวนทั้งหมด 13 หมุดหมาย ใน 4 มิติ ประกอบไปด้วย มิติที่ 1 มิติภาคการผลิตและการบริการเป้าหมาย… Read more: สรุปนโยบายและแผนพลังงานของประเทศไทย ตอนที่ 1
- ถ้ายาเสพติดยังไม่หมดไปจากประเทศไทย..แล้วเราจะปลอดภัยจากยาเสพติดได้อย่างไร ?ชวนทำความรู้จักแนวคิด Harm Reduction กับ ผศ.ดร.ปรีชญาณ์ นักฟ้อน ปฏิเสธไม่ได้ว่ายาเสพติดเป็นหนึ่งในปัญหาของสังคมไทย แต่ไม่ว่าเราจะพยายามมากเท่าไหร่ ก็เหมือนว่ายาเสพติดไม่เคยจะหายหรือหมดไปจากประเทศนี้ สรุปแล้วทางออกของปัญหานี้อยู่ตรงไหนกันแน่ สำหรับเรื่องนี้เราได้ไปขอความเห็นจาก ผศ.ดร.ปรีชญาณ์ นักฟ้อน จากภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะนักวิจัยที่ศึกษาเรื่องปัญหายาเสพติดมาอย่างยาวนาน และผู้เขียนหนังสือ นวัตกรรมเชิงนโยบาย: การลดอันตรายจากยาเสพติด ซึ่งมีความโดดเด่นตรงที่ได้ช่วยเติมเต็มแง่มุมที่ต่างออกไปให้กับแวดวงวิชาการด้านยาเสพติดในไทย ทั้งนี้ ผศ.ดร.ปรีชญาณ์ อยากชวนสังคมพูดคุยแลกเปลี่ยนกันต่อว่าถ้ายาเสพติดยังไม่หมดไป ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องทบทวนท่าทีที่มีต่อปัญหายาเสพติดกันใหม่ Q : ปัญหายาเสพติดมันสามารถมองมิติไหนได้บ้าง A : ต้องทำความเข้าใจก่อนว่ายาเสพติดมันไม่ใช่ต้นทางปัญหา ยาเสพติดก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นผลพวงจากปัญหาอื่น แต่พอเกี่ยวข้องแล้วมันก็ไปสร้างปัญหาใหม่ เพราะงั้นปัญหายาเสพติดมันเป็นปัญหาเชิงซ้อนที่มันพัวพันค่อนข้างเยอะ เวลารัฐจะตั้งเป้าในอดีตก็เลยมุ่งเน้นกันไปที่การทำสงครามยาเสพติด ซึ่งเป็นกันทั่วโลก คือทำให้มันหมดไป ถ้ามันไม่ดี ทำให้มันไม่มีในโลกใบนี้ ก็จะจบปัญหา ปัญหาที่ผ่านมาในอดีตก็คือสงครามมันไม่เคยชนะ ไม่ว่าจะทำยังไงก็ยังมียาอยู่ ไม่ว่าจะทำยังไง ก็ยังมีคนเข้าไปเกี่ยวข้องคนแล้วคนเล่า มันก็เลยเป็นโจทย์ที่คนทั้งโลกต้องมานั่งคุยกันว่าแล้วเรามองปัญหายังไง เราแก้ถูกทางหรือเปล่า สิ่งหนึ่งที่เรียนรู้เลยก็คือว่า มันอาจจะไม่สามารถทำให้เราเจอสังคมที่เรียกว่าปลอดยาเสพติดได้หรือเปล่า นี่คือสิ่งที่ตั้งคำถามกันมาหลายปีแล้ว ในเวทีระดับโลกเช่นยูเอ็นเองก็มีการประชุมเพื่อพูดคุยกันเรื่องนี้ว่าหรือเราควรจะต้องมีวิธีการในการที่จะมองปัญหาหรือว่าแก้ปัญหาใหม่ Q: ถ้าการทำสงครามกับยาเสพติดนั้นมันไม่ได้ผล แล้วเราควรมองปัญหาเรื่องยาเสพติดอย่างไรดี A: ขอชวนมองในมุมที่เขาคุยกันมาแล้วดีกว่านะคะ… Read more: ถ้ายาเสพติดยังไม่หมดไปจากประเทศไทย..แล้วเราจะปลอดภัยจากยาเสพติดได้อย่างไร ?
- ชวนคุยโจทย์การจัดการน้ำเมื่อโลกปรับ ไทยต้องเปลี่ยนกับรศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์รายงานธนาคารโลก (World Bank Group, 2022) รายงานความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศพบว่า ในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงต่อภัยธรรมชาติเป็นอันดับที่ 5 โดยมีความเสี่ยงสูงต่อน้ำท่วม เป็นอันดับที่ 9 เสี่ยงสูงต่อภัยแล้ง เป็นอันดับที่ 29 มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดพายุหมุนเขตร้อน เป็นอันดับที่ 27 ในขณะที่ความสามารถในการรับมือหรือการจัดการน้ำยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (คิดจากตัวชี้วัด 4 ตัวคือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์, จำนวนผู้เสียชีวิตจากประชากร 100,000 คน, ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ, ความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดร้อยละของจีดีพี) จากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สถานการณ์น้ำปัจจุบันมีความแปรปรวน เกิดทั้งน้ำท่วมน้ำแล้งสลับกันไปและรุนแรงมากขึ้น เป็นอีกโจทย์สำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และทีมห้องทดลองปัญญารวมหมู่ สำนักเครือข่ายฯ ไทยพีบีเอส พาผู้อ่านชวนคุย ทำความเข้าใจเรื่องการจัดการน้ำในสภาวะโลกรวน และเครื่องมือที่จะมาช่วยในการตัดสินใจและรับมือกับสภาวะนี้ในระยะยาวให้ดียิ่งขึ้นกับ รศ. ดร. สุจริต คูณธนกุลวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประธานคณะกรรมการอำนวยการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ ทั่วโลกกำลังออกแบบอนาคตด้วย 3 แนวคิดใหม่ : ยั่งยืน หยืดหยุ่น ฉลาด… Read more: ชวนคุยโจทย์การจัดการน้ำเมื่อโลกปรับ ไทยต้องเปลี่ยนกับรศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์
- การปรับตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม-น้ำแล้งด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) หรือ GI เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัย ซึ่งได้จากเทคโนโลยีดาวเทียม (Remote Sensing) ระบบดาวเทียมนำร่องโลก (Global Navigation Satellite System: GNSS) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information system: GIS) บูรณาการทั้งสามส่วนและนำมาใช้ในการเฝ้าระวัง ติดตาม ประเมิน เพื่อนำมาใช้ในการรู้รับปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น และใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อมูลที่ได้มีความทันสมัย มีความถูกต้องและแม่นยำเชิงตำแหน่ง ทำให้สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย ในสภาวะปกติ การเตรียมพร้อมและปรับปรุงข้อมูลเชิงพื้นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในแต่ละพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางธรรมชาติไปเป็นพื้นที่อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นทำให้มีความสูญเสียเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การติดตามลักษณะของพื้นที่ในภาพรวมจำเป็นต้องใช้ดาวเทียมที่ได้จากเทคโนโลยีอวกาศมาเป็นเครื่องมือหลักในการได้มาของข้อมูลที่สามารถระบุรายละเอียดเชิงตำแหน่งหรือเชิงพื้นที่ได้ ซึ่งข้อมูลนี้สามารถบูรณาการร่วมกับข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ นอกเหนือจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินแล้ว ยังสามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดการใช้งานเพื่อการบริหารจัดการได้อีกด้วย ดังตัวอย่างเช่น การพัฒนา “แพลตฟอร์มเกษตรเชิงพื้นที่รายแปลงเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก (Dragonfly) หรือ แอปแมลงปอ”[1] ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลทางการเกษตรที่มีการออกแบบให้กับเกษตรกรในระดับรายแปลง ด้วยการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศที่ความแม่นยำและทันสมัย แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้เกษตรกรสามารถติดตาม เฝ้าระวัง คาดการณ์ และมีข้อมูลที่ทันสมัยโดยเฉพาะเรื่องสภาพอากาศ ความสมบูรณ์ของดินและพืช เพื่อให้สามารถนำใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผน และการบริหารจัดการแปลงเพาะปลูกของตนได้อย่างครบวงจรตั้งแต่ก่อนเริ่มปลูกจนถึงการขายผลผลิตของตนสู่ตลาด สิ่งนี้ช่วยให้เกษตรกรลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยบำรุงดินและพืช และลดความเสี่ยงเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำที่เกิดจากผลผลิตล้นตลาดจนเกินไป เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น เทคโนโลยีอวกาศนำมาใช้เป็นข้อมูลหลักในการติดตามสถานการณ์ในภาพรวมทั้งในห้วงระหว่าง-หลังเกิดภัย และใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนและตัดสินใจในภาวะวิกฤต ดังเช่น สถานการณ์น้ำท่วม… Read more: การปรับตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม-น้ำแล้งด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
- ชวนช็อป 7 นวัตกรรมแก้ปัญหาปลาหมอคางดำจากประชาชนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานกองทุนสนับสุนการวิจัย (สกว.) และ สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอส เล็งเห็นถึงความสำคัญและโอกาสในการติดตามปัญหาและผลกระทบจากปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species) ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ตามแหล่งน้ำต่างๆ กว่า 16 จังหวัด จึงจัดกิจกรรม Hackathon วิกฤตปลาหมอคางดำ : แลเลสาบสงขลา เพื่อระดมความคิดเห็น แนวทางการแก้ไขปัญหาและการจัดการปลาหมอคางดำในประเทศไทย โดยใช้แนวคิด Hackathon มาใช้ ระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2567 ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา โดยเปิดให้ผู้ที่มีความสนใจจากหลากหลายกลุ่มทั้งนักสร้างสรรค์ นักคิด นักออกแบบมาเข้าร่วมโครงการซึ่งมีทั้งหมดผู้เข้าร่วมกว่า 50 คน แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มไอเดียในการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ ทั้งในรูปแบบการสื่อสาร และเครื่องมือการแก้ปัญหา ชวนทุกท่านไปอ่านที่มาที่ไปของไอเดียแต่ละทีมด้วยกัน แพลตฟอร์มที่ช่วยให้คนในชุมชนรอบทะเลสาบได้มีส่วนร่วมกันป้องกันและอนุรักษ์ทะเลสายบอย่างยั่งยืนด้วย Line OA และ Web App ซึ่งจะเน้น 3… Read more: ชวนช็อป 7 นวัตกรรมแก้ปัญหาปลาหมอคางดำจากประชาชน
- Hackวิกฤตปลาหมอคางดำ : แลทะเลสาบสงขลาโครงการจัดประชุมระดมความคิดเห็น แนวทางการแก้ไขปัญหา และการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในประเทศไทย: รักษา/ดูแล ฟื้นฟู “ทะเลสาบสงขลา” ไม่ให้คางดำรุกราน (HACKATHON) การแนะนำ ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบสามน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นทะเลแบบลากูน(แหล่งน้ำตื้น) ที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่แยกจากทะเลโดยเนินทรายและมีทางออกสู่ทะเลเป็นจุดๆ ถือเป็นเแหล่งน้ำที่มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาและเศรษฐกิจของประเทศไทย ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่มีทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำหลายชนิด เนื่องจากเป็นที่ไหลรวมกันของต้นน้ำลำคลองเล็กๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลากจะมีน้ำจืดปริมาณมหาศาลไหลของสู่ทะเลสาบและผลักดันน้ำเค็มออกสู่ทะเลอ่าวไทย ขณะที่ช่วงหน้าแล้งน้ำเค็มจะไหลเข้ามาแทนที่ผสมกับน้ำในทะเลสาบเป็นน้ำกร่อย ทะเลสาบสงขลาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ทะเลน้อย พื้นที่ประมาณ 27 ตารางกิโลเมตร เป็นทะเลน้ำจืด ความลึกเฉลี่ย 1.2 เมตร มักจะพบพืชน้ำนานาชนิดและป่าพรุขนาดใหญ่ ทะเลหลวง อยู่ถัดจากทะเลน้อย มีพื้นที่ประมาณ 373 ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ 2 เมตรในอดีตเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันถูกรุกจากน้ำเค็มในช่วงหน้าแล้ง ทะเลสาบ อยู่ถัดจากทะเลหลวง มีพื้นที่ประมาณ 360 ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ 2 เมตร มีเกาะมากมายในพื้นที่ และเป็นพื้นที่ผสมผสานของน้ำเค็มและน้ำจืด ทะเลสาบสงขลา เป็นส่วนของทะเลสาบน้ำเค็มที่เชื่อมกับอ่าวไทย พื้นที่ประมาณ 183… Read more: Hackวิกฤตปลาหมอคางดำ : แลทะเลสาบสงขลา
- จักรวาลหมอลำ-ขุมพลังทางเศรษฐกิจจากภาคอีสาน
- การจัดการน้ำเพื่อรับมือกับน้ำแล้ง น้ำท่วม ภายใต้สภาวะโลกรวน ความสำคัญของการจัดการน้ำภายใต้สภาวะโลกรวน “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ได้รับการบรรจุเป็นประเด็นสำคัญของโลก รวมถึงเป็นประเด็นที่การดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ต้องพิจารณา โดยมุ่งเน้นลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเตรียมมาตรการปรับตัวเพื่อรับสภาพภูมิอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปทั้งในช่วงเวลาอันใกล้และไกล ซึ่งต้องมีมาตราการส่งเสริมสนับสนุนในระยะต้นและการบังคับใช้ในระยะยาว การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญที่สร้างปัญหาหลายประการ อาทิ การแปรปรวนของพายุฝน หิมะ และลูกเห็บ โดยปริมาณ พื้นที่ และเวลาของการเกิดฝนตกมีผลต่อชีวิตและสุขภาพของผู้คน จำนวนฝนที่มากไปหรือน้อยไปอาจทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงได้ ในอดีตที่ผ่านมา ฝนตกอย่างมีแบบแผนที่เหมาะสมและสามารถคาดการณ์ได้ว่า ฝนจะตกระหว่างที่เกษตรกรหว่านพืชผลจนถึงเวลาเก็บเกี่ยวได้ แต่ในปัจจุบันโลกและมหาสมุทรร้อนขึ้นกว่าอดีต การระเหยของน้ำและละอองน้ำในอากาศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดฝนโดยรวมที่อาจเพิ่มและรุนแรงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือ ปริมาณฝนแต่ละท้องที่จะแตกต่างกันแบบผกผันและคาดการณ์ได้ยากขึ้น แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ทำนายว่าในอนาคตประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะได้รับฝนมากขึ้น แต่การพยากรณ์ฝนในระดับพื้นที่ดังกล่าวยังมีความแน่นอนอยู่มาก เนื่องจากสภาพอากาศมีความแปรปรวนและซับซ้อนมาก ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่รุนแรง เช่น คลื่นความร้อน พายุฝนรุนแรง ภัยแล้ง เป็นตัวอย่างของภัยธรรมชาติที่อาจจะมีมากขึ้นหรือน้อยลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอกาศ นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศกล่าวไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะนำไปสู่สภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดการกัดเซาะ ดินถล่มหรือน้ำท่วม มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืชผลทางการเกษตรและสาธารณูปโภค อันนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางร่างกายของมนุษย์ การเกิดน้ำท่วมยังทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อนและเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคบางชนิดมากขึ้น ในทางกลับกันหากฝนตกน้อยลงจะทำให้เกิดภัยแล้งที่สามารถสร้างความเสียหายต่อพืชผลและปศุสัตว์ รวมทั้งระบบนิเวศเสื่อมโทรม ในปี ค.ศ. 2020 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดหัวข้อหลักวันน้ำโลกประจำปี คือ “Water and Climate Change” (น้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เพื่อแสดงให้เห็นว่าน้ำได้รับผลกระทบหรือมีส่วนช่วยอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ปัจจุบันได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทุกสิ่งมีชีวิตในโลก โดยรณรงค์การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้อยู่กับเราอย่างยั่งยืนและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ บนใจความหลักว่า “เรารอไม่ได้” และมีนโยบายเชิงปฏิบัติการที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ… Read more: การจัดการน้ำเพื่อรับมือกับน้ำแล้ง น้ำท่วม ภายใต้สภาวะโลกรวน
- เทคโนโลยีอวกาศกับการบริหารจัดการภัยพิบัติทั่วโลกกำลังประสบปัญหากับภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง และเป็นอีกสาเหตุของการเกิดคลื่นความร้อน ภัยแล้ง และน้ำท่วมในหลายภูมิภาค ในห้วงทศวรรษปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบภาวะน้ำท่วมที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้นโดยเฉพาะปี 2564-2565 และสภาวะความแห้งแล้งและไฟป่าหมอกควันในปี 2566 ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและสภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมเป็นอย่างมาก การติดตามสถานการณ์เพื่อบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (from monitoring to management) เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะภาวะวิกฤตที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ (geospatial data) ที่มีความถูกต้องเชิงพื้นที่สูงและใกล้เคียงกับสถานการณ์ปัจจุบัน (near real-time) ดาวเทียม (Satellite) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของเทคโนโลยีอวกาศ (Space technology) ในการสำรวจและเก็บข้อมูล โดยเฉพาะดาวเทียมสำรวจทรัพยากร (Earth Observation Satellite) ที่มีการบันทึกข้อมูลครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง (Synoptic view) การบันทึกภาพซ้ำบริเวณเดิมในแต่ละช่วงเวลา (temporal resolution) อีกทั้งมีความหลากหลายช่วงคลื่น (spectral resolution) และรายละเอียดเชิงพื้นที่ (spatial resolution) ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้สามารถศึกษาสภาพแวดล้อมและปรากฎการณ์ต่างๆ บนพื้นโลกในบริเวณกว้างได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมีการพัฒนาเป็นอย่างมากและตอบโจทย์การใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การติดตามความชื้นในดินจากดาวเทียม Soil Moisture Active Passive (SMAP) การตรวจวัดคุณภาพอากาศ (air pollution) จากดาวเทียม Sentinel-5P และดาวเทียม Landsat ที่มีการนำมาใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่มากกว่า 30 ปี ด้วยข้อดีของข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีอวกาศ (space-based data) สามารถนำมาใช้ในการติดตาม (monitoring)… Read more: เทคโนโลยีอวกาศกับการบริหารจัดการภัยพิบัติ
- เดบิวต์ Public Intelligence สังคมจะฉลาดขึ้นด้วยการจับมือรวมกลุ่มเมื่อสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส โดยสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสื่อสาธารณะ ได้นำแนวคิดปัญญารวมหมู่ Collective Intelligence มาปรับใช้กับสื่อสาธารณะ และการทำงานร่วมกับภาควิชาการ ท้องถิ่นและกลุ่มคนที่สนใจอยากเปลี่ยนแปลงสังคมหาทางออกร่วมกัน เปลี่ยนเรื่องยากๆ ให้เป็นโอกาสในการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือ เทคโนโลยีและข้อมูล เพราะความรู้ไม่ได้กำจัดแค่เฉพาะผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น คนในท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีความหมายได้ โครงการห้องทดลองปัญญารวมหมู่ สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส จึงจัดกิจกรรม PI Networking & Soft Launch เมื่อสื่อสาธารณะเริ่มใช้แนวคิดปัญญารวมหมู่ เราจะจัดการเรื่องยากๆ อย่างชาญฉลาดร่วมกันได้อย่างไร? เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2567 เพื่อเปิดให้ผู้สนใจเข้ามารับฟัง เรียนรู้ความหมายของที่มา Collective Intelligence คืออะไร ทำไมไทยพีบีเอสถึงนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ ทำไมถึงต้อง Collective Intelligence เหตุผลหลัก 3 ประการสำคัญที่ไทยพีบีเอสคิดว่ามีคุณค่ากับประโยชน์สื่อสาธารณะ และหยิบยกเอาแนวคิดปัญญารวมหมู่ Collective Intelligence มาใช้ ได้แก่ ไทยพีบีเอส โดยสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสื่อสาธารณะ มีเป้าหมายสำคัญในการใช้เครื่องมือนี้คือ การสร้างความสัมพันธ์ใหม่ (re-designing) ระหว่างประชาชน รัฐ และข้อมูลกับเทคโนโลยี เคารพคนทุกฝ่ายและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้เปลี่ยนการบ่นปัญหาต่างๆ… Read more: เดบิวต์ Public Intelligence สังคมจะฉลาดขึ้นด้วยการจับมือรวมกลุ่ม
- สถาบันป๋วยฯ นำเสนอมูลค่าความเสียหายปลาหมอคางดำกลุ่มอาชีพประมงแพรกหนามแดงวันที่ 2 สิงหาคม ศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องมือด้านการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI TU) วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ม.ธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทคววามเรื่อง การระบาดของสัตว์น้ำต่างถิ่น “ปลาหมอคางดำ” กับความสูญเสียทางเศรษฐกิจด้านการประมงของตำบลแพรกหนามแดง พร้อมเสนอแนะการศึกษาผลกระทบมิติสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม และใช้หลักผู้ก่อความเสียหายเป็นผู้ชดเชยแทนการใช้ภาษีประชาชน ระบุว่า ว่าเป็นบทความจากการสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยเรื่อง การประเมินผลโครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พ.ศ. 2563 ที่ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยโดยคณะนักวิจัยจากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2561 – 2563 สาระสำคัญของงาน นำเสนอว่า ปลาหมอคางดำก่อให้เกิดความเสียหายต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรและชาวประมงท้องถิ่นคลองสาขาในพื้นที่แพรกหนามแดง เป็นมูลค่าสูงถึง 131.96 ล้านบาท/ปี ซึ่งมูลค่านี้ยังไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และเป็นมูลค่าความเสียหายเฉพาะพื้นที่ตำบลแพรกหนามแดงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ช่วงท้ายของงานเน้นย้ำว่า การประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการระบาดของปลาหมอคางในทางสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติด้านการประเมินมูลค่าทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในอนาคตเพื่อสนับสนุนมาตรการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผู้ก่อมลพิษ/ผลกระทบ ต้องเป็นผู้ชดเชย Polluter Pays… Read more: สถาบันป๋วยฯ นำเสนอมูลค่าความเสียหายปลาหมอคางดำกลุ่มอาชีพประมงแพรกหนามแดง